vipassana - 69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt


ศีล

ศีล 5         ศีล 8         ศีล 10         ศีล 227        

               ศีล ๘ มีความหมายคือ
สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ

๑. เว้นจากทำลายชีวิต
๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

               อาราธนาศีล 8
(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ (ว่า 3 ครั้ง)

ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ

               คำสมาทาน ว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)

อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)

อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์)

มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ )

วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)

นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากพูด ฟัง ฟ้อนรำ ขับรอ้งและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ และดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล และทัดทรงตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับและดอกไม้ของหอม เครื่องทาเครื่องย้อม ผัดผิวให้งามต่าง ๆ)

อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากนั่ง นอน เหนือเตียง ตั่ง มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในใส่นุ่นและสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลดลายงามด้วยเงินทองต่าง ๆ)

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า 3 ครั้ง)

ศีล 227 ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

เนื้อหา

[ซ่อน]

 

บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีกแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความอยากครอบงำแล้วพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็น ปาราชิก

อนาบัติ

1.ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ 2.ภิกษุไม่ประสงค์จะกล่าวอวด 3.ภิกษุวิกลจริต 4.ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน 5.ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา 6.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระพุทธเจ้าประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นมีภิกษุหลายรูปที่ชอบพอเป็นมิตรสหายกัน จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา สมัยนั้น เกิดทุพภิกขภัยในแคว้นวัชชี (ราชธานีชื่อเวสาลี) ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยเรื่องอาหารบิณฑบาต จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรดี.

บางรูปเห็นว่า ควรช่วยแนะนำกิจการงานของคฤหัสถ์ บางรูปเห็นว่าควรทำหน้าที่ทูต (คือ นำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้ คล้ายบุรุษไปรษณีย์) บางรูปเห็นว่า ควรใช้วิธีสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังว่า ภิกษุรูปนั้น รูปนี้ มีคุณวิเศษอย่างนั้น อย่างนี้ เช่น ได้ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 เป็นต้น จนถึงว่าได้เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ มีวิชชา 3 มีอภิญญา 6

เมื่อเห็นว่าวิธีหลังนี้ดี จึงเที่ยวสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคฤหัสถ์ ชาวริมน้ำวัดคุมุทาเป็นอย่างดี มีผิวพรรณ ผ่องใส เอิบอิ่ม เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงเก็บเสนาสนะเดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ กรุงเวสาลี.

ปรากฎว่าภิกษุที่มาแต่ทิศทางอื่นล้วนซูบผอม ผิวพรรณทราม มีเส้นเอ็นขึ้นเห็นได้ชัด ส่วนภิกษุที่มาจากฝั่งน้ำวัดคุมุทากลับอิ่มเอิบ อ้วนพี พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามทุกข์สุข และทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัสติเตียนและเรียกประชุมภิกษุทั้งหลาย ตรัสเรื่องมหาโจร 5 ประเภท เปรียบเทียบกับภิกษุว่า

มหาโจร 5 จำพวก

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจร 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก มหาโจร 5 จำพวกเป็นไฉน?

1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี เบียดเบียนเองให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเองให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเองให้ผู้อื่นเผาผลาญสมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี เบียดเบียนเองให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเองให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเองให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร สมัยต่อมาเธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานีอันคฤหัสถ์ และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 1 มีปรากฏอยู่ในโลก

2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อวดอ้างว่าเป็นของตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 2 มีปรากฏอยู่ในโลก

3. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อัน หามูลมิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 3 มีปรากฏอยู่ในโลก

4. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 4 มีปรากฏอยู่ในโลก

5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสธรรมอันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.”

ครั้งแล้วทรงติเตียนภิกษุชาวริมฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา ด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน เมื่ออวดไปแล้ว แม้จะออกตัวสารภาพผิดทีหลัง ก็ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ.

อนุบัญญัติ

สมัยนั้น ภิกษุหลายรูป สำคัญผิดว่าตนได้บรรลุคุณพิเศษ จึงประกาศตนว่า เป็นพระอรหันต์ (พยากรณ์อรหัตตผล) สมัยต่อมาจิตของเธอน้อมไปเพื่อราคะ โทสะ โมหะ ก็เกิดความรังเกียจ สงสัยว่า การประกาศตนว่าได้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยความสำคัญผิด จะทำให้ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม ยกเว้นให้สำหรับภิกษุผู้สำคัญว่าได้บรรลุ

องค์แห่งอาบัติ 1.อุตตริมนุสสธรรมไม่มีในตน 2.อวดด้วยมุ่งลาภ สรรเสริญ 3.ไม่้อ้างผู้อื่น 4.บอกแก่ผู้ใดผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์ 5.เขารู้ด้วยความในขณะนั้น พร้อม ด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นปาราชิก


สลดใจ 'พระภิกษุ-สามเณร' ทำเสื่อมศรัทธา งานหน้า 'กินเหล้า-เมายา-มั่วสีกา-ตุ๊ด-แต๋ว'

วันที่ : 10 กุมภาพันธ์ 2552
 

สร้าง ความตกใจและเศร้าใจให้พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ กรณี “พระครู” ที่ถือว่าเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ มีตำแหน่งในหมู่สงฆ์เป็นถึงเจ้าคณะตำบลและเจ้าอาวาสวัดดังในจังหวัดภาค เหนือ  มีพฤติกรรมบัดสี แต่งกายเป็นหญิงสาวใช้นามแฝงว่า “เจ๊ดาว” ตระเวนเที่ยวสถานบันเทิงและใช้เงินที่ได้รับการถวายด้วยความศรัทธาจากญาติ โยม “ซื้อผู้ชาย” ไปเสพสุขเป็นประจำ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษาชายรูปร่างน่าตาดีไม่เคยพ้นเงื้อมมือ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา จนถึงขั้นเล่าลือว่าพระครูฉาว “แปลงเพศ” และเสริมอึ๋มไว้ยั่วผู้ชายอีกต่างหาก
 
ได้ยินได้ฟังเรื่องนี้แล้วคงทำได้แค่ปลงสังเวช หวังกรรมสนองให้สาสมเพียงสถานเดียว เหลือเชื่อจริง ๆ ไม่ต้องรอให้ถึง “ชาติหน้า” เพียง “ชาตินี้” ก็เห็นผล อลัชชีฉาวสุขสมไม่นานนักพฤติกรรมบัดสีบัดเถลิงก็ถูกเปิดเผยออกมา “ประจาน” ให้ขายหน้าแทรกแผ่นดินหนี ทนไม่ไหวไปแอบลา สิกขาเงียบ ๆ อำลาเพศบรรพชิตไปพร้อมมลทินติดตัว
 
ในปัจจุบันปัญหาพระภิกษุสามเณรประพฤติตัวไม่เหมาะสม ปรากฏเป็นข่าว  อยู่เนือง ๆ ไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านั้นก็มีพระผู้ใหญ่ระดับเจ้าอาวาสวัดดังใน จ.นครศรีธรรมราช ตบตีลูกศิษย์วัดคู่ขาไม้ป่าเดียวกันด้วยความโมโห หลังโดนจับได้ “คาหนังคาเขา” ว่าแอบนอกใจไปตั้งวงดื่มเหล้าเบียร์กับวัยรุ่นคนอื่นก่อนมีสัมพันธ์ทางเพศ กันแบบวิตถาร
 
แม้วันนี้พระครูฉาวจะถูกสังคมลงโทษจนต้องลาสิกขาไปและถูกตำรวจตามล่าตัว เพื่อดำเนินคดีในข้อหาทำร้ายร่างกาย แต่ความเสื่อมเสียและมลทินที่ก่อกรรมทำเข็ญไว้คงไม่มีทางลบล้างไปได้ง่าย ๆ เป็นแน่แท้
 
นอกจากนี้ยังมีกรณี “พระตุ๊ด-เณรแต๋ว” มาให้ปวดหัวก่อนล่าสุดพระครูแต่งหญิงใช้นามแฝง “เจ๊ดาว” ออฟหนุ่ม ๆ ไปเสพสุขโผล่ฉาวโฉ่ นี่แค่เบาะ ๆ ไม่นับรวมพระเสพเมถุน ล่อลวงสาวเข้าโรงแรม เล่นอินเทอร์เน็ต เล่นเกม ดูหนังลามก ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่หรืออีกนานแค่ไหน เรื่องน่าละอายแบบนี้จะจบสิ้นเสียที
 
ใครบ้างจะเชื่อว่าภาพหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์หรือผ้าเหลือง ที่เดินบิณฑบาตโปรดญาติโยมทุกเช้าด้วยท่าทีน่าเลื่อมใสศรัทธา แต่เบื้องหลังไม่แน่ว่าอาจเป็นเพียง “เหลือบเหลือง” ตัวการทำให้ศาสนามัวหมองก็ได้ ซึ่งเราไม่สามารถพิสูจน์ทราบหรือล่วงรู้ได้เลยจนกว่าเรื่องอื้อฉาวจะโผล่ออก มา เปรียบเสมือนคำโบราณ “ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด”
 
เหตุการณ์ต่าง ๆ ตอกย้ำทำให้ “ศาสนา” ค่อย ๆ เสื่อมคุณค่าลงไปในสายตาของผู้ศรัทธา ซึ่งในความจริงแล้วหากคิดกันดี ๆ โดยใช้สติไตร่ตรองจะรู้ว่า “ศาสนา” ไม่เคยเสื่อม แต่บุคคล ที่ทำหน้าที่สืบทอดศาสนาต่างหากที่เสื่อมและนับวันยิ่งเสื่อมลงมากขึ้นทุกที
 
พระภิกษุนักศึกษารูปหนึ่งถ่ายทอดข้อเขียนเกี่ยวกับ “มุมมองพระสงฆ์ไทยทำผิดพระธรรมวินัย” ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ข่าวพระสงฆ์ไทยทำผิดพระธรรมวินัยมีอย่างต่อเนื่อง  ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อความศรัทธาและความเชื่อมั่นของพุทธศาสนิก ชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก เพราะพระสงฆ์ถือ ว่าเป็นผู้สืบทอดพระธรรม คำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากอดีตกาลจวบจนปัจจุบัน หากเกิดเรื่องไม่ดีงามในหมู่สงฆ์ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า อนาคตของพุทธศาสนา จะเป็นอย่างไร”
 
หากย้อนกลับไปศึกษาพระไตรปิฎกหรือพุทธประวัติจะพบว่า ในสมัยทรงมีพระชนม์ชีพ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมศาสดาของศาสนาพุทธ เคยตรัสฝากพระพุทธศาสนาไว้กับ  “พุทธบริษัท” รวม 4 จำพวก คือ ภิกษุ (รวมถึงสามเณร) ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา
 
หากใครก็ตามที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมเสีย ควรคิดเสียใหม่และอยากให้เข้าใจว่า “พระสงฆ์” หรือสมมุติสงฆ์ เป็นเพียงลูกหลานชาว บ้านที่พลิกผันชีวิตเข้ามาในพระธรรมวินัยเพื่อปฏิบัติสู่ความเป็นอริยสงฆ์ ดังนั้นพระสงฆ์ทั่วไปยังถือเป็น “ปุถุชน” เหมือนคนอื่นในสังคม มีทั้งดีบ้างเลวบ้างคละเคล้ากันไป เพียงแต่พระสงฆ์มี “ศีล” เป็นเกราะป้องกันตัวเองและหลีกเลี่ยงจากความเสียหายจากการปฏิบัติมากกว่า ฆราวาส มีข้อปฏิบัติอันช่วยลด-ละกิเลสตัณหาให้เบาบางลง
 
ขอให้ทุกคนเข้าใจว่าพระสงฆ์เป็นผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส ฉะนั้นกิเลสจึงยังไม่หมดไปจากจิตใจ เว้นเสียแต่บำเพ็ญเพียรบรรลุมรรคผลนิพพานเป็น “พระอรหันต์” ที่ตัดกิเลสได้ทั้งปวงแล้วเท่านั้น
 
ทั้งนี้คนที่เข้ามาบวชเป็นพระ ใช่ว่าจะดีเหมือนกันหมดหรือดีเท่ากันหมด กระบวนการคัดเลือกเข้ามาบวชในพุทธศาสนามักค่อนข้างหละหลวมไม่รัดกุม เป็นเหตุให้มีคนไม่ดีปะปนเข้ามาบ้างบางราย
 
มีคำพูดกล่าวกันเล่น ๆ ถึงพวกประเภท บวชเพราะอกหัก หลักลอย คอยงาน สังขารเสื่อม เป็นต้น คนเหล่านี้ไม่ได้บวชเพราะศรัทธา เมื่อเข้ามาในหมู่สงฆ์ย่อมเป็นอันตราย อย่างยิ่งต่อพุทธศาสนา
 
อย่างไรก็ตามคนเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะสร้างปัญหากันทุกคน บางคนอาจศรัทธาในภายหลัง มุ่งมั่นศึกษาพระธรรม เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยก็มีอยู่มาก มีเพียงบางส่วนที่นอกลู่นอกทาง เพราะทนต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ไม่ได้ เรียกว่า “ตบะแตก”
 
สิ่งสำคัญคือทุกคนควรยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสัจธรรมที่แท้จริง ไม่เสื่อมไปตามกาลเวลา ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ดังพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า “พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุถึงจะเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในคน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตนฯ” (พระสุตตันปิฎกเล่มที่ 3 ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ 241)
 
อย่างไรก็ตามหากมีพระภิกษุทำผิดก็ต้องถูกลงโทษตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์ที่มีตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปกครองคณะสงฆ์ในแบบ “ธรรมาธิปไตย” กล่าวคือ ทรงแสดงธรรม บัญญัติพระวินัย ทรงบริหารคณะสงฆ์และพระศาสนา ทรงวินิจฉัยอธิกรณ์ของพระภิกษุ โดยพระพุทธองค์เป็นธรรมราชา มีพระสารีบุตรเป็นพระธรรมเสนาบดี เป็นผู้ช่วยตามที่ทรงโปรดให้ช่วย พร้อมด้วยพระโมคคัลลานะและพระเถระทั้งปวง ผู้เป็นสังฆบิดรและสังฆปริณายก เป็น หมู่ ๆ ทรงให้สงฆ์ประชุมร่วมทำสังฆกรรม เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัยและต้องมีมติเอกฉันท์เป็นสำคัญ
 
พระธรรมวินัย คือ ศีล 227  ข้อ เป็นแบบแผนให้พระสงฆ์ถือปฏิบัติ ทำให้พระสงฆ์มีระเบียบเรียบร้อยน่าเคารพน่าสักการบูชา
 
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งได้เป็น 2 ส่วน เรียกว่า ธรรม และ วินัย
 
“ธรรม” คือ หลักคำสอนว่าด้วยความจริงของสิ่งทั้งหลาย พร้อมข้อประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัสแสดงไว้โดยสอดคล้องกับความจริง
 
“วินัย” คือ ประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการเป็นอยู่หรือกฎระเบียบต่าง ๆ ของสงฆ์ ที่ดำรงไว้ซึ่งภาวะอันเกื้อหนุนให้ภิกษุ ภิกษุณีประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้นอย่างได้ผลดีและรักษาพระศาสนาไว้ได้
 
ด้วยเหตุนี้ในพุทธศาสนาจึงนำ 2 ส่วนมารวมกันเรียกว่า “พระธรรมวินัย” เมื่อใช้เป็นข้อบังคับเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า  “ศีล” นั่นเอง
 
“ศีล” คือ ข้อบังคับหรือพระธรรมวินัยสำหรับพระภิกษุกำหนดให้ต้องถือศีล 227 ข้อ อยู่ในภิกขุปาฏิโมกข์ หากมีการทำผิดศีลจะเรียกว่า “อาบัติ” แบ่งออกได้ตามลำดับชั้นของความผิด ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนถึงเบาที่สุด ซึ่งจะขอนำมาเสนอให้ทราบเพียงสังเขปเท่านั้น
 
โดยโทษรุนแรงที่สุด “ขาดจากความเป็นพระ” คือ อาบัติปาราชิก ตาม พระธรรมวินัยกำหนดไว้ 4 ข้อ ได้แก่ 1. เสพเมถุน (สังวาสกับคนหรือสัตว์) 2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย) 3. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์  4. กล่าวอวดอุตริมนุสสธัมม์ ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง (ข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับ หลวง เล่ม 1 ข้อที่ 10-300)
 
หากภิกษุรูปใดอาบัติปาราชิกแล้ว ไม่มีวิธีแก้ไขหรือแก้กรรมหรือหวนกลับมาบวชได้อีกต้องพ้นสภาพจากความเป็นพระ เป็นเพศฆราวาสสถานเดียวเท่านั้น
 
กรณีพระครูฉาว “เจ๊ดาว” ออฟ หนุ่มเสพสุขหรือพระครูฉาวทำร้ายร่างกายลูกศิษย์วัดคู่ขาไม้ป่าเดียวกัน รวมทั้งพระรูป  อื่น ๆ ที่เสพเมถุนกับหญิงสาว ก็ถือว่าเข้า    ข่ายความผิดฐานปาราชิก ต้องพ้นสภาพความเป็นพระไปโดยปริยาย เพราะผิดพระธรรมวินัย แต่ไม่มีความผิดในทางโลก ยกเว้นถูกแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาอื่น ๆ
 
ปัญหาพระนอกรีตจัดเป็น “ปัญหา  โลกแตก” เดี๋ยวก็โผล่มาให้เห็นอีก ยังไม่หมดไปง่าย ๆ คงต้องลุ้นผู้เกี่ยวข้องหา    “มาตรการ” ควบคุมความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุและการเอาจริงเอาจังกับ “เหลือบ” เหล่านี้ให้สูญพันธุ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป.

ข้อควรรู้ : ความผิดพระภิกษุในพระธรรมวินัย
 
เมื่อพระภิกษุทำผิดศีลหรือพระธรรมวินัยจะเรียกว่า     “อาบัติ” มีความผิดดังนี้
 
โทษหนักสุดคือ “ปาราชิก” มี 4 ข้อ เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิกในข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาก็ตาม  ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที ได้แก่
 
1. เสพเมถุน (สังวาสกับคนหรือสัตว์)
 
2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี หรือเรียกง่าย ๆ ว่าขโมย
 
3. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
 
4. กล่าวอวดอุตริมนุสสธัมม์ ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง
 
โทษรองมาคือ “สังฆาทิเสส” มี 13 ข้อ ถือเป็นความผิด หากทำสิ่งต่อไปนี้
 
1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
 
2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
 
3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
 
4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกามหรือถ้อยคำพาดพิงเมถุน
 
5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
 
6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
 
7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
 
8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
 
9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
 
10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
 
11. เป็นพวกของผู้ที่ทำให้สงฆ์แตกกัน
 
12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
 
13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
 
(แม้อาบัติสังฆาทิเสสจะไม่ร้ายแรงถึงขั้นปาราชิก ภิกษุก็ต้องไปเข้าพิธี “ปริวาสกรรม” หรือ “ล้างบาป” ให้สิ่งแปดเปื้อนทั้งหลายหมดไปจากร่างกายและจิตใจ)
 
“อนิยตกัณฑ์” มี 2 ข้อ คือ
 
1. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 3 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
 
2. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียวและมีผู้มา เห็นเป็นผู้เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆทิเสสก็ดีหรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว.


Heute waren schon 4 Besucher (15 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden