vipassana - กิเลส1500ตัณหา108
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

กิเลส 1500  ตัณหา 108 
              กิเลสกับตัณหาเป็นเพื่อนสนิทกัน.....คราใดที่เกิดตัณหาคือ ความอยาก  กิเลสคือความเศร้าหมองก็จะติดตามมาทันที.....เช่น  เมื่อเกิดภวตัณหาความอยากมีอยากเป็น  โลภกิเลสคือความโลภอยากได้ก็จะควงแขนมาทันที  เมื่อเกิดวิภวตัณหาความอยากไม่มีอยากไม่เป็น  โทสกิเลสคือความโกรธก็จะตามมาทันที  และเมื่อเกิดกามตัณหาความอยากในกาม  ราคะกิเลสคือความกำหนัดยินดีในกามก็จะแฝงตัวมาทันที......ที่ไหนมีไฟที่ นั่นก็จะมีความร้อน  แยกกันไม่ออกครับ
              และทั้งตัณหาและกิเลส  ก็คือเหตุให้เกิดทุกข์  ถ้าอยากพ้นทุกข์จึงต้องทำใจให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาให้ได้.....

กิเลส คือ ตัวโลภ โกรธ หลง......ทั้ง3ตัวนี้ครอบงำเรามาทุกภพทุกชาติ ตราบใดที่กิเลสตัวใดตัวหนึ่งยังหลงเหลืออยู่ก็ต้องไปเกิด ไปจุติที่ใดที่หนึ่ง(ชาติ,ภพ)ในสามโลก(อบายภูมิ-มนุษย์โลก-สวรรค์โลก)วน เวียนอยู่นี่ เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ๆคือกฎธรรมชาติเหมือนสนามแม่เหล็กโลก ดูดทุกอย่างไปหมด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าแรงกรรม กรรมเป็นของตนเอง กรรมเป็นทายาท กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ฯลฯ.....พระพุทธเจ้าท่านตรัสบอกพวกเราไว้ว่า "ฤกษ์ก็เป็นประโยชน์สำหรับตัวฤกษ์เอง ดวงดาวจะทำอะไรได้....."ดวงดาวไม่มีความหมาย แต่กรรมมีความหมายในทุกวินาที จิตวิญญาณของคนนี่เป็นคอมพิวเตอร์ที่บริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด มีความจุไม่จำกัดขนาด ไม่ว่าคุณจะไปทำกรรมดี กรรมชั่วแอบซ่อนไว้ที่ไหน มันก็บันทึกลงไว้ในซีพียูคือในจิตวิญญาณคุณหมดแหละนะ คุณตายไปมันก็ติดตัวคุณไปด้วยโดยอัตโนมัติแล้วมันฝังไว้ในดีเอ็นเอของคุณ สะสมไปเรื่อยๆทุกภพทุกชาติ แถมตกทอดไปยังลูกๆคุณอีกด้วย(น่ากลัวไหมล่ะ).......เวลาตายสำคัญมากนึกถึง บุญกุศลก็ไปข้างบน นึกถึงบาปกรรมชั่วก็ลงไปข้างล่าง บางทีกลางๆก็เกิดมาเป็นคนอีก.....ยังไม่มีปัญญาพอที่จะหลุดพ้นไปจาก สังสารวัฏได้ เหมือนพายเรืออยู่ในเขื่อน วนอยู่นั่นละครับ ไม่รู้ตัวด้วยว่าพายเรือวนอยู่ หาทางออกไปไหนก็ไม่ได้ ถ้ากิเลสหมดคุณก็ไปนิพพาน นั่นแหละหมดเรื่องไปเลยทีเดียว......คนสมัยนี้เขาไม่ค่อยเชื่อกันนะว่าบุญ บาปมีจริง สวรรค์นรกมีจริง เขานึกไปว่าตายแล้วสูญ ก็ทำแต่เรื่องที่ตัวชอบ เห็นว่ามีความสุขจึงทำ ใครเป็นอย่างไร กระทบใครๆอย่างไรไม่สนใจ โลกมันถึงได้ยุ่งวุ่ยวายกันไม่รู้จบไงครับ ทุกวันนี้คนบูชาเงิน เงิน เงิน......จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า "เงินคืองูพิษ"......มันพร้อมจะกัดคุณให้ตายได้ทันทีเมื่อคุณเผลอ รู้ไม่เท่าทันมัน.....แล้วความจริงเงินซื้อไม่ได้ทุกอย่างหรอกนะ ความรัก ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี่ซื้อไม่ได้หรอก ยังไงก็ต้องเจ็บ แก่และตายวันยังค่ำแหละทุกคนด้วย......แต่คนก็บูชาเงิน ๆ ๆ ......แล้วคนรวยมีความทุกข์ไหม ตอบว่ามี แล้วมีเยอะซะด้วยซี เปรียบเทียบกับคนจนๆมีความทุกข์น้อยกว่า เพราะเขามีความต้องการน้อยกว่า มีความพอมากกว่า ตราบใดที่คุณพอ นั่นแหละคุณหยุดแล้วนะ คุณจะพบกับความสุขที่แท้จริงครับ.......ทุกอย่างขึ้นกับการกระทำของเราเอง (กรรม)ไม่ใช่เรื่องดวงดาวอะไรหรอกครับ.......

วิธีคิด กิเลส 1500

คนเรามีจิต ก็คิดเป็น 1 อย่าง

มีเจตสิก คือ เครื่องปรุงแต่งจิต อีก 52 อย่าง

มีรูปปรมันตถ์ ตามพระอภิธรรมที่เป็นรูปปรมันตถ์แท้ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ประสาทต่างๆ ฯลฯ อีก 18 รูป

มี ลักขณรูป คือเป็นอาการของรูปแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่สืบต่อกัน แก่ และ ตาย อีก 4 รวม 75

ของ ทั้ง 75 อย่างนี้มีทั้งที่เกิดอยู่ภายในตัวเรา และภายนอกตัวเรา ( เช่นผู้อื่น ) นับภายใน 1 ภายนอก 1 มีอย่างละ 75 เท่รากัน จึงรวมเป็น 150

ที นี้ กิเลสชนิดต่างๆ มีอยู่ 10 ชนิด ที่จะเกิดขึ้นได้ใน 150 แห่งนั้น กิเลสเหล่านั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ 150 คูณด้วย 10 จึงเป็น กิเลส 1500

โลภะ ความอยากได้ในกามคุณอารมณ์
โทสะ ความโกรธ ความประทุษร้าย
โมหะ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ขาดปัญญา โง่เขลา
มานะ ความเย่อหยิ่งถือตัว ว่าดีกว่าเขา ต่ำกว่าเขา หรือเสมอเขา
ทิฏฐิ ความคิดเห็นผิด
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย
ถีนะ ความหดหู่ ความท้อแท้ใจ
อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตส่าย ใจวอกแวก
อหิริกะ ความไม่ละอายแก่ใจ ไม่ละอายต่อความชั่ว
อโนตตัปปะ ความไม่กลัวบาป ไม่เกรงกลัวต่อทุจริต

 
วิธีคิด ตัณหา 108

ตัณหาหลักมี 3 อย่าง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ รวม 6 ทาง
คูณกันนับเป็น 18 เกิดขึ้นภายในตัวเรา 18 เกิดขึ้นภายนอกตัวเรา ( เช่นที่คนอื่น ) 18 รวมเป็น 36

ทีนี้ เวลาที่ตัณหาเกิด มีเป็น 3 ระยะ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต อย่างละ 36 รวมเป็น ตัณหา 108
 
 
 
 

  กิเลส ๑๕๐๐

อารัมมณธรรม คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ ๑๕๐ คูณด้วยกิเลส ๑๐ จึงเป็นกิเลส โดยพิสดาร ๑,๕๐๐
อารมฺมณธมฺม = ธรรมที่เป็นอารมณ์    อชฺฌตฺต ภายใน     พหิทฺธ ภายนอก      
                                                                  
รวม

นาม    1.จิต                                            1                        1                      2
          2.เจตสิก                                      52                      52                 104

รูป      3.นิปผันนรูป                                  18                      18                     36
          4.ลักขณรูป                                     4                        4                       8
                รวม                                        75                      75                   150

ที่แสดงกิเลส ๑,๕๐๐ นี้ เป็นการแสดงกิเลสตามธรรมที่เป็นอารมณ์ ทั้งภาย ในและภายนอก
อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส ก็จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ

ก. อนุสยกิเลส  ได้แก่ กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้เกิดอยู่ในมโนทวารเท่านั้น คือลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับแสดง ออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้
ค. วีติกกมกิเลส  ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวาร หรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อย่าง โจ่งแจ้ง
 
ตัณหา 108   ความทะยานอยาก

อารมณ์ตัณหา ๖ คือ
  รูปตัณหา ๑, สัททตัณหา ๑, คันธตัณหา ๑, รสตัณหา ๑,  โผฏฐัพ พตัณหา ๑ และ ธัมมตัณหา ๑
ปวัตติอาการ คือ         อาการที่เป็นไป ๓ ได้แก่ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ และ วิภวตัณหา ๑

อารมณ์ตัณหา ๖ คูณด้วยปวัตติอาการ ๓ เป็นตัณหา ๑๘
ตัณหา ๑๘ นี้ เกิดที่สัณฐานใน คือ เกิดภายใน ๑  และเกิดที่สัณฐานนอก คือ เกิดภายนอก ๑   รวมเป็น ๒
คูณกับตัณหา ๑๘ นั้น เป็นตัณหา ๓๖
ตัณหา ๓๖ นี้ เกิดได้ในกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ และ อนาคตกาล ๑  เอากาลทั้ง ๓ นี้คูณ
ตัณหา ๓๖ นั้นอีก จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘

1. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากได้ ของตัณหา 6 ประการ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น อยากได้ของสวยที่ตนไม่มีสิทธิได้ อยากรับทานอาหารทิพย์ อยากได้กลิ่นหอมของเทวดา อยากฟังเสียงจากสวรรค์ อยากมีรูปงามอย่างนางฟ้า อยากมีบ้านสวย ทำให้ไม่รู้จักพอ เป็นต้น
2. ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากเป็น อยากมี หรืออยากให้อยู่ เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นเจ้า อยากเป็นดารา นักร้อง จนถึงอยากนิพพาน ก็นับเป็นตัณหา
3. วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากไม่ให้เป็น ไม่ให้อยู่ หรือให้พ้นไป ของสิ่งที่สมควรจะเป็น เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย ไม่อยากให้สิ่งที่มีอยู่หมดสิ้นไป หรือเชื่อว่าตายแล้วสูญไม่เกิดอีก ในความเป็นจริงลักษณะของตัณหาทั้ง 3 ประการนี้ไม่ได้เกิดตามลำพังแต่เกิดต่อเนื่องกัน เช่น กามตัณหา คือ อยากได้ เมื่อได้มาแล้วก็เป็นภวตัณหา คือ อยากให้อยู่ตลอดไป แต่เมื่อเบื่อก็เกิดวิภวตัณหา คืออยากให้พ้นไปจากตน จึงรวมเรียกว่า ตัณหา 3

อุปาทาน เป็นตัวกิเลสที่ต่อมาจากตัณหา คือเมื่อคนเรามีความทะยานอยากแล้วก็เกิดอุปาทานคือความหลงเชื่อผิดว่าเป็น ของตน ทำให้มีการ ยึดถือ ไม่ยอมปล่อย ไม่ว่าจะเป็นยศ ศักดิ์ สรรเสริญ บริวาร ทรัพย์สมบัติ หรือรูปกายของตน จะมีอุปาทานยึดมั่นว่าเป็นของตนทั้งสิ้น โดยลืมนึกไปว่าอย่าว่าแต่ของนอกกายเหล่านี้เลย แม้แต่ร่างกายของเรายังยึดไม่อยู่ มีป่วย มีแก่ชรา มีตาย สลายไป อุปาทานจึงเป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอันหนึ่ง ซึ่งอาจแยกสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่

อัตตวาทุปาทาน
เป็นข้อสำคัญที่สุดคือความยึดมั่นว่าเห็นตนเองหรืออัตตาเป็นตัวเรา สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของตนและยึดไว้ไม่ยอมปล่อย อันจะเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อๆไป พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ยึดว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
กามุปาทาน ความยึดมั่นในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสและการบริโภคของที่มีที่ได้
ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในความคิดเห็นของตนว่าเป็นสิ่งถูกต้องแน่นอน
สิลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นกับศิลพรต ซึ่งมีข้อยึดถือข้อปฏิบัติต่างๆกันว่าของตนถูกต้อง ซึ่งเป็นความงมงาย

ซึ่งถ้าดูเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ที่เห็นคนเขาทะเลาะโต้เถียงกันอยู่ แบ่งพรรคแบ่งพวก จนถึงฆ่ากันตาย ก็เกิดจากข้อกามุปาทานกับทิฎฐปาทาน ในประเทศที่ต่างศาสนาตีกันฆ่ากันอยู่ก็จากสิลพัตตุปาทาน ต่างยึดมั่นของตน จนเกิดมีการสู้รบแย่งดินแดนกัน คนแย่งที่ดินกัน แย่งหญิงแย่งชายกัน ก็เป็นอัตตวาทุปาทานนั่นเอง ดังนั้นอุปาทานจึงเป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างชัดเจนดังนี้ ผู้ใดจะปฏิบัติตัวให้พ้นทุกข์ จึงต้องลดตัณหา อุปาทาน ให้บางลงมากที่สุด แต่ก็คงเป็นความจริงที่ว่าผู้ที่มีตัณหาอุปาทานน้อยมากคงจะดำรงชีวิตในสังคม มนุษย์ที่แย่งชิงแข่งขันกันทุกสิ่งได้ยาก เราคงจะต้องเดินสายกลางในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันตัวตัณหาอุปาทานก็พอจะแก้ไขให้ได้ดีต่อตัวเรามากที่สุด

อวิชชา คือ ข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดของ กิเลส แปลตามตัวหมายถึง ความไม่รู้จริงไม่รู้แจ้ง ความโง่ ความไม่รู้ทันเกี่ยวกับเรื่องของชีวิต รวมถึงความไม่ยอมรับรู้ และความรู้ผิดด้วย ซึ่งทางโลกคำว่าวิชามักจะหมายถึงผู้ที่มีการศึกษา แต่ในทางธรรมไม่ได้หมายถึงความรู้ที่ได้จากวิชาที่ได้จากการศึกษา แต่เป็นวิชาที่เกิดจากการศึกษาทางธรรมของพระพุทธองค์พระองค์เดียวและปฏิบัติ ทางจิตจนสามารถรู้ทันกิเลส ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ทำให้เบาบางลง ผู้ที่มีอวิชชาอาจจะจบปริญญาเอกจากมหาวิยาลัยที่เด่นดังที่สุดในโลก ได้เหรียญได้รางวัลต่างๆมีชื่อเสียง แต่ถ้าไม่รู้ทันตัณหา อุปาทาน รวมทั้งไม่รู้จักอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้ว ทางธรรมก็ถือเป็นผู้ที่มีอวิชชาทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถรู้ถึงทางที่จะพ้นทุกข์ คือนิพพานได้ เพราะยังติดตัณหาอุปาทานที่จะนำให้เกิดภพเกิดชาติไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นเพราะความสำคัญเช่นนี้ในปฏิจจสมุปบาทจึงเริ่มต้นด้วยคำว่า อวิชชา

กิเลส ข้อที่สำคัญที่สุดคือ อวิชชา คือความไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ในเรื่องของชีวิต ของสังขาร ของบาปบุญ รู้เรื่องของการเกิดดับฯ อวิชชาทำให้เกิดกิเลสตัวอื่น คือ ตัณหา และอุปาทาน และทำนองเดียวกัน การเกิดตัณหาและอุปาทานทำให้เกิดอวิชชา อวิชชาจึงเป็นกิเลสตัวใหญ่ ถ้าแก้ความไม่รู้ได้ ก็จะไม่มีตัณหาและอุปาทาน ก็จะหมดซึ่งกิเลสทั้งปวง

 อกิเล 10

กิเลสเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ

๑. โลภกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘

๒. โทสกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน
โทสมูลจิต ๒

๓. โมหกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติสัมปชัญญะ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๔. มานกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทนงตนถือตัว องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๕. ทิฏฐิกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตาม ความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๖. วิจิกิจฉากิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจใน พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉา สัมปยุตตจิต ๑

๗. ถีนกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร องค์ ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕

๘. อุทธัจจกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๙. อหิริกกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๐. อโนตตัปปกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการ กระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

ธรรมที่เป็นกิเลส สัก ๗๗ ข้อ  ซึ่งเป็นธรรมที่ต้องต้องละเสีย ดังนี้
อกุศลกรรมบท ๑๐ กรรมที่เป็นอกุศล

๑. ปาณาติบาต  คือการฆ่าสัตว์

 ๒. อทินนาทาน  คือการลักทรัพย์
              ๓. กามเมสุมิจฉาจาร   คือการผิดในกาม
 ๔. มุสาวาท       คือการการพูดเท็จ
  ๕. ปิสุณวาจา    คือการพูดส่อเสียด
   ๖. ผรุสวาจา      คือการพูดคำหยาบ
   ๗. สัมผัปปลาปะ   คือการพูดเพ้อเจ้อ
    ๘. อภิชฌา   คือการเพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น
๙. พยาบาท  คือการการปองร้าย
๑๐. มิจฉาทิฎฐิ    คือการความเห็นผิด

อกุศลวิตก ๓ ความคิดตรึกตรองที่เป็นอกุศล
๑. กามวิตก   คือ ความคิดตรึกตรองไปในกาม
๒. พยาบาทวิตก  คือ ความคิดตรึกตรองไปในการประทุษร้าย
๓. วิหิงสาวิตก     คือ ความคิดตรึกตรองไปในการเบียดเบียน

อุปกิเลส ๑๖  ความมัวหมองที่เข้าไปครอบครองจิต
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ  คือความละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร
๒. โทสะ   คือ ความมีใจคิดประทุษร้าย
๓. โกธะ    คือ ความโกรธ
๔. อุปนาหะ  คือ ความผูกโกรธไม่วาง
๕. มักขะ      คือ ความลบหลู่คุณท่าน
๖. ปลาสะ     คือ ความตีเสมอ
๗. อิสสา      คือ ความริษยา (ตามพจนานุกรมไทยคือความหึงหวง ความชิงชัง)
๘. มัจฉริยะ   คือ ความตระหนี่
๙. มายา   คือ ความมีจิตคิดเล่ห์กลลวง
๑๐.สาเถยยะ  คือ ความโอ้อวด
๑๑. ถัมภะ      คือ ความรั้นในทางที่ผิด
๑๒. สารัมภะ   คือ ความแข่งดี
๑๓. มานะ      คือ ความถือตัว
๑๔. อติมานะ  คือ ความดูหมิ่นท่าน
๑๕. มทะ       คือความมัวเมา
๑๖. ปมาทะ    คือความเลินเล่อหรือละเลย
 อาสวะ ๓ เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
๑. กามาสวะ   คือความเศร้าหมองเพราะเกิดกาม
๒. ภวาสวะ    คือความเศร้าหมองเพราะติดอยู่ในภพ (กามาวจร อกุศลจิต )
๓. อวิชชาสวะ   คือความเศร้าหมองเพราะความมืดบอดของจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำ

ตัณหา ๓ ความทะยานอยากไปของจิต

๑. กามาตัณหา   คือความอยากได้ ทะยานอยากไปใน รูปเสียงกลิ่นรส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ถูกใจตัว ฯ
๒. ภวาตัณหา     คือความพยายามแสวงหา ทะยานอยากไป รูปเสียงกลิ่นรส อันน่าใคร่น่าพอใจ ที่ถูกใจตัวเองนี้น ฯ
๓. วิภวตัณหา     คือความไม่อยากประสบ ทะยานอยากดิ้นรนผลักใส ผัสสะที่ไม่ดี ที่มากระทบ

อุปาทาน ๔ ความยึดมั่น ถือมั่น เพราะตัณหา
๑. กามานุปาทาน    คือความถือมั่นในกาม
๒. ทิฏฐิ อุปาทาน    คือความถือมั่นในทิฏฐิ
๓. สีลพตปรามาส อุปาทาน   คือความถือมั่นในศิลพรต
๔. อัตตานุปาทาน    คือความถือมั่นในตัวตน

นวรณ์ ๕  เครื่องกีดขวางความเจริญ
๑. กามฉันทนิวรณ์   คือจิตที่ถูกความยินดีในกามคุณ ๕ ขวางกั้นอยู่
๒. พยาบาทนิวรณ์   คือจิตที่มีความพยาบาทกั้นขวางอยู่
๓. ถินนิทธนิวรณ์     คือจิตที่มีความเกียจคร้าน เอาแต่ง่วงหงาวหาวนอน กั่นขวางอยู่
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์   คือจิตที่มีความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ กั่นขวางอยู่
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์    คือจิตที่มีความสงสัย กั่นขวางอยู่

  อนุสัย ๗  กิเลสที่นอนเนื่องในขันธสันดาร
(คือจิตกระทบผัสสะต่างๆ ก็จะเกิดต่อเนื่องตามทันที)
๑. ทิฏฐานุสัย   คือกิเลสที่นอนเนืองคือความเห็น (เช่น ตาเห็นรูป เกิดเห็นว่าสวย ว่าหล่อ ตามทันที เป็นต้น )
๒. วิจิกิจฉานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความสงสัย(เช่น เมื่อตัวเองประสบทุกข์ ก็สงสัยทันทีทำไมฉันถึงได้รับผลกรรมเช่นนี้ เป็นต้น)
๓. มานานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความถือตัว (เช่น ตัวเองเป็นคนมีศิลมีธรรม พอสนทนากับคนพาลก็มีความเห็นว่าตัวประเสริฐกว่า เขาต่ำกว่าตัวเอง เกิดขึ้นตามทันทีเป็นต้น
๔. ภวานุสัย   คือกิเลสที่นอนเนืองคือภพ (เช่นได้ยินเสียงที่ไม่ชอบใจ ก็เกิด ความโกรธทันที และผูกโกรธไม่วางก็ติดอยู่ในภพ หรือสภาวะอกุศลจิตนั้นๆๆ เป็นต้น)
๕. ราคานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความยินดี (เช่นเห็นของสวยงาม ก็เกิดรักใคร่ ยินดีอยากได้อยากครอบครองขึ้นตามทันที เป็นต้น)
๖. ปฏิฆานุสัย   คือกิเลสที่นอนเนืองคือ ความติดข้องใจ ไม่พอใจ (เช่นเมื่อได้ยินเสียงที่ไม่ดี ก็เกิดความไม่พอใจตามมาทันที)
๗. อวิชชานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความไม่รู้ (เช่นเมื่อสภาวะธรรมคือทุกข์เกิดขึ้น ก็ไม่รู้ว่า อะไรคือทุกข์ คือสมุทัย คือนิโรธ คือมรรค ย่อมเป็นทุกข์ร้อนอยู่ โดยมิสามารถพ้นทุกข์ไปได้ เป็นต้น)

โอฆะ ๔ กิเลสที่เปรียบดังห้วงน้ำใหญ่ ที่หมู่สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ มิอาจข้ามได้
๑. กามาโอฆะ    คือห้วงน้ำใหญ่ คือกาม
๒. ภวโอฆะ       คือห้วงน้ำใหญ่ คือภพ
๓. ทิฏฐิโอฆะ    คือห้วงน้ำใหญ่ คือทิฏฐิ
๔. อวิชชาโอฆะ คือห้วงน้ำใหญ่ คือ อวิชชา

โยคะ ๔  เครื่องประกรอบสัตว์ใว้ในภพ ดุจเชือกผูกวัวไว้กับแอก
๑. กามาโอฆะ   คือเครืองประกอบสัตว์ คือกาม
๒. ภวโอฆะ   คือเครืองประกอบสัตว์ คือภพ
๓. ทิฏฐิโอฆะ   คือเครืองประกอบสัตว์ คือทิฏฐิ
๔. อวิชชาโอฆะ  คือเครืองประกอบสัตว์ คืออวิชชา 

สังโยชน์ ๑๐  กิเลสเครืองร้อยรัด

๑. สักกายทิฏฐิ   คือความเห็นว่าเป็นอัตตา
๒. วิจิกิจฉา  คือความสงสัย (นิพพาน)
๓. สีลพตปรามาส  คือความถือศิลพรต (เช่นเชื่อว่าทรมานตน การเซ่นไหว้ บวงสรวงเทพเจ้า เป็นทางพ้นทุกข์ เป็นต้น)
๔. กามราคะ   คือความยินดีในกาม
๕. พยาบาท   คือความประทุษร้าย
๖. รูปราคะ  คือความยินดีในรูปฌาณ
๗. อรูปราคะ   คือความความยินดีในอรูปฌาณ
๘. มานะ   คือ ความถือตัว
๙. อุทธัจจะ  คือความฟุ้งซ่านของจิต
๑๐.อวิชชา  คือความไม่รู้

อวิชชา ๘  ความไม่รู้ความมืดบอดของจิต
๑.  อดีตขันธ อวิชชา    คือไม่รู้ขันธ์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่เป็นอดีต
๒. อนาคตขันธ อวิชชา   คือไม่รู้ขันธ์ ที่เป็นอนาคต
๓. ปัจจุปันนขันธ อวิชชา  คือไม่รู้ขันธ์ ที่เป็นปัจจุบัน
๔. ทุกข อวิชชา  คือไม่รู้ว่าทุกข์คือสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ และไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์
๕. สมุทัย อวิชชา  คือไม่รู้สิ่งที่ต้องกำหนดละ  และไม่ได้ละธรรมที่ต้องละ
๖. นิโรธ อวิชชา  คือไม่รู้ความดับทุกข์ เพราะเมื่อทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่ตามดูปล่อยให้ดับไปเอง เลยไม่รู้จักนิโรธความดับด้วยปัญญา
๗. มัคค อวิชชา   คือไม่รู้จักหนทาง ว่าปฏิบัติเช่นไร ทุกข์ถึงจะไม่สามารถได้ช่องกลับมาเกิดขึ้นได้ เพราะไม่ได้พิจารณาอริยสัจ
๘. ปฏิจสมุปทบาท อวิชชา   คือไม่รู้จัก เหตุปัจจัย ความเกียวเนื่อง ของสภาวะธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับ
ธรรม ที่ต้องละ ๗๗ ประการที่นำมาแสดง มีอกุศลกรรมบทข้อที่ ๑-๓ เกิดที่กาย ข้อที่๔-๗ เกิดที่วาจา ธรรมนอกนั้นเป็น
กิเลสที่เกิดขึ้นที่จิตใจเราทั้งหมด 


สรุปอกุศลกรรมบถ ๑๐

ความชั่วทางกาย ๓ ประการ

๑. ปาณาติบาต ( ฆ่าสัตว์ , เบียดเบียนสัตว์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่จริงๆ
         ๒. เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตอยู่
         ๓. มีจิตหรือเจตนาที่จะฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย
         ๔. ทำความเพียรเพื่อจะฆ่าสัตว์นั้น ( ความเพียรพยายามเพื่อฆ่าแบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
            ๔.๑ ทำการฆ่าด้วยตนของตนเอง
            ๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือใช้วาจาทำการฆ่า
            ๔.๓ ใช้อาวุธเป็นเครื่องทำการฆ่า
            ๔.๔ ฆ่าด้วยหลุมพราง ( มีการวางแผนนานาประการเพื่อให้สัตว์นั้นตาย )
            ๔.๕ สังหารด้วยวิชาคุณ ( พิธีทางไสยศาสตร์ )
            ๔.๖ สังหารด้วยฤทธิ
         ๕. สัตว์นั้นก็ตายเพราะความเพียรนั้น
ผลของ ปาณาติบาต
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ทุพพลภาพ
         ๒. รูปไม่งาม
         ๓. กำลังกายอ่อนแอ
         ๔. กำลังกายเฉื่อยชา
         ๕. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
         ๖. เป็นคนขลาดหวาดกลัว
         ๗. ฆ่าตนเอง หรือถูกผู้อื่นฆ่า
         ๘. โรคภัยเบียดเบียน
         ๙. ความพินาศของบริวาร
         ๑0. อายุสั้น

๒. อทินนาทาน ( ลักทรัพย์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
         ๒. ผู้กระทำการลักทรัพย์ก็รู้โดยชัดแจ้งว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
         ๓. มีจิตหรือมีเจตนาพยายามที่จะลักทรัพย์นั้นให้ได้
         ๔. มีความเพียรพยายามที่จะลักทรัพย์นั้น ( ความเพียรที่จะลักทรัพย์แบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
            ๔.๑ ทำการลักทรัพย์นั้นด้วยตนของตนเอง
            ๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นทำการลักทรัพย์นั้น
            ๔.๓ ทำการลักทรัพย์นั้นโดยใช้อาวุธเป็นเครื่องประกอบ
            ๔.๔ ทำการลักทรัพย์โดยใช้เครื่องปกปิดไม่ให้จำหน้าตาได้
            ๔.๕ ทำการลักทรัพย์โดยใช้วิชาคุณ ( ไสยศาสตร์ เช่น สะกดให้เจ้าของทรัพย์หลับ )
            ๔.๖ ทำการลักทรัพย์ด้วยฤทธิ์เดช ( เช่น ดำดินไปลักทรัพย์ )
         ๕. ได้ทรัพย์มาสำเร็จเพราะความเพียรที่จะลักทรัพย์นั้น
ผลของ อทินนาทาน
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ด้อยทรัพย์
         ๒. ยากจนค่นแค้น
         ๓. มีความอดอยาก
         ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
         ๕. พินาศในการค้า การขาย
         ๖. ทรัพย์ของตนพินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย และโจรภัย เป็นต้น

๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( ผิดประเวณี ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. วัตถุที่ไม่ควรไป ( ผู้ที่ไม่สมควรเสพตามกฏหมายหรือตามประเพณี )
         ๒. มีจิตคิดที่จะเสพ
         ๓. มีความพากเพียรพยายามที่จะเสพ ( กระทำเองด้วยความเพียรเพื่อได้เสพรสกามคุณ )
         ๔. พอใจในการทำมัคคให้ล่วงมัคค ( พอใจในการเดินทางที่ผิด )
ผลของ กาเมสุมิจฉาจาร
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. มีผู้เกลียดชังมาก
         ๒. มีผู้ปองร้ายมาก
         ๓. ขัดสนในทรัพย์
         ๔. ยากจนอดอยาก
         ๕. เป็นผู้หญิง
         ๖. เป็นกะเทย
         ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
         ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
         ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
         ๑0. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
         ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

การดื่มสุรา หมายถึงการเสพของมึนเมา จัดอยู่ในอกุศลกรรมประเภท " กาเมสุมิจฉาจาร "
องค์ประกอบของการดื่มสุรา
         ๑. สิ่งนั้นเป็นของมึนเมา
         ๒. มีเจตนาเพื่อที่จะดื่มหรือเสพหรือกิน
         ๓. กระทำการดื่ม การเสพ การกิน
         ๔. สุรานั้นล่วงลำคอลงไปแล้ว
ผลของ การดื่มสุรา หรือการเสพของมึนเมา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
         ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
         ๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
         ๔. เสื่อมเกียรติ
         ๕. หมดยางอาย
         ๖. ปัญญาเสื่อมถอย

ความชั่วทางวาจา ๔ ประการ

๔. มุสาวาท ( พูดโกหก ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง ( วัตถุเทียม )
         ๒. มีจิตหรือเจตนาที่คิดจะพูดโกหก
         ๓. ประกอบด้วยความเพียรที่โกหกให้คนเชื่อ ( โดยหลักการที่จะให้คนเชื่อ ๓ ประการ )
            ๓.๑ พูดมุสาด้วยตนของตนเอง
            ๓.๒ ให้ผู้อื่นกล่าวคำโกหกแทนตัว
            ๓.๓ พูดหรือโฆษณาคำโกหกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
         ๔. ผู้ที่ได้ฟังหรืออ่านลายลักษณ์อักษรแล้วก็มีความเชื่อตามนั้น
ผลของ มุสาวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. พูดไม่ชัด
         ๒. ฟันไม่มีระเบียบ
         ๓. ปากเหม็นมาก
         ๔. ไอตัวร้อนจัด
         ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
         ๖. พูดด้วยปลายลิ้น หรือปลายปาก
         ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
         ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

๕. ปิสุณาวาท ( พูดส่อเสียด ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีคนหมู่มากหรือน้อยที่ต้องการให้เขามีความแตกแยกซึ่งกันและกันเกิดขึ้น
         ๒. มีความปรารถนาหรือเจตนาต้องการให้คนหมู่นั้นแตกแยกกัน
         ๓. เพียรพยายามที่ให้เขาแตกแยกกัน ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
            ๓.๑ วจีปโยค คือ กล่าวด้วยวาจาให้เขามีความแตกแยกกัน
            ๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขาแตกแยกกันโดยไม่ออกเสียง
         ๔. คนในหมู่คณะนั้นก็ปักใจเชื่อใน " วจีปโยค หรือ กายปโยค " ที่แสดงออกไป
ผลของ ปิสุณาสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ตำหนิตนของตนเอง
         ๒. แตกมิตรสหาย
         ๓. มักถูกลือโดยไม่มีความจริง
         ๔. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน

๖. ผรุสวาท ( กล่าวคำหยาบ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีคนอื่นที่จะพึงด่าว่าให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
         ๒. เหตุที่จะกล่าวให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจนั้น เพราะเหตุว่ามีจิตโกรธเคืองเขา
         ๓. จึงแสดงคำหยาบหรือแสดงอาการหยาบ เพื่อให้เขาเจ็บช้ำใจ ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
            ๓.๑ วจีปโยค คือ การกล่าวทางวาจาให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
            ๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงอาการกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
ผลของ ผรุสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. พินาศในทรัพย์
         ๒. มีกายวาจาหยาบ
         ๓. ได้ยินเสียง เกิดความไม่พอใจ
         ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

๗. สัมผัปปลาปะ ( กล่าวคำเพ้อเจ้อ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มุ่งกล่าวคำที่ไร้แก่นสารไม่มีประโยชน์ หรือเจตนานั่นเอง
         ๒. กล่าวคำที่ไม่มีประโยชน์นั้นออกไป
ผลของ สัมผัปปลาปะ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
         ๒. ไม่มีอำนาจ
         ๓. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
         ๔. จิตไม่เที่ยง คือวิกลจริต

ความชั่วทางใจ ๓ ประการ


๘. อภิชฌา ( อยากได้ของผู้อื่น ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. ทรัพย์หรือของเหล่านั้นเป็นของผู้อื่น
         ๒. มีความเพ่งเล็งที่จะให้ได้ทรัพย์หรือของเหล่านั้นมาเป็นของตน
ผลของ อภิชฌา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
         ๒. มักได้รับคำติเตียน
         ๓. ขัดสนในลาภสักการะ
         ๔. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี

๙. พยาบาท ( ผูกใจเจ็บ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีสัตว์อื่นเพื่อทำลาย
         ๒. มีจิตหรือเจตนาคิดทำลายเพื่อให้สัตว์นั้นประสพความพินาศ
ผลของ พยาบาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. มีรูปทราม
         ๒. อายุสั้น
         ๓. มีโรคภัยเบียดเบียน
         ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

๑0. มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด
         ๒. เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์ที่ผิดนั้น
ผลของ มิจฉาทิฏฐิ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. มีปัญญาทราม
         ๒. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน
         ๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
         ๔. ห่างไลกแห่งรัศมีแห่งพระธรรม


เอาชนะราคะกิเลสมารด้วยยุทธวิธี

๑. มีปัญญาความรอบรู้จากพระพุทธองค์ ครู อาจารย์ พระอริยเจ้าทั้งหลายถึงความมีโทษของตัณหาราคะ

กิเลสว่าทำให้สัตย์โลกต้องเวียนวายตายเกิดมาเป็นเวลายาวนานต้องประสบทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตราย วิบาก ความเจ็บปวด ความเจ็บใจ ความทุกข์ โทษทันดับแค้นใจ มามากจนนับชาติไม่ได้กระดูก น้ำตา สายเลือด มากมายดุจน้ำทะเลภูเขา

๒. มองให้เห็นสัทธรรมความจริงในปัจจุบันของความรักว่า ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์ รักมากทุกข์มาก รักน้อยทุกข์น้อย หมดรักหมดทุกข์

๓. การไม่เห็น การไม่ได้ยิน การไม่พูดด้วย การไม่คลุกคลีกับเพศตรงกันข้ามอันทำให้เกิดความกำหนัด ราคะกิเลส

๔. การมองให้เห็นความจริงว่า ไม่มีอะไรสวยงามจริง มองตาก็มองให้เห็นตาว่ามีขี้ตา มีน้ำตา มองหูก็มองให้

เห็นขี้หู น้ำหนวก น้ำหนอง มองจมูกก็มองให้เห็นขี้มูก มองปากลิ้นก็มองให้เห็นขี้ฟัน น้ำลาย สกปรก มอง กายส่วนใด ก็มองให้เห็นขี้ เหยี่ยว อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเหลือง น้ำหนองที่ไหลออกจากทวารหนัก เบาก้าม เนื้อก็เต็มไปด้วย เหงื่อไคล ขี้เต่า กลิ่นเหม็น กลิ่นสาป

๕. มองให้ความสวย ความสาว ความหนุ่ม ไม่จีรังไม่หยั่งยืนไม่ถาวร ต้องแก่ ต้องเหี่ยว ต้องชรา ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุด

๖.มองให้เห็นความเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีตัว ไม่มีตน ที่ถาวรอะไร

๗.มองให้เห็นเป็นของเน่า ของเหม็น ของสกปรก ของเปื่อย ของต้องผุพังต้องเป็นหนอน ดุจซากผีดุจซากศพ

๘.มองให้เป็นสัทธรรมความจริงว่า ไม่มีความเป็นหญิงเป็นชายไม่มีสัตว์ บุคคลมองเห็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปตามเวลา ตามปัจจัย

๙. ให้ภาวนา เน่าหนอ เหม็นหนอ ไม่เทียงหนอ ตายหนอ พินาศหนอ น่ารังเกลียดหนอ ไม่เป็นสาระหนอ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นหนอ บ่อย ๆ นาน ๆ ทุกวัน ๆ ๆ ๆ

๑๐. นั่งสมาธิเจริญภาวนาจนจิตไม่คิดว่าสวยงาม น่ารัก น่าภิรมย์ รักใคร่สะกดจิตจนได้ รูปฌาน๑–๔ราคะ กิเลสก็ดับ

 

เอาชนะโมหะความหลงด้วยยุทธวิธี

วิปัสสนากรรมฐานรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปกายทั้งปวง สุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ ความจำได้หมายรู้ทั้งปวง ความนึกคิดปรุงแต่งใจทั้งปวง ความรู้ สึกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

๑. มีความไม่เทียง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ไม่เป็นเราของเรา ไม่เป็นใครของใคร เป็นเขาของเขาไม่มีฉันของฉัน

ไม่มีเธอของเธอ ไม่เป็นสัตว์เป็นบุคคล

๒.มีเกิดเป็นธรรมดา มีความเป็นอยู่ตั้งอยู่เป็นธรรมดา และในที่สุดก็มีความดับไปสลายไปเป็นธรรมดา

๓. มองเห็นความจริงในความไม่มี ไม่เป็น ไม่ได้ อะไรเลย

๔. มองให้เห็นความจริงว่า ยินดีก็ทุกข์ ยินร้ายก็ทุกข์ ติดใจก็ทุกข์ จึงคลายละ ปล่อยวางความยินดี ยินร้าย

ติดใจในสิ่งทั้งปวง

๕. มองให้เห็นความจริงว่าโลกทั้งปวง ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเพราะยึดมั่นถือมั่นก็เกิดทุกข์

๖. มองให้เห็นทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตราย วิบากกรรม อันเกิดจากจิตปรุงแต่ง คิดมาก ปรุงมากก็ทุกข์มาก

๗. คบเพื่อน คบครูอาจารย์มีปัญญา วิชชา ความรอบรู้ ควรแนะนำตักเตือนตลอด

๘. หมั่นเจริญกรรมฐาน ทุกวันจนเกิด มรรค ผล นิพพาน


จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทำสิ่งภายนอกให้มี ให้เป็น ให้ดี ให้เลว ให้เกิดวิบากได้แล้ว ยึดติดอยู่ว่านั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา

กิเลสปรุงจิต คือ การที่สิ่งภายนอกเข้ามาทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่ สำคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่ร่ำไป.”


คำ ว่า กิเลส ก็หมายถึง เครื่องเศร้าหมอง ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ถ้าบุคคลใดมีกิเลสก็ทำให้จิตเจตสิกนี้เศร้าหมองรวมทั้งรูปด้วย เช่น รูปกาย ใบหน้าหน้าตาก็เศร้าหมองไปด้วย อย่างคนที่เกิดโทมนัส เกิดโทสะ หน้าตาก็ขึงเครียด ไม่เป็นที่น่ายินดี ใครเห็นก็ไม่อยากเข้าใกล้ด้วย เวลาคนที่มีกิเลสมีโทสะ จิตใจเร่าร้อน จิตใจเศร้าหมอง กิเลสนั้นท่านแสดงไว้ 10 ประการด้วยกัน

ประการที่ 1

โลภะ
ตัวโลภะ คือ ความโลภ ความต้องการติดใจในอารมณ์ แม้แต่ได้ยินเสียงไพเราะเกิดความยินดีพอใจ โลภะก็เกิดขึ้นแล้ว นั่งกรรมฐานพอมัน ปวดเมื่อยมันก็อยากจะไปเสวยความสุขไม่อยากจะได้รับความทุกข์อันนี้ ขณะนั้นก็มี โลภะเกิดขึ้นแล้ว โลภะเกิดขึ้นพร้อมด้วยอุเบกขาก็มี ความโลภเกิดขึ้นพร้อมด้วย ความดีใจก็มี ความโลภเกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ ก็มี ไม่ใช่ว่าโลภแล้วดีใจเสมอไป อย่างในกรณีที่เรานั่งกรรมฐานมันปวดมันเมื่อยอยู่นี้ มันก็เกิดอยากจะไปนอน อยากจะเสวยความสุขในอริยาบถอื่น

แต่จิตใจในขณะนั้นจะไม่รู้สึกดีใจอะไร เพราะว่ามันกำลัง ปวดเมื่อยอยู่ มันก็จะโลภแบบเฉย หรืออย่างเราเดินไปในห้างสรรพสินค้า นั่นก็ สวยนี้ก็ดีตู้เย็นพัดลมวีดีโอโทรทัศน์ อยากได้มั้ยอยากได้เป็นความโลภแล้ว แต่มัน ไม่ได้ดีใจอะไร เพราะอะไร เพราะมันรู้ว่าไม่มีเงินจะซื้อมันก็เฉยๆ อยากได้แต่เฉยๆ อย่างพอไปเห็นเงินในธนาคารเป็นปึกๆ คนนับเงินไม่มีใครที่จะไม่อยากได้ แต่พนักงานเขาก็เฉยๆ เขาไม่ได้ยิ้มแย้มอะไร เพราะอะไร เพราะเขารู้ว่าไม่ใช่ของเขาเอามาไม่ได้ โลภแต่เฉยๆ ถ้าเราสังเกตจิตใจมันก็จะมีอยู่ความโลภพร้อมด้วยความดีใจบ้าง ความโลภพร้อมด้วยความเฉยๆ บ้าง


ประการที่ 2

โทสะ
โทสะก็คือความโกรธ เพียงแต่จิตไม่แช่มชื่นก็เป็นโทสะแล้ว ถ้าไม่สังเกตไม่รู้หรอก จิตมันขุ่นมัว นั่งปฏิบัติอยู่จิตมันขุ่นมัว สังเกตดูมีแล้วโทสะ


ประการที่ 3

โมหะ
โมหะก็คือความหลง ความโง่ หรือว่าไม่รู้ คือไม่รู้ตามความเป็นจริง รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ สิ่งที่ควรรุ้ไม่รู้ นี่คือโมหะ มันไม่ใช่ว่า ม่รู้อะไรนะ โมหะนี่มันรู้เหมือนกันแต่ไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ แต่สิ่งที่ควรรู้ไม่รู้ สิ่งที่ไม่ควรรู้ เช่น สมมุติบัญญัติ สามารถจะสร้างระเบิดยุทโธปกรณ์ที่จะกดปุ่มนิดเดียวฆ่าคน เป็นแสนได้ อย่างนั้นท่านก็ยังว่าเป็นโมหะ มันรู้ รู้ที่จะฆ่าคน รู้ที่จะทำลายคน ไม่ใช่รู้ในการที่จะดับทุกข์ได้

แต่สิ่งที่ควรรู้คืออะไร ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น ไม่รู้ นั่นคืออวิชชา โมหะมันก็คอยเกิดขึ้น เวลาปฏิบัติไปโมหะมันคอยจะเข้ามาแทรก มันคอยจะเผลอ เผลอตัวหลงลืมสติคือโมหะ ฉะนั้น สติกับโมหะนี้มันต้องต่อสู้กัน เหมือนคนสองคนที่จะแย่งนั่งเก้าอี้ตัวเดียวกัน ถ้าหากว่าสติมันไวกว่า โมหะก็ตกเก้าอี้ไป จิตใจก็ปลอดโปร่งมีสติ แต่ถ้าสติไม่ทัน โมหะก็ขึ้นนั่งเก้าอี้ครอบงำจิตใจให้หลงให้เผลอให้ลืมไป

ฉะนั้นสติจะต้องฝึกให้ทันแย่งกันที่ไหน อะไรเป็นเก้าอี้ ก็คือ ปัจจุบันธรรมของรูปนามเป็นสนามรบสู้กันระหว่างฝ่ายอธรรมกับ ฝ่ายธรรม ถ้าหากว่าสติฝ่ายธรรมแพ้ อธรรมครอบงำจิตใจ บริวารของอธรรมทั้งหลาย ก็เข้าครอบงำหมด บ้านเมืองนั้นก็มืดมนไปหมด จิตใจของบุคคลนั้นก็มืดมน ถ้าสติครอบงำ จิตใจก็เบิกบานผ่องใส ธรรมฝ่ายกุศลก็เกิดขึ้น ฉะนั้นต้องคอยรู้เท่าทัน เวลาเผลอก็รู้ว่าเผลอ เวลามีสติก็รู้ว่ามีสติ ให้เห็นลักษณะความต่างกัน


ประการที่ 4

มานะ
ความเย่อหยิ่งถือตัว อันนี้ก็สำคัญ ถือตัวเอง ใครจะมาแตะต้องใครจะมาพูดจากร้าวร้าวอะไรนิดอะไรหน่อยไม่ได้ มันมีความถือตัว ก็ต้องรู้เท่าทัน


ประการที่ 5

มิจฉาทิฎฐิ
ความเห็นผิด มีความเห็นผิดไปว่า บุญไม่มี บาปไม่มี ผลบุญผลบาปไม่มี ทำดีไม่ได้ดีทำชั่วไม่ได้ชั่ว อันนี้เป็นความเห็นผิดที่มีโทษ อย่างคนที่เกิดความเห็นผิดร้ายแรง ที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐินี้เป็นอัน ตรายมาก ถ้าตายจากปัจจุบันนี้ก็ต้องลงนรกแน่นอนเป็นความเห็นผิดที่ดิ่งลงไป ตลอดชีวิตนี้เชื่อผิดอยู่อย่างนั้น คือ เชื่อว่าบุญไม่มีบาปไม่มีนรกสวรรค์ไม่มี ทำดีไม่ได้ดีทำชั่วไม่ได้ชั่ว การกระทำบุญก็ทำไปอย่างนั้น ทำบาปก็ทำไปอย่างนั้นไม่มี ผลอะไร

ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเหตุมีปัจจัยอะไร ถ้ามีความเชื่อมั่นอย่างนั้น ลงไป ดิ่งลงไปเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิสู่นรกแน่นอน แต่ถ้ายังสงสัยจะจริงไม่จริง อันนี้ ไม่ถึงขนาดนั้นยังทำความดีได้ และโดยเฉพาะความเห็นผิดโดยสามัญ ก็คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน อย่างนี้เป็นเห็นผิดโดยสามัญ ยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เราเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้เป็นความเห็นผิดโดยสามัญก็เป็นลักษณะของทิฏฐิเหมือนกัน


ประการที่ 6

วิจิกิจฉา
ก็กล่าวไปแล้วในนิวรณ์


ประการที่ 7

ถีนะ
ความท้อ หดหู่ ก็กล่าวไปแล้วในนิวรณ์


ประการที่ 8

อุทธัจจะ
ความฟุ้งซ่าน กล่าวไปในเรื่องนิวรณ์แล้ว


ประการที่ 9

อหิริกะ
ความไม่ละอายต่อทุจริต


ประการที่ 10

อโนตตัปปะ
ไม่เกรงกลัวต่อทุจริต คู่กัน ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว ไม่ละอายในที่นี้ก็คือ ไม่ละอายในบาปกรรมต่างๆ อย่างเช่นรักษาศีล 8 ห้ามให้เว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาลหลังจากเที่ยงไปแล้ว ถ้าคนไม่มีความละอาย ลับตาคนก็อาจจะล้วงเอาของอะไรมากิน แต่ต่อหน้าคนอาจจะไม่ทำเกรงกลัวละอาย ที่ละอายไม่ใช่อหิริกะ ที่อายต่อทุจริต อายว่าการกระทำนี้มันเป็นบาปเป็นอกุศล ละอายต่อบาป

ฉะนั้น คนที่มีอหิริกะไม่ละอายต่อบาปมันก็ทำได้ในที่ลับ แต่ถ้าตรงกันข้าม คนมีหิริ ความละอายต่อบาป แม้ในที่ลับก็จะไม่ทำบาปเพราะละอายต่อบาป แต่ถ้ามีอหิริกะ ไม่ละอายต่อบาปแล้วก็ต่อหน้าคนก็อาจจะไม่ทำ แต่ลับหลังคนอาจทำได้ อโนตัปปะนั้นลักษณะไม่เกรงกลัวต่อบาป คือไม่กลัวผลของบาปที่เกิดขึ้น มันก็ทำบาปได้ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ไม่กลัวผลของมัน

นี่เป็นกิเลส 10

ประการด้วยกัน กิเลสพันห้าถ้าว่าโดยอารมณ์ ไปรับอารมณ์ ต่างๆ เลยกลายเป็นมากมาย ฉะนั้นอกุศลกรรมอย่างนี้ ถึงแม้ว่าเป็นอกุศลแต่มันก็เป็น ความจริงที่มีอยู่ในจิตใจ เมื่อเกิดขึ้น ในทางการปฏิบัติถือหลักง่ายๆ ก็คือ ให้กำหนดรู้ จะเป็นสภาวธรรมของกิเลสตัวใดก็ตามเมื่อเกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้ สติที่เข้าไปรู้นั้นจะสามารถแก้ไขสภาวธรรมเหล่านั้นได้ ถ้ารู้ทันมันก็ดับ แก้ไขเป็นตทังคประหาน ประหานไปเป็นขณะๆ ไป ฉะนั้น ก็ขอให้เราได้เพียรพยายามศึกษาสภาวธรรมต่างๆ ในจิตใจ พยายามศึกษาจริงๆ คือเข้าไปรู้ไปเห็น ไปพิจารณาให้เท่าทันให้ได้ปัจจุบัน อารมณ์ เราก็จะสามารถประคองจิตใจของเราให้เป็นปกติมีความสุขความสงบตามสมควร

กิเลส ๓ อย่าง

ธรรมที่เรียกว่ากิเลสนั้นมีหลายอย่าง มีโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น บรรดากิเลสหลายอย่างเหล่านั้น แต่ละอย่างแบ่งเป็น ๓ อย่าง ตามกำลัง หรือตามความสามารถแห่งการครอบงำจิต คือ วีตกกมกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส และอนุสัยกิเลส แต่ละอย่างมีสภาวะแตกต่างกันดังนี้

๑. วีตกกมกิเลส

ได้แก่กิเลสที่เป็นเหตุก้าวล่วง กล่าวคือละเมิด ทางกายและวาจา ความว่า เกิดขึ้นครอบงำจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็เป็นเหตุ ให้ผู้นั้นเคลื่อนไหวกายและวาจาไปตามกำลังของกิเลสนั้นๆ ทำให้ผู้นั้นได้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่สำรวมกายและวาจาอย่างยิ่ง หากมีกำลังมาก ก็อาจทำให้ศีล ถึงความวิบัติได้..จัดเป็นกิเลสหยาบ คือรู้ได้ง่ายทั้งตนเอ และผู้อื่น....


๒. ปริยุฏฐานกิเลส

ได้แก่กิเลสที่มีอันกลุ้มรุมอยู่ในใจเท่านั้น ไม่มี การแสดงออกมาทางกายหรือทางวาจาให้ผู้อื่นรู้ได้ ตัวเขาเท่านั้นที่รู้ว่ากำลัง รัก เวลานี้เรากำลังโกรธ เป็นต้น ผู้อื่นหารู้ไม่...

๓. อนุสัยกิเลส

ได้แก่กิเลสที่นอนตามไปในสันดาน โดยความว่า ตราบใดเท่าที่ยังละไม่ได้ ก็จะทำสัตว์ให้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะตลอดกาลนาน กิเลสประเภทนี้มีกำลังมาก แข็งแรง จึงละได้ยาก..เป็นกิเลสที่ถ้าหากพระพุทธเจ้า ไม่ทรงอุบัติในโลกแล้ว ประกาศคำสอนไซร้ ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่ามีอยู่ เพราะท่าน พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปกรณปฏิสัมภิทามรรคว่า พระอาสยานุสยญาน อันแปลว่า "พระญาณที่รู้อัธยาศัยและอนุสัยกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย" นั้น เป็นพระญาณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น มิใช่ญาณที่สาธารณะทั่วไปแก่บุคคลอื่น และเพราะ
เป็นกิเลสที่รู้ได้ยากนั่นเอง มันจึงมีโอกาสเกิดได้มากกว่ากิเลส ๒ อย่างข้างต้น... เกิดขึ้นได้ต่อเนื่องจนเป็นนิสัย แม้ในสภาพสงบนัก เช่น ในการเปลี่ยนอิริยาบท น้อยใหญ่ เวลาที่เรานั่งหรือยืนเป็นต้นนานๆจนเกิดความปวดเมื่อยขึ้น เราก็มี การขยับเขยื้อน เคลื่อนที่ไหวกายเปลี่ยนอิริยาบททุกครั้งไป ก็ในเวลาที่เปลี่ยน อิริยาบทนั่นเทียว เป็นโอกาสที่กิเลสจะอาศัยเกิดขึ้น คือ โทสะจะได้ช่องอาศัย อิริยาบทเก่าที่มีทุกข์คือความปวดเมื่อยนั้นเกิดขึ้น โดยเกี่ยวกับความไม่ต้องการ ไม่ปรารถนาอิริยาบทเก่าที่มีทุกข์นั้น โลภะจะได้ช่องอาศัยอิริยาบทใหม่ที่จะเปลี่ยน โดยเกี่ยวกับอิริยาบทใหม่ที่มีสุข โทสะและโลภะอย่างนี้ นี้ล้วนเป็นกิเลสชั้นอนุสัย ..เมื่อกิเลสมี ๓ อย่างอย่างนี้ คุณธรรมที่พึงทำให้เกิดขึ้นมาเพื่อการละกิเลสเหล่านี้ ก็ย่อมมี ๓ อย่างเหมือนอย่างกิเลส ได้แก่ธรรม ๓ อย่าง ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส เหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา...พึงเห็นว่า ศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อวีติกกมกิเลส สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อปริยุฏฐานกิเลส ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุสัยกิเลส ข้อนี้ สมจริงตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า "สีเลน กิเลสานํ วีติกฺกมปฏิปกฺโข ปกาสิโต โหติ. สมาธินา ปริยุฏฺฐานปฏิปกฺโข. ปญฺญาย อนุสยปฏิปกฺโข" (วิสุทฺธิมคฺค. ๑/๗) แปลว่า "สำหรับกิเลสทั้งหลาย ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อวีติกกมกิเลส เป็นอันทรง
ประกาศไว้ด้วยศีล ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันทรงประกาศ ไว้ด้วยสมาธิ ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุสัยกิเลส เป็นอันทรงประกาศไว้ด้วย ปัญญา" ดังนี้......



+ + + + + + + + + + + + + + +

 กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ กิเลสาฯ
ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส

กิลิสฺสติ เอเตหีติ กิเลสาฯ
สัมปยุตตธรรม (คือ จิตและเจตสิก) ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด
ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น
ชื่อว่า กิเลส

สงฺกิเลเสตีตี สงฺกิเลโส วิพาธติ อุปปาเปติ จาติ อตฺโถ ฯ
ธรรมเหล่าใดย่อมเศร้าหมอง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังกิเลส
เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เร่าร้อน

คำว่า กิเลส หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำให้หมองเศร้า
หรือ เร่าร้อน
ฉะนั้น จิต เจตสิก รูป ที่เกิดพร้อมกับกิเลสเหล่านั้น
จึงมีความเศร้าหมองเร่าร้อนไปด้วย เพราะตามธรรมดาจิตใจและกิริยาอาการ
ของบุคคลทั้งหลายนั้น ถ้าไม่ได้เกิดเกี่ยวข้องกับโลภะ โทสะ เป็นต้น แล้ว
บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกว่าจิตใจสบาย รูปร่างหน้าตาผ่องใส ไม่มีความ
เดือดร้อนแต่ประการใด เป็นที่สบายตา สบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
แต่ถ้าจิตใจของผู้ใดเกิดขึ้นโดยมีโลภะ โทสะ เป็นต้น เข้าเกี่ยวข้องผูกพัน
ด้วยแล้ว จิตใจของผู้นั้นก็จะมีความเศร้าหมองเดือดร้อน รูปร่างหน้าตา
ไม่ผ่องใสปรากฏขึ้น แล้วแต่กำลังของกิเลสนั้นๆ และย่อมเป็นที่
ไม่สบายตาสบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรง
เรียก โลภะ โทสะ เป็นต้น เหล่านี้ว่า กิเลส ดังมีวจนัตถะแสดงว่า

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา (วา)
กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา

ธรรมชาติใด ย่อมทำให้เร่าร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส หรือ
สัมปยุตตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด
ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น
จึงชื่อว่า กิเลส (ได้แก่ กิเลส ๑๐)


รวมหมายความว่า กิเลสเป็นสภาพธรรม (คือ สภาพตามธรรมชาติ
ก็คือเป็นธรรมชาตินั่นเอง - deedi) ที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้สัตว์
ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน

กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) โลภกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิตก ที่ในโลภมูลจิต ๘
(๒) โทสกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโกรธความไม่พอใจ
องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
(๓) โมหกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว
ปราศจากสติสัมปชัญญะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง
คือความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
ที่ใน อกุศลจิต ๑๒
(๔) มานกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทระนงตนถือตัว
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความเย่อหยิ่งถือตัว
องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
(๕) ทิฏฐิกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตามความเป็นจริง
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความเห็นผิด
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
(๖) วิจิกิจฉากิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นต้น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความสงสัยลังเลใจ
ในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
(๗) ถีนกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความหดหู่
องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอุกศลสสังขาริกจิต ๕
(๘) อุทธัจจกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความฟุ้งซ่าน
องค์ธรรมได้แก่ องค์ธรรมได้แก่อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
(๙) อหิริกกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่ละอายต่อทุจริต
องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอุกศลจิต ๑๒
(๑๐) อโนตตัปปกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการกระทำบาป
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อทุจริต
องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

รวมกิเลสมี ๑๐ องค์ธรรมก็คงมี ๑๐ เท่ากัน ชื่อของกิเลสและชื่อของ
องค์ธรรมก็ตรงกัน

โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิและวิจิกิจฉา
อนาคามิมัคค ประหาร โทสะ
อรหัตตมัคค ประหาร กิเลสที่เหลือ คือ โลภะ โมหะ
มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และ อโนตตัปปะ ได้ทั้งหมด

กิเลสโดยพิสดาร ๑๕๐๐
อารมณ์ที่เป็นเหตุให้กิเลส ๑๐ เกิดขึ้นได้นั้น มี ๑๕๐ คือ
นามเตปัญญาสะ คือ นามธรรม ๕๓ (จิต ๑ และ เจตสิก ๕๒- deedi)
นิปผันนรูป ๑๘ ลักขณรูป ๔ รวมเป็น ๗๕
ใน อัชฌัตตสันดาน คือ ภายในตัวเรา มี ๗๕
ใน พหิทธสันดาน/b] คือ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่ภายนอกตัวเรา
มี ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐ อารมณ์ ๑๕๐ x กิเลส ๑๐ คงเป็นกิเลส ๑,๕๐๐

อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส
ก็จำแนกได้ ๓ พวกคือ
(๑)
อนุสยกิเลส

ได้แก่กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า
กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์
ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
(๒)
ปริยุฏฐานกิเลส
ได้แก่กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ใน
มโนทวารเท่านั้น คือ ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับ
แสดงออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางที
ก็รู้บางทีก็ไม่รู้
(๓)
วีติกกมกิเลส
ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้ได้ล่วง
ออกมาแล้วถึงกายทวารหรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์
อย่างโจ่งแจ้ง

อุปกิเลส ๑๖

เครื่องเศร้าหมองอีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส
มีจำนวน ๑๖ คือ
(๑) อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรมคือ โลภะ
(๒) โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย องค์ธรรมคือ โทสะ
(๓) โกธะ โกรธ เดือดดาล องค์ธรรมคือ โทสะ
(๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ องค์ธรรมคือ โทสะ
(๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรมคือ ทิฏฐิ
(๖) ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรมคือ มานะ
(๗) อิสสา ริษยา องค์ธรรมคือ อิสสา
(๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ องค์ธรรมคือ มัจฉริยะ
(๙) มายา มารยา เจ้าเล่ห์ องค์ธรรมคือ โลภะ
(๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๒) สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๓) มานะ ถือตัว องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๔) อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๕) มทะ มัวเมา องค์ธรรมคือ โมหะ
(๑๖) ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรมคือ โมหะ


บริหารงานด้วยความสะอาด สว่าง สงบ


สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์
15  มกราคม  2544
Font : CordiaUPC

สรุปประเด็น

ตามแนวท่านพุทธทาส เราจะเรียนรู้ชีวิตด้วย 3ส คือ สะอาด สว่าง สงบ ซึ่งจะทำให้หลุดพ้นพันธนาการแห่งปัญหา  การประยุกต์แนวธรรมะ สะอาด สว่าง สงบ ในการบริหารงาน จะทำให้เข้าใจปัญหางานได้ดีขึ้น อันเป็นแนวทางสู่การแก้ปัญหาและหลุดพ้นจากปัญหาได้ ทำให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทคัดย่อ

                        จากแนวท่านพุทธทาสที่กล่าวถึงความสะอาด สว่าง สงบ ตั้งแต่กระบวนการทำให้จิตใจสะอาดด้วยการปราศจากกิเลส จิตสว่างด้วยปัญญา และจิตสงบด้วยจิตหยุดปรุงแต่งและสมาธิ ทำให้ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จากนั้นจะพบชีวิตจริงที่เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่แท้จริง มีเพียงธรรมะเท่านั้นที่เป็นตัวตน จากนั้นจิตจะเกิดภาวะจิตว่าง หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา รู้สึกความเป็นเช่นนั้นเองตามธรรมชาติ ไม่เห็นมีอะไรแปลกใหม่มหัศจรรย์แต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้จิตอยู่ในภาวะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เหนือปัญหา ก็จะพบชีวิตที่ไม่มีปัญหาหรือทุกข์อีกต่อไป

                        การประยุกต์แนวทางสะอาด สว่าง สงบ ในการบริหารงานนั้น จะต้องทำงานอย่างสะอาดด้วยศีลธรรม กฎหมาย และไม่เบียดเบียน ทำงานอย่างสงบด้วยสมาธิ ไม่ปรุงแต่งปัญหา รู้จักสันโดษ และไม่สันโดษหากทำให้งานนั้นพัฒนาปรับปรุงดีขึ้น ใช้หลักบริหาร 3ป + ม คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฎิเวธ มรรค ในการบริหาร การมองชีวิตการบริหารด้วยกฎไตรลักษณ์ มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การบริหารงานด้วยจิตว่าง ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด สุดท้ายจะอยู่เหนือปัญหาไม่เป็นทาสแห่งปัญหา เพราะปัญหาคือสิ่งที่เราจะแก้ไข เห็นปัญหาด้วย เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง

 1. บทนำ

ตามแนวท่านพุทธทาส ได้เทศนาในเรื่องสะอาด สว่าง สงบ เพื่อปฏิบัติตนให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในหัวใจของเรา จะทำให้พบกับชีวิตจริง อันเป็นผลทำให้ทุกสิ่งอยู่เหนือปัญหา หรือทุกข์

การทำความเข้าใจธรรม เรื่องสะอาด สว่าง สงบ เป็นการบริหารตนอย่างหนึ่งที่มุ่งไปสู่เป้าหมาย ให้ทุกสิ่งอยู่เหนือปัญหา เหนือทุกข์ เลิกเป็นทาสความอยากอีกต่อไป ซึ่งเป็นโลกุตรธรรม

การประยุกต์ธรรมะเรื่องสะอาด สว่าง สงบ มาใช้ในการบริหารงานก็เช่นกัน ก็มุ่งไปสู่เป้าหมาย หลุดพ้นจากปัญหาทางโลกแห่งธุรกิจแห่งอาชีพการงาน เลิกเป็นทาสสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการงานที่เป็นบริโภคนิยม เลิกเป็นทาสต่อความอยากหรือกิจกรรมอันไร้สาระ ที่ไม่เป็นการเพิ่มมูลค่าทางด้านการผลิตและบริการอันเป็นโลกียธรรม ซึ่งนักธุรกิจ นักบริหารควรที่จะแสวงหาที่จะบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณค่าทุกขั้นตอน การบริหารงาน ทั้งในด้านวัตถุและด้านจิตใจของคน

 

 2.  แนวทางปฏิบัติตนด้านสะอาด สว่าง สงบ

แนวทางปฏิบัติของท่านพุทธด้านสะอาด สว่าง สงบ มีดังนี้

สะอาด            หมายถึง            ไม่สกปรกด้วยกิเลส

สว่าง            หมายถึง            ไม่มืดด้วยโมหะหรืออวิชชา หรือจิตไม่มืด

สงบ            หมายถึง            ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีอะไรมากระตุ้นหรือปรุงแต่ง

บางตำรากล่าวว่า

สะอาด            ด้วยศีล คือ ทำความสะอาดจิตใจด้วยการรักษาศีล

สว่าง ด้วยปัญญา คือ การทำความรู้ให้แจ้งด้วยการภาวนา

สงบ ด้วยสมาธิ คือ การทำจิตใจให้สงบด้วยการเจริญสมาธิ โดยพยายามตัดสังขารออกไปจากจิตใจ (สังขาร คือ จิตที่ปรุงแต่ง ว่าดีเลว)

การฝึกตน บริหารตน จะใช้หลัก 3ป คือ ปริยัติ (ความรู้) ปฏิบัติ (ทำตามที่รู้) และ ปฏิเวธ (ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง) ในแต่ละขั้นตอนของ สะอาด สว่าง สงบ ด้วย

บางท่านได้กล่าว 3 ส อันตรายต่อพระสงฆ์ มีดังนี้

สมณะ                คือ             ไม่สามารถรักษาศีลแห่งพระสงฆ์ไว้ได้

สตางค์               คือ             ยุ่งเกี่ยวกับเงินตรา จนเกิดความโลภ แล้วทำให้เสียพระ

สตรี                    คือ            ยุ่งเกี่ยวกับสตรี จนถึงขั้นปราชิก หรือโลกติเตียน

ตามแนวท่านพุทธทาส จะกล่าวถึง สะอาด สว่าง สงบ เป็นขั้นตอนดังนี้ คือ

ปฏิบัติตนด้านสะอาด สว่าง สงบ ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จากนั้นจะพบว่าที่พึ่งอันเป็นสรณะ ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือไสยศาสตร์ หรือโชคชะตา แต่เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ควรมานั่งในหัวใจเราเป็นสรณะ จากนั้นจะพบชีวิตจริงแห่งธรรมะ ทำให้ทราบว่าอะไรคือชีวิตที่แท้จริง จากการฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ จะพบภาวะจิตที่ได้รับการอบรมถึงที่สุด เกิดภาวะจิตว่าง ที่ปราศจากหรือหลุดพ้นกิเลสตัณหา ไม่เป็นทาสของความอยากอีกต่อไป เป็นอิสระต่อความอยากที่ไร้ประโยชน์ ไร้สาระ รู้สึกความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) จิตที่พัฒนาขึ้นจะเกิดภาวะอยู่เหนือปัญหา เหนือทุกข์ เนื่องจากเป็นอิสระต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือบาป หรือสิ่งที่เป็นคู่ๆ ชีวิตที่เป็นอยู่ หลังจากนั้น ก็จะเป็นชีวิตที่ไม่มีปัญหาหรือทุกข์อีกต่อไป

 

 

3.     กระบวนการทำให้จิตสะอาด

3.1  กระบวนการเกิดกิเลส

มนุษย์เรามีกิเลส 3 จำพวก คือ

จำพวกที่ 1       โลภะหรือราคะ เป็นพวกที่จะเอา อยากจะได้

                  ราคะ แปลว่า ติดอยู่ กอดรัดอยู่ กำหนัดอยู่ ย้อมอยู่

จำพวกที่ 2         โทสะ หรือ โกธะ หรือ โกรธ โทสะ ก็คือ จะประทุษร้าย จะทำลาย

                  เสียให้หมด ไม่อยากเอา จะตีออกไปเสีย

จำพวกที่ 3         โมหะ แปลว่า หลง ไม่รู้ว่าจะเอาหรือไม่เอา หรือ จะทำลาย มี

                  ความสงสัย สนใจ วนเวียน ผูกพันอยู่

ทั้ง 3 จำพวกนี้ เรียกว่า กิเลส อันเป็นเหตุให้จิตใจสกปรกหรือไม่สะอาด เมื่อกิเลสเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ ในแต่ละวันก็จะเกิดอนุสัย

อนุสัย แปลว่า นอนตามหรือตามนอน หรือความเคยชินที่สะสมเอาไว้ เมื่อเกิด โลภะหรือราคะ ก็จะเกิดอนุสัยประเภท ราคานุสัย เมื่อโกรธบ่อยๆ ก็จะเกิดปฏิฆานุสัย เมื่อเกิดความหลงบ่อยๆ ก็จะเกิด อวิชชานุสัย ทั้งหมดนี้จะเกิดความเคยชินเก็บไว้ในสันดาน สะสมเข้ามาเรื่อยๆ เมื่อสะสมมากๆ ก็จะเกิดความกดดัน หรืออาสวะ ซึ่งแปลว่าพร้อมที่จะไหลออกมาเป็นอาสวะประเภทต่างๆ คือ ด้านกาม (กามาสวะ) ด้านโลภ (ภวาสวะ) ด้านหลง (อวิชชาสวะ) และด้านโกรธ

 

 

 

3.2  กระบวนการทำให้จิตสะอาด

ตามแนวทางท่านพุทธทาสนั้น จิตสกปรกเพราะมีกิเลสมาทำให้สกปรก ดังนั้น การทำให้จิตสะอาด ก็ต้องกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ โดยใช้ปัญญา เป็นความรู้เครื่องซักฟอกให้จิตสะอาด

เมื่อกิเลสเกิดขึ้น เราจะสัมผัสรับรู้ ซึ่งการรับรู้นั้น จะติดอยู่ที่ปัญญา หากไม่ได้ใช้ปัญญากลั่นกรอง เราก็จะยึดมั่นอุปาทานในสิ่งนั้นว่าเป็นของมีตัวมีตน เราเป็นเจ้าของสิ่งนั้นทำให้เรามีความสุข ก็ทำตามกิเลสที่ต้องการ ตอบสนองกิเลส เมื่อทำตามมากๆ ก็จะเกิดอนุสัย หรือเป็นนิสัยสันดานขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นชอบโลภ ชอบหลง หรือชอบโกรธ จิตก็จะเกิดอาสวะ เป็นเหตุให้จิตสกปรกด้วยกิเลส มากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน บางคนโกรธง่าย บางคนก็หลงรูปได้ง่าย ขอให้สวยอย่างเดียว ทุ่มไม่อั้น ขั้นตอนนี้อาจใช้สติเตือน ถ้าเตือนตนไม่ได้จิตที่เหลืออยู่ก็ยังคงสกปรกอยู่ หากเตือนตนรู้สึกนึกได้ก็ให้ทบทวนด้วยปัญญาว่าจะตัดกิเลสให้เบาบางขึ้นเรื่อยๆ ต่อไป

เมื่อผัสสะติดปัญญา มีการใช้สตินำมีปัญญาตามมาทัน ระงับยับยั้งชั่งใจได้ทัน จิตก็พิจารณาถึงเวทนาหรือความรู้สึกทุกข์สุข สิ่งเหล่านี้เป็นอนิจจัง ไม่ใช่ของเรา ไม่ยินดียินร้ายกับทุกข์สุข เมื่อคิดได้ดังนี้จิตก็ไม่ยึดมั่นในเวทนา ห้ามกิเลสไว้ได้ และชำระกิเลสได้ด้วยปัญญา ไม่ใช่มีสิ่งใดมาบังคับขู่เข็ญให้รู้สึกเบื่อเอง ไม่อยากเอง แม้นไม่มีคนมาบังคับ ไม่มีสถานการณ์มาบังคับ ก็ไม่มีกิเลสเหลืออยู่ จิตก็จะสะอาดด้วยปัญญา

 

   4.  กระบวนการทำให้จิตว่าง

จิตนี้เป็นประภัสสร คือ สะอาดอยู่ สว่างอยู่ และสงบอยู่ เมื่อแรกเกิด แต่ต่อมาเจริญวัยขึ้น ก็เกิดกิเลสขึ้น จิตก็สกปรกมืดมัว กระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งกิเลส

สว่างนั้นคือของเดิม มืดนี่มาใหม่ สะอาดนี่ของเดิม สกปรกนี้มาใหม่ มืดทางวัตถุเพราะไม่มีแสงแดด มืดทางจิตใจ เพราะมีโมหะ ขาดปัญญา

อวิชชาเป็นกิเลสแม่ มีลูกกิเลสเป็นโลภะ โทสะ โมหะ จิตเรามืดอยู่ด้วยกิเลส (กิเลสนิทรา คือ หลับอยู่ด้วยกิเลส) จิตมืด เพราะมีโมหะ เป็นอวิชชา

กระบวนการเกิดความมืดในจิตใจ ในหมู่สัตว์ จะมีอวิชชา (โมหะ) เป็นเปลือกหุ้ม แสงสว่างแห่งพระธรรมเข้าไม่ถึง ดังนั้นหมู่สัตว์จึงมืดทางจิตใจ เพราะมีอวิชชาห่อหุ้มไว้

กระบวนการทำจิตใจให้จิตสว่าง โดยใช้แสงสว่างแห่งพระธรรมสาดส่องเข้าสู่จิตใจหมู่สัตว์ จนเกิดปัญญา ขับอวิชชาออกไป เปลือกหุ้มโมหะสลายไปด้วยแสงแห่งพระธรรม ความมืดอวิชชา (โมหะ) จึงถกขับไล่ให้หายไปด้วยปัญญาของตนเองที่นำแสงพระธรรมมาใช้ จิตก็สว่างด้วยปัญญา

 

 

 

    5.  กระบวนการทำให้จิตสงบ

กระบวนการทำให้จิตสงบตามแนวท่านพุทธทาส  เริ่มจากมีกิเลสแม่บทคืออวิชชา เมื่อเกิดกิเลสอวิชชาแต่ขาดปัญญา ย่อมเกิดสังขาร คือ สิ่งปรุงแต่ง เมื่อปรุงแต่งคือ มากวน มาทำ มาทุกอย่างที่จะทำไม่ให้จิตอยู่อย่างตามสภาพเดิม สิ่งปรุงแต่งจะกระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นสังขารนามรูป มี ร่างกาย จิตใจ กิริยา ซึ่งจะเกิดสังขาร 3 อย่าง คือ ผู้ปรุงแต่ง ผู้ถูกปรุงแต่ง และกิริยาปรุงแต่ง กิเลส คือ ผู้ปรุงแต่ง (นายช่างผู้สร้างเรือน สังขาร คือ สิ่งที่ถูกปรุง (เรือน) กิริยาปรุงแต่ง คือ การปรุง (กำลังสร้างเรือน) สิ่งปรุงแต่งเหล่านี้เป็นเหตุให้จิตไม่สงบ เพราะเกิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา เกิดอะไรขึ้นใหม่อยู่เรื่อยๆ เรื่องนี้จบก็เริ่มเรื่องอื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ

แต่ถ้าใช้ปัญญากับกิเลสแม่บทอวิชชา ปัญญาจะเห็นโทษของการปรุงแต่ง ทำให้เวียนว่ายไปมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมุนเวียนไม่จบสิ้น เช่น เดี๋ยวเริ่มโกรธ แล้วก็โกรธสักระยะหนึ่ง สุดท้ายก็เลิกโกรธ แล้วเมื่อเจอเหตุการณ์ใหม่ ก็เริ่มโกรธ โกรธอยู่ และหายไป เช่นนี้เป็นประจำ ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อมีปัญญามองเห็น จิตก็จะรู้สึกเบื่อต่อการเวียนว่ายของจิตในการปรุงแต่ง จึงใช้ปัญญาทำลายผู้ปรุงแต่ง คือ อวิชชา เอาปัญญาเข้าควบคุมอวิชชา ทำให้ปัจจัยปรุงแต่งถูกทำลายไป จิตหยุดการปรุงแต่ง สังขารก็ไม่ก่อรูปนาม สุดท้ายจิตก็เกิดความสงบ

 

     6.    พระรัตนตรัยในความสะอาดสว่างสงบ

6.1  พระพุทธเจ้า

ทางเปลือกนอก คือ นามรูป เนื้อหนังมังสาข้างนอก สำหรับคุณสมบัติภายในของพระพุทธเจ้า คือ

      สะอาด         หมายถึง      บริสุทธิ์

      สว่าง        หมายถึง      ปัญญา

      สงบ         หมายถึง      นิพพาน

6.2  พระธรรม

ทางเปลือกนอก คือ หนังสือ คัมภีร์ ใบลาน สำหรับเนื้อแท้ของพระธรรม คือ

                        สะอาด             หมายถึง        ปริยัติ เป็นความรู้ที่เล่าเรียน เรื่องสะอาด สว่าง

                                                                        สงบ

                        สว่าง                หมายถึง        ปฏิบัติ เป็นการทำเพื่อความสะอาด สว่าง สงบ

                        สงบ                 หมายถึง        ปฏิเวธ เป็นผลของสะอาด สว่าง สงบ

6.3  พระสงฆ์

ทางเปลือกนอกเป็นนามรูป เนื้อหนังมังสาข้างนอก ของพระสงฆ์ นักบวช สำหรับเนื้อแท้ของพระสงฆ์ คือ

                        สะอาด             หมายถึง        เรียนเพื่อสะอาด สว่าง สงบ

                        สว่าง                หมายถึง        ปฏิบัติเพื่อสะอาด สว่าง สงบ

                        สงบ                 หมายถึง        ผลเป็นความสะอาด ความสว่าง และความสงบ

                        ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็สะอาด สว่าง สงบ เต็มที่

 

      7.  พุทธบริษัทในความสะอา สว่าง สงบ

บริ                      แปลว่า             วงรอบๆ

ษัท                   แปลว่า             นั่ง

บริษัท              แปลว่า             นั่งเป็นวงรอบๆ

พุทธบริษัท            แปลว่า             นั่งเป็นวงรอบๆ พระพุทธเจ้า นั่งรอบพระธรรม

                                                นั่งรอบพระสงฆ์

พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่จริงยังอยู่  คือ ความสะอาด ความสว่าง และความสงบ ของจิต

 

    8.  พบชีวิตจริงแห่งธรรมะ

เมื่อจิตได้พบความสะอาด สว่าง สงบแล้ว ก็จะได้พบชีวิตจริง

ชีวิตจริงต่อเนื่องกันกับปัญญา ที่ว่ามีตัวตน หรือไม่มีตัวตน ถ้ามีตัวตนก็ต้องทำให้ตนดี แม้นตนจะดีเพียงใดก็ยังไม่ดับทุกข์ จะดับทุกข์สิ้นเชิงต่อเมื่อไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวตน จึงเกิดอนัตตา ซึ่งไม่ใช่ตัวตนขึ้นมา

ธรรมะ คือ ตัวตนแท้ในชีวิตจริง และกิเลสเป็นตัว คือ ตัวกู ของกู เอากิเลสเป็นตัว เอาธรรมะเป็นตน

ตัวตนปลอมไม่จริง เป็นตัวตนที่เป็นอุปทาน อันเกิดมาจากตัณหา ตัวตนปลอมเกิดที่ขันธ์ 5 เช่น เอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นตัวตนของเรา

สังขตธรรม : สิ่งนั้นมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา

อสังขตธรรม : สิ่งนั้นไม่ต้องมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอยู่เองโดยธรรมชาติ

อนัตตามีอยู่ในอัตตา ฉะนั้น เมื่อไม่มีการยึดถือว่าอัตตา นั่นแหละจะมีอัตตาจริงขึ้นมา อย่าไม่ยึดถืออะไร นั่นแหละเป็นอัตตา คือจะมีธรรมะเป็นอัตตาขึ้นมา

ธรรมะเป็นตน หาตนที่เป็นธรรมะ พบตนที่แท้จริง แล้วก็ดับทุกข์ได้

 

    9.   ภาวะจิตว่างปราศจากกิเลสตัณหา

จิตว่างประกอบด้วย ภาวะสะอาด สว่าง สงบ ถ้าจิตไม่สะอาด สว่าง และสงบ จิตก็ไม่สว่าง

จิตว่าง หมายถึง จิตไม่ได้เกิดกิเลสอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นอะไร

มือว่างอยู่ก็เอาไปจับฉวยอะไร มือก็ไม่ว่าง  จิตไม่ได้เกิดอุปาทานไปจับฉวยอะไรเข้าไว้ ก็เรียกว่าจิตว่าง

จิตมีอารมณ์ หากไปจับฉวยอารมณ์ใดๆ โดยความเป็นตัวกู เป็นของกู หรือโดยความเป็นตัวตน หรือของตน จิตก็ไม่ว่าง หากไม่มีการจับฉวยก็เรียกว่าจิตว่าง

เราจะเอาความว่างเป็นอารมณ์ก็ได้ จะเอาความสะอาดหรือความสว่างหรือความสงบเป็นอารมณ์ก็ได้ แต่ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่าความว่างหรือความสะอาดหรือความสว่างหรือความสงบ ว่าเป็นตัวตนของจิต

จิตว่างหรือจิตที่ไม่เป็นทาสของอะไรก็ตาม จิตเป็นอิสระ จิตนั้นมีอำนาจ มีกำลัง มีพลานุภาพ มีสมรรถนะสูงสุด ทำอะไรก็ได้ดี จิตนั้นมีปัญญามากสุด คือ มีสะอาด สว่าง สงบ มากที่สุด ทำงานยากๆ ได้ดี คิดเก่ง จำเก่ง นึกเก่ง อะไรก็เก่ง ทำงานด้วยจิตว่าง จะทำให้ผลงานออกเป็นผลดี แล้วก็จะเป็นความสุขอยู่ในตัวมันเอง ไม่มีอุปาทาน ไม่มียึดมั่นถือมั่น ไม่มีรู้สึกกว่าเป็นตัวตน

 

  10.   ภาวะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เหนือปัญหา

จากการปฏิบัติ 3 ส คือ สะอาด สว่าง สงบ แล้วจะพบว่าที่พึ่งคือพระรัตนตรัย จากนั้นจะพบชีวิตจริงแห่งธรรม เกิดภาวะจิตว่าง สุดท้ายจะเกิดภาวะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เหนือปัญหา เหนือทุกข์

ปัญหา คือ ความทุกข์ ซึ่งเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น เมื่อสิ้นกิเลส ก็สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์ สิ้นกรรม สิ้นปัญหา

วิมุตติ หรือความหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็อยู่เหนือปัญหาทั้งปวง หลุดพ้นเพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

จากกิเลส ซึ่งเป็นเครื่องยึดติด ผัสสะรับรู้ เกิดเวทนารู้สึกทุกข์หรือสุข เป็นเหตุให้เกิดตัณหาหรือความอยาก เมื่อจิตคิดครอบครองเป็นของตัวเอง ก็เลยเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น หากขาดปัญญาก็จะเกิดทุกข์หรือปัญหา เนื่องจากอยู่ภายใต้ภาวะเวทนา หากเกิดปัญญาไตร่ตรองรู้จักรู้จริงรู้แจ้ง เกิดความรู้สึกไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตก็จะหลุดพ้นจากกิเลส จะรู้สึกความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) ไม่มีอะไรแปลกใหม่ มันเป็นไปตามธรรมชาติ ในทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างในโลกนี้ ไม่ตื้นตันดีใจ หรือเสียใจเศร้าโศก จิตจึงอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง

 

   11.  ความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)

11.1  ตถตาในไตรลักษณ์

อนิจจัง คือ เปลี่ยนแปลงเรื่อย

ทุกขัง            คือ ทรมาน ทนยาก ดูแล้วน่าเกลียด

อนัตตา คือ ไม่ควรจะถือว่ามีตัวตน นี้คือความเป็นเช่นนั้นเอง

 

11.2  ตถตาในอริยสัจ

ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางให้ถึงความดับทุกข์เป็นอย่างนี้ เป็นตถตาอย่างนี้ เป็นเช่นนี้เอง ไม่เป็นอย่างอื่นไปได้

 

11.3  ตถตาในปฎิจจสมุปบาท

ปฎิจจสมุปบาท : เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี นั่นคือความเป็นเช่นนั้นเอง

 

11.4  ตถตาในโลก

ของทุกอย่างในโลก มันก็เช่นนั้นเอง ไม่รู้สึกน่าอัศจรรย์ น่ารักก็มี น่าโกรธก็มี น่าเกลียดก็มี น่ากลัวก็มี ที่เขาเห็นอย่างนั้น เพราะมองไม่เห็น เช่นนั้นเอง

เมื่อเห็นเช่นนั้นเอง เราก็หยุดแค่นั้นเอง (หยุดปรุงแต่ง) ถ้าเราไม่เช่นนั้นเอง เราก็ต้องรู้สึก 3 อย่าง คือ ชอบ (อภิชฌา) หรือ ไม่ชอบ (โทมนัส) หรือ รู้สึกเฉยๆ (อุเบกขา)

อภิชฌา : อยากจะได้ อยากจะเอา อยากจะเป็น เกิดความรัก เกิดอะไร  ไปตามเรื่อง มีปัญหาที่ชอบ

โทมนัส     : ไม่เอา อยากจะทำลายเสีย เกิดความโกรธ ความเกลียด ความ

                   กลัว เกิดปัญหาที่ไม่ชอบ

อุเบกขา     : เห็นเช่นนั้นเอง เฉยๆ ไม่รัก ไม่เกลียด มันไม่เกิดกิเลส แล้วก็

                   จบเรื่อง (สงบ) อยู่เหนือปัญหา หมดตัณหา หมดอุปาทาน

                   ฉลาดด้วยปัญญา หมดปัญหา

การเห็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่จะไม่ทำอะไร  (ขี้เกียจ) แต่อย่าทำด้วยตัณหา (ความอยาก) หรือความยึดมั่นอุปาทาน แต่ให้ทำด้วยปัญญา ทำด้วยเห็นเช่นนั้นเอง ตามความจำเป็นแห่งการมี การหา การกิน การใช้ การเก็บ อยู่ตลอดเวลา

มีปัญหาก็เช่นนั้นเอง ให้แก้ด้วยปัญญา ไม่ใช่แก้ด้วยกิเลส

อย่าทำอะไรด้วยความหวัง อย่าใช้ความหวังเป็นสรณะ ความผิดหวัง เกิดจากความที่ไม่เห็นว่า เป็นเช่นนั้นเอง เพราะไม่ได้อย่างหวัง คือ อุปสรรค ปัญหา หรือความทุกข์ ให้ทำด้วยเช่นนั้นเอง

พระอรหันต์ คือ ผู้ที่ถึงความเป็นเช่นนั้นเอง เป็นตถาคต (ผู้ปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว) ลอยอยู่เหนือปัญหาทั้งหลาย

รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ กามรมณ์อะไรก็ตาม ถ้าเรามีวิธีที่เข้าไปกิน ไปใช้มัน อย่าให้มันกัดเราได้ วิธีนั้นก็คือ เช่นนั้นเอง

สิ่งที่แล้วมันจะสูญไป วินาศไป เน่าไป ทรยศต่อเรา ก็เช่นนั้นเอง อย่าต้องเป็นทุกข์เลย ควรจะทำอย่างไรก็ทำไป ทำได้โดยเช่นนั้นเอง

เช่นนั้นเองของอันธพาล ทำอะไรที่ไม่ควรจะทำ ทำไปตามกิเลสของเขา ก็เป็นเช่นนั้นเองของกิเลส

 

12.  บริหารด้วยความสะอาด สว่าง สงบ

จากการบริหารตนให้หลุดพ้นการเป็นทาสกิเลส และอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง ด้วยวิธี 3ส คือ สะอาด สว่าง สงบ ตามแนวท่านพุทธทาสแล้ว ต่อไปนี้เราลองนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้วยความสะอาด สว่าง สงบ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านวัตถุและด้านจิตใจ สามารถขจัดปัญหาได้หมดสิ้น

12.1  บริหารงานด้วยความสะอาด

สะอาด หมายถึง ไกลจากกิเลส ทำความสะอาดด้วยศีล ในทางบริหารงานนั้นต้องมีกฎระเบียบ มีมาตรฐานตาม ISO การบริหารก็ต้องยึดหลักกฎระเบียบและมาตรฐานงานต่างๆ เป็นหลัก หากฝ่าฝืนกฎหรือมาตรฐานก็ถือว่าไม่สะอาด การทำธุรกิจก็ต้องมีอาชีพสุจริต ไม่ทำกิจกรรมต้องห้ามที่ทำให้ผิดศีลหรืออบายมุข เช่น ค้าขายคน ฆ่าสัตว์ขาย ขายสุรา ขายยาเสพติด ขายหวยขายเบอร์ เป็นต้น และไม่ทำอาชีพผิดกฎหมาย อาชีพที่สุจริตต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลความปลอดภัย รักษาคุณภาพสินค้าและบริการ ไม่ หลอกลวงโฆษณาเกินจริง ไม่โกง ไม่คอรัปชั่น การตัดสินใจต้องยุติธรรมไม่ลำเอียง ไม่โลภในเชิงธุรกิจ ตีลูกกัน คู่แข่งขันจนเกิดการลงทุนเกินไป (Over Investment) รักความสามัคคี ไม่ทิ้งลูกน้อง การบรรลุเป้าหมายต้องชนะทั้งเชิงวัตถุและเชิงศีลธรรมด้วย จะเป็นการชนะอย่างขาวสะอาด

 

12.2  บริหารงานด้วยความสว่าง

สว่าง หมายถึง ไม่หลง ไม่มืด มีวิชชา ใช้ปัญญาทำลายอวิชชาในการบริหารงาน ต้องทำความรู้ในอาชีพตน และที่เกี่ยวข้องที่อาจมีผลกระทบมาถึง ให้รู้แจ้ง ตั้งแต่การตลาด การเงิน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม การผลิต ลูกค้า สินค้าหรือบริการ วัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตต่างๆ ใช้ปัญญาวิเคราะห์อดีต พยากรณ์อนาคต อย่างมีเหตุมีผล รู้เหตุรากเหง้า รู้วิธีบริหารด้วยความจริง จากนั้นต้องออกกลยุทธที่ตรงเหตุรากเหง้า ตรงปัญหา ตรงวัตถุประสงค์ ตรงเป้าหมาย ตอบสนองนโยบายบริษัท ทั้งในยุคที่ต้องการอยู่รอดจากภาวะเศรษฐกิจและในยุคที่ต้องการเติบโตทางธุรกิจ เช่น กลยุทธการลดต้นทุนการผลิต กลยุทธการเข้าหาตลาด การพยากรณ์อนาคตต้องมีหลักอนิจจัง มีการออกมาตรการทั้งในสถานการณ์อนาคต ที่อาจจะเฟื่องฟู ที่อาจจะเป็นไปได้ และที่อาจจะตกต่ำลง นั่นคือต้องมีแผนที่จะรองรับการบุกไปข้างหน้า การรักษาที่มั่นและการถอยหลังไปตั้งหลัก ไม่ใช่คิดแต่ในแง่ดีแล้วบุกไปข้างหน้าอย่างเดียว เมื่อเศรษฐกิจฟุบก็เตรียมตัวไม่ทัน ทำใจไม่ได้ การวิเคราะห์เหตุการณ์และสาเหตุรากเหง้าต้องกำหนดกุญแจแห่งความสำเร็จไว้ด้วย (Key of Success) ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นหัวใจมากที่สุด ตลอดจนการค้นหาจุดอ่อนที่จะทำให้งานล้มเหลวไว้ด้วย (Key of Failure) อีกทั้งต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาข้อมูลไปข้างหน้า อย่าหลงไปกับกระแสโลกาภิวัฒน์มากนัก เพราะอาจเป็นข้อมูลที่ถูกปั่นให้เห็นว่าดีขึ้น และควรใช้หลักกาลามสูตร ในการใช้ความเชื่อที่จะนำไปในการวางแผนงานต่อไป นั้นต้องกลั่นกรองให้ดีว่า สิ่งนั้นเป็นจริง ไม่ใช่ทำสืบต่อกันมา  

12.3  การบริหารงานด้วยความสงบ

สงบ หมายถึง ไม่มีการปรุงแต่ง จิตสงบแน่วแน่ มีสมาธิ ในการบริหารงานด้วยความสงบนั้น จะต้องมี

สมาธิ มีความแน่วแน่ในการกำหนดทิศทางนโยบายที่จะไป ทำจิตใจให้สงบในการฟันฝ่าเศรษฐกิจให้รอด ไม่ต้องปรุงแต่ง จิตกังวลจนเกินจริง จนจิตท้อแท้หมดกำลังใจ หมดอะไรก็หมดได้แต่อย่าหมดกำลังใจ

สังขาร คือ การปรุงแต่งดีชั่ว กำไรขาดทุนเป็นผลจากการดำเนินการ ไม่ปรุงแต่งจนดีใจเสียใจเกินจริง ให้มองตามความเป็นจริง ตั้งสติให้ดี พิจารณาทบทวนวิธีการว่าเราทำกำไรได้เพราะเหตุใด เราขาดทุนเพราะเราผิดพลาดบกพร่องอะไร แล้วก็ดำเนินการแก้ไขเสียให้ตรงกับสาเหตุ

สันโดษ ในสิ่งที่ได้รับ คือ พอใจกับการเดินตามกระบวนการที่ดี ให้เน้นกระบวนการว่าถูกต้อง (Right Process) อย่าเน้นผลลัพธ์อย่างเดียว (Result Oriented) นั่นคือ ทำดีอย่างดีไว้ก่อน รักษาคุณภาพสินค้าและบริการไว้ให้ดีไว้ก่อน จะขายได้มากน้อย ก็มาพิจารณาหาลู่ทางแก้ไขกันต่อไป

ไม่สันโดษ ในแง่ที่ต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่สันโดษ กับคุณภาพสินค้าและบริการที่ด้อยคุณภาพจนลูกค้าร้องเรียน ไม่สันโดษหากสิ่งนั้นยังไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์พ้นปัญหา

อุเปกขา หากสิ่งนั้นเราช่วยเหลือไม่ได้แล้ว แก้ไขไม่ได้แล้ว ทุกข์ไปก็ช่วยอะไรไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ที่จะทุกข์

จิตว่าง นั้นการบริหารงานต้องรักษาความเป็นกลาง ไม่มีกิเลส ไม่มีส่วนได้เสีย เช่น การตัดสินใจด้วยความเป็นกลาง การวิเคราะห์ปัญหาด้วยใจเป็นกลาง การลงโทษหรือชมเชยลูกน้องด้วยความเป็นกลาง การตรวจสอบการทำงาน (Audit) ก็ทำด้วยใจที่เป็นกลาง เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันก็ต้องเป็นกลาง

 

12.4  การใช้ธรรมะในการบริหารงาน

12.4.1   หลักบริหาร 3ป + ม.

ปริยัติ : มีความรู้เพียงพอที่จะทำ มีแผนการดำเนินงาน มีการเตรียม

  พร้อมที่จะทำ มีคน วัสดุ อุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต มีคุณภาพ

  หรือเป้าหมายที่ต้องการ และมีกลยุทธที่จะทำให้บรรลุ

  เป้าหมาย

ปฏิบัติ : มีการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติ  นอกแผน และการปฏิบัติใน

  ภาวะฉุกเฉิน

ปฏิเวธ : มีการตรวจสอบผลลัพธ์ การประเมินผลการดำเนินงานตาม

  แผน มีการตอบโต้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน มีการ

  นำปัญหามาแปลงเป็นความรู้ (ปริยัติ) ที่จะนำไปใช้งานใน

  โอกาสต่อไป

มรรค : มีการจัดทำมาตรฐานที่ปฏิบัติ การยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น

  หรือดีขึ้น และมีการปรับปรุงมาตรฐานงานให้สูงขึ้นอย่างต่อ

  เนื่อง

 

12.4.2       หลักธรรมอื่นๆ ในการบริหาร

ในการบริหารควรที่จะมีหลักธรรมะช่วยในการบริหาร เช่น ทศพิธราชธรรม  สัปปุริสธรรม 7  พรหมวิหาร 4  สังคหวัตถุ 4  และ อริยสัจ 4

 

12.5  พบชีวิตจริงแห่งธรรมะในระบบการบริหาร

ในการบริหารงานนั้น จะมีสิ่งที่พิจารณา คือ ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง  อนัตตา

อนิจจัง จะพบว่าในการบริหาร จะเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด จากวัตถุดิบกลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้า เครื่องจักรใหม่ เคยดีอยู่ก็เสียหาย ชำรุดใช้งานไม่ได้ ยอดขายมียอดเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดทุกปี ปีถัดไปอาจขายไม่ออก คู่แข่งขันมีความแข็งแกร่งขึ้น มาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไป ข้อบกพร่องก็เป็นหลักอนิจจัง การทำงานที่เคยใช้ได้ดีมาตลอด มาในปัจจุบันกลับผลิตสินค้าบกพร่อง คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ที่ใช้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี่รวดเร็วจนปรับตัวไม่ค่อยจะทัน ลูกค้าฉลาดขึ้น ต่อรองราคาจนแทบไม่มีกำไร เดิมเป็นบริษัทของคนไทย พอเศรษฐกิจทรุด พวกฝรั่งเข้ามาถือหุ้นใหญ่แล้วมานั่งบริหาร  วัตถุดิบที่เคยใช้ได้ก็กลับเป็นใช้ไม่ได้ ต้องหาวัตถุดิบตัวใหม่มาทดแทน  ลูกหนี้ที่ดีก็กลับมาเบี้ยวเจ้าหนี้ ความเบี่ยงเบนของคุณภาพผลิตภัณฑ์ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของอนิจจัง มีแกว่งขึ้น แกว่งลง เพราะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกหลายตัว การแก้ไขด้านอนิจจังนั้นจะต้องใช้ปัญญาพิจารณา และเตรียมแผนบุกรับปรับถอยไว้ให้ดี

ทุกขัง ในการบริหารงานก็เปรียบเสมือนปัญหา มีตั้งแต่ปัญหาคุณภาพ ปัญหาค่าใช้จ่าย ปัญหาการส่งมอบ ปัญหาการส่งมอบ ปัญหาอุบัติเหตุ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต บางครั้งชาวบ้านก็ร้องเรียนจะปิดโรงงานเอา เพราะเดี๋ยวนี้เขาโอนอำนาจให้ อบต.ดูแลท้องถิ่น ปัญหาในการทำงาน ถือว่าเป็นของธรรมดา ต้องวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า แล้วดับที่เหตุนั้นเสีย ปัญหาก็จะหมดไป ในทางปฏิบัติอาจพบว่าการหาสาเหตุรากเหง้า แทบจะทำได้ยากมาก ต้องแก้ที่อาการไปก่อนแบบผจญเพลิง มีเวลาก็ต้องมาเรียงลำดับความสำคัญ แล้วเลือกแก้ปัญหาเป็นเปลาะๆ

อนัตตา ในการบริหารงานนั้น หมายถึง อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะอยู่อย่างนี้ไปตลอด ให้พยายามทำให้ดีที่สุด พัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆ ผลลัพธ์ก็จะดีเอง ถ้ายังไม่ดีก็คิดว่ายังทำไม่ถูกจุด ให้วิเคราะห์ใหม่ ทำใหม่ กำไรน่าจะเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการของนักบริหาร มีเงินรายได้จากกำไร ก็ต้องเก็บไว้บางส่วน เผื่อแผนถอยไว้บ้าง ส่วนหนึ่งก็เอาไปลงทุนต่อสำหรับเผื่อแผนบุก ต้องไม่ประมาท เพราะเงินทองเป็นของนอกกาย ธุรกิจที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต ปัจจุบันล้มละลายไปหลายบริษัทแล้ว เพราะความประมาท อย่าคิดว่าทฤษฎีของฝรั่งจะใช้ได้ตลอดไป หรือใช้ได้ทุกประเทศ ทฤษฎีฝรั่งก็เหมาะกับฝรั่ง เมืองไทยคนไทยก็ต้องคิดทฤษฎีขึ้นมาใหม่ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง การบริหารอย่างพอเพียง เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งเดิม สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทำให้เราต้องใช้ปัญญาทบทวนรู้เท่าทัน ปรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเราเอง มีเทคโนโลยีเราเอง ปรับปรุงไปอย่างต่อเนื่อง

เมื่อมองธรรมะที่มีตัวตน บริหารงานด้วยความจริง ไม่ใช่บริหารงานด้วยความเชื่อ โชคลาง ไสยศาสตร์ อ้อนวอนเทพเจ้า ก็จะรู้ว่าธรรมะนั้นแหละคือสิ่งที่มีตัวตน จับยึดได้ อย่าไปหลงจับทฤษฎีอย่างฝังใจ จนหัวชนฝา เป็นการจับยึดอย่างงมงาย ที่ไม่คิดที่จะพึ่งพาตนเอง

 

12.6  บริหารงานด้วยจิตว่าง

จิตที่ว่างมีความเป็นกลาง หรือกรรมการผู้ตัดสินที่มีความยุติธรรมอยู่ในใจ จะตัดสินหรือวิเคราะห์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้องมากที่สุด มีพลังมากที่สุด ยากนักที่จะมีผู้คัดค้าน เพราะมีความบริสุทธิ์ ความเป็นกลางเป็นเกณฑ์อยู่ในจิตใจ จิตที่ว่างจะลดข้อบกพร่องได้ดี ไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง หรือไม่แอบไปยกมือเทคะแนนให้กับฝ่ายที่เสนอเข้ากับกิเลสของตน

จิตที่ว่างจะไม่เชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อให้ซื้อโดยไม่จำเป็นต้องซื้อ ไม่ลงทุนขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะใช้งานมากๆ เพราะจะมีปัญญาหยั่งรู้ว่าสิ่งนี้เกินความจำเป็น

จิตที่ว่างไม่หลงไปกับกิเลสที่มีผู้เอามาล่อ เช่น คอรัปชั่น โกงกิน เพราะฉะนั้นงานของผู้บริหารที่จิตว่างจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากเงินทุกบาททุกสตางค์ใช้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

 

12.7  อยู่เหนือปัญหาด้วยวิธีบริหารแบบ 3ส

การบริหารด้วย 3ส จะสามารถฟันฝ่าปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ใช้ปัญญา ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่บริหารด้วยกิเลส เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง ปัญหาทุกปัญหานั้นมีมูลเหตุปัจจัย เมื่อเห็นเหตุปัจจัยตามอริยสัจ ก็ย่อมแก้ปัญหาได้ ทั้งเชิงวัตถุและเชิงจริยธรรม การบริหารแบบนี้ย่อมอยู่เหนือปัญหา เพราะไม่เป็นทาสของปัญหา แต่มองปัญหาเป็นสิ่งที่เราจะต้องแก้ด้วยใจที่เป็นสุข ไม่ทุรนทุรายจนเกิดทุกข์ใจ เนื่องจากเห็นปัญหาก็เป็นเช่นนั้นเอง

 

    13.     บทส่งท้าย

การบริหารงานด้วยความสะอาด สว่าง สงบ ก็เป็นแนวคิดอีกแนวหนึ่ง ในการประยุกต์ใช้ธรรมะที่ใช้ในการปฏิบัติตนเองให้มุ่งไปสู่นิพพาน กลายเป็นธรรมะที่ใช้ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีวิชชา ชนะทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ

 

หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร





 
Heute waren schon 31 Besucher (33 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden