vipassana - ศีล 5 แบบละอียด
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

เนื้อหาศีล 5 แบบละอียด

หนังการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง "ศีลห้า" /โต้รุ่ง Animation 1965

 

เบญจศีล


ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น จำเป็นที่แต่ละคน ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมจะต้องทำตนให้เป็นคนเต็มคน ที่เรียกว่าเป็นมนุษย์ หรือเป็นคน 100% เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบสุข เกิดศานติสุข ไม่มีเวรภัยต่อกันและกันหลักธรรมที่จะทำคนให้เป็นให้เต็มคนอันยังผลให้การ อยู่ร่วมกันมีความสุขมีความสงบสุขนั้นก็คือ เบญจศีลเบญจธรรม อันได้แก่


ตอนที่ ๑ เนื้อความและความหมาย

เบญจศีล แปลว่า ศีล ๕ ได้แก่..

๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น

๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ
(๑) ภรรยาคนอื่น
(๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)
(๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์

บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ
(๑) สามีคนอื่น
(๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์)

ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่า นั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู"

เรื่องของศีลกาเมฯ อย่าเข้าใจเพียงว่า แค่ไม่ประพฤติผิดในกาม มันเป็นเรื่องของคนมีลูกมีเมียแล้วเท่านั้น ต้องศึกษาดูให้ดีครับ หญิงที่เข้าข่ายว่าเราไปมีสัมพันธ์และผิดศีลข้อสาม ไม่ว่าเราจะโสด หรือไม่โสดก็ตาม มีถึง 21 ประเภทครับ
มาตุรกฺขิตา สตรีที่มารดาปกครองรักษา ๑
ปิตุรกฺขิตา ที่บิดาปกครองรักษา ๑
มาตาปิตุรกฺขิตา ที่มารดาบิดาปกครองรักษา ๑
ภาตุรกฺขิตา ที่พี่น้องชายปกครองรักษา ๑
ภคินีรกฺขิตาที่พี่น้องหญิงปกครองรักษา ๑
ญาติรกฺขิตา ที่ญาติปกครองรักษา ๑
โคตฺตรกฺขิตา ที่วงศ์ตระกูลปกครองรักษา ๑
ธมฺมรกฺขิตา ที่ผู้ประพฤติ
ธรรมปกครองรักษา ๑
สารกฺขา ที่ผู้หมั้นหมายปกครองรักษา ๑
สปริทณฺฑา ที่อยู่ในอาณัติปกครองรักษา ๑
ธนกฺกีตา สตรีที่บุรุษซื้อมาด้วยทรัพย์ ๑.
ฉนฺทวาสินี ที่สมัครใจมาอยู่ร่วม ๑.
โภควาสินี ที่มาอยู่ร่วมเพราะโภคะ ๑
ปฏวาสินี ที่มาอยู่ร่วมเพราะผ้า ๑
โอทปตฺตกินี ที่มาอยู่ร่วมโดยพิธีแต่งงานหลั่งน้ำ ๑
โอภตจุมฺพตา ที่บุรุษช่วยให้พ้นจากการแบกทูนของบนศีรษะ ๑
ทาสี ภริยา ภรรยาที่เป็นทาสี ๑
กมฺมการี ภริยา ภรรยาที่เป็นกรรมกร ๑
ธชาหฏา ที่เป็นเชลย ๑
มุหุตฺติกา ที่เป็นภรรยาชั่วครั้งคราว ๑
บางข้ออาจจะเข้าใจยาก เพราะสมัยนี้เขาเลิกทาสกันแล้ว แต่โดยสรุปก็คือ หญิงที่มีผู้ปกครองจะชั่วคราว หรือถาวร ก็ต้องห้ามทั้งนั้น ดูแล้วพอจะคลายความสงสัยบ้างไหมครับ ว่าทำไม? ในเคสฯ ท่านสุภาพบุรุษจึงพลาดพลั้งศีลข้อนี้กันง่ายเหลือเกิน

๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่คำ ปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง

๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ

ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง

อธิบายเบญจศีลอย่างย่อ ๆ

เบญจ แปลว่า ๕ ศีล แปลว่า ปกติ เบญจศีล จึงแปลว่า ปกติ ๕ อย่าง แปลว่า ตัด ก็ได้ เพราะตัด จากความชั่ว หรือมนุษยธรรมก็เรียก แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ หมายความว่า ธรรมที่ทำคนให้เป็นคนที่ควรแก่การเคารพนับถือความหมายของเบญจศีล
ความเป็นปกติของคน คือความเรียบร้อยสวยงามคนที่ไม่เรียบร้อยจะเป็นที่สวยงามไปไม่ได้ ได้แก่คนที่ผิดปกตินั้นเอง คนที่ไม่ปกตินั้นก็เป็นที่ผิดแปลกไปจากคนอื่น ๆ เช่น
- ปกติคนเราจะต้องไม่ฆ่ากัน ไม่ทำร้ายร่างกายกันเพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดีต่างก็รักชีวิตของตนด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ประสงค์จะให้ใครมาฆ่าแกง หรือมาทำร้ายร่างกายตน หรือทรมานตนให้ได้รับความลำบาก คนที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตของคนอื่น สัตว์อื่น จึงชื่อว่าคนผิดคน คือผิดปกติของคน
- ปกติคนเราจะต้องไม่ขโมยทรัพย์สมบัติของกันและกันเพราะใคร ๆ ก็ย่อมรัก ย่อมหวงแหนในทรัพย์สินของตน ไม่ประสงค์จะให้ใครมาเบียดเบียนและล่วงเกินในทรัพย์สินของตน คนที่ขโมยทรัพย์ของผู้อื่น จึงชื่อว่าทำผิดปกติของคนปกติของคนเราจะต้องไม่ล่วงละเมิดประเวณีของกันและ กัน เพราะลูกใคร เมียใคร สามีใคร ใคร ๆ เขาก็หวง ไม่ประสงค์จะให้ใครมารับแกขมเหงน้ำใจ ลูกเมียสามีเปรียบเหมือนทรัพย์อันมีค่าของเขา คนที่รับแก ข่มเหงล่วงเกินผู้อื่น จึงชื่อว่าเป็นเป็นผู้ทำผิดปกติของคน
-ปกติของคนเราจะต้องไม่โกหกหลอกลวงกัน เพราะทุกคนไม่พึงปรารถนาจะให้ใครมาโกหกหลอกลวงตน ไม่ปรารถนาจะให้ใครมาหักรานประโยชน์ของตน ปรารถนาแต่ความสัตย์ความจริงด้วยกันทั้งสิ้น คนที่โกหกหลอกลวงผู้อื่นจึงชื่อว่าทำผิดปกติของคน
-ปกติของคนเราจะต้องรักษากายวาจาให้เรียบร้อย บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ร่างกายของตน ไม่ปรารถนาจะให้ร่างกายได้รับความลำบากด้วยทุกขเวทนาต่าง ๆ ทั้งพยายามเสริมสร้างร่างกายให้เจริญด้วยกำลังและสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา จึงต้องงดเว้นจากการทำร้ายร่างกายตนเอง ด้วยการไม่ทำตนให้ผิดปกติ
คนที่ดื่มสุรา เมรัย และเสพของมึนเมาต่าง ๆ เช่น กัญชาและเฮโรอีน เป็นต้นจนกลายเป็นคนติดยาเสพติดให้โทษ เป็นคนขาดสติสัมปชัญญะ ตกอยู่ในฐานะแห่งความเป็นผู้ประมาท ชื่อว่าเป็นผู้ทำร้างร่างกายตนเอง จึงจัดว่าเป็นคนทำผิดปกติ

ศีล ๕ ประการนี้ ท่านเรียกว่า มนุษยธรรม แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ ธรรมทำให้คนเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์,เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะ ผู้ที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยธรรมนี้มาก่อน การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากแท้ ดังพระพุทธดำรัสว่า"กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก" เมื่อเราได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วอย่างนี้ ไม่พยายามรักษาสภาพปกติไว้ ก็จะกลายเป็นผู้ทำลายปกติของตนเอง
ผู้ที่ล่วงละเมิดศีล จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำลายมนุษยธรรม ผู้ที่ทำลายมนุษย์ธรรมชื่อว่าเป็นผู้ทำลายปกติของตนเองด้วยประการฉะนี้

ตอนที่ ๒ วิรัติ คือการงดเว้น

การรักษาศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ, การปฏิบัติธรรม คือ การฝึกฝนอบรมจิตใจให้งดงาม, คนดีมีศีลธรรม คือ คนที่มีกายวาจาเรียบร้อยและมีจิตใจงดงาม
การรักษาศีลนั้นมี ๓ วิธี เรียกว่า วิรัติ คือ การงดเว้น ได้แก่

๑.สมาทานวิรัติ การงดเว้นด้วยการสมาทาน
๒.สัมปัตตวิรัติ การงดเว้นในขณะเผชิญหน้า
๓.สมุจเฉทวิรัติ การงดเว้นโดยเด็ดขาด

การที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจดเรียบร้อย ต้องประกอบด้วยวิรัติ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
สมาทานวิรัติ ได้แก่การเปล่งวาจาขอสมาทานศีลจากพระภิกษุ สาม เณร หรือ จากบุคคลผู้มีศีลโดยการเปล่งวาจาขอสมาทานเป็นข้อ ๆ ไปดังนี้
๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขา บท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และการใช้ให้คนอื่นฆ่า
ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติก ประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
๒.อะทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลัก
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "ทรัพย์" หมายเอาทั้งสวิญญาณกทรัพย์ ทรัพยที่มีวิญญาณครอง เช่น คน สัตว์ และ วิญญาณฏทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ และหมายความรวมไปถึงสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้และอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้
ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลักด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นลัก
๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "การประพฤติผิดในกาม" หมายถึงการร่วมประ เวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น
สิกขาบทนี้ เป็น สาหัตถิกประโยค เพราะผิดประเวณีด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นผิดประเวณี
๔.มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "มุสาวาท" หมายความรวมไปถึง วจีทุจริต ๔ ประการ คือ การปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
การพูดปด ได้แก่ การพูดเท็จ หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า มุสาวาท
การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าว่าคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เรีบกว่า ผรุสวาจา
การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดให้ไขว้เขว เหลวไหลไร้สาระ ทำให้เสียประโยชน์ของผู้อื่น เรียกว่า สัมผัปปลาปะ
สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยค เพราะพูดด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะให้ใช้คนอื่นพูด
๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "สุราและเมรัย" หมายถึง สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

สุรา ๕ อย่าง ได้แก่

๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้ง หรือน้ำดองน้ำหวาน
๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเอง ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ

สัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นในขณะเมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น เกิดมีการต่อสู้กันขึ้น มีช่องทางพอที่จะฆ่าเขาได้ แต่ระลึกถึงศีลจึงไม่ฆ่า มีช่องทางพอที่จะโกงเขาได้แต่ไม่โกง มีช่องทางพอที่จะล่วงประเวณีได้แต่ไม่ล่วงประเวณี มีเหตุที่จะต้องให้โกหกเขาได้แต่ไม่โกหก มีโอกาสที่จะดื่มน้ำเมาได้ แต่ไม่ดื่มเพราะคำนึงถึงศีลดังกล่าวแล้ว อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ แปลว่า งดเว้นได้ในขณะประจวบเข้าเฉพาะหน้า จัดเป็นผู้รักษาศีลเช่นเดียวกัน

สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นโดยเด็ดขาด แม้อันตรายจะเข้ามาถึงชีวิตตนเอง ก็ไม่ล่วงละเมิดศีล เป็นวิรัติของพระอริยบุคคล ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ถูกบังคับให้ฆ่าคนอื่น ถ้าไม่ทำตนเองก็จะถูกฆ่า ก็ไม่ยอมฆ่าคนอื่นโดยเด็ดขาด ยอมให้เขาฆ่าตนเองดีกว่าที่จะล่วงละเมิดศีล ดังนี้เป็นต้น

ตอนที่ ๓ องค์แห่งศีล ๕

ในสิกขาบททั้ง ๕ นั้น ในแต่ละสิกขาบทมีองค์ประกอบต่าง ๆ กัน เมื่อครบองค์ศีลจึงขาด ถ้าไม่ครบองค์ศีลยังไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือบกพร่องไปบ้างเท่านั้น องค์แห่งศีลทั้ง ๕ นั้นมีดังต่อไปนี้

สิกขาบทที่ ๑
ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์ สิกขาบทที่ ๑ นี้มีองค์ ๕ คือ


๑.สัตว์นั้นมีชีวิต
๒.รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓.มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น
๔.พยายามฆ่าสัตว์นั้น
๕.สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น

การฆ่าที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าก็ตาม ยุยงให้สัตว์อื่นฆ่ากันก็ตาม เช่น จัดให้จิ้งหรีดกัดกันจนตายไป เป็นต้น ศีลก็ขาดทั้งนั้น
สิกขาบทที่ ๑
ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์
คำว่า"สัตว์"ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ ท่านประสงค์เอาทั้งมนุษย์ชาย-หญิงทุกวัย จนที่สุดแม้กระทั่งที่ยังอยู่ในครรภ์ และสัตว์ดิรัจฉานทุกชนิด

สิกขาบทที่ ๑ นี้มีข้อห้ามไว้ ๓ ประการ ได้แก่

๑.การฆ่า
๒.การทำร้ายร่างกาย
๓.การทรกรรม

ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
การฆ่าโดยตรงศีลขาด, ส่วนการทำร้ายร่างกาย และการทรกรรม (ทรมาน) สัตว์ รวมเรียกว่า อนุโลมการฆ่า ศีลไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือศีลทะลุก็เรียก


การฆ่า
การฆ่า หมายถึง การทำให้ตาย แบ่งเป็น ๒ อย่าง ได้แก่


๑.ฆ่ามนุษย์
๒.ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน


การทำร้ายร่างกาย
การทำร้างร่ายกายนี้ ทางฝ่ายศาสนาถือเป็น "บุพพประโยคของการฆ่า" แบ่งออกเป็น ๓ สถาน ได้แก่

๑.การทำให้พิการ ได้แก่ การทำให้อวัยวะบางส่วนเสีย เช่น การทำให้ตาเสีย การทำให้แขนหรือขาเสีย เป็นต้น
๒.การทำให้เสียโฉม ได้แก่ การทำร้างร่างกายให้เสียรูปเสียงาม แต่ไม่ถึงกับให้พิการ เช่น
๓.การทำให้เจ็บลำบาก ได้แก่ การทำร้างร่างกายซึ่งไม่ถึงกับเสียโฉม แต่เสียความสำราญ เช่น ชกต่อย เฆี่ยนตี


การทรกรรม
ทรกรรม หมายถึง "การประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์โดยไม่ปรานี" จัดเป็น ๕ อย่าง ได้แก่

๑.ใช้การ ได้แก่ การใช้สัตว์เป็นพาหนะ อย่างไม่ปรานี มีแต่ใช้ ปล่อยให้อดอยาก ซูบผอม ไม่ให้พักผ่อนตามกาล หรือใช้เกินกำลังของสัตว์
๒.กักขัง ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ไว้ในกรงที่คับแคบเกินไป หรือผูกไว้เพื่อดูชมเล่น แต่ผู้เลี้ยงกักขัง หรือผูกมัดไว้จนไม่สามารถจะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่ปรนเปรอเลี้ยงดูให้สัตว์ได้รับความสุขพอสมควร ปล่อยให้อดอยาก เป็นต้น
๓.นำไป ได้แก่ การนำไปผิดอิริยาบถของสัตว์ สัตว์นั้นย่อมได้รับความลำบาก เช่น ผูกขาไก่หิ้วไป
๔.เล่นสนุก ได้แก่การนำสัตว์มาเล่นเพื่อความสนุก เช่นเอาประทัดผูกหางสุนัขแล้วจุดไฟ
๕.ผจญสัตว์ ได้แก่ การเอาสัตว์ให้ชนกันหรือกัดกัน เช่น ชนโค ชนไก่ กัดปลา เป็นต้น


สิกขาบทที่ ๒

อทินนาทานา เวรมณี เวรมณี แปลว่า "เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร"
สิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ได้ในที่นี้ หมายถึงสิ่งของ ๒ อย่าง คือ

๑.สิ่งของที่มีเจ้าของ ทั้งที่มีวิญญาณ ซึ่งเรียกว่า สวิญญาณกทรัพย์ และที่ไม่มีวิญญาณ เรียกว่า อวิญญาณกทรัพย์
๒.สิ่งของที่ไม่ใช่ของใคร แต่มีผู้รักษาหวงแหน เช่น สิ่งของที่เป็นของสงฆ์ ของสโมสร ของส่วนรวม เป็นต้น

ในสิกขาบทที่ ๒ นี้ จึงมีข้อห้ามเป็น ๓ อย่าง ได้แก่

๑.โจรกรรม
๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม

๑.โจรกรรม
โจรกรรม ได้แก่ "กิริยาที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร" มี ๑๔ ประเภท ได้แก่
๑.ลัก ได้แก่"กิริยาที่ถือเอาสิ่งของด้วยอาการเป็นโจรในเวลาที่เงียบไม่ให้เจ้าของรู้" มี ๓ ลักษณะ คือ
ก.เมื่อเจ้าของเขาเผลอก็หยิบเอาสิ่งของนั้นไป เรียกว่า "ขโมย"
ข.เวลาสงัดคนแอบเข้าไปในเรือนแล้วหยิบเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า"ย่องเบา"
ค.งัดหรือเจาะประตู-หน้าต่างที่ปิดอยู่แล้วถือเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า "ตัดช่อง"
๒.ฉก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของในเวลาที่เจ้าของเขาเผลอ เช่น
วิ่งราว หมายถึง เจ้าของเขาเผลอก็เข้าแย่งเอาแล้ววิ่งหนีไป หรือ
ตีชิง หมายถึง ตีเจ้าของให้เจ็บแล้วถือเอาสิ่งของ
๓.กรรโชก ได้แก่ กิริยาที่แสดงอำนาจให้เจ้าของตกใจกลัวแล้วยอมให้สิ่งของ
๔.ปล้น ได้แก่ กิริยาที่ยกพวกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปข่มขู่เจ้าทรัพย์แล้วถือเอาสิ่งของของคนอื่นไป
๕.ตู่ ได้แก่ กิริยาที่ร้องเอาสิ่งของขงอผู้อื่นซึ่งมิได้ตกอยู่ในมือตนเอง
๖.ฉ้อ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่ตกอยู่ในมือตนเอง
๗.หลอก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นโดยการพูดจาหลอกลวงหรือโกหกเอา (ปั้นเรื่องขึ้นให้เจ้าทรัพย์หลงเชื่อแล้วจึงถือเอาทรัพย์ของเขาไป)
๘.ลวง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยการแสดงของอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาเข้าใจผิด (ใช้เพทุบายลวงให้เขาหลงเชื่อ)
๙.ปลอม ได้แก่ กิริยาที่ทำของไม่แท้ให้เห็นว่าเป็นของแท้ขึ้นเปลี่ยนเอาสิ่งของดีหรือ ของแท้ของเขาไป (ทำของปลอมขึ้นเปลี่ยนเอาของแท้ของเขา)
๑๐.ตระบัด ได้แก่ กิริยาที่ยืมสิ่งของของเขาไปแล้วถือเอาเป็นของตนเอง ไม่ส่งคืน (การยืมของเขาแล้วไม่ส่งคืนเจ้าของเดิม โดยยึดถือเอาเป็นของตัวเองไป)
๑๑.เบียดบัง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ เช่น เก็บเงินค่าเช่าได้มาก แต่ให้เจ้าของแต่เพียงน้อย ๆ(กินเศษกินเลยเล็ก ๆ น้อย ๆ)
๑๒.สัปเปลี่ยน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของตนที่เลวเข้าไปไว้แทน แล้วเอาของที่ดีของผู้อื่นไปเสีย (เอาของที่ไม่ดีไปเปลี่ยนเอาของที่ดีของเขา)
๑๓.ลักลอบ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของต้องพิกัดซ่อนเข้ามาโดยไม่เสียภาษี, ค้าของหนีภาษี, ลักลอบขนของหนีภาษี เป็นต้น)
๑๔.ยักยอก ได้แก่ กิริยาที่ยักยอกทรัพย์ของตนที่จะต้องถูกยึดไปไว้เสียในที่อื่น (การใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต)

๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม ได้แก่ กิริยาที่แสวงหาพัสดุในทางที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ไม่นับเข้าในอาการโจรกรรม แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๑.สมโจร ได้แก่ กิริยาที่อุดหนุนโจรกรรมโดยนัย เช่น รับซื้อของโจร คือเป็นผู้รับซื้อสิ่งของที่ผู้อื่นโจรกรรมได้มา
๒.ปอกลอก ได้แก่ กิริยาที่คบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ มุ่งหมายจะเอาทรัพย์สมบัติของ เขาฝ่ายเดียว เมื่อเขาสิ้นตัวแล้วทิ้งเขาเสีย (คบกับคนอื่นโดยหวังผลประโยชน์ตนฝ่ายเดียว)
๓.รับสินบน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ที่เขาให้ เพื่อช่วยทำธุระให้แก่เขาในทางที่ผิด

๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม ได้แก่ กิริยาที่ทำทรัพย์พัสดุของผู้อื่นให้สูญและเป็นสินที่ใช้ตกอยู่แก่ตน มี ๒ ประเภท ได้แก่
๑.ผลาญ ได้แก่ กิริยาที่ทำอันตรายเสียหายแก่ทรัพย์สินพัสดุของผู้อื่น เช่น แกล้งเผาสวนยาง เผาบ้านของเขา เป็นต้น
๒.หยิบฉวย ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยความมักง่าย เช่น บุตรหลานประพฤติตนเป็นคนพาลนำเอาทรัพย์สินของพ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยายไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๒ นี้มีองค์ ๕ คือ


๑.ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒.รู้อยู่ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓.มีเจตนาจะถือเอาสิ่งนั้น
๔.พยายามถือเอาสิ่งนั้น
๕.ได้ของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น

สิกขาบทที่ ๓

กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
คำว่า"กาม"ในทีนี้ ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันในทางประเวณี ซึ่งทั้งชายและ หญิงต่างก็เป็นวัตถุต้องห้ามของกันและกัน

หญิงที่ต้องห้ามในสิกขาบทนี้มี ๔ จำพวก คือ

๑.ภรรยาผู้อื่น ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก ได้แก่


ก.หญิงที่แต่งงานแล้ว
ข.หญิงที่ไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันกับชายโดยอาการเปิดเผย
ค.หญิงผู้รับสิ่งของมีทรัพย์เนต้นของชาย แล้วยอมอยู่กับเขา
ง.หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา


๒.หญิงที่อยู่ในความพิทักษ์รักษาของเขา ได้แก่ หญิงที่ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง รักษา

๓.หญิงที่จารีตห้าม ได้แก่ หญิง ๓ จำพวก คือ

ก.หญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตัวเอง และ ผู้ที่เป็นเหล่ากอของตนเอง
ข.หญิงที่อยู่ใต้พระบัญญัติในพระศาสนา เช่น ภิกษุณี ชี เป็นต้น
ค.หญิงที่กฏหมายบ้านเมืองห้ามและลงโทษแก่ชายผู้สมสู่ด้วย

ชายที่ต้องห้ามในสิกขาบทที่ ๓
ชายก็เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงเหมือนกัน ท่านกล่าวแสดงไว้ ๒ จำพวก คือ

๑.ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามี
๒.ชายที่จารีตห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร เป็นต้น เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง

ในสิกขาบทนี้ คำว่า "การประพฤติผิดในกาม"หมายถึง การร่วมประเวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น

สิกขาบทที่ ๔

มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลว่า "ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท"
คำว่า "มุสาวาทา เวรมณี" แปลว่า เว้นจากมุสาวาท, ความเท็จ ชื่อว่า มุสา, กิริยาที่พูด หรือแสดงอาการมุสา ชื่อว่า มุสาวาท ในสิกขาบทที่ ๔ นี้

ในสิกขาบทที่ ๔ มีข้อห้ามเป็น ๓ อย่าง ได้แก่

๑.มุสา กล่าวเท็จ
๒.อนุโลมมุสา กล่าววาจาที่เป็นตามมุสา
๓.ปฏิสสวะ รับแล้วไม่ทำตามรับ

๑.มุสา มีลักษณะ ดังนี้

๑.เรื่องที่กล่าวนั้นไม่เป็นความจริง ๒.ผู้กล่าวจงใจ
๓.กล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ๔.ผู้ฟังเข้าใจผิด

การแสดงมุสานี้ไม่เฉพาะแต่ทาง วาจาอย่างเดียวเท่านั้น แม้ทางกายก็อาจเป็นไปได้ เช่น เขียนหนังสือมุสาเขา แสดงอาการ หรือ สั่นศีรษะ ที่ทำให้เขาเข้าใจผิดจากความเป็นจริง


มุสามี ๗ ประเภท ได้แก่

๑.ปด ได้แก่ มุสาจัง ๆไม่อาศัยมูลเลย ท่านแสดงตัวอย่างไว้ ๔ อย่าง ได้แก่
ก.ส่อเสียด หมายถึง ปดเพื่อจะให้เขาแตกแยกกัน
ข.หลอก หมายถึง ปดเพื่อจะโกงเขา
ค.ยอ หมายถึง ปดเพื่อจะยกย่อง
ง.กลับคำ หมายถึง พูดแล้วไม่ทำตามรับ
๒.ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่าจะพูดตามเป็นจริง แต่ไม่ได้ตั้งใจจริงอย่างนั้น มีปดเป็นบริวาร, หมายถึง สาบานเพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นพยานทนสาบานแล้วเบิกความเท็จในศาล เป็นต้น
๓.ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง เช่น อวดรู้วิชาว่าคงกระพัน หรือพูดมุสาด้วยการใช้เพทุบาย ไม่พูดตรง ๆ
๔.มารยา ได้แก่ กิริยาที่แสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง เช่น คนไม่มีศีลแต่ทำทีให้เขาห็นว่าเป็นคนมีศีล, หรือเจ็บเล็กน้อยแต่ทำทีเป็นเจ็บปวดเสียมากมาย เป็นต้น
๕.ทำเลส ได้แก่ การพูดมุสาเล่นสำนวน คือ อยากจะพูดเท็จแต่ทำเป็นเลสเล่นสำนวนให้ผู้ฟังนำไปคิด
๖.เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่เสริมความให้มากกว่าที่เป็นจริง หรือเรื่องจริงมีนิดหน่อยแต่กลับพูดขยายความออกเสียยกใหญ่จนเกินความจริงไป เช่น พูดพรรณนาถึงสรรพ คุณยาให้เกินกว่าทั่วยาจะรักษาโรคได้
๗.อำความ ได้แก่ พูดมุสาเดิม แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้เสีย เพื่อทำความเข้าใจกลายไปเป็นอย่างอื่น (หมายถึง เรื่องจริงนั้นมีมาก แต่กลับพูดให้เห็นเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย)

๒.อนุโลมมุสา
อนุโลมมุสากำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่


๑.วัตถุที่จะกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง
๒.ผู้กล่าวไม่จงใจกล่าวให้ผู้ฟังเข้าใจผิด มี ๒ ประเภท ได้แก่
ก.เสียดแทง ได้แก่ กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นเจ็บใจ เช่น พูดประชด ด่า
ข.สับปรับได้แก่พูดปดด้วยความคะนองวาจาแต่ผู้พูดไม่ตั้งใจจะให้เขาเข้าใจผิด


คำพูดที่จริงที่ไม่สมควรพูด


คำพูดที่จริง แต่ให้โทษแก่ผู้อื่นและผู้พูดเอง เป็นคำพูดที่มุ่งหมายอย่างนั้น ซึ่งคำพูดนั้นมีมูลเหตุมาจากมุสาจึงจัดเข้าในอนุโลมมุสา ได้แก่


๑.คำส่อเสียด ได้แก่ คำพูดที่ได้ยินข้างหนึ่งติเตียนข้างหนึ่งแล้วเก็บไปบอกยุยงเขา เป็นเหตุให้เขาแตกแยกกัน
๒.คำเสียดแทง ได้แก่ การพูดให้เขาเจ็บใจ อ้างวัตถุที่เป็นจริงอย่างนั้นขึ้นพูด เป็นเหตุให้ผู้ที่ต้องถูกว่านั้นเจ็บใจ

๓.ปฏิสสวะ
ปฏิสสวะ ได้แก่ กิริยาที่รับคำผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์คิดจะทำตามที่รับปากไว้จริง ๆ แต่ภายหลังกลับไม่ได้ทำตามที่รับปากไว้นั้น

ปฏิสสวะนี้มี ๓ ประเภท ได้แก่


๑.ผิดสัญญา ได้แก่ การที่ทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำเช่นนั้นเช่นนี้ แต่ภายหลังกลับไม่ได้ทำตามที่สัญญานั้น
๒.เสียสัตย์ ได้แก่ กิริยาที่ให้สัตย์แก่เขาฝ่ายเดียวว่าตนเองจะทำหรือไม่ทำเช่นนั้น เช่นนี้ แต่ภายหลังกลับไม่ทำตามคำพูดนั้น
๓.คืนคำ ได้แก่ การที่รับปากว่าจะทำหรือไม่ทำสั่งนั้นสิ่งนี้โดยมีไม่สัญญา แต่ภาย หลังกัลบไม่ทำตามนั้น

ปฏิสสวะ เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติเสียชื่อเสียง จึงควรจะละเสีย ส่วนการ"ถอนคำ" ไม่นับเป็นปฏิสสวะ


ยถาสัญญา
การพูดมุสาที่ไม่ผิดศีล เรียกว่า "ยถาสัญญา" คือ คำพูดที่บุคคลพูดตามความสำคัญ หรือพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ และผู้พูดมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีเจตนาที่จะพูดให้ผิดไปจากความเป็นจริง มี ๔ ลักษณะ ได้แก่


๑.โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม เช่น คำลงท้ายของจดหมายซึ่งแสดงความอ่อนน้อมว่า ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง เป็นต้น
๒.นิยาย ได้แก่ เรื่องที่เปรียบเทียบเพื่อให้ได้ใจความเป็นสุภาษิต เช่น นิยายที่จินตกวีแต่งขึ้น
๓.สำคัญผิด ได้แก่ กิริยาที่ผู้พูดสำคัญผิดและพูดออกไปตามความสำคัญผิดนั้น เช่น วันนี้เป็นวันอังคาร เมื่อมีผู้ถามว่าวันนี้เป็นวันอะไร ? ผู้พูดสำคัญว่าเป็นวันพุธ จึงตอบไปว่า "วันพุธ" เช่นนี้ต้น
๔.พลั้ง ได้แก่ กิริยาที่ผู้พูดตั้งใจจะพูดอย่างหนึ่งแต่พูดออกไปอีกอย่างหนึ่ง และการพูดเช่นนี้เมื่อพูดออกไปแล้วควรบอกใหม่ทันที เช่น ถูกถามว่า "ไปไหนมา ?" ก็รีบตอบเลยทันทีว่า "เปล่า…! ไปธุระมานิดหน่อย" คำว่า "เปล่า" นั้นเป็นคำพูดพลั้งหรือพูดด้วยความเคยชิน โดยไม่มีเจตนาจะพูดให้เขาเข้าใจผิด



สิกขาบทที่ ๕

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


ความหมายของ "สุรา และ เมรัย"
น้ำเมาที่เป็นของหมักดอง เช่น กระแช่ น้ำตาลเมาต่าง ๆ ชื่อว่า"เมรัย", เมรัยนั้นที่เขากลั่นอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้รสเข้มข้นขึ้น เช่น เหล้าชนิดต่าง ๆ ชื่อว่า "สุรา"


ในสิกขาบทนี้ คำว่า"สุราและเมรัย" หมายเอา สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่างซึ่งจะขอกล่าวตามลำดับต่อไป


สุรา ๕ อย่าง ได้แก่


๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่


๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้งหรือน้ำดองน้ำหวาน
๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเองเท่านั้น ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ

สิ่งมึนเมาที่อนุโลมเข้ากับสุราและเมรัย

การสูบ ฉีด หรือเสพ ยาเสพติดให้โทษ เช่น กัญชา เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ ฯลฯ เข้าไปในร่างกาย ซึ่งไม่ใมช่การดื่มกินเข้าไปเหมือนสุราและเมรัย ก็จัดว่าผิดศีลข้อที่ ๕ เหมือนกัน เพราะสิ่งเสพติดเหล่านี้ แม้จะไม่ได้ดิ่มกินทางปากก็ตามที แต่ก็สำเร็จเป็นการทำให้มีนเมา ทำให้ไม่สามารถควบคุมสติและควบคุมตนเองได้ เช่นเดียวกับหารดิ่มกินสุราเมรัย ซ้ำยังมีโทษร้ายแรงยิ่งกว่าสุราเมรัยเสียอีก
ยาเสพติด เช่น กัญชา เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ เป็นต้นนั้น ถึงแม้ว่าไม่มีในครั้งพุทธกาล และพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็ตามที แต่ก็อนุโลมเข้ากันได้กับสุราเมรัยและของมึนเมาอย่างอื่นอีก เพราะอาศัยหลักฐานคือ มหาปเทส ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก เพราะฉะนั้นยาเสพติดทุกชนิดที่อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร จึงทำให้ผู้ที่สูบ เสพ หรือ ฉีด สิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดผิดศีลข้อที่ ๕ ด้วย

มหาปเทสนั้นมี ๔ ประการ ได้แก่.-

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
๓. สิ่งใดที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร.
๔.สิ่งใดที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร(กัปิยะ)ขัดกันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร


สุรา และ เมรัย และสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหมดนั้น ย่อมทำให้ผู้ที่ดื่มมึนเมาเสียสติ เป็นบ่อเกิดแห่งความประมาท เลินเล่อเผลอสติ ขาดความยั้งคิด ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำทุกอย่างได้ทั้งหมด ไม่มีความละอาย และเป็นเหตุให้ทำความชั่วอย่างอื่นได้อีกมากมาย สร้างความปั่นป่วนให้สังคม การดื่มสุราเมรัย และหรือเสพยาเสพติดให้โทษ เป็นอบายมุข เป็นหนทางแห่งหายนะ ฉะนั้นน้ำเมาคือสุราเมรัยจึงได้ชื่อว่า "เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท"


กรรมวิบาก และ อานิสงส์ของศีล ๕

กรรมวิบากของศีล ๕

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๑ คือประพฤติปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย (แดนแห่งเปรต)
๔.ย่อมเป็นผู้มีอวัยวะพิการ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีอายุสั้น

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๒ คือประพฤติทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย/ลัก ทรัพย์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้ยากจนเข็ญในไร้ที่พึง
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีร่างกายทุพลภาพ ขี้เร่ มากไปด้วยโรค
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีศัตรูรอบด้าน

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๔ คือประพฤติมุสาวาท พูดเท็จ ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ


ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนา คือผู้ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓. ย่อมเกิดในเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า


อนึ่ง โทษแห่งการดื่มสุราเมรัยและเสพสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งผู้ประพฤติย่อมได้รับโทษในปัจจุบัน ๖ อย่าง คือ


๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการทะเลาะวิวาท
๓.เกิดโรค ๔.ถูกติเตียน
๕.เป็นผู้ไม่มียางอาย ๖.ทอนกำลังสติปัญญา



อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕

สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่.-

๑.มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
๒.เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
๓.ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
๔.เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
๕.ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
๖.มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
๗.ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน


สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
๒.แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
๓.โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้วย่อมมั่นคงถาวร
๔.สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
๕.ย่อมได้รับอริยทรัพย์
๖.ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า "ไม่มี"
๗.อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน


สิกขาบทที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
๒.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔.ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
๕.เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
๖.มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๗.มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก


สิกขาบทที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒.มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
๓.มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
๔.มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
๕.มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
๖.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
๗.มีริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง


สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่


๑.รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒.มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
๓.มีความรู้มาก มีปัญญามาก
๔.ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
๕.มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
๖.มีความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ


อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล


การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้ไหมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ


๑.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
๒.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
๓.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)


และเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีลนั้นมี "ความไม่เดือดร้อน" เป็นอานิสงส์ที่สูงสุด


วิธีการหรือขั้นตอนการสมาทานศีล

เบื้องต้น ผู้ต้องการจะสมาทานศีล พึงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกล่างคำบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้

คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว,
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่พระสงฆะเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

หลังจากที่ได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พึงตั้งใจให้แน่วแน่ที่จะสมาทานศีล เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความปกติทางกาย วาจา โดยกล่าวคำอาราธนาศีล ดังต่อไปนี้

คำอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ,ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต,วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
หมายเหตุ.- ถ้าคนเดียวทั้งอาราธนาศีลและรับศีลให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง,
เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ นอกนั้นเหมือนกันหมด

พึงนั่งให้เรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ใจ แล้วคำคำสมาทานศีล โดยกล่าวตามพระภิกษุ สามเณร หรือผู้มีศีล ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

คำนมัสการ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

คำปฏิญาณตนถึงไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต)

ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า
"อามะ ภันเต"แล้วตั้งใจสมาทานศีล(รับศีล)ตามที่พระท่านนำกล่าวสมาทานต่อไปว่า.-


ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น)
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ แห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น)
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท)
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า ฯลฯ)

(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)

อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.


ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า "สาธุ ภันเต" เสร็จแล้วไหว้ หรือ กราบตามสมควรแก่กรณี



ตัดตอนจากหนังสือวิธีสร้างบุญบารมี ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช


สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ

๑ . ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญ ที่ดี

๒ . ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕ . ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น " พระ " แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า " สมมุติสงฆ์ " พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น " พระ " ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ " พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า " และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

๖ . ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น )

๗ . ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘ . ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙ . ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐ . ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๑ . ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒ . ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓ . การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ร่วมกัน " อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

๑๔ . การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม " อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง " พยาบาท " ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานอื่น ๆ ดังที่กล่าวมา

๑๕.แต่การให้ทานทีได้บุญมากที่สุดได้แก่การให้" ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ เป็นธรรมทาน เพื่อช่วยให้ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ ได้รู้ หรือที่รู้อยู้แล้ว ให้ได้รู้เข้าใจมากยิ่ง ๆ ขึ้น เป็นเหตุให้เป็นผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนรักษษศีล ปฏิบัติธรรม จนเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ในที่สุด ดังมีพุทธดำรัสว่า


"สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ"
การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง

ศีล

"ศีล" นั้นแปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล๕ ศิล ๘ ศิล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗และในบรรดาศีลชนิดเดียวกันก็ยังจัดแบ่งออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)
คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกาย และวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน

ทั้งในการถือศีลด้วยกันเองก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้ คือ

๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้ว รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่มี ศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุดเพราะเป็นเนกขัมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งล้วนแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆน้อยๆหากไม่มีอกุลกรรมอื่น มาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น อานิสงส์ของการรักษา ศีล ๕ กล่าวคือ

๑. ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๑ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาข้อนี้ เมื่อ น้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมีพลานามัยที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันควร

๒.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่น้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อม ทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบกับช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆเช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

๓.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลในข้อนี้ เมื่อ เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบกับรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดาก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

๔.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อ นำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผลชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้ฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

๕.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม


อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆ ขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้นจะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลาง ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะ การภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สงสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงสุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุดเป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล
__________________

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ .


ศีลข้อ ที่ 1 ปาณาติปาตาเวรมณี
เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
ถ้าไม่เว้นย่อมยังสัตว์ให้เกิดในนรก
ในสัตว์เดรัจฉานในเปรตวิสัย
และเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล 9 ประการ คือ
1. เป็นคนทุพพลภาพ
2. เป็นคนรูปไม่งาม
3. มีกำลังกายอ่อนแอ
4. เป็นคนเฉื่อยชา
5. เป็นคนขี้ขลาด
6. เป็นคนที่ถูกผู้อื่นฆ่า หรือฆ่าตัวเอง
7. มักมีโรคภัยเบียดเบียน
8. ความพินาศเกิดกับบริวาร
9. อายุสั้น และให้ผลติดต่อกันหลายชาติ

ขุมนรกอันเป็นที่ไปของผู้ทำผิดศีลข้อที่ 1



นรกขุมใหญ่ ขุมที่ 1 สัญชีวนรก

ลักษณะพื้นเป็นเหล็กหนา เผาไฟจนแดงโชน ขอบด้านข้าง 4 ขอบ
มองออกไปไม่แลเห็นขอบบ่อ มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล แต่จะหาที่ว่างเว้นจากไฟไม่ได้เลย
ระหว่างไฟจะมีสรรพาวุธต่างๆ เช่น หอก ดาบ ฯลฯ สารพัดจะมี ถูกไฟเผาแดงจนมีความคมจัด

สัตว์นรกที่อยู่ในนั้นจะวิ่งพล่าน เพราะเท้าเหยียบไฟ
ร่างกายก็จะถูกเผาไฟติดไฟตลอดเวลา เวลาวิ่งไปก็จะไปกระทบกับหอก ดาบ ฆ้อน หรืออาวุธต่างๆ มาฟัน แทง สับ
ร้องครวญครางดิ้นเร่าๆ แต่พอร่างกายขาดแล้ว ก็จะมาต่อติดกันใหม่โดยทันที มาทรมานต่อไป
ม่มีวันตาย สรุปว่ามีไฟเผากายตลอดเวลา มีสรรพาวุธประหัตประหารตลอดเวลา

อายุของสัตว์ในสัญชีพนรก 500 ปีอายุกัป
1 วันนรก เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์




ขุมนรกบดร่างวิญญาณ
พวกที่อกตัญญู พวกฆ่าทำลายชีวิตคนและสัตว์
กับพวกมักมากในกามารมณ์ คนจำพวกนี้เมื่อจบชีวิตลงร่างวิญญาณของพวกเขา
นอกจากต้องถูกลงโทษทรมานตามผลกรรมอย่างหนักแล้ว
สุดท้ายยังต้องถูกนำตัวมาบดอัดจนร่างแหลกละเอียดครั้งแล้วครั้งเล่า
เพื่อปรับปรุงความเป็นคนเสียใหม่ ก่อนที่จะให้ไปเกิดและชดใช้หนี้กรรมยังโลกมนุษย์.


ความหมายของ 1 ปีนรก

1 ปี มี 12 เดือน เดือนละ 30 วัน ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับปีมนุษย์

ความหมายของ 1 กัป

สมมติให้มีกล่องที่ กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์
บรรจุเมล็ดผักกาดจนเต็ม เวลาผ่านไป 100 ปี หยิบออก 1 เมล็ด
จนกระทั่งหมดไม่มีเหลือ นับเป็น 1 กัป

ศีลข้อนี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ 5 ซึ่งประกอบด้วย
1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีจิตคิดจะฆ่า
4. มีความเพียรที่จะฆ่า
5. สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น

รักษาศีลข้อที่ 1 แล้วได้อะไร ?
1. ได้รับผลปฏิสนธิกาล คือ ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา เรียก ว่า กามสุคติภูมิ
2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ได้รับผลอีก 23 ประการ


อานิสงส์แห่งการรักษาศีลข้อที่ 1 มี 23 ประการ
1. สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่
2. มีร่างกายสมทรง
3. สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย
4. มือเท้างาม ประดิษฐานลงด้วยดี
5. เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส
6. มีรูปโฉมงามสะอาด
7. เป็นผู้อ่อนโยน
8. เป็นผู้มีความสุข
9. เป็นผู้แกล้วกล้า
10.เป็นผู้มีกำลังมาก
11. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
12. มีบริษัทรักใคร่ไม่แตกแยกจากตน
13. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัวต่อเวรภัย
14. ข้าศึกศัตรูทำร้ายไม่ได้
15. ไม่ตายด้วยความเพียรฆ่าของผู้อื่น
16. มีบริวารหาที่สุดมิได้
17. มีรูปร่างสวยงาม
18. มีทรวดทรงสมส่วน
19. มีความเจ็บไข้น้อย
20. ไม่มีเรื่องเศร้าโศก เสียใจ
21. เป็นที่รักของชาวโลก
22.ไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รักและชอบใจ
23. มีอายุยืน

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.


ศีลข้อที่ 2 อทินนาทาเวรมณี...เว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นลัก
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"อทินนาทาน อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เกิดในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในเปรตวิสัย
วิบากแห่งอทินนาทาอย่างเบาบางที่สุด
ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
มีสมบัติก็ต้องพินาศเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล 6 ประการ"
1. เป็นคนด้อยด้วยทรัพย์
2. เป็นคนยากจน
3. เป็นคนอดอยาก
4. ไม่ได้สมบัติที่ตนต้องการ
5. ต้องพินาศในการค้า
6. ทรัพย์พินาศเพราะภัยภิบัติต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัยอุทกภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น

ขุมนรกอันเป็นที่ไปของผู้ผิดศีลข้อ 2



นรกขุมใหญ่ ขุมที่ 2 กาฬสุตตนรก

มีกำแพงทั้ง 4 ด้านเป็นเหล็ก พื้นเป็นเหล็ก ถูกเผาไฟจนแดงโชน
นายนิริยบาลจะจับเอาสัตว์นรกนอนลงไป นำเส้นบรรทัดมาตีเป็นเส้นที่ตัว จากหัวถึงท้ายบ้าง
ตีตามขวางบ้าง ไม้บรรทัดนั้นทำจากสายเหล็กที่เผาไฟจนแดงโชน มื่อตีเส้นเป็นแนวแล้ว
ก็จะนำเลื่อยบ้าง ขวานบ้าง มีดอีโต้บ้าง มาสับลงตามรอยที่ตีไว้แล้วนั้น


อายุของสัตว์ในกาฬปุตตะนรก 1,000 ปีอายุกัป
1 วันนรก เท่ากับ 36 ล้านปีมนุษย์




ขุมนรกน้ำร้อนรวกมือ(โรรุวมหานรกที่4)
นักการยมบาลกำลังทรมานดวงวิญญาณจำพวกนักล้วงกระเป๋า
ฉกชิงวิ่งราว ลักขโมยและพวกที่หลอกลวง.



ขุมนรกน้ำมันเดือด
นักการยมบาลกำลังทรมานร่างวิญญาณจากคนจำพวกที่เป็นโจรปล้น ตีชิงวิ่งราว ลักขโมย
กับพวกที่ฆ่าคนตายด้วยอาวุธ ยาพิษ พวกฉ่อราษฎร์บังหลวง พวกประพฤติผิดกามผู้เป็นสายเลือด
พวกอกตัญญูต่อผู้บังเกิดเกล้า และพวกที่ใช้คาถาอาคมทำลายคนด้วยไสยเวท



ขุมนรกตัดทอนแขนขา
พวกที่ทำมาหาเลี้ยงชีพไม่สุจริตและฉวยโอกาสหวังรวยทางลัด
พวกลักขโมยฉกชิงวิ่งราวปล้นฆ่า
และพวกที่ใช้กำลังทุบตีพ่อแม่ผู้มีพระคุณ
คนจำพวกนี้หลังจากตายไปแล้ว
ร่างวิญญาณของพวกเขาต้องถูกลงโทษทรมานอยู่ในขุมนรกดังภาพ

ศีลข้อที่ 2 จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ 5 ซึ่งประกอบด้วย
1. ของนั้นมีเจ้าของหวง
2. รู้ว่าของนั้นมีเจ้าของหวง
3. มีจิตคิดจะลัก
4. มีความเพียรที่จะลัก
5. นำของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น


รักษาศีลข้อที่ 2 แล้วได้อะไร ?
1. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือ ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาเรียกว่า กามสุคติภภูมิ
2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้วจะได้รับผลอีก 11 ประการ

อานิสงส์ของการรักษาศีล ข้อที่ 2 มี 11 ประการ
1. เป็นผู้มีทรัพย์มาก
2. มีข้าวของและอาหารมาก
3. หาบริโภคทรัพย์ได้ไม่สิ้นสุด
4. โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
5. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืนถาวร
6. หาสิ่งที่ปรารถนาได้รวดเร็ว
7. สมบัติไม่กระจายด้วยภัยต่างๆ
8. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่งแยก
9. ได้โลกุตตรทรัพย์ คือนิพพาน
10. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
11. จะไม่รู้ ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
Name:	7986 (Custom).jpg
Views:	638
Size:	27.1 KB
ID:	272738   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
Name:	ขุมนรกน้ำร้อนรวกมือ (Custom).jpg
Views:	590
Size:	32.8 KB
ID:	272769   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
Name:	ขุมนรกน้ำมันเดือด (Custom).jpg
Views:	586
Size:	28.6 KB
ID:	272797  

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
Name:	ขุมนรกตัดทอนแขนขา (Custom).jpg
Views:	597
Size:	37.6 KB
ID:	272801  

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


ศีลข้อที่ 3 กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี...เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ถ้าไม่เว้นจะเกิดอะไรขึ้น ...พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"บุคคลเสพแล้วเจริญให้มากแล้วย่อมยังสัตว์ให้ตกนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในเปรตวิสัย"
ผิดกาเมสุมิจฉาจารแล้วจะเกิดอะไร ?
หากเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล 11 ประการ คือ
1. มีผู้เกลียดชังมาก
2. มีผู้ปองร้ายมาก
3. ขัดสนทรัพย์
4. ยากจนอดอยาก
5. ต้องเกิดเป็นหญิง
6. ต้องเกิดเป็นกระเทย
7. หากเป็นชายจะเกิดอยู่ในตระกูลต่ำ
8. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
9. ร่างกายไม่สมประกอบ
10. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
11. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
ผล 11 ประการนี้เป็นเพียงเศษของกรรมที่ได้ตกนรกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
หรือหลังจากไปเกิดเป็นเปรตมาแล้วเมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้รับผลของกาเมสุมิจฉาจารในปวัตติกาลดังกล่าวแล้ว


ขุมนรกอันเป็นที่ไปของผู้ผิดศีลข้อ 3



นรกขุมใหญ่ ขุมที่ 3 สังฆาฏนรก

มีกำแพงทั้ง 4 ด้านเป็นเหล็ก พื้นเป็นเหล็ก ถูกเผาไฟจนแดงโชน
มีภูเขาเหล็ก 2 ลูก กลิ้งไปกลิ้งมาคอยบดทับสัตว์เหล่านั้น ภูเขาเองก็เป็น
เหล็กที่ถูกเผาจนแดงโชนเช่นกัน เมื่อถูกบดจนละเอียดแล้วก็จะฟื้นขึ้นมาใหม่
ไม่ตาย รับการทรมานต่อไป คนที่วิ่งหนีก็จะถูกนายนิริยบาลตีบ้าง แทงบ้าง ฟันบ้าง ตลอดเวลา

อายุของสัตว์ในสังฆาฏนรก2,000 ปีอายุกัป
1 วันนรก เท่ากับ 145 ล้านปีมนุษย์



ขุมนรกห้อยหัวลง( สังฆาฎมหานรกที่3 )
นักการยมบาลกำลังลงโทษทรมาน ดวงวิญญาณจากคนที่ดูถูกให้ร้ายผู้เป็นครูอาจารย์
กับพวกอกตัญญูเนรคุณ และพวกที่ประพฤติผิดศิลธรรมประเพณีความสัมพันธ์ภายในครอบครัว.


ขุมนรกตัดเครื่องเพศให้หนูกัดแผล
นักยมบาลกำลังตัดเครื่องเพศพวกวิญญาณบาป จากคนจำพวกที่มักมากในกามารมณ์
เช่นพวกอลัชชีกับพวกที่ชอบเป็นชู้ด้วยสามี-ภรรยาผู้อื่น.


ขุมนรกประหารใจ
เป็นขุมนรกประหารใจวิญญาณบาปจากคนจำพวก ใจอิจฉาริษยา ใจอธรรมลำเอียง ใจโหดเหี้ยมอำมหิต
ใจที่มีแต่เคียดแค้นพยาบาท ใจที่เห็นแก่ตัวและจงเกลียดจงชังผู้อื่น
ใจที่ไม่รู้จักกตัญญูรู้คุณ ใจที่วิปริตหมกหมุ่นแต่กามารมณ์ ใจทรยศคดโกง ฯลฯ.



ขุมนรกตัดลอกถลกหนังหน้า
คนที่ไม่มีความละอาย ต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้องทำนองคลองธรรมของตน
หลังจากตายไปแล้วดวงวิญญาณจะถูกนักการยมบาลในนรก ลงโทษทรมาน
ด้วยการตัดลอกถลกหนังหน้าออกดังภาพ.


ศีลข้อที่ 3 จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ 4 ซึ่งประกอบด้วย
1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด ( มี 20 ประเภท)
หมายเหตุ : ตัวอย่างของหญิงที่ไม่ควรละเมิด (สำหรับชายที่ไม่ควรละเมิดนั้น ให้เปรียบเทียบเอา)
- หญิงมีมารดารักษา
- หญิงมีบิดารักษา
- หญิงมีมารดาและบิดารักษา
- หญิงมีพี่ชายหรือน้องชายรักษา
- หญิงมีพี่สาวหรือน้องสาวรักษา
- หญิงมีญาติรักษา
- หญิงมีตระกูลเดียวกันรักษา
- หญิงประพฤติธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันรักษา
- หญิงมีสามีรักษา
- หญิงที่ถูกสินไหมบังคับ
- ภรรยาสินไถ่
- หญิงสมัครอยู่กับชาย
- หญิงเป็นภรรยาเพราะทรัพย์
- หญิงเป็นภรรยาเพราะได้ผ้านุ่งห่ม
- หญิงที่ชายสู่ขอ
- หญิงที่ชายช่วยปลงภาระ
- หญิงที่ทาสีชายได้เป็นภรรยา
- หญิงรับจ้างชายได้เป็นภรรยา
- หญิงเชลยได้มาเป็นภรรยา
- หญิงอยู่กับชายขณะหนึ่ง คิดว่าชายนั้นเป็นสามีตน
2. จิตคิดจะเสพ
3. พยายามเสพ
4. อวัยวะเพศถึงกัน


รักษาศีล ข้อที่ 3 แล้วได้อะไร
การละเว้นจากการประพฤติผิดในกามเสียได้ จะได้รับผล 2 ขั้นคือ
1. ได้รับผลใน ปฏิสนธิกาล คือเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาเรียกว่าได้ปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ
2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้ว จะได้รับผลอีก 20 ประการ


อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ 3 มี 20 ประการ
1. ไม่มีข้าศึกศัตรู
2. เป็นที่รักของคนทั่วไป
3. นอนเป็นสุข
4. ตื่นก็เป็นสุข
5. พ้นภัยในอบายภูมิ
6. ไม่อาภัพไม่เกิดเป็นหญิงหรือกระเทย
7. ไม่โกรธง่าย
8. ทำอะไรก็ได้โดยเรียบร้อย
9. ทำอะไรเปิดเผยแจ่มแจ้ง
10. มีความสง่าคอไม่ตก
11. หน้าไม่ก้ม มีอำนาจ
12. มีแต่เพื่อนรักทั้งบุรุษและสตรี
13. มีอินทรีย์ 5 บริบูรณ์
14. มีลักษณะบริบูรณ์
15. ไม่มีใครรังเกียจ
16. ขวนขวายน้อย ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก
17. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
18. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร
19. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก
20. หาข้าว น้ำที่อยู่ เครื่องนุ่งห่มได้ง่าย

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

ศีลข้อที่ 4 คือเว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่เป็นความจริงพูดโกหกหรือพูดมุสา
ถ้าไม่เว้นจากมุสาวาทหรือพูดเท็จจะเกิดอะไรขึ้น....พระพุทธเจ้าตรัสว่า
" มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมยังสัตว์ให้ป็นไปในนรกในกำเนิดดิรัจฉานในเปรตวิสัย
ผลจากการกล่าวมุสาวาทอย่างเบาที่สุดย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์"

การกล่าวมุสาวาทแล้วจะมีผลอย่างไร ?
การกล่าวมุสาวาท หรือการพูดเท็จปราศจากความจริงเมื่อกล่าวออกไปแล้วจะได้รับผล 2 ขั้น คือ
1. ได้รับผลใน ปฏิสนธิกาล คือ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรตวิสัย
2. ได้รับผลใน ปวัตติกาล คือ หลังเกิดแล้วและผลที่จะได้รับในปวัตติกาลนี้ จะครบองค์มุสาวาท
หรือไม่ก็ตามถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะได้รับผลร้ายอีก 8 ประการ คือ
1. พูดไม่ชัด
2. ฟันไม่เป็นระเบียบ
3. ปากเหม็นมาก
4. ไอตัวร้อนจัด
5. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
6. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้นและปลายปาก
7. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
8. จิตไม่เที่ยงคล้ายคนวิกลจริต

ขุมนรกอันเป็นที่ไปของผู้ผิดศีลข้อ 4



นรกขุมใหญ่ ขุมที่ 4 โรรุวนรก

มีกำแพงเหล็ก 4 ด้าน ไฟลุกโชน จนหาเปลวไม่ได้ ยิ่งลึกมาก ก็ยิ่งร้อนมากขึ้นไปเรื่อยๆ
ตรงกลางขุมจะมีดอกบัวเหล็ก กลีบเหล็กถูกเผาไฟจนแดงโชน กระแสแห่งไฟพุ่งออกจากกลีบตลอดเวลา
ไม่มีนายนิริยบาล สัตว์นรกจะถูกกรรมทำให้ต้องเอาหัวมุดลงไปในดอกบัว มือและขาก็จะจุ่มลงไปเช่นกัน
กลีบบัวจะงับเข้ามาหนีบขาไว้ถึงข้อเท้า หนีบมือไว้ถึงข้อมือ ส่วนหัวจะหนีบไปถึงคาง
เพื่อให้ไฟนั้นเผาอยู่ตลอดเวลา

อายุของสัตว์ในโรรุวนรก 4,000 ปีอายุกัป
1 วันนรก เท่ากับ 234 ล้านปีมนุษย์



ขุมนรกผึ้งพิษ
ฝูงผึ้งพิษกำลังรุมต่อยร่างวิญญาณจากคนจำพวกที่แอบอ้างชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินเงินทองของผู้บริสุทธิ์ กับพวกที่เบียดบังเอาเงินของศาสนาไปใช้ส่วนตัว
และพวกหมอดูที่หลอกรับจ้างทำพิธีสะเดาะเคราะห์โดยมิชอบ.



ขุมนรกอมลูกกระสุนเหล็ก
คนจำพวกที่ใช้กลอุบายหลอกล่อให้ผู้อื่นตกหลุมพรางของตนแล้วบังคับขู่เข็ญเอาสิ่งที่ตนต้องการ
บ้างใช้เล่ห์ลิ้นพูดหว่านล้อมให้คนหลงเชื่อแล้วกระทำอนาจาร บ้างโกหกมดเท็จเพื่อหลอกลวง
เอาทรัพย์สินผลประโยชน์ของผู้อื่นไป บ้างพูดให้ร้ายส่อเสียดทำลายผู้อื่นโดยมิชอบ
และพวกที่ติดยาเสพติดชนิดต่างๆ คนจำพวกนี้หลังจากตายไปแล้ว
ร่างวิญญาณของพวกเขาต้องถูกทางการยมโลกลงโทษทรมานดังภาพ.



ขุมนรกสาวไส้
นักยมบาล กำลังใช้มีดผ่าอกสาวไส้ร่างวิญญาณของพวกคนที่ ใช้อำนาจหน้าที่ในราชการกระทำทุจริต กับพวกที่ปลูกพืชไร่ใส่ยาฆ่าแมลงยังไม่ทันหมดพิษยาก็นำออกจำหน่าย กับพวกพ่อเล้าแม่เล้าและพวกล้มแชร์ให้สุนัขกิน



ขุมนรกตัดลิ้นร้อยกราม
นักบวชที่ประพฤติผิดธรรมวินัยทางปาก เช่นกล่าวหาให้ร้ายศาสนาอื่น และเทศนาที่มีความหมายทำนองสองแง่สามง่าม
กับพวกที่กล่าวหาให้ร้ายผู้อื่นโดยมิชอบ ตลอดจนใช้วาจาแช่งด่าหยาบคาย หลังจากตายไปแล้ว
ร่างวิญญาณจะถูกทรมานดังภาพ



ขุมนรกกรอกยา
นักค้ายาปลอมหลอกลวงว่ายาสามารถรักษาโรคได้
และค้าขายสิ่งเสพติด ในที่สุดก็จบลงดังภาพนี้

ศีลข้อที่ 4 นี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ 4 ซึ่งประกอบด้วย
1. เรื่องไม่จริง
2. จิตคิดจะพูด
3. พูดออกไป
4. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น


อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ข้อที่ 4 มี 14 ประการ
1. มีอินทรีย์ทั้ง 5 ผ่องใส
2. มีวาจาไพเราะอ่อนหวาน
3. มีฟันเสมอชิดสะอาด
4. ไม่อ้วนจนเกินไป
5. ไม่ผอมจนเกินไป
6. ไม่สูงจนเกินไป
7. ไม่เตี้ยจนเกินไป
8. กลิ่นปากหอมเหมือนดอกบัว
9. ได้สัมผัสแต่ที่เป็นสุข
10. มีบริวารล้วนขยันขันแข็ง
11. บุคคลอื่นจะเชื่อถือถ้อยคำ
12. ลิ้นบางแดง อ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
13. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
14. ไม่ติดอ่าง ไม่เป็นใบ้

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ .


ศีลข้อ ที่ 5 คือ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย รวมถึงเครื่องดองของเมายาเสพติดให้โทษทุกชนิด

โทษของการดื่มสุรา
ทำให้เกิดความประมาทปราศจากการเคารพบิดามารดาญาติ แม้นอุปัชฌาย์อาจารย์ และสมณะพราหมฌ์
ผู้มีศีลก็ไม่เคารพศีลาจาวัตรในการปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ จะทำแต่บาป หยาบ ช้า มีกายหยาบ วาจาหยาบใจหยาบ
ทำแต่อกุศลเป็นนิตย์ไม่คิดสงสารสัตว์นอกจากนี้โทษของการดื่มสุราเมรัยยังพาให้ตกในอบาย
นายนิรบาลจะกรอกด้วยน้ำทองแดงน้ำถึงปากและคอก็จะทำลายให้ไส้พุงขาดกระจายตาย ตายแล้วก็จะกลับฟื้นขึ้นมาเสวยทุกขเวทนาต่อๆกันไป
เมื่อพ้นจากอบายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนบ้าใบ้เสียจริตผิดมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นภัยของชีวิต

ศีลข้อ ที่ 5 สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ของมึนเมาสิ่งเสพติดให้โทษ
ถ้าไม่เว้นจะได้โทษอย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้วยังสัตว์ให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย
ผลแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุดย่อมยังความเป็นบ้าใบ้ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์"
ถ้าผิดศีล ข้อที่ 5 ผลได้รับเป็นอย่างไร
ผลที่จะได้รับทีมี 2 ขั้น คือ
1. ได้ผลในปฏิสนธิกาล คือ เกิด ในนรก ดิรัจฉาน เปรตวิสัย
2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดแล้วและผลที่จะได้รับในปวัตติกาลนี้จะครบองค์หรือไม่ก็ตาม
ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์จะได้รับผลจาการดื่มสุรา 6 ประการ คือ
1. ทรัพย์ถูกทำลาย
2. เกิดวิวาทบาดหมาง
3. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
4. เสื่อมเกียรติ
5. หมดยางอาย
6. ปัญญาเสื่อมถอยหรือพิการทางปัญญา

ขุมนรกอันเป็นที่ไปของผู้ผิดศีลข้อ 5



นรกขุมใหญ่ ขุมที่ 5 มหาโรรุวนรก

มีดอกบัวขนาดใหญ่ ไฟร้อนจัด กลีบบัวมีความคมเป็นกรด วางตั้งอยู่ทั่วไป

ระหว่างช่องที่ว่างอยู่จะมีแหลนหลาว ปักเอาไว้ โดยเอาปลายแหลมชี้ขึ้น
เผาไฟจนแดงโชน

แต่ดอกบัวนี้จะไม่งับแน่นนัก สัตว์นรกที่อยู่ในดอกบัวทั้งหลายจะร้อน และดิ้นไปโดนกลีบบัว
เมื่อกระทบกลีบบัวก็จะขาดตกลงมา

ถูกแหลนหลาวข้างล่างแทงรับไว้ แต่เนื่องจากแหลนหลาวนั้นเป็นไฟลุกแดง

จึงทำให้เนื้อตัวของสัตว์นรกนั้นลุกร้อนเป็นไฟ ตกลงมาที่พื้น เมื่อตกถึงพื้น
ก็จะมีหมาที่คอยกัดกินจนเหลือแต่กระดูก จนหมดเกลี้ยง แล้วก็จะก่อตัวขึ้นมาเป็นกายใหม่
จากนั้นนายนิริยบาลก็จะบังคับไล่แทงให้ไปอยู่บนดอกบัวต่อไปอีก

อายุของสัตว์ในมหาโรรุวนรก 8,000 ปีอายุกัป
1 วันนรก เท่ากับ 9,216 ล้านปีมนุษย์


ศีลข้อที่ 5 นี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ ๔ ซึ่งประกอบด้วย
๑. ของทำให้เมา
๒. จิตคิดจะดื่ม
๓. มีความพยายามที่จะดื่ม
๔. ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป


รักษาศีล ข้อที่ 5 จะได้อะไร ?
ถ้าเว้นจากการดื่มสุรา เมรัยหรือเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษจะได้ผลดี 2 ประการ คือ
1. ได้รับผลดีในการปฏิสนธิกาล คือจะเกิดในกามสุคติภูมิ มีมนุษย์หรือสวรรค์เป็นที่เกิด
2. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้วถ้าได้เป็นมนุษย์จะได้รับ

อานิสงส์จากการเว้นดื่มน้ำเมา 35 ประการ คือ
1. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
2. มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
3. มีปัญญาดี มีความรู้มาก
4. มีแต่ความสุข
5. มีแต่คนนับถือ ยำเกรง
6. มีความขวนขวายน้อย (หากินง่าย)
7. มีปัญญามาก
8. มีปัญญาบันเทิงในธรรม
9. มีความเห็นถูกต้อง
10. มีศีลบริสุทธิ์
11. มีใจละอายแก่บาป
12. รู้จักกลัวบาป
13. เป็นบัณฑิต
14. มีความกตัญญู
15. มีกตเวที
16. พูดแต่ความสัตย์
17. รู้จักเฉลี่ยเจือจาน
18. ซื่อตรง
19. ไม่เป็นบ้า
20. ไม่เป็นใบ้
21. ไม่มัวเมา
22. ไม่ประมาท
23. ไม่หลงใหล
24. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
25. ไม่บ้าน้ำลาย
26. ไม่งุนงงไม่เซ่อเซอะ
27. ไม่มีความแข่งดี
28. ไม่มีริษยา
29. ไม่ส่อเสียดใคร
30. ไม่พูดหยาบ
31. ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์
32. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
33. ไม่ตระหนี่
34. ไม่โกรธง่าย
35. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่เป็นโทษ


อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล 5


ขุมนรกอันเป็นที่ไปของผู้ผิดศีลทั้ง 5 ข้อ



นรกขุมใหญ่ ขุมที่ 7 มหาตาปะนรก

มีกำแพงทุกด้าน มีไฟที่ความร้อนสูง คล้ายแสงสว่าง พุ่งเข้ามาจากรอบทิศ
มารวมกันตรงกลาง มีภูเขาที่ตั้งอยู่ตรงกลางขุมนรก ก็จะมีไฟพุ่งเข้าพุ่งออกเป็นเหล็กที่เผาแดง
นายนิริยบาลจะบังคับให้สัตว์นรกป่ายปีนขึ้นไปบนยอดเข า วิ่งขึ้นไป พอไปใกล้ถึงยอดก็จะทนไม่ไหว ร่วงหล่นลงมา
ก็จะถูกแหลนหลาวที่ปักเอาไว้โดยรอบแทงเข้า เมื่อหล่นจากแหลนหลาวนั้นร่างก็จะเต็ม แล้วถูกไฟเผาตามเดิม
นายนิริยบาลก็จะมาไล่ให้ขึ้นไปยอดเขาต่อไป




อายุของสัตว์ในมหาตาปนมหานรกนี้ มีประมาณ ครึ่งอันตรกัป

อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล 5

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า
ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลายอานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีลมี 5 ประการ คือ
1. ย่อมประสบซึ่งกองแห่งโภคใหญ่คือความไม่ประมาทอันเป็นคุณอย่างยิ่ง
2. ย่อมมีชื่อเสียงดีงามฟุ้งขจรไป
3. เข้าไปในบริษัทใดก็ตามย่อมเป็นผู้ไม่หลงตาย ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
4. ผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ ย่อมไม่เป็นผู้ไม่หลงตาย
5. เบี้องหน้าเมื่อการแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ต.ป.ฎ.เล่ม 10/102
ดูก่อนอานนท์ศีลทั้งหลายเป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์
อานิสงส์การสมาทาน ศีล 5 มี 103 ประการ
ศีลข้อที่ 1 มีอานิสงส์ 23 ประการ
ศีลข้อที่ 2 มีอานิสงส์ 11 ประการ
ศีลข้อที่ 3 มีอานิสงส์ 20 ประการ
ศีลข้อที่ 4 มีอานิสงส์ 14 ประการ
ศีลข้อที่ 5 มีอานิสงส์ 35 ประการ
รวม 103 ประการดังกล่าวมาแล้ว

ผู้สมาทานศีล 5 ละโลกนี้ไปแล้วมีทางไปสู่สวรรค์ 6 ภูมิ
แต่ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ทำบุญให้ทานบ้างแต่ไม่มีศีล 5 รองรับ
จะตกสู่จตุราบาย ตกสู่อบายภูมิ (ทุคติภูมิ)
กามสุคติภูมิแบ่งออกเป็น 7 ภูมิได้แก่ มนุษย์ภูมิ 1 เทวภูมิ 6 คือ
เทวภูมิ 6
1.จาตุมหาราชิกาภูมิ
2.ดาวดึงสาภูมิ
3.ยามาภูมิ
4.ตุสิตาภูมิ
5.นิมมานรตีภูมิ
6.ปรนิมมิตวัตตีภูมิ
มนุษยภูมิ 1
อบายภูมิ 4
1.เดียรฉาน
2.เปรต
3.อสูรกาย
4.สัตวนรก

ค้าขายร่ำรวยร้อยล้าน รับมรดกมีที่ดินร้อยล้าน รับราชการมีทรัพย์สินร้อยล้าน เป็นรัฐมนตรีเป็น สมาชิกผู้แทนราษฎร
มีเงินเป็นร้อยล้าน เหล่านี้ไม่มีศีล 5 รองรับ ไม่สมาทานศีล 5 ปิดประตูสวรรค์ เปิดประตูนรก
ตกสู่อบายภูมิสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกายเปรตประพฤติศีล 5 ข้อ ทำบุญใส่บาตรผู้มีศีล ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
ละโลกนี้ไปแล้วจุติจิตไปปฏิสนธิในโลกสวรรค์ ทันที ผู้สมาทานศีล 5 ศีล 8 ทุกวันปิดประตูนรก เปิดประตูสวรรค์
มีโอกาสไปอุบัติใน สุคติภูมิ 6 ขั้นนั้นจะไปอุบัติในเทวโลกภูมิใดนั้นแล้วแต่กำลังบุญกุศลทำไว้ในโลกมนุษย์
ผู้ปราศจากกิเลสโลภะ โทสะ โมหะ คืออริยบุคคลทำอะไรด้วยปัญญาเป็นมหากุศล
ทำอะไรขาดสติปัญญาเป็นบาปเป็นอกุศล การลด ละ เลิกจากโลภะ โทสะ โมหะได้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด

มหาทาน 5


มหาทาน 5
ทานที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อย ได้ผลมาก มี 5 ประการ คือ
1. เว้นจากปาณาติบาต คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ทั้งหลาย
2. เว้นจากอทินนาทาน คือเว้นจากการลักทรัพย์เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
3. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือ เว้นประพฤติผิดในกามเท่ากับให้ความบริสุทธิ์กับภรรยาธิดา และตนเอง
4. งดเว้นจากมุสาวาท คือ เว้นจากการพูดปด พูดไม่จริงเท่ากับให้ความจริงแก่ผู้อื่น
5. งดเว้นจากสุรา-เมรัย ไม่เสพ ไม่ดื่ม เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ตนเองและผู้อื่น

พุทธพจน์
ในการสมาทานศีล 5 รักษาศีล 5 ไว้ได้นั้นภูมิจิตจะยกสูงขึ้นสู่โสดาปัตติผล
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า...
" แม้เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้นยังประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดินประเสริฐกว่าการกำเนิดเป็นเทพในสวรรค์
ประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวงเมื่อเป็นดังนี้ จะกล่าวไปใยถึง อรหัตผล เล่าว่า....มีผลเลิศเพียงใด "
พระพุทธองค์เทศนาให้พระเจ้าอชาตศัตรูฟังว่า......
ภายหลังพระราชบิดาและพระราช มารดาสิ้นพระชนม์แล้วได้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกในการสังคายนาร้อยกรองพระ ธรรมวินัยครั้งแรกภายหลังพุทธปรินิพพาน
เมื่อศีล 5 ทำให้ผู้ประพฤติ ประเสริฐกว่าเทพในสวรรค์ประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง
เราควรจะสมาทานศีลห้ารักษาศีลห้าไว้ให้ได้เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะได้ไปอุบัติในโลกสวรรค์ ในเทวภูมิ 6 ภูมินั้นด้วยกำลังอำนาจของศีล

สมบัติที่หาได้ยาก

1. คติสมบัติ คือการได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก
2. กาลสมบัติ คือ การได้เกิดมาในเวลาที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก
3. ปเทสสมบัติ คือ การได้อยู่ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นของยาก
4. กุลสมบัติ คือ การได้อยู่ในตระกูลหรือกลุ่มที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนาเป็นของยาก
5. อุปธิสมบัติ คือ การได้อัตภาพบริบูรณ์ไม่พิการ บ้า ใบ้ บอดหนวกเป็นของยาก
6. ทิฏฐิสมบัติ คือ การที่เป็นผู้ที่มีความเห็นถูกต้อง คือเป็นสัมมาทิฏฐิเป็นของยาก
ใครได้สมบัติครบ 6 ประการนี้แล้วได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญมาก มีวาสนาดี มีกองทุนชีวิตที่สมบูรณ์
อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล


การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้หมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี 3 ประการ คือ


1.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
2.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
3.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)

 
Heute waren schon 10 Besucher (19 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden