vipassana - ญาณ 16
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

ผู้จะสอนใคร ต้องเป็นผู้ถูกสอนอย่างดีมาก่อน
รู้จักรับฟังด้วยใจเป็นกลาง มีศิลปะและปัญญา


ปุจฉา เรื่องของฌาน 4 กับญาณ 16

ฌาน 4 ได้แก่ ปฐมฌาน มีลักษณะ 5 อย่างคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตาทุติยฌาน มีลักษณะ 3 อย่างคือ ปีติ สุข เอกัคคตา ตติยฌาน มีลักษณะ 2 อย่างคือ สุข กับ เอกัคคตา จตุตฌาน มีลักษณะ 2 อย่างคือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา ญาณ 16 ได้แก่วิปัสสนาญาณ 16 ขั้นจนถึงนิพพาน

1. ญาณกำหนดนามรูป เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ

2. ญาณกำหนดเหตุปัจจัยของนามรูป

3. ญาณพิจารณานามรูปด้วยหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

4. ญาณหยั่งรู้ความเกิดดับแห่งนามรูป

5. ญาณหยั่งเห็นชัดความดับ

6. ญาณมองเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว

7. ญาณเห็นโทษของสังขาร

8. ญาณเห็นความเบื่อหน่าย

9. ญาณเห็นความปรารถนาพ้นทุกข์

10. ญาณพิจารณาทบทวนหาทางพ้นทุกข์

11. ญาณวางเฉยต่อสังขารทั้งปวง

12. ญาณทำความเห็นให้สอดคล้องกับหลักอริยสัจ

13. ญาณทำให้พ้นภาวะปุถุชน

14. ญาณรู้แจ้งในอริยมรรค

15. ญาณรู้แจ้งในอริยผล

16. ญาณใคร่ครวญทบทวนรู้ชัดตามขั้นตอน

ปุจฉา
ผู้รู้


ลักษณะของผู้รู้เป็นอย่างไรครับ

วิสัชนา

ลักษณะของผู้รู้
ก็คือ ที่รู้แบบพระพุทธะ มันจะต้องคล้าย กับดาบที่อยู่ในฝัก ไม่ว่าจะชักหรือไม่ชัก ยังไงมันก็เป็นดาบที่คมของมันอยู่ในตัวมัน แต่ลักษณะของผู้ที่ไม่รู้นั้นส่วนใหญ่ มักจะผยอง เป็นช้างชูงวง ปูชูก้าม กิ้งก่าชูคอ นั่นคือลักษณะของผู้ไม่รู้หรือรู้น้อย หรือรู้ไม่จริง และอวดรู้อยากรู้อะไรอย่างนั้น แต่ลักษณะของผู้รู้จริงๆ เรามอง เขาไม่ออกหรอก เหมือนกับดาบ ที่จะคมหรือไม่คม มันอยู่ในฝัก เราไม่รู้หรอกว่ามันคมขนาดไหน บางทีชักออกมาแล้วเรานึกว่ามันยาวใหญ่ ที่ไหนได้สั้นและกุดด้วย มันอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ แต่เขาก็ถือว่าเป็นผู้รู้

เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้บอกเป็นคำนิยามที่จะให้สื่อความหมายได้ หลวงปู่เคยเขียนบทโศลกสอนลูกหลานว่า.......

ลูกรัก...
คุณธรรมและหัวใจสำคัญของอริยธรรม สัจธรรม ศีลธรรม วิมุตติธรรม พระบริสุทธิธรรมนั้นก็คือความอ่อนน้อมถ่อมตน


ถ้าหลวงปู่ถามพวกเราว่า ระหว่างหญ้ากับภูเขาพวกเราจะเลือกเป็นอะไร คนทั่วไปมองว่าภูเขามันดี เพราะมันใหญ่ อะไรจะมาสู้ภูเขาได้ แต่ว่าอะไรกันแน่ที่มันอยู่เหนือเขา หญ้าใช่ไหม ถ้าจะเอาภูเขากับหญ้ามาเปรียบเทียบผู้รู้กับผู้ไม่รู้ ควรจะเปรียบ อย่างไร หญ้าควรจะเปรียบกับ ผู้รู้ ภูเขาควรจะเปรียบกับผู้ไม่รู้ แล้วอวดรู้

ดังนั้น ลักษณะของผู้รู้ไม่จำเป็นต้องแสดง หลวงปู่เคยพูด อยู่เสมอว่า ถ้าไม่พูดก็ไม่มีใครรู้ว่าเราโง่หรือฉลาด คนโบราณจึงมีคำพูดไว้ว่า 'พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง'

เพราะฉะนั้น ลักษณะของผู้รู้นั้นก็ดูได้จากหญ้า จากอะไรๆ ที่มันดูเล็กๆ แต่จะยิ่งใหญ่ในหัวใจของอะไรๆ ได้ทันทีที่มันต้องการใหญ่ มันไม่ยาวไม่สั้น ไม่เล็กไม่ใหญ่ ไม่กว้างไม่แคบอะไรทั้งนั้น แต่มันเป็นได้ทุกอย่าง นั่นคือ
ลักษณะของผู้รู้

ลูกรัก...

เจ้าจงจำไว้ว่าพหูสูตและบัณฑิตปราชญ์ที่แท้จริงนั้น ก่อนที่เขาจะเป็นผู้รู้ที่ดีต้องเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฟังที่ดีก่อน
ถ้ายังเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ได้ก็จะรู้เรื่องดีๆ ของใครไม่ได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเหลวไหลอย่างไร เขาย่อมรู้จักเลือกในสิ่งที่เขาควรจะฟัง

ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าทรงยกพระอานนท์ว่าเป็นพหูสูตผู้เลิศในความทรงจำ และสรรพรู้ รอบรู้ทุกๆ สูตรที่พระองค์ทรงแสดง เหตุผลที่พระอานนท์ได้รับยกย่องอย่างนี้ก็เพราะว่า พระอานนท์มีคุณธรรมชนิดหนึ่งก็คือเป็น ผู้ฟังที่ดี จึงได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต เป็นปราชญ์ราชบัณฑิต

ไม่ว่าพ่อจะไปที่ไหน จะเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังเขาด่าก็ยังนั่งพนมมือฟังอย่างดี เป็นผู้ฟังที่ดีเสมอ ทั้งๆ ที่สิ่งที่เขาด่ามันไม่จริง แต่เมื่อใดที่ควรจะแสดง และพูด คนที่เขาพูดให้พ่อฟังเขาก็ต้องฟังเราได้ เพราะพ่อแสดงให้เขาดูว่าพ่อเคารพในเหตุผลที่เขาแสดงก่อน เมื่อใดที่พ่ออยากพูดออกมา เขาก็ต้องเคารพในเหตุผลของพ่อและยอมรับฟังด้วย แต่ถ้าพ่อทำตัวไม่เคารพในเหตุผลของใครก่อน ถึงพ่อจะมีเหตุผลที่ดี เขาจะมาฟังพ่อได้ยังไง นี่คือ หัวใจ ของปราชญ์ราชบัณฑิต จะสอนใครตัวเองต้องเป็นผู้โดนสอนอย่างดีมาก่อน คือต้องเป็นผู้รับฟังเรื่องต่างๆ ของชาวบ้านด้วยใจเป็นกลางและมีศิลปะและปัญญา

ก่อนที่พวกเจ้าจะเป็นปราชญ์เป็นครูสอนใคร เจ้าต้องเป็นผู้รับการสอนที่ดีก่อน เมื่อถึงเวลาที่จะแสดงต่อใครหรือแสดงต่อคนที่สอนเจ้า เขาก็จะฟังและเคารพเจ้าอย่างดี เหมือนที่เจ้าฟังและเคารพเขาและได้ประโยชน์จากการฟังของเขาด้วย

ฉะนั้นเจ้าจงจำไว้ คิดจะเป็นครูเขา เป็นบัณฑิตคิดจะสอน ใครเจ้าต้องยอมโดนอบโดนรมให้ได้ก่อน การที่พ่อสามารถรู้โรค ของเขา รู้ทุกข์ของเขา เพราะพ่อเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ใช่ฟังเฉพาะหู แต่รับฟังทั้งลูกตา จมูก หู บางสัมผัสและบางอิริยาบถของเขา พ่อจึงสามารถวิเคราะห์ใคร่ครวญ พิจารณาสิ่งที่เขาเป็นเขามี แล้วแก้ไขสิ่งที่เขาบกพร่อง ได้ วิชาอย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์

วิปัสสนาญาณ ๙

ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ่มแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด )

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด )

๓. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น )

๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ )

๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ )

๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น )

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงหันกลับไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป )
๘. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ )

๙. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือ เมื่อวางใจเป็นต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่สิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป )

ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ เข้ามาเป็นข้นที่ ๑ จึงรวมเป็นวิปัสสนาญาน ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่น ๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก
อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ


ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง รูปธรรมนามธรรม คือ มองเห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เห็นนามก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นว่า เห็นว่าการเคลื่อนไหวก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ตัวมันเองไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ เป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้วก็สลายตัวไป จัดว่าเป็นรูปธรรม ส่วนตัวที่เข้าไปรู้ เป็นธรรมชาติที่สามารถจะรับรู้อะไรได้ จัดเป็นนามธรรม เห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็อย่างหนึ่ง เห็นนามก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า สามารถแยกรูปแยกนามได้ เห็นรูปเห็นนามต่างกันไม่ว่าจะเป็นทวารอื่นก็ตาม ขณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีสติรู้ทัน ก็เห็นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง นั้นก็เป็นแต่ธรรมชาติ ที่มากระทบแล้วก็สลายไป ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้

ส่วนตัวจิตใจเป็นตัวที่เข้าไปรู้ได้ เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรม หรือลมหายใจที่เข้าออกกระทบโพรงจมูก หายใจเข้าเย็น หายใจออกร้อน เป็นตัวที่ไม่สามารถจะไปรับรู้อะไรได้ มีหน้าที่กระทบแล้วก็สลายไป เป็นรูปธรรม ส่วนตัวจิตที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ สามารถที่จะรับรู้อะไรได้ ก็ไปรับรู้ลมหายใจ เป็นนามธรรม เห็นลมหายใจก็อย่างหนึ่ง เห็นตัวที่เข้าไปรู้ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่า มีปัญญาแยกสภาวรูปนามได้ ก็จะทำให้เข้าใจว่า ในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร ในเนื้อแท้จริงๆ แล้วมีแต่รูปกับนามเกิดขึ้นเท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ในขณะที่จิตไปสัมผัสรูปนามนั้น ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนอะไรต่ออะไร เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไปก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2

นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นปฐมเบื้องต้นของวิปัสสนาญาณ บางท่านว่ายังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ ท่านจัดวิปัสสนาเบื้องต้นตั้งแต่อุทยัพพยนุปัสสนาญาณ เป็นตรุณวิปัสสนาเลยทีเดียวเหตุเพราะญาณนี้จักเป็นฝ่ายสมถะประกอบด้วยก็ได้ ท่านจึงว่าอย่างนั้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก่อนที่จะถึงการกำหนดหมายรู้ในอุทยัพพยญาณนั้น ท่านว่าต้องเจริญตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณเป็นปฐมก่อนจนถึงสัมมสนญาณ อันเป็นบาทเบื้องฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาที่จะก้าวขึ้นสู่ตรุณวิปัสสนา คือ อุทยัพพยนุปัสสนาญาณ ต่อไป.
วิธีการกำหนดแยกหมายรู้ในปริจเฉทญาณนั้น ให้ดำเนินควบคู่ไปกับสมถะวิธี คือ สมาธิ อันมี ขณิกสมาธิ แล อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ อันเป็นเอกัคคตาเป็นที่สุด จากนั้นจึงยกสมถะไว้เสียส่วนหนึ่ง ( คือแยกกายกับจิตออกจากกัน ถ้าไม่แยกออกจากกันจักไม่เป็นวิปัสสนาเป็นแน่แท้ ) เพ่งพินิจพิจารณารูปกาย แล นามกาย ตามบัญญัติแลตามสมมติ คือ แยกว่านี้คือ กาย อันมี ธาตุ ๔ เข้าประชุมตกแต่งกันรวมกันเข้าเรียกว่ากาย หรือมหาภูตรูป ๔ ถ้าละเอียดดีดูลึกลงไปถึงกายอันละเอียดที่อาศัยอยู่กับมหาภูตรูป ๔ ( พึงเข้าใจว่ามิใช่กายทิพย์อย่างที่เข้าใจกัน ) คืออุปาทายรูป ๒๔ รวมเข้ากับมหาภูตรูป ๔ รวมได้เป็น รูป ๒๘ แยกได้ตามนัยนี้แล้ว.
จากนั้นแยกนามธรรมออกจากรูปธรรม แยกออกเป็นส่วน ๆ คือ รู้จัก เจตสิก ๓ คือ สัญญาเจตสิก, เวทนาเจตสิก, และสังขารเจตสิก ออกเป็นส่วน ๆ พึงทำความศึกษารู้ว่าอันเจตสิกธรรมทั้ง ๓ นี้ เป็นอาการของจิต, หรือวิญญาณ ที่มีหน้าที่แล่นไปตาม อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอกอีก ๖ จนเกิดกระทบกระทั่งกันเกิดภาวะที่เรียกว่า ผัสสะ , อันผัสสะนั้นพึงแยกให้ได้ว่าก็มี ๖ โดยมีผัสสะทางตา เป็นต้น
พึงกระทำให้ชำนาญแล้วเจริญสมถะวิธีให้ชำนาญก้าวหน้าก็จะมีความรู้ความ ช่ำชองในญาณนี้เป็นอันมากจนเข้าใจว่าอะไรทำหน้าที่อะไรตามสภาวะของมัน ได้ชื่อว่าเจริญ นามรูปปริจเฉทญาณ ได้ชำนาญแล้ว และจะได้เจริญใน นามรูปปัจจยปริคคหญาณ เป็นลำดับสืบต่อไป


ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป

รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่างรูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบประสาทหูซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เย็นร้อนอ่อนแข็งอ่อนตึง เป็นรูปมากระทบกายก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียรดูรูปนาม เห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3

เมื่อเจริญญาณที่ ๑ โดยชำนิชำนาญแล้วพึงกระทำไว้ในใจเสมออย่าให้คลาดเคลื่อนหรือเสื่อมถอย จากนั้นพึงกำหนดตามนัยที่ ๑ ซ้ำ, แล้วพึงรู้ว่า ทั้งรูปธรรม ทั้ง นามธรรม นั้น ย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน ต่างก็เป็นปัจจัยส่งเสริมซึ่งกันและกัน จะมีแต่รูปไม่มีนามก็ไม่ได้ หรือจะมีแต่นามไม่มีรูปก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ต่างเห็นว่าเมื่อมีรูปย่อมมีนาม และอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติเข้าปรุงแต่ง คือปัจจัยทางปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่อมีอวิชชา ย่อมมีสังขาร เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร อย่างนี้เป็นต้น แม้ผัสสะ, เวทนา, อายตนะ ๑๒, สมาธิ, ปัญญา, สัมปชัญญะ, ตัณหา, อุปาทาน, รวมลงเรียกว่า สังขารธรรมทั้งปวงพวกนี้ล้วนมีปัจจัยเข้ามาปรุงเข้ามาแต่ง ให้เกิดขึ้นทั้งนั้น, ปัจจัยอย่างอื่นเราจะมองเห็นว่า กรรมก็ดี, วิบากก็ดี, วัฏฏะวนทั้ง ๓ ก็ดี ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้ชีวิตสัตว์เจริญและเสื่อมถอยลง
นี่แลชื่อว่าเจริญในญาณที่ ๒ คือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ ได้โดยสมบูรณ์ และจะ
ปวัติเข้าสู่ สัมมสนญาณ ต่อไป


ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชาไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ยังเอาสมมุติบัญญัติมาปน ยังมีสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญาความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4

เมื่อเจริญญาณมาตามลำดับแล้ว ปัญญาญาณย่อมเล็งเห็นการเกิดของสรรพสิ่ง หรือสังขารธรรมทั้งปวงว่าเป็นไปเพราะธรรมชาติ เป็นไปด้วยตัวของมันเอง สังขารธรรมมันย่อมตกเข้าสู่แห่งกฎของธรรมชาติลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. อนิจจลักษณะ คือสภาพที่ไม่คงทนถาวร,แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ,ไม่คงที่,ไม่แน่นอน
๒. ทุกขลักษณะ คือสภาพที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ เพราะความแปรเปลี่ยนอยู่ตลอด
๓. อนัตตลักษณะ คือสภาวะที่มิใช่ตัว,มิใช่ตน,มิใช่สัตว์,บุคคล,เรา,เขา,บังคับไม่ได้

นี้รวมเรียกว่า ไตรลักษณะ ๓, การหยั่งรู้ หรือการมองเห็นธรรมชาติทั้งปวงนี้ย่อมตกอยู่ในสภาวะแห่งกฎอันนี้ เรียกว่า “ไตรลักษณะญาณ” เป็นสัมมสนญาณอันอุดม ในพระคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้โดยเอนกปริยายเป็นอันมาก พึงศึกษาดูเอาเองเถิดจักกล่าวย่อ ๆ พอเป็นแนวทางเท่านั้น

ก็แลสัมมสนญาณนี้ พระอรรถกถาจารย์เจ้าก็ดี,พระเกจิกถาจารย์เจ้าก็ดี ท่านจัดให้เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาเลยทีเดียว เป็นเพราะว่าสัมมสนญาณนี้รวมความเห็นทุกสภาวะสิ่งลงไปในกฎแห่ง พระไตรลักษณะ ซึ่งพระไตรลักษณะนั้น คือ มรรค แลทางอันที่จะเดินให้เข้าสู่มรรควิถีอันแท้ คืออริยมรรค ฉะนั้นท่านจึงจัดเอาสัมมสนญาณนี้เป็นอันดับ ๑ ในบรรดาญาณทั้งหลายในญาณ ๙ รวมแล้วเป็น ๑๐ ถ้าท่านกล่าวถึงวิปัสสนาญาณ ๑๐ พึงรู้เถิดว่ารวมเอาสัมมสนญาณเข้าด้วย, ถ้าท่านกล่าวเอาเฉพาะวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วพึงเข้าใจว่าท่านไม่รวมเอาไว้ด้วย. แต่ถ้าท่านกล่าวถึงโสฬสญาณ ๑๖ แล้ว ท่านรวมเอาไว้ด้วยแน่นอน

พึงเจริญในสัมมสนญาณนี้ให้มาก ๆ ทำความเพียรอันมีสมถะแลวิปัสสนาเข้าด้วยกัน จักบรรลุผลอันอุดมในญาณนี้แลก้าวเข้าสู่ญาณต่อไป คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับต่อไป



ญาณที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น 2 ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็น พลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ คือ ญาณที่ 4 อย่างอ่อนกับญาณที่ 4 อย่างแก่ ในขณะที่ญาณที่ 4 อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพยญาณนี้ ก็จะทำให้เกิด วิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส คือกิเลสที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง คือทำให้วิปัสสนาไม่เจริญขึ้น จะไม่ก้าวหน้า จะหยุดชะงัก ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นหลงติดอยู่ในวิปํสสนูปกิเลสเหล่านั้น วิปัสสนาก็ไม่เจริญขึ้น ทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ก้าวหน้า อยู่แค่นั้น เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำความเข้าใจว่า เมื่อถึงขณะนั้นแล้วมันจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้รู้ทัน วิปัสสนูปกิเลสนี้ที่จริงมันก็เป็นธรรมฝ่ายดี เช่น ปิติ ความสุข ความสงบ เป็นธรรมฝ่ายดี แต่มันเสียตรงที่ว่าเกิดความไปยินดีพอใจติดใจในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ามีนิกันตความไปพอใจ วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญ วิปัสสนูปกิเลส ที่เกิดมี 10 ประการนั้น

ประการที่ 1 ก็คือ โอภาส โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้นจะรู้สึกเกิดความพอใจกับสิ่งอัศจรรย์ในใจที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดีพอใจ เมื่อเกิดความยินดีพอใจรูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็นรูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ

ประการที่ 2 เกิดญาณะ ญาณะก็คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิดจะนึกจะพิจารณาอะไรมันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า

ประการที่ 3 ก็คือ ปีติ ได้แก่ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจปิติอิ่มเอิบอย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ

ประการที่ 4 เกิดปัสสัทธิ คือความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจเกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความยินดีพอใจเป็นโลภะ มักจะเกิดขึ้นถ้ารู้ไม่ทัน พอเกิดแล้ว การเห็นรูปนามก็ไม่เห็น ไปติดอยู่กับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้

ประการที่ 5 เกิดสุขะ สุขะคือความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจในความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้

ประการที่ 6 เกิดอธิโมกข์ คือตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมาก เชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนามอีกเหมือนกัน

ประการที่ 7 เกิดปัคคหะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น

ประการที่ 8 เกิดอุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกินที่จะกำหนดรู้สภาวธรรมต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบในส่วนต่างๆ จุดต่างๆ สติมีความรับรู้ว่องไวมาก แล้วก็เกิดความพอใจในสติที่มีสติระลึกรู้ได้เท่าทัน ที่จริงสติเป็นเรื่องดีเป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น แต่มันไปเสียตรงที่มีนิกันติ คือมีความยินดีพอใจในสติที่เกิดขึ้น วิปัสสนาก็ก้าวไปไม่ได้

ประการที่ 9 เกิดอุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจในความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้

ประการที่ 10 นิกันติ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญฉะนั้น ก็เป็นที่เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่จริงเป็นเรื่องดี ปิติก็ดี ความสุขก็ดี ความสงบก็ดี ความรู้สติก็ดี มันเป็นเรื่องดีเกิดขึ้นมา แต่ว่ามันเสียตรงที่มีนิกันติ คือความเข้าไปยินดีติดใจ ทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นไม่ก้าวหน้าเพราะไปติดอยู่แค่นั้น

วิธีที่จะผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปจะทำอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความแยบคายในการพิจารณาถึงลักษณะความยินดีพอใจที่เกิด ขึ้น สังเกตให้ออกว่าขณะนี้เกิดความพอใจ เช่นเกิดความสงบ มีความรู้สึกพอใจในความสงบอยู่ ก็ให้รู้ทันว่า นี่ลักษณะของความพอใจ เกิดปีติ และเกิดความพอใจในปีติก็รู้ว่านี่พอใจๆ เกิดสติ เกิดปัญญา แล้วพอใจ ก็รู้เท่าทันความพอใจ ถ้าเกิดการที่เข้าไปรู้เท่าทันลักษณะของความพอใจได้ ความพอใจนั้นก็จะหลบหน้าไป ก็กลับเป็นปกติขึ้นก็จะก้าวขึ้นสู่อุทัพพยญาณอย่างแก่ คือ

ญาณที่ 4 อย่างแก่ ในญาณที่ 4 อย่างแก่ก็จะเห็นความเกิดดับของรูปนาม มีความบริสุทธิ์ของการเห็น เห็นรูปเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ กำหนดไปตรงไหนเห็นแต่ความเกิดดับไปหมด เสียงดังมากระทบหูได้ยิน กำหนดรู้ก็เห็นมันเกิดดับไปเลย ใจที่คิดนึกกำหนดรู้เห็นความเกิดดับไป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกำหนดรู้ถึงความเกิดดับไปทันที ไม่ว่าจะอารมณ์ส่วนไหนก็ตามที่ปรากฏอยู่ เห็นความเกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็ว นี่เป็นญาณที่ 4 จากนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไปไม่ลดละ เพ่งดูรูปนามที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ก็จะขึ้นสู่ญาณที่ 5

เมื่อเจริญสัมมสนญาณโดยช่ำชองแลชำนาญแล้วจิตของผู้นั้นย่อมปวัติเข้าสู่ความเห็นในสังขารธรรมทั้งปวงว่าเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณะ คือ
- อนิจจตานุปัสสนา เกิดขึ้นแล้วแปรเปลี่ยนไป,คงสภาพคงที่ไม่ได้
- ทุกขานุปัสสนา ความแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดของรูปแลนามบัญญัติ เรียกว่า ทุกข์.
- ด้วยทุกข์ก็ดี,ด้วยการแปรเปลี่ยนไปเองก็ดี ของสังขารธรรมชาตินั้นบังคับไม่ได้เห็นเป็นอนัตตานุปัสสนา.

จิตจะน้อมเห็นแล้วว่ามีเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่, แล้วแปรเปลี่ยน พึงดับไปในที่สุด คือเห็นทุกสิ่งของธรรมชาติว่า เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเองโดยธรรมชาติ ( ตามหลักของปฏิจสมุปบาท ) เรียกว่า เห็นเกิด- เห็นดับ ( ความเกิดดับของรูป-นาม ) การเห็นเกิดเห็นดับนั้น เห็นได้ในขณะเดียวด้วยวิปัสสนาปัญญา จากนั้นจะเห็นด้วยสมถะวิธี คือเห็นด้วยสมาธินั่นเอง

ต่อแต่นี้พึงปฏิบัติตามที่ครูบา-อาจารย์แนะนำพร่ำสอน ถ้ามิพึงปฏิบัติตามแล้วย่อมทำให้แชออกนอกลู่นอกทาง มองเห็นธรรมนั้นเป็นของวิเศษ เหนือบุคคล เหนือธรรมชาติไป ท่านเรียกธรรมอันเป็นเหตุให้ขัดขวางวิปัสสนานี้ว่า “วิปัสสนูกิเลส ๑๐” หรือ “อุปกิเลส ๑๐” ซึ่งจะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้บรรลุผลในวิปัสสนาญาณชั้นสูงต่อไป.

ต่อไปจักกล่าวถึงอุปกิเลส ๑๐ ที่เป็นตัวขวางกั้นปัญญา อันจะแสดง มีดังนี้ คือ

๑. โอภาโส ความสว่างไม่มีประมาณ เกิดจากจิตที่สงบยิ่งแล้วไปเห็นของจริงตามธรรมชาติเข้าจึงติด เมื่อเข้าไปเห็นของจริงอันนั้น เช่น เห็นกายเป็นธาตุ ๔ ก็ว่าตัวเองเห็น อันนี้ท่านจึงว่าห้ามติดเพราะการเห็นและวิธีดำเนินนั้นเป็นเรื่องของญาณต่าง หาก
๒. ญาณะ ความรู้ไม่มีประมาณ ความรู้ที่จัดเป็นอุปกิเลสคือ รู้เห็นของจริงตามธรรมชาติ จึงให้เข้าใจว่าสิ่งที่รู้เห็นนั้นเป็นธรรมแท้ เป็นเหตุให้ถือตัวมีมานะกระด้างกระเดื่อง แต่ท่านให้เอาความรู้ที่เห็นนั้นเป็นเครื่องมือพิจารณาต่างหาก
๓. ปิติ ความอิ่มใจแรงกล้า คือความเยือกเย็นอันได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น พอเห็นแล้วเลยคิดว่าเป็นธรรมแท้ ๆ จึงทำให้ติด แล้วจะเป็นเหตุให้เหนื่อยหน่ายในธรรมปฏิบัตินั้น ๆ
๔. ปัสสัทธิ ความสงบยิ่ง จะทำให้เกิดเมื่อใดก็ได้ ให้เห็นธาตุเป็นจริงเมื่อใดก็ได้จึงทำให้ติด เป็นเหตุให้หลงในคติ พอใจในผลของการปฏิบัติอยู่แค่นั้น
๕. สุขะ ความสุขอันลึกซึ้งเพราะเห็นธรรมชาติ,ธาตุ ตามความเป็นจริง จึงทำให้ติด เป็นเหตุให้พอใจอยู่แค่นั้น ไม่ปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป
๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ เพราะเข้าไปเห็นธรรมที่เป็นจริงเข้าจึงติดจึงน้อมใจเชื่อ หรือมีธรรมผุดขึ้นมาบอกว่าถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ได้อริยสัจย์บ้าง, บรรลุธรรมบ้าง, อันนี้จึงเป็นอุปกิเลสเพราะจะไม่ยอมรับฟังคำตักเตือนของผู้อื่น
๗. ปัคคาหะ ความเพียรอาจหาญ คือเร่งเกินพอดี อยากให้ถึงเร็ว ๆ ด้วยเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ เป็นความปรารถนารุนแรงของใจล้วน ๆ โดยขาดมัตตัญญู คือปัญญาในการรู้จักประมาณ แต่ที่เป็นอุปกิเลสที่ร้ายแรงก็คือ ข้อนี้ทำให้เกิดหย่อนความเพียรไม่ปฏิบัติต่อไปว่าพอดีมาถึงแล้ว
๘. อุปฐานะ สติกล้า เพราะมีสติกล้ามากเกินจึงทำให้เลอะเลือนและความสงสัยก็จะตามมาเป็นลำดับต่อไป
๙. อุเบกขา ความวางเฉย ที่เป็นอุปกิเลสเพราะคิดว่าตัวเองถึงวิมุติธรรมไม่จำเป็นต้องทำต่อไปแล้ว เป็นความเข้าใจตัวเองผิด ท่านจึงห้ามติด
๑๐. นิกันติ ความพอใจ เพราะความพอใจในธรรมที่ละเอียดที่ตัวเองได้จึงเกิดเป็นอัตตวาทุปาทานไปเสีย โดยไม่ยอมรับฟังจากผู้อื่นเลย ท่านจึงว่าเป็นอุปกิเลส

อันวิปัสสนูอุปกิเลส ๑๐ เกิดขึ้นในขันธสันดารของผู้ใดแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดมานะ ทิฏฐิ สำคัญตนว่า ตัวเองถึงมรรค-ถึงผล จะเป็นที่เศร้าหมองแห่งวิปัสสนาเป็นเหตุให้ยับยั้งความเพียรอยู่แค่นั้น

ในขณะที่อุปกิเลส ๑๐ ประการนี้บังเกิด พระไตรลักษณะจะไม่ปรากฏเพราะด้วยเหตุ ๓ ประการคือ

๑. อนิจจลักษณะไม่ปรากฏ เป็นเพราะสันตติปกปิดกำบังอยู่
๒. ทุกขลักษณะไม่ปรากฏ เป็นเพราะอริยาบถปกปิดกำบังอยู่
๓. อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ เป็นเพราะฆนสัญญา คือความมิได้พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ปกปิด
กำบังอยู่



หากจะกำจัดเสียซึ่งอุปกิเลสอันมีสันตติปกปิดกำบังอยู่นั้นพึงกระทำแลปฏิบัติดังนี้ดังนี้
๑. ให้พิจารณา ความเกิด-ความฉิบหาย-ความตาย แห่งกองรูปธรรม-นามธรรม เป็นเนือง ๆ แล้วอนิจจลักษณะจะปรากฏ
๒. พิจารณาความตายเป็นมรณสัญญาอยู่เนือง ๆ หรือพิจารณาความเจ็บปวด-ป่วยไข้ ด้วยทุกขเวทนาต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ ทุกขลักษณะจะปรากฏแก่ผู้เจริญ
๓. พึงพิจารณากาย แยกกายออกเป็นธาตุทั้ง ๔ ว่าไม่มีหญิง-ไม่มีชาย-สัตว์-บุคคล - ตัวตน-เราเขา แสดงอาการ ๓๒ อยู่ในมโนทวารให้แจ้งชัดโดยวิปัสสนาแล้วอนัตตลักษณะจะปรากฏ

หากผู้ใดเจริญได้ดังปรากฏแล้วทั้ง ๓ ลักษณะนี้ย่อมผ่านพ้นอุปกิเลส ๑๐ ประการ อันเป็นตัวขวางตัวกั้นวิปัสสนานี้ออกเสียได้และจะได้เจริญต่อไปใน ภังคญาณ ต่อไป


ญาณที่ 5 เรียกว่า ภังคญาณ ในภังคญาณนี้จะเห็นแต่ฝ่ายดับ เห็นรูปนามนั้นดับไป ดับไปด้วยความเร็วเพราะรูปนามเกิดดับรวดเร็วถี่มาก เมื่อญาณแก่กล้า ความรู้สติปัญญาแก่กล้าเข้าไปทันกับรูปนามที่ดับเร็ว มันก็เลยเห็นแต่ดับๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับไป ดับไป ท่านอุปมาเหมือนยืนอยู่ในตรอกมองไปปากตรอก ปากตรอกนั้นเห็นรถวิ่งผ่านแว่บ ผ่านไปๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับๆ ๆ ๆ ไป นี่เป็นญาณที่ 5 เมื่อมีความเพียร ไม่ท้อถอย กำหนดดูไปเรื่อยๆ เห็นรูปนามเกิดดับ ดับไป ดับไป ดับไป ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 6

ภังคญาณ คือ การเจริญความดับและความเสื่อมสูนย์แห่งกองรูปธรรม-นามธรรม ว่ามีความดับมีความฉิบหายเป็นไปธรรมดา ผู้ปฏิบัติพึงเจริญวิปัสสนาวิธี ๗ ประการดังต่อไปนี้คือ
๑. อนิจจานุปัสสนา เห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นนิตย์
๒. ทุกขานุปัสสนา เห็นความทุกข์ทนอยู่ไม่ได้เป็นนิตย์
๓. อนัตตานุปัสสนา เห็นความมิใช่ตัวมิใช่ตนอยู่เป็นนิตย์
๔. นิพพิทานุปัสสนา เห็นความเบื่อหน่ายเป็นนิตย์
๕. วิราคานุปัสสนา สำรอกกิเลสได้เป็นตทังคปหาน ( ละได้ชั่วคราว )
๖. นิโรธานุปัสสนา เจริญความดับ ( นิพพาน ) ดับกิเลสได้เป็นตทังคปหาน ( นิพพานชั่ว
คราว )
๗. ปฏินิสสัคคานุปัสสนา จิตน้อมไปสู่พระนิพพาน

เมื่อเจริญและฉลาดในปัญญาแลวิธีในอนุปัสสนาทั้ง ๗ ประการฉะนี้แล้ว ผู้เจริญย่อมได้รับอานิสงส์แห่งการเจริญในภังคานุปัสสนา ๘ ประการ ( กล่าวไว้ในพระคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ) คือ
๑. สละความเห็นในภพออกเสียได้ ( ข่มสัสสตทิฏฐิ )
๒. สละความไคร่ในชีวิต ( ไม่อาลัยในชีวิต ) ไม่กลัวตาย
๓. หมั่นประกอบ ( ในภาวนา ) ทุกเมื่อ
๔. เลี้ยงชีพบริสุทธิ์ ไม่มีโทษ ( เว้นอิจฉาจาร )
๕. มีความมักน้อย-สันโดษประการหนึ่ง
๖. มิได้สะดุ้ง ตกใจกลัวแก่ภัยอันตราย ( หมดความกลัวเพราะไม่เยื่อใยในตน )
๗. มีความอดทน,อดกลั้นด้วยดี ว่าง่าย-สอนง่าย ไม่กระด้างกระเดื่อง
๘. อดทนต่อความยินร้าย-ยินดี – อดทนต่อกามคุณที่บังเกิดขึ้นได้ ( ข่มลงเสียได้ )

กาลเมื่อผู้ปฏิบัติเจริญแลกระทำกิจในภังคญาณโดยแก่กล้าแล้ว จิตของผู้นั้นจะก้าวขึ้นสู่
ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นลำดับต่อไป


ญาณที่ 6 เรียกว่า ภยญาณ จะเห็นรูปนามที่มันดับไปนั้นแต่เกิด ความรู้สึกขึ้นในใจว่าเป็นภัยเสียแล้ว เห็นว่ามันเป็นภัย ก่อนนั้นเคยหลงไหล แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภัย คือรูปนามที่ประกอบเป็นชีวิตเป็นอัตภาพเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งดูไปแล้วเป็นแต่รูปนาม มันจะเห็นว่าก็มันดับอยู่อย่างนี้ มันย่อยยับ ต่อหน้าต่อตา ไม่ว่าส่วนไหนมันก็ดับไปหมด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ดับไป ตัวที่รู้ดับไป ตัวผู้รู้ดับไป มันมีแต่ความดับไป ดับไป มันรู้สึกว่าเป็นภัย เป็นภัยเสียแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าอภิรมย์เสียแล้วในชีวิตนี้ เป็นภัย

ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นภาวะที่จิตกระทำซึ่งภังคญาณโดยแก่กล้าในวิปัสสนาแล้ว ภย คือความเห็นเป็นภัยใหญ่ เห็นว่าภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ แลอรูปภพ ที่รูปธรรมแลนามธรรมเข้าไปเป็นภาวะของภพนั้น ๆ คือการเข้าไปเกิดแลจุติในภพนั้น ๆ เป็นของน่ากลัว ประดุจหลุมถ่านเพลิง ย่อมที่จะหลีกหนีไม่พ้น แลจะต้องเป็นไปโดยเที่ยงแท้และแน่นอน ด้วยอำนาจกรรม-วิบาก-แลปฏิสนธิวิญญาณจิต ด้วยการเห็น อนิจจตา แลทุกขตา แลอนัตตา ในภพทั้งสาม แลเห็นความตายเป็นของแน่นอน ภาวะจิตของผู้ปฏิบัติจะปวัติไปสู่ความเห็นว่าเป็นภัย เป็นของน่ากลัว ดุจหลุมถ่านเพลิง หลุมหอก แหลน หลาว ฉะนั้น

ถามว่าจิตของผู้ปฏิวัติไปสู่ภยตูปัฏฐานญาณนี้กลัวตายหรือไม่ ขอวิสัชนาว่า ความกลัวตายนั้นถูกขจัดเป็นตทังคปหานในภังคญาณแล้ว แลไฉนเล่าจะเกิดในภยตูปัฏฐานญาณอีกเล่า มีแต่จะสดุ้ง-กลัวในภพทั้งสามเป็นแน่แท้ทีเดียว แลไคร่จะให้ผ่านพ้นไปจาการเวียนตาย-เวียนเกิดในภพทั้งสามนี้เสีย

เป็นอันเร่งด่วนแลต้องกระทำ แลไม่ยึดติดในอดีต-แลปัจจุบัน-แลอนาคต เพราะอนิจจตาก็ดี,ทุกขตาก็ดี,แลอนัตตาก็ดี ได้ปรากฏแจ้งแล้วในอดีต-อนาคต-แลปัจจุบันว่าไม่เป็นสิ่งที่แน่นอน ภาวะจิตย่อมไม่ยึดติดในภาวะทั้งสามด้วยประการฉะนี้

ตราบเมื่อผู้ปฏิบัติพึงเจริญแลอุตสาหะกระทำจิตให้กล้าหาญในสมถะแลภยตูปัฏฐาน ญาณแล้ว จิตของผู้นั้นจะปวัติตนาการก้าวขึ้นสู่ อาทีนวญาณ สืบต่อไป


ญาณที่ 7 อาทีนวญาณ ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ ในขณะที่เห็นรูปนามดับไป ดับไป เกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ นอกจากจะเห็นภัยแล้ว ยังรู้สึกว่าเป็นโทษอีก

เมื่อผู้ปฏิบัติประพฤติโดยมิย่อหย่อนแลมีความเพียรรีบเร่งอันมั่นคงแล้ว จิตแลสติ ปัญญา ญาณ จะไตร่ตรองทวนกลับเป็นอนุโลมแลปฏิโลมในภยตูปัฏฐานญาณ อย่างมั่นคงและกล้าหาญ จิตของผู้นั้นย่อมมองเห็นสังขารธรรมทั้งปวงอันมี มหาภูตรูป ๔, ขันธ์ ๕, อายตนะภายใน-ภายนอก ๑๒, แลภพ การเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศรก ความสะอื้น ความพิไรรำพันนั้นเปรียบเสมือนเงา หรืออสรพิษติดตามตัวอยู่ตลอด ย่อมมองเห็นแต่โทษในสังขตธรรม คือรูปแลนาม ฝ่ายเดียว มิเห็นประโยชน์แลสุขเลย แลเห็นแต่โทษที่เกิดขึ้นอันมีเพราะกรรม และวิปากธรรม อันเกิดจากการกระทำของตัวสัตว์เองทั้งสิ้น แลเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนที่ต้องทำให้เกิดทุกข์นี้ย่อมมีเหตุ-แลมีปัจจัยปรุงแต่งทั้ง สิ้น หามิได้เห็นสิ่งอื่นสิ่งใดเลยที่มิมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จิตของผู้นี้ย่อมปวัตติการขึ้นสู่ความเห็นอันเป็นโทษฝ่ายเดียว เหตุเพราะเห็นสังขตธรรมทั้งปวงเป็นภัยอันใหญ่หลวง

เมื่อเห็นภัยแลย่อมเห็นโทษในตัวของมันเองโดยอัตโนมัติวิธีมิมีผู้ใดผู้หนึ่ง ชักจูงให้เห็น จิตนี้ย่อมปวัตติเข้าสู่ อาทีนวญาณ โดยสมบูรณ์ แลจิตของผู้นั้นย่อมแล่นแลมุ่งหมายสู่แดนเกษมคือพระนิพพานฝ่ายเดียวมิแช เชือนไปทางอื่นแล้วโดยลักษณะที่เห็นด้วยวิปัสสนา เป็นอาทีนวานุปัสสนาญาณ

ฉะนั้นในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคท่านจึงกล่าวไว้ว่า ภยตูปัฏฐานญาณแลอาทีนวญาณเป็นญาณอันเดียวกัน เพียงต่างกันโดยพยัญชนะและอรรถนั้นเป็นอันเดียวกัน อันนี้ถูกเป็นแน่แท้มิแปรผันหรือคลาดเคลื่อนใดเลย

ผู้เห็นโทษในภพทั้ง ๓ แลทุกข์ในวัฏฏะวนทั้งปวงด้วยอาทีนวญาณนี้แล้วพึงเจริญแลพิจารณาให้มากให้ รอบคอบในญาณวิปัสสนา,และสมถวิธี พึงรักษาไว้ให้แม่นมั่น จากนั้นจิตจะปวัติขึ้นสู่ นิพพิทาญาณ เป็นอันดับต่อไป


ญาณที่ 8 คือ นิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี้จะรู้สึกเบื่อหน่าย ในเมื่อรูปนามเป็นภัยเป็นโทษมันก็รู้สึกเบื่อหน่ายไม่ได้ติดใจเลยในรูปนาม นี้ มันน่าเบื่อจริงๆ แต่ก็ไม่หนี ไม่ท้อถอย ก็ยังคงดูต่อไป แต่บางคนก็อาจจะเลิกรา เบื่อมากๆ เข้า เมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 9

ด้วยอาศัยการเห็นภัยในสังขารธรรมทั้งปวงด้วยภยตูปัฏฐานญาณ แลอาศัยการเห็นโทษแห่งภพทั้งสาม มีสุคติภพและนิรยภพด้วยอาทีนวญาณแล้ว จิตของผู้เจริญด้วยญาณทั้ง ๒ จักจำต้องเร่งเจริญสมถและเร่งเจริญวิปัสสนาทั้ง ๗ คือ
- อนิจจานุปัสสนา
- ทุกขานุปัสสนา
- อนัตตานุปัสสนา
- นิพพิทานุปัสสนา
- วิราคานุปัสสนา
- นิโรธานุปัสสนา
- ปฏินิสสัคคานุปัสสนา

ทั้ง ๗ ประการให้ครบแลโดยชำนิชำนาญ จิตก็จะเบื่อหน่ายในสังขาร หรือสังขตธรรมทั้งปวง อยากหลุดและอยากพ้นจากภพทั้งสามโดยเต็มกำลัง

จิตของผู้ปฏิบัติถึงขั้นนี้พึงเพ่งพิจารณาด้วยญาณแลเจริญวิปัสสนาให้มาก และพึงเจริญในสมาธิหรือสมถะภาวนาให้ปรากฏแจ้งชัด เพราะจะทำให้มองเห็นสังขารธรรมคือความเบื่อหน่ายได้เต็มกำลังและประกอบ สมบูรณ์ด้วยขันติ วิริยะ อย่างพอเพียงเพื่อทำให้นิพพิทาญาณแก่กล้ายิ่งขึ้นโดยลำดับแห่งสมาธิและ วิปัสสนา เมื่อเจริญสมาธิและวิปัสสนาโดยแก่กล้าในนิพพิทานุปัสสนาญาณแล้วจิตจะก้าว ขึ้นสู่ มุญจิตุกามยตาญาณ เป็นคำรบต่อไป


ญาณที่ 9 มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ มีความรู้สึกใคร่จะหนีให้พ้น เมื่อมันเบื่อแล้วก็ใคร่จะหนี มีความรู้สึกอยากจะหนีไป เหมือนบุคคลที่อยู่ในกองเพลิง มันก็อยากจะไปให้พ้นจากกองเพลิงเหล่านี้ จากนั้นเมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 10

เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญนิพพิทาญาณสืบต่อโดยเป็นสันตติมิให้คลาดเคลื่อนในอนุ ปัสสนาปัญญาญาณแล้ว ผู้นั้นย่อมที่ไคร่จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวงอย่างเต็มกำลัง และเห็นภัยและโทษ และความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมอย่างเต็มที่ จิตของโยคาวจรย่อมรู้ทางที่จะไปที่จะให้พ้นจากภพแลสัตตาวาส ๙ แลวิญญาณฐิติ ๗ แลวัฏฏะภพ แลเห็นทางมิใช่ทางโดยแท้ คือแดนเกษม คือพระนิพพานฝ่ายเดียว จิตของผู้นั้นจะมิได้ติดและมิได้เกี่ยวข้องกับสังขารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เลย แลพึงเจริญให้มาก ทำความเพียรในอิทธิบาททั้ง ๔ ประการนั้นให้ชำนิชำนาญจักผ่านพ้นจากญาณนี้และเข้าสู่ “ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ” สืบต่อไปเป็นลำดับ

สำหรับผู้เจริญถึงขั้นนี้แล้วพึงรู้ได้โดยสมมุติแลบัญญัติเท่านั้นหาไม่อย่า พึงยึดแลติดในสมมติและตัวบัญญัติในวิปัสสนานี้ ก็จะทำให้ญาณนี้แก่กล้าและไคร่จะพ้นจากสมมติและบัญญัตินี้เสียเต็มกำลัง

และจำเป็นต้องเจริญสมถะจิตให้มีความเข้มแข็งเต็มกำลังเพื่อเป็นตัวช่วยแล สนับสนุนจิตปัญญาให้เห็นแจ่มชัดกล้าแข็งยิ่งขึ้น แลจะกล่าวถึงปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับต่อไ


ญาณที่ 10 ปฏิสังขาญาณ ในปฏิสังขาญาณนี้มันจะหาทางว่าทำอย่างไร ถึงจะพ้นได้ ในเมื่อตอนแรกมันใคร่จะหนี พอถึงญาณอันนี้ก็หาทางที่จะหลุดพ้นให้ได้ เมื่อเพียรพยายามต่อไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 11

ก็แลเมื่อพระโยคาวจรเจริญมุญจิตุกัมยตาญาณโดยอนุปัสสนาทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ลำดับนั้นพึงยกเอาสังขารธรรมทั้งปวง มี รูปแลนาม มีธาตุ ๔, ขันธ์ ๕, อายตนะภายในภายนอกทั้งปวง เป็นต้นนั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณะญาณ โดยพิจารณารูป-นาม เป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจตา, พิจารณารูป-นามเป็นสภาวะที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ เป็นทุกขานุปัสสนา.แลยกยกรูปทั้งปวงเข้าสู่สภาวะเป็นอสุภะวิปัสสนา

โดยแยกกายออกเป็นชิ้นเป็นอันเป็นส่วน เป็นอาการสักแต่ว่ามันเข้ามาประชุมกันแลตกแต่งกันเข้าเป็นตัวตนแห่งเรา และเรานั้นจะบังคับมันมิให้แปรเปลี่ยนแลมิให้เจ็บ,มิให้ทุกข์แลมิให้มันดับ สลายได้ไม่ จักเข้าสู่อนัตตานุปัสสนาโดยประการทั้งปวง

ก็แลจิตที่เห็นกายและนามทั้งปวงนั้นสักแต่ว่ารูปและนามเท่านั้นมิใช่เป็น เรา,เขา, จิตย่อมลดและคลาย เป็นวิราคะธรรม คือไคร่ที่จะสลัดออกจากกายอันสกปรก,และนามอันเป็นเหตุให้ทุกข์นี้เสียโดย เร็วพลัน มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่แดนเกษม คือ พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น

ก็จิตของผู้ปฏิบัติเจริญถึงปฏิสังขานุปัสสนาญาณนี้แล้วนั้น ควรรักษาและเจริญสมถะวิธี แลพิจารณาตัวสมมติ,ตัวบัญญัติ โดยความเป็นจริงของธรรมชาติให้มาก แลยกเอาอริยมรรคมีองค์ ๘ ขึ้นมาเป็นทางเดินอย่างแม่นมั่น ซึ่งทางเดินอันนี้เป็นมรรคล้วน ๆ โดยอนุโลมแลปฏิโลม ด้วยประการต่าง ๆ จิตของผู้นั้นก็จะกล้าแข็งยิ่งขึ้น และจะผ่านพ้น ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับ แล้วเข้าสู่ สังขารุเปกขาญาณ เป็นลำดับต่อไป



ญาณที่ 11 สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูปนาม คือเมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเกิดเห็น ทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้สภาวะของจิตใจจะดิ้นรนไม่ต้องการ จะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติจริงๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้าแล้วไม่มีทางก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้นมันก็ ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจมันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 12

เมื่อผู้ปฏิบัติจำเริญวิปัสสนาในปฏิ สังขานุปัสสนาญาณสืบต่อมาโดยลำดับแล้ว จากนั้นพึงยกเอาสังขตธรรมทั้งปวงมีรูป-มีนาม มีธาตุ ๔ , ขันธ์ ๕ , และอายตนะภายในภายนอก ๑๒, นั้น ยกทวนเป็นอนุโลมแลปฏิโลมในความเป็นไปแห่งกฎของธรรมชาติคือ พระไตรลักษณะ เป็นอนิจจัง,เป็นทุกขัง,เป็นอนัตตา, แลเข้าหาเหตุและปัจจัยแห่งความเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,แลดับไป ของสังขตธรรมทั้งปวง ด้วยความเป็นไปแห่งอำนาจของปฎิจจสมุปบาทธรรม ด้วยว่าถ้ามีสิ่งนี้,สิ่งนี้เป็นปัจจัยย่อมทำให้เกิดมีสิ่งนี้,สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงดับ, ด้วยพิจารณาทวนรอบในปฎิจจสมุปบาท ไม่หยุดยั้งด้วยวิปัสสนาญาณทั้งปวงแล้ว, จิตของผู้ปฏิบัติเมื่อเห็นของจริงที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติแล้วจิตของผู้ นั้นย่อมวางเฉยต่อสังขตธรรมทั้งปวงและมิได้รักและมิได้ชังในสังขารธรรมทั้ง ปวงนั้นไม่แลไคร่จะพ้นจากเงื้อมมือของมัจจุราชแลภพทั้งสามอย่างเดียวเท่า นั้น
ด้วยว่าสังขารุเปกขาญาณนี้ย่อมเป็นญาณที่จำทำให้บุคคลนั้นก้าวขึ้นสู่แห่ง ความเป็นพระอริยบุคคล ๗ จำพวก ( โปรดดูในตำรา,และคัมภีร์เถิดมีพวกสัทธานุสารี เป็นเบื้องต้น ) จิตของผู้ปฏิบัติย่อมปฏิวัติเห็นความสุญเปล่าของสังขารธรรมทั้งปวงโดยเอนก ปริยาย มิได้ยึดและมิได้ตกแต่งด้วยประการใดเลย ลำดับนั้นวิโมกข์ ๓ ย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติตามลักษณะแห่งอนุปัสสนาที่ตัวเองพิจารณาและเจริญเป็น พื้นฐาน คือ
๑. ถ้าพิจารณาอนิจจตา โดยชำนิชำนาญแล้วย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ เพราะพิจารณาสังขารธรรมทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงด้วย “อนิจจานุปัสสนาญาณ”
๒. ถ้าพิจารณาทุกขตา โดยชำนิชำนาญแล้วย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์ เหตุเพราะพิจารณาสังขารธรรมทั้งปวงเป็น “ทุกขานุปัสสนาญาณ”
๓. ถ้าพิจารณาอนัตตา โดยชำนิชำนาญแล้วย่อมได้สูญญตวิโมกข์ เหตุเพราะพิจารณาสังขารธรรมทั้งปวงเป็น “อนัตตานุปัสสนาญาณ”

ด้วยวิโมกข์ ๓ เป็นไวพจน์แห่งพระนิพพานล้วน ๆ นั่นแสดงว่าจิตของผู้ปฏิบัติย่อมยึดหน่วงเอาแต่พระนิพพานเป็นอารมณ์ฝ่าย เดียวแลไม่ยึดภพทั้ง ๓, สัตตาวาส ๙,แลวิญญาณฐิติ ๗ เป็นอารมณ์เลย จำเพาะเอาแต่พระนิพพานเป็นอารมณ์ฝ่ายเดียว

ด้วยชนิดและวิโมกข์ ๓ ที่ภาวะจิตเข้าไปเห็นแลสัมผัสได้นี้จัดให้แยกประเภทและพระอริยบุคคลออกเป็นจำพวก ๆ ถึง ๗ จำพวกนั่นเอง

เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้แล้วพึงอย่าละอุตสาหะเร่งอุตสาหะเป็นทวีคูณพึงฉลาดใน วิปัสสนาวิธีและสมถะวิธีที่ตัวเองจำเพาะเจริญเถิด จิตของผู้ปฏิบัติจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติและเป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง คือเข้าสู่กระแสของพระนิพพานเป็นปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิปัสสนาญาณที่เจริญและแก่กล้าขึ้นตามลำลำดับ
ในลำดับนี้จิตของผู้ปฏิบัติจะไม่ยึดแลติดในสมมติแลบัญญัติและสมถะ,วิปัสสนา ด้วยประการทั้งปวง จิตมุ่งตรงสู่พระนิพพานฝ่ายเดียว เพราะสังขารุเปกขาญาณนี้เชื่อมต่อกับมรรคจิตคืออริยมรรคฝ่ายเดียวนั่นเอง. 


ญาณที่ 12 อนุโลมญาณ เป็นญาณที่เป็นไปตามอำนาจกำลังของอริยสัจจ์ที่จะสอดคล้องต่อไปในโลกุตตรญาณ จากนั้นก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 13 เรียกว่า โคตรภูญาณ

พึงเข้าใจเถิดว่าผู้ปฏิบัติเมื่อจิตปฏิวัตติกาลเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณแล้ว ลำดับนั้นพึงทบทวนญาณทั้งปวง ตั้งแต่อุทยัพพยญาณจนถึงสังขารุเปกขาญาณด้วยอนุปัสสนาวิธีตามหลัก
ปฏิจจสมุปบาท ให้ทวนไป ( อนุโลม )แลทวนกลับเป็น ( ปฏิโลม ) วิธีด้วยสติ,ปัญญา,สมาธิ,สัมปชัญญะวิธีโดยธรรมชาติ ด้วยความเป็นไปเองในตัวของมันเอง โดยธรรมวิธีของมัน จิตก็จะหน่วงพระนิพพานอย่างแนบแน่นและมิได้ปลดปล่อย แต่จะปลดปล่อยภพทั้ง ๓,ตัณหาทั้ง ๓,อุปาทานทั้ง ๔,ความรักความพอใจในขันธ์ ๕,แลอายตนะทั้งปวงจะดับเห็นเป็นวิปัสสนาวิธีเป็นเอกโดยอย่างเดียว

ลำดับนี้ญาณนี้ได้ชื่อว่า “อนุโลมญาณ” เพราะทวนกลับทวนเข้าในญาณทั้งปวง ได้ชื่อว่า“สัจจานุโลมมิกญาณ” เพราะเห็นสัจจะคืออริยสัจจะ ของจริงทั้งปวงแลมิได้ยึดในอริยสัจจะนั้นเป็นคำรบอีก ด้วยความเป็นไปแห่งญาณนี้ “โคตรภูญาณ” จะเกิดขึ้นมาขั้นชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
.

ญาณที่ 13 โคตรภูญาณ คือญาณที่มีหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชนก้าวสู่ความเป็นอริยะ ในขณะนั้นจะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนามไปรับนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ว่าโคตรภูญาณยังเป็นโลกิยะอยู่ ตัวมันเองเป็นโลกิยะ แต่มันไปมีอารมณ์เป็นนิพพาน แล้วจากนั้นก็จะเกิดมัคคญาณขึ้นมา

มื่ออนุโลมญาณดับแล้วเพียงขณะเดียวโคตรภูญาณจะบังเกิดขึ้นเพียงขณะชั่วก้าว ขาหรือชั่วสายฟ้าแลบ เพียงอุปมาเท่านี้ยังช้ากว่าโคตรภูญาณ, อันโคตรภูญาณนี้เป็นญาณขั้นระหว่างปุถุชนกับอริยชน เมื่อโคตรภูญาณดับแล้วจิตย่อมเป็นอริยมรรคจิต-อริยมรรคญาณโดยสมบูรณ์ มีโสดาปัตติมรรคจิต-โสดาปัตติมรรคญาณ เป็นต้นมีอรหัตมรรคจิต-อรหัตมรรคญาณเป็นปริโนสาน

ด้วยอำนาจแห่งมรรคจิตและมรรคญาณนั้นย่อมละแลประหารเสียซึ่งกิเลสและบาปธรรม แลสังสารวัฏทั้งปวงเป็นสมุทเฉทปหานด้วยอำนาจแห่งอริยมรรคจิตอริยมรรคญาณนั้น ๆ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เมื่อโสดาปัตติมรรคจิต-โสดาปัตติมรรคญาณดับแล้ว สภาวะจิตย่อมลุถึงโสดาปัตติผลทันที ด้วยมรรคแลผลมีนัยอันเดียวกัน ดุจหน้ามือกับหลังมือหรือดุจคมมีดแลสันมีด, ลำดับนั้นความฉลาดในวิธีมีปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้นย่อมบังเกิดในผลญาณอันนั้นตามแต่อำนาจแลวาสนาของตน ๆ ที่เคยสั่งสมและกระทำมาเป็นปุเรชาติรวมทั้งปัจจุบันชาติแลได้เป็นพระ อริยบุคคล ๗ จำพวกโดยสมบูรณ์แลแยกประเภทโดยธรรมชาติแห่งธรรมมิมีผู้ใดมาแยกให้และให้เป็น ไป และพึงรู้กิเลส,สังโยชน์,อนุสัย,และบาปธรรมที่ละได้และที่ยังคงเหลืออยู่ที่ จะต้องบำเพ็ญให้ยิ่งขึ้นไปที่ที่จะละบาปธรรมนั้น ๆ เสียเป็นปัตจัตตังในตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์ เป็นไปด้วยปัจจเวกขณญาณวิธีอันสมบูรณ์แลเป็นผู้สิ้นสังสารวัฏ,หรือยังต้อง ติดค้างอยู่ในภพนานเท่าใดนั้น จำเพาะรู้ได้เป็นปัจจเวกขณญาณวิธีนี้เอง

ลำดับนั้นพึงเจริญสังขาร-อินทรีย์ต่อไปอยู่ยับยั้งสังขารอินทรีย์เป็น วิหารธรรมเพื่อเมตตาสั่งสอนแลแนะนำสัตว์โลกให้สิ้นสังสารวัฏตามอำนาจวาสนา ของแต่ละบุคคล ๆ หรืออยู่เป็นไปด้วยธรรมดาสามัญ ตามอุปนิสัยแลวาสนาของตน ๆ นั้นเถิด จักไม่แสดงโดยพิสดารจักยุติไว้เพียงเท่านี้

พึงศึกษาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค,หรือพระวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์เจ้านั้นเถิดท่านแสดงไว้ดีแลบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงแล้ว
.

ญาณที่ 14 มัคคญาณ มัคคญาณนี้เป็นโลกุตตรญาณ จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส ทำหน้าที่รู้ทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ แจ้งนิโรธความดับทุกข์ เจริญตนเองเต็มที่ คือองค์มรรค 8 มีการประชุมพร้อมกัน ทำหน้าที่ละอนุสัยกิเลสแล้วก็ดับลง มีนิพพานเป็นอารมณ์

ญาณที่ 15 ผลญาณ ผลญาณเป็นโลกุตตรญาณ เกิดขึ้นมา 2 ขณะ เป็นผลของมัคคญาณ ทำหน้าที่รับนิพพานเป็นอารมณ์ 2 ขณะ แล้วก็ดับลง

ญาณที่ 16 ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณา มรรค ผล นิพพาน เป็นโลกิยญาณ ญาณพิจารณา เหมือนคนที่ผ่านเหตุการณ์อะไรมา ก็จะกลับพิจารณาสิ่งที่ผ่านมา แต่ญาณนี้ พิจารณามรรคที่ตนเองได้ พิจารณาผลที่ตนเองได้ พิจารณาพระนิพพาน และถ้าคนมีหลักปริยัติ ก็จะพิจารณากิเลสอันใดที่ละไปได้แล้ว กิเลส อันใดที่ยังเหลืออยู่ และถ้าคนไม่มีหลักปริยัติก็พิจารณาแค่ มรรค ผล นิพพาน ในระหว่างที่ญาณก้าวขึ้นสู่อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณนี้ ท่านก็อุปมาให้ฟังเหมือนกับบุคคลที่จะก้าวกระโดดข้ามฝั่ง

ฝั่งมันอยู่ไกลก็โหนเถาวัลย์ ก็ต้องอาศัยกำลังที่วิ่งมาอย่างแรง วิ่งมาด้วยความไว แล้วก็เหนี่ยวเอาเถาวัลย์โยนตัวขึ้นไป ในขณะที่โยนตัวขึ้นไปก็เหมือนเป็นอนุโลมญาณคล้อยไป พอข้ามไปถึงฝั่งหนึ่งก็ปล่อยเถาวัลย์นั้น ในขณะที่ปล่อยนั้นเหมือนกับโคตรภูญาณ คือปล่อยอารมณ์ที่เป็นโลกิยะได้แก่รูปนาม ไปรับนิพพานซึ่งเป็นโลกุตตระเป็นอารมณ์ แล้วก็ตกลงถึงพื้น ในขณะตกลงถึงพื้นเหมือนเป็นมัคคญาณ แล้วพอตั้งหลักได้ก็เป็นผลญาณเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็พิจารณา แต่ว่าในสภาวธรรมของโลกุตตระมันเป็นธรรมที่พ้นโลก

ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงแล้วก็ไม่สามารถนำมาแสดงให้แจ่มแจ้งได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน บุคคลอื่นที่ยังเข้าไม่ถึงจะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เพราะว่าความคิดความอ่านของปุถุชนก็จะมีความรู้สึกที่อยู่ในโลก เป็นไปในโลกนี้ มันจะมีขอบเขตของการนึกคิดความเข้าใจอยู่ในโลก ส่วนสภาพโลกุตตรธรรมที่พ้นโลกนั้น ปุถุชนจะคิดไปไม่ถึงเลย จะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ นี่ก็เป็นการแสดงลำดับความเป็นไปพอสังเขปของวิปัสสนาญาณ ที่ทำให้บรรลุความเป็นอริยบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 1 ก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบันกิเลสยังไม่หมด

แต่ว่าตัดออกไปได้บางส่วน แต่ส่วนไหนที่ตัดขาดไปแล้วจะไม่เกิดขึ้นในจิตใจอีกเลย เช่น ความสงสัยจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย ความโลภที่ประกอบไปด้วยความเห็นผิดหมดไปเลยจากจิตใจ จะมีเห็นอย่างถูกต้อง เข้าใจอย่างถูกต้อง แต่ว่าก็ยังมีความโลภบางอย่าง มีโทสะบางอย่าง แต่ว่าไม่รุนแรงถึงขนาดที่จะกระทำอกุศลกรรมชนิดที่จะนำไปสู่อบาย โสดาบันนี้ ศีล 5 จึงบริสุทธิ์ จะไม่ล่วงศีล 5 เป็นเด็ดขาด แต่ก็ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ แต่ว่าไม่มีความอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความตระหนี่ นี่เป็นลักษณะของโสดาบัน ก็เท่ากับทำลายภพชาติไปมากมาย

การที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปก็จะเกิดอย่างมาก 7 ชาติ ก็จะสำเร็จเป็นอรหันต์ ถึงแม้จะขาดความเพียร เกิดไปๆ 7 ชาติ ยังไงก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ปรินิพพาน ก็พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แต่ถ้าหากบุคคลได้เพียรพยายามต่อไป สามารถที่จะดำเนินผ่านญาณ 16 อีกรอบหนึ่งก็ลักษณะเดียวกัน ผ่านญาณ 16 รอบที่ 2 ก็เป็น สกทาคามิบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 3 ก็เป็น อนาคามิบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 4 ก็หมดสิ้นกิเลส เป็นพระอรหันต์ เป็นอเสขบุคคล ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป พ้นทุกข์

ฉะนั้น ในขั้นต้นนี้เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจให้ดี ส่วนบั้นปลายก็เป็นไปสอดคล้องของมันไปเอง ขอให้เราทำถูกในขั้นต้น คือมีสติกำหนดรู้รูปนามให้ตรงรูปนามที่เป็นปัจจุบัน เราจะเห็นว่าในญาณทุกญาณที่จะส่งไปถึงโลกุตตรญาณนั้น ตั้งแต่ญาณที่ 1 ไปจนถึงอนุโลมญาณ จะมีรูปนามเป็นอารมณ์ทั้งนั้นเลย มีรูปนามเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ ฉะนั้นรูปนามจึงเป็นทางเดินของวิปัสสนา วิปัสสนาจะต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้าขณะใดอารมณ์ตกไปจากรูปนามไปดูอย่างอื่น ก็แสดงว่าตกไปจากทางของวิปัสสนา เช่น ไปดูภาพนิมิต ไปอยู่กับความว่าง ไปติดอยู่กับความสงบ ไม่เห็นรูปนาม มันก็ไปได้แค่นั้น

ฉะนั้นจุดยืนของวิปัสสนาคือมีรูปนามเป็นอารมณ์ตลอดเวลา เราก็เพียรพยายามที่จะกำหนดรู้เท่าทันรูปนามที่เกิดขึ้นให้ได้ปัจจุบันๆ ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปตามลำดับ ฉะนั้นขั้นต้นเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม อะไรไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม คือ สมมุติบัญญัติ เพื่อกำหนด จะได้ปล่อยวางจากสมมุติบัญญัติคือชื่อต่างๆ ภาษา รูปร่าง ความหมาย ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติออกไป กำหนดให้ตรงปรมัตถ์ และให้ได้ปัจจุบัน และเข้าไปสู่ความปกติ ไม่บังคับ ไม่เคร่งเครียด มันก็จะเห็นธรรมะ เห็นความเป็นจริงของชีวิต

วิโมกข์ ๓

ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น

๑. สุญญตวิโมกข์ (ความหลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส )

๒. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต)

๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตา แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ )



วิญญาณฐิติ ๗
ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ

๑. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทพบางพวกบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า

๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน

๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ

๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ

๕. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ

๖. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ

๗. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ




การเปรียบเทียบลำดับญาณ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ

ปริยัติธรรม
(ขอ ใช้ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของพระเทพเวที (ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก) ประยุทธ์ ปยุตโต เป็นหลัก เนื่องจากท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตเอกทางปริยัติธรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งวงการศึกษายกย่องว่าเป็นเอกในยุครัตนโกสินทร์) ระบุว่านามรูปปริจเฉทญาณคือญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม และอะไรเป็นนามธรรม

ความรู้จากการปฏิบัติ
ผู้ แรกปฏิบัติจะต้องมีเครื่องระลึกของสติ ซึ่งจะเป็นรูปหรือนามก็ได้ เช่น กำหนดพองยุบ (รูป) กำหนดลมหายใจ (รูป) กำหนดอิริยาบถยืน-เดิน-นั่ง-นอน (รูป) กำหนดสุข-ทุกข์ (นาม) กำหนดกุศล-อกุศล (นาม) เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ได้ว่า รูปก็ดี นามก็ดีที่กำลังระลึกรู้ในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ ตัวจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก หากยังแยกจิตกับอารมณ์ปรมัตถ์ หรือผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ แต่เป็นเพียงการทำสมถะเท่านั้น
ผลอันเกิดจากการทำสมถะคือนิมิต เช่น เห็นตัวเองนั่งอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง มันเป็นนิมิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถรู้เห็นได้เพราะกำลังสมถะ ไม่ใช่เพราะอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วยอินทรีย์สังวร ศีล หรือด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเราแต่อย่างใด เพียงจิตสงบเล็กน้อยก็เห็นได้แล้ว แต่บางคนแม้จะสงบเท่าใดก็ไม่เห็น ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด


๒. ปัจจยปริคคหญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ กำหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปนามทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว ปฏิจจสมุปบาทก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี

ความรู้จากการปฏิบัติ
คือ ความหยั่งรู้ของจิตที่เห็นว่า เหตุปัจจัยของรูปนามคือวิญญาณ (ความรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างแจ้งชัดว่า "วิญญาณ ปัจจยา นามรูปัง" คือวิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป
กล่าวคือเมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะ โดยมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามก็ตาม เราจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า แท้จริงแล้วรูปนามปรากฏขึ้นได้เป็นคราวๆ ก็เพราะจิตส่งออกไปรู้มันเข้า โดยวิญญาณหยั่งเข้าที่รูป รูปก็ปรากฏ วิญญาณหยั่งเข้าที่นาม นามก็ปรากฏ หากวิญญาณไม่หยั่งลง สิ่งนั้นก็ไม่ปรากฏมาสู่ภูมิความรับรู้ของจิต เช่น ในขณะที่อ่านหนังสืออยู่นั้น เราเห็นตัวหนังสือ สลับกับการรู้ความหมายของมัน เพราะเรามีวิญญาณทางตาและวิญญาณทางใจ แต่ในขณะนั้นเราไม่ได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุ เพราะเราไม่มีวิญญาณทางหู เสียงจึงไม่ปรากฏทั้งๆ ที่มีเสียงอยู่ เราจะรู้ความจริงว่า รูปนามเป็นของแยกต่างหากจากจิตชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเห็นชัดว่า รูปนามปรากฏได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
นอกจากนี้ยังจะเห็นอีกว่า รูปเป็นปัจจัยของนามก็ได้ นามเป็นปัจจัยของรูปก็ได้ รูปนามต่างก็อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นคราวๆ ได้


๓. สัมมสนญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ กำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่ เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

ความรู้จากการปฏิบัติ
สัม มสนญาณ เป็นสภาวะต่อเนื่องจากปัจจยปริคคหญาณ คือเมื่อเราเห็นว่านามรูปมีวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัยให้มันปรากฏและนามรูปต่างก็เป็นปัจจัยแก่กันและกัน เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากขึ้น จิตจะเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยสัมมสนญาณว่า ทั้งรูปและนามล้วนแต่ปรากฏเป็นคราวๆ ถ้าจิตไม่ไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏนั้นมันตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ คือมันไม่เที่ยง (อนิจจัง) และเป็นของที่ทนอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ดับหรือเปลี่ยนสภาพไป (ทุกขัง) ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน และสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้นั้น เป็นของภายนอกที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา(อนัตตา) ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ไม่มีอาการของสมถะเข้ามาปะปนเลย


๔. อุทยัพพยญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ อันตามเห็นความเกิดและความดับ คือพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งหมด ในตำราอื่นๆ กล่าวถึงอุทยัพพยญาณว่ามี ๒ ระดับคือ
(๑) ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน และหากดำเนินผิดพลาดจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส และ
(๒) พลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณเห็นความเกิดดับที่มีความเข้มแข็ง พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส

ความรู้จากการปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติจะสอดคล้องกับปริยัติธรรม คือญาณนี้จำแนกเป็น ๒ ช่วงตอน ได้แก่
(๑) ตรุณอุทยัพพยญาณ ญาณช่วงนี้เป็นอุทยัพพยญาณขั้นเริ่มต้น ได้แก่ การมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว และมีสติระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์(ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ) เช่น รู้รูปนั่ง รูปเดิน รูปยุบ รูปพอง และรู้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามสัญญาอารมณ์ เช่น ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าอารมณ์ที่ถูกรู้ทั้งปวงนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ในขั้นนี้หากสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอ่อนลง จิตจะไหลตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่น กำลังเดินจงกรม จิตก็ไปอยู่ที่เท้า กำลังเคลื่อนไหวมือ จิตก็ไปอยู่ที่มือ กำลังระลึกรู้จิต จิตก็ไปเพ่งอยู่กับความนิ่งว่าง ฯลฯ สภาพนี้คือจิตพลิกจากการทำวิปัสสนาซึ่งต้องประกอบด้วยความรู้ตัวไม่หลงตาม อารมณ์ ไปเป็นสมถะคือการที่จิตหลงตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์อันเดียว ในขั้นนี้หากสิ่งใดปรากฏขึ้น เช่น เกิดแสงสว่าง เกิดปัญญาแตกฉาน เกิดญาณพิเศษต่างๆ เกิดการตั้งสติแข็งกล้าจนอึดอัด ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งที่เกิดนั้นเป็นของดีของวิเศษ เกิดมานะอัตตารุนแรงนั่นคือวิปัสสนูปกิเลส
(๒) พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่มีกำลังเข้มแข็ง คือแทนที่ผู้ปฏิบัติจะหลงดูแต่อารมณ์หยาบๆ เช่น รูปนั่ง รูปเดิน หรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังของสัมปชัญญะและสติปัญญามากขึ้น สามารถดูเข้าไปถึงปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ เช่น ในขณะที่เดินจงกรมเกิดความรู้สึกตัวเบา แทนที่สติจะรู้แค่ว่าเดินและตัวเบา สติกลับเห็นลึกซึ้งต่อไปว่า ในขณะนั้นจิตมีความเบิกบาน เพลิดเพลินยินดีมีราคะที่ตัวเบาสบาย และมีตัณหาอยากให้ตัวเบาอยู่อย่างนั้นนานๆ หรือรู้อารมณ์อยู่ จิตเกิดอึดอัด สติก็รู้ว่าจิตไม่ชอบใจหรือมีโทสะต่อความอึดอัด และจิตมีตัณหาคืออยากให้หายจากความอึดอัด หรือในขณะนั้นความจำ (สัญญา) เกี่ยวกับลูกเกิดขึ้น แล้วจิตคิดกลุ้มใจไปต่างๆ นานาๆ สติปัญญาก็กล้าแข็งพอที่จะเห็นว่า จิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวพัวพันเรื่องลูก จิตเป็นทุกข์ไม่สบาย เห็นโทสะที่เกิดขึ้น และเห็นความอยากจะให้ความทุกข์ดับไป หรือขณะนั้นนั่งดูจิตเห็นว่างๆ ประเดี๋ยวความคิดผุดขึ้นไม่ว่างเสียแล้ว เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เป็นบุญบ้าง เป็นกลางๆบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปไม่ขาดสาย นี่เป็นอุทยัพพยญาณที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกชั้นหนึ่ง คือเปลี่ยนจากการเห็นสิ่งที่มากระทบ เป็นการเห็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น และเป็นขั้นที่วิปัสสนูปกิเลสแผ้วพานไม่ได้ เพราะจิตฉลาดรู้เท่าทันกลมายาของกิเลส เนื่องจากอ่านจิตใจของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
.
๕. ภังคญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันตามเห็น ความสลาย คือเมื่อเห็นความเกิดดับแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อ เห็นอารมณ์เกิดดับบ่อยเข้า และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์บ่อยเข้า ผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็งจะพบว่า เมื่อจิตเกิดปฏิกิริยาใดๆ ต่ออารมณ์เพียงแวบเดียว พอรู้ทัน ปฏิกิริยานั้นก็จะดับไปทันที เช่น กำลังรู้ตัวอยู่ ได้ยินเสียงลูกร้องไห้เสียงดัง จิตมีปฏิกิริยาต่อเสียงคือเกิดความโกรธผ่านแวบเข้ามา สติรู้ทันความโกรธที่กำลังปรากฏ จิตไม่เผลอไปตามความโกรธ ความโกรธจะดับวับไปต่อหน้าต่อตาทันที แม้อารมณ์อื่นเกิดแล้วพอรู้ก็ดับเช่นกัน จิต จะกลับเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมคือเป็นกลางและรู้ตัว จะขาดความรู้ตัวไม่ได้เลย
สภาวะที่เห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ขาดหายไปต่อหน้าต่อตานั้นคือภังค ญาณ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น มันเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยภายนอก เช่น ลูกร้องไห้ เราก็ได้ยินเสียงร้องไห้ จะห้ามไม่ให้ได้ยินไม่ได้ สิ่งที่เราแก้ไขได้ก็คือ เมื่อเราได้ยินเสียงนั้นแล้ว หากจิตไม่เป็นกลาง เช่น เกิดโกรธหรือเกิดห่วงใย สติจะรู้ทันอย่างว่องไว แล้วปฏิกิริยาของจิต เช่น ความโกรธหรือความห่วงใยจะดับไป จิตกลับเข้าสู่ความเป็นกลางดังเดิม


๖. ภยญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ อันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือเมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
ผู้ ปฏิบัติจะพบว่า ไม่ว่าอารมณ์ชนิดใดเกิดขึ้น จะเป็นอารมณ์ภายนอก เช่น รูปและเสียง หรืออารมณ์ภายใน เช่น ความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่ว ความฟุ้งซ่านและความสงบ อันเป็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบก็ตาม ก็ล้วนแต่จะต้องดับไปทั้งสิ้น แม้กระทั่งอารมณ์ที่ละเอียดประณีต เช่น ฌานสมาบัติ แม้กระทั่งความว่างของจิต ก็ยังเป็นของไม่เที่ยง อันแสดงว่าภพชาติทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง พึ่งพาอาศัยถาวรไม่ได้ (ภพก็คือสภาพที่จิตเกาะเกี่ยวอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ถ้าเกาะอารมณ์ละเอียดก็เป็นภพละเอียด เช่น เทวดาและพรหม ถ้าเกาะภพหยาบก็เป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีความทุกข์ความเร่าร้อนมาก) ผู้ปฏิบัติไม่ได้เกิดความกลัวตายเพราะความรักตัวกลัวตาย แต่กลัวเกิดเพราะเห็นว่าไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็ต้องทนทุกข์เวียนว่ายไม่รู้จบ สิ้น


๗. อาทีนวญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ อันคำนึงเห็นโทษ คือเมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่องจะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

ความรู้จากการปฏิบัติ
เป็น ปัญญาของจิตที่เห็นว่าภพทั้งปวงเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ภพทั้งปวงล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ระคนอยู่เสมอ ไม่ว่าภพหยาบหรือละเอียด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกข์ สิ่งที่ดับไปก็คือทุกข์ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ มันเป็นปัญญาเห็นความจริงของภพทั้งปวง หรืออารมณ์ทั้งปวงนั่นเอง

๘. นิพพิทาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่ายคือเมื่อพิจารณาเห็นสังขาร(ความปรุงแต่งต่างๆ) ว่าเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่ายไม่เพลิดเพลินติดใจ

ความรู้จากการปฏิบัติ
นิพพิทาญาณ ไม่ใช่อารมณ์เบื่อแบบโลกๆ แต่มันเป็นสภาพที่จิตหมดความเพลิดเพลินมัวเมาในภพหรืออารมณ์ต่างๆ เพราะเห็นจริงแล้วว่าภพทั้งปวงเจือระคนด้วยทุกข์โทษ ในขณะที่คนทั่วไปเพลิดเพลินมัวเมาในภพ คือจิตมีเยื่อใยยึดเกาะรุนแรงในอารมณ์ทั้งปวงที่จรมา


๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย คือเมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้วย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
ญาณ นี้เป็นปัญญาที่เมื่อหมดความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆแล้ว จิตจะมีปฏิกิริยาอยากจะข้ามพ้นภพชาติทั้งปวง คืออยากพ้นจากอารมณ์อย่างสิ้นเชิง จิตจะมีความเพียรพยายามค้นคว้าพิจารณา เพื่อพ้นเด็ดขาดจากอารมณ์ แต่ก็สามารถพ้นได้ชั่วคราว พออารมณ์หนึ่งแก้ไขได้ ก็มีอารมณ์ใหม่มาให้พิจารณาแก้ไขอีก เป็นช่วงที่จิตหมุนตัวติ้วๆ เพื่อหาทางออกจากภพ


๑๐. ปฏิสังขาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ อันคำนึงพิจารณาหาทาง คือเมื่อต้องการพ้นไปเสีย จึงกลับมายกเอาสังขารทั้งหลายทั้งปวงขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อ จิตค้นคว้าพิจารณาที่จะออกจากภพหรือพ้นจากอารมณ์ปรุงแต่งด้วยอุบายต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถพ้นไปได้ จิตจะค่อยๆ สังเกตเห็นว่า เราไม่สามารถดับอารมณ์ทั้งปวงได้ ตราบใดที่มันมีเหตุ มันก็ต้องเกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ อารมณ์ทั้งปวงหมุนเวียนเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา นั่นคือการเริ่มเห็นว่า อารมณ์ต่างๆ ไม่เที่ยง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ซึ่งก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง


๑๑. สังขารุเบกขาญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณอัน เป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกาะเกี่ยวกับสังขารเสียได้

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อ จิตพิจารณาเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์ จิตจะรู้ความเกิดดับของอารมณ์ด้วยความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ แต่ในขั้นนี้คงเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์เท่านั้น แต่ตัวจิตเองยังรู้สึกเป็นตัวตนของตน ไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย
ญาณ นี้เป็นญาณที่สำคัญมาก หากจิตของผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะคือรู้ตัว มีสัมมาสมาธิคือเป็นกลางและตั้งมั่น ไม่เผลอเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏตามที่มันเป็นจริง จิตจะเห็นอารมณ์ทั้งปวงผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนนั่งอยู่บนฝั่งน้ำเห็นสิ่งของลอยตามน้ำมา เป็นของดีของสวย เช่น ดอกไม้บ้าง ของสกปรก เช่น สุนัขเน่าบ้าง แต่จิตก็เป็นกลางระหว่างทั้ง ๒ สิ่งนั้น ไม่ยินดีกับดอกไม้ ไม่ยินร้ายกับสุนัขเน่า จิตรู้ว่าดอกไม้ลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป สุนัขเน่าลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป ไม่มีความอยากเจือปนว่า อยากให้ดอกไม้ลอยมาอีก หรือไม่อยากให้ดอกไม้ลอยตามน้ำไป แม้ความไม่อยากให้สุนัขลอยมาอีก หรือลอยมาแล้วอยากให้รีบลอยพ้นๆ ไป ก็ไม่มีเช่นกัน
นี่คือสภาวะของการ เจริญมหาสติปัฏฐานที่แท้จริง มันเกิดขึ้นโดยไม่ต้องข่มบังคับจิตให้เป็นกลาง ญาณนี้เป็นทางแยก ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิจะก้าวล่วงเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนผู้ที่ปรารถนาสาวกภูมิ จิตจะดำเนินพัฒนาต่อไป


๑๒. อนุโลมญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณ อันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือการวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ความรู้จากการปฏิบัติ
อนุโลม ญาณนั้นเป็นสภาวะสืบต่อจากสังขารุเบกขาญาณ คือเมื่อจิตเป็นกลางรู้สังขารหรืออารมณ์ที่เกิดดับต่อเนื่องเฉพาะหน้าตาม ความเป็นจริงแล้ว จิตจะมาถึงอนุโลมญาณ โดย จิตจะรวมลงสู่ภวังค์ เมื่อจิตไหวตัวขึ้นรู้อารมณ์ทางใจแล้ว จะเกิดอนุโลมญาณสืบเนื่องกันเป็นช่วงสั้นๆ คือหมดความดิ้นรนที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเพื่อให้พ้นจากอารมณ์ทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดมันก็เกิด สิ่งใดจะดับมันก็ดับ ความอยากพ้นจากความเกิดดับไม่มีเลย มีแต่การอนุโลมยอมรับสภาพว่า สิ่งทั้งหลายเมื่อมีเหตุมันก็เกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ เป็นสภาพที่จิตคล้อยตามต่ออริยสัจจ์นั่นเอง จิตตรงนี้ขจัดโมหะได้ แต่ยังไม่เห็นพระนิพพาน


๑๓. โคตรภูญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคคล

ความรู้จากการปฏิบัติ
ถึงขั้นนี้คำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้
โคตรภู ญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อน คืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้ มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง จึงไม่ใช่โลกุตรญาณ แต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด เพียงแต่จิตจะดำเนินวิปัสสนาอยู่ในฌานเท่านั้น

๑๔. มัคคญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อ สติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้ ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้ บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน


๑๕. ผลญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อ มโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว ธรรมชาติอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง จิตในขณะนั้นมีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง


๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

ปริยัติธรรม
ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน

ความรู้จากการปฏิบัติ
ใน ขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความรู้ เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์ ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตหลุดพ้นได้ถาวร แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อย ๒-๓ ขณะก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป พระพุทธเจ้ามีจริง ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอก ลวงจิตเท่านั้น จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเอง

บทสรุปเกี่ยวกับโสฬสญาณ

โสฬสญาณเป็นพัฒนาการทางปัญญาของจิตที่เจริญสติและ สัมปชัญญะอย่างถูกต้อง มีความต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ โดยเริ่มตั้งแต่

- การรู้จักจำแนกรูปและนาม อันเป็นสิ่งที่ถูกรู้หรือเป็นอารมณ์เครื่องระลึกของสติออกจากจิตผู้รู้ (ญาณ ๑)

- รู้ว่ารูปหรือนามปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อจิตไปรู้มันเข้า (ญาณ ๒)

- รู้ว่ารูปนามทั้งปวงนั้นปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อถูกรู้ และรูปนามทั้งปวงนั้นล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ (ญาณ ๓)

- รู้ว่ารูปนาม และปฏิกิริยาของจิตต่อรูปนามที่จิตไปรู้เข้า ล้วนแต่เกิดดับต่อเนื่องกันไป (ญาณ ๔)

- ต่อมาพอจิตมีปฏิกิริยาใดๆ ต่อสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ถ้าสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ปฏิกิริยานั้นจะดับไปทันที (ญาณ ๕)

- ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า ภพชาติทั้งปวง อันหมายถึงการที่จิตเข้าไปอิงอาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น เป็นของไม่ปลอดภัย เนื่องจากอารมณ์ทั้งปวงล้วนแต่เกิดดับ (ญาณ ๖)

- ในระหว่างที่อิงอาศัยอารมณ์นั้น จิตไม่ได้มีความสุขจริง เพราะภพชาติทั้งปวงล้วนแต่มีทุกข์มีโทษในตัวของมันเอง (ญาณ ๗)

- จิตคลายความเพลิดเพลินพึงพอใจในภพชาติต่างๆ (ญาณ ๘)

- จิตพยายามดิ้นรนแสวงหาทางออกจากภพหรือการตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ต่างๆ (ญาณ ๙)

- จิตพบว่าหนีจากอารมณ์หรือภพไม่ได้ เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเรา จึงจำเป็นต้องอยู่กับมัน (ญาณ ๑๐)

- จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์ (ญาณ ๑๑)

- จิตปล่อยวางอะไรจะเกิดมันก็เกิด ไม่ได้ปรารถนาแม้กระทั่งมรรคผลนิพพาน (ญาณ ๑๒)

- เมื่อจิตหมดความอยาก (ไม่มีตัณหา - พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย แล้วนิโรธจะปรากฏเอง) จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวง ถอยเข้าหาจิตผู้รู้อย่างอัตโนมัติ (ญาณ ๑๓)

- สติ สมาธิ ปัญญา และธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวง รวมลงที่จิตดวงเดียวเป็นมรรคสมังคี กำลังของมรรคแหวกมโนวิญญาณซึ่งห่อหุ้มปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ออก (ญาณ ๑๔)

- ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ปรากฏตัวขึ้น เป็นความว่าง สว่าง บริสุทธิ์ จิตหมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาของจิต แต่ไม่ใช่หมดความรู้สึกอันเป็นการขาดสติสิ้นเชิง (ญาณ ๑๕)

- ต่อมาสัญญาเกิดขึ้น จิตจะรู้ว่า เมื่อครู่นั้นเกิดอะไรขึ้น รู้จักพระรัตนตรัยที่แท้จริง รู้แล้วว่าทางปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นแล้วต้องดับไปทั้งสิ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อยังอยู่กับโลกก็ต้องอยู่อย่างสร้างเหตุดี เพื่อเอาผลของกรรมดีเป็นที่อาศัยอันสบาย (ญาณ ๑๖)

ตลอด สายของโสฬสญาณ ไม่มีเรื่องของนิมิตแปลกปลอมใดๆ เลย แต่ผู้ใดเจริญสติและสัมปชัญญะไม่ถูกต้อง หลงทำสมถะอยู่แล้วคิดว่าเป็นวิปัสสนา จะหลงไปเอานิมิตมาอธิบายเป็นวิปัสสนาญาณ และเห็นญาณต่างๆ ขาดจากกันเป็นท่อนๆ ไม่เห็นความสืบต่อเป็นสายโซ่ของญาณทั้ง ๑๖ ขั้นตอน

ที่ เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่มุ่งโจมตีผู้อื่น แต่เพราะสงสารหมู่เพื่อนผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญผิดหลงทาง จึงเขียนเพื่อจะสะกิดใจให้คิดสักนิดว่า จะฝึกหัดปฏิบัติธรรมอย่าหลงเชื่ออาจารย์อย่างเดียว ให้รู้จักศึกษาไตร่ตรองให้รอบด้านและรอบคอบ สิ่งที่ผู้เขียนเขียนขึ้นนี้อาจจะไม่จริงหรืออาจจะจริงก็ได้ ไม่ได้ต้องการให้เชื่อ เพียงแต่อย่าหลงงมงายขาดเหตุผลเชื่ออาจารย์ไปข้างเดียว ถ้าผิดขึ้นมาจะเสียประโยชน์ของตนเอง ผู้เขียนไม่ได้เสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ใดๆ ด้วย


พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก
ทรงแสดงกาลามสูตรว่า อย่าเชื่อเพราะฟังตามกันมา
อย่าเชื่อเพราะถือสืบๆ กันมา อย่าเชื่อเพราะคำเล่าลือ
อย่าเชื่อเพราะอ้างคัมภีร์และตำรา
อย่าเชื่อเพราะการใช้ตรรก อย่าเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าเชื่อเพราะการคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีเดิม
อย่าเชื่อเพราะเห็นรูปลักษณะว่าน่าจะเป็นไปได้
และอย่าเชื่อเพราะเห็นว่าผู้สอนเป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใดรู้และเข้าใจด้วยตนเองจึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
ปัจจุบันมีสำนักสอนปฏิบัติเป็นจำนวนมาก
ยากที่ผู้เริ่มปฏิบัติจะจำแนกแยกแยะได้ว่า
คำสอนใดเป็นคำสอนที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนา
และคำสอนใดเป็นความคิดเห็นโดยอัตโนมัติของผู้เป็นอาจารย์

หนทางที่ดีที่สุดก็คือ
ผู้ปฏิบัติควรทำใจให้เป็นกลางต่อคำสอนทั้งปวง
เปิดใจให้กว้าง พยายามศึกษาเปรียบเทียบว่า
คำสอนนั้นตรงตามหลักตัดสินธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้หรือไม่
เช่นธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความหน่ายและความคลายกำหนัดหรือไม่
เป็นไปเพื่อพ้นจากความอยากหรือไม่
และเป็นไปเพื่อความสงบวิเวกหรือไม่ เป็นต้น
นอกจากนี้อาจศึกษาเปรียบเทียบกับหลักปริยัติธรรม
แล้วทดสอบด้วยการปฏิบัติจนเข้าใจความจริง
นั่นแหละจึงควรเชื่อถือว่าธรรมนั้นเป็นของจริง

มีหลักธรรมเรื่องหนึ่งคือเรื่องโสฬสญาณหรือวิปัสสนาญาณ
16 ขั้น ที่มีการนำมาสั่งสอนอย่างผิดพลาดในปัจจุบัน
ความจริงเรื่องญาณ 16 นี้
ไม่ใช่คำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้า
ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก
แต่เป็นเรื่องที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังแต่งขึ้น
ปรากฏในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์

อย่างไรก็ตาม การลำดับญาณมีความถูกต้อง สอดคล้อง
ลงกันได้กับการปฏิบัติธรรม
จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายที่เราจะศึกษากัน แต่จะไม่ศึกษาก็ได้
เพราะหากปฏิบัติธรรมถูกต้อง
จิตจะดำเนินไปตามลำดับญาณโดยอัตโนมัติ
การที่จิตดำเนินไปตามลำดับญาณนั้น
อย่าไปสำคัญผิดว่าจิตจะดำเนินเป็นขั้นๆเหมือนการเรียนหนังสือที่เลื่อนไปปีละชั้น
ในความเป็นจริงของการปฏิบัตินั้น
เมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะอย่างถูกต้อง คือมีสติ
ระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยความรู้ตัว
ไม่หลงส่งจิตไปตามอารมณ์นั้น
เมื่อจิตสะสมความรู้เพียงพอแล้ว จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ
อาจจะรวมเพียงขณะจิตเดียว
หรือรวมเป็นอัปปนาสมาธิก็ได้
พอจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้น
อาจเกิดรวดเดียวตลอดสายบรรลุมรรคผลเลยก็ได้
หรือเกิดแล้วไปหยุดอยู่ในลำดับญาณใดก็ได้
มากน้อยแล้วแต่กำลังปัญญาอันเกิดจากการเจริญสติสัมปชัญญะ

แต่ถ้าในระหว่างเจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น
จิตเกิดความอ่อนแอเฉื่อยชาลง มีโมหะเข้าแทรก
แทนที่จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ
จิตจะกลับพลิกไปสู่ฌานโดยไม่รู้ตัว
เป็นการตกภวังค์วูบวาบบ้าง โงกง่วงบ้าง ลืมตัวไปบ้าง
แล้วเกิดความรู้ความเห็นต่างๆ ไปตามอำนาจของกิเลส
เมื่อกลับรู้ตัวในภายหลัง
ก็สำคัญผิดว่าความรู้ความเห็นนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ
ทั้งที่เป็นความรู้ของกิเลสทั้งสิ้น

ผู้ที่ติดอยู่ตรงนี้จะเชื่อตัวเองอย่างงมงาย
อันเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสสนั่นเอง
ขอยกตัวอย่างคำสอนเรื่องโสฬสญาณ
ซึ่งมีผู้นำหลักปฏิบัติเข้ามาจากพม่า
และอาศัยการตีความพระอภิธรรมด้วยการตรึกตรองเทียบเคียงอาการของจิตที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ
แล้วบัญญัติเทียบเคียงเข้ากับลำดับญาณตามตำรา
นำออกสั่งสอนแพร่หลาย
เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติที่มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน
การชี้ประเด็นความผิดพลาดนี้ ไม่ได้มุ่งติเตียนตัวบุคคล
แต่เป็นการวิจารณ์เพื่อความสะกิดใจของผู้สนใจปฏิบัติ
โดยจะเทียบเคียงคำสอนที่ผิดพลาดนั้นกับหลักปริยัติธรรมและลำดับญาณที่พบเห็นมาจากการปฏิบัติจริง
ผู้อ่านไม่ควรเชื่อว่าการเทียบเคียงนี้ถูกหรือผิด
จนกว่าจะได้ปฏิบัติรู้เห็นด้วยตนเอง
จึงจะรู้ว่าคำสอนเรื่องโสฬสญาณที่แพร่หลายนั้นผิด
หรือคำวิจารณ์นี้ผิด
หากปักใจเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อนแล้ว
ย่อมไม่ใช่ชาวพุทธที่ดีจริง

การเปรียบเทียบลำดับญาณ

1. นามรูปปริจเฉทญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นว่าพองกับยุบเป็นคนละอัน บางคนมีนิมิตเห็นตัวเองอยู่ข้างหน้า
หรือข้างหลัง เป็นการเห็นด้วยอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วย
อินทรีย์สังวรศีล ด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเรา
ตัวที่เห็นอยู่ข้างหน้าข้างหลังนั้นคือรูปใจที่รู้ว่านั่นคือเราคือนาม

ปริยัติธรรม (ขอใช้พจนานุกรมพุทธศาสตร์ของพระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโต
เป็นหลัก เนื่องจากท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตเอกทางปริยัติธรรมในยุคปัจจุบัน
ซึ่งวงการศึกษายกย่องว่าเป็นเอกในยุครัตนโกสินทร์)
ระบุว่านามรูปปริจเฉทญาณคือญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป
คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม
และอะไรเป็นนามธรรม

ความรู้จากการปฏิบัติ ผู้แรกปฏิบัติจะต้องมีเครื่องระลึกของสติ
ซึ่งจะเป็นรูปหรือนามก็ได้ เช่นกำหนดยุบพอง(รูป) กำหนดลมหายใจ(รูป)
กำหนดอิริยาบถยืน-เดิน-นั่ง-นอน (รูป) กำหนดบริกรรมพุทโธ-สัมมาอรหัง(นาม)
หรือกำหนดควบรูปนามก็ได้ เช่นกำหนดยุบพองพร้อมทั้งบริกรรมหนอ เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ได้ว่า รูปก็ดี นามก็ดีที่กำลังกำหนดรู้ในปัจจุบันนั้น
เป็นเพียงอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ ตัวจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก หากยังแยกจิตกับอารมณ์
หรือผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ แต่เป็นเพียงการทำสมถะเท่านั้น
ผลอันเกิดจากการทำสมถะคือนิมิต เช่นเห็นตัวเองนั่งอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
มันเป็นนิมิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถรู้เห็นได้เพราะกำลังสมถะ
ไม่ใช่เพราะอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วยอินทรีย์สังวรศีล
หรือด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเราแต่อย่างใด เพียงจิตสงบเล็กน้อยก็เห็นได้แล้ว
แต่บางคนแม้จะสงบเท่าใดก็ไม่เห็น ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด

2. ปัจจยปริคคหญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ รู้ปัจจัยของรูปนาม พอมันสุดพองมันก็ต้องยุบ
พอมันสุดยุบมันก็ต้องพอง รู้เหตุปัจจัยของรูปนามว่า หน้าที่ของเขาทำงานตามหน้าที่
ตาก็เห็นหนอ หูก็ได้ยินหนอ ใจที่รู้รูปรู้เสียงเป็นนาม รู้ปัจจัยว่าเกิดดับ
รู้ว่าสังขารปรุงแต่งจิต ต่อมาจิตสงบมากขึ้น เริ่มเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
พองยุบจึงหายไปก็ให้กำหนดหายหนอ

ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม
คือรู้ว่ารูปนามทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน
โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี

ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้ว่าสุดยุบแล้วพอง สุดพองแล้วยุบ
ไม่ใช่การรู้ของปัจจยปริคคหญาณ แต่เป็นการรู้ว่ายุบก็ไม่เที่ยง พองก็ไม่เที่ยง
ส่วนที่ว่าต่อมาจิตเป็นสมาธิพองยุบก็หายไปให้มากำหนดว่าหายหนอนั้น
จิตจะเป็นสมาธิจริงหรือไม่ ยังไม่แน่ เพราะพองยุบอาจหายไปเพราะขาดสติก็ได้
ไม่ใช่หายเพราะสมาธิ
นอกจากนี้เรื่องของสมาธิกับเรื่องของวิปัสสนาญาณก็เป็นคนละส่วนไม่ควรนำมาอธิบายปะปนกัน
ปัจจยปริคคหญาณจริงๆ นั้น คือความหยั่งรู้ของจิตที่เห็นว่า
เหตุปัจจัยของรูปนามคือวิญญาณ (ความรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างแจ้งชัดว่า"วิญญาณ ปัจจยา นามรูปัง"
คือวิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป กล่าวคือเมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะ
โดยมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามก็ตาม เราจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า
แท้จริงแล้วรูปนามปรากฏขึ้นได้เป็นคราวๆ ก็เพราะจิตส่งออกไปรู้มันเข้า
โดยวิญญาณหยั่งเข้าที่รูป รูปก็ปรากฏ วิญญาณหยั่งเข้าที่นาม นามก็ปรากฏ
หากวิญญาณไม่หยั่งลง สิ่งนั้นก็ไม่ปรากฏมาสู่ภูมิความรับรู้ของจิต
เช่นในขณะที่อ่านหนังสืออยู่นั้น เราเห็นตัวหนังสือ สลับกับการรู้ความหมายของมัน
เพราะเรามีวิญญาณทางตาและวิญญาณทางใจ
แต่ในขณะนั้นเราไม่ได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุ เพราะเราไม่มีวิญญาณทางหู
เสียงจึงไม่ปรากฏทั้งๆ ที่มีเสียงอยู่ เราจะรู้ความจริงว่า
รูปนามเป็นของแยกต่างหากจากจิตชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเห็นชัดว่า
รูปนามปรากฏได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย

3. สัมมสนญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ สำนึกรู้บาปบุญคุณโทษ จิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม
เสียงอ่อนโยนกว่าเดิม และนึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วต่อด้วยปิติทั้ง 5
เช่นขนลุก ตัวโยก ตัวเบา ฯลฯ

ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์
คือยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
ไม่ใช่ตัวตน

ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้สำนึกบาปบุญคุณโทษเป็นสิ่งที่ดี
แต่ไม่ใช่เรื่องของวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นเรื่องที่มุ่งเรียนรู้ธรรมชาติทั้งปวงตามความเป็นจริง
ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ตามธรรมดาคนที่จิตสงบลง
บรรดาจิตใต้สำนึกหรือวิบากกรรมที่เก็บไว้ในภวังคจิตมักจะโผล่ขึ้นมา
เช่นเคยจับลิงกดน้ำก็จะระลึกได้ถึงบาปที่ทำ เคยเลวร้ายต่อพ่อแม่ก็จะระลึกได้
ที่ว่าจิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนนั้น เป็นอาการของจิตที่ติดอารมณ์สงบทั้งสิ้น
บรรดาท่านไม่ได้ติดในอารมณ์สมถะ ท่านเคยพูดอย่างไรท่านก็พูดอย่างนั้น
เพียงแต่จิตของท่านประกอบด้วยเมตตา ไม่มีอาการเสียงอ่อนเสียงนิ่มเป็นคราวๆ
แต่อย่างใด และยิ่งสอนว่าเกิดปิตินั้น ยิ่งเป็นการฟ้องให้เห็นว่าสิ่งที่เข้าใจว่าทำญาณนั้น
จริงๆ คือการทำสมถะเท่านั้นเอง สัมมสนญาณ
เป็นสภาวะต่อเนื่องจากปัจจยปริคคหญาณ คือเมื่อเราเห็นว่านามรูปมีวิญญาณ
(ความรับรู้) เป็นปัจจัยให้มันปรากฏ เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากขึ้น
จิตจะเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยสัมมสนญาณว่า
ทั้งรูปและนามล้วนแต่ปรากฏเป็นคราวๆ ถ้าจิตไม่ไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ปรากฏ
และสิ่งที่ปรากฏนั้นมันตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ คือมันไม่เที่ยง (อนิจจัง)
และเป็นของที่ทนอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ดับหรือเปลี่ยนสภาพไป (ทุกขัง)
ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน และสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้นั้น เป็นของภายนอกที่ถูกรู้
ไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา(อนัตตา) ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ
ไม่มีอาการของสมถะเข้ามาปะปนเลย

4. อุทยัพพยญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นการเกิดดับของรูปนาม เช่นกำหนดยุบหนอพองหนออยู่
จิตสงบเงียบ งีบผงะไปข้างหลัง ใช่แล้วได้ญาณที่ 4
หรือเดินจงกรมอยู่มีอาการเหมือนตกวูบ อันนี้ชื่อว่าเห็นการเกิดดับของรูปนามแล้ว

ปริยัติธรรม ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ
คือพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ จนเห็นชัดว่า
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งหมด ในตำราอื่นๆ
กล่าวถึงอุทยัพพยญาณว่ามี 2 ระดับคือ (1) ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน
และหากดำเนินผิดพลาดจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส และ (2) พลวอุทยัพพยญาณ
เป็นญาณเห็นความเกิดดับที่มีความเข้มแข็ง พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส

ความรู้จากการปฏิบัติ อาการผงะ หรือตกวูบ เป็นอาการของจิตที่ขาดสติอย่างหนึ่ง
หรือเป็นอาการที่จิตรวมเพราะอำนาจสมถะแต่ขาดความชำนาญอีกอย่างหนึ่ง
ไม่ใช่มีปัญญา แต่มันเกิดจากการที่สติอ่อนเกินไป
ในทางปฏิบัติจะสอดคล้องกับปริยัติธรรม คือญาณนี้จำแนกเป็น 2 ช่วงตอน ได้แก่

ตรุณอุทยัพพยญาณ ญาณช่วงนี้เป็นอุทยัพพยญาณขั้นเริ่มต้น
ได้แก่การมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว และมีสติระลึกรู้อารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส
สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์(ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ) เช่นรู้รูปนั่ง รูปเดิน รูปยุบ
รูปพอง รู้ความคิด รู้บริกรรมพุทโธ รู้บริกรรมสัมมาอรหัง รู้บริกรรมหนอ
และรู้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามสัญญาอารมณ์ เช่นรู้ว่ากำลังคิดถึงบ้าน และคิดถึงลูก
เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าอารมณ์ที่ถูกรู้ทั้งปวงนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ
ในขั้นนี้หากสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอ่อนลง
จิตจะไหลตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่นกำลังเดินจงกรม จิตก็ไปอยู่ที่เท้า
กำลังเคลื่อนไหวมือ จิตก็ไปอยู่ที่มือ กำลังบริกรรมพุทโธหรือบริกรรมหนอ
จิตก็ไปอยู่กับพุทโธหรือหนอ
สภาพนี้คือจิตพลิกจากการทำวิปัสสนาซึ่งต้องประกอบด้วยความรู้ตัวไม่หลงตามอารมณ์
ไปเป็นสมถะคือการที่จิตหลงตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์อันเดียว
ในขั้นนี้หากสิ่งใดปรากฏขึ้น เช่นเกิดแสงสว่าง เกิดปัญญาแตกฉาน เกิดญาณพิเศษต่างๆ
เกิดการตั้งสติแข็งกล้าจนอึดอัด ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญมั่นหมายว่า
สิ่งที่เกิดนั้นเป็นของดีของวิเศษ เกิดมานะอัตตารุนแรงนั่นคือวิปัสสนูปกิเลส

พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่มีกำลังเข้มแข็ง
คือแทนที่ผู้ปฏิบัติจะหลงดูแต่อารมณ์หยาบๆ เช่นรูปนั่ง รูปเดิน หรือคำบริกรรม
หรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังของสัมปชัญญะและสติปัญญามากขึ้น
สามารถดูเข้าไปถึงปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ
เช่นในขณะที่เดินจงกรมเกิดความรู้สึกตัวเบา แทนที่สติจะรู้แค่ว่าเดินและตัวเบา
สติกลับเห็นลึกซึ้งต่อไปว่า ในขณะนั้นจิตมีความเบิกบาน
เพลิดเพลินยินดีมีราคะที่ตัวเบาสบาย และมีตัณหาอยากให้ตัวเบาอยู่อย่างนั้นนานๆ
หรือบริกรรมหนออยู่ จิตเกิดอึดอัด สติก็รู้ว่าจิตไม่ชอบใจหรือมีโทสะต่อความอึดอัด
และจิตมีตัณหาคืออยากให้หายจากความอึดอัด หรือในขณะนั้นความจำ (สัญญา)
เกี่ยวกับลูกเกิดขึ้น แล้วจิตคิดกลุ้มใจไปต่างๆ นานาๆ สติปัญญาก็กล้าแข็งพอที่จะเห็นว่า
จิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวพัวพันเรื่องลูก จิตเป็นทุกข์ไม่สบาย เห็นโทสะที่เกิดขึ้น
และเห็นความอยากจะให้ความทุกข์ดับไป หรือขณะนั้นนั่งดูจิตเห็นว่างๆ
ประเดี๋ยวความคิดผุดขึ้นไม่ว่างเสียแล้ว เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์
และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
เป็นบุญบ้าง เป็นกลางๆบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปไม่ขาดสาย
นี่เป็นอุทยัพพยญาณที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกชั้นหนึ่ง
คือเปลี่ยนจากการเห็นสิ่งที่มากระทบ เป็นการเห็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น
และเป็นขั้นที่วิปัสสนูปกิเลสแผ้วพานไม่ได้ เพราะจิตฉลาดรู้เท่าทันกลมายาของกิเลส
เนื่องจากอ่านจิตใจของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

5. ภังคญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นความเกิดดับถี่เข้า บางทีก็วืบบ่อย
บางทีได้ยินยังไม่ทันจะหนอก็วืบที่หู บางทียก(มือ)ยังไม่ทันจะหนอก็แวบที่มือ
คือการขาดความรู้สึกขณะหนึ่ง บางทีร่างกายหายไปเป็นท่อนๆ เดี๋ยวมือหาย
เดี๋ยวแขนหาย เดี๋ยวก็หายหมดทั้งตัว

ปริยัติธรรม ญาณอันตามเห็นความสลาย คือเมื่อเห็นความเกิดดับแล้ว
คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น
ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด

ความรู้จากการปฏิบัติ อาการวืบก็ดี กายหายไปทั้งหมดหรือบางส่วนก็ดี
เป็นอาการของสมถะ ยิ่งยอมรับว่าเป็นการขาดความรู้สึกชั่วขณะ
ยิ่งเป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับการเจริญสติและสัมปชัญญะซึ่งหมายถึงความรู้ตัวไม่เผลอ
เมื่อเห็นอารมณ์เกิดดับบ่อยเข้า และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์บ่อยเข้า
ผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็งจะพบว่า เมื่อจิตเกิดปฏิกิริยาใดๆ
ต่ออารมณ์เพียงแวบเดียว พอรู้ทัน ปฏิกิริยานั้นก็จะดับไปทันที เช่นกำลังรู้ตัวอยู่
ได้ยินเสียงลูกร้องไห้เสียงดัง จิตมีปฏิกิริยาต่อเสียงคือเกิดความโกรธผ่านแวบเข้ามา
สติรู้ทันความโกรธที่กำลังปรากฏ จิตไม่เผลอไปตามความโกรธ
ความโกรธจะดับวับไปต่อหน้าต่อตาทันที แม้อารมณ์อื่นเกิดแล้วพอรู้ก็ดับเช่นกัน จิต
จะกลับเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมคือเป็นกลางและรู้ตัว จะขาดความรู้ตัวไม่ได้เลย

สภาวะที่เห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ขาดหายไปต่อหน้าต่อตานั้นคือภังคญาณ
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น
มันเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยภายนอก เช่นลูกร้องไห้ เราก็ได้ยินเสียงร้องไห้
จะห้ามไม่ให้ได้ยินไม่ได้ สิ่งที่เราแก้ไขได้ก็คือ เมื่อเราได้ยินเสียงนั้นแล้ว
หากจิตไม่เป็นกลาง เช่นเกิดโกรธหรือเกิดห่วงใย สติจะรู้ทันอย่างว่องไว
แล้วปฏิกิริยาของจิตเช่นความโกรธหรือความห่วงใยจะดับไป
จิตกลับเข้าสู่ความเป็นกลางดังเดิม

6. ภยญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ แปลว่ากลัวภัยในวัฏสงสาร โยคีจะเกิดความหวาดกลัว
กลัวอะไรบอกไม่ถูก บางทีเหมือนคนมานั่งแอบข้าง จะลืมตาก็ไม่กล้าลืม
อยากลืมก็อยากลืม หวาดๆ ว่าผีหลอก บางทีคนมาเดินตามหลังเหลียวไปก็ไม่มี
บางทีกลัวผี มันปรุงแต่งจิตให้กลัวเองโดยอำนาจของญาณ บางทีนิมิตเห็นคนแก่ คนเจ็บ
คนตาย เห็นเด็ก บางทีเอ๊กซเรย์ตัวเองเห็นโครงกระดูก น่ากลัวเหลือเกิน
บางทีนิมิตให้เกิดปัญญา เช่นนิมิตอสุภะตัวขึ้นอืด ตัวบวม นิ้วมือเน่า
ลืมตาขึ้นดูไม่มีอะไร

ปริยัติธรรม ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
คือเมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งนั้นแล้ว
สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว
เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

ความรู้จากการปฏิบัติ ที่เกิดความกลัวต่างๆ
นั้นเพราะจิตไปหลงตามอารมณ์ปรุงแต่งของจิตที่รักตัวกลัวตายด้วยความยึดมั่นถือมั่น
แล้วไม่มีปัญญารู้เท่าทันจิตตนเอง อย่าว่าแต่ผู้ปฏิบัติจะกลัวเป็นเลย
แม้แต่มดหรือยุงมันก็กลัวเป็น ทั้งที่ไม่มีญาณทัศนะใดๆ
ส่วนการเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ล้วนแต่เป็นนิมิต
อันเป็นเครื่องแสดงว่าที่ปฏิบัติอยู่นั้นคือสมถะทั้งสิ้น ในความเป็นจริงแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะพบว่า ไม่ว่าอารมณ์ชนิดใดเกิดขึ้น จะเป็นอารมณ์ภายนอกเช่นรูปและเสียง
หรืออารมณ์ภายในเช่นความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่ว
ความฟุ้งซ่านและความสงบ อันเป็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบก็ตาม
ก็ล้วนแต่จะต้องดับไปทั้งสิ้น แม้กระทั่งอารมณ์ที่ละเอียดประณีต เช่นฌานสมาบัติ
แม้กระทั่งความว่างของจิต ก็ยังเป็นของไม่เที่ยง
อันแสดงว่าภพชาติทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง พึ่งพาอาศัยถาวรไม่ได้
(ภพก็คือจิตที่เกาะเกี่ยวอารมณ์อันใดอันหนึ่ง
ถ้าเกาะอารมณ์ละเอียดก็เป็นภพละเอียดเช่นเทวดาและพรหม
ถ้าเกาะภพหยาบก็เป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีความทุกข์ความเร่าร้อนมาก)
ผู้ปฏิบัติไม่ได้เกิดความกลัวตายเพราะความรักตัวกลัวตาย
แต่กลัวเกิดเพราะเห็นว่าไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็ต้องทนทุกข์เวียนว่ายไม่รู้จบสิ้น

7. อาทีนวญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม ญาณที่ 6, 7, 8 และ 9 เหมือนกัน
เป็นอันเดียวกันโดยจะมีอาการหวาดๆกลัวๆ ญาณที่ 7 ไม่เคยเจ็บก็เจ็บ ไม่เคยปวดก็ปวด
ทุกข์ทรมานมาก เพราะโรคภัยไข้เจ็บเริ่มถูกทำลายจึงออกอาการ
เป็นการใช้หนี้ตามกฏแห่งกรรม

ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงเห็นโทษ
คือเมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป
เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ
เป็นสิ่งที่มีความบกพร่องจะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

ความรู้จากการปฏิบัติ ญาณเหล่านี้ไม่ใช่ญาณขี้กลัว และไม่ใช่ญาณใช้หนี้กรรม
เพราะกรรมนั้นแม้ไม่มีญาณก็ต้องใช้หนี้อยู่แล้วตามธรรมดา
แต่เป็นปัญญาของจิตที่เห็นว่าภพทั้งปวงเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้
ภพทั้งปวงล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ระคนอยู่เสมอ ไม่ว่าภพหยาบหรือละเอียด
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกข์ สิ่งที่ดับไปก็คือทุกข์ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ
มันเป็นปัญญาเห็นความจริงของภพทั้งปวง หรืออารมณ์ทั้งปวงนั่นเอง

8. นิพพิทาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้จะเกิดอาการเบื่อเอามากๆ อยากกลับบ้านไม่อยากภาวนาต่อไป

ปริยัติธรรม
ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่ายคือเมื่อพิจารณาเห็นสังขาร(ความปรุงแต่งต่างๆ)
ว่าเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่ายไม่เพลิดเพลินติดใจ

ความรู้จากการปฏิบัติ ความเบื่อหรืออยากกลับบ้านเป็นอารมณ์ธรรมดาไม่ใช่ญาณใดๆ
ทั้งสิ้นเพราะจิตติดอยู่ในกามสุข เมื่อจากบ้านมาปฏิบัติ
และต้องปฏิบัติอย่างเหน็ดเหนื่อยก็อยากกลับบ้านเป็นธรรมดา
แม้แต่นกกาหากินเหนื่อยอ่อนแล้ว ก็ยังอยากกลับรัง ทั้งที่มันไม่เคยมีญาณทัศนะใดๆ
เลยนิพพิทาญาณไม่ใช่อารมณ์เบื่อแบบโลกๆ
แต่มันเป็นสภาพที่จิตหมดความเพลิดเพลินมัวเมาในภพหรืออารมณ์ต่างๆ
เพราะเห็นจริงแล้วว่าภพทั้งปวงเจือระคนด้วยทุกข์โทษ
ในขณะที่คนทั่วไปเพลิดเพลินมัวเมาในภพ
คือจิตมีเยื่อใยยึดเกาะรุนแรงในอารมณ์ทั้งปวงที่จรมา

9. มุญจิตุกัมยตาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เป็นญาณอยากหนี อยากหลุด อยากพ้น
จะมีความรู้สึกอึดอัดหรือแน่น บางทีก็มีแมลงหรือมดตัวโตๆมาไต่มาเกาะ ญาณที่ 2 - 3
จะเป็นแมลงตัวเล็ก พอถึงญาณที่ 9 ตัวโตแล้ว เช่นรู้สึกว่ามดง่ามหรือผึ้งเข้าไปในผ้าซิ่น
กำลังนอนมืดๆ รู้สึกว่าแมลงสาปวิ่งเข้ามาไต่

ปริยัติธรรม
 
ญาณอันคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสียคือเมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย
แล้วย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ ความอึดอัดแน่นเกิดจากการที่ไปพยายามบังคับจิต
ส่วนความรู้สึกว่าสัตว์มาไต่ตอมเป็นอาการของนิมิตเช่นกัน รวมความแล้วจนถึงญาณที่ 9
ก็ยังเป็นเรื่องของนิมิตอยู่นั่นเอง เพราะสิ่งที่ปฏิบัติบังคับจิตใจตนเองนั้น
คือการทำสมถะเบื้องต้นทั้งนั้น
ที่จริงญาณนี้เป็นปัญญาที่เมื่อหมดความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆแล้ว
จิตจะมีปฏิกิริยาอยากจะข้ามพ้นภพชาติทั้งปวง คืออยากพ้นจากอารมณ์อย่างสิ้นเชิง
จิตจะมีความเพียรพยายามค้นคว้าพิจารณา เพื่อพ้นเด็ดขาดจากอารมณ์
แต่ก็สามารถพ้นได้ชั่วคราว พออารมณ์หนึ่งแก้ไขได้
ก็มีอารมณ์ใหม่มาให้พิจารณาแก้ไขอีก เป็นช่วงที่จิตหมุนตัวติ้วๆ เพื่อหาทางออกจากภพ

10. ปฏิสังขาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้มีความเข้มแข็ง ขยัน อดทน ตายเป็นตาย
สู้ยิบตาเลยตั้งใจนั่งสมาธิ เดินจงกรม ความปิติต่างๆก็แก่กล้าขึ้น เดินเป็นชั่วโมงๆ
ตัวก็เบา ญาณนี้จะรู้สึกเสียดายเวลาว่า น่าจะพบทางปฏิบัติตั้งนานแล้ว
มีความเข้มแข็งสุขกายสุขใจ กายไม่เจ็บปวด จิตไม่เศร้าหมอง

ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทางคือเมื่อต้องการพ้นไปเสีย
จึงกลับมายกเอาสังขารทั้งหลายทั้งปวงขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์
เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

ความรู้จากการปฏิบัติ การที่จิตเข้มแข็งเดินจงกรมได้นานตัวเบา ก็เพราะปิติ
อันเป็นผลของสมถะอีกเช่นกัน ในความเป็นจริง
เมื่อจิตค้นคว้าพิจารณาที่จะออกจากภพหรือพ้นจากอารมณ์ปรุงแต่งด้วยอุบายต่างๆ
มากมาย แต่ไม่สามารถพ้นไปได้ จิตจะค่อยๆ สังเกตเห็นว่า
เราไม่สามารถดับอารมณ์ทั้งปวงได้ ตราบใดที่มันมีเหตุ มันก็ต้องเกิด
เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ อารมณ์ทั้งปวงหมุนเวียนเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา นั่นคือการเริ่มเห็นว่า อารมณ์ต่างๆ ไม่เที่ยง
เป็นของทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชา
ซึ่งก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง

11. สังขารุเบกขาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้มีอะไรมากระทบพอเห็นหนอก็ดับ
กระทบแล้วดับทันทีเป็นกิริยาของพระอรหันต์ วางเฉยต่อรูปนาม
คนหนึ่งตาเหล่และหูหนวก ก็หาย
ปัญญาอ่อนก็หายสามารถแต่งกลอนสดุดีแม่อย่างไพเราะ

ปริยัติธรรม ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารต่อไป
ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง
ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้
ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท
ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกาะเกี่ยวกับสังขารเสียได้

ความรู้จากการปฏิบัติ เรื่องหายหูหนวก ตาเหล่ หรือปัญญาอ่อนนั้น
ก็พอเป็นได้ด้วยอำนาจของบุญที่อุตส่าห์ทำสมถภาวนา
แต่ไม่ใช่เรื่องของสังขารุเบกขาญาณแต่อย่างใด
เมื่อจิตพิจารณาเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์
จิตจะรู้ความเกิดดับของอารมณ์ด้วยความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย สติ สมาธิ ปัญญา
ก็จะเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ แต่ในขั้นนี้คงเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์เท่านั้น
แต่ตัวจิตเองยังรู้สึกเป็นตัวตนของตน ไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย
ญาณนี้เป็นญาณที่สำคัญมาก หากจิตของผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะคือรู้ตัว
เป็นกลางและไม่เผลอเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลัง
ปรากฏ ตามที่มันเป็นจริง จิตจะเห็นอารมณ์ทั้งปวงผ่านมาแล้วผ่านไป
เหมือนนั่งอยู่บนฝั่งน้ำเห็นสิ่งของลอยตามน้ำมา เป็นของดีของสวยเช่นดอกไม้บ้าง
ของสกปรกเช่นสุนัขเน่าบ้าง แต่จิตก็เป็นกลางระหว่างทั้ง 2 สิ่งนั้น ไม่ยินดีกับดอกไม้
ไม่ยินร้ายกับสุนัขเน่า จิตรู้ว่าดอกไม้ลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป
สุนัขเน่าลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป ไม่มีความอยากเจือปนว่า อยากให้ดอกไม้ลอยมาอีก
หรือไม่อยากให้ดอกไม้ลอยตามน้ำไป แม้ความไม่อยากให้สุนัขลอยมาอีก
หรือลอยมาแล้วอยากให้รีบลอยพ้นๆ ไป ก็ไม่มีเช่นกัน
นี่คือสภาวะของการเจริญมหาสติปัฏฐานที่แท้จริง
มันเกิดขึ้นโดยไม่ต้องข่มบังคับจิตให้เป็นกลาง ญาณนี้เป็นทางแยก
ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิจะก้าวล่วงเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ส่วนผู้ที่ปรารถนาสาวกภูมิ
จิตจะดำเนินพัฒนาต่อไป

12. อนุโลมญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อนุโลมญาณมีมาแล้วตั้งแต่ญาณที่ 3 อย่างแก่ เป็นญาณพี่เลี้ยงมาเรื่อย
คอยปลอบใจสอนใจให้อดทนต่อสู้กับความยากลำบากในการปฏิบัติ
จะตั้งอกตั้งใจเรียกรวมพลคือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เรียกว่ามรรคสมังคีอยู่ตรงนี้

ปริยัติธรรม ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
คือการวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นตรงไปสู่นิพพานแล้ว
ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์
ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ความรู้จากการปฏิบัติ
การปลุกปลอบใจหรือสอนใจตนเองเป็นความคิดหรือสังขารฝ่ายดีเท่านั้น
ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับอนุโลมญาณ และมรรคสมังคีก็ไม่ได้เกิดที่ตรงนี้
อนุโลมญาณนั้นเป็นสภาวะสืบต่อจากสังขารุเบกขาญาณ
คือเมื่อจิตเป็นกลางรู้สังขารหรืออารมณ์ที่เกิดดับต่อเนื่องเฉพาะหน้าตามความเป็นจริงแล้ว
จิตจะมาถึงอนุโลมญาณ
คือหมดความดิ้นรนที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเพื่อให้พ้นจากอารมณ์ทั้งปวง
สิ่งใดจะเกิดมันก็เกิด สิ่งใดจะดับมันก็ดับ ความอยากพ้นจากความเกิดดับไม่มีเลย
มีแต่การอนุโลมยอมรับสภาพว่า สิ่งทั้งหลายเมื่อมีเหตุมันก็เกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ

13. โคตรภูญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ หากบารมีแก่กล้าก็วืบเดียวอนุโลมญาณ แล้วโคตรภูญาณมัคคญาณ
ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เกิดสืบต่อกัน

ปริยัติธรรม
ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคคล

ความรู้จากการปฏิบัติ ถึงขั้นนี้ทั้งคำสอนที่เผยแพร่กัน
และคำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว
จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้ แล้วเอาคำว่าวืบมาใช้
ความจริงไม่มีคำว่าวืบ หรือวูบ เพราะขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด
โคตรภูญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า
ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อนคืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้
มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ
และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง
จึงไม่ใช่โลกุตรญาณแต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ในช่วงที่จิตถอยออกจากอารมณ์นั้น
เป็นการรวมของจิตคล้ายกับอัปปนาสมาธินั่นเอง แต่อาจเป็นการผ่านฌานที่ 1
แล้วเข้าถึงจิตผู้รู้เลย หรือผ่านฌานที่ 2 - 8 แล้วจึงเข้าถึงจิตผู้รู้ก็ได้
แล้วแต่กำลังฌานของแต่ละบุคคล (จุดที่ต่างจากอัปปนาสมาธิคือ
มันไม่ได้ถอยมาหยุดเฉยอยู่กับจิตผู้รู้อย่างกับอารมณ์ฌาน
หากแต่เป็นการถอยเข้ามารวมกำลังของกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้เข้าไว้ด้วยกันที่จิตผู้รู้
เพื่อแหวกมโนวิญญาณที่ปกคลุมธาตุรู้อันบริสุทธิ์ให้แตกกระจายออกไปในขั้นของมัคคญาณ)

14. มัคคญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว

ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อสติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้
ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ
ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม
ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว
ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก
ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา
สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้
บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน

15. ผลญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว

ปริยัติธรรม ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ

ความรู้จากการปฏิบัติ เมื่อมโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว
ธาตุรู้อันบริสุทธิ์หรือจิตอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น
ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง
มีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง

16. ปัจจเวกขณญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ บางคนอ่อนก็พูดไม่เป็น บางคนญาณแก่ก็พูดได้ประกาศร้อง
ตะโกนว่าเรารู้แล้ว มรรคนี้ถูกต้องแล้ว พิจารณากิเลสที่ละได้ และกิเลสที่ยังเหลืออยู่

ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่
ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน

ความรู้จากการปฏิบัติ ในขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความ รู้
เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์
ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตจริงแท้หลุดพ้นได้ถาวร
แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อยก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก
เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อพระพุทธเจ้ามีจริง
ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง
ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง
จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา
ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอกลวงจิตเท่านั้น
จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก
กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด
กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเอง

ความเข้าใจผิดที่ต่อเนื่องจากเรื่องโสฬสญาณ

ในสำนักที่เผยแพร่คำสอนเกี่ยวกับญาณ 16
ที่ว่าผิดเพี้ยนนั้น
มีความสำคัญผิดอย่างร้ายแรงว่านิพพานเป็นสภาพที่หมดความรู้สึก
ผู้ปฏิบัติจะนั่งตัวแข็งไปชั่วขณะแม้หลังบรรลุมรรคผลแล้ว
ต่อมาเมื่อเข้าผลสมาบัติ
ซึ่งเป็นการระลึกรู้อารมณ์นิพพานก็จะมีอาการดังนี้
"เมื่อเข้าสมาบัติ ตัวแข็งแจ้งชัด
ประสาทหยุดงานหมดความรู้สึก คิดนึกทุกสถาน
อารมณ์นิพพาน บรมสุขสันต์"
 แท้จริงสภาวะที่ปราศจากความรู้สึกนึกคิดนั้น
เป็นสภาวะของอสัญญีพรหม หรือพรหมลูกฟัก
คือมีแต่รูปกายนั่งตัวแข็งเป็นก้อนหินอยู่
ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวข้องกับการสำเร็จมรรคผลนิพพานแต่ประการใดเลย

บทสรุปเกี่ยวกับโสฬสญาณ

โสฬสญาณเป็นพัฒนาการทางปัญญาของจิตที่เจริญสติและสัมปชัญญะอย่างถูกต้อง
มีความต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
โดยเริ่มตั้งแต่การรู้จักจำแนกรูปและนาม
อันเป็นสิ่งที่ถูกรู้หรือเป็นอารมณ์เครื่องระลึกของสติออกจากจิตผู้รู้ (ญาณ 1)
รู้ว่ารูปหรือนามปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อจิตไปรู้มันเข้า (ญาณ 2)
รู้ว่ารูปนามทั้งปวงนั้นปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อถูกรู้
และรูปนามทั้งปวงนั้นล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ (ญาณ 3)
รู้ว่ารูปนาม และปฏิกิริยาของจิตต่อรูปนามที่จิตไปรู้เข้า
ล้วนแต่เกิดดับต่อเนื่องกันไป (ญาณ 4)
ต่อมาพอจิตมีปฏิกิริยาใดๆ ต่อสิ่งที่จิตไปรู้เข้า
ถ้าสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ปฏิกิริยานั้นจะดับไปทันที (ญาณ 5)
ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า ภพชาติทั้งปวง
           อันหมายถึงการที่จิตเข้าไปอิงอาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น เป็นของไม่ปลอดภัย
เนื่องจากอารมณ์ทั้งปวงล้วนแต่เกิดดับ (ญาณ 6)
ในระหว่างที่อิงอาศัยอารมณ์นั้น จิตไม่ได้มีความสุขจริง
เพราะภพชาติทั้งปวงล้วนแต่มีทุกข์มีโทษในตัวของมันเอง (ญาณ 7)
จิตคลายความเพลิดเพลินพึงพอใจในภพชาติต่างๆ (ญาณ
จิตพยายามดิ้นรนแสวงหาทางออกจากภพ
หรือการตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ต่างๆ (ญาณ 9)
จิตพบว่าหนีจากอารมณ์หรือภพไม่ได้  เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเรา
จึงจำเป็นต้องอยู่กับมัน (ญาณ 10)
จิตเป็นกลางต่ออารมณ์
เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้
ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น
จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์ (ญาณ 11)
จิตปล่อยวางอะไรจะเกิดมันก็เกิด
ไม่ได้ปรารถนาแม้กระทั่งมรรคผลนิพพาน (ญาณ 12)
เมื่อจิตหมดความอยาก
(ไม่มีตัณหา -  พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย
แล้วนิโรธจะปรากฏเอง)
จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวง ถอยเข้าหาจิตผู้รู้อย่างอัตโนมัติ (ญาณ 13)
สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา และธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวง
รวมลงที่จิตดวงเดียวเป็นมรรคสมังคี
กำลังของมรรคแหวกมโนวิญญาณซึ่งห่อหุ้มปิดบังธาตุรู้ออก (ญาณ 14)
ธาตุรู้ปรากฏตัวขึ้น เป็นความว่าง สว่าง  บริสุทธิ์
หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาของจิต
แต่ไม่ใช่หมดความรู้สึกอันเป็นการขาดสติสิ้นเชิง (ญาณ 15)
ต่อมาสัญญาเกิดขึ้น จิตจะรู้ว่า เมื่อครู่นั้นเกิดอะไรขึ้น
รู้จักพระรัตนตรัยที่แท้จริง
รู้แล้วว่าทางปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นแล้วต้องดับไปทั้งสิ้น  เป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อยังอยู่กับโลกก็ต้องอยู่อย่างสร้างเหตุดี
เพื่อเอาผลของกรรมดีเป็นที่อาศัยอันสบาย (ญาณ 16)

ตลอดสายของโสฬสญาณ
ไม่มีเรื่องของนิมิตแปลกปลอมใดๆ เลย

แต่ผู้ใดเจริญสติและสัมปชัญญะไม่ถูกต้อง
หลงทำสมถะอยู่แล้วคิดว่าเป็นวิปัสสนา
จะหลงไปเอานิมิตมาอธิบายเป็นวิปัสสนาญาณ
และเห็นญาณต่างๆ ขาดจากกันเป็นท่อนๆ
ไม่เห็นความสืบต่อเป็นสายโซ่ของญาณทั้ง 16 ขั้นตอน

ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่มุ่งโจมตีผู้อื่น
แต่เพราะสงสารหมู่เพื่อนผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญผิดหลงทาง
จึงเขียนเพื่อจะสะกิดใจให้คิดสักนิดว่า
จะฝึกหัดปฏิบัติธรรมอย่าหลงเชื่ออาจารย์อย่างเดียว
ให้รู้จักศึกษาไตรตรองให้รอบด้านและรอบคอบ
สิ่งที่ผู้เขียนเขียนขึ้นนี้อาจจะไม่จริงหรืออาจจะจริงก็ได้
ไม่ได้ต้องการให้เชื่อ
เพียงแต่อย่าหลงงมงายขาดเหตุผลเชื่ออาจารย์ไปข้างเดียว
ถ้าผิดขึ้นมาจะเสียประโยชน์ของตนเอง
ผู้เขียนไม่ได้เสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ใดๆ ด้วย

 
Heute waren schon 42 Besucher (44 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden