vipassana - บุญ
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

บุญ เป็นชื่อของความสุขอันเกิดจากการทำความดี เหตุที่ทำให้ชีวิตของเรามีความสุข มีอยู่หลายเหตุ เช่นการศึกษา ระบบสังคม ระบบการปกครอง การสาธารณูปโภค แต่เหตุทั้งหลายเหล่านั้นไม่ใช่เหตุโดยตรง เป็นสาเหตุโดยอ้อมเท่านั้น

บางครั้งบางคราว คนเราอาจหาความสุข ได้จากการทำความชั่วความเลว แต่ความสุขเช่นที่ว่านี้ไม่เรียกว่า บุญ ทั้งนี้เพราะความสุขดังกล่าว จะต้องมีกุศลในอดีตชาติเป็นรากฐาน และมีความเดือดร้อนในอนาคตเป็นผลผลักดันรออยู่เบื้องหลัง

"กรรมใดทำแล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ควรทำ" พระบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธตรัสสอนอย่างนี้

ความดี ทำให้เกิด ความสุข
ความรู้ ทำให้เกิด ความฉลาด
การฝึกฝน ทำให้เกิด ความสามารถ


การแบ่งแยกประเภทของบุญ ซึ่งแม้จะไม่ละเอียดทุกข้อ ทุกประเด็น แต่ก็หวังว่า คงมากพอที่จะทำให้ท่านเกิดความรู้ความเข้าใจ

บุญประกอบ

ใน อดีตชาติ บุคคลไม่ทำบุญด้วยตนเอง แต่เป็นลูกมือจัดการทำบุญตามคำขอร้องของผู้ใหญ่ เป็นลูกน้องทำทานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ชาตินี้เกิดมาร่วมภพ ร่วมวงการ ร่วมสมัยกับเจ้านาย ก็จะได้พึ่งใบบุญของเจ้านาย เมื่อสิ้นบุญหรือพลัดพรากแยกกันไป ก็ตกอับยากจน ขายทรัพย์สมบัติ ขายของเก่าเลี้ยงชีพ

บุญกุศล

บุคคล ทำบุญด้วยตนเอง กับพระภิกษุ สมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีล ผู้ใหญ่ทรงคุณธรรมสูง บุคคลทำบุญเพื่อความดีงามของศาสนา หรือระบบจริยธรรม โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการทำบุญทำทานของตน

1) ไม่รู้จักมักคุ้นกัน หรือ
2) ไม่อยู่ในฐานะเดือดร้อนวุ่นวาย หรือ
3) ไม่ต้องระลึกจดจำความดีงามอันนั้นแต่อย่างใด

บุญ กุศลมีพลังมีอานุภาพ ยกระดับเลื่อนชั้น เลื่อนฐานะสังคมของผู้กระทำบุญกุศล ป้องกันมิให้ผู้มีบุญต้องตกต่ำจากฐานะเดิม บุญกุศลมีลักษณะพิเศษ ที่เจ้าของบุญสามารถนำออกใช้หรือบริโภคผลบุญตามจังหวะเวลาที่ต้องการ บุญกุศลเก็บไว้ได้นาน โดยไม่เสื่อมคุณภาพแต่อย่างใด ตามปกติการประกอบบุญกุศล จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า เพราะต้องใช้เวลา ต้องใช้ความคิด ต้องเสียสละทรัพย์วัตถุสิ่งของ ต้องสละแรงงาน หรือความสะดวกสบายบางอย่างบางประการ

บุญจรรยา

บุคคล มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ บุคคลมีเมตตาอารี เป็นพื้นฐานจิตใจ ทำความดีเล็ก ๆน้อย ๆ ทุกโอกาสทุกเวลา มีความสุขจากการทำความดี มีความชื่นอารมณ์สุขสมใจจากการช่วยเหลือมนุษย์และสัตว์เลี้ยง บุญจรรยาจะให้ความสุขแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา เป็นความสุขในชีวิตประจำวัน เป็นความสุขที่ฝังแฝงปะปนอยู่ในวิญญาณ อยู่ในสายชีวิต ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องรอโอกาส ไม่ต้องรอภพหน้าชาติหน้า

บุญคุณ

บุคคล มีจิตสงสารผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หวั่นไหวสะเทือนใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น จึงได้ยอมเสียเวลา สละโอกาส แบ่งปันทรัพย์ คือวัตถุสิ่งของ แบ่งปันทรัพย์ คือ ปัญญา แบ่งปันทรัพย์ คือ ความรอบรู้ เขาช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ ดึงตัวให้พ้นจากความทุกข์ลำบาก บุญคุณ มีความเดือดร้อนของคนอื่นสัตว์อื่นเป็นแดนเกิด คนนั้นสัตว์นั้นจะมีคุณธรรมหรือไม่ ไม่เป็นปัญหาสำคัญ คงถือเป็นเรื่องบุญคุณทั้งสิ้น อานิสงส์ของบุญคุณขึ้นอยู่กับระดับจิตใจของเจ้าหนี้บุญคุณ และลูกหนี้บุญคุณ ถ้าผู้กระทำเกิดปิติชุ่มชื่นใจ เมื่อเห็นคนอื่นพ้นทุกข์จากการกระทำของตน หวังเพียงแค่นั้นก็มีอานิสงส์มากเป็นอานิสงส์เช่นเดียวกับบุญจรรยา ถ้าผู้กระทำรู้สึกเฉย ๆ ไม่ดีใจ จะปลื้มใจต่อเมื่อลูกหนี้บุญคุณมาทำความดีตอบแทน บุญคุณนั้นก็มีอานิสงส์น้อย ถ้าบุญคุณนั้น ผู้กระทำหวังผลมาก แล้วไปเจอลูกหนี้ขี้โกงเบี้ยวหนี้ ทรยศ เนรคุณ ไม่ยอมรับรู้บุญคุณ ความดีนั้น ก็เป็นหมันไม่อาจจะงอกงามไพบูลย์ขึ้นมาได้

บุญร่วม

ความ ดีบางอย่างบางประการเป็นงานใหญ่ ไม่สามารถทำให้สำเร็จเสร็จสิ้นไปตามลำพัง ความสามารถเฉพาะตนได้ จะต้องอาศัยสามัคคีธรรม คือความร่วมมือร่วมใจจากผู้มีน้ำใจดีอีกหลายคน ความดีนั้นเป็นสหกรรมวิบาก หรือบุญร่วม อานิสงส์จะยิ่งใหญ่ไพศาล เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อผู้ร่วมทำบุญครั้งนั้นมาร่วมวงงานเดียวกัน ร่วมกินร่วมอยู่ด้วยกัน หากต่างคนต่างแยกกันอยู่ ไม่ข้องเกี่ยวกัน ผลบุญก็ปรากฏให้ผู้กระทำแต่ละคนได้รับเพียงหนึ่งในสามของส่วนเฉลี่ย หรือต่ำกว่านั้น คน 10 คน สมัครสมานสามัคคีกัน สร้างถาวรวัตถุไว้ในศาสนา ผลบุญ 100 ส่วน คนแต่ละคนจะได้รับผล 10 ส่วน ก็ต่อเมื่อทั้งสิบคนมาร่วมขุมนุมกินอยู่สังสรรค์สโมสรกัน ผลบุญจึงจะเต็ม 100 ส่วน หากต่างคนต่างอยู่ ผลบุญขาดสามัคคีธรรม ในสมัยก่อนเป็นพลังงานร่วม ผลบุญก็จะลดน้อยลงไป เหลือแบ่งปันกันเพียงคนละ 3 ส่วนเป็นอย่างสูง

บุญเชิดชู

ใน กรณีที่คนสองคนหรือมากกว่านั้น เคยทำบุญในอดีตชาติ ต่างเทศะ ต่างวาระ แต่ว่าบุญเหล่านั้นเป็นบุญประเภทเดียวกัน เช่นเลี้ยงดูสงเคราะห์เด็กกำพร้า ต่างสำนัก ต่างประเทศบ้านเมืองกัน ไม่ได้ข้องเกี่ยวกันมาเลยในภพก่อนชาติก่อน มาในชาตินี้ บุคคลทั้งสองได้มาร่วมงานอยู่กิน ณ สถานที่แห่งเดียวกัน รักใคร่ปรองดองกัน ผลบุญของทั้งสองคนซึ่งเคยร่วมประเภทบุญกันมา แม้จะต่างวาระต่างสถานที่ ก็จะเชิดชูให้ชีวิตร่วมวงงานหรือผัวเมียของบุคคลทั้งสองรุ่งโรจน์วัฒนา เพราะบุญทั้งสองฝ่ายไม่ขัดแย้งกัน บุญทั้งสองฝ่ายเกื้อหนุนอุ้มชูกัน

บุญชดเชย

บุคคล เกิดวิปฏิสาร เดือดเนื้อร้อนใจไม่ผาสุก เพราะคิดได้ว่าเคยทำบาป กลั่นแกล้งผู้มีพระคุณ ใส่ร้ายกัลยาณชน จึงได้ทำความดีงามต่อเจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้น รับใช้อุปัฏฐากช่วยเหลือ เจือจุน มิให้ต้องอาทรร้อนใจ ทำบุญอุทิศถวายปลดเปลื้อง ความสำนึกผิด แล้วทำดีชดเชยชดใช้ให้เช่นนี้ แม้จะไม่ลบล้างบาปกรรมได้ ก็ให้อานิสงส์ทางด้านชดเชย เกิดภพใหม่ชาติใหม่ ความเสียหายเดือดร้อน ความทุกข์ระทมขมขื่นของเขาจะได้รับความดีงามบางอย่างเป็นสิ่งตอบแทนแลก เปลี่ยน รักผู้หญิง ผู้หญิงสลัดรัก อกหักระทมตรมตรอมได้ไม่นานก็พบรักใหม่ หวานชื่นไม่แพ้รักเก่า เกิดอุบัติเหตุรถชนแข้งขาหัก เข้ารักษาตัวโรงพยาบาลก็ได้รับเงินค่าเสียหาย ค่าเจ็บป่วยจากบริษัทประกันภัย ได้รู้จักมักคุ้นกับแพทย์ และพยาบาลผู้รักษา ซึ่งได้เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันในเวลาต่อมา

บุญสมดุลย์

บุญ สมดุลย์ หรือบุญลดบาป มีความหมายคล้ายคลึงกับบุญชดเชย ต่างกันเพียงเล็กน้อย บุญชดเชย เราทำบาป ทำความเดือดร้อนให้แก่บุคคลใดสัตว์ตัวไหน เราก็ทำบุญบำเรอความสุขให้แก่บุคคลนั้น สัตว์นั้น บุญสมดุลย์ หรือบุญลดบาป เราทำบาป เราทำความลำบากแก่สัตว์หรือมนุษย์ด้วยวิธีการอย่างใด เราก็ทำความดี ทำบุญด้วยวิธีการตรงกันข้าม เคยเบียดเบียนสัตว์ ทุบทำร้าย วัว ควาย หมู หมา สัตว์เลี้ยงเหล่านั้นตายไปแล้ว หรือจำหน่ายจ่ายแจกแลกเปลี่ยนไปแล้ว รู้สึกตัวว่าโหดร้าย ไร้เมตตา ทารุณต่อสัตว์นั้น ก็อาจลดบาปด้วยการซื้อ ปู ปลา เต่า มาปล่อย ซื้อนกมาปล่อย ในวันพระวันโกน แม่บ้าน แม่ครัว จะซื้อกุ้งมาพล่า จะซื้อปลามายำก็ห้ามปรามเอาไว้ บอกว่าวันนี้มันต้องห้าม ต้องกินเจ สัตว์เลี้ยงรุ่นใหม่เลี้ยงภายหลัง ก็เอาใจใส่ดูแลสุขทุกข์ให้ข้าว น้ำ อาหาร เยียวยารักษาเมื่อเวลาเจ็บป่วย บุญสมดุลย์ ควรจะรีบด่วนทำ ก่อนที่บาปกรรมจะแปรสภาพเป็นวิบาก คือผลกรรมตามสนอง มิฉะนั้นจะแก้ไขได้ยาก เมื่อผลกรรมข้ามภพข้ามชาติเป็นวิบากมาทำลายล้าง มาทำความลำบากให้ผู้กระทำ ความรู้ทางศาสนา ความรู้ทางไสยศาสตร์ ความรู้ทางญาณจะบ่งบอกให้ผู้กระทำรู้ว่า ในอดีตชาติเขาได้ทำบาปกรรมอันใดไว้ ขณะชดใช้บาปกรรมอยู่ เขาอาจจะทำบุญสมดุลย์ เพื่อลดความเข้มข้น รุนแรงของบาปกรรมลงไป แต่บุญสมดุลย์ในลักษณะเช่นนี้ มีอานิสงส์อ่อนหย่อนยานไม่เข้มแข็งเปรียบประหนึ่ง บุคคลปล่อยให้โรคภัยไข้เจ็บเข้าจู่โจมเบียดเบียน แล้วจึงให้ยาบำรุงรักษาร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งถึงอย่างไรก็สู้การป้องกันไว้ก่อนไม่ได้ ป้องกันดีกว่ารักษา เพราะว่าเราได้มีการทำบาปอยู่เสมอ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา อันนำมาอย่างแน่นอน ซึ่งผลของบาป หรือกรรมนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำบุญ

บุญชูชีพ

บุคคล บางคน เป็นคนเลวร้ายในสายตาสังคม เป็นทรชนในสายตาของทั่วไป กระนั้นก็ตามเขาก็มิได้พบกับความวิบัติ ขัดข้อง เหมือนดั่งที่ศัตรูของเขาสาปแช่งหวังร้ายไม่ ยังคงยืนหยัดมีกินมีใช้มีที่อยู่ที่อาศัย พอเพียงแก่อัตภาพอยู่เสมอมา ตลอดเวลาเคราะห์ร้ายจะโหมกระหน่ำโจมตีสักเพียงไรเขาก็ยังคงดำรงทรงตนอยู่ได้ ท่ามกลางมรสุมชีวิต มีผู้หวังดีให้ข้าวน้ำอาหารมีที่อยู่อาศัยแก่เขาทุกครั้ง ที่ประสบความเดือดร้อน อดอยากยากจนเขาไม่ต้องเร่รอนขอทานหรือซมซานหนี้ชีวิต ไม่ต้องคุกเข่าขอความปรานีต่อศัตรู ให้เสื่อมเกียรติเสียศรี ความดีงามของเขาเป็นจุดเด่น เป็นบุญชูชีพชีวิตไม่ให้เขาแตกดับล่มจม คนอื่น ๆ มองไม่เห็นแต่เทพเจ้าล่วงรู้ เขาจงรักภักดีต่อชาติไม่ยอมขายชาติ แม้จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นแสน เป็นล้าน เขาดื่มสุราอาละวาด เอะอะมะเทิ่งไม่เกรงใจชาวบ้าน เขาเป็นคนแข็งกระด้าง อวดดี หยิ่งยะโส ใคร ๆ ก็เกลียดชังเขาทั้งนั้น แต่เมื่อชาติประเทศต้องการความช่วยเหลือ เขาก็ยอมเสียสละอุทิศร่างกาย เพื่อพิทักษ์รักษาชาติให้พ้นภัย บุคคลบางคนเป็นคนกิเลสหนาตัณหาจัด ชอบมั่วในโลกีย์สุขเคล้าคลุกอยู่ในอบายมุข แต่เขาเป็นคนรักษาสัตย์ยิ่งชีวิต รับปากกับใครให้คำมั่นสัญญากับผู้ใด ก็ยึดมั่นในสัญญานั้นอย่างเหนียวแน่นมั่นคง แม้เขาจะทำบาปกรรมหลายอย่างหลายประการ ต่างกรรมต่างวาระแต่ตลอดชีวิตของเขา เขาไม่เคยเสียสัตย์ คุณธรรมคือสัจจะแห่งลูกผู้ชายของเขาบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งนัก ไม่เคยมัวหม่นเศร้าหมองเลยแม้แต่น้อย เป็นคุณธรรมความดีเพียงประการเดียว ที่เป็นบุญชูชีพชีวิตของเขาไว้ การทำความดี รักษาความดี สละผลประโยชน์เพื่อความดี อุทิศชีวิตเพื่อความดี แม้เพียงประการใดประการหนึ่ง ความดีนั้นก็จะเข้มข้นมีพลังแรงขึ้น เป็นบารมีธรรมประดับชีวิต ถึงหากกว่า ผู้ใหญ่กลั่นแกล้ง เพื่อนชั่วร้าย นายชิงชัง จะทำให้เขายุ่งยากเดือดร้อน ก็เป็นเพียงทำให้เขาสะบักสะบอม สาหัสสากรรจ์เท่านั้น ไม่อาจทำให้เขาต้องวิบัติจมดินทรายหายสาปสูญไปไม่ เมื่อมีโอกาสงามในวันหน้า เมื่อเคราะห์ร้ายผ่านพ้นไปแล้ว เขาก็จะเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป

บุญสืบ

บุคคล บางคนเป็นผู้มีคุณธรรมสูง เป็นผู้ที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์มีสติระลึกได้เสมอว่าที่ตนเองได้มีเกียรติ ผาสุกสนุกสบายทุกวันนี้ มีใครเป็นผู้วางรากฐานชีวิตในวัยเด็ก มีปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ไม่หลงลืมว่า ผลสำเร็จในหน้าที่การงานของตนหรืองานบุญกุศล มีบริวารคนใด เพื่อนฝูงคนไหน ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เมื่อใดที่ประสบโชคลาภ หรือได้รับความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็พิจารณาใคร่ครวญเฟ้นหาตัวบุคคล ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วแบ่งปันความสุข เผื่อแผ่ความสำราญให้ผู้ร่วมงานได้เงินก้อนใหญ่ก็กันส่วนหนึ่งไว้ซื้อของ ขวัญ ของกำนัล ของสมนาคุณให้แก่ลูกน้อง จัดงานเลี้ยง งานสังสรรค์สโมสร ขึ้นในบรรดาผู้ร่วมงาน ไม่อุบนิ่งทำเฉยบริโภคผลประโยชน์แต่ลำพังเพียงคนเดียว ได้เครื่องบำรุงความสุขแบบ แปลกๆ ใหม่ๆ ใช้สะดวก ก็เอาไปติดตั้งไว้ในบ้านพ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณ รับตัวญาติผู้ใหญ่ หรือพี่เลี้ยงในวัยเด็กไปเที่ยวเตร่พักผ่อนหย่อนใจในวนอุทยานแห่งชาติ หมู่บ้านชายทะเล บ้านพักตากอากาศบนภูเขา


อานิสงส์ การ ทำบุญ

 

ศีล เป็นสะพาน
ทาน เป็นเสบียง



                                ขอให้ฉลาดในการทำบุญกุศล!!!

การ ทำบุญกุศลอยู่ที่เจตนาครับ ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ เกิดความปีติ ปลื้มใจ ดีใจ จำนวนเงินมากน้อยไม่สำคัญนัก.....การทำบุญเจาะจงตัวบุคคลผู้รับ จะได้บุญน้อยกว่าไม่เจาะจงเพราะขึ้นอยู่ว่าผู้รับจะมีศีลบริสุทธิ์หรือไม่ แค่ไหน ไม่เจาะจงคือถวายเป็นสังฆทาน(ของสงฆ์ส่วนรวม)ถวายต่อพระสงฆ์ตั้งแต่4รูปขึ้น ไป จะเป็นของอะไรก็ได้ ต้องบอกท่านว่าถวายเป็นสังฆทาน สงฆ์ใดจะรับไว้เป็นกรรมสิทธิ์องค์เดียวไม่ได้ เป็นบาปหนักจะต้องเอาไปเป็นกองกลาง ส่วนรวม....พระพุทธเจ้ายืนยันว่าทำบุญกับพระพุทธเจ้ายังสู้ทำบุญสังฆทานไม่ ได้ เพราะพระพุทธเจ้ามีอายุแค่80ปีเอง แต่พระสงฆ์ที่เป็นผู้สืบทอดอายุพุทธศาสนาอยู่ได้ถึง5,000ปีหรือมากกว่าจึง ได้บุญมากกว่า....บุญใหญ่กว่าสังฆทานคือผ้าป่าที่เรียกว่า มหาสังฆทาน.....และที่เหนือกว่าผ้าป่าคือ บุญกฐินครับ(ทำได้แค่1เดือนใน1ปี).......ก็เลือกเอาจะทำบุญแบบไหน ถ้ามีเงินน้อยก็ให้ตั้งใจถวายรวมไปเลย เช่นมีเงิน 10 บาท แต่มีพระ100 องค์เราก็ตั้งใจถวายพระทั้งหมดไปเลย100องค์รวม10บาท เราก็ได้บุญ10คูณด้วย100เท่ากับ1,000บาทเป็น100เท่าทีเดียวครับ นี่เป็นความฉลาดในการทำบุญที่หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนาท่านสอนลูกศิษย์ลูกหา ที่ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงยากจนให้รู้จักฉลาดในการทำบุญครับ.....




บุญกิริยาวัตถุ
      บุญกิริยาวัตถุ แปลว่าหลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือหลักแห่งการทำบุญ บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี 3 อย่าง คือ
1.ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
2.ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
3.ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
      หมายความว่า วิธี หรือหลักแห่งการทำบุญในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดโดยย่อแล้วก็มีเพียง 3 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา แต่ถ้าขยายความให้กว้างออกไป บุญกิริยาวัตถุมี 10 ประการ คือ
1.ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
2.ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
3.ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
4.อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
5.ไวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ
6.ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ
7.ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ
8.ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
9.ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
10.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง การปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูก

มาสร้างบุญกันเถอะ

1. นั่งสมาธิ อย่างน้อยวันละ 15 นาที(หรือ เดินจงกรม ก็ได้)
อานิสงส์ - เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจาก กิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
เจ้า กรรมนายเวร และญาติมิตรที่ ล่วงลับ จะได้ บุญกุศล

2. สวดมนต์ ด้วย พระคาถา ต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
อานิสงส์ - เพื่อให้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็น สมาธิ ได้เร็ว แนะนำพระคาถา พาหุงมหากา, พระคาถาชินบัญชร, พระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น เมื่อสวดเสร็จต้อง แผ่เมตตา ทุกครั้ง

3. ถวายยารักษาโรค ให้วัด, ออกเงินค่ารักษาให้พระตาม โรงพยาบาลสงฆ์
อานิสงส์ - ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกาย จิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้ และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา

4. ทำบุญตักบาตร ทุกเช้า
อานิสงส์ - ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหย อยู่ใน ภพ ที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์

5. ทำหนังสือ หรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับ ธรรมะ แจกฟรีแก่ผู้คนเป็น ธรรมทาน
อานิสงส์ - เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ ธรรม จึงสว่างไปด้วย ลาภยศ สรรเสริญ ปัญญา และ บุญบาร มีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรม ให้ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน

6. สร้างพระ สร้างพระถวายวัด
อานิสงส์ - ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุข ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ ของ พุทธศาสนา ตลอดไป

7. แบ่งเวลาชีวิตไป บวชชีพราหมณ์ หรือ บวชพระ อย่างน้อย 9 วันขึ้นไป
อานิสงส์ - ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ ผ่อนปรน หนี้กรรม อุทิศผลบุญให้ญาติ มิตรและ เจ้ากรรมนายเวร สร้างปัจจัยไปสู่ นิพพาน ในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของ พุทธศาสนา จิตเป็นกุศล

8. บริจาคเลือด หรือ บริจาค ร่างกาย
อานิสงส์ - ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดา ปกปักรักษา ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วน ภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง

9. ปล่อยนก ปล่อยปลา ที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้ง ปล่อย สัตว์ ไถ่ชีวิต สัตว์ต่าง ๆ
อานิสงส์ - ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต ชดใช้หนี้กรรม ให้ เจ้ากรรมนายเวร ที่ เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใสเป็นอิสระ

10. ให้ทุนการศึกษา, บริจาคหนังสือ หรือสื่อการเรียนต่าง ๆ, อาสาสอนหนังสือ
อานิสงส์ - ทำให้มี สติปัญญา ดี ในภพต่อ ๆ ไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม

11.ให้เงินขอทาน, ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม)
อานิสงส์ - ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้ง ภพนี้ และ ภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมา ชาติหน้า จะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง จะได้เงินทองกลับ มาอย่างไม่คาดฝัน

12. รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8

อานิสงส์ - ไม่ต้องไปเกิดเป็น เปรต หรือ สัตว์นรก ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ ครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง กรรมเวร จะไม่ถาโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดา นางฟ้า ปกปักรักษา

อานิสงส์ 10 ข้อของการ ไม่กินเนื้อสัตว์
1. เป็นที่รักของบรรดา เทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์เหี้ยมโหดเครียดแค้นในใจลงได้
4. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
5. มีอายุมั่นขวัญยืน
6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจาก เทพ ทั้งปวง
7. ยามหลับ นิมิต เห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล
8. ย่อมระงับการ จองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน
9. สามารถดำรงอยู่ในกระแส พระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสู่ อบายภูมิ
10. ทันทีที่ละ สังขาร จากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่ สุคติภพ

อานิสงส์การจัด สร้างพระพุทธรูป หรือสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับ พระธรรม คำสอน เป็นกุศลดังนี้
1. อกุศลกรรม ใน อดีตชาติ แต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ปวงภัยไม่มีคนคิดร้ายไม่สำเร็จ
3. เจ้ากรรมนายเวร ใน อดีตชาติ แต่ปางก่อน เมื่อได้รับ ส่วนบุญ ไปแล้วก็จะเลิก จองเวร จองกรรม
4. เหล่า ยักษ์ ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัยอยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย
5. จิตใจสงบ ราศี ผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้าผู้คนนับถือ
6. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
7. คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพ ยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป
8. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้ เกิด เป็นชายเพื่อ บวช
9. พ้นจากมวล อกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาล้ำเลิศ บุญกุศลเรืองรอง
10. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็น กุศลจิต แก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้สร้างที่เกิดจะได้ฟัง ธรรม จาก พระอริยเจ้า ปัญญาในธรรมแก่กล้า สามารถได้ อภิญญาหก สำเร็จ โพธิญาณ

อานิสงส์ การ บวชพระ บวชชีพราหมณ์
(บวช ชั่วคราวเพื่อ สร้างบุญ, อุทิศ ให้พ่อแม่ เจ้ากรรมนายเวร)
1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ตามปรารถนา
2. เจ้ากรรมนายเวร จะ อโหสิกรรม หนี้กรรม ในอดีตจะคลี่คลาย
3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
4. เป็นปัจจัยสู่ พระนิพพาน ในภพต่อๆไป
5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็น สัจธรรม แห่งชีวิต
7. เป็นที่รักที่ เมตตามหานิยม ของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่า เทวดา
8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงิน ไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
9. โรคภัย ของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและ รักษาหาย
10. ตอบแทน พระคุณ ของ พ่อแม่ ได้เต็มที่สำหรับผู้ที่ บวช ไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่าง ๆ ก็สามารถได้รับ อานิสงส์ เหล่านี้ ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้ บวช สนับสนุนส่งเสริม อาสาการให้คนได้บวช
++++++++++++++++++++++++++
            เกาะชายผ้าเหลืองลูกลงนรก
พ่อ แม่หลายคนไม่รู้จักธรรมะและไม่เคยศึกษาธรรมะใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อมาเกิดในศาสนาพุทธก็จะต้องมีประเพณีบวชลูก และพ่อแม่ก็มักมีความคิดว่าเมื่อลูกบวช ตัวเองก็จะได้บุญ เปรียบเสมือนเกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ ซึ่งเป็นคำพูดที่ได้ยินกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้วลูกไม่เคยศึกษาธรรมะเลย ทั้งพระธรรมวินัยและสิกขาบท 227 ข้อก็ยังไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง เน้นแต่เพียงท่องขานนาคให้ได้เป็นใช้ได้ ที่เหลือเมื่อบวชเข้าไปแล้วก็ให้พระที่บวชก่อนสอนกันเองก็แล้วกัน ซึ่งพ่อแม่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า พระบวชก่อนจะรู้ธรรมะอย่างลึกซึ้งละเอียดลออ เมื่อบวชแล้วจึงทำให้ดูหนัง ฟังเพลง ฉันอาหารหลังเที่ยง เด็ดใบไม้ รับเงินจากชาวบ้าน และฉันของสงฆ์วันแล้ววันเล่าโดยไม่รู้ตัว ซึ่งล้วนแต่ผิดศีลเป็นบาปทั้งสิ้น และบาปของพระนั้นมากกว่าคนธรรมดาหลายล้านเท่านัก จึงกลายเป็นว่าพ่อแม่ได้ผลักลูกลงนรกอย่างไม่รู้ตัว และเมื่อเห็นจีวรลูกไหวๆ อยู่ จึงรีบคว้าไว้แล้วก็ตามลูกลงนรกโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวเลย

การทำบุญสังฆทาน

                ใน ปัจจุบันนี้ การทำบุญสังฆทาน ชาวพุทธเข้าใจผิดมานานกว่า 20 ปี โดยนำของใส่ถังแล้วไปถวายพระหนึ่งรูปบ้างสองรูปบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญสังฆทานที่ผิด ได้บุญต่ำ บางครั้งแทบจะไม่ได้บุญเลย และแถมยังได้บาปอีกด้วย ถ้าเราถวายเงินแล้วพระรับกับมือหรือครอบครองเงินนั้นไว้กับตัว เราก็ไปทำให้พระต้องอาบัติ ผิดศีล ถ้ายิ่งไปถวายสังฆทานตอนหลังเที่ยงยิ่งบาปหนักเข้าไปอีก

            เพราะฉะนั้น การทำบุญสูงสุดด้านอาหารที่แท้จริง ก็คือ การทำบุญสังฆทาน

                วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีดังนี้

                1.  ต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น และต้องถวายก่อนเที่ยง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการที่เราถวายภัตตาหารเพลพระนั่นเอง (ส่วนของที่เป็นถังๆ หรือของอย่างอื่นเป็นได้แค่เพียงบริวารสังฆทานเท่านั้น)

2.     ต้องกล่าวคำถวายสังฆทาน ดังนี้

                อิ มานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ (ในหัตถบาสใช้อิมานิ นอกหัตถบาสให้เอตานิ)

                หมายเหตุ  ในคำกล่าวถวายนั้น ถ้าไม่มีคำว่า ภิกขุสังฆัสสะ ถือว่าการถวายนั้นไม่ใช่การถวายสังฆทาน

                3.  พระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป (พระ 4 รูปเรียกว่า ครบสงฆ์) จึงจะรับสังฆทานได้ เพราะคำว่าสังฆทานนั้นแปลว่า เป็นทานที่ถวายแด่สงฆ์ เป็นบุญสูงสุดด้านอาหาร ฉะนั้นพระ 1 รูป  2 รูป  3 รูป  ไม่ สามารถรับสังฆทานได้ เป็นบาป และถือว่าหลอกลวง เพราะไม่ใช่สงฆ์ เป็นแค่เพียงบุคคลเท่านั้น ต่อเมื่อพระครบ 4 รูปจึงถือว่าเป็นสงฆ์ เว้นเสียแต่เป็นพระอรหันต์ 1 องค์ก็สามารถรับสังฆทานได้ เพราะพระอรหันต์ 1 องค์ถือว่าเป็นสงฆ์

                4. จะต้องทำการอปโลกน์สังฆทาน หลังจากที่พระรับสังฆทานแล้ว พระรูปที่ 2 จะต้องทำการอปโลกน์ (คือประชุมสงฆ์ เพื่อทำการแบ่งปันอาหารที่ได้รับถวายมาตามลำดับจนถึงให้ญาติโยม) แต่ถ้าพระไม่ทำการอปโลกน์อาหารทุกชิ้นถือเป็นของสงฆ์ทั้งสิ้น ญาติโยมจะไปกินไม่ได้เด็ดขาด ถึงแม้พระบางรูปจะบอกยกให้ก็กินไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นบุคคลให้ ไม่ใช่สงฆ์ให้ แม้แต่พระที่เป็นผู้รับสังฆทานเองกับมือก็จะฉันไม่ได้ ถ้าผู้ใดก็ตามขืนไปกินเข้า เมื่อตายไปจะต้องเกิดเป็นเปรตประมาณ 92 กัลป์ (1 กัลป์คือ 6,420 ล้านปี) แม้แต่สุนัขไปกิน มด แมลงไปกิน ก็ต้องเป็นเปรตเหมือนกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากของชาวพุทธที่ไม่รู้ธรรมะ

                  คำอปโลกน์สังฆทาน

                     ยัคเฆ ภันเต สังโฆ ชานาตุ อะยัง ปะฐะมะ ภาโค มะหาเถรัสสะ ปาปุณาติ อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณาติ

                นี่เพียงแค่เรื่องการทำบุญสังฆทานอย่างเดียว เชื่อว่าชาวพุทธส่วนใหญ่คงยังไม่ทราบ และยังมีอีกเป็นร้อยเรื่องที่ชาวพุทธยังไม่รู้



ถวายสังฆทานอย่างไร... ถึงได้บุญ

ภาพ คนหิ้วถังเหลืองที่เต็มไปด้วยปัจจัยที่จำเป็นต่อพระสงฆ์เดินเข้าไปในวัด อาจจะเป็นภาพที่เราเห็นกันจนชินตา จนเรารู้ว่านี่คือการทำบุญสังฆทาน ที่ได้บุญดีนักแล

แต่เราก็ควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจว่าการทำบุญสังฆทานแบบได้บุญจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร

การ ทำสังฆทาน คือการให้ปันหรือการถวายวัตถุสิ่งของแก่ "หมู่แห่งภิกษุ" หรือแก่ "ภิกษุสงฆ์" โดยไม่จำเพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด แต่ถ้าเราเอาปัจจัยไปถวายโดยเจาะจงว่าเป็นพระรูปนั้นรูปนี้ จะไม่เรียกว่าการทำบุญสังฆทาน แต่เรียกว่า "ปาฏิปุคลิกทาน" นั่นคือทานที่ถวายจำเพาะบุคคล อันเป็นทานที่มีอานิสงส์ไม่มาก เพราะยึดติดในภิกษุบางรูปเท่านั้น

แนวคิดในการทำบุญสังฆทานเกิด ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตรมีซึ่งเป็นพระน้านาง ทรงต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยทรงอธิบายว่า เมื่อถวายแก่สงฆ์ (ในความหมายของพระสงฆ์หมู่มาก) ย่อมจะได้ผลบุญมากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ พระนางมหา ปชาบดีโคตรมีก็ทรงปฏิบัติตามพุทธดำรัสนั้น ตั้งแต่นั้น มาชาวพุทธจึงถือกันว่าการถวายสังฆทานนั้นเป็นทานที่ได้ บุญมาก

ฉะนั้น การทำบุญสังฆทานไม่ใช่แค่เพียงการถือถังเหลืองหรือถังสังฆทานหันหน้าเข้าหา วัด ซึ่งเดี๋ยวนี้ถังสังฆทานถูกตีความหมายเท่ากับการทำพิธีถวายสังฆทานซึ่งเป็น ความเชื่อที่ผิด เพราะถังสังฆทานเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือบริวารของพิธีถวายสังฆทานเท่านั้น

เพราะฉะนั้นเรามาดูพิธีการถวายสังฆทานที่ถูกต้องตามทำนองพระพุทธศาสนากัน

เรา จะทำพิธีถวายสังฆทานในช่วงเวลาก่อนเที่ยง โดยทำบุญกับพระสงฆ์กี่รูปก็ได้ แต่โดยทั่วไปมักจะเป็น 4 รูปขึ้นไป เพราะฉะนั้นการทำบุญเลี้ยงพระในงานต่างๆ การไปทำบุญตักบาตรที่วัด การใส่บาตรพระที่เดินบิณฑบาต หากไม่จำเพาะเจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่งนับเป็นสังฆทานทั้งสิ้น


สำหรับเครื่องสังฆทานที่ชาวพุทธนิยมตระเตรียมกันมาก็คืออาหารคาวหวาน, ของใช้อื่นๆ ตามสมควร, ดอกไม้ ธูป เทียน และปัจจัยใส่ซอง

จุด ประสงค์ในการทำบุญสังฆทานก็เพื่อเป็นการบำรุง พระสงฆ์ให้ท่านเหล่านี้ช่วยเผยแผ่คำสอนดีๆ เพื่อธำรงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ดังนั้นนอกจากการทำบุญเลี้ยงพระโดยปกติแล้ว การถวายสังฆทานย่อมมีวิธีการอื่นที่หลากหลายที่จะถวายความอุปถัมภ์แก่สงฆ์ ทั้งปวง เช่น ส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์ ถวายทุนการศึกษาแก่คณะสงฆ์ การถวายข้าวสารแก่สำนักสงฆ์ก็เป็นสังฆทานได้เหมือนกัน

แต่ที่สำคัญก็คือ ขณะท่านทำบุญจิตใจต้องบริสุทธิ์ แน่วแน่

เคล็ดลึกแต่ไม่ลับ ซื้อถังสังฆทาน

" ถังสังฆทาน" เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากนัก ไปตามวัดวามองซ้ายมองขวาก็จะเจอร้านที่ขายถังเหลืองที่บรรจุไปด้วยของใช้ใน ชีวิตประจำวัน แต่ก่อนที่ท่านจะซื้อของเหล่านี้ไปทำบุญ ลองพิจารณาดูให้ดี ว่าของที่อยู่ในถังนั้นมีคุณค่ามากพอและราคาตามเนื้อผ้าเหมาะสมที่จะทำบุญ หรือไม่ ซึ่งหลักในการพิจารณาเลือกดูถังสังฆทานแบบกว้างๆ มีดังนี้

1. วันหมดอายุ นี่คือหลักการเบื้องต้นในการเลือกดูถังสังฆทานเลยทีเดียว เพราะเดี๋ยวนี้ร้านค้าจำพวกขายเครื่องสังฆภัณฑ์มักจะนำของที่ใกล้หมดอายุ หรือหมดอายุแล้วมาขายให้กับเรา การสังเกตดูวันหมดอายุไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะของในถังสังฆทานมักจะแพ็กไว้อย่างดี ถ้ามองเผินๆ เราคงแยกได้แค่ว่าอะไรเป็นถังเก่าถังใหม่ ถ้าไปซื้อถังสังฆทานลองถามเจ้าของร้านดูว่า สิ่งของที่อยู่ในถังสังฆทานหมดอายุหรือยัง ? แต่วิธีที่ง่ายกว่านั้นก็คือให้ลองเลือกร้านขายสังฆทานที่ระบุสิ่งของที่ อยู่ในถังและวันหมดอายุลงไปด้วย

2.สิ่งของในถังสังฆทาน การซื้อถังสังฆทานแบบสำเร็จรูป เราเคยลองถามตัวเองบางไหมว่า ของบางอย่างที่อยู่ในถัง พระท่านเคยใช้หรือไม่ ? เพราะของบางอย่าง เช่น กล่องชาตราสามม้า (ของยอดฮิตในถังสังฆทาน) มันมีเหลือล้นจนหลวงพี่ใช้ตลอดพรรษาก็ไม่หมด ยิ่งไปกว่านั้น ของบางอย่างที่อยู่ในถังยังเป็นของคุณภาพต่ำ เช่น หางผงซักฟอก ธูปเทียนคุณภาพต่ำ น้ำปลาราคาถูก หรือข้าวสารเก่าๆ ที่เป็นเศษข้าวสารหัก ซ้ำร้ายถังสังฆทานบางถังก็ถูกใช้แท็กติกในการยัดของราคาถูก หรือไม่จำเป็นไว้ข้างในจนเต็ม เช่น ถุงเกลือ กระดาษชำระ และ กระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อให้เกิดความรู้สึก ว่าของในถังมีจำนวนมากมาย ซึ่งถ้าเราซื้อถังสังฆทานในลักษณะฉาบฉวยแบบนี้ นอกจากจะเพิ่มสิ่งของที่ไม่จำเป็นให้กับวัดโดยใช่เหตุแล้ว ยังเป็นการใช้ทรัพยากรแบบสิ้นเปลืองจนตกกระแสหยุดโลกร้อนอีกด้วย


จริงๆ แล้วการทำบุญแบบสังฆทานไม่จำเป็นจะต้องหิ้วถังเหลืองเข้าวัดเสมอไป เราอาจจะหาซื้อของที่เป็นประโยชน์ไปทำบุญสังฆทานเองก็ได้ ได้ราคาถูกกว่าเพราะ ไม่โดนชาร์จราคา แถมยังถูกใจท่านด้วย เพราะฉะนั้นเราลองมาละเมียดในการเลือกซื้อของไปทำบุญกันเถอะ

ข้าวของ เครื่องใช้ที่จำเป็นได้แก่ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม (เอาไว้ใช้เวลาปลงผมจะได้โกนได้ง่ายขึ้น) ใบมีดโกน ยา เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ ฯลฯ

ลองเปลี่ยนจากชาสามม้าเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, นม, น้ำผัก-น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มผสมธัญพืช เพื่อบำรุงสุขภาพของพระสงฆ์

ผ้าอาบน้ำฝน เลือกที่เนื้อหนาๆ หรืออาจเลือกซื้อเป็นสบง (ผ้านุ่ง) พระท่านใช้บ่อย

หนังสือ ธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ที่คิดว่าพระสงฆ์ควรรับรู้เพื่อประโยชน์กับท่านและเพื่อนำมาบอกกล่าวแก่ญาติ โยม

ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ซึ่งวัดตามชนบทและวัดป่าสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น มาก

หลอดไฟฟ้า ตอนนี้ไฟฟ้าเข้าถึงทุกที่แล้ว อาจจะลองเปลี่ยนจากเทียนพรรษามาเป็นหลอดไฟฟ้าบ้าง ถ้าจะให้ดีควรเป็นหลอดตะเกียบ ประหยัดไฟ

ของอื่นๆ ที่มักนิยมใส่ก็มี ข้าวสาร หัวหอม กระเทียม น้ำมันพืช น้ำตาล เกลือ น้ำปลา ฯลฯ ที่จัดว่าเป็นของแห้งเก็บไว้ได้นาน

อาจจะจัดเรียงข้าวของที่ซื้อมาลงในถังหรือกะละมังก็ได้ (ลองเปลี่ยนเป็นสีอื่นนอกจากสีเหลืองดูบ้าง) แล้วนำไปถวายได้ทันที


ทำบุญสังฆทานและปล่อยปลาไหลที่วัดระฆังโฆสิตาราม...กรุงเทพฯ

   วันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2551 ผู้เขียนได้มีโอกาสหยุดงานเนื่องจากอยู่ในช่วงวันสงกรานต์ก็กะจะไปทำบุญก่อน จะวันสงกรานต์นะคับเพราะผู้คนจะได้ไม่เยอะคับ ก่อนอื่นก็ตรงไปที่ศาลพระหลักเมืองข้างวัดพระแก้วนะคับวันนี้คนไม่มากนักก็ เลยไหว้สบายหน่อยแบบเอาฤกษ์เอาชัยวันปีใหม่ไทยก็ไหว้พระหลักเมืองก่อนคับ พอไหว้เสร็จก็เดินลัดเลาะผ่านวัดพระแก้วจนถึงท่าเรือวังหลังคับก็ไกลพอ ประมาณคับเพื่อที่จะโดยสารเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งวัดระฆัง ค่าโดยสาคนละ 3.50 บาท ให้อ่านตรงป้ายที่เรือว่า "วัดระฆัง-วังหลัง" จะได้ไม่ไปผิดที่คับ พอไปถึงวัดที่ท่าเรือของวัดจะมีปลาสวายเยอะมากคับเพราะที่ท่าเรือจะมีคนที่ มาวัดมาทำบุญโดยให้อาหารปลา พวกปลาในลำน้ำก็เลยมารวมกันรับอาหารที่นี้นอกจากนี้ก็ยังมีนกพิราบก็เยอะพอ ประมาณ พอเดินเข้าไปก็จะมีร้านระหว่างทางตลอดแนวเลยคับเป็นร้านขาย ปลา เต่า กบ เพื่อที่จะปล่อยตามเคล็ดที่เราต้องการ ผู้เขียนปล่อยปลาไหล 9 ตัว เพราะจะทำให้การงานไหลคล่อง เงินทองไหลมาเทามคับ และปล่อยเต่า 1 ตัวให้อายุยืนสะเดาะเคาระห็คับ ก็ติดต่อร้านค้าที่ขาย ปลาไหลตัวละ 5 บาท เต่าตัวละ 30 บาทและชุดสังฆทานขนากเล็กชุดละ 120 บาท เงินใส่ซองตามแต่กำลังศรัทธาน้องคนขายก็จะช่วยเราถือปลาตรงไปยังกุฎิที่พระ จะสวดสังฆทานให้คับ พอไปถึงก็มีพระสวดให้เลยคับดีอย่างนึงคือพระสวดให้พร้อมทั้งถังใส่ปลาไหลและ เต่าเลยทีวัดอื่นคงไม่ได้แบบบนี้คับ แล้วอย่าลืมติบน้องสัก 20 บาทนะคับเผื่อวันหลังมาเขาจะได้บริการไงคับ

พอถวายสังฆทานเสร็จก็เดินไปยังอุโบสถคับ ระหว่างใกล้ถึงพระอุโบสถก็จะมีเสียงสวดบทสวดชินบัญชรคับคงมาจากเทปที่ทาง ร้านเปิดทำให้บรรยากาศเข้ากันดีคับเข้าไปอุโบสถก็ไหว้พระประทานและมีบทสวด ชินบัญชรแจกคับ การมาสวดชินบัญชรภายในอุโบสถวัดระฆังซึ่งเปนวัดของหลวงพ่อโตแล้วผมว่าเป็น สิ่งที่ดีนะคับเพราะปกติทุกวันก่อนไปทำงานผมก็จะสวดประจำอยู่แล้วคับและได้ มาสวดในสถานที่จริงอย่างนี้ทำให้มีพลังของบทสวดเพิ่มขึ้นมาก ผมรูสึกได้คับ จากนั้นก็ไปทำบุญถวายกระเบื้องให้วัดคับแผ่นละ 20 บาท จะกี่แผ่นก็แล้วแต่กำลังศรัทธาแล้วอย่าลืมเคาะระฆังที่วัดด้วยนะคับแล้วสุด ท้ายก็เอาน้ำมนต์ที่วัดมาด้วยนะคับ

ผมพอสรุปว่าการมาทำบุญที่วัดระฆังนี้น่าจะมีผลเหตุอยู่คือ

1 การถวายสังฆทานควรจะเลือกวัดที่เราต้องโดยสารเรือข้ามลำน้ำคับเพราะการข้าม น้ำข้ามทะเลนั้นเหมือนการฝ่าฟันอุปสรรคคับถือเป็นเคล็ดแบบนึงคับเพราะถ้าไป วัดอื่นคงไม่ได้ทำแบบนี้

2 ปกติการถวายสังฆทานจะไม่สามารถนำปลาที่เราจะปล่อยไปร่วมสวดด้วยเพราะคงไม่มี ใครเตรียมปลาไปด้วยนะคับหรือถ้ามีจริงผมคงต้องยกนิ้วให้เลยคับแต่มาวัดนี้ เราสามารถเอาปลาใส่ถังมาร่วมสวดด้วยถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมไปกลับปลา นะคับ

3 สำหรับผู้ที่สวดชินบัญชรเป็นประจำ อาจถือว่าชินบัญชรเป็นบทสวดที่คนรู้จักมากที่สุดก็ได้คับและการที่ท่านมาสวด ชินบัญชรในอุโบสถวัดระฆังของหลวงพ่อโตก็จะทำให้ท่านรู้สึกถึงพลังของบทสวด ชินบัญชรอย่างแน่นอนคับและทุกครั้งที่มีโอกาสได้มาวัดระฆังก็ควรสวดชินบัญชร ในอุโบสถด้วยนะคับ

4 หลังจากนั้นท่านก็มาให้อาหารปลาและมาปล่อยปลาสะเดาะห์เคราะห์ที่ท่าน้ำของวัดได้เลยคับ

จะเห็นว่าการมาถวายสังฆทานวัดระฆังนั้นมีดีถึง 4 ประการคับ ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านคิดเหมือนผมหรือเปล่าคั



ถวายฉัตรยอด พระเจดีย์ ได้รับการเคารพยกย่อง เกิดในชาติตระกูลสูง มีสง่าราศี

ถวายทองคำ ผิวพรรณงาม เปล่งปลั่ง อุดมมั่งคั่ง

ถวายเงิน ใจสว่างไสว อยู่เย็นเป็นสุข

ถวายอัญมณี รัศมีกายทิพย์สว่าง มีราศี มักประสบโชคดี

ถวาย บรรจุพระเครื่อง มีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรค มักมีคนช่วยเหลือเวลามีปัญหา

ถวายแผ่นทองคำเปลวปิด องค์พระเจดีย์ มีราศีผิวพรรณงาม ใจสว่าง อบอุ่นใจ

ถวาย อิฐ หิน ปูน ทราย มีแต่ความมั่นคงในชีวิต ใจคอหนักแน่น ไม่โลเล

สร้างองค์พระเจดีย์ มักได้สิ่งอันพึงปรารถนา สุขภาพดี ไม่มีวันอดตาย

ถวายธงหลากสีประดับองค์พระธาตุ มีสง่าราศี กายทิพย์สว่าง

ถวายโคมไฟ ให้แสงสว่าง ,เทียน ใจสว่าง ชีวิตสะดวกสบาย มีอุปสรรคน้อยลง มีปัญญาธรรมสูงขึ้น เบิกทางสู่ทิพยเนตร

ถวายดอกไม้ อันบริสุทธิ์ต่างๆ สุขสงบใจ ใจสะอาดสดชื่นผ่องแผ้ว

ถวายธูป เครื่องหอม ต่างๆ อบอุ่นมั่นคงในใจ ใจสว่างมีอุปสรรคน้อยลง มีกลิ่นกายสะอาด รู้สึกสดชื่นเสมอ

ถวายแผ่นหินปูพื้นพระเจดีย์ มีบริวารดี มีสมาธิดีขึ้น มีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้น

ถวายกระจกสีประดับองค์พระเจดีย์ กายทิพย์สว่าง มีสง่าราศี มีคนศรัทธา เห็นความดีในตัว

ถวายผ้าเหลืองครอง(หุ้ม)องค์พระเจดีย์ เพิ่ม เนกขัมมบารมี ใจสงบขึ้น มีโอกาสได้วิมุตติธรมเร็วขึ้น

สรงน้ำพระธาตุ ใจสะอาดสงบสว่างขึ้น กายและใจชุ่มชื่นแจ่มใส สุขภาพดี

ถวายข้าว อาหาร เวรข้าวบูชาพระธาตุ อุดมสมบูรณ์ อิ่มอกอิ่มใจ สุขภาพดี

เวียนเทียนรอบองค์พระเจดีย์ เพิ่มวิสัยปัจจัยแห่งกุศลธรรม เป็นสิริมงคล ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น สะอาดขึ้น

แสดง ความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระธาตุจากใจจริง เป็นที่เคารพยกย่อง มักไม่มีใครเข้าใจผิดหรือมองอะไรผิดๆ ได้บารมีวิมุตติรรมจากพระบรมธาตุ พาไปสู่วิสุทธิมรรค ผล นิพพานได้เร็วยิ่งขึ้น

เป็นเจ้าภาพ หรือมีส่วนช่วยจัดงานฉลองพระธาตุ ประสบสุขในชีวิตโดยทั่ว ไปแทบทุกด้านอุดมมั่งคั่ง มีคนเคารพยกย่องช่วยเหลือเสมอ

บูรณซ่อมแซมเจดีย์พระธาตุ สุขภาพดี อายุยืน รูปร่างหน้าตาผิวพรรณดี มีฐานะมั่นคง

สร้างเจดีย์ บรรจุ พระบรมธาตุ ชีวิตมั่นคงสุขสมปรารถนาทุกด้าน เป็นที่เคารพยกย่อง ได้มรรคผล นิพพาน เร็วขึ้น

      ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง บุญ ที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึง อานิสงส์ ที่ท่านพึงจะได้รับ จงเร่ง ทำบุญ เสียแต่วันนี้ เพราะเมื่อท่าน ล่วงลับ ท่านไม่สามารถ สร้างบุญ ได้อีกจนกว่าจะได้เกิด หากท่านไม่มี บุญ มาหนุนนำแรง กรรม อาจดึงให้ท่านไป สู่ภพ เดรัจฉาน ภพเปรต ภพสัตว์ นรก ที่ไม่อาจ สร้างบุญ สร้างกุศล ได้ ต่อให้ญาติโยมทำบุญ อุทิศ ให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ
      ดังนั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสม บุญบารมี ซึ่ง เป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ

ที่มา: forward mail



++++++++++++++++++++++++++

"ให้ทาน ก็ได้บุญ รักษาศีล ก็ได้บุญ เจริญภาวนา ก็ได้บุญ แต่

ให้ทาน 100 ครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า รักษาศีล 5 เพียงครั้งเดียว

รักษาศีล 5 ร้อยครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า ทำสมาธิภาวนาเพียงครั้งเดียว

ทำสมาธิภาวนา (สมถภาวนา) ร้อยครั้ง ยังไม่เท่าภาวนาแล้วได้วิปัสนาญาณเพียงครั้งเดียว

ได้วิปัญณาญาณ 100 ครั้ง ยังไม่เท่าเป็น พระโสดาบัน"



"ให้ทานกับสัตว์ 4 เท้า 100 ครั้ง ยังได้บุญไม่เท่ากับ ให้ทานกับสัตว์ 2 เท้าเพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับคนพิการ 100 ครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับให้ทานกับ มนุษย์ผู้มีร่างกายสมบูรณ์เพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ยังไม่เท่าให้ทานกับ พระสกิทาคามี เพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ยังไม่เท่าให้ทานกับ พระอนาคามี เพียงครั้งเดียว

ให้ทานกับพระอนาคามี 100 ครั้ง ยังไม่เท่ากับให้ทานกับ พระอรหันต์ เพียงครั้งเดียว"

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า "การให้ทานกับผู้ที่สามารถทำประโยชน์ต่อโลกได้มากกว่า จะได้บุญมากกว่า"

"การให้ทานกับผู้ที่มีศีลมีธรรม มีคุณธรรมมากกว่า ก็ได้บุญมากกว่า"

ที่มา http://www.geocities.com/toon_thailand


++++++++++++++++++++++++++

ลำดับอานิสงส์ของทาน (ทานํ=การให้)
ให้แก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้มนุษย์ 1 ครั้ง
ให้แก่มนุษย์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สมมติสงฆ์ 1 ครั้ง
ให้กับสมมติสงฆ์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระโสดาบัน 1 ครั้ง
ให้กับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระสกิทาคามี 1 ครั้ง
ให้กับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอนาคามี 1 ครั้ง
ให้กับพระอนาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอรหันต์ 1 ครั้ง
ให้กับพระอรหันต์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 ครั้ง
ให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
ให้กับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สังฆทาน 1 ครั้ง
ให้สังฆทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้อภัยทาน 1 ครั้ง
ให้อภัยทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้ธรรมทาน 1 ครั้ง
ดังนั้น การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง ดังพุทธภาษิตที่ว่า “สพฺพทานํ ธมมทานํ ชินาติ”
++++++++++++++++++++++++++

ทำบุญด้วยการ รักษาศีล
ศีล คือ หลักปฏิบัติ สำหรับควบคุมกายและวาจาของคนให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เฉพาะผู้ครองเรือน มี ๕ ข้อ

ความหมาย ของศีล ๕
ในศีลห้า ข้อที่หนึ่ง พึงกำหนด ขึ้นต้นบท ว่า"ปาณา" ห้ามฆ่าเขา
ข้อที่สอง "อทินนา" อย่าถือเอา ของที่เขา มิให้ อย่าใฝ่ปอง
ข้อที่สาม "กาเม" เล่ห์สวาท ต้องเว้นขาด คู่เขา เราอย่าข้อง
ข้อที่สี่ "มุสา" อย่าคะนอง คำพูดต้อง ตามสัตย์ อรรถธรรม
ข้อที่ห้า "สุรา" ท่านว่าไว้ ห้ามมิให้ ดื่มเหล้า ทั้งเช้าค่ำ
เฮโรอีน ฝิ่นยาบ้า พาระกำ ท่านแนะนำ ให้งด เพื่อหมดเวร

วิธีรักษาศีล ๕
จะรักษา ศีลห้า ดังว่านั้น ให้คงมั่น ศักดิ์สิทธิ์ สัมฤทธิ์ผล
จำต้องมี คุณธรรม ประจำตน ตามยุบล โบราณ ท่านสอนมา
ข้อที่หนึ่ง พึงระวัง ยั้งความโกรธ ไม่เหี้ยมโหด ใฝ่จิต ริษยา
รู้โอบอ้อม อารี มีเมตตา กรุณา เป็นธรรม ประจำใจ
สองเลี้ยงชีพ โดยสัมมา อาชีวะ รู้สละ รู้ประหยัด อัชฌาสัย
ข้อที่สาม คู่ครอง ของใครใคร ไม่สนใจ ยินดีอยู่ แต่คู่ตน
ข้อที่สี่ มีสัตย์ ประหยัดปาก ไม่พูดมาก กลอกกลับ ให้สับสน
ข้อที่ห้า สติตั้ง ระวังตน อยากก็ทน หักห้าม ไม่ตามใจ
ท่านผู้ใด ใจบุญ รู้คุณค่า ของศีลห้า เบญจธรรม ดั่งคำไข
ประพฤติมั่น อยู่เสมอ ไม่เผลอใจ จะต้องได้ ผลดี มีแก่ตน

ความเสียหายที่จะได้รับจากการไม่รักษาศีล ๕
อันบาปกรรม ทั้งห้า ถ้าไม่ละ บาปนั้นจะ ส่งวิบาก ให้ยากเข็ญ
ตามประเภท เหตุที่ทำ เป็นกรรมเวร คิดให้เห็น เว้นให้ไกล อย่าได้ทำ
การเบียดเบียน ชีวิต ปลิดชีพเขา ทำให้เรา อายุน้อย ถอยลงต่ำ
ปราศจาก อนามัย ไข้ประจำ ผู้ใดทำ กรรมนี้ ชีพไม่ยืน
ปล้นสะดม โกงกิน ทรัพย์สินเขา จะร้อนเร่า จิตใจ ไม่แช่มชื่น
บางคราวรวย ก็อย่าหวัง ว่ายั่งยืน ต้องเป็นอื่น และจนลง อย่าสงกา
การสมสู่ คู่ครอง ของผู้อื่น ก็จะชื่น ชั่วประเดี๋ยว จริงเจียวหนา
ผลของกรรม ทำให้มี ไพรีมา เบียฬบีฑา ปองชีวิต คิดผูกเวร
การพูดหลอก ลวงใคร ให้หลงผิด โทษจะติด ตามตน ให้คนเห็น
จะถูกตู่ ใส่ความ ตามประเด็น เท็จจริงเป็น อย่างไร เขาไม่ฟัง
การดื่มเหล้า เมายา ว่าให้คิด ถ้าเสพติด โทษร้าย เมื่อภายหลัง
ต้องเสื่อมทรัพย์ อับโชค โรคประดัง ทอนกำลัง ปัญญา พาให้ทราม

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษาศีล ๕
อานิสงส์ ข้อที่หนึ่ง นั้นพึงรู้ ชีพจะอยู่ วัฒนา อย่าฉงน
อนามัย สมบูรณ์ จำรูญชนม์ ถึงร้อยฝน เทียวนะ จึงจะตาย
ข้อที่สอง สมบัติ พัสถาน จะโอฬาร ล้นหลาก มีมากหลาย
ยามใช้สอย ไม่ขาดแคลน แสนสบาย ใช้จนตาย ไม่จน เพราะผลบุญ
ข้อที่สาม จะไม่มี ไพรีร้าย มาปองหมาย ชีวิต คิดเฉียวฉุน
จะได้คู่ เป็นศรี มีแต่คุณ ไม่หันหุน กลับกลอก คิดนอกใจ
ข้อที่สี่ พูดอะไร ใครก็เชื่อ คนไม่เบื่อ ระอา เมื่อปราศรัย
จะเชิญชวน ชายหญิง ทำสิ่งใด เขาเต็มใจ พร้อมพรัก สมัครทำ
ข้อที่ห้า อานิสงส์ จงประจักษ์ จะมีหลัก จรรยา ท่าคมขำ
มีสติ มั่นคง ความทรงจำ ปัญญาล้ำ เลิศสัตว์ ในปฐพี
หากเห็นจริง หญิงชาย ทั้งหลายเอ๋ย อย่าละเลย พยายาม ตามวิถี
ประพฤติเถิด เกิดผล กุศลมี เป็นความดี ติดตามอาตม์ ทุกชาติไป

ศีล ๕ หน้าที่ ๖
วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี

คำกล่าวถวาย บทสวดมนต์ และอานิสงค์จาก การทำบุญสิ่งของชนิดต่างๆ
ความเชื่อของคนไทยในท้องถิ่นต่างๆ เกี่ยวกับของทำบุญนานาชนิด ทั้งอดีต และปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิด โดยเล่าถึงอานิสงค์ จากการทำบุญ สิ่งของต่างๆ เหล่านั้นแตกต่างกันไป รวมทั้งคำกล่าวถวายก็แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน

คำถวายทานแต่ละบทนั้น จะต้องกล่าวบทนะโม ๓ จบ ก่อนถวายทานเสมอ

ข้อสังเกตการใช้คำบาลีในการถวายทาน

๑ . สิ่งของที่จะกล่าวคำถวายนั้น ถ้าเป็นสิ่งของที่บุคคลเดียวสามารถยกถวายขึ้นได้ และเป็นกัปปิยวัตถุ คือสิ่งของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย นิยมใช้คำบาลีว่า โอโณชะยามะ แปลว่า ขอน้อมถวาย และใช้คำว่า ปะฏิคคัณหาตุ แปลว่า ขอจงรับ เป็นคำกล่าวถวายทาน
๒ . ถ้าสิ่งของที่จะกล่าวคำถวายนั้น เป็นสิ่งของที่บุคคลเดียวไม่สามารถยกถวายขึ้นได้ หรือเป็นสิ่งของที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ นิยมใช้คำบาลี นิยยาเทมะ แปลว่า ขอมอบถวาย แทนคำว่า โอโณชะยามะ และใช้คำว่า ปะฏิชานาตุ แปลว่า จงรับทราบ แทนคำว่า ปะฏิคคัณหาตุ ส่วนคำว่า สังวัตตะตุ แปลว่าจงเป็นไป ซึ่งเป็นกิริยาของอานิสงส์ในการถวายทาน กล่าวคือ ขออานิสงส์ จงเป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข นั่นเอง

อานิสงส์การให้ทาน

๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รัก ที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ใช้งาน
๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรไป
๔. ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๕. ผู้ให้ทานหลังตายแล้วย่อมเกิดในสุคติ

การตักบาตร
การตักบาตรเป็นประเพณีในพระพุทธศาสนาที่ชาวต่างประเทศได้ให้ความสนใจ เพราะประเพณีนี้ ปฏิบัติกัน เฉพาะในประเทศชาวพุทธฝ่ายเถรวาท อันได้แก่ ไทย ศรีลังกา พม่า ฯลฯ และการตักบาตร ในเมืองไทย นับได้ว่าเป็นประเพณีที่เรารักษารูปแบบไว้ได้สมบูรณ์กว่า ประเทศอื่น ๆ การตักบาตร นอกจากจะได้บุญแล้ว ก็ยังเป็นไปเพื่อรักษาประเพณีชาวพุทธด้วย

บาตร ( Bowl)
เป็นหนึ่งในสมบัติ 8 อย่าง ที่พระพึงมี นอกเหนือไปจาก ไตร จีวร ฯลฯ บาตรที่เห็นกันอยู่ ทั่วไปในเมืองไทย มักเป็นบาตรโลหะ เป็นตัวนำความร้อนที่ดี ญาติโยมก็นิยมใส่ข้าวหุงมาร้อน ๆ พระที่อุ้มบาตรหลายรูปจึงนิยมใช้ผ้ารอง หรือมีถุงหุ้มบาตรกันความร้อนเสียชั้นหนึ่งก่อน ที่ไต้หวันใช้บาตรเป็นภาชนะดินเผาเคลือบ ในระหว่างพิธีบวช ซึ่งทางฝ่ายจีนจัดพิธีนานถึง 30 วัน พระบางรูปทำบาตรแตกถึง 3-4 ใบ กว่าจะบวชเสร็จ โดยวินัยแล้ว พระแต่ละรูปจะมีบาตรได้เพียงใบเดียว หากชำรุดแต่ยังใช้การได้ก็ให้ใช้ต่อไป ถ้าสะสมเกิน 1 ใบ ใบที่เกินมาจะต้องสละให้เป็นของสงฆ์ไป

บิณฑบาต( Going for alms - rounds)
บิณฑบาต แปลว่า ก้อนข้าวที่ตกแล้ว ร่วงแล้ว "บาต" ตรงนี้จึงสะกดต่างจาก "บาตร" ของพระ การท
พระภิกษุออกบิณฑบาต เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวพุทธ ได้ทำบุญ ในลักษณะนี้จึงถือว่า พระภิกษุสงฆ์ เป็นนาบุญของชาวพุทธ ความจริงแล้วการทำบุญตักบาตรแก่พระภิกษุก็ดี แม่ชีก็ดี ย่อมมีคุณค่า ทัดเทียมกัน หากแม่ชีก็ดี พระภิกษุก็ดีเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ล้วนเป็นการส่งเสริม พระศาสนาทั้งสิ้น หรือแม้พระภิกษุไม่ได้ปฏิบัติชอบ ย่อมเป็นความรับผิดชอบ ของท่าน เราผู้ใส่บาตร ถือเป็นการทำกิริยาบุญ ย่อมได้บุญในส่วนของเรา แต่หากเรารู้แน่ชัดว่าพระรูปนั้น ๆ ไม่ใช่พระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แล้วยังคงทะนุบำรุง ก็ชื่อว่าไม่รักษาพระศาสนา ประเพณีการตักบาตร เป็นสิ่งจำเป็น ในสังคมชาวพุทธ เพราะผู้บวชในพระพุทธศาสนานั้น นับว่าเป็นผู้ละบ้านเรือนแล้ว คำว่า " ภิกษุ " แปลว่า "ผู้ขอ" พระสงฆ์จึงยังชีพอยู่ได้โดยอาศัยชาวบ้าน และเพราะภิกษุเป็นผู้อาศัยชาวบ้านในเรืองการขบฉัน พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ฉันอย่างมากเพียงวันละ 2 มื้อ เพื่อมิให้เป็นการรบกวน ชาวบ้านมากจนเกินไป ประกอบการบำเพ็ญสมาธิ ในตอนกลางคืนอีกด้วย

สำหรับ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น จะเห็นข้อแตกต่างเพราะเป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ฉันอาหารมื้อเย็นได้ และอาจมีคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างนี้ อธิบายได้ว่ามีสาเหตุหลายประการ โดยทางพระวินัย ทั้งสองฝ่ายคือทั้งมหายาน และเถรวาท ถือเหมือนกัน "วิกาลโภชนา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ" พึงเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ความแตกต่างอยู่ที่การตีความพระวินัย คำว่า "วิกาล" ในพระวินัยฝ่ายเถรวาทเองตรงที่อื่น หมายความถึงเวลาคํ่า เช่นในช่วงเวลาเข้าพรรษา พระภิกษุไม่พึง ไปบ้านฆราวาสในเวลาวิกาล คือเวลาพลบคํ่าไปแล้ว เฉพาะในข้อการฉันอาหารเท่านั้น ที่ตีความเป็นเวลาหลังเที่ยง ฝ่ายมหายานถือศีลข้อเดียวกัน แต่ตีความว่า หมายถึงเวลาพระอาทิตย์ ตกดินไปแล้ว พระฝ่ายมหายานฉันอาหารมื้อเย็นได้ แต่เรียกว่าเป็นเภสัช (Medicinal meal) แก้โรคหิว ควรสำรวมว่าให้ฉันพอหายหิว มิฉะนั้นก็เป็นอาบัติเหมือนกัน

นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาความแตกต่าง ทางสังคมด้วย เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่ไปสู่ประเทศจีน ประเทศจีนมีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว มีทั้งศาสนาเต๋า และคำสอนของขงจื้อ ชาวจีนถือเป็น เรื่องเสียหาย และอัปยศต่อวงศ์ตระกูลอย่างมากที่จะขอเขากิน แม้ความคิดเรื่องการบิณฑบาต ในพุทธศาสนาจะอธิบายว่าเป็นการออกโปรดสัตว์ก็ตาม ในสาระที่แท้ ชาวจีนก็ยังเห็นว่า เป็นการขอทาน อยู่นั่นเอง ดังนั้น พระสงฆ์จีนจึงไม่ออกบิณฑบาต แต่จะมีโรงครัวเป็นส่วนกลาง พระเณรจะต้องทำงานหนักในไร่นา ทำการปลูกผักปลูกข้าวกันเอง และมีเวรผลัดเปลี่ยนกันทำอาหาร พระเณรทางฝ่ายมหายานจะทำงานหนักกว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายเถรวาทมากนัก ประกอบกับความบีบคั้น ทางภูมิอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ และหากพระเณรต้องทำงานหนักทั้งวัน แล้วยังต้องเว้น อาหารมื้อเย็นด้วย ก็ดูไม่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ที่แท้จริง

อีกประการหนึ่ง ฝ่ายฆราวาสมักจะเห็นว่าเรื่องฉันข้าวเย็นเป็นเรื่องสำคัญ พระรูปใดฉันข้าวเย็น ดูจะเป็นความผิดใหญ่โต แต่ทางฝ่ายพระไม่เห็นเป็นเรื่องสำคัญนัก ปรับอาบัติเพียงแค่ปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติเบา พอถึงวันพระขึ้น-แรม 15 คํ่า ลงปาติโมกข์ปลงอาบัติเสีย

ผ้าจีวร (robe)
ผ้าจีวรที่พระสงฆ์ใช้ เดิมเป็นผ้าที่มาจากป่าช้า เป็นผ้าห่อศพ พอเผาศพแล้ว ผ้าคลุมศพนี้ ก็จะทิ้งไว้ ตามป่าช้า พระภิกษุสงฆ์นับว่าเป็นผู้ละบ้านเรือน ไม่มีสมบัติใดเป้นของตนเอง จึงต้องไปเก็บผ้า ที่เขาทิ้งแล้วตามป่าช้านี้ มาซักให้สะอาด แล้วตัดเย็บเข้าด้วยกัน แล้วจึงนำมาย้อม เพราะฉะนั้น ในอัฐบริขารของพระที่บวชใหม่ จึงจำต้องมีด้ายเข็มเพื่อการนี้ ในสมัยแรกนั้นการตัดเย็บ มิได้มีกฎเกณฑ์ชัดเจน เพียงต่อเศษผ้าที่หามาได้ให้เป็นผืนก็ใช้ได้ ต่อมาพระพุทธองค์ เห็นว่าจีวรที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ห่มครองนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์หาเอกภาพมิได้ จึงประทานอนุญาต ให้พระอานนท์หาแบบการตัดต่อผ้าจีวรให้เป็นรูปแบบเดียวกัน พระอานนท์มองเห็น คันนาเมืองมคธนั้นเป็นระเบียบงามนัก จึงใช้รูปแบบคันนาของเมืองมคธนั้น มาเป็นรูปแบบ การตัดเย็บจีวร เมื่อได้ตัดจีวรเป็นตัวอย่างมาถวายให้พระพุทธองค์ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ ก็ทรงพอพระทัย และมีพุทธานุญาติให้ใช้เป็นแบบอย่างสืบมา ดังนั้น ผ้าจีวรในสมัยนี้ เราเห็นว่า มีขอบมีขัณฑ์ นั่นคือคันนาของเมืองมคธนั่นเอง

ขอเล่าเรื่องจีวร ต่ออีกนิดหนึ่ง เพื่อประดับสติปัญญา และเพื่อกันลืม ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้น พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลงมาก มาในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราช ก็ได้ทรงกระทำการหลายประการเพื่อชำระและฟื้นฟูพระศาสนา ปรากฏว่าในสมัยนั้น พระลาวครองจีวรโดยใช้ผ้าผืนเดียว ไม่ได้ตัดเย็บให้ถูกต้องตามพระวินัย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงส่งผ้าจีวรที่ตัดถูกต้องไปให้ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่คณะสงฆ์ลาวด้วย

นอกจากผ้าจีวร ซึ่งใช้ครองแล้วยังมีผ้านุ่งที่เรียกว่า สบง และเพื่อไม่ให้สบงหลุดได้ง่าย ก็ต้องมี รัดประคด คือเข็มขัด ( Cotton belt) แต่เป็นพระสงฆ์จึงต้องใช้เข็มขัดผ้าถักให้หนาหน่อย เสื้อชั้นในแขนเดียว ของพระ เรียกว่า อังสะส่วน สังฆาฏิ นี้เวลาอากาศหนาว พระภิกษุอาจนำมาคลี่ห่มคลุม ทับจีวร ได้อีกชั้นหนึ่ง บางครั้งเวลาเดินทาง สามารถนำมาพับทบรองนั่งได้ และเวลาไปสวดมนต์ตามบ้าน หรือลงโบสถ์ในวันพระ พระท่านจะพับผ้าสังฆาฏินี้พาดไว้บนบ่า เรียกว่าเป็นผ้าอเนกประสงค์ ของพระได้เหมือนกัน

สมาธิ (Concentration)
การทำให้จิตเป็นสมาธิทำได้หลายแบบ บางคนใช้สวดมนต์ (Chanting) เพื่อกล่อมจิตให้นิ่งเป็นหนึ่ง บางคนทำสมาธิโดยกำหนดจิตอยู่กับสี เช่น สีแดง สีขาว บางคนกำหนดจิตกับรูป เช่น รูปพระ รูปดอกบัว วิธีหลังนี้เป็นวิธีของวัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ต่อมาภายหลังวัดพระธรรมกายก็ใช้วิธีนี้ เรียกว่า visualization ไม่ว่าจะกำหนดจิตอยู่กับอะไรก็ตามที ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือขั้นต้นทั้งสิ้น เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็สามารถละทิ้งเครื่องมือเหล่านั้นได้

จิตของคนที่มีสมาธิดี จะเป็นคนที่มีพลัง ทำการงานได้ฉับไวคิดการได้ชัดเจน สมาธิจึงเป็นเทคนิค ที่จำเป็นอย่างหนึ่งของผู้ที่ประสงค์จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน นี่พูดถึงระดับโลก ถ้าพูดถึง การทำสมาธิในระดับสูงขึ้น เป็นไปเพื่อการละวางกิเลส ทำจิตให้เป็นสมาธิให้สงบ ให้มีพลัง ให้เกิดปัญญาเห็นธรรม ละวางทุกข์และรู้แจ้งเห็นจริงเป็นที่สุด

กรรมฐาน (Meditation)
ก็คือการทำให้จิตเป็นสมาธิเป็นพื้นฐานก่อน พุทธศาสนาแบ่งกรรมฐานออกเป็นถึง 40 กอง และวิปัสสนา เป็น 6 ชนิด นั่นคือ วิธีการทำจิตให้เป็นสมาธิตามวิธีต่างๆกัน พิจารณาจากอุปนิสัย ของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีกรรมฐานแบบใดที่นับได้ว่าดีที่สุด เพราะแต่ละแบบจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า จะเหมาะกับตัวเราหรือไม่เป็นสำคัญ

สมถะ เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อโลกียะ คือยังข้องอยู่กับโลก เช่น ฝึกกรรมฐานเพื่อให้มีพลังจิตกล้าแข็ง ฝึกกรรมฐานเพื่อรักษาไข้ การเพ่งอสุภ การเพ่งกสิณ ล้วนเป็นสมถะทั้งสิ้น

ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน ที่เรียกว่า Insight meditation เป็นไปเพื่อการละวางกิเลส และเพื่อทำจิต ให้หลุดพ้น เป็นประการสำคัญ วิปัสสนากรรมฐานที่นิยมกันในประเทศไทยคือ อาณาปาณสติ มีการพิจารณาเบื้องต้น คือการกำหนดรู้ อยู่กับลมหายใจ (mindfulness on inhaling and exhaling)

บุญ - กุศล
คำว่า บุญ เราแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Merit กุศล หรือ กุศลกรรม ก็คือการกระทำ ในสิ่งที่ดีงาม (good, beneficial act) คำว่าบุญ อาจารย์บางท่านแปลว่า ฟู การทำบุญจึงเป็นการที่ทำเพื่อให้เกิดฟู และมีจุดประสงค์ เพื่อชีวิตที่ดีมีความสุขในโลกนี้ และโลกหน้า เช่น คุณวิจิตราร่วมบริจาคสร้างโบสถ์ 10 บาท แล้วอธิษฐาน ขอให้เกิดชาติใดได้มีบ้านอยู่ การกระทำนี้เป็นการทำบุญเพื่อหวังสิ่งตอบแทน เพื่อความสุขสวัสดีแก่ชีวิต ในโลกทั้งภพนี้และภพหน้า แต่ถ้าคุณวิจิตราบริจาคในทำนองเดียวกัน โดยมีความเข้าใจว่า การบริจาคนั้นเป็นไปเพื่อละวางกิเลส การกระทำของคุณวิจิตรา ถือว่าเป็นกุศล เพราะมิได้หวังผลให้งอกเงย มิให้มีความยึดติดในตัวตน เมื่อท่านโพธิธรรม ซึ่งถือเป็นสังฆนายกองค์แรก ของนิกายเซ็นในประเทศจีน เดินทางไปถึงประเทศจีนตอนแรก พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นชาวพุทธ ที่ทำบุญสร้างวัดวาอาราม ช่วยเหลือพระศาสนาอย่างมาก รับสั่งถามท่านโพธิธรรมว่า "งานทั้งหลาย ที่ท่านทำมาแล้วนั้นได้กุศลมากน้อยเพียงใด'' ท่านโพธิธรรมตอบว่า "ไม่ได้'' ที่เป็นเช่นนี้ท่านโพธิธรรม ตอบตามความเข้าใจดังอธิบายข้างต้นนี้ คือพระเจ้าแผ่นดินทรงทำบุญ แต่ด้วยยังทรงหวัง ให้บุญนั้นกลับมาทดแทนเพื่อให้ชีวิตในภพหน้าดีขึ้น จึงไม่เป็นกุศล ดังนี้

ชาวพุทธนิยม การทำบุญทำกุศล เพราะเปรียบเสมือนการฝากเงินไว้ในธนาคาร เพื่อให้ชีวิต ภายหน้า ร่มรื่นสุขสบาย ด้วยเชื่อในหลักของกรรมว่าทำดีดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง

ในพระไตรปิฎก มีเรื่องเล่าถึงการทำบุญของมฆะมานพ ผู้ซึ่งรวบรวมมิตรสหายข้าทาสบริวาร ร่วมกัน สร้างศาลาโรงธรรม ครั้นตายไปก็ได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นต้น

ทศบารมี
หมายถึงคุณความดีที่ควรบำเพ็ญ มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ในจิตรกรรมฝาผนัง มักมีภาพวาดที่เป็นเรื่องเล่าจากพระเจ้า ๑๐ ชาติ เรื่องที่นิยมเขียนกันมากที่สุด ดูเหมือนจะได้แก่เรื่อง พระเวสสันดร ซึ่งเป็นเรื่องที่เน้น การทำบุญให้ทานเป็นสำคัญ

นรก - สวรรค์ (hell - heaven )
ความเชื่อในเรื่องนรก - สวรรค์นี้ เป็นความเชื่อที่เชื่อมโยงกับความเชื่อในเรื่องกกแห่งกรรม คือถ้าทำดีมิใช่จะได้รับผลดีเฉพาะในชาตินี้ แต่ผลของกรรมอาจส่งผลติดตาม ไปในชาติหน้าภพหน้า อีกด้วยดังนี้ คนไทยจึงมักมีความเชื่อว่า แม้ทำดีไม่ได้รับผลกรรมสนองในชาตินี้ ก็ย่อมจะต้องมีผล ในชาติหน้า (future life)

พระเจ้าลิไทย แห่งกรุงสุโขทัย ได้ทรงนิพนธ์ ไตรภูมิพระร่วง ไว้ กล่าวถึงนรกขุมต่างๆ นรกขุมที่ลึกที่สุด เรียกว่าอเวจี มรการพรรณนาความ สำหรับผู้ที่กระทำผิดศีล แต่ละข้อว่าจะต้องตกนรกขุมใดบ้าง เช่น คนที่ดื่มสุรา ก็จะตกลงไปในกระทะทองแดง ที่มีการเคี่ยวนํ้ามันร้อน และถูกลวกปากด้วยนํ้ามันเดือด เป็นต้น สำหรับผู้ที่กระทำกรรมดี ก็จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งในชั้นฟ้า ในความเข้าใจ ทางพุทธศาสนานั้น สวรรค์ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ของชีวิตทางศาสนา เพราะบรรดาเทวดาเหล่านั้น เมื่อหมดบุญก็อาจเป็นเทวดาตกสวรรค์ได้เช่นกัน

ดอกไม้ ธูป เทียน
เวลาที่เข้าไปไหว้พระ หมายถึงพระพุทธรูปก็ดี หรือ พระภิกษุ ภิกษุณีสงฆ์ก็ดี รวมไปถึงปูชนียสถาน
ทั้งหลาย ชาวไทยนิยมถวายบูชาด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน จึงควรทำความเข้าใจในพิธีกรรมต่างๆนี้ด้วย เวลาไหว้ครูก็จะใช้ดอกไม้ธูปเทียนเช่นกัน หากจัดของถวายใส่พาน ควรจัดตามลำดับคือ ดอกไม้อยู่ด้านนอก ถัดเข้ามาเป็นธูปและเทียน โดยมีความหมายว่า ถวายสักการะด้วย ดอกไม้สด คือถวายรูป ธูปคือถวายกลิ่น และเทียนคือการถวายสักการะด้วยแสง สำหรับชาวอินเดีย นิยมเป่าสังข์ด้วย เป็นการถวายสักการะด้วยเสียงและถวายข้าวตอกหมายถึงการถวายสักการะด้วยรส การถวายข้าว
ตอกดอกไม้ ธูป เทียน และเป่าสังข์ จึงหมายถึงการถวายสักการะทางอายตนะประสาททั้ง 5 นั่นเอง
เวลาจุดธูปปักนั้น ท่านเจ้าคุณพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศน์วิหาร เคยสอนให้ปักเรียงกันเป็นแถว ถ้าจุด 3 ดอก คือถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ดังนั้น มิให้ปักรวมกัน ไปเป็นกระจุก อีกอย่างหนึ่ง เวลาดับเทียน เห็นมาหลายงานแล้วมักจะใช้ปากเป่า เคยได้ยินผู้ใหญ่สอนว่า ลมปากนั้นมีความไม่สะอาด เวลาดับเทียนให้ใช้มือโบกให้ดับจะดีกว่า
บูชาพระ ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม และดอกไม้ ไหว้ศพ ธูป ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม

กรวดนํ้า (dedication Of merit by pouring water)
ก่อนที่พระมหาโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีกองทัพพญามาร มาราวี เป็นอย่างมาก จนร้อนถึงพระแม่ ธรณี (อ่านตอนพระแม่พระธรณีประกอบ) ขึ้นมาสยายผม แล้วบีบนํ้าจากมวยผม ท่วมกองทัพพญามารจนต้องล่าทัพกลับไปในที่สุด นํ้าที่หลั่งจากมวยผม ของแม่พระธรณี คือ นํ้าที่พระมหาโพธิสัตว์ทำบุญกุศลไว้ครั้งก็ตามในอดีต ก็จะเทนํ้าฝากแม่พระธรณีไว้ ให้พระแม่ธรณีเป็นพยาน ให้แก่พระมหาโพธิสัตว์ถึงบุญบารมี อันมหาศาลของท่านที่ได้สั่งสม ไว้ในอดีตชาติ

คนไทยจึงถือเป็นประเพณี ที่จะกรวดนํ้า ทุกครั้งที่ทำบุญ สาระหรือเนื้อหาของการกรวดนํ้า ก็คือการแผ่ส่วนกุศล ที่ได้กระทำแล้วนั้น (ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร รักษาศีลฯลฯ) ให้แก่ผู้อื่น โดยกล่าวเป็นใจความภาษาไทยได้ว่า "กุศลอันข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ในการตักบาตรวันนี้ ขออุทิศให้บิดามารดา ครู อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร เทพที่รักษาตัวของข้าพเจ้า ตลอดบุคคล ผู้เป็นที่รัก......" ตอนท้ายมักจะกล่าวว่า "นิพพานปัจจโยโหตุ" หลายคนไม่เข้าใจว่า หมายความว่า อย่างไร แต่ก็ว่าตามกันไปเรื่อยๆตรงนี้แปลว่า บุญกุศลที่เราทำไว้แล้วนี้ ขอให้เป็นปัจจัย ให้ได้บรรลุพระนิพพาน ในที่สุด เทอญ

เวลากรวดนํ้า มักกระทำตอนที่พระสงฆ์ให้พร เราก็จะเทนํ้าจากภาชนะ หนึ่งลงสู่ภาชนะที่รองรับ ให้ผ่านนิ้วชี้ขวา เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าได้ทำบุญกับมือจริงๆ เสร็จแล้วนำไปเทที่ต้นไม้ใหญ่ เวลาเทนํ้าจะอธิษฐานแผ่ส่วนบุญ ให้กับพระแม่ธรณีด้วยทุกครั้งไป การเทนํ้าที่ต้นไม้นั้น โดยแท้จริงแล้ว เป็นการรดนํ้าต้นไม้ไปด้วยในตัว เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติในรูปแบบหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ทำให้รู้จักเคารพทั้งต้นไม้และพื้นปฐพี

การรักษาโรคด้วยสมาธิ (Healing through meditation)
จะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า การเจ็บไข้นั้นสัมพันธ์กันในลักษณะที่จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว คือจิตเป็นผู้บงการ การทำสมาธิคือการฝึกฝนจิต โดยหยาบๆ อาจจะกล่าวว่า การทำสมาธิ เป็นไปเพื่อการละวาง เพื่อความหลุดพ้นในที่สุด

การรักษาด้วยสมาธิ เป็นการทำสมาธิประการแรก คือเป็นไปเพื่อรักษากาย โดยหลักเหตุผลทั่วๆไป เมื่อกายกับจิตมีความสัมพันธ์กัน การอบรมจิตให้สงบ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ผลที่ตามมาประการแรก คือนอนหลับ คนที่นอนหลับก็เยียวยาอาการเจ็บไข้อื่นๆ ลงไปได้มากแล้ว เช่นนี้เป็นต้น จิตบำบัดทุกประเภท ต้องมีสมาธิมาช่วยทั้งสิ้น แต่การรักษาโรคที่แท้จริง คือการใช้ธรรมะรู้จักปล่อยวาง มิใช่จะรักษาโรคทางกายเท่านั้น แต่จะทำให้บุคคลปฏิบัติสมาธิภาวนา เข้าถึงโลกุตรธรรมด้วยในท้ายที่สุด

วิธีการศึกษาพระพุทธศาสนา
เราควรจะรู้โดยหลักการว่า คัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนานั้น ประมวลไว้ในพระไตรปิฎก คือ

พระวินัย อันว่าด้วยข้อควรปฏิบัติของพระสงฆ์ และข้อห้ามของพระสงฆ์

พระสูตร เป็นการรวบรวมคำสอน ธรรมะทั้งของพระพุทธเจ้าและพระสาวกองค์สำคัญ

พระอภิธรรม เป็นการรวบรวมคำสอนที่เกี่ยวกับจิต ทำความเข้าใจกับการทำงาน ของจิตโดยละเอียด

ส่วนในภาคปฏิบัตินั้น เพื่อความหลุดพ้นอาจจะไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้จากพระไตรปิฎกนัก เพียงแต่ทำความเข้าใจ เรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ ก็จะนับได้ว่าเป็นชาวพุทธ ที่เข้าถึงพระธรรม ได้เช่นกัน เพราะจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการดับทุกข์

สังฆทาน
คือการให้ทาน แก่หมู่ชนส่วนรวม เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณชน เป็นทานอันเลิศ มีผลมาก คือ สาธารณทาน ไม่จำกัดเฉพาะพระ หรือในเขตกำแพงวัดอย่างเดียว มันกว้างจนไม่มีขอบเขต ให้เป็นสาธารณะ ย่อมมีประโยชน์มาก ผลก็มากเป็นธรรมดา ตัวอย่างเช่น เราสร้างโรงเรียน ๑ หลัง โรงเรียนนั้นเป็นสังฆทาน หรือสร้างโรงพยาบาล บ่อน้ำสาธารณะ ถนน สะพาน ซึ่งเป็นประโยชน์ แก่คนหมู่มาก ก็ถือว่าเป็นสังฆทาน ไม่ว่าผู้รับนั้นจักเป็นพระ หรือชาวบ้าน แต่การกระทำอย่างใด ที่เป็นไปในวงแคบ ไม่กว้างขวาง และไม่เป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ถือเป็นทานเฉพาะคนไป เรียกว่า
ปาฏิปุคคลิกทาน ดังนั้นการ ถวายสังฆทาน แด่พระภิกษุสงฆ์ ไม่ควรเจาะจงท่านรูปใด ทานที่ฆาราวาส ได้ถวายแก่ภิกษุสงฆ์แล้วนั้นถือเป็นของหมู่สงฆ์ทั้งหมด

ธรรมทาน
ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวไว้ว่า ...ธรรมทานนั้นมีผลมากกว่าทานอื่นๆ จริงๆ วัตถุทานก็ช่วยกันแต่เรื่อง มีชีวิตอยู่รอด, อภัยทานก็เป็นเรื่องมีชีวิตอยู่รอด แต่มันยังไม่ดับทุกข์... เมื่อรอดชีวิตอยู่แล้ว มันจะต้อง ไม่มีความทุกข์ด้วย จึงจะนับว่าดีมีประโยชน์ ข้อนี้สำคัญด้วยธรรมทาน มีความรู้ธรรมะแล้ว รู้จักทำให้ ไม่มีความทุกข์ รู้จักป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ รู้จักหยุดความทุกข์ ที่กำลังเกิดอยู่ ธรรมทานจึงมีผลกว่า ในลักษณะอย่างนี้มันช่วยให้ชีวิตไม่เป็นหมัน วัตถุทาน และอภัยทานช่วยให้รอดชีวิตอยู่ บางทีก็อยู่เฉยๆ มันสักว่ารอดชีวิตอยู่เฉยๆ แต่ถ้ามีธรรมทานเข้ามา ก็จะสามารถ ช่วยให้มีผลดีถึงที่สุดที่มนุษย์ ควรจะได้รับ

ขอให้ทุกคนพยายามให้ธรรมทาน คือทำให้บุคคลอื่นมีธรรมะ แล้วก็จะได้ผล ชนิดที่ละเอียด ลึกซึ้ง ประณีต ประเสริฐ ยิ่งกว่าให้วัตถุทาน นี่พูดไม่กลัวอด ว่าคนจะเลิกให้ทาน แล้วก็จะมาให้ธรรมทาน กันเสียหมด พระจะไม่มีอะไรฉัน ก็ไม่กลัว ขอบอกความจริงว่า ในธรรมทานนั้น มันยังมีผลมากกว่า วัตถุทาน อยู่นั่นเอง

การชำระหนี้สงฆ์
พวกเราบางคนเคยหยิบฉวยสิ่งของที่เป็นสมบัติของวัดหรือของสงฆ์ เช่น ก้อนหิน ก้อนดิน ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ หรือบางทีทรายติดรองเท้าเรากลับออกมาจากวัด ฯลฯ แล้วเราเองก็ไม่ได้ทำบุญ บางทีเหตุการณ์ เช่นนี้ อาจจะเกิดขึ้นตอนเราเป็นเด็กๆ ชอบซุกซนบ้าง เป็นต้น ซึ่งทางวัดและพระสงฆ์ นั้นไม่มีเงินเดือน และไม่มีรายได้ใดๆ ทั้งสิ้น เงินที่ได้มาก็คือเงินที่พุทธศาสนิกชนและญาติโยมต่างๆ ไปร่วมทำบุญทั้งสิ้น ฉะนั้น ในบางครั้งเราเข้าวัดและบางทีไปใช้ธูปเทียนวัดเพื่อจุดธูปไหว้พระ อาจจะดื่มน้ำมนต์ และอาศัยไฟฟ้าของวัด เช่น พัดลม เป็นต้น แล้วลืมทำบุญ ฉะนั้นจะทำให้เราเป็นหนี้สงฆ์ทันทีโดยไม่รู้ตัว
ดังนั้น เพื่อไม่ให้ติดหนี้สงฆ์ไปถึงภพหน้าชาติหน้า ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบว่าเราจะไปเกิดที่ใดภพใด และจะมีโอกาส ได้พบพุทธศาสนาหรือไม่ ฉะนั้น เพื่อเป็นการไม่ประมาท จึงควรถือโอกาสชำระหนี้สงฆ์ ตั้งแต่วันนี้ทันที ที่มีโอกาสไปวัด เมื่อได้ไปทำบุญที่วัดใด คอยสังเกตตู้ที่ทางวัด เขาตั้งใจให้ เราใส่เงินทำบุญ เพื่อชำระหนี้สงฆ์ จะได้ไม่ติดค้างไปภพหน้าต่อไป

การเวียนเทียน
๑. เวียนเทียนทำขวัญนาค ให้เวียนไปทางซ้าย ปัดควันเทียนใส่นาค ภาวนาว่า สิริโภคา น มาสโย มหาลาโภ ภวันตุเต
๒. เวียนเทียนวันสำคัญทางศาสนาให้เวียนทางขวา
๓. เวียนศพ หรือเวียนเมรุ ให้เวียนทางซ้าย



การตักบาตร


การตักบาตร เป็น การทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่น ๆ การตักบาตรนั้นยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วยโปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่น เปรตวิสัย ให้ได้รับส่วนบุญ ด้วยเหตุผลทางจิรยธรรม ในการทำบุญตักบาตรนั้น พอสรุปได้ดังนี้
๑.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
๒. เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส เพื่อให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เพราะผู้ที่ไม่มีบุญเกื้อหนุนอยู่ในใจ ย่อมพ่ายแพ้ต่อบาปได้ง่าย
๓.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคต
๔.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตและที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตล้วนแต่ดำรงพระชนม์ชีพด้วยอาหารบิณฑบาต
๕.เป็นการช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติพระธรรมวินัย
แล้ว นำมาสั่งสอนให้ประชาชนไดรับรสแห่งพระธรรมด้วย อีกทั้งยังดำรงตนเป็นตัวอย่างด้านความประพฤติดีงามของสังคม ฉะนั้น ชาวพุทธควรทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเองที่จะต้องนำไปดุจเสบียงเดินทางในการท่อง เที่ยวเวียนเกิดและเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร อันไม่ปรากฏเบื้องต้นและที่สุด และบุญที่สั่งสมไว้นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
อนึ่ง ประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพระพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำของพุทธบริษัท ที่เป็นฐานกำลังสำคัญแห่งกองทัพธรรมนั้น ท่านดำรงชีพอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัดถวาย ท่านจึงสามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะศึกษาพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และกล่าวสอนมวลมนุษย์ได้

การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

๑. ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ
๑.๑ ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
๑.๒ ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
๑.๓ หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้ว
การทำใจให้ได้ทั้ง ๓ ขณะดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเราเศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้
๒. ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมาบอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะจนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง
๓.สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบีดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณรด้วย

ทำบุญตักบาตรให้หมั่นอธิษฐาน
เมื่อองค์ประกอบ ๓ อย่างข้างต้นบริบูรณ์ สิ่งที่จะต้องทำก่อนตักบาตร คือ "การอธิษฐาน" การอธิษฐานนี้นับว่า
เป็น สิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้บุญของเราหนักแน่น ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากขี้น และยังทำให้เราทราบเป้าหมายในการทำบุญด้วย นอกจากนี้ การอธิษฐานยังสามารภสร้างพลังขึ้นในจิตใจให้มากขึ้น เป็นการสั่งสมกำลังแห่งความบากบั่น อดทน เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้เราก้าวไปสู่สิ่งที่ปรารถนาได้ การอธิษฐานในขณะที่บำเพ็ญบุญนั้น ผลบุญย่อมหนุนส่งให้สำเร็จตามที่ปรารถนาไว้ ถึงแม้จะขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาสบ้างก็ตาม แต่ความดีที่ทำไว้ย่อมไม่เสียหายไปแน่นอน
ฉะนั้น ก่อนตักบาตร ควรอธิษฐานโดยนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย ยกสี่งของที่จะถวายขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วอธิษฐานตามที่ต้องการที่ชอบธรรมเป็นภาษาใดก็ได้ จะว่าในใจหรือออกเสียงเบา ๆ ก็ได้ จากนั้นจึงถวายอาหารบิณฑบาตด้วยความเคารพ ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนให้ถวายหลังจากที่ถวายอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ถ้าเป็นสตรีให้วางดอกไม้ธูปเทียนไว้บนฝาบาตร เมื่อพระท่านปิดบาตรแล้ว

คำอธิษฐานก่อนตักบาตร
ตาม หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีเป็นหมายเพื่อให้มนุษย์ปลดเปลื้องตนเองจากทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระเหนือทุกข์ทุกอย่าง (พระนิพพาน) หลักการดำเนินชีวีตของชาวพุทธนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งพระโบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติคำ อธิษฐานที่เป็นสากลนิยมไว้ว่า
อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล ฯ
ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานนี้แด่พระสงฆ์ผู้มีศีล ขอท่านที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ
อีกบทหนึ่งเป็นคำอธิษฐานถึงพระสังฆรัตนะ ว่า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สังจะวัชเชนะ, โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฯ
ที่ พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์ นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ ฯ



 

บุญ กับ กุศล

เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย
แล้วแต่ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว
บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม
ตามความหมาย ของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำ นี้ทีเดียว

คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,
ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย
เช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง

บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม
แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก ในกรณีที่
ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะ
เป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่
การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออก
ไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ
อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจ
และ เวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้

ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง
ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง
สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้ว
เกิดอีก และมีจุดมุ่งหมาย กวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว ในเมื่อบุญต้องการ
โอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถือ
อะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น  ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น
เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า
ฉลาด นั้น ต้องการจะ ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ
ผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญนั้น ยังเป็นความมืดบอดอยู่

แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ
ทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้
เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร
หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้
เรียกว่า ให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ
เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้
เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ
โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า
ให้ไปเสีย มีประโยชน์มากกว่าเอาไว้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอากุศล หรือได้กุศล
ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทางกับการให้ทานเอาบุญ เราจะเห็นได้กันสืบไป
อีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน
จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคน
ขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์
ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง
พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะ
ให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่า
ควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูปละโมบบุญหรือเมาบุญ เพราะว่ากุศล
ไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือ
ผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ
ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร

ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จัก
ความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวด
เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้
หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น
ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น ยิ่งมีความ
ยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัด
ในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ ส่วนบุคคลอีกประเภท
หนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความ
บริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญา
ชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัด
เดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะ แห่ง
ความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็
ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร
ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่า
กุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์

ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้
สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้
 เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า
สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมัน
นั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา
เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้
มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสาร
ตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย
เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้
ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็น
ทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึง
ตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ

ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัว
ปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์
อย่างเดียว แม้ยังจะต้อง เกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความ
รู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน
จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า
ปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทาง
อาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น 

ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลงเอา
บุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวง
เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสน
อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา
ของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า
"บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ
การทำบุญกุศล นี้  ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้

ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงาม หรือ
ปรากฏ หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก

ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้าของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเหี่ยวแห้ง
สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความต่างกัน อย่างยิ่ง ย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้

คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล
และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น
และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใดจึงจะชื่อว่า
พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้า และ
ทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกัน
ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย

วัดธารน้ำไหล

๒๕ มิ.ย. ๒๔๙๓


สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

*

 

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต

ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง

เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงพระสังฆคุณบทว่า ทักขิเนยโย นำ

พระสังฆคุณบทนี้แปลกันว่า ผู้ควรของทำบุญ ผู้ควรทำบุญ

อันคำว่าของทำบุญ หรือการทำบุญนี้แปลจากศัพท์ว่า ทักขิณา

ซึ่งตามศัพท์แปลว่าเป็นเครื่องเจริญบุญ และคำนี้ก็มีใช้ในความหมายถึงทิศ

ที่เราเรียกในภาษาไทยว่าทิศทักษิณ หรือทักษิณคือทิศใต้

และยังใช้ในความหมายว่าเบื้องขวา โดยที่เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ทิศทักษิณคือทิศใต้ย่อมอยู่ทางด้านขวามือ ทิศเหนือเรียกว่าอุตรทิศย่อมอยู่ทางด้านซ้ายมือ

ทิศตะวันออกนั้นปุรัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหน้า ทิศตะวันตกนั้นปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง

และจึงหมายถึงด้านขวาด้วย สิ่งที่อยู่ทางด้านขวา หรือแม้ขวามือก็เรียกว่าทักษิณ

และยังหมายถึงถูกชอบดังเช่นในบทสวดชัยมังคละคาถา ปทักขินัง กายกัมมัง

กายกรรมเป็น ปทักษิณ คือมี ปะ นำอีกหนึ่ง คือกายกรรมที่ถูกชอบเป็นกายสุจริต

เพราะฉะนั้น จึงมีความหมายในด้านว่าถูกต้อง ในด้านว่าเบื้องขวา ในด้านว่าเจริญ

และคำนี้คือคำว่าทักษิณ หรือ ทักขิณะ ยังมาจากคำว่า ทักขะ หรือ ดักขะ

ที่แปลกันว่าขยันหมั่นเพียร ซึ่งไทยเรามาใช้ว่าทักษะ

อันหมายถึงมีความชำนาญรวมอยู่ด้วย คำนี้จึงใช้ในความหมายด้านดี

และเมื่อมาใช้ประกอบเข้าว่าเป็น ทักขิเนยโย ผู้ควรซึ่งทักขิณา หรือทักษิณา

จึงแปลกันในความหมายว่าของทำบุญ หรือการทำบุญ ซึ่งเป็นเครื่องเจริญบุญ

เป็นเครื่องให้บังเกิดบุญ ให้บังเกิดความบริสุทธิ์ ให้บังเกิดความสุข ให้บังเกิดความเจริญ

สาวกสงฆ์คือหมู่แห่งผู้ฟังคือศิษย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้นตามพระสังฆคุณบทต้นๆทุกข้อทุกบท

เพราะฉะนั้น จึงเป็นทักขิเนยโย ผู้ควรของทำบุญ ผู้ควรการทำบุญ

บุญโดยเหตุ

อันการทำบุญนี้ คำว่า บุญโดยเหตุ ก็คือการกระทำความดีต่างๆ

ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อกูลให้เกิดความสุข เป็นบุญส่วนเหตุ

และก็ให้เกิด บุญส่วนผล ซึ่งได้แก่ความสุข

ดังที่ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข เป็นบุญส่วนผล

และการทำบุญในที่นี้ก็มุ่งถึงทานคือการให้

( เริ่ม ๑๓๐/๑ ) ทานคือการให้นี้จะเป็นบุญคือเป็นความดี ก็ต้องประกอบด้วยเจตนาทั้ง ๓

คือมีเจตนาดีก่อนแต่ให้ มีเจตนาดีในขณะที่ให้ มีเจตนาดีเมื่อให้แล้ว

และจะต้องประกอบด้วย วัตถุคือสิ่งที่ให้เป็นสิ่งที่ได้มาโดยชอบ

เป็นสิ่งที่ให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้รับ

และต้องประกอบด้วยผู้รับซึ่งเรียกว่า ปฏิคาหก เป็นผู้สมควรรับ

ถึงพร้อมด้วยเจตนาเรียกว่า เจตนาสมบัติ ถึงพร้อมด้วยวัตถุที่ให้เรียกว่า วัตถุสมบัติ

ถึงพร้อมด้วยผู้รับ คือผู้รับเป็นผู้ที่สมควรเรียกว่า ปฏิคาหกะสมบัติ

เมื่อถึงพร้อมด้วยสมบัติทั้ง ๓ นี้ ทานที่ให้จึงจะเป็นบุญที่ให้บังเกิดผล

กิจของคนฉลาด

และคำว่าบุญนี้ เมื่อมุ่งถึงศัพท์ที่แปลว่าเป็นเครื่องชำระ

ก็หมายถึงเป็นเครื่องชำระมัจฉริยะความโลภ มัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น

ชำระโลภะความโลภอยากได้ เมื่อทำการให้ซึ่งชำระมัจฉริยะโลภะได้จิตใจบริสุทธิ์

จึงจะชื่อว่าเป็นบุญ เป็นความดีที่เป็นเครื่องชำระความชั่ว ตามวัตถุประสงค์

และการทำบุญที่จะบรรลุถึงความเป็นบุญ ประกอบด้วยสมบัติทั้ง ๓ ดังกล่าวมานั้น

ก็จะต้องเป็นกุศล ที่แปลว่าเป็นกิจของคนฉลาด คือจะต้องมีความฉลาด

ให้ด้วยความฉลาด ไม่ได้ให้ด้วยความโง่หรือความเขลา อย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้รู้จักเลือกให้

คือมีความฉลาดรู้จักเลือกให้ การให้ด้วยความฉลาดดั่งนี้แหละ จึงชื่อว่าเป็นกุศล

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า วิจยทานัง สุขสัปสัททัง ทานที่เลือกให้

อันพระสุคตทรงสรรเสริญ ดั่งนี้

และความฉลาดคือความรู้จักเลือกให้นี้

ก็คือรู้จักเลือกให้ถึงพร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ ดังกล่าว

เป็นเจตนาสมบัติ ให้ถึงพร้อมด้วยวัตถุ เป็นวัตถุสมบัติ

ให้ถึงพร้อมด้วยผู้รับ เป็นปฏิคาหกะสมบัติ

ความบริสุทธิ์แห่งการทำบุญ

และนอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสสอนถึง ทักขิณาวิสุทธิ

คือความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา หรือทักษิณา การทำบุญไว้ ๔ ประการ คือ

๑ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกคือผู้รับ

หมายความว่าทายกคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ธรรมะที่งาม นี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก

ส่วนปฏิคาหกนั้นคือผู้รับทุศีลมีบาปธรรม ธรรมะที่ชั่วที่ผิด นี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

๒ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

หมายความว่าปฏิคาหกคือผู้รับ เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม

ส่วนทายกคือผู้ให้เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม นี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

๓ ทักษิณาบางอย่างไม่บริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายทายกก็ทุศีล มีบาปธรรม

ฝ่ายปฏิคาหกก็ทุศีล มีบาปธรรม นี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย

๔ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย

คือทายกผู้ให้ก็มีศีลมีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกคือผู้รับก็มีศีลมีกัลยาณธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญทักขิณาวิสุทธิจำพวกที่ ๔ นี้ คือบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย

เพราะฉะนั้น จะพึงเห็นได้ว่าในการทำทักษิณาคือทำบุญ อันสำเร็จด้วยทานดังกล่าว

จึงนิยมทำบุญในผู้มีศีล และฝ่ายทายกคือผู้ให้เองก็สมาทานศีลก่อน

ดังที่ถือเป็นธรรมเนียมทั่วไปในการทำบุญทั้งหลาย มีการสมาทาน มีการขอสรณะคมน์

และศีลก่อน และฝ่ายผู้มีศีลเช่นภิกษุสามเณร ก็ให้สรณะคมน์ และให้ศีลก่อน

เมื่อทายกเป็นผู้ที่ได้ถึงสรณะคมน์ และได้สมาทานศีลแล้วทายกก็ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

และฝ่ายปฏิคาหกคือผู้มีศีลก็ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จึงชื่อว่าเป็นทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย

ซึ่งตรัสสรรเสริญว่ามีผลมาก

และในการทำบุญดังกล่าวนี้ มักจะเรียกกันในเมื่อได้ทำบุญในผู้มีศีล

เมื่อให้แก่ยาจกวณิพกเป็นต้นก็เรียกว่าทำทาน

แต่อันที่จริงนั้นก็เป็นทานด้วยกัน แต่ที่เรียกว่าทำบุญนี้ที่เข้าใจกันว่าคือทำทานในผู้มีศีล

ถ้าว่าตามภาษาบาลีก็คือทำทักษิณานั้นเอง ทำทักษิณาก็เท่ากับทำบุญในภาษาไทย

ส่วนทำทานทั่วไปก็เรียกว่าทำทาน และการทำบุญก็ดี การทำทานก็ดี ดังกล่าว

พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญกุศลสามัคคี คือทำเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ทำด้วย

ตรัสว่าเป็นเหตุให้ได้โภคสมบัติด้วย บริวารสมบัติด้วย

ทำคนเดียวไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทำ ก็ตรัสว่าให้ได้โภคสมบัติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติ

และแม้ผู้รับเมื่อเป็นบุคคลผู้เดียว ก็ย่อมให้สำเร็จประโยชน์สุขจำเพาะผู้เดียว

แต่ผู้รับเมื่อมีมาก ก็ให้สำเร็จประโยชน์สุขมากด้วยกัน

สังฆทาน

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสังฆทาน การให้แก่สงฆ์ ทำบุญแก่สงฆ์

ว่ามีผลมากกว่าปัจเจกทาน คือให้แก่บุคคลจำเพาะผู้เดียว

ได้มีเรื่องเล่าว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทรงทอผ้าด้วยพระองค์เอง

ตั้งใจที่จะได้ถวายพระพุทธเจ้า เมื่อเสร็จแล้วก็นำมาถวายพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งให้พระนางถวายแก่สงฆ์ แล้วก็ตรัสว่า

เมื่อถวายแก่สงฆ์ก็ชื่อว่าได้ถวายแก่พระพุทธเจ้าเองด้วย ได้ถวายแก่สงฆ์ด้วย

เพราะฉะนั้น ตามนัยยะที่ตรัสสั่งสอนนี้ จึงแสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ

การทำบุญที่ชักชวนกันทำเป็นบุญสามัคคี กุศลสามัคคี และทรงสรรเสริญการถวายแก่สงฆ์ หรือการให้แก่หมู่ ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์สุขมากด้วยกัน ยิ่งกว่าที่จะทำคนเดียว

และยิ่งกว่าที่จะให้แก่บุคคลผู้เดียว

การทำบุญในประการต่างๆ

อนึ่ง การทำบุญนั้นพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสถึงบุญไว้อีกหลายอย่าง

บุญทั่วไปที่ตรัสสอนไว้ก็คือบุญที่สำเร็จด้วยทาน บุญที่สำเร็จด้วยศีล บุญที่สำเร็จด้วยภาวนา

และนอกจากนี้ยังได้ตรัสถึงบุญอย่างอื่นไว้อีก จะยกมา ๒ ข้อ คือ

ปฏิทานามัยบุญ บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนแห่งบุญที่ได้ทำแล้วของผู้ทำบุญทั้งหลาย

และ ปัตตานุโมทนามัยบุญ คือบุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา

คือความตามยินดี พลอยยินดีในส่วนบุญที่ผู้ทำได้ให้

บุญทั้ง ๒ ประการนี้ได้ตรัสแสดงไว้เป็นกลางๆ

และโดยเฉพาะก็สำหรับทุกๆคนที่ยังมีชีวิตอยู่นี่แหละ

เมื่อทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตั้งใจแผ่กุศล แผ่บุญที่ทำนั้นให้แก่ผู้อื่น

ให้ผู้อื่นมีส่วนในการทำบุญของตนด้วย ก็ชื่อว่าได้ทำบุญอีกข้อหนึ่งเรียกว่า ปฏิทานามัยบุญ

และส่วนผู้อื่นนั้นเมื่อได้พลอยอนุโมทนา พลอยยินดี พลอยรื่นเริง

เห็นชอบในส่วนบุญที่ผู้ทำตั้งใจให้ ก็อนุโมทนา

ดั่งนี้ก็ชื่อว่าได้ทำบุญอีกประการหนึ่งคือ ปัตตานุโมทนามัยบุญ

บุญทั้ง ๒ ข้อนี้ หากพิจารณาดูอย่างผิวเผิน ก็ย่อมจะสงสัยว่าคนหนึ่งทำ

จะให้ส่วนแก่อีกคนหนึ่งได้อย่างไร เพราะก็มีหลักอยู่ว่าผู้ใดทำผู้นั้นก็ได้

ผู้ใดทำบุญ บุญนั้นก็เป็นของผู้ทำนั้นเอง ในข้อนี้ก็เป็นความจริง

แต่ว่าที่ตรัสให้ทำบุญทั้ง ๒ ข้อนี้ ไม่ได้หมายความว่าแบ่งบุญที่ทำนั้นให้แก่ผู้อื่น

เพราะว่าจะทำบาปก็ตาม ทำบุญก็ตาม บาปและบุญนั้นก็เป็นของผู้ทำนั้นเอง

ดังที่ตรัสเอาไว้ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของของตน

ทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว ก็จักต้องเป็นทายาท รับผลของกรรมนั้น

แต่ว่าที่ตรัสสอนไว้ในบุญ ๒ ข้อนี้ มีความหมายที่ควรทำความเข้าให้ถูกต้องว่า

บุญที่สำเร็จจากการให้ส่วนบุญนั้น คือเป็นการปฏิบัติแผ่เมตตาออกไปนั้นเอง

คือขอให้ผู้อื่นได้พลอยอนุโมทนา คือยินดีเห็นชอบในบุญที่ตนทำนั้นด้วย

เพราะว่าถ้ามีผู้อื่นอนุโมทนาด้วย ก็แสดงว่ามีผู้อื่นเกิดความนิยมชมชอบ

ความนิยมชมชอบที่เป็นอนุโมทนานั้นเองเป็นตัวบุญของเขา

อันจะนำให้เขาขวนขวายทำบุญนั้นด้วยตัวเอง

คือจะทำให้เขาเกิดฉันทะความพอใจในการทำบุญนั้นด้วยตัวเอง

เพราะฉะนั้น จึงถือว่าการปฏิบัติเหมือนอย่างเป็นการชักชวนให้ผู้อื่น

เกิดความนิยมในบุญนั้น ก็เป็นบุญขึ้นอีกอย่างหนึ่ง

จะพึงเห็นได้ว่า การที่คนบุคคลกลุ่มหนึ่งทำบุญร่วมกันนั้น

ก็มักจะเกิดขึ้นจากความตั้งต้นขึ้นของคนใดคนหนึ่ง คิดขึ้นชักชวนขึ้น แล้วคนอื่นก็เห็นตาม

ก็ร่วมการกุศลกันด้วย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้อื่นนั้นก็หมายถึงอย่างนี้

คือแผ่เมตตาออกไป แผ่กุศลออกไป เป็นการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมทำบุญ

แต่ว่าการที่ผู้อื่นจะร่วมทำบุญนั้น เขาจะต้องมีอนุโมทนา

และที่เขาจะมีอนุโมทนานั้นเขาก็จะต้องรู้ รู้ว่าตนได้ทำบุญ

แม้ว่าจะแผ่ใจออกไป ไม่ได้พูดชักชวนด้วยปากก็ใช้ได้

หรือจะพูดชักชวนด้วยปากว่ามาร่วมกุศลกัน ดั่งนี้ ก็จัดเข้าในข้อนี้เหมือนกัน

คือบุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ คือให้ทุกๆคนมามีส่วนร่วมกัน

นี่เป็นข้อที่ว่าบุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ คือให้ผู้อื่นมามีส่วนร่วมกันทำบุญ

และฝ่ายข้อที่ว่าบุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญนั้นก็คือว่า

เมื่อรู้ว่าเขาทำบุญก็อนุโมทนา คือเห็นชอบ

อันจะนำให้ร่วมการกุศลการบุญกับเขาด้วย หรือว่าตนทำขึ้นเอง

นี่คือบุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ

เพราะเหตุที่มี ๒ ข้อนี้นั้นเอง จึงได้บังเกิดกุศลสามัคคีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

คือคนหลายๆคนมาทำบุญร่วมกัน ในการที่จะทำบุญทำกุศล

อันเกี่ยวกับการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่นสร้างโบสถ์วิหาร สร้างกุฏิ

หรือแม้การสร้างอย่างอื่น การกระทำอย่างอื่น ต้องอาศัย ๒ ข้อนี้นั้นเอง

คือบุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญอย่างหนึ่ง บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาอย่างหนึ่ง

คือเมื่อมีผู้ริเริ่มขึ้น นำการทำ ก็แผ่ส่วนด้วยวิธีที่บอกบุญก็ตาม ด้วยวิธีที่แผ่ไปด้วยใจก็ตาม

เพื่อให้ผู้อื่นมาร่วมด้วย ผู้อื่นเมื่อรู้ก็อนุโมทนา ยินดีตามเห็นชอบก็มาร่วมการกุศลกัน

ก็เกิดเป็นมหากุศล หรือกุศลสามัคคีขึ้นมา คนจำนวนหลายสิบ หลายร้อย หลายพัน

ก็มาร่วมกันทำบุญ ก็ให้สำเร็จประโยชน์ในการที่จะสร้างจะทำสิ่งที่เป็นหลักฐานต่างๆขึ้นได้ ( เริ่ม ๑๓๐/๒ ) อาศัยบุญ ๒ ข้อนี้เอง เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจอย่างนี้

ไม่ใช่ว่าไปแบ่งบุญที่ตนทำให้ใคร หรือว่าทำบาปก็ไปแบ่งบาปให้ใครอย่างนี้ไม่ได้

บาปบุญใครทำก็ใครได้ แต่ว่าการที่แผ่ส่วนกุศลให้ และการอนุโมทนาส่วนกุศลนั้น

มีความหมายดังที่กล่าวมานี้

แม้ในด้านความชั่วก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อมีใครทำชั่วขึ้นมา

บางทีก็ชักชวนกันให้ทำชั่ว แล้วก็มีผู้อื่นก็เห็นชอบ ก็ไปทำชั่วร่วมกัน

ก็ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นหลายสิบหลายร้อยคนเป็นต้น ก็ทำชั่วร่วมกัน ดั่งนี้ก็มีเหมือนกัน

แต่นั่นเป็นฝ่ายชั่วซึ่งมีโทษมาก ไม่เป็นข้อประสงค์จะให้ไปแบ่งส่วนกันอย่างนี้

ต้องการให้ร่วมส่วนบุญ คือร่วมกันทำบุญ ร่วมส่วนกุศลกันให้เป็นมหากุศลขึ้นมา

คือในส่วนที่ดีเท่านั้น นี่ก็เป็นทักษิณาเหมือนกัน เป็นมหาทักษิณา

หรือทักษิณาสามัคคีฝ่ายกุศล

การทำบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

และนอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสสอนว่าให้เพิ่มทักษิณา

คือเพิ่มการทำบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว อย่างที่มีทำเนียมการบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ตาย

ซึ่งในการทำบุญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ตายนี้ ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้ว่า

ผู้ที่ตายไปแล้วจำพวกที่ไปเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต

คือเป็นเปรตจำพวกหนึ่งที่อาศัยก้อนข้าวที่ญาติทำบุญอุทิศให้ดำรงชีวิต

เมื่อญาติในโลกนี้ทำทักษิณาคือทำบุญอุทิศไปให้

และญาติที่ไปเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีนั้นทราบและอนุโมทนา ก็ย่อมจะได้เสวยผลเป็นข้าวเป็นน้ำ

แต่เมื่อญาติไม่ทำไปให้ก็อดอยาก ดังที่แสดงถึงเปรตญาติพระเจ้าพิมพิศาล

มาแสดงเสียงเป็นต้น ให้ทรงได้ยินแล้วก็ทรงบำเพ็ญกุศลอุทิศไปให้ญาติเหล่านั้น

ซึ่งเล่าว่าไปเกิดเป็นเปรตพวกนี้ก็เพราะไปขโมยของสงฆ์บริโภค

แต่ว่าเมื่อไปเกิดในคติภพอื่นย่อมไม่สามารถที่จะรับส่วนกุศลได้ดังกล่าว

แต่ว่าถ้านับเข้าในกุศลในบุญ ๒ อย่างที่แสดงมาข้างต้น คือบุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ

และบุญที่สำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญดังกล่าวมานั้น

จะเป็นมนุษย์ก็ตาม เป็นผู้ที่ตายไปเกิดในชาติภพใดก็ตาม

เมื่อญาติทำบุญ หรือเมื่อใครทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้

เพราะแม้มนุษย์ด้วยกันก็ตาม ทราบอนุโมทนาก็ย่อมได้บุญอันเกิดจากอนุโมทนานั้น

และฝ่ายผู้ที่อุทิศให้ก็ได้บุญอันเกิดจากการอุทิศให้นั้น เช่นเดียวกัน

และเมื่อชื่อว่าได้ทำบุญดั่งนี้ ผู้ทำนั้นเองก็ได้บุญของตัวเอง

คือผู้ที่อุทิศนั้นก็ได้บุญของตัวเองอันเกิดจากการอุทิศให้

ผู้อนุโมทนานั้นก็ได้บุญอันเกิดจากอนุโมทนาของตัวเอง ที่อนุโมทนา

ก็ต่างได้บุญด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเทพ

หรือเป็นผู้เกิดในภพชาติอันใดทั้งหมด

เพราะฉะนั้นการทำบุญอุทิศให้นั้น จึงได้ผลจากการอุทิศให้ ทุกคราวที่อุทิศให้

และผู้ทราบที่อนุโมทนาก็ได้บุญอันเกิดจากอนุโมทนาของตน ที่อนุโมทนานั้น

เพราะฉะนั้นในชนบทครั้งก่อนนี้ เมื่อใครไปทำบุญตักบาตรเช่นในวันตรุษวันสาร์ทเป็นต้น

กลับมาพบญาติมิตรสหายก็มักจะบอกว่าแผ่ส่วนกุศลให้

และฝ่ายญาติมิตรที่เดินสวนทางมาก็มักจะบอกว่าอนุโมทนา หรือสาธุ

จึงแปลว่าต่างก็ให้ส่วนกุศลกัน และต่างก็อนุโมทนากัน

แม้ในหมู่ญาติมิตรสหายด้วยกันที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ และต่างก็ได้บุญด้วยกัน

ผู้แผ่ส่วนก็ได้บุญอันเกิดจากการแผ่ส่วนบุญให้ ผู้อนุโมทนาก็ได้จากการอนุโมทนาส่วนบุญนั้น

อันทำให้เกิดความนิยมในการทำบุญดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

เพราะฉะนั้นเมื่อทำความเข้าใจดั่งนี้แล้ว

ก็ย่อมทำให้เห็นว่าการให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญนั้น

เป็นบุญที่ให้ประโยชน์มาก และเป็นบุญที่ทุกคนควรจะทำอยู่เสมอ

เมื่อใครทำความดีก็ให้นึกแผ่ความดีถึงใครๆ

และเมื่อเห็นใครทำความความดีก็ไม่ควรอิจฉาริษยา

ควรจะแสดงความยินดีพอใจในการทำดีของเขา

อันจะนำให้ตนเองเกิดฉันทะในการทำบุญ ยิ่งๆขึ้นไปด้วย

เพราะฉะนั้น การทำบุญทั้งหมดดังกล่าวมานี้แล เป็นทักษิณาทั้งนั้น

พระสงฆ์เป็นผู้ควรทักษิณา เป็นผู้ควรทำบุญ และเมื่อผู้ทำบุญ ทำบุญกับพระสงฆ์

พระสงฆ์ก็ย่อมจะอนุโมทนา ดังที่กล่าวอนุโมทนานั้นเอง

เพราะฉะนั้น ผู้ทำบุญผู้ถวายแก่พระสงฆ์นั้น ก็ชื่อว่าได้แผ่ส่วนกุศลนั้นให้แก่พระสงฆ์ด้วย

และพระสงฆ์นั้นเองเมื่ออนุโมทนา ก็ชื่อว่าได้อนุโมทนาส่วนบุญ

อันเป็นปัตตานุโมทนามัยบุญด้วย คู่กันไป

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป



Heute waren schon 44 Besucher (170 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden