vipassana - 34 อกุศลกรรม 10
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt


อกุศลกรรม ได้แก่ การทำบาป ๓ ทาง คือ
๑. ทางกาย เรียกว่า กายกรรม
๒. ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม
๓. ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม
 
         ตามธรรมดาคนเรานั้น จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ต้องมีความตั้งใจเกิดขึ้นก่อน ด้วยเหตุนี้เอง การกระทำต่าง ๆ ทั้งหลายนั้น จึงมี ความตั้งใจ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เจตนา (เจตสิก) เป็นผู้นำอยู่เสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตนานี้แหละ ชื่อว่า กรรม
 
         ถ้า เจตนา ประกอบใน กุศลจิต ก็เป็นการตั้งใจที่จะทำความดี มีการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา
 
         ถ้า เจตนา ประกอบใน อกุศลจิต ก็เป็นการตั้งใจในการทำความชั่ว มี อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น
อกุศลกรรมบท ๑๐
๑. ปาณาติบาต
คือ การ
ฆ่าสัตว์  
๒. อทินนาทาน
คือ การ
ลักทรัพย์ เรียกว่า อกุศลกายกรรม ๓
๓. กามเมสุมิจฉาจาร
คือ การ
ผิดในกาม  
๔. มุสาวาท
คือ การ
การพูดเท็จ เรียกว่า อกุศลวจีกรรม ๔
๕. ปิสุณวาจา
คือ การ
พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา
คือ การ
พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ
คือ การ
พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา
คือ การ
เพ่งเล็งทรัพย์ผผู้อื่น  
๙. พยาบาท
คือ การ
การปองร้าย เรียกว่า อกุศลมโนกรรม ๓
๑๐. มิจฉาทิฎฐิ
คือ การ
ความเห็นผิด  
 
         อกุศลกรรม คือ การทำบาป คนเราเกิดมาได้ทำทั้งบุญและบาปควบคู่กันไป
ถ้าทำบุญมากกว่าทำบาป ชีวิตในภพใหม่ชาติใหม่ก็มีความสุข เพราะบุญให้ผลเป็นความสุข
ถ้าทำบาปมากกว่าบุญ ชีวิตในภพใหม่ชาติใหม่ ก็จะประสบแต่ความทุกข์ เพราะบาปให้ผลเป็นความทุกข์ หรือได้รับความทุกข์มากกว่าความสุข สังเกตดูชีวิตของเราเอง ก็พอจะรู้ได้ว่าในอดีตนั้น เราได้ทำบุญหรือทำบาปไว้ อย่างไหนมากกว่ากัน
 
         เรามาศึกษาในเรื่องของ อกุศลกรรม ก่อน เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของบาป เรื่องของกิเลสเป็นเรื่องใหญ่ เป็นต้นเหตุที่มาแห่งความทุกข์ทั้งปวง เหมือนมะเร็งร้ายที่สามารถจะทำลายชีวิตได้ทุกเมื่อ
 
          การทำบาป ทำได้ ๓ ทาง คือ
๑. การทำบาปทางกาย
 
          การทำบาปทางกาย เรียกว่า กายทุจริต เป็นการทำที่ไม่ดีไม่งามทางกาย ทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนใจ ต้องรับผลของบาปที่ได้กระทำลงไป
 
การทำบาปทางกาย ทำได้ ๓ อย่าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
          
๑. การฆ่าสัตว์ (ปาณาติบาต)        
การฆ่าสัตว์ คือ การฆ่าสิ่งที่มีชีวิตให้ตายไปก่อนที่จะหมดอายุ จะเป็นการฆ่าด้วยตนเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าโดยใช้อาวุธใช้เครื่องประหาร ใช้คาถา อาคมไสยศาสตร์ หรือใช้ฤทธิ์
 
องค์ประกอบของอกุศลกรรมบถ ในการฆ่าสัตว์มี ๕ ประการ คือ
๑. สัตว์มีชีวิต
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่า
๔. พยายามฆ่า
๕. สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น
 
          การทำบาปที่เข้าลักษณะ ๕ ประการ ชื่อว่า เป็นการทำบาปที่ครบองค์แห่งปาณาติบาต จะเป็นสัตว์ที่เป็นอาหาร หรือ สัตว์ที่ไม่เป็นอาหาร เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ก็ตาม ล้วนเป็นบาปทั้งสิ้น เมื่อใกล้จะตายถ้าคิดถึงบาปที่เคยฆ่าสัตว์ไว้ บาปนั้นก็สามารถนำให้ไปเกิดใน อบายภูมิ ได้
 
          บาปมาก – บาปน้อย การฆ่าสัตว์ จะบาปมาก หรือ บาปน้อย นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ความพยายามในการฆ่า ถ้าใช้ความพยายามมากก็บาปมาก ใช้ความพยายามน้อยก็บาปน้อย ฆ่า สัตว์มีคุณมาก ก็บาปมาก เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ถ้าฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ก็บาปน้อย ฆ่าสัตว์ตัวใหญ่บาปมาก ฆ่าสัตว์ตัวเล็กก็บาปน้อย ถ้าฆ่าคนที่มีคุณธรรมมาก บาปมาก ถ้าเป็นคนที่มีคุณธรรมน้อย ก็บาปน้อยตามลำดับ
          
          
แสดงผลของปาณาติบาต
บาปมาก
๑. ฆ่าสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น
ช้าง ม้า วัว ควาย
๒. ฆ่าผู้มีคุณธรรมมาก เช่น พระสงฆ์ บิดามารดา
๓. ใช้ความพยายามในการฆ่ามาก
บาปมาก
๑. ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง ลิ้น ไร
   
๒. ฆ่าผู้ไม่มีคุณธรรม เช่น โจร ผู้ร้าย
   
๓. ใช้ความพยายาม ในการฆ่าน้อย
          
ความพยายามในการฆ่า ทำได้ ๖ ประการ คือ
๑. ฆ่าด้วยตนเอง
๒. ใช้คนอื่นฆ่า
๓. ปล่อยอาวุธ ขว้าง ปา
๔. ใช้อาวุธปืน มีด ขุดหลุมพราง
๕. ใช้อาคมคุณไสยศาสตร์
๖. ใช้ฤทธิ์
 
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ แล้วนั้น จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผล ของการทำบาป คือการฆ่าสัตว์ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน เรียกว่า การให้ผลในปฏิสนธิกาล จะได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อชดใช้กรรม
 
การทำบาปที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ บาปนั้น
จะตามให้ผลใน ปวัตติกาล คือขณะมีชีวิตอยู่ จะทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม ได้ประสบพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อายุสั้น ถูกฆ่า หรือ ฆ่าตัวตาย รูปไม่งาม ไม่มีบริวาร เป็นต้น
 
๒. การลักทรัพย์ (อทินนาทาน)
การลักทรัพย์ คือ การยึดเอาหรือหยิบเอาวัตถุสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้อนุญาต ในลักษณะของการลักขโมย จี้ ปล้น วิ่งราว ข่มขู่ ยักยอก ฉ้อโกง หรือ สับเปลี่ยน เป็นต้น
 
องค์ประกอบของการลักทรัพย์ มี ๕ ประการ คือ
๑. วัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๒. รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์
๔. เพียรพยายามเพื่อลักทรัพย์
๕. ได้สิ่งของที่พยายามลักนั้นมา
 
ความพยายามในการลักทรัพย์ ทำได้ ๖ ประการ คือ
๑. ลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒. ใช้ผู้อื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือเขียนเป็นหนังสือ
๓. ทิ้งหรือโยนทรัพย์ออกไปนอกเขตเพื่อให้พวกเดียวกันรับต่อ
๔. สั่งพรรคพวกเมื่อมีโอกาสให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา
๕. ใช้เวทย์มนต์คาถาทำให้หลงใหลแล้วลักทรัพย์
๖. ใช้ฤทธิ์ในการลักทรัพย์
 
การลักทรัพย์ หรือ การขโมยทรัพย์
จะเป็นการกระทำด้วยตนเอง หรือบอกให้ผู้อื่นทำ หรือโยนทรัพย์นั้นให้ผู้อื่นรับช่วงไป ใช้เวทมนต์คาถา หรือใช้ฤทธิ์ ก็ถือว่าเป็นการลักขโมยทั้งสิ้น
 
ผลของบาป
การทำบาปเมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อสิ้นชีวิต
 
เมื่อพ้นจากอบายภูมิแล้ว
ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เศษกรรมนี้ก็จะส่งผลให้เป็นคนยากจน มีทรัพย์สิน ก็จะพินาศจากโจรปล้น น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุพัดพังพินาศ ถูกทางการริบทรัพย์ และ ต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติในลักษณะอื่น ๆ เหมือนที่ตนได้ทำไว้ ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่ดีได้ยินเสียงที่ไม่ดี ได้กลิ่นที่ไม่ดี ลิ้มรสที่ไม่ดี และสัมผัสสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่า การให้ผลในปวัตติกาล คือ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
 
การลักขโมยทรัพย์สิ่งของจะบาปมาก หรือ บาปน้อย (โทษมาก-โทษน้อย)
ขึ้นอยู่กับราคาของทรัพย์และ เจ้าของทรัพย์ ถ้าเป็นของที่มีราคาแพง และเจ้าของเป็นผู้มีคุณธรรมมีศีลธรรม ก็ย่อมจะมีบาปมากโทษมาก ถ้าเป็นของที่มีราคาถูก และเจ้าของทรัพย์ไม่มีคุณธรรม หรือศีลธรรมก็ย่อมมีบาปน้อย โทษน้อย
 
 
๓. การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
การประพฤติผิดในกาม ได้แก่ การประพฤติล่วงใน บุตร ภรรยา สามี ของบุคคลอื่น ทำให้เขาได้รับความทุกข์ใจ เดือดร้อนใจ เศร้าใจเสียใจ ผิดหวัง เพราะการกระทำของเรา ถ้าเป็นการกระทำที่เข้า ลักษณะ ๔ ประการ เรียกว่า กระทำผิดครบองค์ประกอบของการประพฤติผิดในกาม
จะมีโทษหนัก
 
องค์ประกอบของการประพฤติผิดในกาม ๔ ประการ คือ
๑. มีวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
๒. มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
๓. มีความพยายามในการเสพเมถุน
๔. มีความพอใจในการเสพเมถุนซึ่งกันและกัน
 
การล่วงละเมิดทางกาเมสุมิจฉาจาร
ที่มีบาปมาก – บาปน้อย
 
          การจะมีบาปมาก หรือมีบาปน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับ คุณธรรมและความสมัครใจ ของผู้ล่วงเกินและผู้ถูกล่วงเกินด้วย
 
 
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อสื้นชีวิตลงสามารถจะนำเกิดในอบายภูมิคือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน ได้ เรียกว่า เป็นการให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)
 
การทำบาปที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔
ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ เพราะบุญเก่านำเกิด บาปก็ยังตามให้ผลทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับและพิจารณา แต่อารมณ์ที่ไม่ดีไม่งาม จะทำให้เกิดเป็นหญิง เป็นกะเทย มีผู้เกลียดชังมาก มีคนคิดที่จะปองร้ายจะได้รับความอับอายเสมอ ครอบครัวล่มสลาย เกิดการหย่าล้างกัน พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก มีผู้ปองร้าย นานานับประการ เรียกว่า การให้ผลใน ปวัตติกาล (ภายหลังนำเกิด)
 
สำหรับการดื่มสุราเมรัย
จัดอนุโลมเข้าในกาเมสุมิจฉาจารและอกุศลกรรมบถด้วย เพราะถือว่าการดื่มสุรานั้นเป็นการ ติดในรสสัมผัสทางลิ้น คือ พอใจในรสของสุรานั่นเอง
 
เมื่อจะกล่าวถึงโทษของการดื่มสุราเมรัยนั้น มีมากมาย
เพราะเมื่อขาดสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ย่อมจะทำบาปที่เป็นอกุศลกรรมได้ทุกอย่าง อันจะนำไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน ถ้าบุญเก่านำเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนปัญญาอ่อน หรือเป็นคนบ้า
 
๒. การทำบาปทางวาจา
          
          การทำบาปทางวาจา อกุศลกรรมที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม หรือ วจีทุจริต เป็นการกระทำความไม่ดีไม่งามทางวาจา ทำความเดือดเนื้อร้อนใจ ให้กับผู้อื่นและกับตนเอง ความทุกข์ก็จะติดตามมาเป็นเงาตามตัว การทำบาปทางวาจาทำได้ ๔ อย่าง คือ
          
๑. การพูดเท็จ (มุสาวาท)
          การพูดเท็จ ได้แก่ การพูดที่ไม่จริง มีเจตนาทำให้คนอื่นเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน จากความจริง จะเป็นการพูดด้วยตนเอง หรือ ใช้ให้ผู้อื่นพูด เขียนเรื่องราว เขียนจดหมาย เขียนบัตรสนเท่ห์ หรือประกาศทางวิทยุ
          
องค์ประกอบของการพูดเท็จ มี ๔ ประการ คือ
๑. สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริง
๒. มีจิตคิดจะพูดเรื่องไม่จริง
๓. พยายามที่จะพูดไม่จริง
๔. เมื่อพูดแล้วมีคนเชื่อคำพูดนั้น
          
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลอสุรกายหรือเดรัจฉาน เรียกว่าบาปนั้นให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)
          
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีก ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์และ พิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม เกิดมาทำให้ พูดไม่ชัด ฟันไม่เรียบ ปากมี กลิ่นเหม็น ไอตัวร้อน ตาส่อน พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ ท่าทางไม่สง่างาม จิตใจรวนเร กลิ่นเหม็น ไอตัวร้อน ตาส่อน พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ ท่าทางไม่สง่างาม จิตใจรวนเร
          
๒. การพูดส่อเสียด (ปิสุณวาจา)
          การพูดส่อเสียด ได้แก่ การพูดที่ทำให้เขาแตกแยกกัน เป็นการพูดทำลายความ สามัคคีในหมู่คณะ ทำให้คนที่รักกันต้องเลิกล้างจากกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน โดยหวัง ผลประโยชน์ของตน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เป็นต้น
          
องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ
๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก
๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก
๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก
๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด
          
ผลของบาป
          การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือพูดส่อเสียดนั้นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)
          
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีกทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณา อารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกบัณฑิตติเตียน มักถูกกล่าวหาโดยที่ไม่เป็นจริง จะเป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอ ๆ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล
          
๓. การพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
          การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าทอและการสาปแช่งต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่ถูกด่า เกิดความเศร้าใจเสียใจเดือดร้อนใจ เป็นการกระทำที่เกิดมาจากอำนาจของความโกรธความไม่พอใจ
          
องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี ๓ ประการ คือ
๑. มีความโกรธ
๒. มีผู้ถูกด่า
๓. มีการพูดกล่าววาจาสาบแช่งหรือด่าทอ
          
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือ การพูดคำหยาบส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตสามารถนำเกิดใน อบายภูมิคือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน เรียกว่า ให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)
          
ถ้าบุญเก่านำเกิด เป็นมนุษย์
ทำให้ ได้เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม จะได้ยินได้ฟังแต่คำพูดที่ไม่ไพเราะไม่น่าพอใจ มีกายวาจาหยาบตายด้วยการหลงลืมสติ แม้มีทรัพย์สินก็จะพินาศ เรียกว่า การให้ผลใน ปวัตติกาล(หลังนำเกิด)
          
ในกรณีที่บิดามารดา ครูอาจารย์
ดุด่าบุตรหลานหรือศิษย์ ก็เข้าในหลัก ๓ ประการเช่นเดียวกัน แต่ก็ถือว่ามีโทษน้อย เพราะไม่มีเจตนาร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ถ้าบุคคลใดด่าว่าผู้มีอุปการะคุณ เช่น บิดามารดา ผู้มีอุปการะคุณอื่น ๆ หรือผู้มีศีล เช่น พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือแม่ชี จะมีบาปมากมีโทษมาก
          
๔. การพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ)
          การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดที่เหลวไหลไร้สาระถือว่าเป็นการพูดที่ทำลาย ประโยชน์ และความสุขของผู้ฟัง ที่จะต้องมาฟังคำพูด ที่ไม่มีสาระแก่นสารอะไร เช่นนี้ เช่น การพูดของนักร้อง นักแสดง นักประพันธ์ ที่ไม่มีคติธรรมอะไร สอดแทรกไว้
          
องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี ๒ ประการ คือ
  ๑. เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์
๒. กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์
          
          มาทำความเข้าใจในเรื่องราวของการกล่าวสัมผัปปลาปะ ซึ่งเป็นวาจาที่ไม่เป็นประโยชน์เรียกว่า การกล่าว เดรัจฉานกถา คือ คำกล่าวที่ขัดขวางต่อ มรรค ผล นิพพาน ท่านแสดงไว้ มี ๓๒ ประการ
          
เดรัจฉานกถา ๓๒ ประการ
๑. พูดเรื่อง พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์
๒. พูดเรื่อง โจร
๓. พูดเรื่อง ราชการ การเมือง
๔. พูดเรื่อง ทหาร ตำรวจ
๕. พูดถึง ภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
๖. พูดเรื่อง อาวุธยุทโธปกรณ์
๗. พูดเรื่อง อาหารการกิน
๘. พูดเรื่อง เครื่องดื่ม สุราเมรัย
๙. พูดเรื่อง การแต่งตัว เสื้อผ้าอาภรณ์
๑๐. พูดถึงเรื่อง การหลับนอน
๑๑. พูดเรื่อง ดอกไม้ การจัดประดับดอกไม้
๑๒. พูดเรื่อง กลิ่นหอมต่าง ๆ
๑๓. พูดถึงเรื่อง วงศาคณาญาติ
๑๔. พูดเรื่อง รถ เรือ ยานพาหนะต่างๆ
๑๕. พูดถึงเรื่อง หมู่บ้าน ร้านค้าต่างๆ
๑๖. พูดเรื่อง นิคมต่าง ๆ (หมู่บ้านใหญ่,เมืองขนาดเล็ก)
๑๗. พูดถึงเรื่อง เมืองหลวง จังหวัด
๑๘. พูดถึง ชนบท
๑๙. พูดเรื่อง ผู้หญิง
๒๐. พูดเรื่อง ผู้ชาย
๒๑. พูดเรื่อง หญิงสาว
๒๒. พูดเรื่อง ชายหนุ่ม
๒๓. พูดเรื่อง วีรบุรุษ ความกล้าหาญ
๒๔. พูดเรื่อง ถนนหนทาง
๒๕. พูดเรื่อง ท่าน้ำ แหล่งน้ำ
๒๖. พูดถึง ญาติ คนตายที่ล่วงลับไปแล้ว
๒๗. พูดเรื่อง ต่าง ๆ นานา
๒๘. พูดเรื่อง โลกและผู้สร้างโลก
๒๙. พูดเรื่อง มหาสมุทร และการสร้างมหาสมุทร
๓๐. พูดเรื่องความเจริญ และความเสื่อมต่างๆ
๓๑. พูดเรื่อง ป่าต่าง ๆ
๓๒. พูดเรื่อง ภูเขาต่าง ๆ
          
          ท่านได้แสดงไว้ในสฬายตนสังยุตตพระบาลี ความว่า แม้พระภิกษุ ๒ รูปได้มาพบกัน การงานที่ควรประพฤติมีเพียง ๒ ประการเท่านั้น คือ
๑. กล่าวคำเกี่ยวกับธรรมะ
๒. นิ่งเสีย (ถ้าไม่กล่าวธรรมะ) นักศึกษาจะเห็นได้ว่าในการรักษาศีลข้อนี้ทำได้ยาก นอกจากในขณะที่เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่
          
ผลของบาป
ถ้าได้กล่าวคำเพ้อเจ้อครบองค์ประกอบ ๒ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อสิ้นชีวิตจะสามารถนำเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ได้ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)
 
ถ้าตอนสิ้นชีวิตนึกถึงบุญ
บุญนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตามมาให้ผลอีก ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดีไม่งาม จะได้ยินได้ฟังแต่คำพูดที่ไม่ไพเราะไม่น่าพอใจ จะเป็นบุคคลที่ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูด ไม่มีอำนาจ หรือ วิกลจริต เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล(ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่)
 
ผู้ใดพูดเพ้อเจ้อ เป็นเนืองนิตย์เป็นประจำ จะมีโทษมาก (บาปมาก)
ผู้ใดพูดเพ้อเจ้อ เป็นครั้งคราว (น้อย) ก็จะมีโทษน้อย (บาปน้อย)
 
          สรุปได้ว่า อกุศลวจีกรรม คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อทั้ง ๔ ประการ นี้ จัดเป็น วจีกรรม
 
          วจีกรรม คือ อาการเป็นไปของปาก ได้แก่ การพูด หรือ การกล่าว วาจา คือ วจีวิญญัติรูป นั่นเอง
 
วาจา มี ๔ ประการ
๑. สัททวาจา
ได้แก่
เสียงที่พูดออกมา
๒. วิรตีวาจา
การงดเว้นจากวจีทุจริต
๓. เจตนาวาจา
เจตนาที่ทำให้วจีวิญญัติรูปเกิด
๔. โจปนวาจา
กิริยาอาการพิเศษที่เป็นไปในถ้อยคำพูด สามารถให้ผู้ฟังรู้ความประสงค์ของตน
          เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจถึงการทำบาปทางกาย ทางวาจา แล้ว เหลืออีกทางหนึ่งคือทางใจ ซึ่งจะได้ศึกษาทำความเข้าใจในลำดับต่อไป
 
๓. การทำบาปทางใจ
 
          อกุศลกรรมที่เกิดทางใจ ชื่อว่า มโนกรรม หรือ มโนทุจริต เป็นการทำที่ไม่ดีไม่งามทางใจ เพียงแต่คิดไว้ในใจ ยังไม่ได้กระทำบาปออกมาทางกาย วาจา ก็ได้ชื่อว่า เป็นทำบาปทางใจแล้ว เช่น การปรารถนาอยากได้หญิงอื่น ที่ไม่ใช่เป็นภรรยาของตน เรียกว่าเป็น ชู้ทางใจ เป็นต้น การทำบาปทางใจทำได้ ๓ ประการ คือ อภิชฌา พยาบาท และ มิจฉาทิฏฐิ
 
๑. การจ้องจะเอาทรัพย์ของคนอื่น มาเป็นของตน (อภิชฌา)
อภิชฌา หมายถึง ความเพ่งเล็งอยากได้ ในทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องการที่จะเอามาเป็นสมบัติของตน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
 
โลภะ มี ๒ อย่าง คือ
๑. ความอยากได้โดยชอบธรรม
  คือ เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งของต่าง ๆ ขึ้นมาก็ต้องเสาะแสวงหามา โดยทางสุจริต ไม่ผิดศีลธรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือ การขอ
๒. ความอยากได้โดยไม่ชอบธรรม
  คือ เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ก็คิดหาทางที่จะขโมย ฉ้อโกง จี้ ปล้น หรือใช้กลวิธีต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้น
 
องค์ประกอบของอภิชฌา มี ๒ ประการ คือ
๑. ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
๒. มีจิตคิดอยากจะได้มาเป็นของตน
 
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๒ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ถ้าผลของการทำบาป คือ การเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน เรียกว่า บาปส่งผลใน ปฏิสนธิกาล
 
ถ้าตอนสิ้นชีวิตนึกถึงบุญ
บุญนำเกิดเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตามมาให้ผลอีก ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และ พิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดี ไม่งาม เมื่อมีทรัพย์และคุณความดี ก็จะทำให้ทรัพย์และคุณความดีนั้นตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมจะทำให้เกิดในตระกูลที่ต่ำ ขัดสนในลาภสักการะ มักจะได้รับการติเตียนอยู่เสมอ เรียกว่า บาปส่งผลใน ปวัตติกาล (หลังนำเกิด)
๒. การคิดแก้แค้น (พยาบาท)
พยาบาท คือการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น คิดที่จะทำลายประโยชน์ และความสุขของผู้อื่น หาวิธีการที่ทำให้ผู้อื่น เกิดความพินาศเสียหาย หรือนึกสาบแช่งให้ได้รับอันตราย ต่าง ๆ ด้วยอำนาจของความโกรธแค้นที่เกิดขึ้นในใจ
          
องค์ประกอบของพยาบาท มี ๒ ประการ
๑. มีผู้อื่น
๒. คิดที่จะให้ความเสียหายเกิดกับผู้นั้น
          
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๒ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือ การคิดพยาบาทส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฎิสนธิกาล (นำเกิด)
 
ถ้าตอนสิ้นชีวิตนึกถึงบุญ
บุญนำเกิดเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตามมาให้ผลอีก ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม ทำให้อายุสั้น เกิดโรคภัยเบียดเบียน จะตายด้วยการถูกประหาร มีผิวพรรณที่หยาบกร้าน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล (ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่)
 
๓. การเห็นผิดจากความเป็นจริง (มิจฉาทิฏฐิ)
มิจฉาทิฏฐิ คือ การเห็นผิดจากความเป็นจริง หรือความเห็นที่มีความวิปริตไปจากความเป็นจริง ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ อย่างกว้างขวาง เช่น สักกายทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นต้น มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ แสดงไว้ในพรหมชาลสูตร นิยตมิจฉาทิฏฐิ แสดงไว้ในสามัญผลสูตร เป็นต้น สำหรับความเห็นผิดในที่นี้ หมายเอาความเห็นผิดที่หยาบ ๆ ที่จะทำให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถได้ ความเห็นผิดที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ถือว่าเป็นหลักของความเห็นผิด เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี ๓ ประการ คือ
 
๑.นัตถิกทิฏฐิ (ไม่เชื่อเหตุ)
นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า เมื่อได้ทำบาป ทำบุญไปแล้ว ไม่ต้องรับผล ของบาป ผลของบุญที่ได้กระทำไว้ ทำแล้วก็สูญเปล่าหายไป เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ไม่ต้องรับกรรมที่ทำ ความเห็นผิดเช่นนี้ตรงกับความเห็นผิดอีกชนิดหนึ่ง คือ
 
อุจเฉททิฏฐิ ที่มีความเห็นว่า สัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เมื่อตายแล้วก็สูญหมด ไม่เกิดอีก ถือว่าเป็นการเห็นผิด ที่มีโทษร้ายแรงกว่าอกุศลกรรมบถอื่น ๆ มีโทษหนักกว่าปัญจานันตริยกรรม ๕ เมื่อตายไปต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกขุม โลกันตนรก เป็นนรกที่แสนจะทุกข์ทรมาน ตั้งอยู่ที่ขอบจักรวาลทั้ง ๓ ที่มาบรรจบต่อเนื่องกัน มืดสนิท
 
ความเห็นผิด ๑๐ ประการ ที่จัดว่าเป็น นัตถิกทิฏฐิ
ตามที่แสดงไว้ในสามัญผลสูตร มีดังนี้

๑. เห็นว่า การทำทาน ไม่มีผล
๒. เห็นว่า การบูชา ไม่มีผล
๓. เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญ ไม่มีผล
๔. เห็นว่า การทำดี ทำชั่ว ไม่มีผล
๕. เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ ไม่มี
๖. เห็นว่า ผู้จะไปเกิดในภพหน้า ไม่มี
๗. เห็นว่า บุญคุณของมารดา ไม่มี
๘. เห็นว่า บุญคุณของบิดา ไม่มี
๙. เห็นว่า ว่า ผู้ที่เกิดและโตทันทีเป็น ผี เทวดา พรหม ไม่มี
๑๐. เห็นว่า ว่า ผู้รู้แจ้งโลก ฯลฯ คือ พระพุทธเจ้า ไม่มี
 
          คนบางคน หรือ คนส่วนใหญ่ ยังมีความเห็นผิดอย่างนี้อยู่ นับว่า เป็นอันตรายมาก ความเห็นเช่นนี้ เมื่อตายไปจะต้องไปนรกแน่นอน (จะมีตัวอย่างเรื่องคำสารภาพผิดของสัตว์นรก ๔ ตน เกิดอยู่ใน โลหกุมภีนรกซึ่งจะอยู่ในเรื่องชนกกรรมชุดที่ ๗.๒)
 
          นัตถิกทิฏฐิ นี้เป็นการปฏิเสธผลของบุญ ผลของบาป คือ ปฏิเสธกุศลกรรม และอกุศลกรรม นั่นเอง
 
๒. อเหตุกทิฏฐิ (ไม่เชื่อเหตุ)
ความเห็นผิดในอเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่าคนที่กำลังได้รับความทุกข์ ความสุข ความ ผิดหวัง ความสมหวัง ความโศกเศร้าเสียใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดมาจากเหตุที่ตนได้เคยทำบาป (อกุศล) หรือทำบุญ (กุศล) มาก่อนในอดีต ที่จริงแล้ว ความสุขความทุกข์ในปัจจุบัน เกิดมาจากบุญและบาป ที่เราได้เคยทำไว้ในอดีตทั้งสิ้น แม้การอุบัติเกิดขึ้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องสร้างบารมีมาแล้วถึง ๓๐ ทัศ หรือแม้แต่การได้เกิดมา เป็นพระราชามหากษัตริย์ ก็เนื่องจากได้เคยกระทำบุญกุศล อันเป็นเหตุปัจจัยมาแล้ว หรือคนที่เกิดมาเป็นคนสวย ร่ำรวย มีเสน่ห์ มียศฐาบรรดาศักดิ์นั้น ก็เกิดมาจากบุญเก่า ที่ได้เคยทำไว้แล้ว หรือพระอินทร์ แม้จะรู้ว่าทิพยสมบัติที่ตนมีอยู่นั้น มีมากกว่าเทพบุตรบางองค์ในชั้นเดียวกัน แต่ท่านก็ยังแปลงกายมาเป็นคนแก่ เพื่อต้องการที่จะทำทาน สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่กับพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ที่พึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ในทันทีที่กลับไป ทิพยสมบัติทั้งหลาย ต่างก็ปรากฏรัศมีเรืองรอง เปล่งปลั่งสว่างไสวเหนือกว่า เทพบุตรองค์อื่นๆ ยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าต้องการบุญ ก็ต้องมาสร้างบุญ (คือ ทำเหตุ เพื่อให้เกิดผลตามที่ตนปรารถนา) เมื่อบุคคลใดมีความเห็นตรงกันข้าม กับความจริงเช่นนี้ จึงได้ชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ
 
๓. อกิริยทิฏฐิ (ไม่เชื่อทั้งเหตุและผล)
อกิริยทิฏฐิ ชื่อว่า เป็นความเห็นผิดที่รวมยอด คือ เป็นทั้ง นัตถิกทิฏฐิ และ อเหตุกทิฏฐิ มารวมกัน โดยมีความเห็นว่า การกระทำต่าง ๆ นั้นไม่สำเร็จเป็นบาปเป็นบุญแต่ประการใดเลย การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีความเห็นว่าการทำความชั่ว (ทุจริต) หรือ การทำความดี (สุจริต) ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั้น ไม่สำเร็จผลเป็นบาปหรือเป็นบุญแต่อย่างใด ความเห็นของบุคคลนั้นชื่อว่า อกิริยทิฏฐิ ทั้งสิ้น
 
ความเห็นที่จัดเป็นอกิริยทิฏฐิ
การทำดี การทำชั่ว
จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ
ไม่ชื่อว่า
เป็นบาปเป็นบุญ
การตัดอวัยวะ เฆี่ยนตีผู้อื่น
"
"
การทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกเสียใจ
"
"
การทำให้ผู้อื่นได้รับความลำบาก
"
"
การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
"
"
อกุศลกรรมบถอื่น ๆ
"
"
 
          ความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธ กรรม อันเป็นตัวเหตุ เสียแล้ว ก็เท่ากับว่าได้ ปฏิเสธผลของกรรม ไปด้วย
 
ผลของบาป
ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ ซึ่งเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ นี้ เมื่อตายไป จะต้องไปเกิดใน นรก แน่นอน ความเห็นผิดเช่นนี้ แม้พระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถที่จะไปช่วยเหลือ แก้ไขความเห็นผิด ของบุคคลเหล่านั้นได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม ของบุคคลเหล่านั้น
 
ทิฏฐิ กับ ปัญญา
 
          ทิฏฐิ กับ ปัญญา มีสภาพธรรมที่ตรงกันข้าม เหมือนความ มืดกับสว่าง เหมือนคนเดินหันหลังให้กัน ต่างก็จะห่างไกลกันออกไปทุกที
 
ด้านปัญญา มีความเจริญขึ้น จะรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ โดยได้รับอุปการะจากศรัทธา วิริยะ สติ และ สมาธิ ไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายปัญญาของผู้นั้นได้ เขาย่อมมีความเลื่อมใสเป็นพิเศษในคุณพระรัตนตรัย เชื่อในกรรมและผลของกรรม เชื่อว่าตายแล้วต้องเกิดอีก
 
ด้านทิฏฐิ มีความเจริญขึ้นในทางไม่ดี โดยได้รับการสนับสนุนจาก มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ ย่อมยึดในความเห็นผิดของตน ไว้อย่างเหนียวแน่น จนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดไม่ได้ เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมต้องไปเสวยทุกขเวทนาใน อเวจีมหานรก โดยแน่นอน
 
องค์ประกอบของมิจฉาทิฏฐิ มี ๒ ประการ
๑. เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความจริง
๒. มีความเห็นว่าเนื้อความนั้นเป็นความจริง
 
ตารางสรุปอกุศลกรรมบถ ๑๐ สงเคราะห์เข้าในมโนกรรม ๓
อภิชฌา
 
๑. อทินนาทาน
๒. กาเมสุมิจฉาจาร
๓. มุสาวาท
๔. ปิสุณวาจา
๕. สัมผัปปลาปะ
๖. มิจฉาทิฏฐิ
พยาบาท
 
๑. ปาณาติบาต
๒. อทินนาทาน
๓. มุสาวาท
๔. ปิสุณวาจา
๕. ผรุสวาจา
๖. สัมผัปปลาปะ
มิจฉาทิฏฐิ
 
ทุจริตกรรม
ทั้ง ๑๐ ประการ
 
 
 
 
 
การทำบาปทางใจ กับ การทำอกุศลกรรมบถ ๑๐
(ขยายความ)
 
๑. เมื่อเกิดความโลภ (อภิชฌา) ขึ้นภายในจิตใจ ด้วยอำนาจของความโลภ จะผลักดัน ให้ทำทุจริตกรรมตามมา ถึง ๖ อย่าง ใน ๑๐ อย่าง คือ
 
๑. ความโลภ
เมื่อเกิดความโลภอยากได้ สิ่งที่จะทำบาปตามมาก็คือ ๑. การลักขโมย ๒. การประพฤติผิดในกาม ๓. การพูดเท็จ ๔. การพูดส่อเสียดทำให้คนแตกแยกกัน ๕. การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ ๖. การยึดถือในสิ่งที่ผิดคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูก
๒. ความพยาบาท
เมื่อเกิดความคิดแก้แค้น (พยาบาท) สิ่งที่จะทำบาปตามมาก็คือ ๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักขโมย ๓. การพูดเท็จ ๔. การพูดส่อเสียดทำให้คนแตกแยก ๕. การพูดคำหยาบ ๖. การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ
๓. ความเห็นผิด
ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เมื่อเกิดความเห็นผิดเสียอย่างเดียว สิ่งที่จะทำบาปตามมานั้นทำได้ครบทั้ง ๑๐ อย่าง คือ ๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักขโมย ๓. การประพฤติ ผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ ๕. การพูดส่อเสียดทำให้คนแตกแยกกัน ๖. การพูดคำหยาบ ๗. การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ ๘. ความเพ่งเล็งใน ทรัพย์สินของผู้อื่น ๙. ความพยาบาทปองร้าย ๑๐. ความเห็นผิดจากความเป็นจริง
 
          จะเห็นได้ว่า การทำอกุศล มีผลต่อผู้ทำทั้งปัจจุบันและอนาคต ผลในปัจจุบันก็คือ ในขณะที่ผู้ทำอกุศลหรือความชั่วนั้น ย่อมทำให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจอย่างที่สุด และยิ่งทุกข์มากกว่านั้นอีก เมื่ออกุศลทั้งหลายส่งผลนำเกิด ย่อมทำให้ไปสู่นรก ได้รับทุกข์โทษในนรกอย่างแสนสาหัส เป็นจำนวนหลายหมื่นหลายแสนปี นับจำนวนไม่ถ้วน เมื่อสิ้นกรรมตายจากนรก ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์เศษกรรมเหล่านั้น ก็ยังตามส่งผลให้ผู้นั้นได้รับผลกรรมอีกต่าง ๆ นานับประการดังที่กล่าวมาแล้ว
 
          เมื่อเราทราบว่าอกุศลทั้งหลายมีอะไรบ้าง และผลแห่งอกุศลนั้นจะนำพาให้เราได้รับทุกข์รับโทษอย่างไรแล้ว เราก็มารู้จักบุญที่เรียกว่ากุศลว่ามีอะไรบ้าง และจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะด้รับผลแห่งบุญ



          
          บาป ที่ทำ ไม่สูญหายไปไหน เมื่อตายลงก็จะส่งผลให้เกิดในที่ ๔ แห่งด้วยกัน คือ นรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ และเดรัจฉานภูมิ
 
          เป็นที่เกิดของคนที่ทำบาป เมื่อตายไปก็ต้องไปเสวยผล ของบาปที่ทำไว้ ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ท่านได้กล่าว ไว้ว่า มี ๘ ขุม เรียกว่า “ มหานรก ๘ ขุม ”
          
มหานรก ๘ ขุม
สัญชีวนรก
ได้แก่ พวกมหาโจร ปล้นทำลายทรัพย์สิน ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ข่มเหงผู้ต่ำต้อย เมื่อตายจะไปอยู่ในนรกขุมนี้ นายนิรยบาลจะใช้อาวุธ ที่มีแสงฟาดฟันร่างกาย ขาดออกเป็น ๒ ท่อน ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ แล้วถูกฟาดฟันให้ตายลงไปเป็นเช่นนี้อีก เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นกรรม
กาฬสุตตะนรก
ได้แก่ พวกเพชฌฆาต พวกที่ฆ่านักบวช ภิกษุสามเณร ผู้ทุศีล อลัชชี พวกนี้เมื่อตายไป จะไปเสวยทุกข์ในกาฬสุตตะนรก นายนิรยบาลจะใช้เชือกสีดำ ดีดไปที่ร่างกาย แล้วใช้มีด ขวาน หรือเลื่อย ตัด ถาก หรือเลื่อย ตามรอยเชือกที่ดีดไว้ ได้รับความทุกขเวทนาแสนสาหัส
สังฆาตะนรก
ได้แก่ พวกพรานนก พรานเนื้อ หรือพวกที่ชอบทรมานเบียดเบียนสัตว์ ที่ตนใช้ประโยชน์ เช่น วัวควาย โดยขาดความเมตตาสงสาร บุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้ว ก็จะไปเสวยทุกข์ในสังฆาตะนรก ซึ่งจะถูกภูเขาเหล็ก ที่มีเปลวไฟลุกโพลง เคลื่อนมาบดทับขยี้ร่างกาย จนแหลกละเอียดเป็นจุณไป
โรรุวะนรก
ได้แก่ พวกเมาสุราอาละวาดทำร้ายร่างกาย พวกเผาไม้ทำลายป่า พวกกักขังสัตว์ไว้ฆ่า พวกชาวประมง เมื่อตายย่อมไปเสวยทุกข์ในโรรุวะนรก จะถูกนายนิรยบาล ทรมานด้วยควันไฟ อันร้อนระอุให้เข้าไปสู่ทวารทั้ง ๙ ร้องระงมด้วยความเจ็บปวด ทรมานแสนสาหัส
มหาโรรุวะนรก
ได้แก่ พวกที่ลักเครื่องสักการะบูชา ขโมยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ครูอาจารย์ หรือภิกษุสามเณร นักบวชต่าง ๆ บุคคลเหล่านี้เมื่อตายแล้ว ย่อมไปเสวยทุกข์ในมหาโรรุวะนรก โดยถูกไฟเผาตามทวารทั้ง ๙ ร้องครวญครางด้วยเสียงอันดัง
ตาปนะนรก
ได้แก่ พวกเผาบ้านเผาเมือง เผาโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ บุคคลเหล่านี้ตายแล้ว ต้องไปเสวยทุกข์ในตาปนะนรก จะถูกนายนิรยบาลให้นั่งตรึงด้วยหลาวเหล็ก อันร้อนแรงและมีไฟลุกท่วมร่างกาย
มหาตาปนะนรก
ได้แก่ พวกมิจฉาทิฏฐิบุคคล เห็นผิดเป็นชอบ ไม่รู้จักของดีมีประโยชน์ ปฏิเสธเรื่องบุญ เรื่องบาป เห็นว่าตายแล้วสูญ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเที่ยง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำแต่ทุจริตกรรม บุคคลเหล่านี้ตายแล้ว ย่อมไปเสวยทุกข์ในมหาตาปนะนรก จะถูกนายนิรยบาลไล่ให้ขึ้นไปบนเขาเหล็ก ที่กำลังร้อนแรง เมื่อลื่นตกลงมาเบื้องล่าง ก็จะถูกหลาวเสียบ และมีไฟไหม้ท่วมร่างกายของสัตว์เหล่านั้น
อเวจีมหานรก
ได้แก่ พวกทำบาปหนักที่เป็นอนันตริยกรรม คือ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท คือ ยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน เป็นผู้ทำลายพระพุทธรูป พระพุทธเจดีย์ ต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พวกติเตียนพระอริยสงฆ์ บุคคลเหล่านี้เมื่อตายแล้ว ย่อมไปเสวยทุกข์ในอเวจีมหานรก
จะถูกนายนิรยบาลตรึงเสียบด้วยหลาวเหล็ก อันร้อนแรงทั้ง ๔ ด้าน จากซ้ายทะลุขวา หน้าทะลุหลัง ที่ศีรษะและเท้าถูกครอบตรึง ด้วยเหล็กที่ร้อนแรง
          
อุสสทนรก ๔ ขุม
          อุสสทนรก เป็นนรกขุมย่อย ล้อมรอบอยู่ตามประตูมหานรกทั้ง ๔ ทิศ ๆ ละ ๔ ขุม มหานรก ขุมหนึ่งจะมีอุสสทนรก ๑๖ ขุม ดังนั้น มหานรก ๘ ขุม จึงมีอุสสทนรกรวม ๑๒๘ ขุม มีชื่อเหมือนกันทุกประตู ต่างกันที่โทษหนักหรือเบาเท่านั้น มีชื่อดังนี้
คูถะนรก นรกอุจจาระเน่า
ได้แก่ พวกมหาโจร ปล้นทำลายทรัพย์สิน ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ข่มเหงผู้ต่ำต้อย เมื่อตายจะไปอยู่ในนรกขุมนี้ นายนิรยบาลจะใช้อาวุธ ที่มีแสงฟาดฟันร่างกาย ขาดออกเป็น ๒ ท่อน ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ แล้วถูกฟาดฟันให้ตายลงไปเป็นเช่นนี้อีก เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นกรรม
กุกกุละนรก นรกหลุมขี้เถ้า
ได้แก ่พวกเพชฌฆาต พวกที่ฆ่านักบวช ภิกษุสามเณร ผู้ทุศีล อลัชชี พวกนี้เมื่อตายไป จะไปเสวยทุกข์ในกาฬสุตตะนรก นายนิรยบาลจะใช้เชือกสีดำดีดไปที่ร่างกาย แล้วใช้มีด ขวาน หรือเลื่อย ตัด ถาก หรือเลื่อย ตามรอยเชือกที่ดีดไว้ ได้รับความทุกขเวทนาแสนสาหัส
สิมปลิวนะนรก นรกป่างิ้ว
ได้แก่ พวกมหาโจร ปล้นทำลายทรัพย์สิน ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ข่มเหงผู้ต่ำต้อย เมื่อตายจะไปอยู่ในนรกขุมนี้ นายนิรยบาลจะใช้อาวุธ ที่มีแสงฟาดฟันร่างกาย ขาดออกเป็น ๒ ท่อน ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ แล้วถูกฟาดฟันให้ตายลงไปเป็นเช่นนี้อีก เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นกรรม
เวตตรณีนรก นรกน้ำเค็ม
ได้แก่ พวกมหาโจร ปล้นทำลายทรัพย์สิน ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ข่มเหงผู้ต่ำต้อย เมื่อตายจะไปอยู่ในนรกขุมนี้ นายนิรยบาลจะใช้อาวุธ ที่มีแสงฟาดฟันร่างกาย ขาดออกเป็น 2 ท่อน ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ แล้วถูกฟาดฟันให้ตายลงไปเป็นเช่นนี้อีก เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นกรรม
ยมโลกนรก ๑๐ ขุม
          ผู้ที่ทำบาปอกุศลกรรมหนัก ๆ ไว้ไปเสวยทุกขเวทนาในมหานรก และอุสสทนรกแล้ว ยังจะต้องเสวยทุกข์ในยมโลกนรกอีก ซึ่งตั้งเรียงรายล้อมรอบอุสสทนรก ๕ ทิศ ทิศละ ๑๐ ขุม ในอุสสทนรกขุมหนึ่ง ๆ จึงมียมโลกนรก ๔๐ ขุม เมื่อรวมยมโลกทั้งหมดที่มีอยู่ในมหานรกทั้ง ๘ ขุม จะรวมได้ทั้งหมด ๓๒๐ ขุม
ยมโลกนรก ๑๐ ขุม มีชื่อดังต่อไปนี้
โลหกุมภีนรก นรกน้ำร้อน
นรกขุมนี้จะมีหม้อเหล็กขนาดใหญ่ ที่มีน้ำร้อนเดือดพล่านอยู่ตลอดเวลา
สิมพลีนรก นรกป่างิ้ว
จะเต็มไปด้วยต้นงิ้ว ที่มีหนามแหลมคมและมีพิษ จะลงโทษชายหญิง ที่ประพฤติผิดในทางเพศ
อสินขนรก นรกที่มีเล็บมือเล็บเท้าที่แหลมคม
โดยจะใช้เล็บมือเล็บเท้าของตนเองนี้ ขุดตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นอาหาร
ตามโพทกนรก นรกน้ำทองแดง
ในนรกขุมนี้ จะมีหม้อเหล็กขนาดใหญ่ ที่มีน้ำทองแดง เดือดพล่านอยู่
อโยคุฬนรก นรกก้อนเหล็กแดง
ในนรกขุมนี้ จะเต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงอยู่เกลื่อนกลาดทั่วไป สัตว์นรกเห็นเป็นอาหาร ก็บริโภคเข้าไปได้รับความทุกขเวทนา
ปิสสกปัพพตนรก นรกภูเขาใหญ่
ซึ่งตั้งอยู่ ๔ ทิศ จะเคลื่อนเข้ามาหากัน และบดขยี้สัตว์นรก ให้แหลกละเอียดเป็นจุณ
ธุสนรก นรกอดน้ำ
ผู้ที่ตกนรกขุมนี้ จะมีความทุกข์ทรมานจากการหิวกระหายน้ำ
สีตโลสิตนรก นรกน้ำเยือกเย็น
เป็นนรกที่มีน้ำเย็นเป็นที่สุด สัตว์นรกจะต้องตายเพราะความเย็น และเกิดใหม่ทันที ทันทีที่เกิดใหม่ก็จะถูกนายนิรยบาลจับโยนลงไปอีก เป็นอยู่อย่างนี้ชั่วกาลนาน
สุนขนรก สุนัขนรก
จะเต็มไปด้วยสุนัขนรกที่ดุร้าย หิวโหย และกัดกินกันเอง
ยันตปาสาณนรก นรกเขากระทบกัน
ผู้ที่ตกในนรกขุมนี้ จะถูกนายนิรยบาลจับโยนเข้าไป ในระหว่างเขา ๒ ลูก ซึ่งกระทบกันอยู่ตลอดเวลา
          
          
          โลกันตนรก เป็นนรกขุมใหญ่พิเศษ ซึ่งตั้งอยู่ที่ระหว่างช่องว่างของขอบจักรวาลทั้ง ๓ ที่มาเชื่อมต่อกัน ซึ่งมีแต่ความมืดสนิท สัตว์ที่อุบัติในโลกันตนรกนี้ จะมีร่างกายใหญ่โตมหึมา มีเล็บเท้ายาว ใช้เกาะอยู่ตามขอบเชิงจักรวาล ห้อยโหนตัวอยู่ตลอดกาล เมื่อไปพบพวกเดียวกัน ก็คิดว่าเป็นอาหารจึงไล่ตะปบกัน จนเท้าตกลงมาในน้ำกรดที่เย็นยะเยือก สัตว์นั้นก็จะละลายหายไปเป็นจุณ แล้วอุบัติเกิดขึ้นใหม่ที่ขอบจักรวาลนั้น ห้อยโหนตัวอยู่ไปมา และเมื่อพบกันก็ตะปบกันอีก เป็นเช่นนี้ตลอดกาล
          
ทำบาปอะไรจึงต้องตกอยู่ในโลกันตนรก
๑. เป็นผู้ประทุษร้ายทรมานบิดามารดา ปราศจากความกตัญญูกตเวที
๒. เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล คือ ไม่เชื่อบุญบาป ไม่เชื่อนรกสวรรค์ แล้วทำบาปอยู่เป็นเนืองนิจ
๓. ประทุษร้ายต่อผู้ทรงศีล ทรงธรรม หรือกระทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นประจำ ทุกวัน
          
          ด้วยอำนาจของกรรมหนักเหล่านี้ จึงชักนำให้ไปเกิดในโลกันตนรก ซึ่งมืดมิดอยู่เป็นนิตย์ตลอดกาลนาน ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก จึงมีโอกาสเห็นแสงสว่างขึ้นแวบหนึ่ง ประมาณช่วงฟ้าแลบ หรือช่วงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
 

 
Heute waren schon 45 Besucher (47 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden