vipassana - F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

 

การปฏิบัติสำหรับกรณีฉุกเฉิน
ตั้งสติให้ได้อย่าตกใจ
ขอความช่วยเหลือ

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ช่วยหายใจ ให้อากาศเข้าปอดสะดวก คลายเสื้อผ้าให้หลวม
ห้ามเลือด นอนนิ่งๆ ห่มผ้า คอยสังเกตอาการ จับชีพจรเป็นระยะ
ถ้ามีกระดูกหักอย่าเคลื่อนย้าย ห้ามรัปประทานสิ่งใด (ถ้าไฟลวกรุนแรงให้จิบน้ำคำเล็กๆ)


อุปกรณ์ปฐมพยาบาล


อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
สำลี
ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
ผ้าสามเหลี่ยม
ผ้ากอซพันแผลขนาดต่างๆ
กรรไกรขนาดกลาง
เข็มกลัดซ่อนปลาย
แก้วล้างตา
พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น
ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ( Elsatic bandage)
ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้
top ยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาประจำบ้าน

ยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาประจำบ้าน
ยาแก้ปวดลดไข้ : ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก.
ยาแก้แพ้,ลดน้ำมูก : ยาเม็ดคลอเฟนิรามีน 4 มก. ,2 มก.
ยาแก้ปวดท้องท้องอืด ท้องเฟ้อ : ยาธาตุน้ำแดง ,ยาธาตุน้ำขาว , โซดามิ้นท์ , ขมิ้นชันแคปซูล
ยาโรคกระเพาะ : ยาเม็ดอลูมินาเมกนีเซีย , ไตรซิลิเคท
ยาแก้ท้องเสีย : ยาน้ำเคาลินเปคติน ผงน้ำตาลเกลือแร่
ยาใส่แผล : ทิงเจอร์ใส่แผลสด , ไอโปดีน
ยาล้างตา : โบริคโซลูชั่น
ยาล้างแผล เช็ดแผล : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ , แอลกอฮอล์เช็ดแผล
ยาทาแก้แพ้แก้คัน : คาลาไมน์
ยาทานวด : ขี้ผึ้งปวดบวม , ครีมระกำ , GPO บาล์ม
ยาแก้ไอผู้ใหญ่ : ยาแก้ไอน้ำดำ , ยาขับเสมหะ
ยาแก้ไอเด็ก : ยาแก้ไอขับเสมหะ , ยาแก้ไอเด็กเล็ก ,
ยาระบาย : ยาระบายเม็กนีเซีย , มะขามแขก , ยาเม็ดมะขามแขก
ยาสูดดม : เหล้าแอมโมเนีย

 ความปลอดภัยสำหรับเด็ก


ความปลอดภัยสำหรับเด็ก
อย่าปล่อยทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบไว้กับสิ่งใดที่อุดตันทางเดินหายใจได้ เช่นถุงพลาสติก ให้เลือกของเล่นชิ้นใหญ่ ๆ ที่ใส่ปากไม่ได้
อย่าให้หมอนกับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี
อย่าทิ้งทารกไว้กับขวดนมหรืออาหารนมหรืออาหารตามลำพัง (เพราะอาจทำให้เด็กสำลักได้)
ห้ามให้ถั่วลิสง ,น้อยหน่า, มะขาม แก่เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ
อย่าปล่อยเด็กทารกไว้บนเตียงกับคุณนาน ๆ (เพราะอาจเผลอหลับทับเด็กได้)
อย่าปล่อยเด็กหรือทารกไว้บนที่ยกสูงตามลำพัง
รถหัดเดินควรมีฐานและล้อที่แข็งแร็ง
อย่าปล่อยเด็กหรือทารกไว้บนเก้าฮี้สูงโดยไม่มีเครื่องรัดตัว
อย่าให้เด็กสวมถุงหน้าเดินไปเดินมา
อย่าวางแจกันแก้ว ,กาน้ำร้อนไว้บนโต๊ะเตี้ย หรือในระยะที่เด็กเอื้อมมือถึง
หาที่ครอบปลั๊กไฟและสอนไม่ให้เล่นปลั๊กไฟ ,พัดลม เมื่อเด็กเรียนรู้และสอนจุดอันตรายต่างๆ ให้เด็กทราบ
ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบข้ามถนนตามลำพังและจูงมือเด็กที่ต่ำกว่าอายุ 5 ขวบข้ามถนนเสมอ
อย่าถือของร้อน ,ถ้วยกาแฟร้อน ๆ เหนือศรีษะเด็ก
บ้านที่มีเด็กในวัยหัดเดินเตาะแตะ ไม่ควรใช้ผ้าปูโต๊ะที่มีชายให้เด็กดึงได้

บาดเจ็บที่ตา


กรดหรือด่างเข้าตา อย่าขยี้ตา ,ล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ
รีบไปพบแพทย์
ถูกของแหลมทิ่ม ให้นอนหลับตา ปิดตาด้วยผ้ากอซหรือผ้าเช็ดหน้า อย่าขยับสายตาไปมา
รีบพบแพทย์ทันที
สิ่งแปลกปลอมเข้าตาขาว ขยี้ตาเบา ๆ กระพริบตา , ล้างตาหรือเงยสายตาขึ้นด้านบน ใช้มุมผ้าเช็ดหน้าเขี่ยผงออก ถ้าไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์
ถูกกระแทกที่ดวงตา ประคบด้วยความเย็นทันที
รีบไปพบแพทย์

กระดูกหัก


กระดูกหัก
วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ

 เลือดออก

เลือดออก
ใช้นิ้วกดบาดแผล ประมาณ 10 นาที หรือบีบเนื้อข้าง ๆ มาปิดแผล ใช้ผ้าหรือเน็คไท พันปิดแผลไว้ (อย่าให้แน่นจนชา)
แผลที่แขน , ขาให้ยกสูง ถ้าเลือดไหลไม่ให้กดเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงแขน ขา

ช็อค 


สาเหตุ
โรคหัวใจกำเริบ ,บาดเจ็บรุนแรง , เลือดออกมาก ,ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ,กระดูกหัก ,อาเจียน หรือท้องเสียรุนแรง
อาการ
หนาวเย็น ,เหงื่อออก , เวียนศรีษะ , หายใจเร็วขึ้น ,ชีพจรเร็วแต่แผ่ว ,กลัว ,กระหาย
การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล
ให้นอนราบ ,ถ้าเลือดออกห้ามเลือด ,ห่มผ้า ,คลายเสื้อผ้า
อย่าเคลื่อนไหวผู้ป่วย, ถ้าบาดเจ็บที่อก, ท้อง, ศรีษะ ให้หนุนศรีษะและบ่าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย คอยปลอบใจ ถ้ากระหายน้ำมาก ให้หยดน้ำที่ริมฝีปากนิด ๆ (ห้ามรัปประทานสิ่งใดๆ)


สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม

สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม
ทารก --ตบอย่างรวดเร็วกลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
เด็กเล็ก ---ตบกลางหลังหนัก ๆ 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
เด็กโตและผู้ใหญ่ --ตบหนัก ๆ และเร็ว ๆ กลางหลัง 4 ครั้งในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด


ไฟฟ้าช็อต

ไฟฟ้าช็อต
รีบปิดสวิตซ์ไฟทันที
ถ้าไม่สามารถปิดสวิทช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟช็อตแล้วให้นำสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้กวาด ,เก้าฮีไม้ เขี่ยออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้ว รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจด้วย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลด้วย

สัตว์กัด

สุนัขกัด
ถ้าเลือดออก ห้ามเลือนทันที (ด้วยผ้าก็อซหรือบีบแผล)
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้าก็อซสะอาด
รีบไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีน

งูกัด
ดูรอยแผล ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว
ใช้เชือกรัดหรือยาง หรือเข็มขัดรัดเหนือแผลให้แน่นพอควร
ให้นอนนิ่ง ๆ คอยปลอบใจ
ห้ามดื่มสุรา ,ยาดองเหล้า ,ยากล่อมประสาท
ถ้าอยุดหายใจให้ช่วยหายใจทันที
ควรนำงูไปพบแพทย์ด้วย

แมลงต่อย
ถ้าถูกต่อยหลายตัว หรือต่อยบริเวณหน้า ให้รีบไปพบแพทย์
พยายามถอนเหล็กไน(โดยใช้หลอดกาแฟเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือปากกาครอบแล้วกดให้เหล็กในโผล่ แล้วดึงเหล็กไนออก)
ใช้ยาแก้แพ้ทา หรือราดด้วยน้ำโซดา หรือประคบด้วยน้ำแข็ง (ปกติอาการบวมจะลดลงใน 1 วันถ้าไม่ลดให้พบแพทย์)
ถ้ามีอาการปวด กินยาแก้ปวด (พาราเซตามอล)

ทากดูดเลือด

ห้ามดึง เพราะเลือดจะหยุดยาก
จี้ทากด้วยบุหรี่ติดไฟ หรือไม่ขีดติดไฟให้ทากหลุด
ล้างแผลให้สะอาด ใส่ทิงเจอร์แผลสด เบตาดีน 

 อาการแพ้พิษแมลงที่ต้องไปพบแพทย์ทันที

ช็อค เวียนศรีษะ ตัวซีด เหงื่อออก อาเจียน หายใจ ลำบาก ผื่นขึ้นที่ตา ตาบวม

โดนพิษสัตว์ทะเล

โดนเงี่ยงปลาที่มีพิษ
แช่น้ำร้อนพอทน(40'C หรือ 104 'F)นาน 4-5 นาที จะช่วยให้หายปวด

โดนแมงกระพรุนไฟ
ใช้ทรายหรือผักบุงทะเลถูเมือกออก
ล้างด้วยน้ำสบู่
ทาด้วยน้ำปูนใส , แอมโมเนีย ,เพรดนิโซโลนครีม ,หรือเบตาเทธธาโซนครีม
top ลมพิษ

สาเหตุ
โดนสารที่แพ้ ,พืช ,สารเคมี, แพ้อาหารทะเล ,เหล้า ,เบียร์ ,ละอองต่าง ๆ

การปฐมพยาบาล
ทายาแก้ผดผื่นคัน ,คาลาไมน์ ,เพรดนิโซโลนครีม , เบตาเมทธาโซนครีม
กินยาแก้แพ้ คลอเฟนนิรามีน ขนาด 4 มก. 1 เม็ด
หาสาเหตุที่แพ้
ถ้าผื่นไม่ยุบลง และเพิ่มมากขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

เป็นลม
ห้ามคนมุงดู พาเข้าที่ร่มในให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม
จัดให้นอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันในเรื่องทางเดินหายใจอุด ตัน โดยเฉพาะลิ้นของผู้ป่วยมักจะตกไปทางด้านหลังของลำคอ ทำให้หายใจไม่ออก
ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าผากมือ และเท้า
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบนำส่งโรงพยาบาล


เลือดกำเดาออก

สาเหตุ
จากการกระแทก , สั่งน้ำมูก , การแคะจมูก

สาเหตุ
นั่งลง , ก้มศรีษะเล็กน้อย ,บีบจมูกนาน 10 นาที (หายใจทางปาก)
วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็น ๆบนสันจมูก หน้าผาก ใต้ขากรรไกร
ถ้าไม่หยุด รีบไปพบแพทย์

เลือดออกไม่หยุดหลังจากการถอนฟัน

กัดผ้าก็อซชิ้นใหม่ซ้ำ ,อมน้ำแข็ง (ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก)
ประคบน้ำแข็งนอกปาก
ถ้ายังไม่หยุด ให้รีบไปพบแพทย์

ของเข้ารูจมูก

บีบจมูกข้างที่ไม่มีของ , สั่งข้างที่ไม่มีของแรง ๆ
อย่าพยายามแคะออก
ถ้าเป็นเด็กให้หันเหความสนใจจากจมูก ให้หายใจทางปาก
พบแพทย์ทันที


หู

หูอื้อ
กรณีเป็นหูน้ำหนวกอยู่ ให้รีบรักษาให้หาย
กรณีหูอื้อไม่ทราบสาเหตุ อาจจะมาจากการมีขี้หูมาก , ขึ้นหูเหนียว , ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อดึงขึ้หูหรือดูดขึ้หูออก

ของเข้าหู
ตะแคงศรีษะ หันหูข้างที่มีของเข้าไปลงให้หล่นออกมาเอง
ถ้าไม่ออก ห้ามแคะ รีบไปพบแพทย์

แมลงเข้าหู
พาไปในที่มืด ใช้ไฟฉายส่อง(ให้แมลงออกมาตามแสง)หรือหยอดด้วยน้ำมันหรือกลีเชอรีนบอแรกซ์ ให้แมลงลอยออกมาแล้วจึงเขียออกหรือคีบออก ถ้าไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์ทันที

คันในหู(เพราะเป็นเชื้อรา)
ใช้ไม้พันสำลีชุบทิงเจอร์แผลสด ทำในรูหูวันละ 2-3 ครั้ง


หอบ-หืด

ให้ผู้ป่วยนั่งยืนในท่าเอนตัวไปข้างหน้า หลังและหน้าอกตรง
คลายเสื้อผ้า ให้อากาศบริสุทธิ์ผ่านเข้าห้อง
ปลอบมิให้ตกใจ ,วิตก ,กังวล
ถ้าเป็นครั้งแรกรีบไปพบแพทย์ทันที
กรณีผู้ป่วยพ่นยาหรือกินยาประจำ ให้รีบใช้ทันที


พุ-พอง

จากการเสียดสี ,ไฟไหม้ ,น้ำร้อนลวก ผิวหนังชั้นนอกออกจากชั้นในมีน้ำมาขังอยู่
คันในหู(เพราะเป็นเชื้อรา)
ถ้าเป็นแผลเล็ก ไม่ต้องทำอะไร ปกติร่างกายจะดูดซึมน้ำกลับไปเองและผิวหนังชั้นนอกจะลอกตัวไปเอง
ถ้าบริเวณที่พุพองขยายตัวกว้างขึ้นไปให้รีบไปพบแพทย์ 


 ฟกซ้ำ ,หัวโน ,ห้อเลือด

ให้ประคบด้วยความเย็นให้เร็วที่สุด เพื่อลดอาการบวม ,เจ็บ หรือใช้มะนาวผสมดินสอพองพอกไว้ (ปกติรอบฟกซ้ำจะหายไปเอง)
ถ้าเกิดอาการนานเกิน 24 ชั่วโมงใช้ประคบและคลึงด้วยผ้าชุบน้ำร้อนวันละ 2-3 ครั้ง


ไฟไหม้ ,น้ำร้อนลวก

ฉีกหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกออก
เสื้อผ้าที่ไหม้ไฟและดับแล้ว ถ้าติดที่แผล ไม่ต้องดึงออก
ถอดเครื่องประดับที่รัดอยู่ เช่นแหวน, เข็มขัด ,นาฬิกา ,รองเท้า ,(เพราะอาจจะบวมทำให้ถอดยาก)
ทำให้บริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเย็นลงโดยเร็วที่สุด(ทำอย่างน้อย 10 นาที )
ใช้ผ้าก็อซปราศจากเชื้อปิดแผล กรณีแผลใหญ่ ใช้ผ้าปิดพันด้วยผ้ายืดหลวม ๆ 

 ข้อเคล็ด

ให้บริเวณข้อนั้น ๆ อยู่นิ่ง ๆ และยกสูงไว้
ประคบน้ำแข็งทันที เพื่อลดอาการบวม ,ปวด
ถ้าภายหลังมีอาการบวมให้ประคบด้วยน้ำร้อน หรือนวดด้วยยาหม่อง หรือน้ำมันระกำ
ถ้าปวดมาก บวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์

อาการปวดท้องที่ควรไปพบแพทย์ทันที

ปวดท้องพร้อมอาเจียนเป็นเลือด
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ หรือคนชรา
ปวดท้องเพราะถูกกระแทก ,ทุบ ,ตี หรือตกจากที่สูง
ปวดนานหลายชั่วโมง
ปวดมากจนนอนไม่หลับ

ท้องเดิน ,ท้องร่วง ,ท้องเสีย

ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
งดอาหารรสจัด ,และย่อยยาก เลือกกินอาหารเหลวกินจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ดื่มน้ำเกลือแร่หรือผสมเอง (เกลือ 1/2 ช้อนชา+น้ำ 1 ขวดแม่โขง)
ดื่มน้ำชาแก่ ๆ
ถ้าถ่ายรุนแรง มีอาเจียน อ่อนเพลียมาก หน้ามืดเป็นลม และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงให้รีบไปพบแพทย์

ในเด็กเล็ก เด็กทารก
งดนมและอาหาร ประมาณ 2-4 ชั่วโมง ดื่มน้ำเกลือแร่ (ทารกใช้เกลือ 1/2ช้อน+น้ำ 1ขวดแม่โขง)
ถ้าเด็กหิวมากให้นมที่ชงจาง ๆ ทีละน้อย
ถ้าถ่ายท้องรุนแรง ,อาเจียน ,ดื่มนมหรือน้ำไม่ได้ (ซึม ,ตาโบ๋ ,กระหม่อมบุ๋ม ,หายใจหอบแรง ,)และไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมงให้ไปพบแพทย์โดยด่วน

 ท้องผูก

ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
ดื่มน้ำมาก ๆ กินอาหารพวกพัก ,ผลไม้ ,งดชา ,กาแฟ ,และออกกำลังกาย
กินยาระบาย (ชามะขามแขก ,ยาระบายแมกนีเซียม)
ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์

ในเด็กเล็ก เด็กทารก
ดื่มน้ำมาก ๆ ,น้ำส้มคั้น ,น้ำลูกพรุนต้ม หรือเปลียนนม
ใช้กลีเซอร์รีนเหน็บก้น(ของเด็ก)


ก้างติดคอ

ก้างติดคอ
กลืนก้อนข้าวสุก หรือขนมปังนิ่ม ๆ
ถ้ายังไม่หลุด กลืนน้ำส้มสายชูเจือจางเพื่อให้ก้างอ่อนลง
ถ้าไม่หลุด ควรไปพบแพทย์


ตะคริว

สาเหตุ
ใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นหนักเกินไป
ความหนาวเย็น
การสูญเสียน้ำและเกลือแร่(อาเจียน ,ท้องเสีย ,เหงื่อออก)

การปฐมพยาบาล
ยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นออกโดย
เป็นที่มือ : ยึดนิ้วมือ ดัดปลายนิ้ว
เป็นที่เท้า : ยืดนิ้วเท้า ให้ยืนเขย่ง
เป็นที่ต้นเท้า : นั่งลง , เหยียดเท้า ,กดที่หัวเข่าปละช่วยนวดเท้า
เป็นที่น่อง : นั่งลง ,ยืดขา
ถ้าเป็นเพราะเสียเหงื่อ เสียน้ำให้ดื่มน้ำเกลือ(เกลือ 1 ช้อนชา ผลมน้ำ 1 ขวดแม่โขง)


กินยาพิษ

ยาพิษที่มีฤทธิ์กัด
ตัวอย่าง : กรด , ยาฆ่าเชื้อ ,ยาขัดฟื้น ,น้ำยาล้างสี ,ผงขัดถู , แชมพู, แอลกอฮอล์ทาแผล ,ยางสน ,น้ำยาขัดเงา, ผงและน้ำยาซักล้าง ,โซดาซักล้าง, สีย้อม ,เนื้อไม้ , ผงซักฟอก ,ยางล้างห้องน้ำ
การปฐมพยาบาล
มองหาภาขนะบรรจุยาพิษที่ตกอยู่ใกล้ผู้ป่วย นำไปโรงพยาบาลด้วย
สังเกตุรอยไหม้บริเวณริมฝีปากและปาก
เรียกรถพยาบาล
ดื่มน้ำมาก ๆ (โดยให้จิบที่ละน้อย ) หรือน้ำสะอาด ถ้าหานมไม่ได้(นมจะช่วยให้พิษเจือจางลง)
ห้ามทำให้อาเจียน ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ห้ามกรอกน้ำหรือของเหลวเข้าปากผู้ป่วย ถ้าหยุดหายใจให้รีบช่วยหายใจ

ยาพิษที่ไม่มีฤทธิ์กัด
ตัวอย่าง : แอลกอฮอล์(เอทธิลแอลกอฮอล์) ,แอสไพริน ,ผลไม้ป่ามีพิษ , เห็ดพิษ ,ยาแผนปัจจุบัน
การปฐมพยาบาล
มองหาภาขนะบรรจุยาพิษที่ตกอยู่ใกล้ผู้ป่วย นำไปโรงพยาบาลด้วย
ถ้า ทราบว่า เพิ่งรัปประทานยาเข้าไป พยายามทำให้อาเจียน ถ้าไม่ออกให้ดื่มน้ำมากๆ พยายามล้วงคอให้อาเจียน นำเศษอาเจียนไปให้แพทย์ดูด้วย (ถ้าทำได้)
ถ้ากินยาพิษเข้าไประยะหนึ่งแล้ว อย่าทำให้อาเจียนเพราะพิษถูกดูดซึมภายหลัง

ถูกแก็สพิษ
ตัวอย่าง :คาร์บอนมอนออกไซด์
อาการ:ปวดศรีษะ ,สับสน , หายใจลำบาก ,อาจจะหมดสติ , ผิวหน้าจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าในขณะที่ได้รับแก็สเพิ่มขึ้น
การปฐมพยาบาล
ให้ได้อากาศบริสุทธิ์เร็วและมากที่สุด(อาจจะเปิดหรือทุบกระจกประตูหน้าต่าง ๆ)
คลายเสื้อผ้าให้หลวม ปฐมพยาบาลเหมือนคนช็อค(ห่มผ้าให้อบอุ่น)
ถ้าหยุดหายใจ ให้รีบช่วยหายใจ
ดูการหายใจและจับชีพจรอย่างใกล้ชิด
เรียกรถพยาบาลทันที

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป 

 

 

คนเรามีชีวิตอยู่ได้เพราะหัวใจเต้นและมีการหายใจ

คนปกติมีชีวิตอยู่ ได้ด้วยระบบสำคัญ 2 ระบบ คือระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ซึ่งมีปอดเป็นอวัยวะสำคัญ จะทำงานโดยหายใจเอาอากาศดีที่มีออกซิเจนสูงจากอากาศภายนอก ผ่านจมูก และ หลอดลมเข้าไปในปอด แล้วหายใจเอาอากาศเสียที่มีคาร์บอนไดออกไซด์จากในปอดผ่านหลอดลม และ จมูกออกมาสู่ภายนอก

ระบบไหลเวียนเลือดมีหัวใจเป็นอวัยวะ สำคัญ ทำงานโดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่รับออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยง เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ลำตัว แขนขา แล้วรับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากการทำงาน ของเซลล์มาที่ปอด เพื่อให้ระบบหายใจพาออกไปทิ้งยังอากาศนอกตัวเรา

สาเหตุที่ทำให้หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น

ภาวะหยุดหายใจเกิด ขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จมน้ำ, เป็นอัมพาต, สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดิน ลมหายใจ,สูดดมควันเข้าไปมาก, ได้รับยาเกินขนาด, ไฟฟ้าดูด , อยู่ในที่ไม่มีอากาศหายใจ, บาดเจ็บ, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน,ฟ้าผ่า และสมองเสียการทำงานจนโคม่าจากสาเหตุต่างๆ

ภาวะหัวใจหยุดเต้นหมายถึงการไหลเวียน เลือดหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทราบได้จากการหมดสติไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีอาการไอ คลำชีพจรไม่ได้ ไม่มีการหายใจอย่างที่เป็นตามปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดขึ้นจากสาเหตุหลาย อย่าง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือที่เรียกกันว่า หัวใจวาย หรืออาจเกิดขึ้น ตามหลังภาวะหยุดหายใจ

คนที่หยุดการหายใจและหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว ยังมีโอกาสฟื้นได้

เมื่อ ใครก็ตามหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น หากมีใครสักคนรีบทำการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support- BLS) ตามวิธีที่ได้บรรยายไว้ในหนังสือเล่มนี้ ก็จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดและมีเลือดไหลเวียนเอาออกซิเจนไป เลี้ยง สมองเพียงพอที่จะทำให้สมองยังทำงานได้โดยไม่เกิดสมองตาย คนผู้นั้นจึงยังมีโอกาส ที่จะกลับฟื้นขึ้นมามีชีวิตปกติได้ เนื่องจากวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน ทั่วไปนั้น แตกต่างจากวิธีการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และ เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต โดยเฉพาะ หนังสือนี้จึงแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่ 1. สำหรับประชาชนทั่วไป และส่วนที่ 2. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต




ส่วนที่ 1. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป

ขั้นที่1. เรียกดูว่ารู้ตัวหรือไม่
ควรมองดูรอบตัวที่ผู้หมดสตินอนอยู่ว่าปลอดภัยก่อน แล้วจึงเข้าไปยังข้างตัวผู้หมดสติ สะกิดหรือเขย่าผู้หมดสติเบาๆ พร้อมกับตะโกนถามว่า “คุณ…เป็นอย่างไรบ้าง?”
หมาย เหตุ ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะและคอ ให้พยายามขยับตัวผู้หมดสติให้น้อยที่สุด เพราะการโยกหรือขยับตัวมากอาจจะทำให้ผู้หมดสติที่มีการบาดเจ็บของกระดูก สันหลัง อยู่แล้วเป็นอัมพาตได้

ขั้นที่ 2. เรียกหาความช่วยเหลือ

หากหมดสติ ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น และ ขอให้คนใดคนหนึ่ง โทรศัพท์หมายเลข 1669 ซึ่งเรียกรถพยาบาล ได้ทุกจังหวัด หรือ หมายเลข 191 เรียกตำรวจให้ไปแจ้งรถพยาบาล อีกต่อหนึ่ง หรืออาจเรียกรถพยาบาล หรือ ทีมงานของโรงพยาบาล ที่เคยใช้อยู่ประจำก็ได้
หมายเหตุ ผู้ที่ทำหน้าที่โทรศัพท์เรียกรถพยาบาล เตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนดังนี้
เหตุเกิดที่ไหน เช่น บอกชื่อบริษัท ชื่อถนน
หมายเลขโทรศัพท์ที่กำลังพูดอยู่
เกิดอะไรขึ้น อุบัติเหตุ รถยนต์, หัวใจวาย, จมน้ำ, เป็นต้น
มีคนต้องการความช่วยเหลือกี่คน
สภาพของผู้หมดสติเป็นอย่างไรบ้าง
มีการให้ความช่วยเหลืออะไรอยู่บ้าง มีเครื่องช๊อกไฟฟ้าอัตโนมัติอยู่หรือไม่
ข้อมูลอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น

อย่าวางหูโทรศัพท์จนกว่าพนักงานช่วยชีวิตที่รับโทรศัพท์จะบอกให้เลิกการติดต่อก่อน
ให้ โทรศัพท์เรียกความช่วยเหลือทันทีก่อนลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต (call first) ถ้าผู้หมดสติเป็นผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ที่หมดสติมักเกิดจากหัวใจเต้นรัว (VF) ซึ่งมี โอกาสรอดชีวิตมากที่สุดหากได้รับการช็อกไฟฟ้าจากทีมงานช่วยชีวิตขั้นสูงโดย เร็ว แต่ถ้าหากหมดสติจากอุบัติเหตุ,จมน้ำหรือพิษของยาหรือสารพิษ ควรลงมือปฏิบัติการ ช่วยชีวิตก่อนไปโทรศัพท์ เพราะสาเหตุการตายมักเกิดจากทางเดินลมหายใจถูกอุดกั้น
ให้ลงมือช่วยชีวิตไปก่อนแล้วค่อยไป โทรศัพท์ภายหลัง (call fast) ถ้าผู้หมดสติเป็นเด็ก อายุต่ำกว่า 8 ปี เพราะสาเหตุการหมดสติในเด็กมักเกิดจากทางเดินลมหายใจถูกอุดกั้น ซึ่งแก้ได้โดยการลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิตทันทีทั้งนี้มีข้อยกเว้นกรณีที่ รู้แน่ชัดอยู่ก่อนแล้วว่าเด็ก ผู้หมดสติเป็นโรคหัวใจ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ควรรีบโทรศัพท์ก่อน เพราะผู้หมดสติจะมีโอกาส รอดชีวิตมากกว่าถ้ารีบช็อกไฟฟ้า

ขั้นที่ 3. จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนหงาย
ถ้าผู้หมดสติอยู่ในท่านอนคว่ำ ให้พลิกผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนสองข้างเหยียดอยู่ข้างลำตัว
หมายเหตุ: กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือสงสัยการบาดเจ็บที่คอและหลัง การจัดท่าต้องระมัดระวังอย่างที่สุด โดยให้ศีรษะ คอ ไหล่ และลำคอตัวตรึงเป็นแนวเดียวกันไม่บิดงอ มิฉะนั้นผู้หมดสติอาจกลายเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลังที่หักอยู่แล้วกดทับแกนประสาทสันหลังได้

ขั้นที่ 4. เปิดทางเดินลมหายใจ
ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินลมหายใจ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้หมดสติยังหายใจได้ ในจังหวะหายใจเข้าจะเกิดแรงดูดเอา ลิ้นลงไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจมากกว่าเดิม ต้องช่วยยกกระดูกกรรไกรล่างขึ้น ลิ้นซึ่งอยู่ติดกับกระดูก ขากรรไกรล่างจะถูกยกขึ้นทำให้ทางเดินลมหายใจเปิดโล่งการเปิดทางเดินลมหายใจ มีสองวิธี คือ

วิธีดันหน้าผากและดึงคาง (head tilt-chin lift)
ใช้ ได้กับผู้หมดสติทั่วไปที่ไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผาก เอานิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งดึงคางขึ้น ใช้นิ้วมือดึงเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่าง โดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้นจนฟันล่างถูกดึงขึ้นมาจนเกือบชนกับฟันบน

วิธียกขากรรไกรล่าง (jaw thrust)
ใช้ ได้กับผู้ป่วยทุกกรณี แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำยากและเมื่อยล้าเร็ว จึงแนะนำให้ใช้วิธีนี้กับกรณี ที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอเท่านั้น ผู้ปฎิบัติการช่วยชีวิตต้องไปอยู่ทางศีรษะของผู้หมดสติ วางมือทั้งสองข้างไว้ที่บริเวณแก้มซ้ายและขวาของผู้หมดสติให้นิ้วหัวแม่มือ กดยันที่กระดูกขากรรไกรล่าง ตรงใต้มุมปากทั้งสองข้างนิ้วที่เหลือทั้งหมดเกี่ยวกระดูกขากรรไกรล่าง เอาข้อศอกยันบนพื้นที่ ผู้หมดสตินอนอยู่แล้วดึงกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นมา (ภาพที่ 6)
หมายเหตุ : ประชาชนทั่วไปควรฝึกหัดการเปิดทางเดินลมหายใจทั้งสองวิธี

ขั้นที่ 5. ตรวจดูว่าหายใจหรือไม่
โดย เอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของผู้หมดสติเพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้หมดสติ ขณะที่ตาจ้องดูการเคลื่อนไหวหน้าอกของผู้หมดสติว่ากระเพื่อมขึ้นลงเป็น จังหวะหรือไม่ (ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส) โดยมือยังคงเปิดทางเดินลมหายใจอยู่ ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 10 วินาที
หมายเหตุ:
1.ถ้าผู้หมดสติหายใจได้และไม่ใช่การหมดสติจากอุบัติเหตุหรือไม่สงสัยว่ามี การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังให้จัดท่าผู้หมดสติไว้ในท่าพักฟื้น (ภาพที่ 13)
2. ถ้าสงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะหรือคอ ไม่ควรขยับ หรือ จัดท่า ให้ผู้หมดสติเว้นเสียแต่ว่าหากไม่ขยับ ทางเดินลมหายใจจะไม่เปิดโล่งเท่านั้น

ขั้นที่ 6 เป่าลมเข้าปอด
ให้ ทำการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง เมื่อเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจหรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้เองอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ให้เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้

วิธีที่ 1. เป่าแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและดึงคาง
ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอ ยู่มาบีบที่จมูกผู้หมดสติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เพื่อให้ได้ความเข้มข้นของออกซิเจนในลมหายใจมากขึ้น ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติ และเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้ หมดสติกระเพื่อมขึ้นเป่านาน 2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออก ผ่านกลับ ออกมาทางปาก

วิธีที่ 2. เป่าแบบปากต่อปากขณะยกขากรรไกรล่าง

ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างดันขา กรรไกรล่างให้ปากผู้หมดสติเผยอเปิดออก ก้มลงเอาแก้มปิดรูจมูกทั้งสองรู ไว้ให้แน่น ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติแล้วเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้น เป่านาน 2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออกผ่านกลับออกมาทางปาก (ภาพที่ 9)

ขั้นที่ 7. หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก
ถ้า ผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกาย ให้ถือว่า ระบบไหลเวียนเลือดไม่ทำงาน ต้องช่วยกดหน้าอก ให้หาตำแหน่ง ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกเพื่อวางมือเตรียมพร้อมสำหรับการกดหน้าอก โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคลำขอบชายโครงด้านใกล้ตัวผู้ปฏิบัติ แล้ว ลากขึ้นไปตามขอบกระดูกชายโครงด้านหน้าจนถึงจุดที่กระดูกชายโครง สองข้างมาพบกันซึ่งเป็นปลายล่างของกระดูกหน้าอกพอดี วางนิ้วมือ ทั้งสองถัดจากจุดนั้นขึ้นไปทางกระดูกหน้าอกเพื่อใช้เป็นที่หมาย แล้วเอาสันมือของอีกมือหนึ่งวางลงบนกระดูก หน้าอกตามแนวกลางตัวถัดจากนิ้วมือที่วางไว้เป็นที่หมาย ยกนิ้วมือที่วางเป็นที่หมายออกไปวางทาบ หรือ ประสานกับมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอก เตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอก (ภาพที่ 10)
อีกวิธีหนึ่งคือวางสันมือของมือหนึ่งไว้ตรงกลางหน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสอง ข้าง แล้วเอาอีกมือหนึ่งไปวางทาบ หรือ ประสานกับมือแรกกะประมาณให้แรงกดลงตรงกึ่งกลางระหว่างหัวนมสองข้าง
หมายเหตุ: ปัจจุบันนี้ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปคลำชีพจรก่อนทำการกดหน้าอก เพราะมีความผิดพลาดสูง คงแนะนำให้ใช้วิธีคลำชีพจรเฉพาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้มีหน้าที่ ช่วยชีวิตโดยตรงเท่านั้น

ขั้นที่ 8. กดหน้าอก 15 ครั้ง
กด หน้าอกแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 15 ครั้ง ให้ได้ความถี่ของการกดประมาณ 100 ครั้ง/นาที โดยนับ หนึ่งและสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด และแปด และเก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า ในการกดให้ใช้เทคนิคดังนี้

วางมือหนึ่งทาบบนอีกมือ หนึ่งโดยไม่ประสาน หรือจะประสานนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันก็ได้ เพียงแต่ต้องคอยระวังให้น้ำหนักผ่านส้นมือล่างลงบนกระดูกหน้าอก ไม่ใช่ลงบนกระดูกซี่โครง เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหักได้

ตรึงข้อศอกให้นิ่ง อย่างอแขน ให้แขนเหยียดตรง โน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ ให้ทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก ถ้าแรงกดมีทิศทางเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แรงจะถูกแตกไปเป็นสองส่วนทำให้แรงที่จะกดหน้าอกในแนวดิ่งไม่มีประสิทธิภาพ

กดหน้าอกให้ยุบลงไปหนึ่ง นิ้วครึ่งถึงสองนิ้วหรือ 4-5 ซม. ถ้ายุบมากกว่านี้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักยกเว้นถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่มาก อาจต้องกดให้หน้าอกยุบลงไปมากกว่านี้ได้

ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือ ขึ้นมาให้สุด อย่าคาน้ำหนักไว้เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ แต่อย่าให้ถึงกับมือหลุดจากหน้าอกเพราะจำทำให้ตำแหน่งมือถูกเปลี่ยนไป

ขั้นที่ 9 เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 15 ครั้ง
เป่า ลมเข้าปอด 2 ครั้งสลับกับกดหน้าอก 15 ครั้งไปอย่างน้อยสี่รอบแล้วหยุดประเมินผู้หมดสติอีกครั้ง ถ้ายังไม่รู้ตัว ไม่หายใจ ไม่เคลื่อนไหว ก็เป่าลมเข้าปอดสลับกับกดหน้าอกต่อไปอีกคราวละ 4 รอบ จนกว่าผู้หมดสติจะรู้ตัว หรือ จนกว่าความช่วยเหลือที่เรียกไปจะมาถึง
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการจะเป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้ ควรช่วยชีวิตด้วยการ เปิดทางเดินลมหายใจแล้วกดหน้าอกอย่างเดียวขณะรอความช่วยเหลืออยู่ เพราะจะมีประโยชน์ต่อผู้หมดสติ มากกว่าการไม่ช่วยอะไรเลย

ขั้นที่ 10. เมื่อผู้หมดสติรู้ตัวแล้ว จัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น
จัด ให้นอนตะแคงเอามือรองแก้มไม่ให้หน้าคว่ำมากเกินไป เพราะถ้าตะแคง คว่ำมากเกินไปกะบังลมจะขยับได้น้อย ทำให้หายใจเข้า-ออกได้น้อย การจัดท่าพักฟื้น (recovery) นี้ทำได้หลายแบบ แต่มีหลักโดยรวมว่า ควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที่สุด ให้ศีรษะอยู่ต่ำเพื่อระบายของ เหลวออกมาจากทางเดินลมหายใจได้ เป็นท่าที่มั่นคงไม่ล้มง่าย ไม่มีแรงกดต่อทรวงอกซึ่งจะทำให้หายใจได้น้อย จัดท่ากลับมา นอนหงายโดยไม่ทำให้คอและศีรษะบิดได้ง่าย มองเห็น และ เข้าถึงปากและจมูกได้ง่าย เป็นท่าที่ไม่ก่อนให้เกิดการบาดเจ็บแก่ผู้ป่วย
หมายเหตุ : ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของศีรษะหรือคอ ไม่ควรขยับหรือจัดท่าใดๆ ให้ผู้หมดสติเว้นเสีย แต่ว่าหากไปไม่ขยับทางเดินลมหายใจจะไม่เปิดโล่งเท่านั้น

การช่วยเหลือผู้จมน้ำ

จมน้ำ (Drowning) หมายถึง การตายเนื่องจากการสำลักน้ำที่จมเข้าไปในปอดทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

อาการและอาการแสดง
     โดยทั่วไป เมื่อนำผู้จมน้ำขึ้นมาจากน้ำ มักจะพบว่ามีฟองน้ำลายรอบบริเวณริมฝีปากและรูจมูก หายใจช้าลง ชีพจรเบาคลำไม่ชัดเจน ซีด หมดสติ

การช่วยเหลือผู้จมน้ำ ขณะจมให้เข้าฝั่ง
     วิธีที่ 1 ใช้วิธีดึงเข้าหาฝั่งโดยการกอดไขว้หน้าอก
          วิธีการนี้ผู้ช่วยเหลือต้องเข้าด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งพาดบ่าไหล่ด้านหลังไขว้ทะแยงหน้าอก จับข้างลำตัวด้านตรงข้ามผู้จมน้ำ มืออีกข้างใช้ว่ายเข้าหาฝั่ง ในขณะที่พยุงตัวผู้จมน้ำเข้าหาฝั่งต้องให้ใบหน้า โดยเฉพาะปากและจมูกผู้จมน้ำอยู่พ้นเหนือผิวน้ำ

้วิธีดึงเข้าหาฝั่งโดยการกอดไขว้หน้าอก
ภาพที่ 15วิธีดึงเข้าหาฝั่งโดยการกอดไขว้หน้าอก



     วิธีที่ 2 วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับคาง
          วิธีนี้ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลังของผู้จมน้ำ ใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับขากรรไกรทั้ง 2 ข้างของผู้จมน้ำ แล้วใช้เท้าตีน้ำช่วยพยุงเข้าหาฝั่ง และพยายามให้ใบหน้าของผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ

วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับคาง
ภาพที่ 16วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับคาง



     วิธีที่ 3 วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับผม
          ผู้ช่วยเหลือเข้าด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งจับผมผู้จมน้ำไว้ให้แน่น แล้วใช้มืออีกข้างว่ายพยุงตัวเข้าหาฝั่ง โดยที่ปากและจมูกผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ วิธีเหมาะสำหรับผู้ที่ดิ้นมาก หรือ พยายามกอดรัดผู้ช่วยเหลือ

วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับผม
ภาพที่ 17วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับผม



การปฐมพยาบาล
     1. รีบตรวจสอบการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีการหายใจหรือหัวใจไม่เต้น ให้ช่วยหายใจและกระตุ้นการเต้นของหัวใจภายนอก (CPR)รายละเอียดจะกล่าวในบทต่อไป
     2. ไม่ควรเสียเวลากับการพยายามเอาน้ำออกจากปอดหรือกระเพาะอาหารในระหว่าง CPR อาจจะจัดให้ผู้จมน้ำนอนในท่าศีรษะต่ำ ประมาณ 15 องศา ปลายเท้าสูงเล็กน้อย
          2.1 กรณีมีน้ำในกระเพาะมาก ทำให้ลำบากในการ CPR อาจต้องเอาน้ำออกจากกระเพาะ โดยจัดให้นอนตะแคงตัว แล้วกดท้องให้ดันมาทางด้านยอดอก น้ำก็จะออกจากกระเพาะอาหาร
          2.2 ถ้าต้องการเอาน้ำออกจากปอด อาจจัดให้นอนคว่ำตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ก้มตัวลงใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณชายโครงทั้งสองข้างของผู้จมน้ำยกขึ้นและลง น้ำจะออกจากปากและจมูก แต่ก็ไม่ควรเสียเวลากับสิ่งดังกล่าวมากนัก
     3. กรณีผู้จมน้ำมีประวัติการจมน้ำเนื่องจากการกระโดดน้ำ หรือ เล่นกระดานโต้คลื่น การช่วยเหลือต้องระวังเรื่องกระดูกหัก โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้จมน้ำ โดยเมื่อนำผู้จมน้ำถึงน้ำตื้นพอที่ผู้ช่วยเหลือจะยืนได้สะดวกแล้ว ให้ใช้ไม้กระดานแข็งสอดใต้น้ำรองรับตัวผู้จมน้ำ ใช้ผ้ารัดตัวผู้จมน้ำให้ติดกับไม้ไว้
     4. ให้ความอบอุ่นกับร่างกายผู้จมน้ำโดยใช้ผ้าคลุมตัวไว้
     5. นำส่งโรงพยาบาลในกรณีอาการไม่ดี

การใช้ไม้กระดานรองรับตัว
ก. การใช้ไม้กระดานรองรับตัว

การรัดตัวก่อนยกขึ้นจากน้ำ
ข. การรัดตัวก่อนยกขึ้นจากน้ำ

ภาพที่ 18 การช่วยเหลือผู้จมน้ำที่คาดว่ากระดูกสันหลังหัก
คัดลอกข้อมูลจาก http://www.nurse.nu.ac.th/cai/firstaid024.html

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

 


ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

๑. การช่วยจัดทางเดินทางหายใจให้โล่ง และอยู่ในท่าที่จะให้การช่วยเหลือ ซึ่งทำได้โดย

 ๑. ๑ วางฝ่ามือบนหน้าผากผู้ป่วยและกดลง นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือพร้อมที่จะเอื้อมมาอุดจมูกเมื่อจะผายปอด มือล่างใช้นิ้วกลางและนั้วชี้เชยคางขึ้น ดังภาพที่ ๑ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้บาดเจ็บที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก

๑.๒ ใช้มือกดหน้าผากเหมือนวิธีแรก ส่วนมืออีกข้างหนึ่งช้อนใต้คอขึ้นวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่ไม่ควรทำในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังเพราะจะเกิดอันตรายต่อไข สันหลัง

๑.๓ ใช้สันมือทั้งสองข้างวางบนหน้าผากกดลง แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางจับกระโดงคาง (Mandible) ของผู้ป่วยขึ้นไปทางข้างหน้า ซึ่งผู้ทำ CPR นั่งคุกเข่าอยู่ทางศีรษะของผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้ทำได้ยาก แต่ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งดี

ถ้าการหยุดหายใจเกิดจากลิ้นตกไปอุดตันทางเดินหายใจผู้ป่วยจะหายใจได้เอง และในขั้นตอนการเปิดทางเดินหายใจนี้ควรใช้เวลา ๔ - ๑๐ วินาที

๒. การตรวจดูการหายใจ ซึ่งควรใช้เวลาเพียง ๓ - ๕ วินาที ซึ่งทำโดยคุกเข่าลงใกล้ไหล่ผู้ป่วย ผู้ให้การช่วยเหลือเอียงศีรษะดูทางปลายเท้าผู้ป่วย หูอยู่ชิดติดกับปากผู้ป่วยและฟังเสียงลมหายใจผู้ป่วย ตามองดูหน้าอกว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่หรือใช้แก้มสัมผัสลมหายใจจากผู้ป่วย

การหายใจเข้า เป็นการที่ปอดพองตัวรับอากาศภายนอกเข้าทรวงอกจากนั้นปอดจะบีบตัวเอาลมที่ใช้ แล้วออกทำให้เห็นทรวงอกเคลื่อนลงเล็กน้อย ซึ่งการขยายขึ้นลงเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และนับการหายใจหนึ่งครั้ง ซึ่งการหายใจน้อย (ตื้น) หรือไม่หายใจ จะต้องช่วยการหายใจในทันที โดยการที่ผู้ทำ CPR สูดหายใจเข้าเต็มที่แล้วเป่าเข้าสู่ผู้ป่วยโดยวิธี


๒.๑ ปากต่อปาก ผู้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพควรนั่งข้างใดข้างหนึ่ง ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของข้างที่กดศีรษะ บีบจมูกผู้ป่วยเพื่อไม่ให้อากาศรั่วออกขณะเป่าลมเข้าปาก มือข้างที่ยกคางประคองให้ปากเผยอเล็กน้อย ผู้ทำ CPR สูดหายใจเข้าเต็มที่ประกบปากครอบปากผู้ป่วยพร้อมเป่าลมเข้าเต็มที่ ด้วยความเร็วสม่ำเสมอประมาณ ๘๐๐ มิลลิลิตรต่อ ๑ ครั้ง เพื่อให้ปอดขยาย ขณะทำการช่วยเลหือควรสังเกตว่าทรวงอกขยายออกแสดงถึงอากาศผ่านเข้าไปได้ดี แล้วรีบถอนปาก รอให้ลมออกจากผู้ป่วย ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑-๑๕ วินาที แล้วเป่าซ้ำ (ภาพที่ ๒)

๒.๒ ปากต่อจมูก การเป่าลมเข้าทางจมูกเป็นวิธีที่ดี กระทำได้เช่นเดียวกับการเป่าปาก ซึ่งในกรณีที่เปิดปากไม่ได้หรือมีแผลที่ปาก ให้ใช้มือด้านที่เชยคางยกขึ้นให้ปากปิดแล้วเป่าลมเข้าทางจมูกแทนโดยต้องใช้ แรงเป่ามากกว่าปากเพราะมีแรงเสียดทานสูงกว่า

๓. การตรวจชีพจรเพื่อประเมินการไหลเวียนโลหิต โดยคลำที่หลอดเลือดใหญ่ที่ตรวจง่าย คือหลอดเลือดแดงคาโรติด (อยู่ทางด้านข้างของลำคอนำเลือดไปเลี้ยงศีรษะ) โดยวางนิ้วโป้งและนิ้วกลางตรงช่องกระหว่างลูกกระเดือกหรือ Thyroid cartilage และกล้ามเนื้อคือ Sternomastoid สังเกต และนับจังหวะ

การเต้นของหลอดเลือด ถ้ามีชีพจรอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ แต่ไม่หายใจให้ช่วยเฉพาะการหายใจ ถ้าไม่มีชีพจรหรือมีแต่ช้ามาก เบามาก ให้ทำการช่วยการไหลเวียนต่อจากการช่วยหายใจทันทีโดยในการคลำชีพจรไม่ควรใช้ เวลาเกินกว่า ๕ วินาที ซึ่งผู้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพควรฝึกหัดคลำชีพจนให้ชำนาญ



ตำแหน่งการวางมือ

ผู้ให้การช่วยฟื้นคืนชีพจะต้องใช้สันมือ (Heel of Hand) ข้างหนึ่งวางบนกระดูกหน้าอกโดยให้อยู่เหนือลิ้นปี่ประมาณ ๓ เซนติเมตร หรือสองนิ้วมือซึ่งกระทำโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางทาบลงบนกระดูกหน้าอก ให้นิ้วกลางอยู่ชิดลิ้นปี่ แล้วใช้สันมืออีกข้างหนึ่งวางทับลงไปโดยไม่ใช้ฝ่ามือแตะหน้าอกและเมื่อวาง ถูกตำแหน่งแล้วไม่ควรยกขึ้นหรือเคลื่อนที่ ซึ่งพบได้บ่อยในการฝึกปฏิบัติและทำให้การทำ CPR ไม่ได้ผลดี

การนวดหัวใจ

กระทำโดยใช้แรงโน้มของลำตัวผ่านแขนที่เหยียดตรง กดหน้าอกด้วยน้ำหนักที่ทำให้หน้าอกยุบลงประมาณ ๓ - ๕ เซนติเมตร ดังภาพที่ ๓ การกดจะช่วยให้ความดับภายในทรวงอกสูงเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของ ร่างกายได้

ขณะนวดหัวใจ ต้องจัดจังหวะกดโดยนับหนึ่ง และสอง และสาม และสี่ จนถึงสิบห้า เมื่อครบสิบห้าครั้งแล้วผู้ทำการให้ CPR ทำการเป่าปากอีก ๒ ครั้ง นับเป็นหนึ่งรอบ ทำสลับกันไปเช่นนี้ ๔ รอบ แล้วทำการประเมินผล ถ้ามีบุคคลที่มีความรู้ CPR มาช่วย จะทำการกดหน้าอก ๕ ครั้ง ต่อการเป่าอากาศเข้าปอด ๑ ครั้ง และเมื่อต้องการเปลี่ยนหน้าที่ให้ทำการนับเพื่อเปลี่ยนดังนี้ เปลี่ยนและ, สองและ, สามและ , หน้าและ ,เป่า แล้วจึงสลับที่กัน

การส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องเฝ้าประเมิน สังเกตภาวะการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลา ในกรณีที่ต้องทำ CPR ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรติดตามผลโดยการหยุดทำ CPR เพื่อจับชีพจรทุก ๒ - ๓ นาที และไม่ว่าโดยเหตุผลใด ๆ ไม่ควรหยุดทำ CPR เกินกว่า ๕ วินาที ยกเว้นถ้าท่านเป็นผู้ทำ CPR เพียงคนเดียวและจำเป็นต้องโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลมาช่วย

อันตรายจากการกู้ชีวิต

การวางมือไม่ถูกต้อง ทำให้กระดูกซี่โครงหรือปลายกระดูกหน้าอกหักไปทิ่มอวัยวะภายใน กระตุ้นให้เลือดออกมากจนเสียชีวิตได้
ไม่ปล่อยมือหลังจากกดหน้าอก ทำให้หัวใจขยายตัวไม่ได้ เลือดกลับสู่หัวใจได้น้อย การกดหน้าอกครั้งต่อไปจะมีเลือดออกจากหัวใจน้อยลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การกดหน้าอกแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้หัวใจซ้ำ หรือกระดูกได้
กดหน้าอกลึกเกินกว่า 3 นิ้ว อาจทำให้เกิดหัวใจช้ำได้
เป่าลมเข้าปากมากเกินไป หรือเปิดทางเดินหายใจไม่โล่ง ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหารแทนปอด เกิดท้องอืด เศษอาหารและน้ำล้นออก และเข้าไปในหลอดลมได้

คัดลอกข้อมูลจาก www.swangkeelee.is.in.th

    หน่วยกู้ภัยพุทธญาณสมาคม  " เต็กก่า"  จีเยี้ยงเกาะ      

  อำเภอบ้านไผ่   จังหวัดขอนแก่น

     043 - 272413

      ควมถี่วิทยุสื่อสาร    145.600  MHz

Heute waren schon 25 Besucher (42 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden