กรรมวิบากเป็น "
อจินไตย" ไม่สำเร็จด้วยกาีรคิด แต่รู้ได้ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า"
ฌานสมาบัติ" แล้วเกิด "
อภิญญา"
ด้านการระเบิดจิตนั้น ถ้าทำได้เองหรือใครทำให้ได้ รับรองว่าคนที่โดนระเบิดจิต ไม่มีสิทธิ์มีชีวิตได้ จิตก็รวมไม่ได้ ความหมายคือวิญญาณแตกสลาย จะรวมตัวได้ก็อย่างน้อย ๑ พุทธกัปล์ แล้วเริ่มใช้กรรมใหม่ต่อไป คนที่ทำเช่นนั้นกับในได้ต้องศึกษาทางอวิชชา ถึงขั้นสมาบัติ ๕-๘ แล้วล่ะ
อนึ่งคนที่สามารถล่วงรู้อดีตชาติ รู้กรรมเก่าตนเองนั้น มี ๒ ประการ คือ ๑ ล่วงรู้เองโดยบังเอิญด้วยทุนกรรมดีที่ฝากธนาคารไว้เสริมส่ง ๒ ล่วงรูปด้วยตนเองสามารถฝึกจิตสมาธิถึงขั้นเข้าสมาบัติได้ดีระดับสูงแล้ว หรือบรรลุโสดาปฏิบัติแล้ว
การแก้กรรมนั้นแก้ไขไม่ได้เพราะว่ายังไม่มีใครที่ย้อนอดีตชาติไปแก้ไขตนเอง ได้เลย แม้นแต่พระโพธิสัตว์ หรือพระอรหันต์ มีแต่การใช้กรรมที่กระทำไว้ ซึ่งการใช้กรรมมี ๒ แบบคือ ๑ ใช้กรรมเต็ม คือไปเสวยกรรมที่ตนกระทำไม่ดีไปรับกรรมนั้นก่อน และเสวยกรรมดี หรือเสวยกรรมดีก่อนแล้วค่อยไปเสวยกรรมไม่ดี ตามอายุกรรมของตน ๒ การใช้กรรมแบบทอนกรรม คือใช้กรรมที่ไม่ดีในขณะมีชีวิตอยู่ในส่วนหนึ่งก่อน หรือใช้กรรมดีบางส่วนในขณะมีชีวิตอยู่ บางคนแย้งว่า ไม่น่าใช่... อธิบายเพิ่มว่าได้แน่นอน มีวิธีทอนกรรม แล้วแต่ใครจะมีโอกาสได้รับการชี้แนะให้ทอนกรรมเหล่านั้น เหมือนการรับโทษประหาร ได้รับอภัยโทษเหลือตลอดชีวิต ต่อมาเรื่อยกลับอยู่ในคุกประมาณ ๑๐ ปีก็พ้นโทษ นั่นคือการทอนกรรมที่ให้เห็นเป็นตัวอย่างในโลกปัจจุบัน และในโลกซ้อนโลกนั้น คือกรรมที่จะเสวยในภพหน้า ก็ทอนได้ แต่ต้องมีวิธีกรรมที่ถูกต้อง นั่นหมายถึงเจ้ากรรมนายเวรของตนยินดีละกรรมให้ทอนกรรมได้ เปรียบง่ายๆ ความผิดอย่างไรก็ต้องผิดเสมอ แต่จะรับโทษสถานหนักตามเหตุของโทษเลยหรือมีเหตุลดหย่อน..ฉันใดก็ฉันนั้น ...
คนเราเกิดมามีกรรมกำหนด เพราะเราได้ทำกรรมกับใครก็ต้องชดใช้กรรมกับเขาผู้นั้น จะหนักหรือเบาอยู่ที่เหตุของกรรมประการแรก และประการต่อมานั้น เจ้าของกรรมนั้นอภัยทาน(อโหสิ) ให้จึงมีเหตุลดหย่อนกรรม จึงเป็นเหตุใด้คนเราบางครั้งก็ทำดี แต่ไม่ได้รับผลดีตอบแทน แต่คนทำไม่ดี แต่เจริญก็มี เพราะว่าช่วงนั้นเขาเสวยกรรมหนึ่งอยู่ต่างหาก และคนหลายคนมีเหตุรับกรรมมาเรื่อยๆ จนแทบจะทนไม่ได้ ทั้งๆที่ทำดียังไม่ได้รับผลดี...เพราะไม่ได้รับการแนะนำให้ทอนกรรมที่ถูก วิธีต่างหาก...ตัวอย่างมีมาสมัยพุทธกาล ยกตัวอย่างให้ ๒ ชื่อนะครับ พระโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มาก ทำไมจึงปล่อยให้โจรทำร้ายจนกระดูกหักทั่วร่างกาย ก่อนที่ตนเองจะนิพาน องคุลีมาล ฆ่าคนมามากมาย ทำไมสำเร็จอรหันต์ในชาตินั้น... ตรองด้วยเหตุและผลนะครับ...เพราะศาสนาพุทธให้พิจารณาด้วยเหตุและผล รวมทั้งการเอากรรมเป็นที่ตั้ง
การหมดเคราะห์กรรมในศาสนาพุทธ คือการนิพาน ดังนั้นจงตั้งมั่นฝากธนาคารความดีสะสมไว้ดีกว่า ถ้ากรรมหนักอยู่ อยากใช้กรรมนานๆ ด้วยการทอนกรรม ก็ลองค้นหาคำตอบดูนะครับ.. ถ้าอยากใช้เวรกรรมแบบรวดเดียว ก็ควรสร้างกรรมดีให้มาก เมื่อพ้นกรรมไม่ดีแล้วจะได้เสวยกรรมดี สุดท้ายจะได้เข้าสู่ขั้นพ้นกรรม....
ไม่มีใครที่จะหนีรอด ทำได้เพียงผ่อนหนักให้เป็นเบา ก็เหมือนมีหนี้ก็ต้องชดใช้แต่ถ้ายอมรับสารภาพไม่หนีก็ได้รับการลดหย่อนผ่อน เบาได้ แต่ในขณะเดียวกัน การเร่งทำบุญให้มากขึ้นเรื่อยๆก็จะเป็นการผ่อนให้ร้ายทุเลาลงได้มาก..
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากหมั่นสร้างบุญกุศลมากๆจนผลบุญทั้งเก่าและใหม่รวมกันแล้วมากกว่า-แรงกว่าผลกรรมเก่า ก็จะทำให้กรรมเก่าตามไม่ทัน
กรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ไม่ว่ากระทำเมื่อไหร่เวลาไหนก็เป็นกรรมถ้าเป็นอกุศลจิต หรือมิจฉาทิฐฐิ กรรมเป็นเครื่องกำหนด กรรมเป็นเผ่าพันธ์ คิดเป็นชู้กับเขา วินาทีแรกที่คิดก็เป็นกรรมแล้ว วิบากก็คือเส้นทางของกรรม ที่เป็นจริง การหลุดพ้นวิบากนี้ได้ต้องอาศัยการปฎิบัติเท่านั้น...การปฎิบัติเป็นไปเพื่อ ให้ถึงทางหลุดพ้น...นิพพาน.....ความว่างเปล่า
กรรม และวิบากกรรม(ผลของกรรม) มีจริง โดยแยกกรรมและวิบากกรรมเป็นฝ่ายบุญ กับฝ่ายบาป
การเชื่อในเรื่องนี้ถือเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม ที่จุดเริ่มต้นของ "
สัมมาทิฏฐิ"
หนีกรรมกับพ้นกรรม?
หนีกรรม ก็คือ หากอยากอยู่เย็นเป็นสุข ก็คือหนีกรรมชั่ว-บาป ที่เคยทำไว้ทั้งหมด ด้วยการทำดี-บุญ ให้มากๆ(ครุกรรมฝ่ายกุศล สูงสุดคือ การฝึกจิตให้เกิดสมาธิกระทั่งได้ฌานสมาบัติ ส่วนบุญแบบอื่นๆก็ทำให้มากเข้าไว้)
ทำดี-บุญแล้วดีอย่างไร
บุญ-บาป ให้ผลตามลำดับความหนักเบา เช่น บุญหนัก ก็ให้ผลก่อนบุญเล็ก
เป็นต้น ที่นี้ หากเราทำบุญหนักๆไว้มากๆ บุญเหล่านี้ก็รอคิวให้ผล(รอเข้าพบเรา)
ที่นี้ เกิดผิดพลาดทำผิดบาปเล็กๆน้อยๆ พวกนี้จะเข้าพบเราก็ไม่ได้ เพราะมีเด็กเส้นใหญ่ฝ่ายบุญรอเข้าพบเราอยู่เพียบไง แม้บาปอื่นๆก็เช่นกัน(หากไม่ใช่อนันตริยกรรม) หากเป็นบาปธรรมดา ก็จะเข้าพบเราไม่ได้ เพราะมีบุญเส้นใหญ่รอคิวเข้าพบเราอยู่ ก็เป็นอันว่า ชีวิตนี้ พบแต่เรื่องดีๆ เพื่อนดีๆ สำเร็จสมหวัง ประสบแต่ความสุขความเจริญ ใครๆก็อิจฉา อิอิ
(จะเรียกว่าเรือของเราเป็นเรือ-บุญ-เดินสมุทร ก็บรรทุกภาระได้มาก โดยไม่จม แต่หากเป็นเรือแจว ปูน-บาป-สิบกระสอบ ก็จมแล้ว ฯลฯ นี่คือเหตุผลว่าทำบาปเท่ากัน แต่ให้ผลต่างกัน หรือทำบุญเท่ากันแต่ได้รับผลต่างกัน)
หลุดพ้น? ก็ในระหว่างที่บุญให้ผลอยู่ เราก็รีบใช้ัต้นทุนให้เป็นประโยชน์ ศึกษาปฏิบัติธรรม ไตรสิกขา คือ เสาหลักของชีวิต หากหลุดพ้นก็พ้นบ่วงกรรมได้ในที่สุด(ก็เหมือนว่า เราพ้นสนามโน้มถ่วงโลกแล้ว ก็พ้นแล้วจากแรงโน้มถว่งโลก)
แต่หากไม่สำเร็จในภพนี้ ก็ติดตัวไป ให้ผลในทางที่ดี เกิดสัมมาทิฐฏิได้เองในทุกภพชาติที่ไปเกิด
ก็พยายามอธิบายนะเผื่อว่าจะได้บุญบ้าง(บุญสำเร็จด้วยการสนทนาธรรม)
การประพฤติปฏิบัติตนของคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องเป็นคนทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนา มาก่อนจะคิดมีลูก ลูกดีก็จะมาเกิดกับพ่อแม่ดี (บางกรณีอาจจะมีบ้างที่พ่อแม่ดีๆ ต้องมาเจอลูกไม่ดี เพราะมีกรรมต่อกันมา ซึ่งเรื่องของกรรมซึ่งมีความซับซ้อนเกินกว่าที่คนทั่วไปจะอธิบายได้) และการทำทาน รักษาศีล และปฏิบัติวิปัสสนา ไม่ใช่ว่าจะทำตอนที่จะมีลูก ของแบบนี้ต้องสะสม เริ่มทำเสียตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูก ก็มีผลดีต่อชีวิตของเราเองทั้งนั้นนะคะ
นอกเหนือจากเรื่องกรรม แล้ว เรื่องการเลี้ยงดูก็สำคัญมากค่ะ ถ้าเราเลี้ยงเขาให้เป็นคนดี รู้จักการสละออกด้วยการทาน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วยการรักษาศีล ส่งเสริมให้รู้จักการปฏิบัติภาวนา ก็จะเป็นการเติมกรรมใหม่ที่ดี ที่สร้างความสว่างให้กับชีวิตของลูก ก็นับเป็นทางดีที่สุดในการสร้างกรรมดีใหม่ๆ ให้สู้กับกรรมเก่าที่แต่ละคนต่างมีมากันคนละมากๆ ได้
เวร นั้นทำแล้วต้องผูกอาฆาตพยาบาท จองล้างจองผลาญซึ่งกันและกัน
เราทำให้คนนี้แหละเช่นว่า นาย ก. ทำนาย ข. นาย ก. นั้นผูกพยาบาทอาฆาตไว้ว่า เจ็บใจแสนที่สุดให้นาย ข. จึงฆ่านาย ข. หรือตีนาย ข. หรือทำให้เจ็บช้ำน้ำใจด้วยประการต่างๆ สมปรารถนาของตน แม้จะฆ่าให้ตายแล้วยังอยากจะฆ่าอีกให้ตายไม่รู้แล้วรู้รอดกันสักที อันนั้นแหละเวร
คราวนี้นาย ข. เป็นคนผูกอาฆาตอีกเหมือนกัน มึงทำกู กูก็จะต้องทำอย่างนั้นเหมือนกัน ครั้นถ้าหากว่าไปพบหน้าชาติหน้าหรืออะไรก็ตามเถอะ นาย ข. นี้ต้องผูกเวรนั้นอยู่ตลอดเวลา กลับมาทำให้นาย ก. เช่นเดียวกับที่นาย ก. ทำให้นาย ข. เมื่อนาย ข. ทำให้นาย ก. นาย ก.ก็จะต้องผูกเวรนาย ข. อีกต่อไป อย่างนี้ไม่รู้แล้วไม่รู้รอดกันสักที
ดังเรื่องนางกุลธิดากับนางยักขิณีในกถาธรรมบท นั่นแหละเป็นเรื่อง เวร
คราวนี้ เวรนี่จะหมดเวรด้วยประการใด? เวรย่อมไม่ระงับเพราะมีเวร เวรระงับเพราะไม่มีเวร ความข้อนั้น เวรระงับเพราะไม่มีเวร คือ หมายความว่า คนนี้ก็เลิกร้างกัน เห็นโทษของตนแล้วเลิกร้างไม่ทำเวรต่อไป
คือ นาย ก. ไม่ทำเวรกับนาย ข. ต่อไป แต่นาย ข. ล่ะคราวนี้ยังไม่เลิกร้าง มันก็ต้องจำเป็นต้องผูกเวรกับนาย ก. อีกต่อไป อันนั้นยังไม่ทันหมดเวร ยังไม่ได้ระงับเวรเพราะมีเวร หากว่าทั้ง ๒ เลิกร้างต่อกัน นาย ก. และนาย ข. ลบร้างกันแล้วก็หมดเวรหมดกรรม อันนั้น ระงับเพราะไม่มีเวร
แต่ ว่าอันคนตายไปแล้ว มันจะพูดกันรู้เรื่องอย่างไรได้ ตายไปไม่ทราบว่าเกิดโลกไหน อย่างว่าเป็นสัตว์เป็นสาเป็นอะไรต่างๆ อย่างนี้ เป็นวัว เป็นควาย หรือเป็นเปรตอสุรกาย กับมนุษย์มันจะพูดรู้เรื่องกันหรือ หากว่าคนนี้ตายไปแล้วก็ มันก็พูดกันไม่รู้เรื่องอีกเหมือนกัน เราก็ไม่อยากทำเวรละ แต่เวรมันเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพราะเหตุที่จิตอาฆาตพยาบาท มันยากอยู่ตรงนี้ ยากที่จะระงับเวรได้ เพราะตรงนี้
ที่ท่านว่า เวรย่อมระงับได้เพราะไม่มีเวร นั้นจริง แต่ว่ามันระงับไม่ได้เพราะเหตุที่ไม่รู้เรื่องของกันและกัน มีทางเดียวซึ่งอยู่ในชีวิตมนุษย์เป็นมนุษย์มีชีวิตอันนี้อยู่ ต่างคนต่างเห็นโทษของกันและกัน แล้วก็พูดกันต่อหน้าเสียบอกว่า ฉันทำผิดอย่างนั้น ทำผิดอย่างนี้ ถึงว่าทำผิดโดยเจตนาหรือไม่เจตนา แต่โดยเหตุที่อีกผู้หนึ่งเข้าใจผิด แล้วก็อาฆาตพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกัน
ครั้นหากว่าต่างคนต่างเห็นโทษของเวรอย่างนั้นแล้ว เข้าไปหากันแล้ว ระงับเวรด้วยการขอขมาโทษกัน ให้อโหสิกรรมกัน นั้นเป็นหมดเรื่องในชาตินี้เท่านั้น ไม่ต้องไปนมนานถึงหลายภพหลายชาติต่อไป อันนี้ ระงับได้เพราะไม่มีเวรอย่างนี้
คราวนี้ กรรม กรรมไม่ใช่อย่างนั้น
คน ที่ทำกรรมจะรู้จักหน้ารู้จักตา รู้จักชื่อเสียงวงศ์ตระกูลอะไรกันต่างๆก็ตามเถอะ หรือไม่รู้จักก็ช่าง อย่างว่าคนเราทำกรรมเช่น ไปฆ่าสัตว์หรือฆ่ามนุษย์ โดยเหตุที่ไม่รู้จักหน้ารู้จักตา ไม่รู้จักวงศ์ตระกูลของกันและกัน อย่างสงครามโลกนี้เป็นต้นไม่รู้จักว่าคนชาติไหน ประเทศใด อยู่ต่างน้ำต่างแดนโน่นล่ะแล้ว ก็ยิงก็ฆ่ากันตายไป แล้วไม่รู้จักอาฆาตพยาบาทกัน มุ่งที่จะฆ่าทำลายกันและกัน ย่อมเป็นกรรมทั้ง ๒ ฝ่าย
ผลกรรม ที่จะให้ละคราวนี้ ไม่ใช่คนที่เราทำนั้นมาให้ คนอื่นทำให้ก็ได้ หรือสิ่งอื่นทำให้ก็ได้เช่น เราตกน้ำตาย ฟ้าผ่าตาย รถคว่ำตาย เครื่องบินตกตาย น้ำท่วมพายุพัดตาย อย่างนี้เป็นต้น อันนั้นเรียกว่า กรรม กรรมที่เราทำไว้นั้นแหละย่อมสนองให้เราเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่คนที่เราทำให้นั้นมาทำให้เรา อันนั้นเรียกว่า กรรม
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย