vipassana - ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

  •  


  • ประวัติหลวงปู่เณรคำ
     
     
     
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • เพราะเหตุใดชาตินี้จึงเป็นชาติสุดท้ายของภิกษุรูปนี้ ?
    อายุเพียงน้อยเหตุใด คนจึงเรียกขาน '' หลวงปู่ '' ?
    ทำไมภิกษุรูปนี้จึงออกปฏิบัติธรรมตั้งแต่จำความได้ ?

    " เณรองค์นี้สำคัญน่ะ อนาคตจะได้เป็นหมายเลยเลข 1 ของสายกรรมฐานน่ะ "
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พูดสนทนากับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    " ตัวเจ้านี่ต่อไปจะได้เป็นหมายเลขหนึ่งของกรรมฐานในอนาคต "
    ซึ่งเป็นคำพยากรณ์ของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต ยังดังแว่วอยู่ในโสตทวารของหลวงปู่เณรคำ...

    เหตุใด ! ภายหลังวันที่ 30 ธันวาคมของทุกปี
    จึงมีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาหาพระภิกษุรูปนี้จำนวนนับหมื่นนับแสนองค์

    เหตุใด ! ภิกษุรูปนี้ จึงออกปฎิบัติธรรม ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ


    เหตุใด ! ภิกษุรูปนี้
    จึงสามารถนั่งสมาธิในสมัยอายุเพียง 10 ขวบเศษได้นานถึง 12 ชั่วโมง

    เหตุใด ! ภิกษุรูปนี้จึงออกธุดงค์ ตั้งแต่อายุ 15 ปี

    เพราะเหตุใด ! ชาวบ้าน ลูกศิษย์
    จึงเรียกขานพระภิกษุรูปนี้ที่มีอายุในวัยหนุ่มว่า หลวงปู่เณร หรือ หลวงปู่เณรคำ
สามเณร  

คลิปวีดีโอ


                                                           ชมคลิปวีดีโอ
                       ย้อนรอยเส้นทางธรรม หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก

  • ตอนที่ ๑

     

     

    MP3 รวมธรรม
    หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
    คลิกฟังเสียง
    01.49M03D27MP3
    02.49M04D05MP3
    03.49M03D06MP3
    04.49M05D20MP3
    05.49M05D21MP3
    06.49M05D22MP3
    07.49M07D07BMP3
    08.49M07D07DMP3
    09.49M03D06MP3
    10.49M03D06MP3
    11.49M05D19MP3
    12.49M06D18MP3
    13.49M05D23MP3
    14.49M02D12MP3
    15.49M07D07CMP3
    16.49M03D06MP3
    17.48M10MP3
    18.49M07D07AMP3
     
ประวัติและปฏิปทา

พระอาจารย์ วิรพล ฉัตติโก (หลวงปุ่เณรคำ)

วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ



อัตตโนประวัติ

“พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก” หรือ “หลวงปู่เณรคำ”


  • ประธานสงฆ์แห่งวัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
  • เป็นพระนักปฏิบัติจิตบำเพ็ญภาวนากัมมัฏฐานรุ่นใหม่ พระนักพัฒนา
  • และพระนักเทศน์ชื่อดัง ที่มีความตั้งใจจะเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนชาวเมือง
  • ศรีสะเกษ สร้างแรงศรัทธาเลื่อมใสให้กับชาวบ้านศรัทธาญาติโยม
  • ให้ประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์
  • พระอาจารย์วิรพล มีนามเดิมว่า วิรพล สุขผล
  • เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2522
  • ตรงกับวันอังคาร แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม
  • ณ บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
  • โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ คุณพ่อรัตน์ และคุณแม่สุดใจ สุขผล
  • มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 5 คน
  • เป็นผู้ชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรคนที่ 4
  • การศึกษาเบื้องต้น
  • อายุ 7 ขวบ ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านทรายมูล
  • ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
  • ก็มีศรัทธาในการปฏิบัติจิต
  • บำเพ็ญภาวนากรรมฐานมาโดยตลอด
  • ซึ่งทุกวันพระจะหยุดเรียนและนุ่งขาวห่มขาว
  • เข้าไปถือศีลบำเพ็ญภาวนาในวัด ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
  • จะมีอิริยาบถแห่งการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด
  • ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีการพลั้งเผลอแม้แต่น้อย
  • ทั้งวันจะเดินจงกรมสลับกับการนั่งภาวนาใต้ร่มไทร
  • ช่วงกลางวันจะไปนอนในป่าช้า
  • ตรงที่เป็นโบกปูนใช้สำหรับเผาผี
  • โดยไม่เคยมีความกลัวหรือหวั่นวิตกอะไร
  • จิตนั้นนิ่งโดยตลอด ทั้งๆ ที่ไม่เคยบำเพ็ญมาก่อนเลยในชาตินี้
  • ในปัจจุบันชาติเพิ่งจะเริ่มต้น
  • แต่ผลของการปฏิบัติมันก็เกิดขึ้นทันที
  • นี่เป็นสัญญาณบ่งบอก
  • เป็นหมายเหตุบอกถึงความจริง
  • ในการบำเพ็ญบารมีของแต่ละคนว่า
  • “แม้เราบำเพ็ญในชาตินี้หรือว่าชาติไหนๆ
  • ผลของการปฏิบัติบำเพ็ญนั้นมันยังคงอยู่
  • เหมือนเดิม ไม่เสื่อมไปไหน”
  • วันธรรมดาก็ไปโรงเรียน พอพักเที่ยงจะไปนั่งสมาธิใต้ร่มไม้
  • เลิกเรียนจะเข้าไปไหว้พระก่อนกลับจากโรงเรียน
  • และเดินจงกรมกลับบ้านทุกวันเป็นกิจภายใน
  • ที่ไม่มีใครรู้ได้นอกจากตัวเอง
  • เมื่ออายุ 12 ปี ได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  • ตั้งใจบวชเป็นสามเณรแต่โยมบิดาได้ขอร้องไว้
  • โดยขอให้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนต้นเสียก่อน
  • พอเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา คิดอยู่เสมอว่า
  • “ถ้าเสร็จจากภารกิจทางโลกแล้ว เราจะไม่กลับมาทางโลกอีก
  • เราคงเคยเกิดมาหลายชาติแล้ว เราคงพอแก่การเกิดได้แล้วในชาตินี้
  • เห็นอะไรก็เกิดความสลดสังเวชไปหมด จึงเป็นแนวทางทำให้รู้สึก
  • เหมือนกับว่า เรารู้มาก่อน เห็นมาก่อน ตั้งแต่อดีตชาติ เหมือนกับเรา
  • จะได้ต่อเติมเส้นทางแห่งการปฏิบัติธรรมการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้น”
  • หลังเลิกเรียน จึงไปปักกลดนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่กระท่อมกลางน้ำ
  • ที่ปลายนาของโยมบิดามารดาทุกวัน บางครั้งก็นั่งบำเพ็ญภาวนาทั้งคืนจนสว่าง
  • ส่วนในวันพระจะถือกลดไปโรงเรียนด้วยพอเลิกเรียน
  • จะเข้าไปปักกลดบำเพ็ญภาวนาที่วัด
  • ปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ
  • การบรรพชาและอุปสมบท
  • จากการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาตลอด
  • ครั้นอายุย่าง 15 ปี ท่านได้ตัดสินใจที่จะออกบวช
  • และได้บวชผ้าขาวที่วัดป่าดอนธาตุ บ้านทรายมูล
  • ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
  • โดยมีหลวงปู่สมบูรณ์ ขันติโก เป็นผู้บวชผ้าขาวให้
  • ต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร
  • ณ วัดภูเขาแก้ว ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร
  • จ.อุบลราชธานี โดยมีพระครูพิบูลธรรมภาณ
  • (หลวงปู่โชติ อาภัคโค) เป็นพระอุปัชฌาย์
  • ต่อมา ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมา
  • วัดภูเขาแก้ว โดยมีพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงปู่โชติ อาภัคโค)
  • เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ฉตฺติโก”
  • หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา
  • ณ วัดป่าดอนธาตุ จ.อุบลราชธานีระยะหนึ่ง
  • จากนั้นเดินทางจาริกธุดงค์ ปักกลดอยู่ถ้ำภูตึก
  • บ้านคุ้มปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
  • ขณะนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้น
  • มีงูเหลือมตัวหนึ่งเลื้อยมาพาดขาบ้าง
  • พาดตักบ้าง บางคืนนอนอยู่งูเหลือม
  • จะเลื้อยมาขดอยู่บนหน้าอก หนักมาก
  • แต่จิตไม่มีการวิตกกังวล หรือกลัวอันใดเลย
  • เพราะชีวิตนี้บูชาคุณพระพุทธเจ้าแล้ว
  • พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ที่สุด พระธรรมเป็นใหญ่ที่สุด
  • พระอริยสงฆ์เป็นใหญ่ที่สุด ตอนนั้นท่านคิดแต่ว่า
  • เราต้องทำหน้าที่ให้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า
  • ให้ถึงซึ่งพระธรรม ให้ถึงซึ่งความเป็นพระอริยสงฆ์
  • ความกลัวทั้งหลายจึงไม่มี และได้บำเพ็ญภาวนา
  • อยู่ในถ้ำภูตึกนั้นคนเดียว เป็นเวลานานถึง 3 เดือน
  • ต่อจากนั้นก็ลงจากถ้ำภูตึกไป และจาริกธุดงค์ไปเรื่อยๆ
  • ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
  • ปรากฏว่าเริ่มเห็นสิ่งอัศจรรย์เยอะแยะมากมายเกิดขึ้น
  • เช่น สิ่งลี้ลับต่างๆ ที่คนทั่วไปมองไม่เห็น
  • มองเห็นมุมโลกสองมุม คือ
  • มุมมืดและมุมสว่างแห่งการเวียนวายตายเกิด
  • มองเห็นสวรรค์ มองเห็นอบายภูมิ
  • ประกอบด้วยนรก เปรต และอสุรกาย
  • และเริ่มออกทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอน
  • ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • อย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน
  • การสร้างวัดป่าขันติธรรม
  • ต่อมาได้รับนิมนต์จากชาวบ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
  • ให้ไปพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านยาง
  • ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537
  • โดยมีเพียงกุฏิและศาลาเล็กๆ พออยู่อาศัยได้
  • ก่อนขยับขยายวัดไปอยู่ที่แห่งใหม่
  • ทั้งนี้ ได้ก่อสร้างวัดป่าขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดป่าขันติธรรม”
  • โดยมีคุณป้าทองมี วุฒิยาสาร (แม่เหนาะ)
  • อุบาสิกาแห่งพระพุทธศาสนาผู้มีจิตใจอันประเสริฐยิ่ง
  • เกิดมาเพื่อสร้างสมบารมีอันยิ่งใหญ่
  • ได้สร้างมหากุศลโดยบริจาคที่ดินจำนวน 9 ไร่
  • ถวายแด่ หลวงปู่เณรคำ
  • เพื่อสร้างวัดป่าขันติธรรมไว้เป็นสถานที่ให้บุคคลกระทำความเพียร
  • บำเพ็ญภาวนา เพื่อระงับกิเลสตัณหาให้น้อยลงจนถึงความหลุดพ้นจากกองกิเลส
  • ตามพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินเพิ่มอีกจำนวน 2-1-00 ไร่
  • รวมที่ดินที่บริจาคทั้งสิ้น 11-1-00 ไร่
  • พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลสวงปู่สมบูรณ์ ขันติโก
  • วัดป่าดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี
  • ได้มองเห็นถึงความอดทน ความอดกลั้น
  • อันเป็นตบะเดชะสูงสุดเด่นชัดที่สุดของหลวงปู่เณรคำ
  • ที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งอายุยังน้อยจนถึงปัจจุบัน
  • ซึ่งองค์หลวงปู่เณรคำเองท่านได้ผ่านพญามาร
  • มาเยอะแยะมากมาย มารทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้นที่ใด
  • ท่านก็ดับมารไว้ที่ใจดับไว้ตรงนั้นเลย ดับที่ใจด้วยขันติ
  • พระเดชพระคุณหลวงปู่สมบูรณ์จึงได้ตั้งชื่อให้นามว่า
  • “วัดป่าขันติธรรม”
  • “ผู้มีขันติอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่แคบ
  • ที่โล่ง ที่กว้าง ป่าดงรกชัฎ ผู้ที่ได้ศึกษาในเส้นทางของเรา (หลวงปู่เณรคำ)
  • ขอให้มีขันติธรรมในใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวเหมือนกับเราได้บำเพ็ญในครั้งนี้
  • ทุกคนต้องทำได้เราเคยทำมาแล้ว ทุกคนต้องทำได้อย่างนั้น”
  • วัดป่าขันติธรรม ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
  • ด้วยพลังศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวศรีสะเกษและทั่วประเทศที่ได้เข้ามาร่วมในการพัฒนาวัดอย่างเต็มที่
  • ที่มาของชื่อ หลวงปู่เณรคำ
  • เมื่อครั้งพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ
  • ท่านไปจาริกเดินธุดงค์อยู่แถวจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านแถวนั้นได้พากันไปกราบนมัสการ
  • และได้มองเห็นองค์หลวงปู่ซึ่งท่านนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในกลดบางๆ
  • เป็นพระแก่ชรา แต่พอท่านเปิดกลดออกมา ก็กลับกลายเป็นสามเณรน้อย
  • ออกไปบิณฑบาต ขากลับจากบิณฑบาต
  • ศรัทธาญาติโยมบางคนได้มองเห็นองค์หลวงปู่ท่านเป็นพระแก่ชรา
  • อายุราว 80 ถึง 90 ปี ผมหงอก หลังค่อม เหี่ยวย่น หนังยาน
  • บางคนฝันเห็น
  • หลวงปู่เณรคำไปยืนอยู่บนหัวเตียง เดี๋ยวเป็นสามเณรอายุน้อยๆ
  • เดี๋ยวก็กลายเป็นพระ ที่เเก่ชรามากบ้าง ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมาก็เริ่มมี
  • คนเรียกขานชื่อของท่านตามที่เขาเห็นว่า
  • “หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่เณรคำ” ฉายาของท่านคือ “ฉตฺติโก” อ่านว่า ฉัตติโก
  • สร้างพระแก้วมรกตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 4 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5
  • เวลาตี 2 ท้าวสักกเทวราช มหาราชองค์อินทร์
  • จอมเทวดาผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย
  • ได้มาอาราธนาให้พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก (หลวงปู่เณรคำ)
  • นำพาสาธุชนชาวพุทธได้ร่วมกันสร้างองค์พระแก้วมรกตจำลอง
  • ปูนปั้นหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร
  • โดยมหาราชองค์อินทร์จะเป็นผู้ช่วยอำนวยการสร้างให้ราบรื่น
  • ให้แล้วเสร็จลงด้วยพลังใจ ด้วยพลังจิตอันยิ่งใหญ่
  • ของทั้งเทวดาและมนุษย์มิตรทั้งหลาย
  • “ได้ถึงกาลอันสมควรแล้ว ที่พระคุณเจ้าจะต้องทำการสร้าง
  • สิ่งที่เคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งอันควรในการสักการบูชา
  • ของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย
  • เนื่องจากปัจจุบันในโลกมนุษย์ ชนทั้งหลายได้มีใจห่างเหิน
  • จากธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก
  • พระคุณเจ้าผู้เจริญ บารมีพระคุณเจ้ามีพอแก่การสร้างมาแล้ว
  • พอแก่การทำให้อายุพระศาสนาวัฒนาถาวรแล้ว
  • แม้อายุยังน้อย แต่ได้บำเพ็ญสมณธรรมมามากต่อมากชาติจนนับไม่ถ้วน
  • จนถึงชาติปัจจุบัน การสร้างบารมีของพระคุณเจ้ามีมามากแต่ชาติปางก่อน
  • จึงไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ขอพระคุณเจ้าจงตริตรองด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่เองเถิด
  • เมื่อถึงกาลนี้ ข้าพเจ้าจึงได้เสด็จลงมาด้วยปรารถนาจะขออาราธนาพระคุณเจ้าผู้เจริญ
  • ได้นำพามวลมนุษย์ชนทั้งหลาย สร้างองค์พระแก้วมรกตรัตนปฏิมากร
  • จำลองคล้ายองค์จริง เพื่อเป็นพุทธบูชา ถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • ผู้ประเสริฐในไตรโลกทั้งหลาย และเพื่อยังอายุพระศาสนาให้วัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้นไป
  • เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาให้ครบ 5,000 ปี
  • เพื่อเป็นที่อันควรสักการบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย”
  • ขณะนี้ หลวงปู่เณรคำ กำลังดำเนินการก่อสร้างพระแก้วมรกตจำลองขนาดใหญ่
  • ณ วัดป่าขันติธรรม ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
  • ปูนปั้นหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร
  • โดยองค์พระแก้วมรกตจำลองที่จะสร้างขึ้นจะมี 5 ชั้น
  • มีลิฟต์ขึ้นลง ชั้นล่างสุดจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
  • ชั้นบนสุดคือส่วนพระเศียรมีบุษบก เป็นที่ประดิษฐาน
  • พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • ส่วนหัวใจของพระแก้วมรกตจำลอง
  • จะเป็นพิพิธภัณฑ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
  • ส่วนยอดชฎาบนเศียรพระแก้วมรกตทำด้วย
  • ทองคำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม สูง 7 เมตร
  • เครื่องทรงสามารถถอดเปลี่ยนได้ ทำด้วยทองเหลือง
  • เมื่อแล้วเสร็จจะทำการเปลี่ยนเครื่องทรง 3 ฤดู
  • ตามหลังพระแก้วมรกตองค์จริง 1 วัน
  • มูลค่าการก่อสร้างจนกว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 100 ล้านบาท
  • ทั้งนี้ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา แด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • และเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล
  • แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
  • ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา
  • ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550
  • พระธรรมเทศนา
  • หลวงปู่เณรคำ ท่านมีเมตตาธรรมต่อสานุศิษย์
  • และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน อยากให้ทุกคนได้เข้าถึงความหลุดพ้น
  • จากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้
  • ท่านจึงได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติ
  • ที่ท่านเคยบำเพ็ญมาตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงปัจจุบัน
  • มาสอนให้เราท่านทั้งหลายออกจากความ
  • ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ
  • สอนให้เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งตามหลักการปฏิบัติ
  • เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นตามธรรมคำสอนของ
  • พระบรมศาสดาที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
  • ธรรมะและแนวทางการปฏิบัติ ที่หลวงปู่ได้เมตตานำมาสอนนั้น
  • เป็นแนวทางลัดในการปฏิบัติ ให้บรรลุธรรมกันได้ง่ายขึ้น
  • สามารถเข้ากับจริตของทุกๆ คน ทุกๆ จิตใจ ถ้ามีความเพียร
  • ถ้ามีความศรัทธาในองค์พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
  • ความเพียรและความศรัทธาที่เด็ดเดี่ยวมั่นคงนั้น
  • จะเป็นกำลังผลักดันให้เรามีตบะเดชะในใจ
  • สามารถบำเพ็ญจนสำเร็จเป็นมรรคเป็นผลได้ในที่สุด
  • นี่แหละ คือ เมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ที่หลวงปู่ท่าน
  • ได้หยิบยื่นให้แก่เราท่านทั้งหลาย
  • ต่อไปนี้คือหลักคำสอน ของ หลวงปู่เณรคำ
  • - พระอริยเจ้าละสังขาร ไม่มีแดนเกิดแห่งกายนี้อีก
  • ไม่ว่าจะเป็นกายสัตว์ กายอะไรก็ช่าง กายละเอียดกายหยาบไม่มีอีกต่อไป
  • - นักปฏิบัติต้องกำหนดรู้อยู่ในกายให้มาก ให้เห็นแจ้งรู้จริงในกาย
  • เมื่อกำหนดรู้ในกายเด่นชัดแล้ว ก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า จิตเป็นยังไง
  • กายเป็นยังไง ไม่ต้องไปถามใคร
  • - นักปฏิบัติต้องทบทวนดูพฤติจิตของตนเองให้ดี
  • ให้เด่นชัด ให้ละเอียด เพราะกลเกมกลลวงของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันเฉียบคม
  • - ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว อย่าเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหนๆ ก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น
  • ปฏิบัติให้ตื่นรู้อยู่ในกายทุกอากัปกิริยา
  • - ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว
  • ไม่พึงแสวงหาวัตถุอย่างอื่นอันนอกเหนือจากความหลุดพ้น
  • จากการเวียนว่ายตายเกิด
  • - การปฏิบัติธรรมนั้น แม้เกิดก็เกิดคนเดียว
  • การจะเข้าถึงมรรคผลก็เข้าถึงคนเดียว
  • ธาตุขันธ์จะแตกดับก็แตกดับคนเดียว
  • - การธุดงค์ป่านอกไม่มีผลสำเร็จดีเท่ากับเดินจาริกอยู่
  • ในป่ามหานครกายและป่าใจของตัวเอง
  • - จงดำเนินองค์สติให้ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว
  • ควบคุมความคะนองทางใจสำรวมระวังความคิด
  • เจริญกองบุญกุศลให้ถึงพร้อม
  • และให้ละบาปอกุศลให้สิ้น
  • - ไม่ยึดถือเอาสัญญาเป็นเจ้าของ หลุดพ้นออกจากสัญญาแล้ว
  • ความขุ่นข้องหมองใจ ความพยาบาทปองร้ายก็ดับไป
  • - พอใจในสิ่งที่เรามี พอใจในสิ่งที่ตนได้ ถ้าดิ้นรนมาก ก็จะกลายเป็นกิเลส ตัณหา
  • - ท่านทั้งหลายที่เป็นสาธุชนนั้น ต้องอาศัยการให้ทาน
  • ต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นตัวนำจิตให้เข้าถึงบุญกุศล
  • เป็นสิ่งที่ทำง่ายสำหรับท่านทั้งหลาย
  • เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจของท่านทั้งหลาย
  • ยิ่งใหญ่ขึ้นในภายภาคหน้า
  • - การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารภพน้อยภพใหญ่นี้
  • มันทุกข์ร้อนมากๆผู้ไม่ปรารถนาที่จะมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
  • ต้องปฏิบัติตนรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ตั้งศรัทธาให้มั่นคง
  • ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งปวง
  • ถอดถอนความยึดถือในโลกทั้งปวงในธรรมทั้งปวง ความเป็นตัวเป็นตน
  • ความแบกหาม เอาสมมุติทั้งหลายทิ้งไปให้หมด สละไปให้หมด
  • จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
  • - ท่านผู้มีปัญญาย่อมมีธรรมปรากฏอยู่ในจิตใจเสมอ
  • ปัญญาธรรมคือสิ่งที่เลิศที่สุดในชาติปัจจุบัน
  • - ธรรมทั้งปวงนั้นคือ เครื่องเตือนให้ท่านทั้งหลายตื่น
  • จากการหลับใหลในความยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
  • ให้รู้จักส่งคืนสิ่งยึดติดทั้งปวง
  • ด้วยธรรมอันจิตไม่ยึดมั่น
  • เห็นเด่นชัดนั่นเป็นสักแต่ว่า
  • - นักปฏิบัติต้องใช้สติปัญญาที่เฉียบคม
  • ทบทวนดูผลของการปฏิบัติที่ผ่านมาให้ละเอียดมากลงไปเรื่อยๆ
  • ว่ากิเลส ตัณหา อุปาทานที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจนั้น
  • มันหมดไปมากน้อยแค่ไหน
  • และทบทวนดูสภาพจิตของตัวเองให้ลุ่มลึกลงไปให้มาก
  • ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้ว ทุกอย่างต้องดับไป
  • - นักปฏิบัติต้องทบทวนดูสิ่งที่ตนเห็นให้ดี เพราะสิ่งที่เห็น คือ อุปาทาน
  • คือความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นแล้วเดินจิตปลงลงสู่ความไม่ยึดถือ
  • เดินกระแสจิตเข้าสู่ความดับ พอมันหลุดไปหมดแล้ว จะเห็นอะไรมันก็เห็นเป็นปกติ
  • - นักปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูรูป เวทนา
  • ให้เด่นชัด เมื่อเด่นชัดแล้ว
  • จิตก็จะถอดถอนออกโดยอัตโนมัติ
  • เห็นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้น
  • - สาธุชนทั้งหลายอย่าเห็นเรื่องฤทธิ์เดชเหล่านั้น
  • สำคัญกว่าการละกิเลสให้ได้เด็ดขาดอย่างแท้จริง
  • - ท่านทั้งหลาย เราอย่าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้านั้นสอนให้
  • เราสร้างแต่บุญเพื่อไปเกิดในสวรรค์อย่างเดียว แต่หัวใจของพระพุทธเจ้าที่เน้นหนักลงมา
  • คือ ให้เราได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดตามพระองค์
  • - อุเบกขานั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย
  • แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต
  • ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง
  • ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขา
  • แบบอุเบกขาผู้มีปัญญา
  • อุเบกขาแบบผู้มีปัญญาคือ
  • การเฝ้าดูอยู่ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง
  • ไม่มีสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศล
  • - เนื้อแท้ของธรรมชาติในโลกวัฏฏทุกข์นั้น
  • ล้วนแล้วไม่ยั่งยืน แปรปรวนอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย
  • จึงให้ทุกท่านเข้าไปรู้ความจริงของธรรมชาติแห่งวัฏฏทุกข์นั้น
  • ด้วยสติปัญญาอันสุขุมละเอียด และด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว
  • ความจริงแจ้งชัดหายสงสัยปรากฏอย่างที่สุด หลุดพ้นทันที
  • - ความโง่ในโลกที่เราโดนหลอกเอย คนนั้นหลอก คนนี้หลอก
  • มันไม่ใช่ความโง่ที่เรียกว่าหนักหนาอะไร แต่ที่หนักคือ
  • เราโง่ให้กิเลสมาสับรางจิตใจของเราให้ไปผิดทาง
  • - ยุคนี้ คือ ยุคที่เราจะทำให้เป็นดั่งสมัยพุทธกาล
  • คือ ให้มีผู้บรรลุสำเร็จเป็นอรหันต์มากที่สุด ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
  • - จิตที่หลงยึดติดว่าเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราบรรลุแล้วจบสิ้นแล้ว
  • พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว จิตที่หลงนี้ต้องกลับมาเกิดใหม่
  • และนำเอาจริตเดิม สันดานเดิมที่หลงติดไปด้วย
  • - ถ้าเรารักษาศีลไม่ดีก็เท่ากับว่าเรายังไม่แจ้งในศีล
  • ถ้าเราบำเพ็ญภาวนาไม่ดีก็เท่ากับว่าเราไม่แจ้งในสติ
  • ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นเพียงพอเท่ากับเราไม่ตั้งมั่นในสมาธิ
  • ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานเท่ากับเราไม่รู้แจ้งในปัญญา
  • - ถ้าเราได้จาบจ้วงพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง
  • ก็เหมือนเราได้จาบจ้วงทั้งหมด
  • ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย
  • ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบันกาลนี้
  • ผลกรรมนั้นมันหนักหนาสากรรจ์มาก
  • - ให้เฝ้าดูอาการของจิตจนรู้จิตเด่นชัด การบรรลุธรรมจะปรากฏ รู้จิตเห็นธรรม
  • - จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง
  • - ทุกคนจงมาทำให้แจ้งในปัจจุบันนี้เลย
  • อย่าทำเพื่อชาติหน้า อย่าทำเพื่ออนาคตอันยืดเยื้อยาวไกลไปมาก
  • ทำปัจจุบันให้มันแจ้ง แจ้งทั้งกาย ให้มันแจ้งทั้งจิตใจ
  • อย่าให้มีข้อลังเลสงสัยอย่าให้มันเกิดการพวักพวง ให้มันแจ้งไปหมด
  • - การขับเคลื่อนของสติปัญญานั้น ต้องเดินอย่างต่อเนื่อง
  • - เมื่ออำนาจสติมีกำลังพอเพียง จะสามารถเห็นความเป็นจริงได้ว่า
  • สภาพจิตและกายไม่ได้เป็นเนื้ออันเดียวกัน มันแยกกันอยู่
  • - สัญญานั้นเหมือนเพลิงที่มาเผาจิต
  • ของเวไนยสัตว์ไม่ให้หลุดพ้น
  • ออกจากกองทุกข์
  • - คำว่าขณะที่ปฏิบัตินี่ ไม่ใช่เฉพาะชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้นะ
  • มันทุกอากัปกิริยา ทุกสภาวะในปัจจุบันนั้นๆ แต่ละลมหายใจเข้า-ออก
  • แต่ละเวลา แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที สภาพปัจจุบันด้วย
  • - ยศถาบรรดาศักดิ์ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
  • ปฏิภาณทั้งหมด เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
  • เราก็ไม่ได้เอาไปด้วย
  • เป็นสักแต่ว่าสมมุติในโลกนี้แค่นั้น
  • ท่านจะเป็นมนุษย์ผู้มีสมบัติใหญ่โต
  • มีชื่อแปลกๆ มีรถยนต์ นั่นคือเครื่องสมมุติ
  • ผู้ที่บำเพ็ญตนให้พ้นจากกิเลสตัณหา
  • เห็นสมมุติเหล่านั้นให้เด่นชัด เห็นทุกอย่างเป็นสมมุติ
  • รู้สมมุติเหล่านั้นแล้วทิ้งสมมุติเป็นแดนเกิด ภพชาติจึงดับไป
  • - หัวใจแก่นแท้ของนักปฏิบัติธรรมตามธรรม
  • คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • คือ ความไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของในสิ่งทั้งปวง
  • - คำว่าปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง คือ ไม่ให้เผลอ
  • ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์
  • - การบำเพ็ญต้องบำเพ็ญด้วยสติล้วนๆ ปัญญาล้วนๆ ไม่ไปหลงกับอำนาจสมาธิ
  • อำนาจความสุข ความปิติบางอย่าง ต้องตั้งสติให้มั่นคงเด็ดเดี่ยวขึ้นกว่าเดิม
  • ตั้งกำลังปัญญาให้มันแกร่งขึ้นมากกว่าเดิม
  • พิจารณาให้มันแตกฉานไปเสียหมดเลย จึงจะหลุดพ้น
  • - การบำเพ็ญนั้น ต้องบำเพ็ญด้วยความเด็ดเดี่ยว คำว่าเด็ดเดี่ยวหลักสำคัญ
  • คือ ไม่ต้องไปลังเลสงสัยกับคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องอื่น
  • ให้นั่งทำใจของตนให้สงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่างๆ
  • - การบำเพ็ญต้องหลีกเว้นออกจากสิ่งที่เคยยึดถือยึดมั่นทุกอย่า'
  • ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก เป็นตัวเริ่มต้นเลยในการถอน
  • เมื่อเราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น เป็นเนื้อ หนัง เอ็น กระดูกแล้ว
  • อย่างอื่นมันไม่ยึดถือกันอัตโนมัติ
  • - สภาพสติปัญญาที่จะน้อมนำ
  • ธรรมคำสอนเข้าฝังในหัวใจ
  • จะเข้าไปในจิตใจมากน้อยแค่ไหน
  • ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาของแต่ละคน
  • แต่ละท่านที่ได้สั่งสมมา
  • ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้
  • เพราะว่าการบำเพ็ญบารมี ไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญ
  • ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ของแต่ละคน
  • แต่ละท่านนั้น สะสมกำลังบารมีส่วนนี้มาแตกต่างกัน
  • - ยิ่งรู้แจ้งในกายมากเท่าไหร่ สติปัญญายิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น
  • - ยอดที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจของสาธุชนทั้งหลายนั้น
  • ต้องให้ถึงที่สุดแห่งองค์พุทธะ ให้ถึงที่สุดแห่งองค์ธรรมะ
  • และให้ถึงที่สุดแห่งองค์พระสังฆอริยเจ้า ด้วยเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
  • ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตนี้รวมเป็นหนึ่งหมุนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้านั้น
  • นั่นแหละคือว่าเราได้ทำให้ถึงยอดของพระพุทธศาสนา
  • - นิพพานนั้นไม่มีแดนเกิด นิพพานนั้นดับได้หมดเลย
  • นิพพานเหนือโลกทั้งมวล เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทั้งหมด
  • - สาธุชนท่านใดปรารถนาให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิด
  • ต้องทำให้แจ้งในมหานครกายและมหานครใจ แจ้งจนหายสงสัย
  • เมื่อหายสงสัยแล้ว ส่งคืนไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
  • - แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก
  • เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น
  • - ถ้าจะหลุดพ้นแท้ๆ คือ ไม่เป็นในสิ่งที่เป็น ไม่มีสิ่งที่เป็นยึดถือในหัวใจ
  • - หลุดพ้นออกจากความหลุดพ้น นี่คือ ที่สุดของการปฏิบัติ
  • - การบรรลุมรรคผล จิตนั้นจะไม่มีอะไรแทรกแซงในจิตเลย
  • แม้แต่ความเห็นว่าจิตของตนนั้นใสดั่งแก้ว ก็ไม่มีเลย
  • - การเดินย่ำไปในโลกธรรม ถ้าจิตเหนื่อยล้าก็จงพัก
  • เอากำลังแห่งสติปัญญาอันกล้าหาญ ไม่หวั่นไหว
  • ในสภาพทั้งปวง โลกธรรมมันยาวไกลไม่สิ้นสุด
  • จิตหลุดพ้นแล้ว แม้โลกธรรมจะแสนไกลไร้ความหมาย
  • เจริญธรรมอันเลิศแด่ท่านผู้ประเสริฐ
  • - ความเชื่อในทางโลกนั้นมีกำลังมากกว่าความเชื่อในทางธรรม
  • เพราะว่าทางโลกนั้นมีรูปธรรมสัมผัสได้จับต้องได้
  • แต่ทางธรรมนั้นต้องใช้สติปัญญา
  • มันจับต้องไม่ได้ด้วยมือเปล่า แต่กำหนดรู้เข้าไป
  • ที่จิตสำนึกได้เท่านั้น ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมได้
  • ต้องเป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตั้งมั่นศรัทธา
  • ในศาสนาจนแก่กล้าจึงจะเข้าถึงรากได้
  • - เราก็ขอทุ่มเทให้กับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันชาติ
  • แม้ว่าเราจะอาศัยเป็นบ้านเกิดหลังสุดท้าย
  • แต่เราก็ขอทำคุณงามความดีให้แก่บ้านเกิดหลังสุดท้ายอย่างเต็มภาคภูมิ
  • เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายได้พึ่งพาต่อไปภายภาคหน้า
  • ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคตต่อไป คุณงามความดีจักประจักษ์
  • เด่นชัดในใจของเรานี่เองถ้าเราทำดี
  • ความดีก็มีในใจของเรา ไม่ต้องไปโอ้อวดใครทั้งสิ้น
  • - นับเป็นชาติสุดท้ายที่เรานำท่านทั้งหลายสร้างบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่
  • จะไม่มีชาติอื่นปรากฏแก่เราอีกต่อไป ทำไปเถิด เมื่อมีโอกาสได้ทำ
  • - ท่านทั้งหลายอย่ายึดติดในอารมณ์ทั้งปวงเลย
  • ทั้งร้อนและเย็นมันเป็นทุกข์ทั้งนั้น อารมณ์เปรียบดั่ง
  • ทะเลเพลิง ถ้าจิตเหนืออารมณ์
  • ก็พ้นจากทะเลเพลิง ได้ถึงความหลุดพ้นในที่สุด
  • - ชีวิตทั้งหลายโดยมากลุ่มหลงในตน ยึดถือตนเป็นแก่นสาร
  • เอาความเป็นตัวเป็นตนครอบงำจิต
  • ชีวิตเหล่านั้นจึงเป็นทุกข์โดยไม่รู้ตัว
  • จงดับความยึดถือในตน ทุกข์โดยไม่รู้ตัวจักดับไป
  • - ธรรมอันบริสุทธิ์คือ เครื่องตื่น ผู้รู้แจ้งในธรรมทั้งปวง
  • เปรียบดั่งว่าเป็นผู้ตื่นแล้วจากโลกมืด อันเป็นบาปอกุศล
  • อุปาทาน กิเลส ตัณหาทั้งปวง เมื่อตื่นแล้วหลุดพ้น
  • ถึงซึ่งความเกษมบันเทิงใจในธรรม จนดับขันธ์นิพพานไป
  • ไม่หวนกลับมาเวียนตายเวียนเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป
  • - ให้ตัดความกังวล ให้ตัดความยึดถือทั้งปวง
  • เพื่อจะได้หลุดพ้นต่อไปในภายภาคหน้า
  • - ให้มีพรหมวิหารธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
  • ด้วยใจที่บริสุทธิ์ ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว
  • เมตตาก็เมตตาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว
  • กรุณาก็กรุณาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว
  • มุทิตาก็มุทิตาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว
  • อุเบกขาก็อุเบกขาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยวด้วย
  • - อุเบกขาที่มีปัญญาจะช่วยเราไปตลอดชีวิต
  • นักปฏิบัติทุกวันนี้ รู้แต่ว่าการปล่อยวาง
  • ปล่อยวาง นั่นสักแต่ว่าก็แค่นั้นเอง
  • แต่ไม่รู้ว่าสักแต่ว่าแบบมีปัญญาเป็นยังไง
  • - เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา มีในหัวใจแล้ว เมตตา กรุณา
  • มุทิตา อุเบกขา มีในหัวใจแล้ว อุเบกขามีหน้าที่ซุ่มดู
  • เฝ้าระวังไม่ให้จิตใจตนเองเกิดอะไรขึ้นมาอีกเหมือนเดิม
  • แล้วคอยประคองรักษาสภาพจิตนั้น ให้มันสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
  • - นักบุญทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า
  • ให้ทำกุศลฝ่ายในและกุศลฝ่ายนอกให้บริบูรณ์
  • เมื่อบริบูรณ์คราใด บารมีจักเกิดครานั้น
  • จงพิจารณาธรรมเหล่านี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเถิด
  • - ชนทั้งหลายผู้จักได้เกิดในสวรรค์ชั้นต่างๆ นั้น
  • ต้องหนักแน่นในศีลแลให้ทานพร้อมทั้งภาวนา
  • ผลคือดวงจิตดวงนี้เกิดมีความปิติสุขโล่งเบา
  • โดยตลอด ไม่ด่างพร้อย เมื่อถึงวันธาตุขันธ์ดับแล้ว
  • จิตวิญญาณเหล่านั้นหมุนเข้าสู่สุขคติสวรรค์ทันที
  • อย่างไม่ลังเลสงสัย
  • - จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง
  • - สติปัญญาของท่านผู้ปฏิบัตินั้น แจ้งกำหนดรู้ไปยังที่ใจ
  • ย่อมรู้แจ้งแจ่มชัดในที่นั้นอย่างหายสงสัย
  • เพราะอำนาจสติปัญญามีกำลังเพียงพอ
  • อันเกิดจากความเพียรที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • -ท่านทั้งหลายจงแสวงหาและสร้างสติปัญญาของตน
  • ให้เด่นชัดในหัวใจ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
  • อย่างเต็มตัว หายสงสัยในสิ่งทั้งปวง
  • - ผู้มีปัญญาแก่กล้านั้น เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งใดแล้ว
  • ย่อมหลุดพ้นจากสิ่งนั้นด้วย โดยไม่ยึดไม่ถือเอาเป็นเจ้าของ
  • ส่งคืนไปตามสภาพสมมุติหมด
  • - การบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้น ต้องทำด้วยใจที่บริสุทธิ์
  • ทำด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ด้วยใจที่เต็มความภาคภูมิ
  • เต็มไปด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
  • ตามพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดา
  • องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ให้ด่างพร้อย
  • ไม่ให้พลั้งเผลอเลยแม้แต่น้อย
  • แม้ว่าผลของการปฏิบัตินั้นจะมีมากเพียงใดก็ตาม
  • - บุญในอดีตชาติรวมเป็นหนึ่งกับบุญในปัจจุบันชาติ
  • จักเกิดบารมีอันยิ่งใหญ่ สำเร็จประโยชน์ดังตั้งใจ
  • - สติ สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน รวมลงที่ใจโดยฝ่ายเดียว
  • แต่ไม่ให้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ส่งคืนตามสภาพความเป็นจริงนั้นให้หมด
  • - ถ้าศีลไม่สะอาด มันจะรวมสติ สมาธิ ปัญญา ลงไปที่ใจไม่ได้ รวมไม่ได้เลย
  • - ปฏิบัติตนให้รู้แจ้งเห็นจริง รู้แจ้งในศีล รู้แจ้งในสติ สมาธิ ปัญญา
  • - แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก
  • เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน
  • แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น
  • - โลกยังคงหมุนไปตามธรรมชาติ สรรพสิ่งในโลกยังคงหมุนไปตามกรรม
  • เรามาดับกิเลสตัณหาอุปาทานเพื่อระงับกรรมเหล่านั้น
  • เหตุที่ทำให้กรรมยุติเบาบางลง คือ การดับกิเลส ตัณหา อุปาทานทั้งปวง
  • - การออกจากทุกข์ก็คือ เราอย่าไปมองแค่สวรรค์
  • เป็นนักปฏิบัติต้องมองถึงพระนิพพาน อย่าไปยุติไว้แค่สวรรค์
  • แม้ว่าไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะสูงส่งมากแค่ไหน
  • เมื่อบุญหมด บารมีหมด ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
  • ในภพน้อยภพใหญ่อีกไม่จบสิ้น แต่ที่มันจบก็คือความหลุดพ้น
  • หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิเหล่านี้
  • - ให้เข้าใจถึงธาตุขันธ์ร่างกายโดยรวมคือ ธรรม
  • จิตที่อาศัยร่างกายอยู่ก็คือธรรม ผู้ที่จะเข้าถึงความหลุดพ้นสิ้นสุด
  • การเวียนว่ายตายเกิดถึงพระนิพพานนั้น ต้องมีความแจ่มแจ้ง
  • หายสงสัยในธรรมเหล่านี้ ธรรมเหล่านี้ก็คือร่างกายและจิตใจ
  • เพราะเหตุเหล่านี้แหละ เพราะความยึดถือในร่างกายและจิตใจนี้แหละ
  • สัตว์โลกทั้งหลายจึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น
  • - รีบทำในวันนี้ อย่ารอวันพรุ่งนี้
  • - คำว่า “ขันติธรรม” นี้ ยิ่งใหญ่มาก เป็นคุณธรรมชั้นสูง
  • - การตั้งจิตอยู่ ปัญญาอยู่ ให้ถึงพร้อมทั่วทั้งกายดีที่สุด ทำให้ได้
  • - ฝึกจิตให้แก่กล้า ชนะอารมณ์ เป็นคนดีของสังคม
  • - สิ่งที่ดีที่สุดคือ ปัญญาของเรา ทำให้แจ้งทั้งหมดเลย
  • ไม่แจ้งเฉพาะที่ตรงใดตรงหนึ่ง เอาจิตเข้าไปตามรู้ทันให้หมด
  • - แก่นแท้ของจิตนั้น เป็นอาการที่คิดปรุงแต่ง
  • รับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่ปรากฏ
  • - อำนาจจิตที่แก่กล้ามีพลังนั้น เกิดจากความเพียรในปัจจุบันกาล
  • เรียกว่า สภาวะปัจจุบันนั้นมีองค์มหาสติครอบคลุมอยู่ตลอด
  • อย่างไม่ด่างพร้อย จึงไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในอิริยาบถใด
  • อิริยาบถหนึ่ง ไม่จำกัดกาล เวลา และสมัย เมื่อสติ
  • ปรากฏแจ่มชัด ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีความเพียร
  • จิตจะแก่กล้าขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • - พระอริยเจ้าเป็นผู้มีจิตที่เป็นกลาง ไม่แบกหามเอาสมมุติใดๆ ทั้งสิ้น
  • มาหนักจิต แม้จิตนั้นดับไป ไม่มีเหลือ ไม่ได้ยึดถือจิตนั้นเป็นตัว
  • เป็นตน วิญญาณนั้นก็ไม่มี ดับสิ้นไม่มีเหลือ สมมุติทั้งหลายสิ้นไปหมด
  • ไม่มีอีกแล้ว หยุดลงแค่นั้น พรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังเป็นสมมุติแห่งพรหมจรรย์
  • เมื่อพรหมจรรย์จบสิ้นแล้ว สมมุตินั้นก็จบสิ้นไปด้วย
  • ความยึดถือในพรหมจรรย์ทั้งหลาย แดนเกิดแห่งพรหมจรรย์จึงไม่มีอีกแล้ว
  • เพราะพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ฉะนั้น เราต้องเข้าใจความเป็นจริงของสมมุตินั้น
  • - ยุคนี้พระอริยเจ้ายังไม่สิ้นนะ พระอริยเจ้ายังคงอยู่ยังคงมี
  • ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ยังไม่สิ้นพระอริยเจ้า
  • ปฏิบัติจริงก็ได้ของจริง เห็นของจริง
  • - เกลี้ยงทั้งใจ ใสทั้งกระดูก ชื่อว่าพระอริยเจ้าที่แท้จริง
  • - จะไปปฏิบัติยังไงก็ตาม เราอย่าไปเลือกที่ปฏิบัติ
  • ที่ไหนที่ลมหายใจมันหมุนเข้าออกอยู่นั่นแหละ ปฏิบัติได้ตลอดไป
  • ปฏิบัติได้ตลอดไม่จำเป็นต้องรอเวลาที่จะนั่งบำเพ็ญภาวนา
  • รอเวลาที่จะต้องเดินจงกรม จะนั่งอยู่ที่ไหน จะเดินอยู่ที่ไหน
  • ก็ต้องทำความเพียรได้ทั้งนั้นแหละ มันเป็นสากลไปเลยความเพียรอันนั้น
  • - บุคคลใดยังความทุกข์ ความลำบากให้แก่ผู้อื่น ความทุกข์
  • ความลำบากก็ย้อนกลับมาเป็นผลแก่ผู้นั้น
  • แต่หากบุคคลใดยังความสุข ความสะดวกให้แก่ผู้อื่น
  • ความสุข ความสะดวกก็จะย้อนกลับมาเป็นผลแก่ผู้นั้นเช่นกัน
  • สัมโมทนียถา
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จ.ศรีสะเกษ
  • “วันปีใหม่ที่มาถึงนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายเปิดใจให้แสงสว่าง
  • แห่งปัญญาได้ซึมแทรกเข้าไป สังคมทุกวันนี้มีแต่ปัญหาและความเสื่อม
  • ขอให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีสติปัญญา อยู่อย่างไรถึงจะไม่มีทุกข์
  • ลองพิจารณาเหมือนลิ้นงูในปากงู
  • เขี้ยวบนและล่างเต็มไปด้วยพิษแต่ก็ไม่เคยทำอันตรายลิ้นมัน
  • ได้ ถ้ามีปัญญาเห็นธรรมแล้วย่อมไม่เกิดทุกข์
  • สุขใดจะสำคัญต่อชีวิตเท่ากับความสุขทางใจ
  • ความสุขทางใจมิได้หล่อเลี้ยงด้วยวัตถุและความมั่งคั่ง
  • หากแต่เกิดจากความสงบและความเข้าใจในความจริงของชีวิต
  • ไม่มีอะไรทำให้เราทุกข์เท่ากับการตั้งจิตไว้ผิด
  • ปีใหม่ตั้งจิตตั้งใจใหม่ให้ถูกทาง เสมือนการแล่นเรือใบ
  • เราไม่อาจควบคุมกระแสลมได้ สิ่งที่เราทำได้คือควบคุมใบเรือเท่านั้น
  • ขอให้นำไปไตร่ตรองเพื่อความสุขของชีวิตในปีใหม่ 2550 นี้ตลอดไป”
ขอเชิญร่วมบริจาคสร้างองค์พระแก้วมรกตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

                       

คืนวันอาทิตย์ ที่ 4 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาตี 2 ท้าวสักกะเทวราช มหาราชองค์อินทร์ มหาราช จอมเทวดา ผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย ได้มาอาราธนานิมนต์ให้หลวงปู่เณรคำ นำพาสาธุชน ได้ร่วมกันสร้างองค์ พระแก้วมรกตจำลอง หน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร โดยมหาราชองค์อินทร์ จะเป็นผู้ช่วยอำนวยการสร้างให้ราบรื่น ให้แล้วเสร็จด้วยพลังใจ พลังจิตอันยิ่งใหญ่ ทั้งเทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย

                    

“ได้ถึงกาลอันสมควรแล้ว ที่พระคุณเจ้าจะต้องทำการสร้างสิ่งที่เคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งอันควรในการสักการะบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย เนื่องจากปัจจุบันในโลกมนุษย์ ชนทั้งหลายได้มีใจห่างเหินจากธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก พระคุณเจ้าผู้เจริญ บารมีพระคุณเจ้ามีพอแก่การสร้างมาแล้ว พอแก่การทำให้อายุ พระศาสนาวัฒนาถาวรแล้ว แม้อายุยังน้อย แต่ได้บำเพ็ญสมณธรรมมามากต่อมากชาติจนนับไม่ถ้วน จนถึงชาติปัจจุบัน การสร้างบารมีของพระคุณเจ้ามีมามากแต่ชาติปางก่อน จึงไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ ขอพระคุณเจ้าจงตริตรองด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่เองเถิด เมื่อถึงกาลนี้ข้าพเจ้าจึงได้เสด็จลงมาด้วยปรารถนาจะขออาราธนานิมนต์พระคุณ เจ้าผู้เจริญ ได้นำพามวลมนุษย์ชนทั้งหลาย สร้างองค์พระแก้วมรกตรัตนปฏิมากรจำลองคล้ายองค์จริง เพื่อเป็นพุทธบูชา ถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐในไตรโลกทั้งหลาย และเพื่อยังอายุพระศาสนาให้วัฒนาถาวรยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาให้ครบ 5,000 ปี เพื่อเป็นที่อันควรสักการะบูชา ของอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย”

 

อานิสงส์ของการสร้างองค์พระแก้วมรกต

จิตใจของมนุษย์ชนทั้งหลาย จะเข้าถึงพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดามากยิ่งขึ้น และบุคคลใดได้สร้างจักมีใจอันผ่องแผ้ว มีกุศลถึงพร้อม บารมีจากการสร้างย่อมประจักษ์เด่นชัด อย่างทวีคูณมหาศาล ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อันเป็นสุคติภูมิ จักถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาล และหากยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน จักได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี หรือเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลสัมมาทิฐิ ที่เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ และ เจริญในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกชาติ

                                              

 +

เชิญร่วมบริจาคสร้างองค์พระแก้วมรกตและวิหารได้ที่ พระวิรพล ฉัตติโก
ธนาคารกรุงเทพ
สาขา: พระราม 9
เลขที่บัญชี: 215-0-61617-1

หรือที่
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีสะเกษ
บัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี วัดป่าขันติธรรม โดยหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
เลขที่บัญชี 311-0-65441-5

เมตตาธรรมของหลวงปู่เณรคำ

หลวงปู่ เณรคำ ท่านมีเมตตาธรรมต่อสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน อยากให้ทุกคนได้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ ท่านจึงได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติ ที่ท่านเคยบำเพ็ญมาตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงปัจจุบัน มาสอนให้เราท่านทั้งหลาย ออกจากความยึดมั่นถือมั่น ในร่างกายและจิตใจ สอนให้เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้ง ตามหลักการปฎิบัติ เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้น ตามธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

                              

ธรรมะและแนวทางการปฏิบัติ ที่หลวงปู่ได้เมตตานำมาสอนนั้น เป็นแนวทางลัดในการปฏิบัติ ให้บรรลุธรรมกันได้ง่ายขึ้น สามารถเข้ากับจริตของทุก ๆ คน ทุก ๆ จิตใจ ถ้ามีความเพียร ถ้ามีความศรัทธา ในองค์พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ความเพียรและความศรัทธาที่เด็ดเดี่ยวมั่นคงนั้น จะเป็นกำลังผลักดันให้เรามีตบะเดชะในใจ สามารถบำเพ็ญจนสำเร็จเป็นมรรคเป็นผลได้ในที่สุด นี่แหละ คือ เมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ ที่หลวงปู่ท่านได้หยิบยื่นให้แก่เราท่านทั้งหลาย



ท่านใดสนใจและต้องการ CD พระธรรมเทศนาของ หลวงปู่เณรคำ วัดป่าขันติธรรม

สามารถเข้าไปโพสต์ชื่อที่อยู่ได้ ฟรี

ตามลิงค์นี้ครับ


http://board.palungjit.com/showthread.php?t=140960

หรือ
http://larndham.net/index.php?showtopic=32550&st=0

Attached image(s)
Attached Image Attached Image Attached Image
Vollbild anzeigen
ต้นเงิน- ต้นเงินที่เต็มไปด้วยธนบัตร สูง 9 เมตร 18 ต้น ชาวบ้านนำมาทอดกฐินถวายวัดป่าขันติธรรม จ.ศรีสะเกษ สมทบสร้างองค์พระแก้วมรกตใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีผู้ซื้อเบนซ์ป้ายแดงถวายกองกฐินด้วย ได้เงินรวมกว่า 27 ล้าน



กองกฐิน - รถเบนซ์ป้ายแดง ราคา 7.8 ล้านบาท
ที่ศิษยานุศิษย์นำมาถวายหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
เข้ากองกฐินวัดป่าขันติธรรม จ.ศรีสะเกษ เป็นอย่างมาก

Heute waren schon 20 Besucher (39 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden