vipassana - ปฏิจจสมุปบาท
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

 

                

 

 

  

 

 

 

 

 

web site hit counter

  

 

  

 

 

สารบัญ 

คลิก เลื่อนลงคลิก เลื่อนลงคลิก เลื่อนลง 

เลื่อนลง

 

    

blue_red.gif

blue_red.gif

    

  สารบัญ


คลิก เลื่อนลง
     



 

ความสําคัญของปฏิจจสมุปบาท และพระไตรลักษณ์

กลับสารบัญ

 

ปฏิจสมุปบาท /ปะติดจะสะหฺมุบบาด/ เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น

การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

 

คติธรรม

จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ

เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์

ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา

เป็นทุกข์อุปาทาน    

สตเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม

เป็นมรรคปฏิบัติ  

ผลของสตเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม

เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์

พนมพร คูภิรมย์

ปฏิจจสมุปบาท

กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์

หาอ่านและปรับปรุงข้อธรรมที่เกิดขึ้นได้ใน

http://www.nkgen.com

http://nkgen.com

http://patitja.jibroadband.com/index.htm

 

แจ้ง Email เมื่อหน้านี้มีการเปลี่ยนแปลง


 it's private by ChangeDetection

สนับสนุน โดย เอ็น.เค.จี. เอ็นจิเนียริ่ง

 

คลิกที่นี่ เพื่อเพิ่มหน้านี้ในแฟ้ม Favorites เพื่อความสะดวกในการเปิดครั้งต่อไป

คลิกที่นี่ เพื่อตั้ง ปฏิจจสมุปบาท เป็นหน้าแรกที่เข้า Internet(Home Page)

คลิกที่นี่ เพื่อแจ้งข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาด เพื่อการแก้ไข

คลิกที่นี่ เพื่อ Code ในการ Link มาที่นี่

 

ยินดีให้เผยแพร่ ส่วนหนึ่งส่วนใด ข้อเขียน ข้อความ ทั้งหลายทั้งปวง ในรูปแบบต่างๆได้ โดยไม่สงวนสิทธิใดๆทั้งสิ้น

เพราะย่อมยังประโยชน์แก่ผู้อ่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนา และโลกเป็นที่สุด

สารบัญ

ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นสุขๆ เถิด



อมนุษย์ ที่ถือ วงล้อ แห่งสังสารวัฏฏ์ คือ ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใส่มงกุฏ มีกระโหลก ห้า อัน คือ เบญจขันธ์ ซึ่งกล่าวได้ว่า เบญจขันธ์ นั้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

วงกลมด้านนอกที่มีภาพ ๑๒ ภาพ คือ ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ (นับเริ่มจากด้านล่างซ้ายมือ)

๑.  คนตาบอด คือ อวิชชา
๒.  คนปั้นหม้อ คือ สังขาร
๓.  ลิงถือต้นไม้มีผลไม้ คือ วิญญาณ
๔.  นายกับบ่าวพายเรือ คือ นาม-รูป
๕.  บ้าน คือ อายตนะทั้งหก
๖.   คนกอดกัน คือ ผัสสะ
๗.   คนโดนธนูเสียตาวิ่งโวยวาย คือ เวทนา
๘.   คนกินเหล้า คือ ตัณหา
๙.   ลิงถือผลไม้ยื่นให้คน คือ อุปาทาน
๑๐. หญิงตั้งครรภ์ คือ ภพ
๑๑. หญิงคลอดลูกคือ ชาติ
๑๒. คนหามศพ คือ ชรา-มรณะ

ซี่ล้อแบ่งออกเป็นหกส่วน บนสาม ล่างสาม

ส่วนบนซ้ายมือ คือ ภพมนุษย์
สวนบนสุด คือ ภพสวรรค์ทั้งหกชั้น และ พรหมโลก
ส่วนบนขวามือ คือ ภพอสูร
ส่วนล่างขวามือ คือ ภพของเปรต
ส่วนล่างสุดคือ นรก
ส่วนล่างซ้ายมือ คือ ภูมิของสัตว์เดียรัจฉาน

วงกลมถัดเข้ามาจากซี่ล้อที่มีสองสี คือ ทางแห่งกุศลกรรม และ ทางแห่งอกุศลกรรม

ซีกสีขาว มีรูปคนเจ็ดคนหมายถึง สัปปุริสธรรมทั้ง ๗ คือ หลักของการเป็นคนดีในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่

๑.ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
๒.อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
๓.อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
๔.มัตตญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
๕.กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
๖.ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท ประชุมชน และสังคม
๗.ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล ว่า บุคคลนี้เป็นคนดีควรคบ
    ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ

ส่วนซีกสีดำ คือ พวกทำชั่ว ก็จะไปเกิดใน ทุคติภูมิทั้งสี่ คือ เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก

ส่วนวงล้อด้านในสุด คือ กิเลสสามตัว ได้แก่ โลภะ โมหะ โทสะ (สำหรับฆราวาส) หรือ ราคะ โมหะ โทสะ (สำหรับบรรพชิต)

ไก่ คือ โลภะ (ราคะ)
หมู คือ โมหะ
งูเ คือ โทสะ



ส่วนอีกภาพคือ ภาพพระโพธิสัตว์ เป็นตัวแทนของการดำเนินชีวิตแบบพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีสิบทัศ คอยช่วยเหลือเหล่าสัตว์ผู้ทุกข์ยากในสังสารวัฏฏ์ เนื่องจากภาพด้านบนนี้ได้มาจากภูฏาน ซึ่ง เป็นพุทธฝ่ายวัชรยาน เขาให้ความสำคัญแก่พระโพธิสัตว์เทียบเท่าพระพุทธเจ้า

ส่วนภาพด้าน ล่างที่ผมเอามาลงในความเห็นถัดไปนี้ ในภาพจะวาดเป็นเส้นสีขาวลากออกมาจากวงกลมด้านในซีกของกุศลกรรมซึ่งมีรูปคน แปดคนแทนอริยมรรค แล้วมีเส้นลากต่อออกไปเป็นภาพพระกำลังชี้ทางคนเดินออกจากวงล้อคือ สังสารวัฏฏ์เพื่อไปสู่พระนิพพาน ซึ่งภาพนี้จะยอมรับกันได้ สำหรับฝ่ายเถรวาทเรา ครับ


     ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เป็นหลักคำสอนที่แสดงถึงความลำเลิศทางปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า และเป็นหลักคำสอนที่แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมอย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เก็นถึงหลักกำเนิดและการดำเนินไปของสิ่งทั้งปวงปฏิจจสมุปบาท ว่าด้วยกฎธรรมชาติของชีวิต หากพิจารณาตามกฎนี้โดยมับักษณะเป็นสัจจธรรมแล้ว ทุกชีวิตจะเกิดขึ้นดำรงอยู่ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ดำรงอยุ่และเปลี่ยนแปลงไปโดยอิสระไม่ต้องอาศัยส่วนอื่น การดำเนินของชีวิต ย่อมเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ทั้งระบบเหมือนเครื่องยนต์ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมายถึง ภาวะที่อาศัยกันเกิดขึ้น ดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
                   อิมัสสะมิง สติ อิทัง โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
                   อมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็มีไม่ได้
                   อิมัสสะมิง อสติ อิทัง น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ไม่มี
                   อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ
จากพุทธพจน์นี้จะเห็นว่า องค์ประกอบของชีวิตทุกส่วนย่อมอาศัยกัน มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทั้ง
ในการเกิด ตั้งอยู่ และสลายไป

ความหมายของคำว่า ปฏิจจสมุปบาท
คำว่า ปฏิจจสมุปบาท มาจากศัพท์ว่า ปฏิจจ สํ และอุปปาท
ปฏิจจ หมายถึง เกี่ยวเนื่องกัน สัมพันธ์กัน
สํ หมายถึง พร้อมกัน หรือด้วยกัน
อุปปาท หมายถึง การเกิดขึ้น
ปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้คำที่มี ความหมายเช่นเดียวกันนี้ มีอีก ๒ คำคือ ปัจจยาการ และอิทับปัจจยตาปัจจยาการ หมายถึงอาการที่สิ่งทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ซึ่งหมายถึงสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ จะเกิดขึ้นเป็นอยู่ ด้วยตนเองโดยปราศจากเหตุปัจจัยไม่ได้ ต้องอิงอาศัยกัน อิทัปปัจจยตา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวตถตา อนัญญถตา นี่คือหลักของอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท
องค์ประกอบของชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์กันตามหลักของปฏิจจสมุปบาทนี้ ท่านเรียกว่าองค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมี อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ แต่ละองค์มีความสัมพันธ์กันเหมือนลูกโซ่ ชีวิตของสัตว์ก็ย่อม
หมุนเวียนอยู่ในวัฏจักร มีความเกี่ยวเนื่องกันเหมือลูกโซ่ ดังนี้
                          อวิชชา เป็นปัจจัยให้มี สังขาร
                          สังขาร เป็นปัจจัยให้มี วิญญาณ
                          วิญญาณ เป็นปัจจัยให้มี นามรูป
                          นามรูป เป็นปัจจัยให้มี สฬายตนะ
                          สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้มี ผัสสะ
                          ผัสสะ เป็นปัจจันให้มี เวทนา
                          เวทนา เป็นปัจจัยให้มี ตัณหา
                          ตัณหา เป็นปัจจัยให้มี อุปาทาน
                          อุปาทาน เป็นปัจจัยให้มี ภพ
                          ภพ เป็นปัจจัยให้มี ชาติ
                          ชาติ เป็นปัจจัยให้มี ชรามรณะ
                          ชรามรณะ เป็นปัจจัยให้มี โสกะ , ปริเทวะ

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์นี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิต ผู้ที่ยังตัดอวิชชาไม่ได้แม้ตาย
ไปแล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้มีสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยให้มีวิญญาณ ฯลฯ ต่อไปอีกไม่รู้จักจบสิ้น
การเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้จึงเป็นการเรียนรู้กฎธรรมชาติของชีวิต จะได้ไม่ต้องหลงไหลในเหตุ
ปัจจัยภายนอก เพราะชีวิตนั้นหมุนเวียนไปตามวัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราได้รับผลอย่างไรของชีวิต เช่น มีสุข ทุกขื ดี ชั่ว อย่างไรก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นเพราะเหตุคือ กรรม ที่ต้องทำกรรม ก็เพราะกิเลสเป็นเหตุให้ทำ ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่ได้ชีวิตก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ หมุนอยู่อย่างนี้ร่ำไป เมื่อเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาก็จะเกิดขึ้น จะเกิดความเชื่ออย่างมีเหตุผล เช่นเชื่อว่าชีวิตทุกชีวิตย่อมเป็นไปตามกรรม และกรรมนั่นเอง เป็นผู้ลิขิตชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ กัน ดีบ้าง เลวบ้าง เพราะชีวิตกรรมลิขิต

ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร
ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า ภาวะที่อาศักกันเกิดขึ้นซึ่งเป็นระบบการกำเนิดของชีวิตอันเป็นกฎเกณฑ์แห่ง ชีวิตศาสนาสอนว่าชีวิตทุกชีวิตมีส่วนเป็นเหตุเป็นผลอาศึกกันเกิดขึ้นเนื่อง กันไม่ขาดสายเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีก สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นลูกโซ่ ไม่รู้จักจบสิ้น องค์ประกอบของชีวิตตามหลักของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเรียกว่า องค์
แห่งภวจักร หรือองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ท่านแบ่งไว้ ๑๒ องค์ คือ
                   ๑. อวิชชา ความไม่รู้ความจริง
                   ๒. สังขาร การปรุงแต่ง
                   ๓. วิญญาณ การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ
                   ๔. นามรูป นามขันธ์ ๕ รูปขันธ์ ๒
                   ๕. สฬายตนะ อายาตนะภายใน อายตนะภายนอก
                   ๖. ผัสสะ การถูกต้อง
                   ๗. เวทนา การเสวยอารมณ์
                   ๘. ตัณหา ความอยาก
                   ๙. อุปาทาน ความยึดมั่น
                   ๑๐.ภพ ความมี ความเป็น
                   ๑๑.ชาติ ความเกิด
                   ๑๒.ชรามรณะ ความแก่และความตาย
ทั้ง ๑๒ องค์นี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิต ทุก ๆ องค์อาศัยกันเกิดมีความสัมพันธ์กัน เช่น 
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
ฯลฯ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
นี่เป้นปฏิจจสมุปบาท ๑ วง หรือชีวิตหมุนไป ๑ รอบวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท นิยมเรียกว่า ภวจักร
ซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งภพ หรือ สังสารจักร ซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งสังสารวัฏ

การจัดกลุ่มปฏิจจสมุปบาท
ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท การปฏิสนธิต่อเนื่องกันระหว่าง
                อดีต กับ ปัจจุบัน
                ปัจจุบัน กับ อนาคต
                ชีวิตปัจจุบัน เกิดจากเหตุในอดีต กล่าวคือ
                อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
                ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
                ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
                อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ
นั่นหมายถึงอวิชชา สังขาร เป็นเหตุในอดีต ก่อให้เกิดผลในปัจจุบัน วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
เวทนา ปัจจุบันเหตุก็ทำให้เกิดผลในอนาคต ชาติ ชรามรณะเหตุในอดีตที่ทำให้เกิดผลในปัจจุบัน คือทำให้ชีวิตเกิดใหม่นั้น ได้แก่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ตัณหาอุปาทาน ภพ เมื่อตัดเหตุ ๕ อย่างนี้ไม่ขาด ชีวิตจึงต้องเกิดใหม่ เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัยให้เกิดสังขารสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ ชีวิตทุกชีวิตย่อมหมุนอยู่อย่างนับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกว่าจะถึงพระนิพพาน

ปฏิจจสมุปบาทในฐานะมัชเฌนธรรมเทศนา
ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท เรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิ หรือเห็นถูกต้อง และความเห็นที่ถูกต้องนี้เป็นความเห็นชนิดที่เรียกว่าเป็นกลางไม่เอียงสุดไป ทางใดทางหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นหลักหรือกฏที่แสดงความจริงเป็นกลาง ๆไม่เอียงสุด อย่างที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรมเทศนา" ความเป็นกลางของหลักความจริงนี้ มีโดยการเทียบกับลัทธิหรือทฤษฎีเอียงสุดต่าง ๆ และความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทโดยถูกต้องจะต้องแยกออกจากทฤษฎีเอียงสุดเหล่านี้ ด้วย ดังนั้น ในที่นี้

ปฏิจจสมุปบาทในฐานะปัจจยาการทางสังคม
     ในมหานิทานสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่สำคัญมากสูตรหนึ่งและเป็นสูตรใหญ่ที่สุดที่แสดงปฏิจจสมุ ปบาท พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักปัจจยาการทั้งที่เป็นไปภายในจิตใจของบุคคลและที่เป็น ไปในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หรือในทางสังคมปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์หรือความชั่วร้ายทางสังคมก็ดำเนินตาม วิถีเดียวกับปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์ของชีวิตนั่นเอง แต่เริ่มแยกออกแสดงอาการที่เป็นไปภายนอกต่อแต่ตัณหาเป็นต้นไป

 

 


Heute waren schon 12 Besucher (38 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden