พระประสูติกาล
พุทธประวัติV D O
พระนางสิริมหามายาแห่งโกลิยวงศ์ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นโกศล ขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอัน เป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า ช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้นก็มีพระประสูติกาล ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระพุทธมารดาได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าชื่อ ลุมพิและมีพระประสูติกาลเป็นพระโอรสซึ่งต่อมาจะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระ พุทธเจ้า วันนั้นเป็นวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ ก่อนพุทธศักราชแปดสิบปี อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล
หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้วเจ็ดวัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคาลัย ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าว ว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และเมื่อพระพุทธมารดาได้ให้พระประสูติกาลแก่พระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่สมควรจะได้ ร่วมกามเมถุนอีก จึงเป็นพุทธมารดาประเพณีที่จะพระองค์จักต้องเสด็จสวรรคาลัย
นอกจากนี้ หลังจากมีพระประสูติกาลแล้วห้าวัน พระเจ้าสุทโธนะโปรดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระประสูติกาลพระกุมาร ฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะดาบส" ได้เดินทางแต่เขาที่ตนพำนักมายังพระราชพิธีด้วย พระกุมารได้วางพระบาทเหนือศีรษะฤๅษีอสิตะเพื่อให้ชมดูรอยตำหนิแห่งการกำเนิด เมื่อพบว่าพระกุมารมีมหาปุริสลักษณะ ฤๅษีจึงประกาศว่าพระราชโอรสพระองค์นี้ในอนาคตกาลจะได้เป็นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าเป็นแน่ อนึ่ง ในพระราชพิธี พราหมณ์แปดนายซึ่งได้รับเชิญมา เจ็ดนายในจำนวนนั้นทำนายเป็นเสียงเดียวกันอย่างคำประกาศของฤๅษีอสติะ เว้นแต่พราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ฝ่ายพราหมณ์โกณฑัญญะเมื่อเชื่อมั่นในคำทำนายของตนแล้วก็ออกบวชล่วงหน้าเพื่อ เตรียมตัวเป็นสาวกของพระกุมารเมื่อได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วในอนาคต
ในพระราชพิธีนี้ พระกุมารทรงได้รับพระนามว่า "สิทธัตถะ" หรือ "สิทธารถ" (/สิดทาด/) มีความหมายว่า ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือ ผู้ปรารถนาสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น
เจ้าชายสืบราชสมบัติ
เจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่ง เพราะกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตร และได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิศ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด เจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็ว และจบหลักสูตรสิ้นทุกประการ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชาที่เปิดสอน
พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะออกบวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้อยู่ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหนคร เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขกับพระนางตลอดมา จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็มีพระราชโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง
เจ้าชายเสด็จออกบวช เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยอรรถกถา
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถา (หลักฐานชั้นรอง แต่งโดยคัมภีราจารย์รุ่นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่า หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยและอภิเษกสมรสล่วงมาได้ 29 พรรษาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูร จนวันหนึ่งทรงปรารถนาจะผ่อนคลายความจำเจ จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นทรงพบเทวทูตทั้ง 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราชหฤทัย ใคร่เสด็จออกบรรพชาเป็นสม
ในวันที่เจ้าชายราหุลเกิดนั้น เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ด้วยทรงเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลส จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชาเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นเพศที่ สามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้ กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกบวช ได้เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงดำริจะอุ้มพระ โอรส ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบกับนายฉันนะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง (ม้านามว่ากัณฑกะ) ไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล ทรงเสด็จออกพ้นพระราชวัง เข้าเขตแดน แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป ประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลี ด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์ แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เวลาเช้า ตรงกับวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน จากนั้นทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ ไปยังแคว้นมคธ
เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก)
(ตามนัยอรรถกถา) หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากพระราชวัง ทรงตัดพระเมาฬีที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีเพื่ออธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้น คือ พระไตรปิฎก กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้ 29 พรรษา ได้ ทรงปรารภเหตุคือ ความแก่ เจ็บ ตาย ที่มีอยู่ทุกคนเป็นธรรมโลก ไม่มีใครจะรอดพ้นไปได้ แต่เพราะว่ามิได้ฟังคำสั่งสอนของผู้รู้ จึงทำให้มัวแต่มานั่งรังเกียจเหตุเหล่านั้นว่าเป็นของไม่ควรคิด ไม่ควรสนใจ ทำให้คนเราทั้งหลาย มัวมาแต่ลุ่มหลงอยู่ในกิเลสทั้งหลายเพราะความเมา 3 ประการ คือ เมาว่าตัวยังหนุ่มยังสาวอยู่อีกนานกว่าจะแก่ 1 เมาว่าไม่มีโรคอยู่และโรคคงจะไม่เกิดแก่เรา 1 เมาว่าชีวิตเป็นของยั่งยืน 1 มัวแต่ใช้ชีวิตทิ้งไปวัน ๆ กล่าวคือ ทรงดำริว่า
...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริง
แต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไม เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัว (ให้โง่) อยู่อีกเล่า!
ด้วยความคิดเช่นนี้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า
เมื่อรู้ว่าการเกิดมี (ทุกข์) เป็นโทษแล้ว เราพึงแสวงหา
"
นิพพาน" อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด
นอกจากนี้ ในสคารวสูตร มีพระพุทธพจน์ตรัสสรุปสาเหตุที่ทำให้ทรงตั้งพระทัยออกบรรพชาไว้สั้น ๆ ว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสงสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว, โดยง่าย นั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด
ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหลายนี้พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จออกผนวช โดยการเสด็จออกผนวชตามนัยพระไตรปิฎกนั้น มิได้ทรงหนีออกจากพระราชวัง แต่ทรงเสด็จออกผนวชต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดาเลยทีเดียว ดังในโพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ว่า
...เรายังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย, เมื่อบิดามารดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว...
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. โพธิราชกุมารสุตฺต ราชวคฺค ม. มู. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙
เหตุการณ์จากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่า เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด (สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีมีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ) ในเบื้องต้น พระสมณโคดม ได้ไปฝากตนเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส ได้ฝึกจิตบำเพ็ญธรรมจนบรรลุความรู้ขั้นสูงสุดของอาจารย์ คือบรรลุฌานขั้นที่ 7
บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม
เมื่อหมดความรู้ของอาจารย์อาฬารดาบสจึงอำลาไป เป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่ 8 ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรม ตามแนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่า นี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้
พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสีย พระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ โดยทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุกรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน อาทิการกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเหงื่อโทรมกายหูอื้อตาลาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็งพระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถี ทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรมได้
ขณะนั้นมีฤๅษี 5 รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ตามมาปฏิบัติตนเป็น ศิษย์ ด้วยคาดหวังว่า เมื่อพระสมณโคดม ค้นพบ วิโมกขธรรม จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย
พระสมณโคดม เริ่มบำเพ็ญทุกกรกิริยาขั้นสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอด อาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก ทรงอาตมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาภึง 6 พรรษา ก็ยังไม่สามารถบรรลุวิมุตติธรรม
ความนี้ทราบถึงท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นจอมเทพแห่งดาวดึงส์สวรรค์ จึงทรงเสด็จมาเฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรงดีดพิณสาย ที่ 1 ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณก็ขาดผึงลง วาระที่ 2 ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้นสายไว้หย่อน ปรากฏเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความไพเราะ วาระที่ 3 ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสายไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป
พระสมณโคดม ทรงสดับแล้วก็ทรงทราบถึงเหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนวพระดำริว่า การบำเพ็ญทุกขกิริยานั้น เป็นการทรมาณตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไปไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรทางสมาธิจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไป
การตรัสรู้ยิ่ง
ทรงประทับนั่ง ขัดสมาธิ ผินพระพักตรสู่เบื้องบูรพาทิศ ตั้งจิตแน่แน่วว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาน จักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ พญาวัสสวดีมาร เข้าทำการขัดขวางการตรัสรู้ ของพระมหาบุรุษ แต่พ่ายแพ้ไป ด้วยอำนาจบารมี ครั้นพญามารพ่ายแพ้กลับไปแล้ว พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้าฌาน เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ จนเวลาผ่านไปจนถึงยามต้น ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุติญาณ คือ ทรงระลึกชาติในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ ยามสอง ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยามสาม ทรงบรรลุ อาสวักขญาณ คือ รู้วิธีกำจัดกิเลส (มาร) ด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าทรง
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ณ
อุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมือง
พาราณสี ขณะมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา
การแสดงปฐมเทศนา
เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ วัน เพ็ญ เดือน 8 คือวันอาสาฬหบูรณมี ซึ่งกล่าวถึงที่สุด 2อย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรปฏิบัติ คือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม 1 การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า 1 มัฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ควรดำเนิน คืออริยสัจจสี่และมรรคมีองค์แปด 1
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่าอัญญาสิ วตโกณฑัญโญ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
พระองค์ก็ได้เที่ยวสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดระยะเวลา 45 พรรษา เพื่อให้ศาสนิกชนได้พบเห็นทางที่นำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคามใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระองค์เสวยสุกรมัททวะ ที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
จนกระทั่งถึงดับขันธุ์ปรินิพาน ระหว่างใต้ต้นรังคู่ ณ แขวงเมืองกุสินารา ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
หลักธรรม คำสอน
พระพุทธเจ้าทรงเทศนา สั่งสอนพุทธบริษัทเรียกว่า พระธรรมวินัย พระธรรม คือคำสอนในสิ่งที่เป็นจริงของชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน
พระธรรมนั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ คำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับ ชีวิตประจำวันของ ผู้คนทั่วไป เรียกว่าพระสูตร และคำสอนที่เป็น หัวข้อธรรมล้วนๆ เช่น ขันธ์ 5 ปัจจยา การ 12 เป็นต้นเรียกว่าพระอภิธรรม ส่วนวินัยสำหรับพระ ภิกษุและภิกษุณี ได้แก่กฎระเบียบข้อปฏิบัติ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 วัน พุทธบริษัทได้ ร่วมกันรวบรวม พระสูตร พระอภิธรรมและพระวินัยจัดเข้าเป็น หมวดหมู่ได้ 84,000 หมวด รวมเรียกว่า พระไตรปิฎก
คำว่า ปฐมสมโพธิกถา หมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับ
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า วรรณคดีเรื่องนี้เป็นพุทธประวัติ
อย่างละเอียด ในแนวสรรเสริญพระพุทธคุณ เน้นหนักไปทาง
อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งโน้มเอียงไปทางคติพุทธศาสนาฝ่ายมหา
ยาน
.. ความเรียงเชิงวิเคราะห์ ผลงานพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระ ปรมานุชิตชิโนรสฯ โดย นางอรอนงค์ ตั้งก่อเกียรติ
เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามักจะมีอิทธิปาฏิหาริย์
แทรกอยู่ด้วยเสมอทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้รวบรวมต้องการ
ให้เห็นว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก่อให้เกิดประโยชน์
สุขแก่มวลมนุษย์ ถ้าจะเล่าพื้น ๆ โดยไม่แทรกเรื่องราว
มหัศจรรย์ก็ดูกระไรอยู่
อีกอย่างหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวการเล่าเรื่องต้อง
ใช้ภาษากวีที่สละสลวย จึงต้องต่อเติมเสริมต่อให้เกินจริง
ไปบ้าง ผู้อ่านจึงไม่ควรถือเคร่งตามตัวอักษรไปทั้งหมด
ควรคิดว่า นั่นเป็นเพียงบุคลาธิษฐาน
อิทธิปาฏิหาริย์เหล่านี้จะเห็นได้ตั้งแต่เริ่มแรก
ทีเดียวเช่น กล่าวถึงเมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์เสด็จ
สวรรคตแล้วได้ไปเกิดเป็นเทพสันดุสิตในสวรรค์ชั้นดุสิต
เหล่าเทพยดาพิจารณาเห็นว่าพระโพธิสัตว์ได้
บำเพ็ญบารมีมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป พร้อมที่
จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ จึงได้มาประชุมกัน
เพื่ออัญเชิญสันดุสิตเทพบุตร ให้จุติจากสรวงสวรรค์
มาเกิดในมุษยโลก
พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่า เป็นเวลาอัน
สมควร แล้วจึงรับอาราธนา
วิวาหมงคลปริวรรต การแต่งงานและกำเนิดศากยวงศ์
ราชสกุลวงศ์ของพระพุทธเจ้า ชื่อว่าศากยวงศ์ โคตมโคตร
ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์ (ปัจจุบันคือประเทศเนปาล) สืบต่อ
กันมาช้านานจวบถึงสมัยพระเจ้าสีหนุราช ทรงมีพระราช
โอรสชื่อสุทโธทนะ
พระองค์ได้ส่งคณะพราหมณ์ไปแสวงหาราชธิดาต่าง
เมือง ที่งามพร้อมด้วยเบ็ญจกัลยาณี เพื่อมาอภิเษกเป็นมเหสี
ของราชโอรสสุทโธทนะ
จนได้พบราชธิดาแห่งกรุงเทวทหะ นามว่าสิริมหา
มายา ผู้งามพร้อมด้วยบุญญาธิการ เจ้ากรุงเทวทหะ
ทรงยินดีให้มีการ พิธีอาวาหะมงคล ณ กรุงเทวทหนคร
เหล่าเทวดาอัญเชิญสันดุสิตเทพบุตร ให้จุติจากสรวงสวรรค์มาเกิดในมุษย
เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์เสด็จสวรรคตแล้ว
ได้ไปเกิดเป็นเทพสันดุสิต ในสวรรค์ชั้นดุสิต
เหล่าเทพยดาพิจารณาเห็นว่าพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญ
บารมีมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป พร้อมที่จะตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธะแล้ว จึงได้มาประชุมกันเพื่ออัญเชิญ
สันดุสิตเทพบุตร ให้จุติจากสรวงสวรรค์มาเกิดในมุษยโลก
พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่า เป็นเวลาอัน
สมควร แล้วจึงรับอาราธนา
คัพภานิขมนปริวรรต เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
พระนางสิริมหามายาประสูติ พระกุมาร"สิทธัตถะ
พระโพธิสัตว์ครั้นทรงรับอาราธนา จากเหล่าเทพยดาแล้ว
ได้จุติจากสรวงสวรรค์ ลงสู่พระครรภ์ของพุทธมารดา จวบจน
พระมารดาทรงครรภ์ถ้วนทศมาส จวนจะประสูติ
พระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ
แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ขณะทรงพระครรภ์แก่ ได้ขออนุญาตจาก
พระสวามี เพื่อแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของ
พระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวน
ลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ครั้นพระ
กุมารประสูติได้ ๕ วันก็ได้รับการถวายพระนามว่า สิทธัตถะ
และหลังจากนั้น ๒ วัน พระราชมารดาก็ทิวงคต
ลักขณปริคาหก ปริวรรต เจ้าชายมีลักษณะมหาบุรุ
เจ้าชายสิทธัตถะประพาสอุทยาน ทรงพบเทวทูตทั้ง ๔
พระเจ้าสุทโธทนะราชบิดา ได้เชิญพราหมณ์ ๘ คน มา
ทำนายลักษณ์พระกุมาร ซึ่งพราหมณ์ทั้งหมดมีความเห็นตรง
กันว่า พระกุมารมีลักษณะของมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ๗ คนจึง
ทำนายเป็น ๒ ทางว่า หากพระกุมารสีบราชสมบัติต่อไปจัก
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ครองโลก หากออกบวชจักเป็น
ศาสดาเอก
ส่วนพราหมณ์คนที่ ๘ ซึ่งอ่อนอาวุโสที่สุด ทำนายเป็นทาง
เดียวว่า พระกุมารจะออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลก
พราหมณ์ผู้นี้มีชื่อว่า โกณฑัญญะ ภายหลังเมื่อทราบข่าวว่า
เจ้าชายสิทธัตถะออกบวช จึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ในกลุ่ม
เบ็ญจวัคคีย์ และได้บวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกของโลก คือ
พระอัญญาโกณฑัญญะ
เจ้าชายทรงดำรงตำแหน่ง อยู่ในฐานะรัชทายาทแห่ง
กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงสำเร็จการศึกษาสูงสุดจากสำนักทิศา
ปาโมกข์ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง ๑๘ สาขาวิชาที่เปิดสอน
ราชาภิเษกปริวรรต เจ้าชายสืบราชสมบัติ
พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของ
พราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะออกบวชแน่นอน จึงทรงหา
วิธีการผูกมัด โดยทรงจัดการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้น
ครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท ๓ ฤดูให้อยู่ประทับ
จากนั้นทรงตบแต่งราชธิดาผู้เลอโฉม นามว่าพิมพา
ให้เป็นอัครมเหสี
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท ๓ ฤดู จน
วันหนึ่งทรงปรารถนาจะผ่อนคลายความจำเจ จึงชวนสารถี
ทรงรถม้าประพาสอุทยาน
ครั้งนั้นทรงพบเทวทูตทั้ง ๔ อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ
คนตาย และนักบวช พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราช
หฤทัย ใคร่เสด็จออกบรรพชาเป็นสมณะ
มหาภินิขมนปริวรรต เจ้าชายเสด็จออกบวช
เจ้าชายสิทธัตถะ ขณะตัดสินพระทัยออกบวช
เจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเสด็จกลับจากประพาสอุทยาน
ทรงทราบข่าวมเหสีประสูติโอรส จึงทรงเปลางอุทานว่า"ราหุล"
ซึ่งมีความหมายว่า บัดนี้ห่วงที่จะคล้องพระองค์ไว้ จากการ
อกบวช ได้เกิดขึ้นแล้ว และคำอุทานนี้เองได้กลายมาเป็น
ชื่อเรียกพระโอรสของพระองค์
กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกบวช ได้เสด็จ
ไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพา
บรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงดำริจะอุ้มพระโอรส ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่น
บรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา
จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรส สด็จออก
จากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบกับนายฉันนะ สารถี
ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่งไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครใน
ราตรีกาล ซึ่งเทพยดาบันดาลเปิดทวารพระนครไว้ให้
เสด็จโดยสวัสดี
ทรงเสด็จออกพ้นพระราชวัง เข้า เขตแดน แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง ก็เสด็จ ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที
พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป ประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลี ด้วยพระ ขรรค์ เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์ แล้ว
ทรงตั้งจิตอธิษฐานครองเพศบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรานั้น
ทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์ กลับ นคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ ไปยังแคว้นมคธ
เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดพระเมาลีด้วย พระขรรค์ อธิษฐานจิตเป็นนักบวช ณ รืมฝั่งแม่น้ำอโนมานที
ทุกกรกิริยา บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม
แผ่นดินอินเดียในยุคนั้น เต็มไปด้วยนักบวช
หลากหลายชนิด และมีผู้ตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิใหญ่
มากมาย โดยมีเจ้าลัทธิใหญ่ อยู่ ๖ คนเรียกว่าครู
ทั้งหก
นอกจากนี้ ยังมีสำนักดาบสใหญ่ ๒ สำนัก
คืออาฬารดาบส(กาลามโคตร) และอุทกดาบส
(รามบุตร -ชื่อโคตร) เป็นสำนักที่มีชื่อเสียงและ
มีผู้ฝากตนเป็นศิษย์มาก
ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิต
แล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด(สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมี
มีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ)
ในเบื้องต้น พระสมณโคดม ได้ไปฝากตน
เป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส ได้ฝึกจิตบำเพ็ญ
ธรรมจนบรรลุความรู้ขั้นสูงสุดของอาจารย์ คือ
บรรลุฌานขั้นที่ ๗
เมื่อหมดความรู้ของอาจารย์อาฬารดาบส
จึงอำลาไป เป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส ซึ่งมีความ
รู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌาน
ขั้นที่ ๘ ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นาน
ก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์
ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรม ตาม
แนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่า นี่ไม่ใช่
หนทางแห่งการตรัสรู้เพราะการบรรลุฌานขั้นสูงนั้น
เมื่อตายไปแล้วก็ไปบังเกิดเป็นพรหมในพรหมโลก
เสวยสุขอยู่ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์ ไม่มีโอกาสทำประโยชน์
ต่อชาวโลก
การที่พระองค์บำเพ็ญบารมีมานับแสน
กัปป์นับแต่อดีตชาตินั้น ก็เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ออก
จากวัฏฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิด ไม่รู้จบสิ้น
เพราะทรงตระหนักว่า การเกิดแก่เจ็บตาย เป็น
ความทุกข์ของสัตว์โลก
ธรรมดาของโลกย่อมมีสิ่งที่คู่กัน คือมีพระ
อาทิตย์คู่กับพระจันทร์ มีกลางวันคู่กับกลางคืน
เมื่อมี เกิด มีตาย ก็น่าจะ มีการไม่เกิดไม่ตาย
ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่าวิโมกข์ธรรม ที่พระองค์ทรง
แสวงหา และยังไม่พบในสำนักใด ๆ
พระสมณโคดม บำเพ็ญเพียร ทุกกรกิริยาณริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ
เมื่อพระสมณโคดม อำลาพระดาบสทั้ง ๒ รูปแล้วก็ได้มุ่งหน้าสู่สถานที่สงบสงัด ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ โดย
ทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุก
กรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัตกัน อาทิ
การกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเหงื่อโทรมกาย
หูอื้อตาลาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้
ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็ง
พระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิม
ทุกวิถีทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบ
สัจจธรรมได้
ขณะนั้นมี ฤาษี ๕ รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ตามมาปฏิบัติตนเป็น ศิษย์ ด้วยคาดหวังว่า เมื่อพระสมณโคดม ค้นพบ
วิโมกขธรรม จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย
พระสมณโคดม เริ่มบำเพ็ญทุกกรกิริยาขั้น
สุดท้าย คือเริมลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอด
อาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและ
เอ็นหุ้มกระดูก เมื่อยกฝ่ามือขึ้นลูบแขน เส้นข้นตาม
พระวรกายก็ล่วงติดมือมา
ขณะนั้นทรงเกิดพระปริวิตกว่า อาตมาบำเพ็ญ
เพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาภึง ๖ พรรษา
ก็ยังไม่สามารถบรรลุวิมุตติธรรม เห็นที่การบำเพ็ญ
เพียรนี้ จักสูญเปล่าเป็นแน่
ความปริวิตกนี้ ทราบถึงท้าวสักกเทวราช ผู้
เป็นจอมเทพแห่งดาวดึงส์สวรรค์ จึงทรงเสด็จมา
เฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรง
ดีดพิณสายที่ ๑ ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณ
ก็ขาดผึงลง วาระที่ ๒ ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้น
สายไว้หย่อน ปรากฎเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความ
ไพเราะ วาระที่ ๓ ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสาย
ไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับ
ถวายบังคมลากลับไป
พระสมณโคดม ทรงสดับแล้วก็ทรงทราบถึง
เหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนว
พระดำริว่า การบำเพ็ญทุกกริกิริยานั้น เป็นการทร
มาณตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไป
ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรทาง
สมาธิจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นทาง
แห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิม
เพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญ
เพียรต่อไป
รายพระนามของพระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ที่พระบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว) |
|
อดีต |
|
|
ปัจจุบัน |
พระสมณโคตมพุทธเจ้า
|
|
อนาคต |
|
ศาสนาเดิมของศาสดา
- โมเสส เคยนับถือศาสนาอียิปต์โบราณ เป็นศาสนาแรกเกิดที่นับถือ เปลี่ยนศาสนามาเป็นยิวเมื่อพบองค์พระเจ้าที่ถ้ำแห่งหนึ่ง
- พระพุทธเจ้า เคยนับถือศาสนาฮินดู เป็นศาสนาแรกประสูติที่นับถือ เปลี่ยนศาสนามาเป็นพุทธเมื่อตรัสรู้ เมื่อ 35 พรรษา
- พระเยซูคริสตเจ้า เคยนับถือศาสนาศาสนายิว เป็นศาสนาแรกสมภพที่นับถือ เปลี่ยนศาสนามาเป็นคริสต์เมื่อสั่งสอนประชาชนประมาณพระชนม์ 30 พรรษา (ความจริงพระองค์ยังไม่ใช่คริสต์อะไรหรอก ยังถือว่าเป็นยิว แต่ต่อมาศาสนาคริสต์กับยิวแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวยิวที่เชื่อในองค์พระเยซูเรียกว่าชาวคริสต์)
- ท่านนบีมูฮีมหมัด เคยนับถือศาสนาพื้นเมืองอาหรับที่ชื่อว่ากุยร็อยช์ เป็นศาสนาที่เคารพรูปเคารพ เป็นศาสนาแรกเกิดที่นับถือ เปลี่ยนศาสนาเมื่อเริ่มประกาศธรรมเมื่ออายุ 40 ปี
- ท่านคุรุนานัค เคยนับถือศาสนาฮินดูแต่อยู่ในสังคมของชาวมุสลิม เป็นศาสนาแรกเกิดที่นับถือ (ฮินดูและมีความรู้เรื่องของชาวมุสลิมอยู่ด้วย) เปลี่ยนศาสนาที่หายตัวไป เมื่ออายุ 30 ปี ไม่กี่วันต่อมาเขาก็กลับมา และเป็นชาวสิกข์
|
|
|
|
--------------------------------------------------------------------------------
ปริศนาธรรม • จากพระพุทธรูป..
พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า
ชาวพุทธให้ความเคารพศรัทธามากบางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ
เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม
จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ
พระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
เป็นต้น
ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น
มีตำนานเล่าขานกันมามากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่ความศรัทธาของชาวบ้าน
แต่สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบหรือตัวแทนของพระพุทธเจ้านี้
ที่สังเกตเห็นได้มีอยู่ด้วย กัน 3 ประการ คือ
1. พระเศียรแหลม
มีคำถามว่า
ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์
ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม
พระเศียรที่แหลมนั้นหมายถึง
สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต
สอนให้ชาวพุทธแก้ปัญหาต่างๆ
ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้อารมณ์
หากใช้ปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำความผิดพลาด
เกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย
2. พระกรรณยาน หรือ หูยาน
เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก
คือมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง
ไม่เชื่ออะไรง่ายๆแต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย
แล้วจึงเชื่อในฐานที่เป็น
ชาวพุทธก็ต้องเชื่อในกฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น
เชื่อว่าไม่มีอะไรทำให้ใครเป็นอะไรๆ
ทั้งนั้นแต่ตัวเราเองนั่นแหละทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์
คนเราจะดีจะชั่วจะเสื่อมจะเจริญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอก
หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับการทำ
การพูดการคิดของตนเองนี้เป็นการเชื่อตามหลักของพระพุทธศาสนา
3. พระเนตรมองต่ำ
พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์
อย่างในพระอุโบสถของวัดทั่วไป จะนั่งมองดูพระวรกาย
ไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง
นี้เป็นปริศนาธรรม
สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเอง
ตักเตือนแก้ไขตนเองไม่ใช่คอยจับผิดผู้อื่น
ซึ่งตามปกติของคนแล้วมักจะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น
แต่ลืมมองของตนเองทำให้สูญเสียเวลาและโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง
ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดี
กว่าตัวเราเองจึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า
"อตฺตนา โจทยตฺตาน" = จงเตือนตนด้วยตนเอง
จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ใครจะเตือน
ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย
ที่กล่าวมาทั้ง 3
ประการนั้นเป็นการสอนโดยใช้ปริศนาธรรม
จากพระพุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง
ดังนั้น..
ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไรแก้ไขไม่ได้คิดไม่ตกก็เข้าวัดเสียบ้าง
นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป
หรือถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป
ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูป ที่บ้านนั่นแหละ
ค่อยๆเพ่งพินิจที่พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่จะกราบ จะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตนว่า..
"อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์นะ ใจเย็นๆ ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อยๆ คิด
ค่อยๆแก้ด้วยสติปัญญาที่เฉียบแหลม..
เหมือนพระพุทธเจ้าของเราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา"
เห็นพระกรรณยานก็บอกตนเองว่า..
"สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผลเข้าไว้
อย่าปล่อยใจตามอารมณ์หรือหุนหันพลันแล่น
เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง
เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล"
เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำก็บอกตนเองว่า..
"มองตนเองบ้างนะ
อย่าไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ
และอาจมีปัญหาได้
การมองตนเองบ่อยๆ จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง
และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น"
จากนั้นก็ค่อยกราบ..
พระพุทธรูปด้วยสติปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน
นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" สมกับเป็นผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ที่แท้จริง..
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา |
ดัชนี |
|
|
|