vipassana - 9.3 ศีล พระธุดงค์
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt
        


       
 

       d930566e.jpg image by namphufa
 
    
 


 
     hongsanart's Avatar 

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด


   พระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระ ศึกษาพระปริยัติธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ และสั่งสอนผู้อื่นต่อไป พระภิกษุฝ่ายนี้เมื่อศึกษาแล้วจะเกิดปัญญาที่เรียกว่า สุตตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้จากภายนอกโดยการฟังการเห็นเป็นต้น ส่วนใหญ่พระภิกษุฝ่ายคันถธุระ มักจะอยู่ที่วัดในเมืองหรือหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้เพื่อตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และได้ใช้ความรู้นั้น ๆ สั่งสอนผู้อื่นได้ง่าย ได้บ่อยครั้งและได้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน

   อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจังโดยเน้นที่การฝึกจิตในด้านสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา อันเป็นความรู้ที่แท้จริงตามหลักของพระพุทธศาสนา เป็นปัญญาที่เกิดจากภายในผุดเกิดขึ้นเองเมื่อได้ปฏิบัติสัมมาสมาธิ จนถึงระดับหนึ่งคือ จตุตถฌานแล้วกระทำในในให้แยบคายน้อมไปไปสู่ที่ใต้ต้นวิชชาสาม ซึ่งจะเป็นความรู้ตามความเป็นจริงในระดับหนึ่ง ตามกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัตินั้น ๆ อันเป็นหนทางนำไปสู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา แสวงหาสถานที่ เพื่อให้เกิดสัปปายะแก่ตนเองที่จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาอย่างได้ผล จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายอรัญวาสี หรือพระป่า หรือพระธุดงค์

   ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปจะเป็นพระป่า พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำชับให้ภิกษุสาวกของพระองค์ ให้ออกไปสู่โคนไม้ คูหาหรือเรือนร้าง เพื่อปฏิบัติสมาธิภาวนา

   พระพุทธเจ้าประสูติในป่า คือที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตติดต่อแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ตรัสรู้ที่ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ในป่าริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เขตกรุงสาวัตถี แคว้นมคธ ทรงแสดงพระปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี และเข้าสู่ปรินิพพานที่ป่าในเขตกรุงกุสินาราย ตลอดระยะเวลา ๕๑ ปี พระพุทธเจ้าได้ทรงจาริกไปสั่งสอนเวไนยสัตว์ และเสด็จประทับอยู่ในป่า เมื่อมีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาสร้างวัดถวายก็จะสร้างวัดในป่า เช่น เชตวัน เวฬุวัน อัมพวัน ลัฏฐิวัน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน อันธวัน และนันทวัน เป็นต้น คำว่าวันแปลว่าป่า พระพุทธองค์จะประทับอยู่ในวัดดังกล่าวตอนช่วงพรรษา ปีหนึ่งไม่เกินสี่เดือน นอกจากนั้นจะเสด็จจาริกนอนตามโคนไม้ตามป่า

พระป่าของไทย
   พระป่าของไทย หมายถึงพระที่อยู่ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นผู้ที่บรรพชาอุปสมบทถูกต้องครบถ้วนตามพระธรรมวินัย ไม่ผิดกฏหมายของบ้านเมือง บวชด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและบริสุทธิ์ใจในบวรพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียร ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การพ้นจากวัฏสงสาร ทำให้พ้นจากกองทุกข์ อันเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา

   ในสมัยสุโขทัยต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยา เรามีพระภิกษุฝ่ายคามวาสี เน้นทางด้านคันถธุระ และฝ่ายอรัญวาสีเน้นทางด้านวิปัสสนาธุระ ดังจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่กระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ได้ชัยชนะ แต่แม่ทัพนายกองหลายคนกระทำการบกพร่องได้รับการพิจารณาโทษ สมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วและคณะ ได้เสด็จมาแสดงธรรมเพื่อให้ทรงยกโทษประหารแก่ แม่ทัพนายกองเหล่านั้น โดยยกเอาเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ผจญพญามาร ในคืนวันที่ จะทรงตรัสรู้มาเป็นอุทาหรณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปิติโสมนัส ซาบซึ้งในพระธรรมที่สมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว ทรงแสดงยิ่งนักตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา" และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษประหารแก่แม่ทัพนายกองเหล่านั้น

   จะเห็นว่าสมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จึงได้ชื่อนี้ และอยู่ที่วัดป่า แต่ก็มิได้ตัดขาดจากโลกภายนอก เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์สมควรที่จะออกมาสงเคราะห์ฝ่ายบ้าน เมือง หรืออาจจะกล่าวโดยรวมว่า ฝ่ายศาสนจักรสงเคราะห์ฝ่ายอาณาจักร ท่านก็สามารถกระทำกิจนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎก ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ จะต้องมีความรู้ทางคันถธุระเป็นอย่างดีมาก่อน จะได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระได้อย่างถูกต้องตรงทาง คุณสมบัติข้อนี้ได้มีตัวอย่างมาแล้วแต่โบราณกาล

   ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระภิกษุที่เป็นแบบอย่างของพระป่าในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีคือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพ ฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งสามท่านมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือ ในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งในประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า สำหรับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระภิกษุที่มีศิษย์เป็นพระป่ามากที่สุดสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ และมรณภาพ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๖ นับจากปี พ.ศ.๒๔๖๐ จนมรณภาพท่านได้ออกสั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด โดยเน้นภาคปฏิบัติที่เป็นจิตภาวนาล้วน ๆ ตามแนวทางพระอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อกล่าวโดยย่อได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

  
จะมีพระธุดงค์มาโปรดสักที

ปัจจัยสี่ของพระป่า
   ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตอยู่สำหรับการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้สี่อย่าง พระป่าของไทยได้นำมาประพฤติปฏิบัติจนถือเป็นนิสัยคือ

 

Vollbild anzeigen

พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน  ธุดงด์องค์เดียว

   ๑. การออกเที่ยวบิณฑบาตมาเลี้ยงชีพตลอดชีวิต การบิณฑบาตเป็นงานสำคัญประจำชีวิต ในอนุศาศน์ท่านสั่งสอนไว้มีทั้งข้อรุกขมูลเสนาสนะ และข้อบิณฑบาต การออกบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคทรงถือเป็นกิจจำเป็นประจำพระองค์ ทรงถือปฏิบัติเพื่อโปรดเวไนยสัตว์อย่างสม่ำเสมอตลอดมาถึงวันปรินิพพาน

   การบิณฑบาต เป็นกิจวัตรที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้บำเพ็ญเป็นเอนกปริยาย กล่าวคือ เวลาเดินบิณฑบาตไปในละแวกบ้าน ก็เป็นการบำเพ็ญเพียรไปในตัวตลอดเวลาที่เดิน เช่นเดียวกับเดินจงกรมอยู่ในสถานที่พักประการหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถในเวลานั้นประการหนึ่ง ผู้ที่บำเพ็ญทางปัญญาโดยสม่ำเสมอ เมื่อเวลาเดินบิณฑบาต เมื่อได้เห็นหรือได้ยินสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสทางทวารย่อมเป็นเครื่องเสริมสติปัญญา และถือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้น ๆ ได้โดยลำดับประการหนึ่ง เพื่อตัดความเกียจคร้านของตนที่ชอบแต่ผลอย่างเดียว แต่ขี้เกียจทำเหตุที่คู่ควรแก่กันประการหนึ่ง และเพื่อตัดทิฏฐิมานะถือตน รังเกียจต่อการโคจรบิณฑบาต อันเป็นลักษณะของการเป็นผู้ขอ

   เมื่อได้อะไรมาจากบิณฑบาตก็ฉันอย่างนั้น พอยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่พอกพูนส่งเสริมกายให้มาก อันจะเป็นข้าศึกต่อความเพียรทางใจให้ก้าวหน้าไปได้ยาก การฉันหนเดียวในหนึ่งวันก็ควรฉันเถิดแต่พอประมาณ ไม่ให้มากเกินไป และยังต้องสังเกตด้วยว่าอาหารชนิดใดเป็นคุณแก่ร่างกาย และเป็นคุณแก่จิต เพื่อให้สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ด้วยดี

   ๒. การถือผ้าบังสุกุลจีวรตลอดชีวิต ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญพระมหากัสสปะว่า เป็นผู้เลิศในการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

   ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ถูกทอดทิ้วไว้ตามป่าช้า เช่นผ้าห่อศพ หรือผ้าที่ทิ้งไว้ตามกองขยะ ซึ่งเป็นของเศษเดนทั้งหลาย ไม่มีใครหวงแหน พระภิกษุเอามาเย็บติดต่อกันตามขนาดของผ้าที่จะทำเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ ได้ประมาณแปดนิ้วจัดเป็นผ้ามหาบังสุกุล ผ้าบังสุกุลอีกประเภทหนึ่งที่เป็นรองลงมา ผู้ที่มีจิตศรัทธานำผ้าที่ตนได้มาด้วยความบริสุทธิ์ไปวางไว้ในสถานที่พระ ภิกษุเดินจงกรมบ้าง ที่กุฏิบ้าง หรือทางที่ท่านเดินผ่านไปมา แล้วหักกิ่งไม้วางไว้ที่ผ้า หรือจะจุดธูปเทียนไว้ พอให้ท่านรู้ว่าเป็นผ้าถวายเพื่อบังสุกุลเท่านั้น

   ๓. รุกขมูลเสนาสนัง ถือการอยู่โคนไม้ในป่าเป็นที่อยู่อาศัย มหาบุรุษโพธิสัตว์ก่อนทรงตรัสรู้ในระหว่างที่แสวงหาโมกขธรรมอยู่หกปี ก็ได้มีความเป็นอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำพระสาวกให้เน้นการอยู่ป่าเป็นส่วนใหญ่ จำทำให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้ากว่าการอยู่ที่อื่น

   ๔. การฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตลอดชีวิต เป็นการฉันยาตามมีตามได้ หรือเที่ยวแสวงหายาตามป่าเขา อันเกิดตามธรรมชาติเพื่อบรรเทาเวทนาของโรคทางกายเท่านั้น


  
  สอนผีให้รับศีล

กิจวัตรของพระป่า
   กิจวัตรที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นแนวปฏิบัติของพระป่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำมีอยู่สิบประการคือ
   ๑. ลงพระอุโบสถในอาวาสหรือที่ใด ๆ มีพระภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไป ต้องประชุมกันลงฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก ๑๕ วัน (ครึ่งเดือน)
   ๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพตลอดชีวิต
   ๓. ทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นทุกวัน เว้นแต่เจ็บไข้อาการหนัก พระป่าจะทำวัตรสวดมนต์เอง ไม่ได้ประชุมรวมกันทำวัตรสวดมนต์เหมือนพระบ้าน
   ๔. กวาดเสนาสนะ อาวาส ลานพระเจดีย์ ลานวัด และบริเวณใต้ต้นมหาโพธิ ถือเป็นกิจวัตรสำคัญ เป็นเครื่องมือขจัดความเกียจคร้านมักง่ายได้เป็นอย่างดี พระวินัยได้แสดงอานิสงส์ไว้ ห้าประการ คือ หนึ่งในห้าประการนั้นคือ
ผู้กวาดชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินตามคำสั่งสอนของพระศาสดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะทำลายขันธ์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
   ๕. รักษาผู้ไตรครองคือ สังฆาฏิ จีวร และสบง
   ๖. อยู่ปริวาสกรรม
   ๗. ปลงผม โกนหนวด ตัดเล็บ
   ๘. ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอาจารย์
   ๙. แสดงอาบัติคือ การเปิดเผยโทษที่ตนทำผิดพระวินัยที่เป็นลหุโทษ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทราบ และสัญญาว่าจะสำรวมระวังมิให้เกิดทำผิดเช่นนั้นอีก
   ๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่ ด้วยความไม่ประมาท คือ พิจารณาสังขาร ร่างกาย จิตใจ ให้เป็นของไม่เที่ยงถาวรที่ดีงามได้ยาก ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายทางปัญญาอยู่ตลอดเวลาในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

 

ธุดงควัตรของพระป่า
   ธุดงค์ที่พระผู้มีพระภาคให้ปฏิบัติเพื่อขจัดกิเลสที่ฝังอยู่ภายใจจิตใจของปุถุชน มีอยู่ ๑๓ ข้อ ดังนี้
   ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
   ๒. เตจีวริกังคะ ถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร
   ๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
   ๔. สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร เพื่อเป็นความงามในเพศสมณะในทางมรรยาท สำรวมระวังอยู่ในหลักธรรม หลักวินัย
   ๕. เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร เพื่อตัดกังวลในเรื่องการฉันอาหารให้พอเหมาะกับเพศสมณะให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่รบกวนคนอื่นให้ลำบาก
   ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ฉันเฉพาะในบาตร เพื่อขจัดความเพลิดเพลินในรสอาหาร
   ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามฉันภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร
   ๘. อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
   ๙. รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ข้อนี้ตามแต่กาลเวลาและโอกาสจะอำนวยให้
   ๑๐. อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ข้อนี้ก็คงตามแต่โอกาส และเวลาจะอำนวยให้
   ๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติให้เหมาะกับเวลาและโอกาส
   ๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะแล้วแต่เข้าจัดให้ มีความยินดีเท่าที่มีอยู่ไม่รบกวนผู้อื่น อยู่ไปพอได้บำเพ็ญสมณธรรม
   ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการ ยืน เดิน นั่ง อย่างเดียว ไม่นอนเป็นวัตร โดยกำหนดเป็นคืน ๆ ไป

Vollbild anzeigen


เครื่องบริขารของพระป่า
   เครื่องบริขารของพระป่า ตามพระวินัยกล่าวไว้มีสองชนิด คือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็ก ปัจจุบันใช้บาตรเหล็กที่ระบมด้วยไฟ เพื่อป้องกันสนิม

   สบงหรือผ้านุ่ง จีวรหรือผ้าห่ม และสังฆาฏิ เป็นบริขารที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ผ้าเหล่านี้พระป่าจะทำกันเองตั้งแต่การตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำแก่นขนุนเรียกว่า ย้อมด้วยน้ำฝาด

   บริขารอื่นนอกจากบริขารแปดแล้ว ก็มีกลดพร้อมมุ้งกลด ในฤดูฝนสามารถใช้แทนร่มในเวลาออกบิณฑบาต นอกจากนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนใช้นุ่งอาบน้ำ ผ้าอาบน้ำฝนนี้จะใช้หินแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาฝนเป็นสีสำหรับย้อม ผ้าที่ย้อมด้วยหินแดงนี้ จะมีสีแดงเป็นส่วนใหญ่ หินแดงนี้ยังใช้ผสมกับสีแก่นขนุนเพื่อย้อมสบงจีวร และสังฆาฏิได้อีก นอกจากนี้ผ้าปูที่นอน ผ้านิสีทนะสำหรับใช้ปูนั่ง ผ้าอังสะ ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก ย่ามสำหรับใส่ของ เมื่อถึงเวลาออกเที่ยววิเวกตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ ท่านจะซักย้อมผ้าของท่านเพื่อให้สีทนทาน บางทีไปนานสองสามเดือน ก็จะเคี่ยวแก่นขนุนเก็บติดตัวไปด้วย


           
Vollbild anzeigen

อานิสงส์..ของการอยู่ธุดงค์

1.จิตใจมีอิสระ
2.ไม่กังวล ไม่อาลัย มีความสุขจากเนกขัมมะ
3.ทำให้หมดกิเลสอย่างรวดเร็ว

เรื่องน่ารู
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ปธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙

        การ อยู่ธุดงค์ คือ การบำเพ็ญตบะที่ยิ่งยวดกว่า การประพฤติธรรมโดยทั่วไป เช่น การรักษาศีล ๘ หรืออุโบสถศีล มีจุดประสงค์เพื่อขจัดกิเลสให้หลุดร่อนออกจากใจเรียกได้ว่า เป็นการทำสงครามภายใน คือรบกับกิเลสถ้าจะเปรียบการ
รักษาโรค ก็ต้องบอก ว่าเป็นการผ่าตัดสดๆ กันเลยทีเดียว การอยู่ธุดงค์เป็นการปฏิวัติอุปนิสัยที่ไม่ดีต่างๆ ที่แก้ไขได้ยาก
เมื่อมาอยู่ธุดงค์แล้ว แม้นิสัยที่ไม่ดีจะมีเหลือบ้าง ก็จะไม่ฟูขึ้นฟุ้งซ่านให้รำคาญใจ อานิสงส์การอยู่ธุดงค์นั้นจะทำให้เรา
เข้าถึงธรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติสะดวก บรรลุธรรมได้เร็วไปทุกภพ ทุกชาติ ตราบวันถึงที่สุดแห่งธรรม

       คำว่า �ธุดงค์Ž แปลว่า องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส เป็นธรรมเนียมของพระผู้รักในการปฏิบัติธรรม ซึ่งท่านสาธุชนคงนึกภาพ
พระเดินถือกลด หรือที่เรามักเรียกว่า �พระธุดงค์Ž โดยท่านจะออกเดินทางรอนแรมด้วยเท้า มีเพียงเครื่องอัฐบริขารเท่านั้น
เพื่อแสวงหาที่วิเวกสงัด ปักกลดพักอาศัยตามร่มเงา ไม้ หรือตามถ้ำภูเขา เพื่อเข้าไปศึกษาเรียนรู้ใน �มหาวิทยาลัยป่าŽ
เรียนรู้วิชชาชีวิตด้วยการนั่งสมาธิ บำเพ็ญจิตภาวนา ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งการได้บรรลุ วิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ และจรณะ ๑๕ การอยู่ธุดงค์จึงถือว่าเป็นการดำเนิน ตามรอยบาทพระบรมศาสดา

วัตถุประสงค์ของการอยู่ธุดงค์

๑. อัปปิจฉตา ฝึกความเป็นผู้มักน้อย

๒. สันตุฏฐิตาฝึกเป็นผู้มีความสันโดษ

๓. สัลเลขตา ฝึกเป็นผู้มีความขัดเกลากิเลสให้เบาบาง

๔. ปวิเวกตา ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้รักความสงบ สงัด

๕. อิทมัฏฐิกตา ฝึกการแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระของชีวิต คือการได้บรรลุธรรมภายใน

ธุดงควัตร ๑๓ ข้อ เลือกประพฤติได้ตามอัธยาศัย

       ธุดงควัตรนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะภาวะของพระภิกษุแม้ฆราวาสก็ปฏิบัติได้ เพียงแต่ให้เลือกปฏิบัติตามความเหมาะสม
ธุดงควัตรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีอยู่ ๑๓ ข้อ ได้แก่

๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งไว้ไม่มีเจ้าของและจะรับผ้าจากทายกถวายไม่ได้

๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียงสามผืนเท่านั้น เกินกว่านั้นใช้ไม่ได้

๓. ปิณฑปาติกังคะ ฉันแต่เฉพาะอาหารที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น

๔. สปทานจาริกังคะ เดินบิณฑบาตแต่เฉพาะทางที่กำหนดไว้ทางเดียวเท่านั้น

๕. เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว (ต่อวัน)

๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันสำรวมโดยนำอาหารเทรวมกันในบาตร

๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่รับเพิ่มทีหลัง

๘. อารัญญิกังคะ อยู่ในป่าเป็นวัตร

๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่ใต้โคนไม้เป็นวัตร

๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง เช่น ตามท้องทุ่งนาเป็นวัตร

๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้าเป็นวัตร

๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่พักที่เขาจัดให้โดยไม่เลือก

๑๓. เนสัชชิกังคะ ถืออิริยาบถนั่งอย่างเดียวโดยไม่นอนเป็นวัตร

       ธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อนี้ในแต่ละข้อ พระท่านก็จะแบ่งย่อยลงไปอีกว่า จะสามารถบำเพ็ญเคร่งครัด ได้มากน้อยเท่าใด
โดยจะแบ่งเป็นวัตรขั้นสูงหรือขั้นอุกฤษฏ์, ขั้นกลาง, ขั้นต่ำ ยกตัวอย่าง เช่น ธุดงค์ข้อที่ �อยู่ในป่าช้าเป็นวัตรŽ หากใครต้อง
การบำเพ็ญขั้นอุกฤษฏ์ : จะต้องอยู่แต่ในป่าช้าที่มีลักษณะ ๓ อย่าง ได้แก่ ๑.) มีการเผาศพเป็นประจำ ๒.) มีซากศพนอน
ทอดร่างมิได้ขาด ๓.) มีเสียงร่ำไห้คร่ำครวญของผู้คนเนืองนิตย์ และบางครั้งถึงกับนอนใกล้ศพหรือนอนบนโลงศพเลยก็มี ขั้นกลาง : จะถือวัตรพักอาศัยอยู่ในป่าช้าที่เข้าลักษณะ ๑ ใน ๓ อย่างนั้นก็ใช้ได้ และผู้ขอถือวัตรขั้นต่ำ : จะไปถือวัตรอยู่ในที่ใกล้เคียง
ลักษณะของป่าช้า หรือที่ๆ ได้ชื่อว่าป่าช้าก็ใช้ได้

ผู้อยู่ธุดงค์ คือ ผู้อยู่ในสายตาของชาวสวรรค์

        การสมาทานข้อปฏิบัติธุดงค์ ๑๓ ข้อนี้ ไม่ˆจำกัดด้วยระยะเวลาเหมือน
การรักษาศีล สามารถสมาทานได้เต็มที่เท่าที่ต้องการ นานจน
กระทั่งถึงตลอดชีวิตก็ได้ ซึ่งพระภิกษุในสมัยพุทธกาลมักนิยมปฏิบัติ ธุดงค์กันและปฏิบัติได้อย่างดีเยี่ยม โดยก่อนที่จะออก จาริกไปในสถานที่อื่น
ท่านจะไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อขอเรียนกรรมฐานจาก
พระพุทธองค์ จากนั้นจึงค่อยกราบลาออกเดินธุดงค์ ขณะที่พัก
อาศัยแรมราตรี ก็จะยึดการปฏิบัติธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่ง อย่างเคร่งครัด
ทำให้พระภิกษุในสมัยนั้น ต่างก็ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ มากมาย
นับไม่ถ้วน

        ท่านพระมหากัสสปเถระ ชื่อว่าเป็นเอตทัคคะ คือ เลิศทางด้านอยู่ธุดงค์เป็นวัตร แม้ท่านจะมีบริวาร และมีญาติ
โยมอุปัฏฐากมากมาย แต่ท่านก็ไม่ยึดติด ในลาภสักการะ มีความมักน้อย สันโดษ ไม่สะสมเวลาจะไปไหนก็เหมือนนกน้อย
บินไปในอากาศ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นปกติ ความบริสุทธิ์ของท่านนั้นแม้เทวดาก็อยากลงมาใส่บาตร บางครั้งก็มีเทวดา
มากวาดลานวัดให้ท่าน ขนาดพระอินทร์ยังเคยแปลงเป็นคนแก่มาใส่บาตรก็มี เพราะรู้ว่าทำบุญ กับท่านแล้วได้บุญมาก
แม้แต่พระบรมศาสดายังยกย่องท่านว่าเป็นผู้มีอริยวิหารธรรมเสมอกับพระองค์



อยู่ธุดงค์ เพื่อมุ่งตรงสู่สุดธรรม

การอยู่ธุดงค์สำหรับฆราวาส ไม่ใช่เพียงครั้งหนึ่งในชีวิตแต่ชีวิตหนึ่งควรได้อยู่ธุดงค์หลายๆ ครั้ง ถ้า อยากจะรบ
กับกิเลสให้จริงจัง ก็ต้องให้โอกาสตัวเอง มาถือธุดงค์กัน เพราะในสมัยปัจจุบันต่างก็มีสิ่งยั่วยุ มากมาย
ทำให้ใจเต็มไปด้วยความทะยานอยาก และธรรมชาติของคนเราหากอยู่ที่บ้าน ก็จะอาศัยความคุ้นเคยเหมือนปลาคุ้นน้ำ จนทำให้บางครั้งอาจจะติดความสบายเกินไปเป็นเหตุให้นำใจรวมเป็นสมาธิได้ยาก นี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องปลีกตัว
ออกมาปฏิบัติถือธุดงค์กัน

         การปฏิบัติธุดงค์ของฆราวาสนั้นไม่ยากอย่างที่ เข้าใจกันเพราะเราได้มารู้หลักวิชาแล้วว่า การเข้า ถึงธรรมนั้น
ต้องเข้าถึงด้วยวิธีที่ง่ายๆ สบายๆ เพียงแค่ �กิน นอน ให้พอดี มีของใช้เท่าที่จำเป็นŽ เลือกข้อที่อยู่ในวิสัยของเราที่ี่พอจะทำได้
โดยปรับ ให้เหมาะสมพอดีกับตัวเองหรือสภาพแวดล้อม จากนั้นแล้วจึงค่อยตั้งเจตนาสมาทาน ซึ่งโดยทั่วไป�สาธุชนที่มาอยู่
ธุดงค์จะสมาทานวัตรข้อ ๑๒ คือ ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่อาศัยที่เจ้าหน้าที่จัดให้Ž บางท่านสุขภาพแข็งแรง ก็อาจจะถือธุดงค์
ข้อเนสัชชิกังคะ นั่งสมาธิทั้งคืน หรือที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า �นั่งเนสัชฯŽ ก็ได้

อานิสงส์ของการอยู่ธุดงค์

      การอยู่ธุดงค์ถือได้ว่าเป็นการอยู่ของผู้ประเสริฐ อยู่อย่างพรหมในพรหมโลก คุณธรรมต่างๆ ในตัวจะงอกงามพัฒนาขึ้นมา
ได้ง่าย ทำให้มีสติตื่นอยู่กับตัวตลอดเวลา จิตใจเป็นอิสระปลอดจากเครื่องพันธนาการ ไม่ติดในสุขภายนอก ได้แก่คน สัตว์ สิ่งของ อันเป็นเครื่องยึดถือหน่วงเหนี่ยวเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี และที่สำคัญจิตจะรวมเป็นสมาธิได้เร็วขึ้นและเป็นฐาน
รองรับการเข้าถึงธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งจากภายในอีกด้วย

       ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ธุดงค์ ควรเตรียมของ ใช้เท่าที่จำเป็น งดเว้นสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญธุดงค์ เช่น
เครื่องประดับตกแต่งมีค่า ควร สะสางธุรกิจการงานทางโลกให้เรียบร้อยเวลามาอยู่ธุดงค์จะได้มุ่งฝึกฝนทำใจ หยุดนิ่งอย่าง
เดียว

       สำหรับผู้ที่ไม่เคยอยู่ธุดงค์ที่ใดมาก่อนเลย ก่อนที่จะถึงวันอยู่ธุดงค์นั้น ก็จะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี หรือที่เรียกว่า
�อุ่นเครื่องŽ ขั้นแรกควร หาโอกาสเหมาะๆ เช่น วันพระ ฝึกสมาทานรักษา ศีลแปดก่อน เพื่อที่เมื่อมาอยู่ธุดงค์แล้ว จะสามารถ
ปรับตัวในเรื่องความเป็นอยู่ได้สะดวกขึ้น เพราะในการอยู่ธุดงค์นั้นจะถือศีลแปดเป็นหลัก ข้อปฏิบัติในระหว่างธุดงค์ซึ่งจัดเป็นเวลา ๓ วัน กิจกรรมส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการนั่งสมาธิ ฟังธรรม รับบุญทำความสะอาดเสนาสนะ เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒน
ธรรมชาวพุทธที่ดีงาม ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ซึ่งเป็นอริยประเพณีที่ดีงามของชาวพุทธให้ยืนยง คงอยู่เคียงคู่โลกตลอดไป

     ท่านสาธุชนทั้งหลาย... ปีใหม่นี้หลายท่านอาจพลาดโอกาสที่จะได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศกับเพื่อนๆ
เพราะตัดสินใจมาร่วมอยู่ธุดงค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผู้เขียนเชื่อมั่นเหลือเกินว่า ทุกท่านจะไม่ผิดหวัง
เพราะว่าจะได้ฉลองชัยที่เกิดจากการเข้าถึงพระรัตนตรัย ได้พลังใจ ในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้บุญกุศลที่จะหนุนนำ
ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และได้เข้าถึงความสว่างภายในคือได้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว ดังที่ ผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า
�บัณฑิตที่แท้ แม้ไม่ได้ท่องเที่ยวไปทั่วทุกมุมโลก.... อยู่ในกลดหลังน้อยๆ ใจเขาย่อมสว่างพอ พอที่จะเห็นโลกได้ทั้งโลก



พระธุดงค์ หรือ พระป่า

ธุดงค์   แปลว่า   ธรรมสำหรับกำจัดกิเลส  หรือ   ธรรมสำหรับเผากิเลส  หรือ  ธรรมที่ทำให้กิเลสเร่าร้อน

เรื่องธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าสอนก็มีอยู่   ๑๓    ข้อคือ


๑.   ปังสุกูลิกังคะ       แปลว่า      ถือใช้แต่ผ้าบังสกุลเท่านั้น (คือ  ใช้เฉพาะผ้าที่เขาทิ้งแล้วเท่านั้น)
๒.   เตจีวรกังคะ         แปลว่า     ถือใช้ผ้าเพียงแค่สามผืนเท่านั้น
๓.   ปิณฑปาติกังคะ    แปลว่า     ถือเที่ยวบิณฑบาตรเป็นประจำ
๔.   สปทานจาริกังคะ   แปลว่า    ถือเที่ยวบิณฑบาตรไปตามลำดับบ้าน
๕.   เอกาสนิกังคะ      แปลว่า      ถือการฉันมื้อเดียว
๖.   ปัตตปิณฑิกังคะ   แปลว่า      ถือฉันอาหารเฉพาะในบาตร
๗.   ขลุปัจฉาภัตติกังคะ    แปลว่า    เมื่อลงมือฉันอาหารแล้วจะไม่ยอมรับอาหารที่มีเพิ่มมาภายหลังอีก
๘.   อารัญญิกังคะ     แปลว่า      ถือการอยู่เสนาสนะป่าเป็นประจำ
๙.   รุกขมูลิกังคะ      แปลว่า      ถือการอยู่เสนาสนะโคนต้นไม้เป็นประจำ
๑๐.  อัพโภกาสิกังคะ    แปลว่า    ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นประจำ
๑๑.  โสสานิกังคะ       แปลว่า     ถือการอยู่เสนาสนะป่าช้าเป็นประจำ
๑๒.  ยถาสันถติกังคะ    แปลว่า    ถือการอยู่ในสถานที่แล้วแต่เขาจะจัดให้
๑๓.  เนสัชชิกังคะ     แปลว่า    การไม่ถือเอาอริยาบถนอน   จะอยู่เฉพาะอริยาบถ   นั่ง   เดิน   ยืนเท่านั้น

นี่คือเรื่องธุดงค์    เมื่อตรวจดูแล้วก็จะเห็นว่าท่านบัญญัติไว้ให้สำหรับพระภิกษุเป็นหลัก   
และธุดงค์แต่ละข้อนั้นก็เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของพระภิกษุโดยตรง
เพราะภิกษุคือนักรบที่อยู่แนวหน้าในสมรภูมิแห่งวัฏฏะจักรโดยแท้

สำหรับภิกษุเรื่องธุดงค์นี้ไม่มีการบังคับเข้มงวดเหมือนศีล   
แล้วแต่ความสมัครใจของภิกษุแต่ละองค์เองที่จะสมาทานถือมั่นอยู่ในธุดงค์ข้อนั้นๆ
องค์ไหนอยากจะสมาทานมากข้อก็ได้     องค์ไหนอยากจะสมาทานน้อยข้อก็ได้
หรือองค์ไหนไม่อยากจะสมาทานธุดงค์ซักข้อเลยก็ได้เหมือนกัน

แต่ธุดงค์ทุกข้อที่พระพุทธเจ้าแนะนำไว้   
ก็เหมาะสำหรับภิกษุที่มีศีลบริสุทธิ์ดีและมีความเข้าใจในกระบวนการทำกรรมฐานอย่างดี
และภิกษุนั้นกำลังทำความเพียรเพื่อกำจัดกิเลสตนเอง   

เมื่อตรวจดูกรรมฐานของตนเองแล้วก็เห็นว่าไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งๆที่ศีลก็ไม่มีบกพร่อง   
กรรมฐานก็เข้าใจดีไม่มีผิดพลาด    ถ้าเป็นแบบนี้ก็สมาทานธุดงค์เพิ่มเข้าไปตามความเหมาะสม
ของแต่ละองค์    เรียกว่าธุดงค์เป็นเครื่องช่วยรีดความเพียรให้หนักหน่วงเข้มข้นขึ้นไปอีก

ส่วนภิกษุใดที่ศีลก็ยังไม่รู้เรื่องดีและยังไม่สามารถรักษาศีลของตนเองได้ดี   
เรื่องกรรมฐานและข้อปฏิบัติทั้งหลายก็ยังมีสงสัยอยู่อีกมาก   ภิกษุแบบนี้ยังไม่สมควรจะเร่งความเพียร
ด้วยธุดงค์ทั้งหลายนั้นหรอก     เพราะในพุทธศาสนานี้ถ้าเรื่องศีลยังไม่เข้าใจและไม่สามารถรักษาศีลได้ดี
แต่ไปเร่งความเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน      ความเพียรของท่านผู้นั้นก็ไร้ความหมายในคำสอน
ของพระพุทธเจ้า     มีตัวอย่างเทียบเคียงที่      เล่ม   ๒๐    หน้า   ๓๒๕

....ดูก่อนภัททาลิ   ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้   
เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา   เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า     ถ้ากระไร
เราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด    คือป่า    โคนไม้    ภูเขา    ซอกเขา   ถ้ำ    ป่าช้า    ป่าชัฏที่แจ้ง   
หรือลอมฟางเถิด    บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ   (คือหวังจะฟลุ๊คเหมือนกับนักกรรมฐานทั้งหลายในสมัยนี้แหละ)   
คือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้   ดังนี้ 
เธอได้เสพเสนาสนะอันสงัดคือ  ป่า   โคนไม้   ภูเขา  ซอกเขา   ถ้ำ   ป่าช้า   ป่าชัฏ   ที่แจ้ง   ลอมฟาง   
เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น    พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้   
เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้     
เทวดาก็ติเตียนได้    แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองได้       

เธออันพระศาสดาติเตียนบ้าง      เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง    เทวดาติเตียนบ้าง   
ตนเองติเตียนตนเองบ้าง    ก็ไม่สามารถทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษคือความรู้และความเห็นของพระอริยะ
ผู้สามารถ   ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้      ข้อนั้นเพราะเหตุไร    ดูก่อนภัททาลิ     
ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา...



สำหรับฆราวาสก็พิจารณาดูเอาก็แล้วกันว่าธุดงค์แต่ละข้อตามที่ว่ามานั้น
จะเหมาะกับคนที่ยังมีภาระยุ่งเหยิงวุ่นวายมากมายหลายเรื่องอย่างฆราวาสหรือเปล่า ?

สำหรับเรื่องจีวร   พระพุทธเจ้าก็กำหนดเอาไว้มากเรื่องหลายประเด็น   
ก็ไม่ทราบว่าจะพูดถึงประเด็นไหนแน่   
ถ้าสนใจจริงก็ไปเปิดอ่านเรื่องจีวรในพระไตรฯ   เล่ม   ๗   เริ่มจากหน้า   ๒๔๑    เป็นต้นไป

พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า

หมายถึงพระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ตามป่าเขา ที่สงบ สงัด
สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า "พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน" หรือพระป่า

พระธุดงค์ในไทย แบ่งเป็นสายใหญ่ๆ ได้ 2 สาย คือ
- สายแรกเป็นพระธุดงค์ฝ่ายธรรมยุติ หรือเรียกว่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
- ส่วนสายที่ 2 เป็นพระธุดงค์ฝ่ายมหานิกาย ที่เป็นหลักใหญ่ คือ
สายหลวงพ่อสนอง วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี และหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
สำหรับพระภิกษุที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่งกองทัพธรรม
พระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ *ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต* ผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด

หลวงปู่มั่น ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม
สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแผ่ธรรม เป็นอันมาก พระสายนี้ชาวบ้านศรัทธามาก ประมาณปี พ.ศ.2459 เป็นต้นมา
พระป่าสายพระอาจารย์มั่น เริ่มทยอยเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ในภาคอีสาน
โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่างๆ ที่รังสีธรรม
แห่งกองทัพธรรมสายพระอาจารย์มั่นได้แผ่ไปถึง พระป่าทุกรูป จะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับเป็นเครื่องทดสอบสมณเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ
ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยที่จะก้าวหน้าในทางธรรมชั้นสูง ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ
ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์จะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด

การถือธุดงค์ของพระป่า มีข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร" 13 ประกอบด้วย
1.ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
2.ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
3.ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
4.ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
5.ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
6.ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร
7.ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
8.ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
9.ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
10.ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
11.ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12.ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
13.ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไปตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้
เพิงผาและตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค
ทำให้จิตของท่านเป็นอิสระพ้นจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง
สู่ความเบาสบาย สงบ เอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร

การเริ่มต้นชีวิตแบบพระป่า อาจทำได้ 2 วิธี คือ
1.การบวชเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดใดวัดหนึ่ง ให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นจึงไปขอพำนักในวัดป่า
ถ้าประธานสงฆ์ อาจารย์ใหญ่ หรือสมภาร อนุญาต ก็จะได้เข้าพำนัก
โดยจะต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ของวัดป่านั้นๆ แต่โดยมาก
มักไปขออนุญาตก่อนล่วงหน้า ว่าเมื่อบวชแล้วจะมาขอพำนักด้วย

2.เข้าไปปวารณาตัวเป็นอุบาสก ถือศีลแปด และอาศัยอยู่ในวัด คือเป็น "ผ้าขาว" หรือ "ปะขาว" ก่อน
เพื่อทำหน้าที่เป็นลูกศิษย์พระ และฝึกการปฏิบัติไปด้วย โดยต้องทำหน้าที่ให้เรียบร้อย
เป็นที่พอใจของสมภาร หรืออาจารย์ที่เป็นผู้ปกครอง จึงจะได้รับอนุญาตให้บวช
วิธีนี้เป็นการฝึกหัดความอดทนในการใช้ชีวิตแบบพระป่า ก่อนที่จะบวชเป็นพระป่า

กิจวัตรของพระป่าคือ ตื่นนอนตั้งแต่ตีสามหรือตีสี่ เพื่อปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ทำวัตรเช้า
ทำกิจส่วนตัว แล้วเตรียมตัวออกบิณฑบาต จะออกบิณฑบาตเป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบ

ที่มา : แหล่งข่าวมติชน วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550




1.     
เครื่องใช้ในการปฏิบัติธุดงค์

หมายเหตุ - (สีน้ำเงิน คือข้อมูลที่ปรับปรุงเพิ่มล่าสุด)
- เสาเหล็ก 3 ตอน (คล้ายกระบองบรู๊ซลี) สูง 2 เมตร (ซื้อร้านค้าหลังกระทรวงกลาโหม ใกล้สนามหลวง) ซื้อมา 2 ชุด เผื่อปักเป็นเสาหลักในเวลาที่ไม่ได้ขึงเชือกกับต้นไม้ (ราคาประมาณ 200 บาทกว่าต่อชุด)
- ผ้าห่มที่ป้องกันความหนาวได้ แต่นำไปได้สะดวก หรืออาจจะใช้พลาสติกห่มทับผ้าห่มด้านนอก กันอากาศหนาวเข้ามา
  จะทำให้อุ่นขึ้น (แต่ควรตัดมุมเหลี่ยมพลาสติกด้วย มุมแหลมคมอาจทิ่มดวงตาได้เวลานอนหลับ)
- กลดไม้ (ผ้าสีน้ำตาล) ขนาดก้านไม้ (วัดจากหัวถึงปลาย) ยาวระมาณ 30 นิ้ว และมุ้งคลุมกลด

  มีขนาดปกติ และขนาดใหญ่ แนะนำว่า เลือกขนาดใหญ่ 6 เมตร ดีกว่า กว้างกว่าแบบปกติ

     - ผ้าพลาสติก (ใช้ปูรองบนพื้นดิน และวางสิ่งของในเต็นท์ได้) วัดขนาด สูงกว่าความสูง และ

       กว้างพอสมควร

- ผ้ายาง (กันน้ำจะมีความหนานุ่ม (ใช้ปูรองบน ผ้าพลาสติกที่ใช้ปูรองบนพื้นดิน) และใช้นอน

  หรือจะใช้เสื่อพลาสติก ก็ได้

- ผ้ายาง (กันน้ำ) ใช้เวลา สวดมนต์ ทำวัตร และ นั่งปฏิบัติกรรมฐาน  ขนาดใช้นั่งและนอนเล่นได้

- เต็นท์ผ้าร่ม ขนาด 3 x 4 เมตร ราคาประมาณ 400.- บาท (ซื้อที่ตลาดโบเบ๊ กรุงเทพฯ)

- พลาสติก (ใส) (แบบพับ 2 ทบ) ยาว 4.5 เมตร ใช้ปิดคลุมเต็นท์ กันฝน กรณีฝนตกหนัก ควรมีขนาดใหญ่กว่าเต็นท์

  สูงมาตรฐานของม้วนประมาณ 4 เมตร ใช้ คลุมเต็นท์ 3 x 4 ได้

  อาจจะเผื่อความยาวให้ปิดคลุมไปด้านหัวและท้ายของเต็นท์เพื่อกันลมหนาวและฝน ก็อาจใช้ประมาณ 4.5 เมตร
  (ขนาด 4.5 เมตร วัดเผื่อปิดหัวท้ายเต็นท์ให้แล้ว)

- ตัวหนีบ (สีดำ) ใช้หนีบ พลาสติก (กันฝน) กับผ้าเต็นท์

- สมอบก จำนวน 6 ตัว  ใช้ยึดเต็นท์ กับพื้นดิน อันละประมาณ 14 บาท หรือมากกว่า

  (ซื้อที่ร้านค้า หลังกระทรวงกลาโหม) หรือ ร้านศึกษาภัณฑ์ (สาขาราชดำเนินเท่านั้น)

- พลั่ว 1 อัน (ใช้ขุดดิน เพื่อขับถ่ายอุจจาระในป่า)

- เหล็กนำ (ใช้นำร่อง เวลาจะปักเสาเต็นท์) ราคาประมาณไม่กี่สิบบาท (ถ้าจำเป็น)

- มีดพร้า หรือ ขวาน (ฟัน กิ่งไม้ ทำฟืนฆ้อน (เอาไว้ ตอก-ถอน สมอบก)

- เชือกมะนิลา หรือเชือกฟาง (ซื้อที่ เทสโก้ โลตัส

  (ใช้ผูกแขวนกลด และทำราวตากผ้า หรืออรรถประโยชน์ กรณีแขวนกลดกับต้นไม้)

- โครงเสา และคานเต็นท์ แบบอลูมิเนียม ถอด ประกอบได้ (สั่งทำ)

- กระเป๋าใส่ร่มของทหาร (ใบใหญ่ ใส่ของได้มาก และราคาไม่แพง)

  (ซื้อที่ร้านค้า หลังกระทรวงกลาโหม กรุงเทพฯ)

     - น้ำดื่ม (ขวดขุ่น) หรือขวดใหญ่ , กระติกน้ำดื่ม (ส่วนตัว)

     - หมอนขิด (สี่เหลี่ยม 1 ใบ) และผ้าห่ม (เช่น ผ้าห่มแพร ตามใจชอบ)
       (ถ้าไม่ชอบหมอนสี่เหลี่ยม ก็ใช้หมอนปกติทั่วไปแต่ขนาดเล็ก แถวร้านใกล้หอสมุดกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลานหลวง กรุงเทพฯ)

     - ถังน้ำ 1 ใบ  เช่น ถังสี่เหลี่ยม (มีฝาปิด) เป็นถังพลาสติกที่ใช้ใส่วุ้นผงตรานางเงือก

       (ขอซื้อตามร้านค้าของชำ) ใช้ ซักผ้า ใส่ผ้าพลาสติกและอาสนะรองนั่ง ฯลฯ
     - ตะขอแขวน รูปตัวเอส (ภาษาอังกฤษ) ใช้ในกรุณาเข้าห้องน้ำแล้วไม่มีที่แขนอุปกรณ์อาบน้ำ หรือในยามจำเป็น

(ซื้อที่ได้ตลาดแถวโบเบ๊ กรุงเทพฯ)

 

2.      ของใช้ส่วนตัว

- หนังสือสวดมนต์ 1 เล่ม (สวดมนต์ ทำวัตร เช้า เย็น)

- ถ้วยชาม (พลาสติก) , ช้อน - ส้อม , แก้วน้ำ (ทนร้อนได้ หรือ อลูมิเนียม)

- สก๊อตไบรท์ , น้ำยาล้างจาน (ใส่ในถุงพลาสติก)

- แปรงสีฟัน , ยาสีฟัน แบบหลอด หรือแบบผง ยี่ห้อ รุ่งอรุณ (อยู่ในสถานที่ ที่มีน้ำใช้ไม่มาก)

- สบู่เหลว , ยาสระผม , ขันอาบน้ำ , ผงซักผ้า (ใส่ขวดทรงสูง เช่น ขวดนมเปรี้ยว)

- ที่โกนหนวด , ไหมขัดฟัน (ซื้อที่ เซเว่น อีเลเว่น)

- แปรงซักผ้า , คัตตอนบัท (ไม้ทำความสะอาดหู)

, กระดาษทิชชู่ 1 - 2 ม้วน , ไม้หนีบผ้าพลาสติก

- ผ้าเช็ดตัว  , ผ้าขาวม้า หรือ กางเกงขาสั้น (นุ่งใส่เวลาอาบน้ำในแม่น้ำ)

    - ชุดบวชพราหมณ์ ได้แก่ เสื้อแขนสั้น (สีขาว) 2 ตัว , กางเกงขายาว (สีขาว) 2 ตัว ,

      ผ้าสไบ (สีขาว) 1 ผืน (ไว้พาดบ่า) เพื่อเป็นเครื่องหมายของผู้รักษาศีล 8

    - ชุดชั้นใน (สีขาว) 2 – 3 ตัว

    - เสื้อคลุมนอก (ใช้กันลม กันหนาว)

    - ถุงมือ , ถุงเท้า , หมวกไหมพรหม คลุมหน้าได้ (อย่างหนา - ใช้กันหนาว )

    - รองเท้าแตะ (ควรเลือกพื้นที่ เกาะพื้นผิว ไม่ค่อยลื่นได้ง่าย)

    - เสบียงอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป , อาหารแห้ง , เกลือป่น (กรณีร่างกายขาดเกลือ) ,ใบชาจีน ,

      น้ำตาลอ้อย (ให้ความหวาน แก้อ่อนเพลียได้) , นมถั่วเหลือง , น้ำปานะ

    - นาฬิกาข้อมือ

    - กรณีเดินทางข้ามแดน บัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาบัตรฯ , รูปถ่าย

    - เงินสำรองจ่ายติดตัว
    - ดอกไม้ธูปเทียน เพื่อเป็นใช้บูชาพระก่อนรับศีล 8 และ รับศีล 5 ในวันลากลับ

 

3.      ยารักษาโรค เช่น

- ชุดทำแผล (สำลี , ผ้าก๊อตซ์ , เทปปิด , ยาใส่แผล (เบตาดีน) , แอลกอฮอล์ , ฯลฯ)

- ยาแก้ปวด ลดไข้ (พาราเซตตามอล) ยี่ห้อ ซีมอล , ยาแก้อักเสบ , ฯลฯ

- ยาแก้ท้องเสีย , ยาฆ่าเชื้อ กรณีท้องเสีย , ผงเกลือแร่ โอเอสอาร์

- ยาธาตุน้ำขาว ตรากระต่ายบิน (แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ฆ่าเชื้อในลำไส้ แก้ท้องเสีย)

- น้ำยาล้างตา

- ยาหม่องไพล (แก้ฟกช้ำ บวม) , ยาหม่องน้ำ (แก้หวัด แมลงสัตว์กัดต่อย) , ใช้กันยุงได้

- ผ้าเช็ดหน้า (ผืนเล็ก) เอาไว้เช็ดตัว ลดไข้
- ยาถ่าย กรณีท้องไม่ถ่าย

 

4.      สิ่งของทั่วไป (พิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม และจำเป็น)

- น้ำมันยูคาลิปตัส (ใช้กันยุงได้) หรือ พิมเสนน้ำ  หรือ ตะไคร้หอมกันยุง (ไม่ควรทาผิวหนัง)

 หรือ ก..15

 - เข็ม , ด้าย (สีขาว) ใช้เย็บเสื้อผ้า กรณีจำเป็น , เข็มกลัด (ทั้งหมดเก็บในภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย)

  ซื้อที่ เซเว่น อีเลเว่น ชุดละประมาณ 35 บาท

- มีดพับอเนกประสงค์ (ซื้อที่ร้านค้าหลังกระทรวงกลาโหม) หรือใน เทสโก้ โลตัส

  ใช้ตัดเชือก หรือสิ่งของต่าง ๆ

- เสื้อคลุมกันฝน (เผื่อในกรณีจำเป็น)

- มีด 1 เล่ม (ใช้ปอก และหั่นผลไม้)

- ไฟฉาย (สว่างมาก ๆ หน้าปัดใหญ่) ซื้อที่ ห้างเทสโก้ โลตัส (จำเป็นมาก ๆ)

  และถ่านไฟฉาย (สำรอง)

- ถุงหิ้วพลาสติก ขนาด 12 x 20  ตามสมควร (ใช้ใส่ขยะ หรือสิ่งของตามจำเป็น)

- ไม้ไผ่รวก 1 ลำ (ใช้กรณีพยุงตัวเดินในป่า ในลำธาร หรือใช้แบกสิ่งของได้)

- สมุด ปากกา (ถ้าจำเป็น)

- กล้องถ่ายรูป , ซาวด์อะเบาท์ หรือ เครื่องเล่นและบันทึกเสียง (Mp3) แบบพกพา 
  (ใช้อัดเสียงสัมภาษณ์ของผู้ปฏิบัติ)

- โทรศัพท์มือถือ และสายชารจ์ (บรรจุในถุงพลาสติก กันน้ำได้)

- หนังยาง (ยางวง) (ใช้รัดสิ่งของ) ถ้าจำเป็น

- ไฟแช็ก 1 อัน , ยากันยุง , การบูร (ใช้ไล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้)

- กาต้มน้ำ (ใช้ร่วมกันได้)

- กระเป๋าทหาร หรือย่าม (ใช้ใส่สิ่งของ เวลาไป สถานที่ต่าง ๆ) ถ้าจำเป็น

- รถเข็นลาก (ใช้ลากสัมภาระ)

- ป้ายร้อยเชือก ผูกกระเป๋า เขียนชื่อ ที่อยู่ - เบอร์โทรศัพท์
- ที่ตัดเล็บ

- กล้องถ่ายรูป หรืออุปกรณ์อัดเสียงผู้ปฏิบัติ / กล้องวีดีโอ ตามความต้องการ เช่น MP4 Soken ใช้อัดเสียง ถ่ายรูป ถ่ายคลิป ดูไฟล์ภาพ ได้เป็นต้น ราคาประมาณ 3,500.- บาท (ราคาเดือน มี.ค.51)

Vollbild anzeigen  

 

ช้างป่ารุม กระทืบพระธุดงค์ มรณภาพ

 

เมื่อเวลา 22.45 น. วันที่ 20 ก.พ. พ.ต.ต.ชาญ จูงกระโทก สารวัตรเวร สภ. ครบุรี จ.นครราชสีมา รับแจ้งมีเหตุช้างป่าไล่กระทืบพระภิกษุได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ในเขตพื้นที่ป่าสงวนครบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกับอุทยานแห่งชาติทับลาน จุดเกิดเหตุอยู่ใกล้กับเขื่อนห้วยทับครัว อ.ครบุรี จึงพร้อมด้วย หน่วยกู้ภัยฮุก 31 นายยุทธนา ศรีเงินงาม หัวหน้าเขตการจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 3 และเจ้าหน้าอุทยานแห่งชาติทับลานกว่า 10 นาย เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุเป็นเส้นทางที่พระธุดงค์ใช้เดินเข้าป่าเพื่อจำ วัดช่วงกลางคืน เนื่องจากต้องการความสงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม


ในที่เกิดเหตุพบศพพระสงฆ์นอนมรณภาพคาผ้าเหลือง 1 รูป อยู่ข้างทางเดิน ทราบชื่อพระณัฐพร กิตติญาโณ อายุ 34 ปี สภาพร่างกายแหลกเหลว เลือดไหลออกปากและจมูก แขนขาหัก รอบศพพบรอยตีนช้างขนาดใหญ่เหยียบย่ำไปทั่ว นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์ได้รับบาดเจ็บอีก 1 รูป ทราบชื่อพระวิเชียร เขมมะโก หลังเกิดเหตุได้เดินทางกลับเข้าหมู่บ้านเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านใน พื้นที่ใกล้เคียง และชาวบ้านรีบนำพระวิเชียรที่ได้รับบาดเจ็บ ส่ง รพ.ครบุรี ก่อนจะส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา เบื้องต้นพบว่ามีอาการกระดูกสันหลังและต้นคอเคลื่อน และมีรอยฟกซ้ำตามร่างกายหลายแห่ง ต้องนอนพักรักษาอาการอยู่ที่ตึกสงฆ์ แผนกกระดูกและข้อ ชั้น 5 รพ.มหาราชนครราชสีมา


สอบถามพระวิเชียร ผู้รอดชีวิตจากความคลุ้มคลั่งของช้างป่า ทราบว่า พระวิเชียรและพระณัฐพรเดินทางมาจาก จ.พิจิตร มาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ่อลิง ตั้งอยู่บ้านบ่อลิง ต.ทับลาน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ในช่วงกลางวันจะอาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์ พอตกกลางคืนจะเดินเข้าป่าไปหาสถานที่วิเวกปักกลดทำสมาธิเจริญวิปัสสนา กรรมฐาน ก่อนเกิดเหตุในช่วงบ่ายวันที่ 20 ก.พ. มีพระสงฆ์ 3 รูป เดินทางเข้าป่าไปก่อนแล้วเพื่อนั่งสมาธิเหมือนทุกวัน ต่อมาในช่วงเย็นวันเดียวกัน พระวิเชียร และพระณัฐพรจึงเข้าป่าไปปักกลดตามกิจวัตรที่ปฏิบัติเช่นทุกวัน แต่หลังจากที่เดินเข้าป่าไปได้ราว 2-3 กิโลเมตร ปรากฏว่าพบกับช้างป่าขนาดใหญ่เดินมาตามถนนเพียงตัวเดียว พระทั้ง 2 รูป จึงชวนกันหลบเข้าชายป่าข้างทาง ยืนสงบนิ่งเพื่อให้ช้างผ่านไปก่อน


ระหว่างนั้นมีช้างป่าอีกหลายตัวซึ่งเดินตามกันมาด้านหลัง เมื่อเห็นพระทั้ง 2 รูปก็ปรี่เข้ามายืนห้อมล้อมพระวิเชียรและพระณัฐพรไว้ทุกด้าน จนไม่มีทางที่จะหลบหนีไปไหน ลักษณะของช้างโขลงนี้มีอาการคลุ้มคลั่งดุร้าย ส่งเสียงร้องข่มขู่ตลอดเวลา ขณะพระทั้ง 2 รูปตกอยู่ในวงล้อม ได้มีช้างตัวหนึ่งใช้เท้าเตะพระวิเชียรจนกระเด็นออกมาจากวงล้อม พอตั้งสติได้พระวิเชียรก็รีบลุกขึ้นวิ่งหนีสุดชีวิต


ส่วนพระณัฐพรไม่ได้วิ่งหนีฝ่าวงล้อมออกมาด้วย แต่เลือกหลบเข้าไปอยู่ในพงหญ้าในบริเวณที่เกิดเหตุ ทำให้ถูกช้างทั้งโขลงที่มีไม่ต่ำกว่า 10 ตัว เข้ารุมทำร้ายจนมรณภาพในที่สุด หลังหลบหนีตายออกมาจากวงล้อมของโขลงช้างป่าได้แล้ว พระวิเชียรพยุงร่างกึ่งวิ่งกึ่งเดินนานเกือบ 2 ชั่วโมง หอบสังขารที่บาดเจ็บกลับมาที่สำนักสงฆ์อย่างทุลักทุเล เพื่อแจ้งให้พระรูปอื่นๆ ทราบ โดยขณะนั้นยังไม่ทราบชะตากรรมของพระณัฐพรว่าเป็นอย่างไรบ้าง


ต่อมาพระในสำนักสงฆ์บ่อลิงอีก 4 รูป จึงเดินทางเข้าป่าเพื่อจะไปตามหาพระณัฐพร แต่เมื่อใกล้จะถึงจุด เกิดเหตุ ได้พบกับช้างโขลงดังกล่าวที่ยังยืนอยู่ไม่ได้หลบหนีไปไหน และช้างบางตัวยังมีท่าทีจะวิ่งเข้ามาทำร้าย สร้างความตกใจให้พระทั้ง 4 รูป ต้องรีบปีนป่ายขึ้นไปอยู่บนต้นไม้เอาชีวิตรอด ขณะที่โขลงช้างก็ยืนเฝ้าอยู่ด้านล่างไม่ไปไหนเช่นกัน


หลังผ่านไปเกือบ 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่และชาวบ้านทราบข่าวว่ามีพระถูกช้างป่าทำร้าย จึงพากันเดินทางเข้าป่ามาสบทบเพื่อให้การช่วยเหลือ และพบกับโขลงช้างยืนเฝ้าพระ 4 รูปอยู่ จึงช่วยกันกดดันให้ช้างป่าโขลงดังกล่าวเดินหลบเข้าไปในป่าลึก จากนั้นช่วยกันนำพระทั้ง 4 รูปลงมาจากต้นไม้อย่างปลอดภัย ส่วนพระณัฐพรพบว่าถูกช้างรุมกระทืบจนมรณภาพไปก่อนหน้าแล้ว


เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า บริเวณจุดเกิดเหตุน่าจะเป็นเส้นทางที่ช้างป่าโขลงดังกล่าว ใช้เป็นทางเดินผ่านไปมาเพื่อหากินเป็นประจำ ขณะที่พระธุดงค์ทั้ง 2 รูป ก็ไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นด่านช้าง เมื่อมาเจอกับช้างอย่างกระชั้นชิดโดยบังเอิญ ทำให้เกิดการตกใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ช้างอาจคิดว่าพระทั้ง 2 รูป เป็นพวกพรานจะเข้ามาทำร้าย จึงวิ่งเข้ามาทำร้ายพระก่อนจนได้รับบาดเจ็บและมรณภาพดังกล่าว


ด้าน นายยุทธนา ศรีเงินงาม หัวหน้าเขตการจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 3 เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบทราบว่า ช้างโขลงดังกล่าวมีประมาณ 11-12 ตัว ในจำนวนนี้มีช้างเล็ก ซึ่งเป็นลูกช้างที่อายุยังไม่มากรวมอยู่ด้วยถึง 4 ตัว ทำให้ช้างโขลงนี้มีความดุร้ายมากกว่าปกติ เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาที่พ่อแม่ช้างหวงลูกน้อยทั้ง 4 ตัว เมื่อได้มาพบกับพระโดยบังเอิญ ช้างอาจจะคิดว่าพระจะเข้ามาทำร้ายลูกของมัน จึงไล่ทำร้ายพระก่อนเพื่อป้องกันตัวตามสัญชาตญาณ เบื้องต้นได้กดดันให้ช้างโขลงนี้หลบเข้าป่าลึกเพื่อความปลอดภัยของชาวบ้าน แล้ว อย่างไรก็ตามในช่วงนี้หากพบช้างป่าขอให้รีบหลบหลีกไปให้ไกล เพราะช้างอยู่ในฤดูผสมพันธุ์จะมีนิสัยดุร้ายมาก และห้ามไปทำร้ายช้างอย่างเด็ดขาด เพราะมีความผิด



 
Heute waren schon 41 Besucher (43 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden