vipassana - พระอรหันต์
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  => พระ ธาตุ
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

                                           พระอรหันต์              



๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือ จิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน
จิตไม่มีมานะ การถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย
จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ
ฉันทะ ความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มี
ราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก
จิตพอใจจุดเดียว คือ นิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์


โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา
ไล่ลงมาอีกทีนะ จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า
ธรรมดาคนเกิดมาแล้ว ต้องแก่ ต้องป่วย
ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ
คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน


ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็
จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย


๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว
วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น
วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน
มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน
ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่


๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ
คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย
ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว
ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเรา


และเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น
ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไร พอใจเมื่อนั้น


ขึ้นชื่อว่าความเกิด มีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา
ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา
สิ่งที่เราต้องการ คือ นิพพาน นี่แค่นี้เท่านั้นแหละ
ไม่เห็นมีอะไรยาก ถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ
ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบาก มันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล



                                                                                                          พระอนาคามี



๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้
มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา


คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น
มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ มีความสลดใจ
คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค


ถ้าหากว่า จิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้ว
ก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค
เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามี
ต่อไปถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ
คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล


และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ
คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจ
การแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง
ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา
เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี
เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ
ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล


รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามี ก็คือ

๑. สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ
๒. จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก
๓. ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล


 

อนาคามี

                     คำว่า  อนาคามี  แปลว่า ไม่กลับมาอีก   หมายความว่า  ผู้ ที่บรรลุเป็นพระอนาคามีในมนุษย์โลกหรือเทวโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้ว จะไปเกิดในพรหมโลก และดับขันธปรินิพพานในพรหมโลกนั้น จักไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกหรือเทวโลกอีก  พระอนาคามีนี้สามารถละกิเลสได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจจเฉทปทานได้เพิ่มอีก

                     พระอนาคามีบุคคล คือ พระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๑๖  ญาณในรอบแรกแล้ว ยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นทวีคูณจนบรรลุเข้าสู่มรรคที่  ๒  และที่ ๓ ได้  คือ  ตั้งแต่ญาณที่ ๔  อุทยัพพยญาณจนญานที่ ๑๒  อนุโลมญาณ   ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่เคยฝ่านมาแล้ว และติดตามด้วยโวทานะ  โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอนาคามีมรรค   และเมื่อบรรลุเข้าสู่มรรคญาณที่ ๓ แล้ว   กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่ และสามารถละสัญโญชน์ทีเหลืออยู่ได้อีก ๒
สัญโญชน์อย่างสิ้นเชิ่ง  ได้แก่  กามราคะสัญโญชน์ และปฏิคะสัญโญชน์ ก็คือละกามและโทษะได้อย่างะเด็ดขาด ดำรงค์ฐานะเป็นพระอนาคามีบุคคล

                     กล่าวโดยสังโยชน์  ละได้อีก ๒ คือ  กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ขณะที่เป็นพระโสดาบันละได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ และสีลัพพตปรามาสสังโยชน์
                     กล่าวโดยอกุศลกรราบถละได้อีก ๓ คือ ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และพยาบาท
                     ความเป็นอยู่ของพระอนาคามีนี้  มีความเป็นอยู่แบบสันโดษ  ไม่มีครอบครัว รักษาศีล  ๘  เป็นประจำ  เมื่อหมดอายุขัยแล้วจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส  ซึ่งเป็นชั้นที่สูงสุดในพรหมโลก อันเป็นที่อยู่เฉพาะของผู้ที่บรรลุเป็นพระอนาคามีเท่านั้น
                     พระอนาคามีตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก ยังเป็นพระอนาคามีอยู่เหมือนเดิมไม่?  

                     ตอบ : ไม่เฉพาะแต่พระอนาคามีเท่านั้น พระโสดาบันและพระสกทาคามีก็เหมือนกัน  เช่น  พระโสดาบันที่ต้องเกิดอีก ๗ ครั้ง  ถึงท่านนจะเกิดใหม่ตั้งหลายครั้ง  ก็ยังคงเป็นโสดาบันอยู่   ไม่มีวันเสื่อมถอยกลับมาเป็นปุถุชนอีก พระสกทาคามีเมื่อตายแล้วไปเกิดในเทวโลก   ก็ยังคงเป็นพระสกทาคามีเหมือนเดิม
สำหรับพระอนาคามีนี้ก็เหมือนกัน เมื่อหมดอายุขัยคือตายแล้วไปเกิดในชั้นสุทธาวาสพรหมโลก ก็ยังคงเป็นพระอนาคามี อยู่เหมือนเดิม

 

 

 

 

 

                     พระอนาคามี  ๕ ประเภท คือ

 ๑.  อันตราปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์  ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่

   ๒.  อุปหัจจปรินิพพานยี  สำเร็จเป็นพระอรหันต์  ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่

       ๓.  อสังขารปรินิพพายี  สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยสะดวก สบายไม่ต้องใช้ความเพียรมาก

 

           ๔. สสังขารปรินิพพายี  สำเร็จเป็นพระอรหันต์  ปรินิพพานในพรหมโลก โดยต้องพยายามอย่างแรงกล้า

 

                ๕.  อุทธังโสตอกนิฏฐคามี  ไป เกิดในสุทธาวาสพรหมโลก ชั้นต่ำที่สุด (อวิหาสุทธาวาสพรหมโลก) แล้วจึงจุติไปเกิด ชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานในอกนิฏฐพรหมโลก

                     ที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรีย์แก่กล้ายิ่งหย่อนกว่ากัน  จึงทำให้ความมุ่งมั่นในการบรรลุเป็นพระอรหัตน์นั้น เนินนานกว่ากัน

 

                คุณวิเศษที่พระอนาคามีได้รับมีดังนี้
                ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอนาคามีได้ แต่ท่านที่เคยฝึกสมาธิถึงฌานที่ ๔  ท่านสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ หรือบางท่านบังเกิดมีวิชา ๓ อภิญญา ๕  สามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้
                ๒. ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันจะไปเกิดใน พรหมโลก ชั้นสุทาวาสพรหม อย่างเดียว จะไม่มาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกเลย  แล้วจะบรรลุเป็นพระอรหันดับขันธ์นิพพานบนสุทาวาสพรหมนั้น  ชั้นสุทาวาสพรหม เป็นชั้นของพระพรหมที่เป็นที่จุติของพระอนาคามีอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น    ซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นในสุทาวาสพรหมได้อีก ๕ ชั้น จากลำดับล่างไปสู่ชั้นสูง ดังนี้
                                ๑. ชั้นอวิหาภูมิ
                                   ๒. ชั้นอตัปปาภูมิ
                                   ๓. ชั้นสุทัสสาภูมิ
                                 ๔. ชั้นสุทัสสีภูมิ
                                       ๕. ชั้นอกนิฏฐกาภูมิ

ซึ่งพระอนาคามีท่านจะไปจุติตามชั้นต่างๆ ตามกำลังพละ ๕ ของท่านที่เด่นชัด
 
                                                                                             
                                                                                                                                                                                                              
 

                                                                                                   พระสกิทาคามี  

                                                                                           

พระสกิทาคามี
อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด
ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน
แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ
บรรเทาความร่ำรวย
บรรเทาความโกรธ
เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทา ความหลงก็เลยบรรเทาด้วย


กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้

ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ
จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง


ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย
ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี
แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป


สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ
กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา
โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป


พระสกิทาคามี

                     คำว่า  สกทาคามี  แปลว่า   กลับมาอีกครั้งเดียวหรือครั้งหนึ่ง   คือ ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีจะกลับมาเกิดในกามภูมิ ได้แก่มนุษย์โลกอีกครั้งเดียวเท่านั้น   พระสกทาคามีนี้ ละกิเลสได้เท่ากับพระโสดาบัน ไม่ได้ละเพิ่มอีกแต่ประการใด เพียงแต่ทำกิเลสที่เหลือให้เบาบางลงเท่านั้น    

                     พระสกิทาคามี   คือ พระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ  ๑๖  ญาณในรอบแรกแล้ว ยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นทวีคูณจนบรรลุเข้าสู่มรรคที่  ๒ ได้  คือ  ตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณจนญานที่ ๑๒ อนุโลมญาณ   ชึ่งวิ ปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งกว่าสภาวะญาณที่เคยฝ่านมา แล้ว และติดตามด้วยโวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว  หลังจากนั้นบรรลุถึงพระสกิทาคามีมรรค และเมื่อบรรลุเข้าสู่มรรคญาณที่ ๒ แล้ว กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่     แต่ไม่สามารถละสัญโญชน์ที่เหลืออยู่ให้ตัวใดตัวหนึ่งขาดหายโดยสิ้นเชิ่ง   แต่กิเลสของท่านเบาบางกว่าพระโสดาบันอย่างมาก ดำรงค์ฐานะเป็นพระสกทาคามีบุคคล

พระสกทาคามี ๕ จำพวก คือ

                     ๑. อิธ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี  ผู้ ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษย์โลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วเกิดในมนุษย์โลกอีก จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธืปรินิพพานในมนุษย์โลก
                     ๒.  ตตฺถ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี   ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วก็เกิดในเทวโลกอีก จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์ปรินิพพานในเทวโลก
                     ๓.  อิธ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี  ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษย์โลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วไปเกิดในเทวโลก จนบรรลุเป็นพรอรหันต์ และดับขันธปรินิพพานในเทวโลก
                     ๔.  ตตฺถ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี  ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วก็มาเกิดในมนุษย์โลก จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธปรินิพพานในมนุษย์โลก
                     ๕. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพตฺติตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี  
 ผู้ ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วไปเกิดในเทวโลก พอหมดอายุขัยในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาเกิดในมนุษย์โลกอีก จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธปรินิพพานในมนุษย์โลก

                     สำหรับคำว่า สกทาคามีที่แปลว่า กลับมาครั้งเดียว หรือกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้น น่าจะหมายถึงพระสกทาคามีจำพวกที่ ๕ นี้   ความ เป็นอยู่ของพระสกทาคามีนี้ ไม่แตกต่างกับพระโสดาบันมากนัก เพระยังมีครอบครัวลูกหลานอยู่ เพียงแต่มีกิเลสที่เบาบางกว่าพระโสดาบันเท่านั้น
                     คุณวิเศษที่พระสกิทาคามีได้รับมีดังนี้
                     ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระสกิทาคามีได้
                     ๒. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม
ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
                     ๓. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศลหรือตามกำลังสมาธิ ของแต่ละท่าน
                     ๔. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดเพียง ๑ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์นิพพาน

 

                                                                                                                     พระโสดาบัน

             

๑. ความเป็นพระโสดาบัน ต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ
จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ


ประการที่ ๑
มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง

พระสงฆ์นี่ เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ
เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก
ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี


ประการที่ ๒
งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด

เรียกว่า รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต
ศีล ๕ ประการนี้ รักษาโดยเด็ดขาด


ประการที่ ๓
จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียว คือ นิพพาน

ขึ้นชื่อว่าทำความดี ตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม
ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย
ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด
เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน
เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน


๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้
คือปรารภความตายเป็นปรกติ ไม่ประมาทในชีวิต
คิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย
เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ


นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง
เคารพในพระอริยสงฆ์จริง เป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์
มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์


การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน
คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียว คือ พระนิพพาน
เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน

 

 

พระโสดาบัน

                     คำว่า โสดาบัน แปลว่า ถึงกระแส  หมายความว่า  ผู้ ที่บรรลุถึงความเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ถึงกระแสนิพพาน และจักมุ่งหน้าไปตามกระแสนิพพานจนบรรลุถึงความเป็นพระอรหัตน์ ไม่มีวันตกต่ำ เมื่อจุติสิ้นอายุขัยแล้ว จักไม่ปฏิสนธิ คือเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้นอีกเลย เพราะประหาณอกุศลกรรมบถ
๕ ประการคือ

1 .ปาณาติบาต
    2.อทินนาทาน
            3.กาเมสุมิจฉาจาร
    4.มุสาวาท
                                                5.มิจฉาทิฏฐิ ได้โดยเด็ดขาด
เป็นสมุจเฉท


   โสดาบัน  มี ๓ ประเภท

       ๑.  เอกพิซีโสดาบัน เป็นพระโสดาบันมีพืชกำเนิดอีกเพียงครั้งเดียว หมายความว่าพระโสดาบันเอกพิชีนี้ จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกเพียงชาติเดียวก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์


         ๒. โกลังโกลโสดาบัน  คือ พระโสดาบันผู้ยังต้องเกิดเป็นมมุษย์หรือเทวดาอีก ๒ ถึง ๖ ชาติ จึงจะบรรลุ
เป็นพระอรหันต์

๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน  คือ พระโสดาบันผู้ต้องเกิดอีกถึง ๗ ชาติจึงจะบรรลุเป็นพระอรหัตน์

                     ที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรีย์แก่กล้ายิ่งหย่อนกว่ากัน
  จึงทำให้ความมุ่งมั่นในการบรรลุเป็นพระอรหัตน์นั้น เนินนานกว่ากัน    แต่อย่างไรก็ตาม พระโสดาบันจักไม่เกิดในชาติที่ ๘ ถึงแม้จะเป็นผู้เพลิดเพลินมีความประมาทบ้างก็ต้องบรรลุอรหันต์ในชาติที่ ๗ แน่นอน      มีอยู่ในพระสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบให้ทราบถึงกิเลส และความทุกข์ที่เหลือของพระโสดาบันกับปุถุชน ให้เข้าใจดังนี้
                     มีอยู่ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกกับพระภิกษุว่า "ภิกษุทั้งหลาย  เธอจงหยิบเศษดินบนแผ่นดินมาหนึ่งกำมือ" เมื่อภิกษุหยิบเศษดินขึ้นมาหนึ่งกำมือแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามว่า
"เธอทั้งหลายจงเปรียบเทียบดูจำนวนเศษดินที่อยู่ในมือ กับแผ่นดินต่างกันมากใช่ไหม่
?"

                     พระภิกษุตอบว่า "ใช่ครับ" พระพุทธเจ้าจึงอธิบายให้ทราบ "เศษดินที่อยู่ในมือเธอเปรียบ เสมือนกิเลสที่เหลืออยู่ของพระโสดาบันบุคคล   แต่ แผ่นดินนั้นเปรียบเสมือนกิเลสที่มีอยู่ของปุถุชนทั้งหลาย ดังนั้นความทุกข์เร้าร้อนที่พระโสดาบันได้รับ ย่อมน้อยกว่าปุถุชนมากมายจนประมาณไม่ได้"
                     คุณวิเศษที่พระโสดาบันได้รับมีดังนี้
                      ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระโสดาบันได้
                     ๒. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
                     ๓. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือพรหม ตามบุญกุศล หรือสมาธิ ของแต่ละท่าน
                     ๔. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดไม่เกิด ๗ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์



 

 

                                                                                                    สังโยชน์ ๑๐



๑. อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั่น
ก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้


เราจะทำอะไรก็ตาม
ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง
ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ
เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่
ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่


บางท่านก็มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส
เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้ อันนี้เป็นกำไรมาก


๒. นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมา
และได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น
ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ
เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด
แล้วจะรู้ผลของการปฏิบัติ


ให้ปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั่นเอง
ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง




1  2  3  4 





       ปุถุชน แปลว่า ผู้มีกิเลสหนา คือคนปกติที่ยังมี  กิเลส, คนธรรมดาสามัญ, คนที่ยังมิได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยะ


กัลยาณปุถุชน หมายถึงคนธรรมดาที่มีกัลยาณธรรม ประพฤติปฏิบัติดีงาม มีคุณธรรมสูง ได้แก่ คนที่เรียกกันว่ามีศีลมีธรรม มั่นคงอยู่ในศีลในธรรมดำรงชีวิตด้วยการทำมาหากินอย่างสุจริต มีความซื่อสัตย์ อดทน ขยันหมั่นเพียร มีจิตใจงดงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

กัลยาณปุถุชน จัดเป็นบุคคลที่มี  คุณธรรมสูง แม้จะมิได้เป็น  อริยบุคคล แต่ได้รับความเคารพนับถือและยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป

   โสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม (คืออริยมรรค)

โสดาบัน เป็นชื่อเรียกพระ  อริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน   สกทาคามี  อนาคามี   อรหันต์ ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ   สังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ

  1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา
  2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
  3. สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วย  ศีลและ พรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา

ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่นๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้   คฤหัสถ์ คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น

 

การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียรฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน

   อารมณ์พระโสดาบัน
            ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน
            สำหรับ วันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบไว้ว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นยังไง ส่วนใหญ่คนทั้งหลายมักจะมีความรู้สึกว่า คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน หรือสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาญาณ และเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมดนั้นเป็นความรู้สึกผิดของท่านผู้มีความคิดอย่าง นั้น
            ความจริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ทรงจิตเป็น ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิหรือ อัปปนาสมาธิ สำ หรับอัปปนาสมาธินี้หมายถึงอารมณ์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 8 อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ 5 ประการ แต่ก็เป็นเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาทจิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมาย ในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนมยิทธิก็ดี ได้อภิญญา 5 ในอภิญญา 6 ก็ดี ได้ 2 ในวิชชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะตัดอบายภูมิได้จริง ๆ ก็คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
            คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
            ฉะนั้น พระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างอยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ            

 1. สักกายทิฏฐิ ที่มี ความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย คำว่าสมาธิเล็กน้อย คือ อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้ สำหรับ ที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า
            ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี
            นี่ ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิ มีอยู่จุดนี้เข้าใจไว้ด้วย มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีความรู้สึก ร่างกายยังมีมีจิตเป็นเครื่องรักษา ร่างกายยังมีวิญญาณรู้การสัมผัส ถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึก รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน
            นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของพระ โสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราจะต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไป กำหนดอายุการตายว่าต้องตายเท่านั้นเท่านี้ จะตายตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรือ ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำก็เอาแน่นอนไม่ได้ ฉะนั้น พระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่เราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีนั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

2 วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ 2 ได้ คือ ความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อว่าความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญา ที่พิจารณาหาความจริงว่า  พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข
        
3 สีลัพพตปรามาส พระ โสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่า ฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ไม่ มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้มีความทรงอารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
            ที่ กล่าวมานี้หมายความว่า สังโยชน์ 3 ประการนี่ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้ นี่ก็พูดกันไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจากโลกียะเป็นโลกุตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โคตรภูญาณ ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาณ
            คำว่าโคตรภูญาณ นี่ก็หมายความว่า จิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ
            แต่ ทว่าอารมณ์ตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว หรือ พรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็จะต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้าง บางรายก็เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขตทั้ง 3 จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ
            จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ ใจมีความต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพานเป็นปกติ
            แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเต็มที่ ที่เรียกว่า โสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันเป็นของธรรมดา
            การ นินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตดวงนี้มีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ทว่าธรรมดาของพระโสดาบัน ยังอ่อนกว่า ธรรมดาของพระอรหันต์มาก
            ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่า ท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบันก็คือ ชาวบ้านธรรมดา
            แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณ มีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยาของตนเอง ยอมเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน จะนอกใจสามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร จะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข
            และประการที่ 2 พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้ไม่เป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธ ให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่าน อยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย คือ แตกต่างกับคนธรรมดาตรงนี้
            สำหรับ ด้านความหลงของพระโสดาบัน ที่ขึ้นชื่อว่าหลง เพราะยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย เมื่อสักครู่นี้ข้ามคำว่าอยากรวยไป การอยากรวยของพระโสดาบัน คือ ต้องการความรวยในด้านสุจริตธรรมเท่านั้น เรียกว่า การทุจริตคิดร้ายคดโกงบุคคลอื่นใด ไม่มีในอารมณ์จิตของพระโสดาบัน ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เพราะอาศัยยังรักในความสวยสดงดงาม คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่าเพศยังมีอยู่ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง เพราะว่ายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ยังมีของสวยของงาม การถือตัวถือตนแบบนี้ จึงเชื่อว่ายังมีความหลง แต่ความหลงของพระโสดาบันนั้น ไม่สามารถจะนำบุคลผู้นั้น ในเวลาแล้วไปสู่อบายได้
            จุดนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงจำไว้ว่า ความจริงอารมณ์ของพระโสดาบันนั้น ไม่แตกต่างกับชาวบ้านธรรมดาเท่าไรนัก ชาวบ้านธรรมดา ยังมีความรักในเพศ ยังมีสามี ภรรยา แต่ทว่ายังมีการนอกใจภรรยา สำหรับพระโสดาบันไม่มี ชาวบ้านอยากรวยก็ยังมีการคบคิดกันคดโกง การโกงมีการยื้อแย่งฉกชิงวิ่งราวดูทรัพย์ สำหรับพระโสดาบันนี่ ถ้าต้องการรวยก็รวยด้วยการสุจริต หากินด้วยความชอบธรรม ต่างกันตรงนี้
            พระ โสดาบันยังมีความโกรธ ชาวบ้านโกรธแล้วก็ปรารถนาจะประทุษร้าย ถ้ามีโอกาสก็ประทุษร้ายบุคคลที่เราโกรธ ถ้าสามารถจะฆ่าได้ก็ฆ่า สำหรับพระโสดาบันมีแต่ความโกรธ การประทุษร้ายไม่มี การฆ่าการประหารไม่มี นี่ต่างกันกับชาวบ้าน
            พระโสดาบันยังมีความหลง ตามที่ได้กล่าวมาด้วยอาการที่ผ่านมาแล้ว แต่ทว่าพระโสดาบันก็ไม่ลืมคิดว่า เราจะต้องตาย เมื่อเราตายแล้ว เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตอนนี้พระโสดาบันไม่เสียใจ ไม่เสียดาย ถือว่าถ้าตายเราจะมีความสุข นี่ขอท่านทั้งหลายจำอาการอารมณ์จิตที่เข้าถึงพระโสดาบันไว้ด้วย
            ตอนนี้จะขอพูดอีกนิดหนึ่งถึงอารมณ์ความจริงของพระโสดาบัน ที่เรียกกันว่า องค์ของพระโสดาบัน
            คำว่า องค์ ก็ได้แก่ อารมณ์จิตที่ทรงไว้อย่างนั้นอย่างแนบแน่นสนิท นั่นก็คือ
            1. พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไม่คลายในความเคารพในพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะมีเหตุผลใด ๆ เกิดขึ้น ใครจะมาจ้างให้รางวัลมาก ๆ ให้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้แต่พูดเล่นพระโสดาบันก็ไม่พูด ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าท่านมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระอริยสงฆ์อย่างจริงใจ แต่ทว่าระวังให้ดี ถ้าพระสงฆ์เลว พระโสดาบันไม่ใส่ข้าวให้กิน
            ตัวอย่าง ภิกษุโกสัมพี มี ความประพฤติชั่ว ตอนนั้นฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้านับหมื่น ไม่ยอมใส่ข้าวให้กิน เพราะถือว่าเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทำลายความดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วละก็ จะเมตตาไปเสียทุกอย่าง ท่านเมตตาแต่คนดีหรือว่าบุคคลผู้ใดมีความประพฤติชั่วท่าน แนะนำแล้วสามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็เมตตา ถ้าเขาชั่วแนะนำแล้วไม่สามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็ทรงอุเบกขา คือ เฉยไม่สงเคราะห์ โปรดจำอารมณ์ตอนนี้ไว้ให้ดี
            2. ในประการต่อไป พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ ขอพูดย่อให้สั้น เพราะองค์ของพระโสดาบันก็คือ
            (1) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
            (2) มีความเคารพในพระธรรม
            (3) มีความเคารพในพระอริยสงฆ์
            นี่จัดเป็นองค์ที่มี 3 ประการ
            (4) และสิ่งที่จะแถมขึ้นมาก็คือรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังความดีมีชื่อเสียงในชาติปัจจุบัน มีความรู้สึกต้องการอยู่อย่างเดียวว่าเราทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน เท่านั้น อารมณ์จิตตอนนี้ขอบรรดาท่าพุทธบริษัทภิกษุ สามเณรทุกท่านต้องจำไว้ จงอย่าไปคิดว่าพระโสดาบันเลอเลิศไปถึงอารมณ์อรหันต์โดยมากมักจะคิดว่าอารมณ์ ของพระอรหันต์เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ก็เลยทำกันไม่ถึง นี่เป็นการคิดผิด ความจริงการเป็นพระโสดาบันเป็นง่าย มีอารมณ์ไม่หนักที่หนักจริง ๆ ก็ คือ ศีลอย่างเดียว
            ต่อไปนี้ขอพูดถึงอาการของพระโสดาบันที่จะพึงได้ พระโสดาบันจัดเป็น 3 ขั้น คือ
            1.สัตตักขัตตุง สำหรับ ที่ท่านเป็นพระโสดาบันมีอารมณ์ยังอ่อน จะต้องเกิดและตายในระหว่างเทวดาหรือพรหมกับมนุษย์อีกอย่างละ 7 ชาติ เป็นมนุษย์ชาติที่ 7 และเข้าถึงความเป็นอรหัตผล
            2. ถ้ามีอารมณ์เข้มแข็งปานกลาง ที่เรียกกันว่า โกลังโกละ อย่างนี้จะทรงความเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีกอย่างละ 3 ชาติครบเป็นมนุษย์ชาติที่ 3 เป็นพระอรหันต์
            3.สำหรับพระโสดาบันที่มีอารมณ์เข้มแข็งเรียกว่า เอกพิชี นั่นก็จะเกิดเป็นเทวดาอีกครั้งเดียว มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์
            4. ที่พูดตามนี้ หมายความว่า ท่านผู้นั้นเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้วเกิดใหม่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอทุกชาติ แต่ว่าความเป็นมิจฉาทิฏฐิในชาติต่อ ๆไป จะไม่มีแก่พระโสดาบัน เพราะว่า พระโสดาบันไม่มีสิทธิที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน จะเกิดได้แค่ช่วงแห่งความเป็นมนุษย์กับเทวดาหรือพรหมสลับกันเท่านั้น
            เป็นอันว่าพระโสดาบันนี่ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก
            หากว่าท่านจะถามว่า พระโสดาบันทั้งสัตตักขัตตุง โกลังโกละ และเอกพีชี มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร
            ก็จะขอตอบว่า พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุง มี จริยาคล้ายชาวบ้านธรรมดามาก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความรัก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง แต่ทว่าเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิด
            สำหรับพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ ขั้น โกลังโกละนี้มีอารมณ์เยือกเย็นมาก หรือว่ามีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มีศีลมั่นคงมาก ความจริงเรื่องศีลนี่มั่นคงเหมือนกัน แต่ว่าจิตท่านเบาบางในด้านความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความคำนึงถึงอารมณ์อย่างนี้มีอยู่แต่ก็น้อย ถ้ามีคู่ครองเขาจะโทษว่า กามคุณท่านจะลดหย่อนลงไป ความสนใจในเพศ ความสนใจในความโลภ อารมณ์แห่งความโกรธ อารมณ์แห่งความหลงมันเบา กระทบไม่ค่อยจะมีความรู้สึก
            สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพีชี ใน ตอนนี้อารมณ์ของท่านผู้นั้น จะมีอารมณ์ธรรมดาอยู่มาก ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า พระอริยเจ้าจะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระก็ดี จะเป็นเณรก็ดี จะเป็นคนมีจิตละเอียด ไม่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ขัดคำสั่ง ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยและกฏหมาย อันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ที่ท่านทั้งหลายจะพึงทราบ
            สำ หรับเอกพิชีนี่ ความจริงมีอาการจิตใจใกล้พระสกิทาคามี แต่ทว่าสิ่งที่จะระงับไว้ได้นั้น กดด้วยกำลังของศีล มีความรู้สึกว่าเราจะต้องประคับประคองศีลของเราให้แจ่มใสอยู่เสมอ มองดูความรักในระหว่าเพศ หรือว่าความร่ำรวย หรือว่าความโกรธ หรือหลงในระหว่างเพศ หลงในสภาวะต่าง ๆ เห็นว่าเป็นของไร้สาระ มีอารมณ์เบาในความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ แต่ทว่าก็ยังมีความปรารถนาอยู่
            เอา ละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ วันนี้คงไม่ได้อารมณ์แห่งการปฏิบัติ แต่ทว่าอารมณ์แห่งการปฏิบัติ ในความเป็นพระโสดาบันท่านฟังกันมาแล้วสองคืน ผมเองมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่าง่ายสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่าเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันยากนี่ ถ้าเป็นพระเป็นเณร ผมไม่ถือว่าเป็นพระเป็นเณร ผมถือว่าเป็นเถน เถนในที่นี้หมายความว่ามี สระเอ นำหน้า มีถอถุง และ นอหนู เขาแปลว่าหัวขโมย คือ ขโมยเอาเพศของพระอริยเจ้ามาหลอกลวงชาวบ้าน ตามปกติพระกับเณรนี่ต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว
            เอาละ พุดไปเวลามันเกินไป 1 นาที ก็ขอพอไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนก็ได้ตามอัธยาศัย ทรงกำลังใจควบคุมความเป็นพระโสดาบันของท่านไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี

 

 

Heute waren schon 4 Besucher (13 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden