vipassana - มงคล ๓๘ ประการ
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt
     มงคล ๓๘ ประการ

                                                                                                                                                                                                                                                                                     

                                                    ประวัติวัดโสมนัสวิหาร
                                       เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร
                                       หนังสือธรรมะ
                                       บทความในหนังสือ นวกานุสรณ์ โดย พระจามร อภิสันติโก

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)


ชาติภูมิ พระธรรมวิสุทธิกวี นามเดิมว่า พิจิตร ถาวรสุวรรณ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนบุตร ๙ คน ของนายแก้ว และนาง โผ้เลี่ยน ถาวรสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๙ ณ หมู่บ้านพังขาม อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมื่ออายุได้ ๕-๗ ขวบ บิดามารดาได้ย้ายไปทำงานที่อื่น จึงได้ อยู่ในความอุปการะของยาย คือ นางชุม แจ่มใส เมื่ออายุย่างเข้า ๘ ขวบ ได้ย้ายตามบิดามารดา ไปอยู่ ณ บ้านดอนคัน เพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ที่ โรงเรียนลือสิทธิ์วิทยา วัดธรรมประดิษฐ์ จนจบการ ศึกษาและได้ช่วยบิดามารดาทำงานอยู่ที่บ้านจนอายุได้ ๑๕ ปี จึงขออนุญาต บรรพชา แต่มารดาบิดาไม่อนุญาต จึงขอผลัดไว้อีก ๓ ปี ในระหว่างที่รอ ๓ ปี ก็ได้ช่วยบิดามารดา ทำงานอย่างขยันขันแข็ง และเตรียมตัวใน การบรรพชา อย่างจริงจัง เมื่อมีเวลาว่างก็ไปอยู่ที่ วัดธรรมประดิษฐ์เพื่อเป็น การฝึกข้อวัตรปฏิบัติในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ก็ได้รับอนุญาต ให้บรรพชาได้ โดยท่านเจ้าคุณพระอุดมศีลคุณ(เริ่ม นนฺทิโย) วัดบุรณศิริมาตุยาราม ผู้เป็นหลวง อา ในสมัย ที่เป็นพระครูปลัดเถรธรรมวัฒน์ ได้นำไปฝากให้บวชที่วัดโสมนัสวิหาร โดย ถวายตัวเป็นศิษย์ของพระวินัยวงศ์เทวี (พวง ธมฺมธโร ป.ธ. ๕) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๙๖ โดยสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม ป.ธ. ๙) และได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค ตั้งแต่เป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๙๙ โดย มีสมเด็จพระวันรัต(จับ ฐิตธมฺโม ป.ธ. ๙ )ในสมัยที่ยังเป็นพระอมรมุนี พระราชาคณะชั้นเทพ เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์

2.พระราชพงษ์ปฏิพัทธ์

3.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

4.พระพุทธวิริยากร

5.พระสิริปัญญามุนี

6.สมเด็จพระวันรัต

7.พระธรรมวิสุทธิกวี

 

 


มงคลชีวิต 38 ประการ
โดย พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
มงคล ๓๘ ประการ
ดาวน์โหลด
ฟัง
   000 อารัมภบท
ฟัง
   001 การไม่คบคนพาล
ฟัง
   002 การคบบัณฑิต
ฟัง
   003 การบูชาผู้ควรบูชา
ฟัง
   004 การอยู่ในประเทศสมควร
ฟัง
   005 การได้สั่งสมบุญ
ฟัง
   006 การตั้งตนถูกทาง
ฟัง
   007 การคงแก่เรียน
ฟัง
   008 การมีศิลปะ
ฟัง
   009 การมีวินัย
ฟัง
   010 วาจาสุภาษิต
ฟัง
   011 การบำรุงบิดามารดา
ฟัง
   012 การสงเคราะห์บุตร
ฟัง
   013 การสงเคราะห์ภรรยา
ฟัง
   014 การงานไม่คั่งค้าง
ฟัง
   015 การบำเพ็ญทาน
ฟัง
   016 การประพฤติธรรม
ฟัง
   017 การสงเคราะห์ญาติ
ฟัง
   018 การงานไม่มีโทษ
ฟัง
   019 การงดเว้นจากบาป
ฟัง
   020 การสำรวมจากการดื่ม
ฟัง
   021 ความไม่ประมาทในธรรม
ฟัง
   022 ความเคารพ
ฟัง
   023 ความถ่อมตน
ฟัง
   024 ความสันโดษ
ฟัง
   025 ความกตัญญู
ฟัง
   026 การฟังธรรมตามกาล
ฟัง
   027 ความอดทน
ฟัง
   028 ความเป็นผู้ว่าง่าย
ฟัง
   029 การเห็นสมณะ
ฟัง
   030 การสนทนาธรรม
ฟัง
   031 การบำเพ็ญตบะ
ฟัง
   032 การประพฤติพรหมจรรย์
ฟัง
   033 การเห็นอริยสัจ
ฟัง
   034 การทำพระนิพพานให้แจ้ง
ฟัง
   035 จิตที่ไม่หวั่นไหว
ฟัง
   036 จิตที่ไม่เศร้าโศก
ฟัง
   037 จิตที่ปราศจากธุลี
ฟัง
   038 จิตเกษม
ฟัง

                                                                             
                                                                        
   

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล

พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

จบมงคลสูตร

ร้อยแก้ว มงคลสูตร ตามพระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน(รูปดอกบัว แก้ไขครั้งที่ ๒)

เชิงอรรถความหมาย

(๑) ไม่คบคนพาล

(๒) คบบัณฑิต

(๓) บูชาคนที่ควรบูชา

(๔) อยู่ในปฏิรูปเทศ อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี

(๕) ได้ทำความดีให้พร้อมไว้แต่ก่อน

(๖) ตั้งตนไว้ชอบ

(๗) เล่าเรียนศึกษามาก

(๘) มีศิลปวิทยา

(๙) มีระเบียบวินัย

(๑๐) วาจาสุภาษิต

(๑๑) บำรุงมารดาบิดา

(๑๒) สงเคราะห์บุตร

(๑๓) สงเคราะห์ภรรยา

(๑๔) การงานไม่อากูล

(๑๕) รู้จักให้

(๑๖) ประพฤติธรรม

(๑๗) สงเคราะห์ญาติ

(๑๘) การงานไม่มีโทษ

(๑๙) เว้นจากความชั่ว

(๒๐) เว้นจากาการดื่มน้ำเมา

(๒๑) ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

(๒๒) ความเคารพ

(๒๓) ความสุภาพอ่อนน้อม

(๒๔) ความสันโดษ

(๒๕) มีความกตัญญู

(๒๖) ฟังธรรมตามกาล

(๒๗) ความอดทน

(๒๘) เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

(๒๙) พบเห็นสมณะ

(๓๐) สนทนาธรรมตามกาล

(๓๑) มีความเพียรเผากิเลส

(๓๒) ประพฤติพรหมจรรย์

(๓๓) เห็นอริยสัจจ์

(๓๔) ทำพระนิพพานให้แจ้ง

(๓๕) ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว

(๓๖) จิตไร้เศร้า

(๓๗) จิตปราศจากธุลี

(๓๘) จิตเกษม


(ฝ่ายองค์สมเด็จชินสีห์ ตรัสตอบวาที ด้วยพระคาถาไพจิตร์)

๑. หนึ่งคือบ่คบพาล(๑) เพราะจะพาประพฤติผิด

หนึ่งคบกะบัณฑิต(๒) เพราะจะพาประสพผล

หนึ่งกราบและบูชา อภิบชะนีย์ชน(๓)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๒. ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุขี(๔)

อีกบุญญะการที่ ณ อดีตะมาดล(๕)

อีกหมั่นประพฤติควร ณ สะภาวะแห่งตน(๖)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๓. ความได้สดับมาก(๗) และกำหนดสุวาที

อีกศิลปะศาสตร์มี(๘) จะประกอบมนุญการ

อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ(๙)

อีกคำเพราะบรรสาน(๑๐) ฤดิแห่งประชาชน

ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๔. บำรุงบิดามา ตุระ(๑๑) ด้วยหทัยปรีย์

หากลูก(๑๒) และเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน(๑๓)

การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน(๑๔)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๕. ให้ทาน ณ กาลควร(๑๕) และประพฤติสุธรรมศรี(๑๖)

อีกสงเคราะห์ญาติ(๑๗)ที่ ปฏิบัติบำเรอตน

กอบกรรมะอันไร้ ทุษะกลั้วและมัวมล(๑๘)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๖. ความงดประพฤติบาป(๑๙) อกุศลบ่ให้มี

สำรวมวรินทรีย์ และสุราบ่เมามล(๒๐)

ความไม่ประมาทใน พหุธรรมะโกศล(๒๑)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๗. เคารพ(๒๒) ณ ผู้ควร จะประณตและนอมศีร์

อีกหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง(๒๓)

ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทยานปอง(๒๔)

อีกรู้คุณาของ นรผู้ประคองตน(๒๕)

ฟังธรรมะโดยกา- ละ(๒๖) เจริญคุณานนท์

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๘. มีจิตตะอดทน และสถิต ณ ขันตี(๒๗)

อีกหนึ่งบ่พึงมี ฤดิดื้อทนงหาญ(๒๘)

หนึ่งเห็นคณาเลิด สมณาวราจารย์(๒๙)

กล่าวธรรมะโดยกาล(๓๐) วรกิจจะโกศล

ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๙. เพียรเผากิเลสล้าง มละโทษะยายี(๓๑)

อีกประการหนึ่งประพฤติตดี ดุจะพรหมพิสุทธ์สรรพ์(๓๒)

เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ พระอะรียะสัจอัน(๓๓)

อาจนำมนุษผัน ติระข้ามทเลวน

อีกทำพระนิพพา นะประจักษะแก่ชน(๓๔)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๑๐. จิตใครผิได้ต้อง วรโลกะธรรมศรี

แล้วย่อมบ่พึงมี จะประหวั่นฤกังวล(๓๕)

ไร้โศก(๓๖) ธุลีสูญ(๓๗) และสบายบ่มั่วมล(๓๘)

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๑๑. เทวามนุษทำ วรมงคะลาฉนี้

เป็นผู้ประเสริฐที่ บ่มิแพ้ ณ แห่งหน

ย่อมถึงสวัสดี สิริทุกประเทศดล

ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี



บทความต่างๆใน วารสารเมธาธรรม.
มีดังนี้


 


Heute waren schon 1 Besucher (4 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden