vipassana - สติปัฎฐาน ๔
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt
สติปัฎฐาน ๔

ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด ไม่มีใครที่เกิดมาเองโดยไม่มีเหตุ  เพราะธรรมทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิดทั้งสิ้น และเมื่อมีเหตุแล้วก็ย่อมต้องมีผล เช่น เรามีเหตุคือมีปากกาในมือแล้วตั้งใจที่จะเคาะลงบนกระดาน พอเคาะลงไปมันก็มีผลคือเกิดเสียงดังขึ้นมา ซึ่งเสียงนี้จะเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีการเคาะไม่ได้
 
ชีวิตของเราก็เหมือนกัน เรามีเหตุเป็นแดนเกิดแล้วเหตุที่เราทำมานั้นเมื่อแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ แล้วก็มีอยู่ ๒ เหตุ คือ เหตุดีกับเหตุชั่ว แต่ที่นั่งอยู่ตรงนี้ทุกคนได้เหตุดีมาจากอดีตชาติ คือได้กุศลเหตุจึงเกิดมาเป็นมนุษย์ และเป็นมนุษย์ที่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน วันนี้จึงได้ขอเวลามาพูดเป็นพิเศาประมาณหนึ่งชั่วโมง เพราะได้ทราบว่า สัปดาห์หน้าห้องเรียนนี้จะหยุดทำการสอนเนื่องจากเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนไปเปิดโลกทรรศน์ของตนเอง คือไปเปิดโลกแห่งความเป็นจริง

 
เพราะเราเรียนมาแล้วตั้งแต่เรื่องของจิตประเภทต่างๆ ที่แต่ละคนมี ทุกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้มีใจที่เป็นบาปคือจิตอกุศล ความโกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เมื่อหยิบใจของทุกคนออกมาแล้วก็จะเหมือนกันหมด คือมีชนิดที่เป็นโลภะ ๘ ดวง โทสะ ๒ ดวง โมหะ ๒ ดวง นี่ก็คือเรื่องของกิเลสซึ่งมีอยู่ทุกคนตรงนี้ แต่มีปริมาณมากน้อยต่างกันเท่านั้นเอง

 
และที่นั่งอยู่ที่นี่ทุกคนก็ไม่ได้มีบาปเพียงอย่างเดียว เพราะเราก็พร้อมที่จะทำความเห็นถูกอันเป็นใจที่เป็นบุญเป็นกุศล ก็คือมหากุศลญาณสัมปยุต ๔ ดวง และมหากุศลญาณวิปปยุตอีก ๔ ดวง เพราะตั้งแต่เกิดมาคงไม่มีใครที่ไม่บริจาคทาน อย่างน้อยก็ต้องเคยโยนเศษสตางค์ให้ขอทานเพื่อตัดความรำคาญ หรือเห็นซองผ้าป่ามาก็ใส่ซองให้อย่างเสียไม่ได้ ใส่ไปตามหน้าที่ อย่างนี้กุศลก็เกิดแล้วแต่เป็นกุศลชนิดที่ไม่มีปัญญาเข้าประกอบนั่นเอง นี่ก็คือส่วนของใจ

 
ที่นั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นลักษณะของรูป ตามเครื่องหมายรูปปรมัตถ์ที่ปรากฏบนกระดานรวม ๒๘ รูป ซึ่งเป็นส่วนของกาย และกายกับใจจะทำงานต่างๆ ได้ก็ต้องมีตัวบงการ ก็คือ เจตสิก ที่มีเครื่องหมายปรากฏบนกระดานถึง ๕๒ ดวง

 
ฉะนั้น จิต เจตสิก และรูป ก็คือ กายและใจของเรา ซึ่งทำให้เราเป็นไปในวัฏฏะสงสาร ก็คือมีการทำวัฏฏะกรรม คำว่า วัฏฏะ แปลว่า หมุน คำว่าสงสารหรือสังสาระก็คือความทุกข์ รวมความแล้วก็คือ ความทุกข์ที่หมุนเวียน

เรามีความทุกข์หมุนเวียนอยู่ตั้งแต่เช้าลืมตาไปจนถึงหลับตา ที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้นึกคิดไปในเรื่องสารพัดนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ทำให้เราต้องตัดสินด้วย ความพอใจกับความไม่พอใจ

 
เราต้องสู้กับอากาศร้อน ต้องสู้กับความเย็น สู้กับเรื่องราว สู้กับอารมณ์ของเรา เช่นการเลือกตั้งที่เราก็เชียร์พรรคที่เราชอบกันอยู่ตลอดเวลา คำว่า "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ " นั้นก็คือความพอใจของแต่ละคน และเมื่อมีฝักฝ่ายให้เลือกก็ต้องมีฝ่ายที่ผิดหวังกับฝ่ายที่สมหวังเป็นธรรมดา

 
คนที่สมหวังก็มีโลภะเกิดขึ้น คือความยินดี คนที่ผิดหวังก็มีโทสะเกิดขึ้น คือไม่ยินดี จึงมีเรื่องของกิเลสอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา หรือเมื่อเราทำงานแล้วสิ้นปีนี้ได้ขึ้นเงินเดือนเปอร์เซนต์เดียว เราก็ไม่พอใจ แต่ถ้าหากเงินเดือนขึ้นมากเราก็พอใจ หรือถ้าได้มากกว่านี้ก็ดี ซึ่งจะเห็นได้ว่า โลภะนั้นไม่มีที่สิ้นสุด

 
ชีวิตจึงเป็นวัฏฏะอย่างนี้คือความหมุนเวียนไปในกิเลส และเมื่อเรียนแล้วก็จะทราบกันดีว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับการศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของชีวิต กว่าจะรู้ว่าชีวิตนั้นประกอบไปด้วยอะไร? เกิดมาได้อย่างไร? ทำไมจึงต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้? เพราะเมื่อทำกุศลย่อมมีผลเป็นกุศลวิบาก เมื่อทำอกุศลผลก็คืออกุศลวิบาก เราจึงได้รู้ว่าเป็นสิ่งที่เราทำมาเอง ใครทำ ใครได้ และทำมากได้มาทั้งดีทั้งชั่ว ..นี่คือ สโลแกนของที่นี่

 
ใครทำ ใครได้ เราไม่ทำ เราก็ไม่ได้ เมื่อใครทำมากก็ได้มาก ฉะนั้น ถ้าหากเราไม่ได้ศึกษา เราก็จะคิดว่ามีการดลบันดาล หรือมีใครให้ใครเกิดได้ ซึ่งไม่มีพ่อแม่คู่ใดจะทำให้ใครเกิดได้ แต่คนที่เกิดมานั้นมีเหตุที่ทำให้ต้องเกิดเอง คือวัฏฏะยังไม่ถูกบั่นทอนนั่นเอง

ทำไมเราถึงต้องเกิด?
 
เพราะไม่รู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิด

 
เรารู้แต่การเกิด เพราะเรายังอยากเห็น อยากได้ยิน อยากได้กลิ่น อยากลิ้มรส อยากสัมผัส อยากมีความสบาย ความอยากเหล่านี้ก็คือ ความปรารถนาในอารมณ์ ซึ่งเป็นความปรารถนาในการเกิดทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพราะความปรารถนาเหล่านี้เป็นตัวการไปสร้างกรรมและสร้างให้มีรูปที่เกิดจากกรรมเป็นร่างกายขึ้นมาในภพชาติใหม่

 
เราได้รียนกันมาจนถึงปริจเฉทที่ ๙ และใกล้จะเรียนจบแล้ว ซึ่งกำลังจะไปเข้าปฏิบัติกันนั้น ข้อสำคัญก็อยู่ที่ว่า "เราจะไปปฏิบัติทำไม?" เราต้องรู้และเข้าใจว่าปฏิบัติทำไม ไม่ใช่ว่ารู้เพราะฟังเขามา เพราะพระพุทธองค์สั่งเหลือเกินว่า "อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา " เช่น ไปดูรูปนะ ไปดูนามนะ แต่ต้องทำด้วยความมีเหตุผล

 
"อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา" เพราะตำรามีผิดเพี้ยน " อย่าเชื่อโดยตรึกตามอาการ" เพราะบางทีเห็นคนนั่งยิ้มอยู่ก็คิดว่าเขามีความสุข หรือเห็นคนนั่งหน้าเฉยๆ จะไปบอกว่าเขามีความทุกข์ได้ไหม? ไม่ได้ เพราะเขาอาจเกิดด้วยอุเบกขาจึงไม่ค่อยยิ้ม อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้น เราจึงเดาอะไรไม่ได้เลย ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสอนให้ "อย่าเชื่อ" ถึง ๘ อย่าง แต่เมื่อใดจะเชื่อต้องเชื่ออย่างมีเหตุผล เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ

 
วันนี้คงจะไม่เข้าไปในเรื่องปริยัตินักแต่จะมาพูดให้ฟังว่า เราจะปฏิบัติอย่างไร? ปฏิบัติไปเพื่ออะไร? และจะเปิดโอกาสให้ซักถามอารมณ์กันในตอนท้าย ซึ่งจะขอกล่าวว่า วัฏฏะสงสารนี้เป็นของทุกคน เพราะทุกคนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย

 
ทุกวันนี้เรามีอายุมากขึ้น และสบายมากกว่าตอนเป็นเด็ก โดยเฉพาะเวลาใกล้สอบที่ต้องเจอวิชาที่ยากๆ เช่นวิชาคณิตศาสตร์ บางคนก็เลยมีอาการมือเย็นเฉียบ บางคนก็ปวดปัสสาวะปวดอุจจาระ กว่าเราจะผ่านชั้นเรียนต่างๆ มาได้ก็มีความลำบากมาก แล้วจึงได้มาทำงาน

 
ความลำบากเป็นสิบกว่าปีนั้นเราได้พบมา และก็ลืมไปแล้ว เพราะเราเสวยอารมณ์ปัจจุบันในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ความรู้สึกที่มีอยู่เป็นอยู่นี้ก็คือ ภวตัณหา ที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเรา เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ ความข้องในอารมณ์ความปรารถนาในอารมณ์ก็ทำให้วัฏฏะของเราหมุนรอบอยู่นั่นเอง
 

กิเลสวัฏฏ์ - กรรมวัฏฏ์ - วิบากวัฏฏ์ คือ วงกลมของวัฏฏะ (ท่านอาจารย์ได้วาดวงกลมขึ้นหนึ่งวงบนกระดาน) ถ้าเราให้เด็กมาดูวงกลมนี้แล้วถามว่าจุดเริ่มต้นอยู่ตรงไหน? จุดจบอยู่ตรงไหน? เด็กก็จะตอบไม่ได้ เช่นเดียวกับพวกเราที่มาจากไหนก็ไม่รู้ แล้วกำลังเดินทางไปไหนก็ไม่รู้

 
เพราะในวงกลมนี้มีถนนชีวิตอยู่ ๖ สาย คือ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นเปรต-อสุรกาย เกิดเป็นสัตว์นรก เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม-อรูปพรหม ซึ่งเป็นการเวียนว่ายตายเกิดที่หาที่สิ้นสุดไม่ได้ และเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ไม่มีใครเป็นอมตะไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ และเมื่อตายแล้วก็ต้องเกิดโดยเวียนว่ายอยู่ใน แหล่งกำเนิดทั้ง ๔ บนถนนชีวิต ๖ สายนี้แหละ

 
พระพุทธองค์ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณเห็นการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นทุกข์ จึงเรียกว่า วัฏฏะทุกข์ หรือวัฏฏะภัย เพราะเกิดมาแล้วต้องเจริญเติบโต ความเจริญเติบโตนี้ก็คือการที่เซลล์ผิวนั้นเสื่อมไป จิตใจก็มีการทำงานไม่หยุดหย่อน ชีวิตจึงเป็นสิ่งที่น่าสงสารที่สุด พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ทุกข์เสมอด้วยขันธ์นั้น ไม่มี"

 
ความทุกข์อื่นนั้นมีหยุดพัก แต่ทุกข์จากชีวิตไม่มีหยุดพัก ยกตัวอย่างเช่น การกิน เรากินกันวันละกี่มื้อ ทั้งดื่มน้ำด้วย แต่ไม่ว่าจะกินลงไปกี่มื้อแล้วจะเลิกกินได้ไหม? ไม่ได้ เพราะเราหิว เราจึงมีความพร่องอยู่เป็นนิตย์ พอขับถ่ายแล้วก็ต้องเติมเข้าไปใหม่ แต่ชีวิตของเราเติมลงไปเท่าใดก็ไม่เต็ม เหมือนกับชะลอมที่ตักน้ำกี่ครั้งก็รั่วไหลออกไปจนหมด

 
ชีวิตของเราต้องบริหารมาก เราต้องเดิน ยืน นั่ง นอน เหยียด คู้ ก้ม เงย วันละครั้ง จะอยู่เฉยๆในท่าเดียวก็ไม่ได้เพราะเป็นเหน็บชาเป็นตะคริว แม้กระทั่งการนอนหลับก็ต้องหายใจเข้าและต้องหายใจออก จะหายใจเข้าหรือออกอย่างเดียวก็ไม่ได้ ....ตาย

ความตายจึงมีอยู่ง่ายๆ ตรงปลายจมูก คือ ลมหายใจ เพราะหยุดลมเมื่อใดก็ตายเมื่อนั้น และเมื่อตายแล้วก็ต้องเกิด เมื่อเกิดแล้วก็ต้องเริ่มต้นทุกข์อีกแล้ว ในวันนี้เราพูดเขียนได้คล่องแล้ว ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก ไม่ต้องไปเรียนอีกแล้ว แต่พอเริ่มต้นใหม่เกิดเป็นคนก็ต้องเริ่มต้นอีกจากเตาะแตะ ตั้งไข่ เนื้อหย่อนยานโตงเตง แล้วก็ต้องตาย

 
ต้องลองคิดดูให้ดีว่า พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญบารมีเพราะทรงเห็นว่า ชีวิตของคนเรานี้เกิดมาเพื่อตายเท่านั้นหรือ? มีการลงทุนชีวิตตั้งมากมายเป็นสิบๆปีแล้วก็ต้องตายแล้วก็เริ่มต้นใหม่ ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ไปทุกภพทุกชาติไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนวงกลม วงกลมที่เกิดขึ้นมาเหล่านี้จึงเรียกว่า วัฏฏะ

 
วงกลมเหล่านี้หมุนให้ชีวิตเราเวียนว่ายตายเกิดได้ก็เพราะว่า เรามีกิเลสคือกิเลสวัฏฏ์ เมื่อเรามีกิเลสแล้วเราก็มีการทำกรรมคือกรรมวัฏฏ์ เมื่อทำกรรมแล้วก็มีวิบากคือวิปากวัฏฏ์ เมื่อมีวิบากแล้วเราก็ตอบโต้วิบากด้วยกิเลส จึงเป็นการหมุนของกิเลสที่ไม่สิ้นสุด

 
กิเลสหมุนเข้าออกตรงไหน? ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจนั่นเอง อย่างเราดูทีวีเช่นเรื่องจูมงที่เพิ่งจบลงไป เมื่อเราเห็น..กิเลสก็มาหมุนทางตา แล้วก็หมุนไปรู้สึกทางใจ พอได้ยิน..ก็หมุนไปทางหู แล้วก็หมุนไปหาใจ กิเลสก็จะหมุนอยู่อย่างนี้ ถ้าเปรียบเป็นแบบตัวอักษรที่มีไฟวิ่งก็จะเห็นชัดถึงการหมุนของกิเลส ที่กระพริบไปต่อๆ กันเกิดขึ้นแล้วก็ดับลงแล้วก็เกิดขึ้นใหม่ซึ่งมีความรวดเร็วมาก

 
ขณะที่จูมงกำลังฉายอยู่นี้ กิเลสก็มีการหมุนอยู่ตลอดเวลาทางตา ทางหู ทางใจ แต่ถ้าใครที่หูตึงก็เหลือแค่สองทวารคือตา กับใจ หรือถ้าใครตาบอดก็เหลือฟังได้ทางหู และรู้ทางใจ นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งที่จริงแล้วกิเลสหมุนไปตามทวารต่างๆ ตลอดเวลา จึงเป็นที่โคจรกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ รวมเรียกว่าอกุศล ๑๒ เป็นกองกิเลสที่อยู่ในชีวิตเราตลอดเวลา

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพฤติกรรมชีวิตหรือการกระทำของเรานี้จึงจัดเป็นกรรม คือกุศลกรรม อกุศลกรรม....เรียกว่ากรรมวัฏฏ์

 
เมื่อมีกรรมเป็นเหตุก็ย่อมมีผลของกรรมเป็นที่รองรับ คือวิบาก ร่างกายและจิตใจของเราที่นั่งอยู่รงนี้เป็นวิบากขันธ์ ผู้ที่มีวิบากดี ชนกกรรมดี กุศลกรรมดีก็จะเกิดเป็นชายเป็นหญิงที่มีร่างกายสมบูรณ์อาการครบ ๓๒

 
การได้เห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ได้ลิ้มรสดี ได้สัมผัสที่ดี..เป็นวิบากดี การได้เห็นไม่ดี ได้ยินไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี ได้ลิ้มรสไม่ดี ได้สัมผัสที่ไม่ดี..เป็นวิบากไม่ดี ทุกวันนี้ที่เราได้รับจึงเป็นเรื่องของวิบากทั้งสิ้น

 
แล้วเราไม่ได้ใช้แค่วิบาก เพราะเมื่ออะไรมากระทบเช่นเห็นผู้หญิงสวย เป็นวิบากที่ได้เห็นดีคือรูปารมณ์ที่ดี เราก็ ..โอ้โห ..สวยจังเราชอบ เพราะไม่ทันอารมณ์ กิเลสก็เกิดขึ้นเลยจากการเห็นรูปารมณ์ที่ดี ทำให้เรากระทำกรรมออกไปได้ วัฏฏะนี้จึงไม่มีที่สิ้นสุด
 


ในการที่ท่านจะไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานท่านทำเพื่ออะไร? ทำเพื่อทำลายอกุศลจิตเหล่านี้ให้หมดไปเพื่อจะได้เดินไปยังถนนสาย ๗ คือพระนิพพาน เราจะต้องไปทำลายกิเลสเท่านั้น แต่จะไปทำลายวิบากไม่ได้ เช่นการฆ่าตัวตายเพื่อให้หมดเรื่อง แต่มันไม่ได้จบแค่นั้นเพราะเมื่อฆ่าตัวตายแล้วก็ต้องเกิดแล้วก็เป็นบาปด้วย

 
หรือเราคิดจะหลบหลีกหนีวิบากไปไหนก็หนีไม่พ้น เพราะวิบากไม่มีหูไม่มีตา แต่กรรมมีหูมีตา กรรมจะรู้เลยว่าใครทำอะไรไว้ที่ไหนเมื่อไหร่ พร้อมที่จะส่งผลหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็จะส่งผลให้ทันทีเลย แต่วิบากนั้นไม่มีหูมีตาว่าคนนี้กำลังทำดีอยู่อย่าเพิ่งมาเลย เช่นนั่งเรียนธรรมะอยู่จะปวดหัวก็ได้ปวดท้องก็ได้เป็นไข้ก็ได้เมื่อวิบากมาถึง วงจรวัฏฏะภัยนี้จึงน่ากลัว

 
ในการปฏิบัตินี้ความสำคัญจึงอยู่ที่ทำไปทำไม? เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นตัวเราตัวเขาเป็นสัตว์เป็นบุคคล โดยจะต้องมีความเข้าใจในการกำหนดว่า กำหนดรูปเดิน ยืน นั่ง นอน ไปทำไม? ก็เพื่อทำลายความเห็นผิด

 
เพราะเราหลงว่า เป็นเรา หลงว่า เราเดิน แท้ที่จริงไม่มีเราเป็นผู้เดิน สิ่งที่ตาของคนอื่นมองเห็นว่าเราเดินอยู่นี้ เขาเห็นรูปเคลื่อนไหวไป แต่มองไม่เห็น "เรา" ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงต้องเริ่มทำความเห็นถูกเสียตั้งแต่ตรงนี้

 
ทางตา ...ที่เราเห็น เราเห็นสี คือรูปารมณ์ เป็นคลื่นแสงที่สะท้อนมากระทบ โดยจะต้องมีเหตุใหญ่ๆ มาประชุมกัน ๔ อย่าง ...ท่านอาจารย์ได้หยิบหนังสือขึ้นมาแล้วถามนักศึกษาใหม่ว่า นี่สีอะไรคะ? สีเหลือง เห็นได้ด้วยอะไรคะ? ด้วยตา

 
นี่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับคนใหม่ แต่สำหรับผู้ที่เรียนแล้วจะไม่ตอบแบบนี้ เพราะ"ตา"เห็นไม่ได้ เพราะการเห็นนั้นจะต้องมีเหตุมาประชุมกันถึง ๔ เหตุ เราอยู่มาหลายสิบปีแล้วเราเพิ่งจะได้มาพิสูจน์ว่า การเห็นเกิดขึ้นได้อย่างไรก็ในวันนี้
 

การเห็นหนังสือสีเหลืองได้ก็เพราะจะต้องมี ๑. รูปารมณ์ คือหนังสือนี้ ๒. จักขุปสาท คือประสาทตาดี ๓. อาโลกะ คือต้องมีแสงสว่าง ๔. มนสิการ คือความตั้งใจดู หรือใส่ใจดู ถ้าหากขาดเหตุใดไปสักอย่างเดียว การเห็นก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เช่นเอามือปิดตา จะเห็นได้ไหม? ไม่เห็น หรือเอาหนังสือมาซ่อนไว้ข้างหลังจะเห็นได้ไหม? ไม่เห็น เช่นเดียวกันกับการได้ยินได้กลิ่นก็เป็นเช่นนี้

 
และถ้าหากเรียนมากขึ้นก็จะทราบว่าการเห็นนี้จะต้องมีปัจจัยมาร่วมด้วยอีก ๗๓ ปัจจัย จึงไม่ใช่"เรา"เห็น ซึ่งผู้ที่เรียนแล้วก็จะผ่านทฤษฎีนี้ไป เมื่อรู้แล้วว่าเห็นเป็นอย่างนี้ว่าไม่ใช่ตาเห็น แต่จิตเป็ผู้เห็นจึงต้องไปกำหนดรู้ว่า นามเห็น

ทางตา.. คลื่นแสงเป็นรูป การเห็น..เป็นนาม
ทางหู..คลื่นเสียงเป็นรูป ได้ยิน..เป็นนาม
ทางจมูก..กลิ่นเป็นรูป รู้กลิ่น..เป็นนาม
ทางลิ้น..เปรี้ยว หวาน มันเค็ม เผ็ดจืด เป็นรูป รู้รส..เป็นนาม
ทางกาย..เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อย ตึงเป็นรูป รู้สึก..เป็นนาม
ทางใจ...ท่าทางต่างๆ ของการนั่ง การยืน การเดิน การนอน เป็นรูป ที่รู้ว่าเดินอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่..เป็นนาม

 
ในโลกนี้จึงมีแต่รูปกับนามเท่านั้น ..อันนี้เป็นทฤษฎีที่เราจะต้องเข้าใจและแม่นยำตั้งแต่วันนี้ว่ากำหนดอย่างไร อะไรคือรูป อะไรคือนาม เป็นการฝังขุมทรัพย์ไว้ในใจก่อน 
 
ตรงนี้จึงเป็นนโบายที่บอกว่า อ้อมน้อยจะไม่รับผู้ปฏิบัติที่ไม่เข้าใจ เพราะไม่เข้าใจแล้วแต่ไปทำก็ได้แต่บุญที่ทำให้วัฏฏะเกิด เพราะการที่เราเรียนแล้วเข้าจึงเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เข้าไปพิจารณาเพื่อทำลายความเห็นผิดได้ แต่ถ้าหากไม่เรียนไปก็จะทำลายความเห็นผิดไม่ได้
 
เพราะจะเห็นอยู่แต่ว่าปกติ เรานั่ง เราเดิน เรายืน เรานอน แต่พอไปปฏิบัติก็จะได้ใช้ข้อมูลที่ถูกต้องนี้ไปเปลี่ยนใจให้คลายออกจากความโง่คือทำลายความเห็นผิดคือเป็นเราออกไป ก็จะกลายเป็นความเห็นถูก เห็นว่านั่นคือรูป เห็นว่านั่นคือนาม เท่านั้นเอง นี่คือเรื่องที่เรียนแล้วจะต้องไปทำความเข้าใจ
 

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ให้ไปกำหนดทุกข์

 
ก่อนอื่นต้องทราบว่า ความเห็นผิดแยกออกเป็น ๔ อย่างคือ สุภวิปลาส ..เห็นว่าชีวิตนั้นเป็นของดี สุขวิปลาส..เห็นว่าชีวิตนั้นเป็นของสุข นิจจวิปลาส..เห็นว่าชีวิตนั้นเป็นของเที่ยง อัตตวิปลาส ..เห็นว่าชีวิตนั้นเป็นตัวตน

 
ที่เราต้องกำหนดว่ารูปเดิน ยืน นั่ง นอน ก็เพื่อทำลายความเห็นผิดว่าเป็นเราและเป็นสุข เพราะ"เรา"ไม่มี และ"สุข"ไม่มี เพราะถ้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ มีความชำนาญแล้วก็จะเข้าใจถึงอิริยาบถที่ปิดบังทุกข์

 
เช่น คนทั่วไปพอยืนนานๆ เมี่อย เมื่อยแล้วก็ไปนั่ง ...รู้สึกสบาย จะเห็นว่า มีสุขเกิดขึ้น แต่สำหรับผู้ที่มีสติสัมปชัญญะอบรมบ่มปัญญามามากแล้ว พอนั่งแล้วเขาก็จะสังเกตทันเลยว่า รูปนี้เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ..แต่ทุกข์นั้นยังอ่อนอยู่ ยังไม่แก่จนปรากฏเป็นทุกขเวนา จึงดักความวิปลาสนั้นได้ทัน ในการกระทำจึงต้องใคร่ครวญโดยมีโยนิโสมนสิการให้มากโดยวางใจให้แยบคายและให้ถูกต้อง ..

                  ถาม - ตอบ วิปัสสนา 

มหาสติปัฏฐานสูตร-เป็นพระสูตรที่สำคัญมากในการปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับวิปัสสนา กรรมฐานโดยตรง เส้นทางสายนี้ คือ ทางสายเอก มีทางสายเดียว ที่กว้างขวาง ตัดตรง ไม่มีโทษภัย สะดวกสบายแก่การดำเนินไปสู่พระนิพพานเป้าหมายปลายทางอย่างแน่นอน ไม่มีพระอรหันต์ พระอริยเจ้าองค์ใดที่ไม่ผ่านพระสูตรนี้ในการปฏิบัติสมาธิภาวนา ทางเส้นนี้ คือ หนทางแห่งปัญญาอย่างแท้จริง.......


มหาสติปัฏฐานสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว เป็นที่ไปในที่แห่งเดียว
- เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
- เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร
- เพื่ออัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
- เพื่อบรรลุญายธรรม (ธรรมที่ควรรู้ ธรรมที่ถูก คือ อริยมรรค)
- เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง

๑. พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่

ข้อ ๑. พิจารณาเห็นกายในกาย

๑.๑ พิจารณากองลม แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่ระลึกอาศัย เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย

๑.๒ พิจารณาอิริยาบถ

๑.๓ มีสัมปชัญญะ

๑.๔ กำหนดด้วยกายเป็นของปฏิกูล

๑.๕ กำหนดด้วยธาตุ (คือธาตุสี่)

๑.๖ ข้อกำหนดด้วยป่าช้า ๙ ข้อ


ข้อ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา (ความเสวยอารมณ์)

๒.๑ สุขเวทนา

๒.๒ ทุกขเวทนา

๒.๓ อทุกขมสุขเวทนา


ข้อ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต

๓.๑ รู้ว่าจิตมีกิเลส คือ
- ราคะ
- โทสะ
- โมหะ
- โลภะ
- หดหู่
- ฟุ้งซ่าน
- จิตเป็นมหรคต = ความเป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌานหรือเป็นอัปปมัญญา พรหมวิหาร
- จิตเป็นสอุตตระ = กามาวจรจิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่ถึงอุปจารสมาธิ
- จิตเป็นอนุตตระ = กามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ
- จิตตั้งมั่น
- จิตวิมุติ

โดย พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป มีสติว่าจิตมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอ, สักแต่ว่ารู้, สักแต่ว่าเป็นที่อาศัยระลึก, ย่อมไม่ติดอยู่ ย่อมไม่ยึดถือ ให้พิจารณาเห็นเนืองๆ


ข้อ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

๔.๑ พิจารณานิวรณ์ ๕
- กามฉันท์ = ความพอใจในกามารมณ์
- พยาบาท = ความคิดแช่งสัตว์ให้พินาศ
- ถีนมิทธะ = ความคร้านและง่วงเหงา
- อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
- วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลงสงสัย

รู้ว่ามีเกิดขึ้น, หรือไม่มี, รู้ว่าจะเกิดขึ้นด้วยประการใด, รู้ละอย่างไร, ทำอย่างไรไม่เกิดขึ้น

๔.๒ รู้ว่าจิตมีอุปาทานขันธ์ ๕
- รู้ว่าอย่างนี้คือ รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของรูป, อย่างนี้ความดับของรูป
- รู้ว่าอย่างนี้คือ เวทนา (ความเสวยอารมณ์), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของเวทนา, อย่างนี้ความดับของเวทนา
- รู้ว่าอย่างนี้คือ สัญญา (ความจำ), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสัญญา, อย่างนี้ความดับของสัญญา
- รู้ว่าอย่างนี้คือ สังขาร (ความคิด), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสังขาร, อย่างนี้ความดับของสังขาร
- รู้ว่าอย่างนี้คือ วิญญาน (ความรู้สึก), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของวิญญาน, อย่างนี้ความดับของวิญญาน

สักแต่ว่ารู้, สักแต่ว่าอาศัยระลึก, ย่อมไม่ติดอยู่, ย่อมไม่ยึดถือ


๔.๓ พิจารณาอายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖

- รู้จักตา รู้จักรูป อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักหู รู้จักเสียง อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักจมูก


 รู้จักกลิ่น อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักลิ้น รู้จักรส อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักกาย รู้จักโผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย) อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

๔.๔ พิจารณาโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง)

- เมื่อมีสติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือสติ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีสติสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีวิริยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือความเพียร) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีวิริยสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าวิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าวิริยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีปิติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปิติความปลื้มกายปลื้มใจ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีปิติสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าปิติสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าปิติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของปิติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปัสสัทธิความสงบกายสงบจิต) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีสมาธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือสมาธิ ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีสมาธิสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าสมาธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คืออุเบกขา ความที่จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น


๔.๕ พิจารณาอริยสัจ ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า)

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์)
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์)
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

ทุกข์ เป็นอย่างไร ?

แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์
แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์
แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์
ความประสบสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้แม้ข้อที่สมประสงค์นั้น ก็เป็นทุกข์
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ชาติ (ความเกิด) เป็นอย่างไร ?
= ชลาพุชะ (เกิดจากมดลูก), อัณฑชปฏิสนธิ (เกิดจากไข่), สังเสทชปฏิสนธิ (เกิดจากเถ้าไคล), และอุปปาติกปฏิสนธิ (เกิดโดยอุบัติขึ้น)
ชรา เป็นอย่างไร ?
= ความแก่, ความคร่ำคร่า, ความเสื่อมแห่งอายุ
โสกะ เป็นอย่างไร ?
= ความโศกความเศร้าใจ, ความแห้งใจ, ความผาก ณ ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง
ปริเทวะ = ความร่ำไรรำพัน ความคร่ำครวญ
ทุกข์ = ความไม่สบายกาย
โทมนัส = ความเสียใจ
อุปายาส = ความคับแค้นใจ
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใคย่อมไม่ได้ แม้ของที่ไม่สมประสงค์นั้น เป็นทุกข์
ตัณหา (ความทะยานอยาก) => มีความเกิดเป็นปกติ, ประกอบด้วยความกำหนัด, ความอยากในอารมณ์ที่สัตว์รักใคร่, ความอยากมีอยากเป็น, ความไม่อยากมีอยากเป็น

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นข้อที่หนึ่งของอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์


ต่อไปจะกล่าวถึงอริยสัจข้อที่ ๒ คือทุกขสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)


ตัณหาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมเกิดที่อายตนะภายในทั้ง ๖ และอายตนะภายนอกทั้ง ๖
=> ความรู้ทางอายตนะภายใน ๖
ความตั้งอยู่จากความรู้ทางอายตนะภายนอก ๖
ความกระทบทางอายตนะภายใน ๖
ความตั้งอยู่จากความกระทบทางอายตนะภายใน ๖
เวทนาที่อายตนะภายใน ๖
ตัณหาเกิดจากเวทนาซึ่งเกิดจากอายตนะภายใน ๖
ตัณหาเกิดจากความจำในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความคิดถึงในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความอยากในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความตรึกในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความตรองในอายตนะภายนอก ๖

จบส่วนทุกขสมุทัย หรือเหตุแห่งทุกข์ หรืออริยสัจข้อที่ ๒
ต่อไปเราจะมาดูว่าตัณหาดับได้ที่ใด ก็มาดูต่อที่ทุกขนิโรธ หรือธรรมเป็นที่ดับทุกข์ซึ่งเป็นอริยสัจข้อที่ ๓


ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

จะดับตัณหาให้ดับที่ใด ?

เมื่อจะดับย่อมดับที่อายตนะภายนอก ๖ และอายตนะภายใน ๖
ดับความรู้ทางอายตนะภายนอก ๖ และอายตนะภายใน ๖
ดับความกระทบทางอายตนะภายใน ๖
ดับเวทนาที่สัมผัสของอายตนะภายใน ๖ ดับเวทนาที่เกิดแต่การสัมผัสของอายตนะภายใน ๖
ดับความจำที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความคิดถึงที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความอยากที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความตรึกที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความตรองที่อายตนะภายนอก ๖

(กล่าวคือ เกิดตัณหาอะไร ก็ดับอันนั้น



ต่อไปเป็นอริยสัจข้อสุดท้ายคือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือมรรค หรือข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

ทางอันประเสริฐประกอบด้วยทาง 8 ทาง
ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ
วิรัติธรรมเป็นเครื่องเจรจาชอบ
วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ
ความพยายามชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งจิตมั่นชอบ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
=> ความรู้ในทุกข์, รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์, ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ (คืออริยสัจ ๔ )

สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
=> ความดำริในการออกบวช (ออกจากกามารมณ์)
ความดำริในความไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน

สัมมาวาจา (วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ)
=> เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการกล่าวเท็จ
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาส่อเสียด
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาหยาบคาย
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากเจรจาสำราก เพ้อเจ้อ

สัมมากัมมันตะ (วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ)
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความประพฤติผิดในกาม

สัมมาอาชีวะ (วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ)
=> ละความเลี้ยงชีพผิด

สัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ)
=> ยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> เพื่อยังความพอใจให้บังเกิด
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> พยายาม
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> ปรารภความเพียร
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> ประคองตั้งจิตไว้
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
=> พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
=> พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
=> พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
=> พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ)

=> สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล
- เข้าถึงปฐมฌาน (ความเพ่งที่ ๑) ประกอบด้วยวิตกและวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก เพราะความที่วิตกและวิจารระงับลง
- เข้าถึงทุติยฌาน (ความเพ่งที่ ๒) เป็นเครื่องผ่องใสใจ ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิ อนึ่ง เพราะความที่ปีติวิราศ (ปราศ)ไป ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ และเสวยความสุขด้วยกาย อาศัยคุณคืออุเบกขา สติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้น ว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
- เข้าถึงตติยฌาน (ความเพ่งที่ ๓) เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความที่โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนอัศดงค์ดับไป
- เข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่ ๔) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายใน
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอก
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก
พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นในธรรม ทั้งความเสื่อมไปในธรรม

ก็ หรือสติว่า ธรรมมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้า แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก ย่อมไม่เป้นผู้ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลก ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อย่างนี้แล...

จบธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


"ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใด ผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญ สติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๔ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๓ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๒ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๗ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๖ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๕ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๔ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๓ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๒ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือส
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 6
   ังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑๕ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใด ผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง" จบแล้วค่ะสำหรับมหาสติปัฏฐานสูตรอย่างย่อ ถ้าไม่ย่อล่ะก็จะละเอียดมากมายมหาศาล

อยาก ให้ท่านผู้สนใจลองค่อยๆอ่านให้เข้าใจดูอย่างช้าๆ ใช้ปัญญาพิจารณาตามไปอย่างถี่ถ้วน เจ๊ปุ๊กเชื่อว่าทุกคนในที่นี้เคยฝึกกันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย จึงไม่ใช่ของแปลกใหม่อะไรสำหรับพวกเรา คงพอจะนึกตามได้ว่า ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนนั้นเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหน กาย เวทนา จิต หรือธรรม

ท่านผู้ที่จะบรรลุธรรมเข้าสู่กระแสพระนิพพานนั้น จะต้องอยู่ในนี้แหละ ไม่มีทางนอกเหนือจากนี้ได้ ต้องผ่านเส้นทางนี้ทั้งนั้น ผู้ที่ปฏิบัติไปเอง คิดไปเองต่างๆนานา ให้ลองกลับมาเทียบใหม่ว่าถูกต้องหรือยัง

ในระหว่างที่นั่งเรียบ เรียงอยู่นั้น ก็พยายามนึกตามคำสอนปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ก็พบว่าสิ่งที่ท่านสอนนั้นอยู่ในสติปัฏฐานสี่เลยครบทุกข้อ เพียงแต่ท่านสอนแบบกว้าง ๆไม่ได้ขยายความ ท่านนั้นเมตตาศิษย์มากขนาดที่ไม่อธิบายละเอียด เพราะมันจะกลายเป็นวิปัสสนึก ท่านจะให้รู้ด้วยตนเองอย่างแท้ๆ รู้จนเข้าไปถึงกระดูก ถ้าหมั่นทำตามที่ท่านสอนตลอดเวลา อย่างช้าก็ ๗ ปีเท่านั้นค่ะ

ขอให้กำลังใจทุกท่านในการปฏิบัติต่อไป เพียงแต่ขอให้เดินถูกๆทางหน่อยเท่านั้นเอง...

ขอให้สิ่งที่ท่านหวัง จงสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ

วิปัสสนากรรมฐาน-งานดูกาย ดูจิต 24 ชั่วโมง หมั่นดูทุกวันๆ.....
มหาสติปัฏฐาน 4-ทำสติ ให้เป็นมหาสติ> พัฒนาสู่มหาปัญญา เพื่อประหารกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเป็นลำดับๆต่อไป..........
กาย-เวทนา -จิต-ธรรม.....คนเราก็มีเพียง 4 ฐานเท่านี้เอง ทุกเวลา ไม่ว่าใครๆทั้งนั้น ทำได้ทุกคน ทุกสถานที่ ทุกขณะจิต ทุกอิริยาบถ ยืน-เดิน-นั่ง-นอน และทำได้ทุกเวลา แม้หลับก็ให้หลับอยู่ในฌานด้วย(ฝึกได้ไม่ยาก).....

ดู กาย-ก็ดูร่างกาย ดูลมหายใจเข้า-ออก นั่นแหละ ดูไปเรื่อยๆ ติดตามจ้องดู ไม่รู้ห่าง ต่อเนื่องไม่วาง เหมือนแมวจ้องจับหนู กระนั้น ฯ.....
ดูใจ-ดูเวทนา ดูอารมณ์ ปวดเจ็บเหน็บชา เกิดตรงไหน? ที่ใด อย่างไร? เมื่อดูลมหายใจเข้า-ออก สั้นหรือยาว เบา หรือหนัก หยุดไป หรือเริ่มขึ้นใหม่ เมื่อลมเบาแล้วหยุด เหมือนไม่หายใจนี่คือ ฌาน1-ปฐมฌาน กำลังจะเข้าฌาน2 -ทุติยฌาน.....เกิดเวทนาอารมณ์สุข-ทุกข์ ปวดเจ็บ ทรมาน ให้ดูไปเรื่อยๆตรงนี้สำคัญมาก หลวงพ่อจรัญฯ มหาวิปัสสนาจารย์อันดับ1 ของเมืองไทยบอกว่า "เวทนา"เป็นตัวระลึกชาติ ก็เป็นจริงที่ผมพิสูจน์ด้วยตนเองมาแล้ว แต่ต้องเริ่มจากระลึกเรื่องเก่าๆในชาตินี้ไปก่อน 10ปี 20-30-40 ปี ต่อไปก็ย้อนไปถึง 100 ปีชาติก่อนๆได้เอง เป็นไปตามลำดับญาณ-สมาธิ เรื่องนี้ไม่ห้องห่วง ไม่ต้องสนใจนัก ถึงเวลามาเอง ได้เองและรู้เองครับ.....
ดูจิต: กาย-เวทนาหายไปแล้ว ขึ้นฌาน3-ตติยฌาน ทุกอย่างสงบมากขึ้น มองเห็นจิตสว่างอยู่กลางใจ ดูต่อไป จี้ติดไม่ปล่อย ดูเข้าไปข้างใน ดูความคิด ดูจิตดูใจ ว่าจิตใจเรามีความดี ความชั่วหรือไม่ อย่างไร อะไรบ้าง?....อะไรดี อะไรชั่ว อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ? รู้แล้ว แจ้งแล้ว เอาไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไข ทีละอย่าง ทีละข้อ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน แต่ทำทุกวัน ทุกเวลา ทุกอย่างมีทางออก ทุกอย่างแก้ไขปรับปรุงพัฒนาได้ทั้งสิ้น......
ดูธรรม-ดูกาย-ดูเวทนา-ดู จิตมาแล้ว จนจิตหายไป เหลือแต่ใจ ใจที่เป็นกลางอย่างเดียว เข้ามาฌาน4-จตุตฌาน ตัวตน ความรู้สึก ทุกอย่างหายวับไปหมด ไม่รู้ไปไหน ? ก็เข้าไปสู่ความว่าง ที่ไร้ขอบเขตไงล่ะ นิ่ง ว่าง สว่าง สงบ เย็น และรู้!!!!.....ตอนนี้เป็นอกาลิโก ไม่มีกาลเวลาแล้ว จะอยู่นานแค่ไหนก็อธิษฐานเอาได้ แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่นาน ปล่อยตามธรรมชาติ ตรงนี้จะมีธรรมะผุดขึ้นมาได้เอง เรียกว่า"จิตสอนจิต" "ธรรมสอนธรรม" จิต-ที่เป็นผู้รู้ของเราเองนั่นแหละ ลุกขึ้นมาสอนธรรม อบรมตัวเรา ว่าอะไรดี ไม่ดี ถูกหรือผิด ตรงไหนบ้าง ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ทำอย่างไร ? อยากรู้อะไร ก็ถามจิตตนเองได้ ไม่ต้องรอคอยคำตอบ จิตจะสแกนเสาะหาคำตอบให้เอง ตอบเองเมื่อค้นหาได้แล้ว อาจเป็นเดี๋ยวนั้น หรือเวลาต่อมาในสมาธิ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ได้ บางทีก็ออกมาทางความฝันก็ได้ ในชั้นนี้ จิตพิจารณาธรรมอะไรไม่ได้ เพราะสมาธิลึกดิ่งมากไป ถ้าจะพิจารณาธรรมอะไร ก็ต้องถอนถอยจากอัปปนาสมาธิ(ฌาน4) ลงมาอยู่ที่ อุปจาระสมาธิ-ที่อยู่กลางๆช่วงระหว่าง ฌาน1-2-หรือ3 เป็นมัชฌิมา นั่นแหละ จึงจะพิจารณาวิจัยวิเคราะห์แยกแยะธรรมได้......

ที่กล่าวมาทั้งหมด คือ กายานุปัสสนา-เวทนานุปัสสนา-จิตตานุปัสสนา-และธัมมานุปัสสนากรรมฐานนั่นเอง ผมอธิบายให้ง่ายๆเพื่อทำความเข้าใจและปฏิบัติตามได้ง่ายๆไม่ยากนัก ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากหลักเหล่านี้........
สติปัฏฐาน4- ก็ดูแค่กายกับจิต ที่มีใจอยู่ตรงกลาง   กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็เวียนวนอยู่ตลอดเวลา แต่การปฏิบัติต้องเริ่มต้นที่กาย-เวทนา-จิต-ธรรมไปตามลำดับ ไม่มีทางข้าม เพราะเป็นทางสายเอก ที่มีสายเดียวต้องเดินไปตามนี้เท่านั้น แต่เมื่อดำเนินไปแล้ว ก็เดินหน้าถอยหลัง กลับไปกลับมาเป็นอนุโลม ปฏิโลมได้โดยอัตโนมัติ ไม่มีใครเริ่มต้นกระโดดไปดูจิต พิจารณาธรรมได้เลย เพราะกาย-ลม-จิตยังไม่สงบ สติ-สมาธิยังไม่พอ จะก้าวล่วงไปถึงสุดปลายขั้นบันไดได้อย่างไร ? การเดินขึ้นบันได ก็ต้องก้าวขึ้นไปทีละขั้น เดินลงก็ต้องลงมาทีละขั้น จะกระโดดขึ้น กระโดดลงมาพรวดพราดข้ามขั้น หลายขั้น ก็ต้องเกิดอุบัติเหตุ หลุดพลัดตกหกคะเมนเกงเก้ เจ็บตัวแน่นอนครับ......

**นิพพานัง ปรมัง สุญญัง นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานะ ปัจจโย โหตุ สาธุ สาธุ สาธุ**.........

มหาสติปัฏฐานสูตร

จากพระพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

ทีฆนิกาย มหาวรรค

(คัดลอกเพียง"พระสูตร"ธรรมที่กล่าวตรงจากพระสัมมาสัมพุทธองค์)

 

        อุทเทสวาร

[ ๒๗๓ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ
นิคมของหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อ กัมมาสทัมมะ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระพุทธพจน์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระเจ้าข้า ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร
เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือสติปัฏฐาน ( ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ) ๔ อย่าง
สติปัฏฐาน ๔ อย่างเป็นไฉน
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
มีความเพียร(อาตาปี) มีสัมปชัญญะ(สมฺปชาโน) มีสติ(สติมา)
นำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดียินร้าย)ในโลกเสียให้พินาศ
 
เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ
 
เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียให้พินาศ
 
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ

 

        กายานุปัสสนา

           อานาปานบรรพ

[ ๒๗๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างไรเล่า
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์( ขัดสมาธิ ) ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอย่อมมีสติ หายใจเข้า ย่อมมีสติ หายใจออก
 
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร(คือลมหายใจเข้าและหายใจออก) หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด
เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว
หรือเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

            อิริยาบถบรรพ

[ ๒๗๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดิน
หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน
หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง
หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน
อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้ แล้วอย่างใดๆ
ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

                สัมปชัญญบรรพ

[ ๒๗๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ( ความเป็นผู้รู้พร้อม )
    ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้ายข้างขวา
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่
ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

                ปฏิกูลมนสิการบรรพ

[ ๒๗๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล
เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด
มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ
 
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
มันสมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลายน้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไถ้ ( ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ ) มีปาก ๒ ข้าง
เต็มด้วยธัญญชาติ มีประการต่างๆ ด้วย
ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร
บุรุษมีจักษุแก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า
เหล่านี้ข้าวสาลี เหล่านี้ข้าวเปลือก เหล่านี้ถั่วเขียว
เหล่านี้ถั่วเหลือง เหล่านี้งา เหล่านี้ข้าวสาร ฉันใด
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล
ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล
เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ
ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ
 
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า
มันสมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

                ธาตุมนสิการบรรพ

[ ๒๗๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งตามปกตินี้นี่แล
โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว
พึงแบ่งออกเป็นส่วน แล้วนั่งอยู่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง แม้ฉันใด
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ฉันนั้นนั่นแล
ย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งตามปกตินี้นี่แล
โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

                นวสีวถิกาบรรพ

[ ๒๗๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
ตายแล้ววันหนึ่ง หรือตายแล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน
อันพองขึ้น สีเขียวน่าเกลียดเป็นสรีระมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้าง
หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง
หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
เป็นร่างกระดูก เปื้อนด้วยเลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
คือ เป็น(ท่อน)กระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว
กระจายไปแล้วในทิศน้อยและทิศใหญ่
 
คือ
กระดูกมือ(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกเท้า(ไปอยู่)ทางอื่น
กระดูกแข้ง(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกขา(ไปอยู่)ทางอื่น
กระดูกสะเอว(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกหลัง(ไปอยู่)ทางอื่น
กระดูกสันหลัง(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกซี่โครง(ไปอยู่)ทางอื่น
กระดูกหน้าอก(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกไหล่(ไปอยู่)ทางอื่น
กระดูกแขน(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกคอ(ไปอยู่)ทางอื่น
กระดูกคาง(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกฟัน(ไปอยู่)ทางอื่น
กระโหลกศีรษะ(ไปอยู่)ทางอื่น
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
คือ เป็น(ท่อน)กระดูก มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
คือ เป็น(ท่อน)กระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว
มีในภายนอก(เกิน)ปีหนึ่งไปแล้ว
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

[ ๒๘๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเหมือนกะว่า
จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
คือ เป็น(ท่อน)กระดูก ผุละเอียดแล้ว
เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

        เวทนานุปัสสนา

[ ๒๘๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา(ความเสวยอารมณ์)ในเวทนาเนืองๆ อยู่
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อเสวย สุขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา
เมื่อเสวย ทุกขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา
เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
หรือเมื่อเสวย สุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
หรือเมื่อเสวย สุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนามีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

        จิตตานุปัสสนา

[ ๒๘๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ
 
หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ
หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ
 
หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ
หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ
 
หรือจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
 
หรือจิตเป็นมหรคต (คือ มหัคคตะจิต คือถึงความเป็นใหญ่
หมายเอาจิตที่เป็นฌาน หรือเป็นอัปปมัญญาพรหมวิหาร ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต
 
หรือจิตเป็นสอุตตระ (คือ กามาวจรจิต ซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ
หรือจิตเป็นอนุตตระ (จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ
 
หรือจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น
 
หรือจิตวิมุตติ (คือ หลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุตติ
หรือจิตยังไม่วิมุตติ ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่วิมุตติ ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในจิตบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในจิตบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าจิตมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

        ธัมมานุปัสสนา

            นีวรณบรรพ

[ ๒๙๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อกามฉันท์ (ความพอใจติดใจในกามคุณอารมณ์
อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง) มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
อนึ่งความที่กามฉันท์อันตนละเสียแล้ว
ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
 
อนึ่ง เมื่อพยาบาท (ความมุ่งจะปองร้ายผู้อื่น) มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อพยาบาทไม่มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มี ณ ภายในจิตของเรา
ความที่พยาบาทอันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความที่พยาบาทอันตนละเสียแล้ว
ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
 
อนึ่ง เมื่อถีนมิทธะ(ความหดหู่ ความท้อถอย
ไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์) มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มี ณ ภายในจิตของเรา
ความที่ถีนมิทธะอันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความที่ถีนมิทธะอันตนละเสียแล้ว
ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
 
อนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ) มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิตของเรา
ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันตนละเสียแล้ว
ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
 
อนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ) มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิตของเรา
ความที่วิจิกิจฉาอันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
ความที่วิจิกิจฉาอันตนละเสียแล้ว
ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล

 

                ขันธบรรพ

[ ๒๙๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อุปาทานขันธ์ ๕
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อุปาทานขันธ์ ๕
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ( ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า )
อย่างนี้ รูป ( สิ่งที่ทรุดโทรม )
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของรูป
อย่างนี้ ความดับไปของรูป
 
อย่างนี้ เวทนา ( ความเสวยอารมณ์ )
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของเวทนา
อย่างนี้ ความดับไปของเวทนา
 
อย่างนี้ สัญญา ( ความจำได้ หมายรู้ )
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของสัญญา
อย่างนี้ ความดับไปของสัญญา
 
อย่างนี้ สังขาร ( สภาพปรุงแต่ง )
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของสังขาร
อย่างนี้ ความดับไปของสังขาร
 
อย่างนี้ วิญญาณ ( ความรู้ในอารมณ์ต่างๆ )
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของวิญญาณ
อย่างนี้ ความดับไปของวิญญาณ
ดังนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล

 

            อายตนบรรพ

[ ๒๙๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ อายตนะภายใน ๖ และ อายตนะภายนอก ๖
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร อายตนบรรพภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้จักตาด้วย ย่อมรู้จักรูปด้วย
อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก)ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
 
ย่อมรู้จักหูด้วย ย่อมรู้จักเสียงด้วย
อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก)ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยหูและเสียงทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
 
ย่อมรู้จักจมูกด้วย ย่อมรู้จักกลิ่นด้วย
อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก)ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
 
ย่อมรู้จักลิ้นด้วย ย่อมรู้จักรสด้วย
อนึ่ง สังโยชน์(เครื่องผูก)ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้นอันใดย่อมรู้จักอันนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
 
ย่อมรู้จักกายด้วย ย่อมรู้จักโผฏฐัพพะ(สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย)ด้วย
อนึ่ง สังโยชน์(เครื่องผูก)ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
 
ย่อมรู้จักใจด้วย ย่อมรู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) ด้วย
อนึ่ง สังโยชน์ ( เครื่องผูก )ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยใจและธรรมารมณ์ ทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ อายตนะภายนอก ๖ อายตนะภายใน ๖ อย่างนี้แล

 

            โพชฌงคบรรพ

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?
 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
 
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
 
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล

 

                สัจจบรรพ

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์
แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
 
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ชาติเป็นไฉน
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ
ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
 
ก็ชราเป็นไฉน
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์
ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
 
ก็มรณะเป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ
ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้
ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
 
ก็โสกะเป็นไฉน
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ
 
ก็ปริเทวะเป็นไฉน
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน
กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน
ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
 
ก็ทุกข์เป็นไฉน
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย
ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
 
ก็โทมนัสเป็นไฉน
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต
ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส
อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
 
ก็อุปายาสเป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น
ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
 
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก
ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
 
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล
ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ
คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง
มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
 
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา
ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
 
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา
ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
 
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา
ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
 
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา
ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์
 
ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา
ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ
 
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
 
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหาใดอันมีความเกิดอีก
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
 
[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ตัณหานี้นั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน
 
ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
 
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
 
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก
รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร
รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
 
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ
ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น
 
ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน
 
ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก
รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร
รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
 
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
 
ก็ สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
 
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในความไม่พยาบาท
ความดำริในอันไม่เบียดเบียน
อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
 
สัมมาวาจา เป็นไฉน
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
 
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
 
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ
อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
 
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
 
สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
 
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
 
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
 
เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
 
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่อย่างนี้
 

        อานิสงส์ ฯ

[ ๓๐๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๖ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปียกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๕ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปียกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๔ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ปียกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๓ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ ปียกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๒ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ ปียกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๑ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีหนึ่งยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๕ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๔ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๓ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๒ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๑ เดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอดกึ่งเดือน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กึ่งเดือนยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร
เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้
คำอันใด ที่กล่าวแล้วอย่างนี้
คำอันนั้น เราอาศัยเอกายนมรรค ( คือ สติปัฏฐาน ๔ ) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้
 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้แล

จบมหาสติปัฏฐานสูตร

 คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

เพื่อให้ผู้ปฏิบัติบรรลุอรหันต์ พุทธองค์มีแบบการปฏิบัติถึง ๔ แบบ คือ (อรหันต์ 4 สาย)

๑. 
สุกขวิปัสสโก    ๒. เตวิชโช    ๓.ฉฬภิญโญ    ๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต
 


        เรื่องเกี่ยวกับสมาธิ


ฟังเสียงพระธรรมเทศนาเรื่องกรรมฐาน โดยหลวงพ่อฤาษี ลิงดำ

โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง


             หนังสือคู่มือปฏิบัตินี้ ผู้เขียน เขียนขึ้นเพราะปรารภนักปฏิบัติกรรมฐานที่มาเรียนกรรมฐานกับผู้เขียน การสอนที่สอนแก่นักปฏิบัติส่วนใหญ่ก็สอนแต่การปฏิบัติ สำหรับความรู้ทั่วไปนั้นไม่มีโอกาสได้สอน ทั้งนี้ เพราะนักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่มีเวลาพักอยู่ได้นานวัน มักจะมาขอให้ฝึกเพื่อผลทางปฏิบัติเท่านั้นฝึกแล้วก็กลับ ฉะนั้น เมื่อมีอารมณ์ข้อข้องขึ้นมา จึงไม่สามารถจะทราบด้วยตนเองได้  บางรายอยู่ไกลถึงต่างจังหวัด กว่าจะมาพบอาจารย์ผู้ฝึกได้ก็ล่วงเวลาไปมาก เป็นการเสียผลในทางปฏิบัติ คณะศิษย์ส่วนใหญ่ขอร้องให้เขียนแนวการสอนให้ไว้เป็นหลักปฏิบัติ เรื่องเขียนไว้เป็นตำรานี้ ผู้เขียนเองก็หนักใจไม่น้อยเลย เพราะความรู้ในทางปฏิบัตินี้ผู้เขียนเองก็รู้อะไรไม่มากมายนัก รู้เท่าที่จำได้จากครูผู้สอนบ้าง จากบรรดาคณาจารย์ต่างๆที่กรุณาแนะนำให้บ้าง จากตำราบ้าง แต่ต่อมาตำรับตำราก็ไม่ใคร่ได้สำรวจตรวจสอบ เมื่อทนต่อการขอร้องไม่ไหวก็ต้องเขียนไว้ตามแต่จะจำได้ ฉะนั้นหนังสือนี้อาจมีข้อบกพร่องอยู่มาก หากท่านผู้รู้เห็นข้อผิดพลาดที่มีขึ้นประการใด โปรดแจ้งตรงไปยังผู้เขียนผู้เขียนขอน้อมรับคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพ อย่างยิ่ง

             การเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้รับกำลังใจจากบรรดาคณะศิษยานุศิษย์เป็นอันดี ต่างก็ให้กำลังใจสนับสนุนในการเขียนคราวนี้ ผู้เขียนขออนุโมทนาท่านทั้งหลายที่ให้กำลังใจในการเขียนคราวนี้ทุกท่านขอทุกท่านตามที่มีนามในหนังสือนี้จงเจริญยิ่งๆ ขึ้น ทั้งความสุขในการบริหารความเป็นอยู่ และขอให้บรรลุผลในการเจริญสมณธรรม สมความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้จงทุกท่านเถิด

         ความดีที่พึงมีจากหนังสือนี้บ้างเพียงใด ผู้เขียนขออุทิศความดีนี้ถวายแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระ ปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ และพระอริยสาวกทุกๆ ท่าน ที่ทุกๆ ท่านได้มีความเกื้อกูลให้ความรู้ ความเข้าใจ และนำเอาความรู้นี้มาสอนเวไนยพุทธบริษัทสืบๆ มาจนถึงยุคปัจจุบัน และขออุทิศความดีที่มีจากหนังสือนี้บูชาคุณครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่กรุณาแนะ นำสั่งสอนผู้เขียนมา มากบ้าง น้อยบ้างแต่ผู้เขียนก็เคารพว่าทุกท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่คารพอย่างสูงของ ผู้เขียนอยู่เสมอ ครูบาอาจารย์ที่สอนในส่วนปฏิบัติกรรมฐานนี้มีมากท่านด้วยกันอาจจะหลงลืมชื่อ เสียงของท่านไปบ้างก็ต้องกราบขออภัยมาในที่นี้ด้วย เท่าที่จำได้ในขณะนี้ก็คือ
 

          ๑. พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน สุทธาวงษ์)
               วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นปฐมาจารย์ ผู้สั่งสอนเป็นองค์แรก สอนกรรมฐานทุกตอนจนถึงระดับนิพพาน และพยายามฝึกฝนให้จนมีความเข้าใจในการปฏิบัติกรรมฐานจนมีความเข้าใจรอบๆ พอควรแก่ปัญญาของผู้เขียน
          ๒. หลวงพ่อเล็ก เกสโร  
               อาจารย์ที่สองรองจากหลวงพ่อปาน เป็นตัวแทนหลวงพ่อปาน ในการควบคุมดูแลในการปฏิบัติเบื้องต้นท่านอยู่วัดบาง นมโค เช่นเดียวกัน
          ๓. พระครูอุดมสมาจารย์   
               วัดน้ำเต้า  อำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ๔. หลวงพ่อปั้น
               วัดพิกุล  อำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ๕. หลวงพ่อสุ่น  
                วัดบางปลาหมอ  อำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ๖. หลวงพ่อจง   
               วัดหน้าต่างนอก  อำเภอบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ๗. พระครูรัตนาภิรมย์   
                พระอุปัชฌาย์ของผู้เขียน  วัดบ้านแพน  อำเภอเสนา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ๘. หลวงพ่อเนียม
                วัดน้อย  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี
          ๙. หลวงพ่อโหน่ง
                วัดคลองมะดัน  อำเภอสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี
          ๑๐.หลวงพ่อเรื่อง  
                วัดใหม่พิณสุวรรณ  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี
          ๑๑.พระครูสุวรรณพิทักษ์บรรพต
                 เจ้าคณะ ๑๑ วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
          ๑๒.ท่านเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี   
                วัดปากน้ำภาษีเจริญ  จังหวัดธนบุรี
          ๑๓.ท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาหังสณาจารย์   
                อดีตเจ้าอาวาส วัดประยุรวงศาวาส  ธนบุรี
          ๑๔.ท่านเจ้าคุณ พระมหาโพธิวงศาจารย์    
                 เจ้าอาวาส วัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี
          ๑๕.พระเดชพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์   
                 อดีตเจ้าอาวาส วัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี
          ๑๖.พระอาจารย์เกษม   
                 วัดดาวดึงสาวาส  จังหวัดธนบุรี
          ๑๗.พระอาจารย์ทอง
                 วัดราษฎรสุนทรเจริญ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
          ๑๘.ท่านอาจารย์สุข  
                 ตำบลแพงพวย  อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
 

          ตามที่กล่าวนามมาแล้วนี้ ทุกท่านมีความดี เคยแนะนำสั่งสอนผู้เขียนมามากบ้างน้อยบ้างแต่ละท่านต่างก็แนะนำสั่งสอนเพื่อ ให้เข้าใจในปฏิปทาการปฏิบัติด้วยดีทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้ความเข้าใจ เพิ่มเติมขึ้นอีกมาก ฉะนั้น ความดีที่จะพึงมีจากหนังสือนี้ แม้เป็นหนังสือมีข้อความย่อ พอเป็นหัวข้อแนะในการปฏิบัติ จะไม่ละเอียดลออพอที่จะเป็นตำราได้ก็ตาม ผู้เขียนขออุทิศความดีนี้บูชาคุณทุกท่านตามที่กล่าวนามมาแล้ว
          
           ส่วนความผิดพลาดที่จะพึงมีในหนังสือนี้มากน้อยเพียงใด  ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่ผู้เดียวที่ผิดก็คงผิดเพราะความโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เขียนแน่นอน ส่วนที่ครูบาอาจารย์สอนมานั้นไม่ผิดแน่

          ที่สุดนี้ ขอทุกท่านที่ได้รับและอ่านหนังสือนี้ จงเจริญผ่องใส มีอารมณ์ใจเต็มเปี่ยมด้วยผลปฏิบัติพระกรรมฐานจงทุกท่าน เทอญ
 

 

พระมหาวีระ ถาวโร  ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง )



Heute waren schon 21 Besucher (48 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden