vipassana - บวชในพุทธศาสนา
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  => บวชในพุทธศาสนา
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

                                                                 

                               อานิสงส์การอุปสมบท

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงฆ์พิเศษ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมามัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "สมมติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบจึงไม่ได้โมทนา  แต่บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษ"

                ท่านที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเอง คือ เณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีก็เป็นการลงทุนซื้อสวรรค์ ถ้าปฏิบัติเลว การบวชพระบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ท่านที่บวชเป็นเณรเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตาม ระบอบพระธรรมวินัย สำหรับท่านผู้เป็นเณรนั้น ย่อมมีอานิสงส์ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดา ไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ได้ถึง 30 กัป ถ้าหากว่าทำจิตของตนเกือบเป็นฌาน ได้ฌานสมาบัติ ตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นพรหม มีอายุอยู่ถึง 30 กัปเช่นเดียวกัน

                 อายุเทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง 30 กัป ก็หมายความว่า เมื่อหมดอายุแล้วก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ เกิดเป็นพรหมใหม่อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง 30 กัปหรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้าพระนิพพานก่อน
บิดามารดาของสามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ 15 กัป ครึ่งหนึ่งของเณร

                 องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้มีวาสนาบารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเป็นพระสงส์  แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือ มีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเอง จะมีอานิสงส์อยู่เป็นเทวดาหรือพรหม 60 กัป บิดามารดาจะได้คนละ 30 กัป นี่เป็นอานิสงส์พิเศษ

                 แต่ทว่าภิกษุสามเณรท่านใดทำผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนา ก็พึงทราบว่าเมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกันอานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่ เพียงใดโทษก็มีเพียงนั้น

                 สำหรับผู้ที่ช่วยในการบวช การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา คือบำเพ็ญกุศลร่วมกับเขา ด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง  ช่วยขวนขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลกคนละ  8  กัป

                 อานิสงส์กุศลบุญบารมี ที่เราจะพึงได้สำหรับท่านผู้เป็นเจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเราเป็นผู้จัดการขวนขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้  อันนี้องค์สมเด็จพระบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ 12 กัป จะมีผลลดหลั่นซึ่งกันและกัน

                การที่นำเอาอานิสงส์บรรพชากุลบุตรกุลธิดาในพระพุทธศาสนามาแสดงแก่บรรดาท่าน พุทธบริษัท เพราะเห็นว่าในเวลานี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ในข้อนี้ อีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ ถือทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มการจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัวฆ่าควายบ้าง เอาสุราเบียร์เข้ามาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าทำกันตามประเพณีแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์กุศลบุญทานอะไรเลย เพราะมีเจตนาชั่ว คือเริ่มต้นก็ทำบาปก่อนแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำมันก็ไม่ปรากฏ
               ฉะนั้น ในการใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญทานให้ปรากฏเป็นผลดี ก็ขอให้การนั้นเป็นการที่บำเพ็ญกุศลจริงๆ จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นความชั่วทุกประการ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลบุญทานเท่านั้น

                กุลบุตรที่บวชในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ความผ่องใสของท่านผู้บวชก็มีขึ้น คือ จิตผ่องใสปราศจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส ต่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน จนอารมณ์ชื่นบานเข้าถึงธรรมปีติ คำว่า ธรรมปีติ หมายความว่า ยินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง ยินดีในการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา อานิสงส์กุศลบุญบารมีก็เกิดขึ้น

                องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า ผู้ใดอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่งทำจิตใจว่างจากกิเลสเพียงวันละชั่วขณะจิตเดียว เวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่พยายามควบคุมกำลังใจไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัย ท่านผู้บวชเข้ามาแม้แต่วันเดียว ก็ย่อมมีอานิสงส์ดีกว่าพระที่บวชตั้ง 100 ปี มีศีลบริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเจริญสมาธิจิต คือ ทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว มีรัศมีกายสว่างไสวกว่า

   

                รวมความว่า การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพาน และมีอานิสงส์เป็นสามัญผล คือผลที่เสมอกัน คนที่บวชในพระพุทธศาสนาจะลูกผู้ดีหรือยากจนเข็ญใจย่อมมีสิทธิเสมอกันในการ ทรงสิกขาบท และในการกำหนดจิตปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

การบวชนับเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง เพราะผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายที่จะให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ ยืนยาวต่อไป และอีกประการหนึ่งเป็นจุดประสงค์ของผู้เป็นบิดามารดาที่ต้องการให้บุตรของตน ได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำเอาหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการที่จะอยู่ครอง เรือนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้า การบวชจะมี ๒ ลักษณะ ได้แก่ การบวชเป็นสามเณร เรียกว่า "บรรพชา" และการเป็นเป็น พระภิกษุ เรียกว่า "อุปสมบท" การบรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการเว้นจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เคยกระทำในชีวิตฆราวาส หันมาใช้ชีวิตแบบสันโดษ สงบ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสอันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต การบรรพชา เป็นกิจเบื้องต้นของการอุปสมบท 1 U  I0 X" r  H' K( Y- U! h5 o' R


บวช   แปลว่า   เว้นจากความชั่วทุกอย่าง...
   
การบวชในพระพุทธศาสนาตามหลักฐานที่มี  คือผู้บวชนั้นเห็นโทษในการอยู่ครองเพศฆราวาส (โยม) ว่า 
คับแคบ - ยุ่งเหยิง - เป็นหนทางเกิดขึ้นแห่งความเศร้าหมอง  จะศึกษาพระธรรม - วินัย ให้ทั่วถึง  เป็นไปได้ยาก   
แต่การบวชนั้นเป็นหนทางปลอดโปร่ง - ภาระที่ยุ่งยากก็น้อย  จะศึกษาพระธรรม - วินัยให้ทั่วถึงก็ทำได้ง่าย 
จึงตัดสินใจบวชและหาเครื่องบริขารในการบวชให้ครบถ้วนตามพุทธบัญญัติและศึกษาวิธีการบวชให้ถูกต้อง
   
แต่ในปัจจุบันผู้บวชและผู้สนับสนุนในการบวชก็ไม่เข้าใจในวิธีการบวชที่ถูกต้อง   
ส่วนมากเป็นการบวชตามประเพณีที่คิดเพ้อเจ้อกันขึ้นมาภายหลังนี้   
ด้วยความเชื่อที่ว่าบวชแล้วจะได้อานิสงค์ผลบุญกันเท่านั้นเท่านี้
พ่อ - แม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่สรวงสวรรค์ 

แต่ความจริงแล้วการบวชที่ไม่ถูกต้อง - ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องก็ได้โทษมากมายมหาศาลเหมือนกัน   
ซึ่งสามารถเห็นกันได้ในปัจจุบันนี้     ทั้งตัวของผู้บวชเอง - ผู้สนับสนุน - ผู้ยินดี   
การบวชแล้วไม่ปฏิบัติให้ถูกนี้เป็นการบวชเพื่อลากกันลงนรกทั้งโขยง   
พวกที่ชอบเกาะชายผ้าเหลืองโดนไม่ดูตาม้าตาเรือ    ก็จะได้เกาะชายผ้าเหลืองไปนรกกันล่ะ

 
พระพุทธเจ้าได้วางหลักเกณฑ์ในการบวชให้แก่กุลบุตรในพุทธศาสนาเอาไว้แล้ว   
ใครบ้างที่บวชได้ - ใครบ้างที่บวชไม่ได้ - ใครบ้างถึงแม้จะบวชแล้วก็ไม่เป็นอันบวช - การเตรียมตัวก่อนบวช -
ขณะบวช - หลังบวชจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?
   
ประเภทที่บวชกำหนดวันสึก - บวชหน้าไฟ - บวชชั่วคราว - บวชภาคฤดูร้อน - บวชแก้บน - บวชเพื่อเรียนทางโลก -
บวชตามประเพณี   ฯลฯ   การบวชแบบนี้ไม่มีในพุทธศาสนา
 
สรุป   ผู้บวชถ้าไม่ได้บวชด้วยความตั้งใจที่จะดำเนินศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรม - วินัยให้ถูกต้อง
หรือแม้แต่มีความตั้งใจจริง    แต่ตัวเองไม่มีความสามารถที่จะศึกษาและปฏิบัติตามได้เลย   
และเมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ทำผิดมากกว่าทำถูก   
ถ้าเป็นแบบนี้ก็เป็นการทำลายหนทางไปสวรรค์ - มรรค - ผล - นิพพาน    ของตัวเองเปล่าๆ
ในขณะเดียวกันก็กลับเปิดทางไปนรกและอบายภูมิของตัวเองอย่างสะดวกโยธินเต็มๆที่

ผู้เช่นที่ว่านี้ไม่ควรบวชหรอก   
ควรอยู่ศึกษาพระธรรม - วินัยตามกำลังความสามารถของตัวเอง     ในเพศของฆราวาสจะปลอดภัยกว่า   
เพราะคุณเครื่องแห่งความเป็นสมณะอันบุคคลยึดถือไว้ไม่ดี      ย่อมฉุดคร่าลงสู่นรกแต่เพียงสถานเดียวเท่านั้น

"ผู้ไม่มีวัตร    พูดเหลาะแหละ    ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเพียงเพราะศีรษะโล้น       
ผู้ประกอบด้วยความอยากและความโลภ    จะเป็นสมณะอย่างไรได้ 

ส่วนผู้ใด    ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบโดยประการทั้งปวง   
ผู้นั้นเรากล่าวว่า     เป็นสมณะ     เพราะยังบาปให้สงบแล้ว."





                                               
ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศล อันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึง บุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดี ที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศ ไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่า เป็นการอุทิศตน ช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่อ ของศาสนาพุทธ ไปจนตราบชั่วกาลนาน

สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขา กราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยัง ก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้ 

ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด 
๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้ 
๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ 
๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน 
๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ 
๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย 
๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ 

ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่
๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน 
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ 
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา 
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ 
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา 
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย 
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้ 

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ 
การเตรียมตัวก่อนบวช
ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน 
นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ 
เครื่องอัฏฐบริขาร เครื่องอัฏฐบริขาร
ของที่ต้องใช้ในการบวช ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
คำขอขมาเพื่อลาบวช คำขอขมาบิดา
การบวชนาค แห่นาค การบวชนาคและแห่นาค

เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑ 
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว 
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน 
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย 
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก) 
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง 
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย) 
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า 
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก 
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ 
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน 
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย 
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ 
๑๔.สันถัต (อาสนะ) 
๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง 
ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์ 

                           
ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑ 
๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน 
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา 
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา 
๕.รองเท้า ร่ม 
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้) 
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน 
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว 
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย) 
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช) 
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธี นั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา 

                                              
คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช
"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพาน เทอญ"


                            

การบวชนาคและแห่นาค
การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ 
- หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้) 
-  แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้) 
- ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด 
- ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น) 
- ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น) 
- บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช 
- ของถวายพระอันดับ 
- บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช 

                  
เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต 
เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช 

                              

พิธีบวชแบบ มหานิกาย (อุกาสะ)

รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า 
อุกาสะ วันทามิ ภันเต 
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง 
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ 
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต 
(นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า) 
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ 
(กล่าว ๓ ครั้งว่า) 
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ 
อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต 
อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป) 
(กล่าว ๓ ครั้งว่า) 
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ 
เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต 
อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้ 
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) 
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม) 

พระอุปัชฌาย์ ชัก อังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้ 
อุกาสะ วันทามิ ภันเต 
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ 

อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา 
ติสะระเณนะ สะหะ 
สีลานิ เทถะ เม ภันเต 
(นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้) 
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 

(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) 
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ 

ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้ 

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้ 
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
(พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้) 
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง) 

ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้ 
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ 
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต 
(นั่งคุกเข่า) 
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
(กล่าว ๓ ครั้งว่า) 
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ 

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้ 
(กล่าว ๓ ครั้งว่า) 
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้) 
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง) 
                                  
ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆไปดังนี้ 

อะยันเต ปัตโต 
อะยัง สังฆาฏิ 
อะยัง อุตตะราสังโค 
อะยัง อันตะระวาสะโก 
(รับว่า) อามะ ภันเต
(รับว่า) อามะ ภันเต
(รับว่า) อามะ ภันเต
(รับว่า) อามะ ภันเต

จาก นั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้ 

พระจะถามว่า  ผู้บวชกล่าวรับว่า
กุฏฐัง 
คัณโฑ นัตถิ ภันเต
กิลาโส นัตถิ ภันเต
โสโส นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร 
มะนุสโสสิ๊ 
ปุริโสสิ๊ 
ภุชิสโสสิ๊ 
อะนะโณสิ๊ 
นะสิ๊ ราชะภะโฏ 
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ 
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ 
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
กินนาโมสิ 
โก นามะ เต อุปัชฌาโย 
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...

*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย 
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ 
สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี 

พิธีบวชแบบ ธรรมยุต (เอสาหัง)

รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า 
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ 
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
ละเภยยาหัง ภันเต 
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง 
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง 
ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ 
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
ละเภยยาหัง ภันเต 
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง 
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง 
ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ 
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
ละเภยยาหัง ภันเต 
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง 
*ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง 
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา 
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา 
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา 
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
*หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก 
พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้ 
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) 
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม) 
พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้ 
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้) 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) 
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ 
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้ 
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้ 
ปาณาติปาตา เวรมณี 
อทินนาทานา เวรมณี 
อะพรหมจริยา เวรมณี 
มุสาวาทา เวรมณี 
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี 
วิกาละโภชนา เวรมณี 
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี 
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี 
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี 
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี 
(และกล่าว ๓ ครั้งว่า) 
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้) 
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง) 
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป 
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง) 
พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้ 
อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต
จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้ 

พระจะถามว่า  ผู้บวชกล่าวรับว่า
กุฏฐัง 
คัณโฑ นัตถิ ภันเต
กิลาโส นัตถิ ภันเต
โสโส นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร 
มะนุสโสสิ๊ 
ปุริโสสิ๊ 
ภุชิสโสสิ๊ 
อะนะโณสิ๊ 
นะสิ๊ ราชะภะโฏ 
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ 
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ 
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
กินนาโมสิ 
โก นามะ เต อุปัชฌาโย 
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...
*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ
*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย 
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ 
สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน 
ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

บทบัญญัติข้อห้ามของ สมณะ

ข้อห้ามและศีลที่พระพุทธเจ้าได้ บัญญัติไว้สำหรับผู้ที่บวชเป็นสามเณรและภิกษุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเมื่ออยู่ในสมเพศ เป็นที่น่าเสียดายว่า ในตำราพิธีการบวชที่มีอยู่หลายเล่มนั้น ทั้งของธรรมยุตและมหานิกายได้เว้นไว้โดยมิได้กล่าวถึงศีลสำหรับพระภิกษุทั้ง ใหม่และเก่า ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามันมากถึง ๒๒๗ ข้อ อันอาจจะเปลืองเนื้อที่กระดาษหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ทำให้พระในปัจจุบันนี้อาจจะละเมิดศีลโดยที่มิควรจะเป็น ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ หรืออาจจะลืมไปแล้วเสียด้วยว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นผิดศีลข้อใด 
- ห้ามฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง 
- ศีล ๑๐ ข้อของสามเณร 
- ศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ 
- ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ (ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา) 
- ข้อห้ามสำหรับการบวชพระในแบบธรรมยุต 

ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ
๑๐ อย่าง อันได้แก่
๑.เนื้อมนุษย์              ๖.เนื้อราชสีห์
๒.เนื้อช้าง                ๗.เนื้อหมี
๓.เนื้อม้า                  ๘.เนื้อเสือโคร่ง
๔.เนื้อสุนัข               ๙.เนื้อเสือดาว
๕.เนื้องู                    ๑๐.เนื้อเสือเหลือง


สามเณรต้องถือศีล ๑๐ ข้อ อันได้แก่
๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งมนุษย์และเดรัจฉาน 
๒.เว้นจากการลักทรัพย์ 
๓.เว้นจากการเสพเมถุน 
๔.เว้นจากการพูดเท็จ 
๕.เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย 
๖.เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (หลังเที่ยงวันไปแล้ว) 
๗.เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง ตลอดถึงการดูการฟังสิ่งเหล่านั้น 
๘.เว้นจากการทัดทรงตกแต่งประดับร่างกาย การใช้ดอกไม้ของหอมเครื่องประเทืองผิวต่างๆ 
๙.เว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่และยัดนุ่นสำลีอันมีลายวิจิตร (เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ) 
๑๐.เว้นจากการรับเงินทอง 


พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ อันได้แก่
ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ 
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ 
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน) 
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ) 
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ) 
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน) 
เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น 
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ) 
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร) 
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม) 
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด) 
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์) 
รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิด ได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว 

ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่ 
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์) 
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย) 
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์ 
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง) 

สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ 
๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน 
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ 
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี 
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน 
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ 
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ 
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น 
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์


อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่ 
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว 
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว 

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่ 
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน 
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว 
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน 
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า 
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี 
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย 
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป 
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม 
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย 
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง 
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม 
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน 
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง 
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี 
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย 
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่ 
๑.ห้ามพูดปด 
๒.ห้ามด่า 
๓.ห้ามพูดส่อเสียด 
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน 
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน 
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง ๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง 
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช 
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช 
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด 
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้ 
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน 
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ 
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง 
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ 
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน 
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ 
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน 
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น 
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน 
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย 
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว 
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อย
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ 
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ 
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ 
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี 
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน 
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย 
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี 
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ 
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม 
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น 
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร 
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว 
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด 
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล 
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง 
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน 
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ 
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ 
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน 
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง) 
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม 
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา 
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่ 
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน 
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร 
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์) 
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า 

เสขิยะวัตร 

สารูป
มี ๒๖ ข้อได้แก่ 
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง) 
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน) 
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน 
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน 
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน 
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน 
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่) 
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน 
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน 
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน 
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ 
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ 
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร 
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป) 
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร 
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร 
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง) 
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป 
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป ๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก 
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้ 
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ 
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป 
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม 
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง 
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ 
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ 
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ 
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ 
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) 
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า 
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน 
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ 
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ 
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ) 
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ 

อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่ 
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม) 
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ 
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า 
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย 
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ 
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด 
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป 



ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ (ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา)
ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา คือเงื่อนไขอย่างเข้มงวด ๘ ประการที่ภิษุณีจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิตอันได้แก่ 
๑.ต้องเคารพภิกษุแม้จะอ่อนพรรษากว่า 
๒.ต้องไม่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุ 
๓.ต้องทำอุโบสถและรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน 
๔.เมื่อออกพรรษาต้องปวารณาตนต่อภิกษุและภิกษุณีอื่นให้ตักเตือนตน 
๕.เมื่อต้องอาบัติหนัก ต้องรับมานัต (รับโทษ) จากสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณี ๑๕ วัน 
๖.ต้องบวชจากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย หลังจากเป็น*สิกขามานาเต็มแล้วสองปี 
๗.จะด่าว่าค่อนแคะภิกษุไม่ได้ 
๘.ห้ามสอนภิกษุเด็ดขาด 
*สิกขามานาแปลว่า ผู้ศึกษา สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณีต้องเป็นนางสิกขามานาก่อน ๒ ปี



ข้อห้ามสำหรับการบวชพระในแบบธรรมยุต
ห้ามจับปัจจัยที่เป็นเงินเด็ดขาด 


บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ
๑.ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น) 
๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ 
๓.สวดมนต์ไหว้พระ 
๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์ 
๕.รักษาผ้าครอง 
๖.อยู่ปริวาสกรรม 
๗.โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ 
๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์ 
๙.เทศนาบัติ 
๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช) 


วิธีแสดงอาบัติ
เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยานดังนี้ 
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า) 
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง) 
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง) 
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย 
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ 
(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า) 
ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย 
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า) 
อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ 
(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า) 
อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ 
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า) 
สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ 
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ 
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ 
นะ ปุเนวัง กะริสสาม 
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ 
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ 
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า) 
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง) 
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง) 
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย 
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ 
(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า) 
อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย 
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า) 
อามะ อาวุโส ปัสสามิ 
(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า) 
อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ 
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า) 
สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ 
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ 
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ 
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ 
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ 
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ 



ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก
ไปแสดงตนต่อพระอุปัชฌาย์เพื่อแจ้งความจำนงขอลาสิกขา มีพระสงฆ์นั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุเมื่อจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งหันหน้าตรงพระพุทธรูปบนที่บูชา กราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าว นะโม... ๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้ 
สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ 
(ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์) 
สำหรับแบบมหานิกายจะจบเพียงเท่านี้ แต่ในการลาสิกขาบทแบบธรรมยุตจะมีต่อไปอีกคือ 
เมื่อกล่าวเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานลง ๓ ครั้ง แล้วเข้าไปเปลี่ยนผ้าขาวแทนผ้าเหลืองโดยใช้สอดเข้าด้านในผ้าเหลือง แล้วห่มผ้าขาว หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ กราบลง ๓ ครั้ง กล่าวว่า เอสาหัง ภันเต สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็น ต้นไป) 
เสร็จแล้วพระที่เป็นประธานกล่าวคำให้ศีล ก็ว่าตามท่าน (ตอนนี้ถือว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว) จนท่านสรุปว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ นิจจสีลวเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ เราก็รับว่า อาม ภันเต พระท่านก็จะกล่าวต่อว่า สีเลน สุคติ ยันติ... จนจบ เราก็กราบท่านอีก ๓ ครั้ง ถือบาตรน้ำมนต์ออกไปอาบน้ำมนต์ เมื่อพระภิกษุเริ่มหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ท่านก็จะเริ่มสวดชัยมงคลคาถาให้ เสร็จแล้วอุบาสกก็ผลัดผ้าขาวอาบน้ำ แล้วก็นุ่งผ้าเป็นคฤหัสถ์ (ปกติจะเป็นชุดใหม่ทั้งหมด เพราะถือเหมือนว่าเป็นการเริ่มชีวิตใหม่เลยทีเดียว) เสร็จแล้วเข้ามากราบพระสงฆ์อีก ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี 


การเข้าสู่ภาวะเป็นสามเณร
 
เมื่อผู้ที่จะบวชมีคุณสมบัติเบื้องต้นครบถ้วนแล้ว   ก่อนเข้าสู่พิธีการบวช   (บรรพชา)  ต้องปลงผม  โกนหนวด  เตรียมบริขารต่าง ๆ  ให้พร้อม  กำหนดวัน  เวลา   สถานที่จะบวชมีพระอุปัชฌาย์บวชให้   การบวชเป็นสามเณรเสร็จสิ้นลงหลังจากคำกล่าวรับเอาไตรสรณคมน์จบลงเพื่อให้ เกิดความบริบูรณ์ในการปฏิบัติในภาวะของสามเณรจึงต้องรับศีล 10  ข้อเพิ่มอีก   การเข้าถึงไตรสรณคมน์ก็คือ   การยอมรับเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง   ที่ระลึก   โดยกล่าวคำต่อไปนี้



พุทฺธํ   สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธว่าเป็นที่พึ่ง  (สรณะ)

ธมฺมํ  สรณํ  คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง  (สรณะ)

สงฆํ  สรณํ  คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง  (สรณะ)

ทุติยมฺปิ      (ข้อความซ้ำกับข้างต้น)   แม้ครั้งที่สอง    (ข้อความซ้ำกันข้างต้น)

ตติยมฺปิ      (ข้อความซ้ำกับข้างต้น)    แม้ครั้งที่สาม    (ข้อความซ้ำกับข้างต้น)



การที่ต้องให้ผู้ขอบวชเป็นสามเณรกล่าวย้ำถึง  3  ครั้ง   ก็เพราะต้องการให้ทราบถึงความตั้งใจจริงของผู้จะบวช   หากให้กล่าวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น   อาจจะกระทำโดยเผลอสติไม่ทันคิด การกล่าวย้ำถึง  3  ครั้ง  จึงเป็นการย้ำถึงเจตนาของตนอย่างแท้จริง

การรับสิกขาบท  10

หลังจากรับไตรสรณคมน์   ผู้บวชก็เข้าสู่ภาวะของสามเณรแล้ว   แต่เพื่อให้ความเป็นสามเณรสมบูรณ์   จึงจำเป็นต้องสมาทานศีลจำนวน  10 ข้อ  คือ


1.  ปาณาติปาตา  เวรมณี   สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ   การงดเว้นจากการยังมีชีวิตสัตว์ให้ตกไป

2. อทินฺนาทาวา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบาท  คือ  การงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

3.  อพฺรหฺมจริยา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ   สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ   การงดเว้นจากประพฤติไม่ประเสริฐ

4.  มุสาวาทา  เวรมณี   สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท   คือ  การงดเว้นจากการพูดเท็จ

5.  สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา  เวรมณี สิกฺขาปทํ   สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ   การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา  คือ  สุราและเมรัย  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

6.  วิกาลโภชนา   เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ
ข้าพเจ้า ขอสมาทานสิกขาบท  คือ  การงดเว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล  (เริ่มตั้งแต่เที่ยงวัน   กระทั่งถึงรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น)

7.  นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา   เวรมณี สิกฺขาปทํ   สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ   การงดเว้นจากการฟ้อนรำ  ขับร้อง   ประโคม  ดนตรี  และดูการละเล่นต่าง ๆ  อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์

8. มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฐานา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ  การงดเว้น จากการทัดทรงดอกไม้    และลูบไล้ตกแต่งด้วยของหอมและเครื่องย้อม   เครื่องทา

9.  อุจฺจาสยนมหาสยนา   เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ  การงดเว้นจากการนอนบนที่นอนสูงและใหญ่

10.  ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา   เวรมณี  สิกฺขาปทํ   สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ  การงดเว้นจากการรับเงินและทอง



การบวชเป็นสามเณรนั้น  แม้ตามหลักการจะยึดเอาการเข้าถึงไตรสรณคมน์เป็นสำคัญการสมาทานสิกขาบททั้ง  10 ก็เพื่อให้ความเป็นสามเณรบริบูรณ์เท่านั้นก็จริง    แต่ในทางปฏิบัติแล้ว  หลังจากได้ภาวะเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีลทั้ง  10  ข้อมิให้ด่างพร้อย   ถ้าประพฤติละเมิด  โดยมิได้เจตนา  หรือทำด้วยความประมาท  ก็จะถูกลง  “ทัณฑกรรม”   แล้วทำพิธีรับศีลใหม่ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า  “ต่อศีล”


2.  การอุปสมบท  คำว่า  “อุปสมบท”   หมายถึง  การบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา  บางทีก็ใช้รวมกับคำว่า  “บรรพชา”  เป็น “บรรพชาอุปสมบท”   หมายถึง  การบวชเป็นสามเณรและภิกษุในพุทธศาสนา   มีคำที่ใช้แทนผู้ที่บวชเป็นภิกษุแล้ว   คือ  “อุปสัมบัน”  แปลว่าผู้ที่อุปสมบทแล้วก็หมายถึงภิกษุนั่นเอง



ชายผู้ที่จะบวช  (อุปสมบท)   ในพุทธศาสนาจะต้องเตรียมตัวก่อน  เพื่อให้พร้อมในตอนประกอบพิธีบวช     ผู้เตรียมตัวเรียกว่า  “นาค”   ซึ่งแปลว่า ผู้ประเสริฐ  หรือผู้ทำบาปไม่ได้  หมายความว่า  การบวชเป็นการละเพศคฤหัสถ์   ซึ่งเป็นเพศที่อาจทำบาปได้ทุกขณะ  แต่การมาบวชจะทำอย่างนั้นไม่ได้

ประเภทของการบวช

การบวชพระหรือการอุปสมบทในพุทธศาสนาแยกได้  3  ประเภท  คือ



1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา  การบวชประเภทนี้  เป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าประทาน แก่กุลบุตรผู้ขอบวชด้วยพระองค์เอง   เป็นการอนุญาตให้มาเป็นภิกษุโดยการตรัสด้วยพระวาจาแต่จะมีอยู่  2 แบบ  คือ...  

หากบุคคลผู้ที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาขอบวช  พระองค์ก็จะตรัสเรียกให้เข้าเป็นภิกษุว่า  “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมเรากล่าวดีแล้ว   เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”    การตรัสพระวาจาเพียงแค่นี้ก็สำเร็จเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้ว

สำหรับ แบบที่สองเป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้แก่บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ    สามารถกำจัดกิเลสได้แล้ว   พระองค์จะตรัสพระวาจาว่า  “เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด   ธรรมเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด”  จะพบ  พระพุทธเจ้าจะตัดข้อความตอนสุดท้ายออก  คือ  “ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”  เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสตัณหาได้แล้ว   จะไม่มีความทุกข์โดยสิ้นเชิง

2.  ติสรณคมนูปสัมปทา คือ  การอุปสมบทด้วยวิธีให้ผู้ขอบวชกล่าวคำรับเอาและเข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็น ที่พึ่ง(สรณะ) เป็นที่ระลึก  ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้แล้วในเรื่อง “การบรรพชา”  แต่การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทานี้  เดิมใช้บวชพระมาก่อน กล่าวคือ  ตอนที่พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยออกประกาศศาสนา   ได้เสร็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ประทานการบวชแก่บุคคลผู้เลื่อมใสศรัทธา  ขณะที่ประทับอยู่ในเขตเมืองพาราณสีนั้น   มีจำนวนถึง  60  รูป  แล้วพระองค์ก็ทรงส่งพระสาวกเหล่านั้นออกประกาศศาสนาไปตามบ้าน  คาม   นิคมและราชธานี  โดยส่งไปแห่งละรูป  มิให้เดินทางไปแห่งเดียวกันสองรูป  

เมื่อ มีผู้ศรัทธาจะขอบวชในพุทธศาสนา   พระสาวกก็ไม่อาจจะบวชให้แก่ผู้เลื่อมใสเหล่านั้นได้  ต้องพาผู้มีศรัทธาเหล่านั้นเดินทางรอนแรม   หนทางก็ทุรกันดาร  พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากเหล่านี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสามารถบวชด้วย วิธีติสรณคมนูปสัมปทานี้  โดยไม่ต้องพาผู้ขอบวชเดินทางมาหาพระพุทธองค์อีกต่อไป

3.  ญัตติจตุตถกรรมวาจา  คือ  การอุปสมบทด้วยการสวดญัตติเป็นที่  4    การอุปสมบทหรือบวชพระในปัจจุบัน   ใช้วิธีการอุปสมบทแบบบัตติจตุตถกรรมวาจานี้โดย หมู่สงฆ์เป็นผู้ใช้  ซึ่งเดิมใช้วิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา  แต่วิธีการเดิมทำให้เกิดข้อผิดพลาดและบกพร่องในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามา บวชเป็นภิกษุ  พระพุทธเจ้าจึงทรงยกให้เป็นหน้าที่ของสงฆ์โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขถึงจำนวน สงฆ์ไว้  2  อย่าง  คือ

3.1  ในท้องถิ่นที่กันดารและห่างไกล   ให้ใช้สงฆ์จำนวน 5  รูป  ในการทำพิธีบวช

3.2  ในเมืองอันเป็นถิ่นที่หาภิกษุได้ง่าย   กำหนดให้ใช้สงฆ์จำนวน 10  รูป

ใน จำนวนภิกษุ 5 หรือ 10  รูปนั้น  ให้รวมกันเป็นคณะ   แล้วให้มีพระอุปัชฌาย์  1  รูปและพระคู่สวด  2 รูป  ส่วนภิกษุที่เหลือให้เป็นพระอันดับ   การรับรองการบวชในคณะสงฆ์จะต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์   หลังจากกำหนดใช้การบวชพระด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมนี้แล้ว  ก็ยกเลิกวิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา  และใช้วิธีหลังนี้สำหรับบวชให้แก่ผู้จะบวชเณร (บรรพชา)





-->>  บุคคลที่ห้ามอุปสมบท

ผู้ที่จะขออุปสมบทในพุทธศาสนา   จะต้องเป็นบุคคลที่มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย  วุฒิภาวะ   แล้วอัฏฐบริขารครบวินัยบัญญัติ  ในพระวินัยได้กำหนดคุณสมบัติไว้มากมายสำหรับผู้จะเข้าสู่พระธรรมวินัย   เพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสม ซึ่งคุณสมบัติที่ต้องห้ามมีดังต่อไปนี้




--> หมวดที่ 1  วัตถุวิบัติ   ห้ามอุปสมบทในพุทธศาสนา  ได้แก่

1.1 อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

1.2 บัณเฑาะก์  หรือกะเทย

1.3 อุภโตพยัญชนกะ  คือ คนที่มีทั้งเพศชายและเพศหญิง

1.4 ภิกขุณีทูสกะ   คือ คนที่ประทุษร้ายนางภิกษุณี

1.5 เถยยสังวาสกะ  คือ  คนที่ถือเพศเป็นภิกษุเอาเอง

1.6 ติตติยปักกันตกะ  ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์   ซึ่งขาดจากความเป็นภิกษุมาแล้วจะกลับมาบวชอีกไม่ได้

1.7 มาตุฆาตกะ  คือ  คนที่ฆ่ามารดา

1.8 ปิตุฆาตกะ    คือ  คนที่ฆ่าบิดา

1.9 อรหันตฆาตกะ  คือ   คนที่ฆ่าพระอรหันต์

1.10 โลหิตุปาทกะ  คือ  คนที่ทำร้ายพระพุทธเจ้า   แม้เพียงทำพระโลหิตให้ห้อเลือด

1.11 สังฆเภทกะ  คือ  คนผู้ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน (ทำลายสงฆ์)

1.12 ภิกษุที่ต้องปาราชิก   ซึ่งขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว  ไม่อาจบวชใหม่ในพุทธศาสนาได้อีก




-->  หมวดที่  2   บุคคลวิบัติ  หมายถึง  บุคคลผู้มีโรคร้ายแรงและมีอวัยวะบกพร่องห้ามบวชในพุทธศาสนา  มีดังนี้

2.1 คนมีโรคร้ายแรง  เช่น  โรคเรื้อน  กลาก  หืด ฝี  ลมบ้าหมู

2.2 คนที่มีอวัยวะบกพร่อง  เช่น  มีเท้า   ขาดวิ่น  หรือมีมือ  เท้า  เป็นแผ่น  นิ้วมือ  นิ้วท้าว  ติดกันเป็นแผ่น

2.3 คนพิการ เช่น คนค่อม  ตาบอด  มือหงิก  เท้าหงิก

2.4 คนทุพพลภาพ  เช่น  คนชรา  คนมีแรงน้อย  ซึ่งไม่อาจปฏิบัติศาสนกิจได้

2.5 คนที่มีพันธะผูกพัน  เช่น  คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว คนที่มารดาบิดาไม่อนุญาตให้บวช

2.6 โจรผู้ร้ายที่มีชื่อโด่งดังที่คนทั่วไปรู้จักถึงความโหดเหี้ยม




-->  หมวดที่  3  ข้อห้ามตามระเบียบของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน คณะสงฆ์ไทยได้วางระเบียบสำหรับผู้จะขอบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา  โดยห้ามบุคคลต่อไปนี้อุปสมบท

3.1 คนที่ทำผิดกำลังหลบหนีอาชญาแผ่นดิน

3.2 คนที่หลบหนีราชการ

3.3 คนที่มีคดีค้างอยู่ในศาล

3.4 คนที่เคยถูกศาลยุติธรรมตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายอุฉกรรจ์

3.5 คนที่เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง




-->  หมวดที่  4  คนที่ยังไม่พร้อมในด้านอื่น ๆ  ห้ามบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา  คือ

4.1 ผู้ที่ไม่มีพระอุปัชฌาย์ที่จะบวชให้

4.2 ผู้ที่ไม่มีบาตร

4.3 ผู้ที่ไม่มีจีวร

4.4 ผู้ที่ไม่มีทั้งบาตรและจีวร

4.5 ผู้ที่ยืมบาตรหรือขโมยบาตรเขามา

4.6 ผู้ที่ยืมจีวรหรือขโมยจีวรเขามา

4.7 ผู้ที่ยืมบาตรและจีวร  หรือขโมยทั้งบาตรและจีวรเขามา






คุณสมบัติที่สำคัญของผู้ขออุปสมบท


ในพระวินัยได้กำหนดคุณสมบัติที่สำคัญของผู้จะขออุปสมบทในพุทธศาสนาไว้พอสรุปได้  9  ข้อ  คือ

1. ไม่มีโรคติดเชื้อ  โรคเรื้อรัง  เช่น  โรคเรื้อน  โรคผี  โรคหืด โรคลมบ้าหมู

2. เป็นมนุษย์

3. เป็นชาย

4. ไม่เป็นทาส

5. ไม่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว

6. ถ้าเป็นข้าราชการจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน

7. ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา

8. อายุครบ  20 ปี บริบูรณ์

9. มีอัฏฐบริขารครบ  (บริขาร  8 )  ได้แก่

9.1 บาตร

9.2 อันตรวาสก  คือ  ผ้านุ่ง (สบง)

9.3 อุตตราสงค์  คือ ผ้าห่ม (จีวร)

9.4 สังฆาฏิ  คือ ผ้าพาดบ่า  (ผ้าสังฆาฏิ)

9.5 กายพันธ์  คือ  ผ้าประคดเอว  (ผ้าคาดเอว  ผ้ารัดเอว)

9.6 ธมกรก  คือ  หม้อกรองน้ำ

9.7 มีดโกน  (สำหรับใช้ปรงผม  โกนหนวด)

9.8 กล่องเข็มพร้อมด้าย  (สำหรับเย็บ  ชุนผ้า)



สำหรับข้อที่  9  คือเครื่องอัฏฐบริขาร  (บริขาร  8)  นี้  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บวชเป็นภิกษุอย่างมาก   เพราะภิกษุต้องใช้สิ่งของเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน  พระวินัยได้บัญญัติกำหนดให้ผู้จะอุปสมบทมีเครื่องบริขารทั้ง  8  อย่างครบถ้วน  สำหรับเครื่องใช้ที่ให้ความสะดวกอื่น ๆ  นั้น เพราะวินัยมิได้บัญญัติไว้ว่าต้องมี   เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น  จะมีไว้ก็เป็นเพียงเครื่องอาศัย   เช่น   อังสะ   (ผ้าเฉวียงบ่า)    และผ้าอาบน้ำฝน  เป็นต้น  ที่กำหนดไว้เช่นนี้   ก็เพื่อให้ภิกษุเป็นผู้มักน้อย  ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย   ไม่ดิ้นรนแสวงหาสิ่งอื่น  ๆ  อันไม่จำเป็น  อันจะทำให้เป็นการพอกพูนกิเลส ตัณหา   แล้วกลายมาเป็นความโลภในที่สุด





-->>  ขั้นตอนของการอุปสมบท

หลัง จากผู้ที่จะขอบวชไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม  และมีคุณสมบัติของผู้จะบวชครบถ้วนมีศรัทธาแน่วแน่ที่จะบวช  แจ้งวัตถุประสงค์ต่อวัดที่จะบวช  กำหนดวัน  เวลาและสถานที่ เตรียมตัวให้พร้อม  และท่องคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว   ก็นำนาคไปวัดตามธรรมเนียมมีการเวียนประทักษิณ   (เวียนขวา)  รอบโบสถ์  3  รอบ   แล้วเข้าโบสถ์เพื่อประกอบกิจในการบรรพชาอุปสมบท  ซึ่งมีขั้นตอน  ดังนี้


1. ให้บรรพชาเป็นสามเณร

2. ขอนิสัย  (ขอให้พระอุปัชฌาย์เป็นที่พึ่ง หรือเป็นต้นแบบแห่งความประพฤติ)

3. ถืออุปัชฌาย์

4. ตั้งชื่อภาษาบาลีให้แก่ผู้อุปสมบท และบอกนามของพระอุปัชฌาย์

5. ขอบาตรและจีวรให้แก่ผู้ขออุปสมบท

6. สั่งให้ผู้อุปสมบทออกไปยืนนอกหัตบาทสงฆ์เพื่อตอบคำถาม  (อันตรายิกธรรม)

7. สมมุติให้ภิกษุรูปหนึ่งหรือสองรูปซักถามอันตรายิกธรรมกับผู้ขออุปสมบท

8. ผู้ขออุปสมบทมีคุณสมบัติครบถ้วน  จะถูกเรียกเข้าท่ามกลางสงฆ์

9. ผู้ขออุปสมบทเปล่งวาจาขออุปสมบท  (ขอบวช)

10. สมมุติภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหรือสองรูปสอบถามอันตรายิกธรรม

11. ขอมติจากสงฆ์   เมื่อได้รับมติเอกฉันท์   การบวชจึงสามารถดำเนินต่อไป

12. เมื่อพิธีบวชเสร็จสิ้นแล้ว  พระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์   เป็นเสร็จพิธี





อนุศาสน์  8  อย่าง

ขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับพิธีการอุปสมบท   เมื่อผู้ที่ขอบวชผ่านพิธีการบวชเข้าสู่ภาวะ  ภิกษุเรียบร้อยแล้ว  พระอุปัชฌาย์จะสอนอนุศาสน์แก่ภิกษุใหม่   เพื่อเป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นอนุศาสน์ มี  8  อย่าง  แยกออกเป็น  2  ตอน  คือ


1.  นิสสัย  4  เครื่องอาศัยในการดำเนินชีวิตของบรรพชิต  เรียกว่า  “นิสสัย”   แยก ได้  4  ข้อ  คือ

1.1  เที่ยวบิณฑบาต

1.2  นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

1.3  อยู่โคนไม้เป็นวัตร

1.4  ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า




2. อกรณียกิจ  4  กิจที่ไม่ควรทำ เรียกว่า  “อกรณียกิจ”  แยกได้  4  ข้อ คือ

2.1  เสพเมถุน

2.2  ลักของเขา

2.3  ฆ่าสัตว์

2.4  พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน





-->>  อาบัติ

โทษที่เกิดเพราะความละเมิดของภิกษุในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม  เรียกว่า  “อาบัติ”  อาบัติว่าโดยชื่อมี  7  อย่าง  คือ

1. ปาราชิก

2. สังฆาทิเสส

3. ถุลลัจจัย

4. ปาจิตตีย์

5. ปาฏิเทสนียะ

6. ทุกกฎ

7. ทุพภาสิต




-->>  สิกขาบทในพระปาติโมกข์

ข้อห้ามที่ยกขึ้นเป็นสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์  ซึ่งอาจมีชื่อแตกต่างกับอาบัติหรือสิกขาบทที่มานอกพระปาติโมกข์  สิกขาบทที่ปรากฏอยู่ในพระปาติโมกข์  มีดังนี้

1. ปาราชิก 4

2. สังฆาทิเสส  13

3. อนิยต 2

4. นิสสัคคิยปาจิตตีย์  30

5. ปาจิตตีย์  92

6. ปาฏิเทสนียะ 4

7. เสขิยะ  75

8. อธิกรณสมถะ  7





นามต่าง ๆ  ของพระสงฆ์

พระสงฆ์ในพุธศาสนา   มีชื่อเรียกต่าง ๆ  ดังนี้

1. สาวก แปลว่า  ผู้ฟัง  ศิษย์

2. ภิกษุ  แปลว่า   ผู้ขอ  ผู้เห็นภัย

3. สมณะ  แปลว่า  ผู้สงบ

4. บรรพชิต  แปลว่า  ผู้ละเว้นจากความชั่ว  คือบาปอกุศลทั้งปวง

5. อนาคาริก  แปลว่า  ผู้ไม่มีเรือน   คือ  สละบ้านเรือนแล้ว

6. ศากยบุตร  แปลว่า  บุตรของพระศากยมุนี


ภิกษุณี  



ภิกษุณี เป็นสาวิกาในพุทธสาวก   เรียกว่า  “ภิกขุณีบริษัท”   ในบริษัท 4  ประวัติการเกิดขึ้นของภิกษุณีนั้น   เกิดจากพระนางมหาปชาบดีโคตรมี   ผู้เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า  (กนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา)  มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ขอบวชต่อพระพุทธเจ้า  เดิมทีพระพุทธเจ้าไม่มีพระประสงค์จะให้สตรีบวชในพุทธศาสนา  เพราะทรงเห็นว่าการบวชของสตรีจะทำให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่ได้นาน   แต่เนื่องจากพระนางมหาปชาบดีโคตรมีเป็นผู้ที่มีอุปการคุณต่อพระองค์มา ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  และพระอานนท์ก็ได้ขอพระพุทธานุญาตให้สตรีบวช  ในที่สุดพระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพุทธศาสนา  แต่ทรงกำหนดครุธรรม  8  ประการ  ให้สตรีที่ขอบวชเป็นภิกษุณียึดถือปฏิบัติไม่บกพร่อง  ดังนั้นพระนางมหาปชาดีโคตมีจึงได้บวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพุทธศาสนา  ในกาลต่อมา  สตรีจำนวนมากมีศรัทธาขอบวชเป็นภิกษุณีในพุทธศาสนา




การเข้าสู่ภาวะภิกษุณี

สตรีที่อายุยังน้อยจะให้บวชเป็นสามเณรีก่อน  เมื่ออายุครบ  18 ปี   หากปฏิบัติดีจะได้รับการบวชเป็นนางสิกขมานา    โดยรักษาศีลข้อที่ 1-6 ไม่ให้บกพร่องเป็นระยะเวลา  2  ปี  แล้วได้รับฉันทานุมัติจากสงฆ์   จึงจะสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้   หากนางสิกขมานามีความบกพร่องในความประพฤติ  ก็จะตั้งต้นนับเวลาใหม่  การขอบวชของสิกขมานาในรุ่นหลัง ๆ   จะปฏิบัติในสองขั้นตอนคือ...    




ตอนแรกจะต้องได้รับสิกขาสมมุติจากภิกษุสงฆ์ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาก่อน  และขั้นที่สองจะต้องถืออุปัชฌาย์เช่นเดียวกับการบวชเป็นภิกษุ  แต่เรียกชื่อว่า  “ปวัตตินี”  ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติคือมีพรรษาไม่ต่ำกว่า  12  พรรษา



อย่างไรก็ตาม  แม้ภิกษุณีจะถูกจัดอยู่ในบริษัท  1  ใน  4  ของพระพุทธเจ้า   ได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสืบต่อศาสนามาตามลำดับ  แต่ครั้นกาลล่วงมาถึงตอนปลายพุทธกาล   จำนวนภิกษุณีก็ลดน้อยลง  หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว  ชื่อของภิกษุณีก็เลือนหายไป  ในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งหลัง ๆ  ก็ไม่มีการเอ่ยถึงภิกษุณีว่ามีอยู่หรือมีบทบาทในการทำสังคายนาแต่ประการใด




ครุธรรม  8  ประการ

ครุธรรม  หมายถึง  ธรรมอันหนักหรือข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดสำหรับภิกษุณีในพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี  8  ประการ  คือ


1. ภิกษุณีแม้อุปสมบทตั้ง  100 ปี  จะต้องแสดงความเคารพต่อภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น

2. ภิกษุณีจะต้องอยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุเท่านั้น

3. ภิกษุณีต้องถามอุโบสถและฟังโอวาทของภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

4. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย

5. ภิกษุณีต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว  ต้องประพฤติมานัตปักษ์หนึ่งในสงฆ์สองฝ่าย

6. ภิกษุณีต้องอุปสมบทในสงฆ์สองฝ่าย (ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์)

7. ภิกษุณีไม่พึงด่าว่าภิกษุ  ไม่ว่ากรณีใด ๆ

8. ภิกษุณีไม่พึงสอนภิกษุ  แต่เปิดโอกาสให้ภิกษุสอนตน





ฐานะของภิกษุณี
 
การบวชเป็นภิกษุณีนั้น  จะมีสถานภาพที่แตกต่างไปจากการบวชเป็นภิกษุ   แนวปฏิบัติของภิกษุณีถูกกำหนดขึ้นมาให้ปฏิบัติอย่างมากมาย  และถูกจำกัดด้วยหลักการดำเนินชีวิตในแง่ต่าง ๆ  ดังข้อบัญญัติต่อไปนี้

1.  ภิกษุณีเป็นอุปสัมบันในหมู่ของภิกษุณีและผู้อื่น   แต่เป็นอนุปสัมบันในหมู่ภิกษุ คือไม่มีฐานะเท่ากัน

2.  ภิกษุณีจะร่วมสังฆกรรมต่าง ๆ  กับภิกษุไม่ได้   จึงไม่มีสิทธิจะห้ามอุโบสถปวารณาแก่ภิกษุในทุกกรณี

3.  ภิกษุณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัยที่จะให้ภิกษุกล่าวคำหยาบคายต่อตน

4.  ในกรณีที่ภิกษุณีด่าว่า  คุกคามภิกษุ  ภิกษุมีสิทธิที่จะห้ามอุโบสถปวารณาแก่ภิกษุณีได้

5.  เมื่อภิกษุณีจะถามปัญหาแก่ภิกษุ ให้บอกก่อนว่าจะถามอะไร ถามในเรื่องพระสูตร พระวินัย  หรือพระอภิธรรม เมื่อบอกไว้อย่างหนึ่งแล้ว    แต่กลับถามอีกอย่างหนึ่งเป็นอาบัติ



สำหรับข้อปฏิบัติของภิกษุณีที่เรียกว่า  “ศีล”   นั้น  ศีลของภิกษุณีมีถึง  311  ข้อ  การที่ศีลของภิกษุณีมีมากกว่าศีลของภิกษุนั้น   ส่วนใหญ่บัญญัติขึ้นเกี่ยวกับข้อห้ามของสตรีเพศเพื่อป้องกันรักษาให้ภิกษุณี ปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ  เปรียบได้กับการเลี้ยงดูบุตรในครอบครัวบิดามารดาย่อมมีหลักปฏิบัติแก่บุตร สาวไว้มากกว่า บุตรชาย  สาเหตุของข้อปฏิบัติก็มาจากความเป็นเพศหญิงของบุตรนั่นเอง

อุบาสก  คำว่า  “อุบาสก” มาจากคำภาษาบาลี  คือ  “อุปาสกะ”    แปลว่าผู้เข้าไปนั่งใกล้ ๆ  คือผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย   หมายถึง   ฆราวาสชายที่มีศรัทธาในพุทธศาสนา  แล้วนำเอาหลักธรรมไปเป็นแนวในการดำเนินชีวิต   บุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอุบาสก  นอกจากจะเข้าถึงพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ   พระธรรม  และพระสงฆ์  เป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว   ก็จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ  5  ประการ  คือ


3.1 ประกอบด้วยศรัทธา  (เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ)

3.2 มีศีลบริสุทธิ์

3.3 ไม่เชื่อถือมงคลตื่นข่าว

3.4 ไม่แสวงบุญนอกพุทธศาสนา

3.5 บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา



อุบาสก ที่ถือว่า  ผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงนั้น   ควรเป็นผู้ที่ดำรงตนอยู่ในธรรมอันเป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก  เรียกว่า  “อุปาสกธรรม  7  ประการ”  คือ


1. ไม่ขาดจากการเยี่ยมเยียนพบปะพระภิกษุสงฆ์


2. ไม่ละเลยในการฟังธรรม

3. ศึกษาในอธิศีล    คือ    การอบรมฝึกฝนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป

4. ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสในภิกษุสงฆ์ทั้งที่เป็นพระเถระพระนวกะและปูนกลาง

5. ฟังธรรมด้วยใจบริสุทธิ์  คือไม่ฟังเพื่อจ้องจับผิด  หาช่องเพื่อตำหนิติเตียน

6. ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้  คือ  ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพุทธศาสนา

7. ให้การสนับสนุนพระศาสนานี้เป็นที่ต้น  คือเอาใจใส่ในการทำนุบำรุงและช่วยกิจการของพุทธศาสนา


 

อุบาสิกา  คำว่า  “อุบาสิกา”  มาจากคำว่าภาษาบาลีว่า  “ อุปาสิกา”   แปลว่าผู้เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย  หมายถึง  ฆราวาสหญิงที่ศรัทธายอมรับเอาพระรัตนตรัยคือ   พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์    เป็นที่พึ่งที่ระลึก  นอกจากนี้ก็จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติ  5  ประการ   เช่นเดียวกับอุบาสกดังกล่าวข้างต้น



อุบาสกและอุบาสิกา  ผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนา   ได้นำเอาหลักคำสอนที่พระสงฆ์สาวกได้อบรมสั่งสอน  แล้วนำไปปฏิบัติตามความสามารถของตน  ๆ  จนเกิดผลอันเป็นประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลในการปฏิบัตินั้นควรจะให้มี การพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับพระพุทธศาสนาได้สอนหลักธรรมหมวดหนึ่งไว้  เพื่อให้อุบาสกและอุบาสิกานำมาเป็นเครื่องวัดความเจริญก้าวหน้าในการ ประพฤติปฏิบัติ   ซึ่งถือว่าเป็นหลักธรรมวัดความเจริญในพระศาสนาธรรมหมวดนี้  เรียกว่า “อารยวัฒิธรรม”  มี  5  ประการ  คือ


1.  ศรัทธา เชื่อมั่นในหลักพุทธศาสนา  โดยไม่หลงงมงายและไขว้เขว

2.  ศีล ประพฤติและเลี้ยงชีพสุจริต  เป็นแบบอย่างในทางที่ดี

3.  สุตะ รู้และเข้าใจในหลักศาสนาเพียงพอต่อการปฏิบัติและแนะนำผู้อื่น

4.  จาคะ มีน้ำใจเผื่อแผ่และเสียสละ  พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่ควรได้รับความช่วยเหลือ

5.  ปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตให้บริสุทธิ์เป็นอิสระ


พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  คือ  พิธีที่บุคคลมีศรัทธาในพุทธศาสนา  ประกาศตนยอมรับเอาพระรัตนตรัย    คือ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  เป็นที่พึ่งที่ระลึกการบวชเป็นภิกษุ  สามเณร  การประกาศตนของคฤหัสถ์ทั่วไปในการยึดเอาพระรัตนตรัยล้วนถือว่าเป็นการแสดง ตนเป็นพุทธมามกะทั้งสิ้น



พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะของคฤหัสถ์ ทั่วไปนั้น   อาจจะกระทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่เป็นคณะก็ได้   ก่อนเริ่มพิธีจะต้องจัดสถานที่  เช่น  อุโบสถ  ศาลาการเปรียญ   หรือหอประชุมขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ที่จะเข้าแสดงตนเป็นชาวพุทธมามกะว่ามี มากหรือน้อย   แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีและรับรู้ในการประกาศตน   ซึ่งเริ่มพิธีตามขั้นตอนดังนี้


1.  ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

2.  ประธานกล่าวนำคำบูชาพระรัตนตรัย

3.  ประธานกล่าวนำคำนมัสการพระรัตนตรัย

4.  หัวหน้าของกลุ่มผู้จะประกาศตนเป็นพุทธมามกะนำพานเครื่องสักการะถวายพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน

5.  ทุกคนกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์พร้อมกัน

6.  ทุกคนทุกเข่าหรือยืนประนมมือ  (แล้วแต่กรณี)




คำปฏิญาณต่อหน้าพระสงฆ์

1.  คำนอบน้อมพระพุทธเจ้า

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส


2.  ปฏิญาณสำหรับผู้ประกาศตนคนเดียว  (ชาย)

เอสาหํ   ภนฺเต  สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ  ตํ  ภควนฺตํ  สรณํ  คจฺฉามิ
ธมฺมญฺจ  สงฺฆญฺจ  พุทธฺมามกาติ  มํ สงฺโฆ  ธาเรตุ


3. คำปฏิญาณสำหรับชายเป็นคณะ

เอเต  มยํ  ภนฺเต  สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ  ตํ  ภควนฺตํ   สรณํ   คจฺฉาม
ธมฺมญฺจ  สงฺฆญฺจ  พุทฺธมามกาติ   โน  สงฺโฆ  ธาเรตุ

แปลว่า  ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแม้ปรินิพพานนานแล้ว   พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก   ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าทั้งหลายว่าเป็นพุทธมามกะ  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน  คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า


เมื่อจบคำปฏิญาณ  พระสงฆ์ยอมรับเข้าเป็นพุทธมามกะ  ด้วยการกล่าวคำ  “สาธุ”  แล้วผู้ปฏิญาณกล่าวคำขออาราธนาศีล  5   ต่อไป

(คนเดียว)  อหํ  ภนฺเต  วิสุง  วิสุง  รกฺขณตฺถาย  ติสรเณน  สห  ปยฺจ  สีลานิ  ยาจามิ
ทุติยมฺปิ     อหํ  ภนฺเต  วิสุง  วิสุง  รกฺขณตฺถาย  ติสรเณน  สห  ปยฺจ  สีลานิ  ยาจามิ
ตติยมฺปิ     อหํ  ภนฺเต  วิสุง  วิสุง  รกฺขณตฺถาย  ติสรเณน  สห  ปยฺจ  สีลานิ  ยาจามิ


(เป็นคณะ)  มยํ ภนฺเต  วิสุง  วิสุง  รกฺขณตฺถาย  ติสรเณน  สห  ปยฺจ  สีลานิ  ยาจามิ
ทุติยมฺปิ      มยํ ภนฺเต  วิสุง  วิสุง  รกฺขณตฺถาย  ติสรเณน  สห  ปยฺจ  สีลานิ  ยาจามิ
ตติยมฺปิ      มยํ ภนฺเต  วิสุง  วิสุง  รกฺขณตฺถาย  ติสรเณน  สห  ปยฺจ  สีลานิ  ยาจามิ







Heute waren schon 8 Besucher (22 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden