vipassana - มงคลสูตร ๑๐
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt

  มงคลหมู่ที่ ๑
  - ไม่คบคนพาล
- คบบันฑิต
- บูชาบุคคลที่ควรบูชา
  มงคลหมู่ที่ ๒
  - อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
-
มีบุญวาสนามาก่อน
- ตั้งตนชอบ
  มงคลหมู่ที่ ๓
  - เป็นพหูสูต
-
มีศิลปะ
- มีวินัย
- มีวาจาสุภาษิต
  มงคลหมู่ที่ ๔
  - บำรุงบิดามารดา
-
เลี้ยงดูบุตร
- สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
- ทำงานไม่คั่งค้าง
  มงคลหมู่ที่ ๕
  - บำเพ็ญทาน
-
ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- ทำงานไม่มีโทษ
  มงคลหมู่ที่ ๖
  - งดเว้นจากบาป
-
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรม
  มงคลหมู่ที่ ๗
  - มีความเคารพ
-
มีความถ่อมตน
- มีความสันโดษ
- มีความกตัญญ
- ฟังธรรมตามกาล
  มงคลหมู่ที่ ๘
  - มีความอดทน
-
เป็นคนว่าง่าย
- เห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
  มงคลหมู่ที่ ๙
  - บำเพ็ญตบะ
-
ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจ
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
  มงคลหมู่ที่ ๑๐
  - จิตไม่หวั่นในโลกธรรม
-
จิตไม่โศก
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม
 

 
Open.gif (880 bytes)สรุปคำอธิบายหมู่มงคล
      มงคลสูตรทั้ง ๓๘ ข้อนั้น รวมได้เป็น ๑๐  หมู่ ๕ หมู่แรกเป็นข้อปฏิบัติในการสร้างชีวิต ส่วน ๕ หมู่หลังเป็นการฝึกใจโดยตรง
 ในการศึกษามงคลชีวิตให้เข้าใจง่าย ให้เราสมมุติตัวเองว่าเป็นพ่อแม่และถามตัวเองว่าเราอยากจะให้ลูกเราเป็นคนมีคุณสมบัติอย่างไรหรือสมมุติว่าเราเป็นพี่ เราอยากให้น้องเราเป็นคนอย่างไร หรือสมมุติว่าเราเป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ เราอยากจะให้พนักงานของเรามีคุณสมบัติอย่างไร
 เราจะพบคำตอบว่าคนที่เราต้องการ ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่สมบูรณ์นั้นคือ
    ๑. ต้องเป็นคนดี พวกคนเกเร เกะกะเกมะเหรกไม่มีใครชอบไม่มีใครต้องการ ทุกที่ต้องการแต่คนดี
    ๒. ต้องเป็นคนที่มีความพร้อมในการฝึกตัวเอง มีปัจจัยสนับสนุนในการทำงาน ในการสร้างความดี
    ๓. ต้องเป็นคนมีประโยชน์ มีฝีมือ ทำงานได้ ทำงานเป็น พูดเป็นไม่ใช่เป็นคนมี ไฟแรง แต่ฝีมือไม่มี  จับงานอะไรล่ะก็พังทุกที อย่างนั้นไม่มีใครต้องการ
    ๔. ต้องเป็นคนมีครอบครัวดี ครอบครัวอบอุ่นสามัคคี ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน และมีฐานะมั่นคง
    ๕. ต้องเป็นคนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือคนอื่น ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาแต่ประโยชน์ตัวเอง แต่รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม
 ทั้ง ๕  ข้อนี้เป็นคุณสมบัติของคนที่ใคร ๆก็ต้องการ แต่เราก็ไม่รู้ว่าทำอย่างไรคุณสมบัติเหล่านี้จึงจะเกิดขึ้นได้ ความจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเราไว้แล้ว  ซึ่งก็คือหลักมงคลชีวิตนั่นเอง
 มงคลสูตร  ทั้ง ๓๕ ข้อนั้นรวมได้เป็น ๑๐ หมู่  ๕ หมู่แรกเป็นข้อปฏิบัติในการสร้างชีวิต เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องพบต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่วน ๕ หมู่หลังเป็นการฝึกใจโดยตรง ใครทำตามหลักมงคล ๕ หมู่ แรกละก็ คุณสมบัติ ๕ ข้อที่เราต้องการก็จะเกิดขึ้นมาดังนี้
มงคลหมู่ที่ ๑ ฝึกให้เป็นคนดี
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา
นิสัยของคนเรา จะมาจากสิ่งแวดล้อม คนรอบตัว เราคบกับคนอย่างไรบูชายกย่องใคร เราก็จะค่อย ๆ  มีนิสัย ไปตามเขา ใครคบคนขี้เหล้าเป็นเพื่อนสนิท ไม่ช้าก็จะกลายเป็นไอ้ขี้เมาตามไป เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการจะเป็นคนดีจึงต้อง
๑.ไม่คบคนพาล  เป็นการป้องกันไม่ให้นิสัยไม่ดี ความเห็นผิด ๆ ทั้งหลายจากคนพาล มาติดต่อเราเข้า และป้องกันไม่ให้ถูกคนพาลกลั่นแกล้งทำร้ายเอาด้วย
๒. คบบัณฑิต เพื่อถ่ายทอดเอานิสัยดี ๆ คุณธรรมต่าง ๆ มาสู่ตัวเรา
๓. บูชาบุคคลที่ควรบูชา เพื่อประคับประคองนิสัยที่ดีในตัวให้เจริญงอกงามขึ้น บุคคลที่ควรบูชาจะเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดีให้เราดู เป็นหลักใจของเราทีเดียว มงคลหมู่ที่ ๒  สร้างความพร้อมในการฝึกตัวเอง
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ
 คนเราทำไมจึงมีความแตกต่างกัน คนอายุเท่ากันแท้ ๆ แต่ทำไมฝีมือไม่เท่ากัน ทำไมบางคนมีความรู้สูง ประสบความสำเร็จในชีวิตใหญ่โต  แต่บางคนทำไมชีวิตเขาล้มเหลว เป็นเพราะอะไร
นั่นเป็นเพราะเขาฝึกตัวเองไม่เท่ากัน
แล้วทำไมจึงฝึกตัวเองไม่เท่ากันล่ะ
ก็เป็นเพราะว่าเขามีความพร้อม มีปัจจัยสนับสนุนในการฝึกตัวเองไม่เท่ากัน
อะไรนะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฝึกตัวเอง
คนที่จะฝึกตัวเองได้ดีนั้น  จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.ต้องอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม รู้จักเลือกและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้พอเหมาะแก่ตน โบราณท่านเปรียบไว้ว่า
 ต้นโพธิ์ต้นไทร หากปลูกในกระถางก็กลายเป็นไม้แคระ แต่ถ้าเราไปปลูกในที่ดินดีล่ะก็ ไม่นานโตเป็นไม้ใหญ่ไม่รอบทีเดียว
โอกาสเป็นคนดีถ่ายทอดคุณธรรมจากท่านได้สะดวก จะหาความรู้จะฝึกฝีมือจะฝึกวินัย ฝึกพูด ก็หาคนสอนง่าย บ้านช่องมีอยู่สะดวกสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์  ก็ฝึกตัวเองได้ง่าย
๒. ต้องมีบุญวาสนามาก่อน คือ  สร้างบุญมาดี ทั้งบุญเก่า บุญใหม่
 บุญเก่าที่ทำมาในอดีตชาติ ก็ทำให้เป้นคนมีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาเฉลียวฉลาด ไหวพริบปฏิภาณไว อารมณ์แจ่มใสเบิกบานมีบุญคอยส่งอยู่ จะร่ำเรียนเขียนอ่าน ทำการงานอะไรก็ก้าวหน้าได้เร็วกว่าคนอื่น
 บุญใหม่ที่ทำในชาตินี้ การตั้งใจขยันหมั่นเพียร หมั่นทำงาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะคอยช่วยหนุนอีกชั้นหนึ่ง
 ใครที่บุญเก่ามี แต่บุญใหม่ไม่ยอมทำ  ก็มีโอกาสพลาดได้เหมือนกันฉลาดนักแต่ขี้เกียจ สอบตกมาก็เยอะแยะแล้ว ถ้าบุญเก่าถึงจะน้อย  แต่ขวนขวายสร้างบุญใหม่ ก็ยังเอาตัวรอดก้าวหน้าได้ เช่น ปัญญาปานกลางแต่ขยันได้เกียรตินิยมก็มีตัวอย่างให้เห็น
 ยิ่งถ้าใครบุญเก่าก็ดี บุญใหม่ก็ขวนขวายทำ ยิ่งก้าวหน้าได้เร็ว เป็นทวีคูณ ฝึกตัวเองได้ง่าย
๓. ต้องตั้งตนชอบ คือมีเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้องเช่น จะเป็นครู  เป็นแพทย์ เป็นวิศวกร เป็นนักธุรกิจ หรืออะไรก็ได้ แแต่ก็ต้องมีเป้าว่าจะตั้งฐานะให้ได้  โดยอาชีพที่สุจริต ไม่เป็นคนโลเล ปล่อยตัวเองไปตามดวง วันนี้อยากเป็นแพทย์ พรุ่งน้เปลี่ยนใจเป็นวิศวกรดีกว่า มะรืนเปลี่ยนใจอีกแล้วจะเป็นนักธุรกิจ  อย่างนี้ล้มเหลวทั้งชาติ
 คนที่ตั้งตนชอบจะทำให้มีเป้าหมาย จะขวนขวายหาความรู้ฝึกฝีมืออะไรก็ทำไปตามเป้าที่วางเอาไว้  เมื่อมีเป้าหมายอย่างนี้แล้วก็ย่อมมีความกระตือรือร้นสามารถทุ่งเทพลังความ สามารถของตนเพื่อฝึกตัวเองให้บรรลุเป้านั้นได้อย่างเต็มที่ ไม่เปะปะจะมีความพร้อมในการฝึกตัวเองสูง
มงคลหมู่ที่ ๓ ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์
มงคลที่  ๗ เป็นพหูสูต
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ
มงคลที่ ๙ มีวินัย
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต
 สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกมีมากสุดคณนา แต่มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐสุด เพราะสามารถฝึกตนให้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคมได้เต็มที่
 คนมีประโยชน์ ที่ใคร ๆ ต้องการนั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.ต้องไม่เป็นคนโง่ เราจึงต้องฝึกตัวเองให้เป็นพหูสูต ใฝ่หาความรู้ "ฉลาดรู้"
๒. ต้องไม่เป็นคนชนิดความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด มีแต่ความรู้แต่พอให้ทำอะไรทำไม่ได้สักอย่าง ทำไม่เป็น เราจึงต้องฝึกตัวเองให้มีศิลปะ ทำได้ ทำเป็น สามารถนำเอาความรู้มาใช้งานได้จริง ๆ "ฉลาดทำ"
๓. ต้องไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์  เอาแต่ใจตัวเอง เราจึงต้องฝึกตัวเองให้เป็นคนมีวินัย เคารพต่อกฏระเบียบของหมู่คณะ และวินัยของตนเองรู้จักควบคุมตนเองให้นำความรู้ความสามารถไปใช้ในทางที่ถูก "ฉลาดใช้"
๔.ต้องไม่เป็นคนปากเปราะเราะราย  คนเราต่อให้ฝีมือดีแค่ไหนมีความรู้ความสามารถสูงส่ง แต่ถ้าพูดไม่เป็นเข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น พูดจาไม่เข้าหูคน  ก็ไม่มีใครต้องการ เราจึงต้องฝึกตัวเองให้มีวาจาสุภาษิต รู้สึกควบคุมวาจา พูดเป็น  "ฉลาดพูด"
มงคลหมู่ที่ ๔  บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
ผู้ที่จะมีครอบครัวดีได้ จะต้อง
๑. บำรุงบิดามารดา มีความกัตัญญู รู้คุณพ่อแม่ เลี้ยงดูปรนนิมัติท่านให้ได้รับความสุขสบาย
๒. เลี้ยงดูบุตร รู้จักวิธีเลี้ยงลูกให้ลูกเป็นคนดี เป็นลูกแก้วนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่พ่อแม่วงศ์ตระกูล
๓. สงเคราะห์ภรรยา (สามี) สามีภรรยาจะต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตัวต่อกัน มีความเกรงอกเกรงใจ เคารพให้เกียรติกัน ไม่นอกใจกัน นี่จะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้อบอุ่นแน่นแฟ้น ครอบครัวจะมีแต่ความร่มเย็น เพียงย่างเท้าเข้าบ้านก็มีความสุขใจแล้ว  เข้าบ้านก็เหมือนขึ้นสวรรค์
๔. ทำงานไม่คั่งค้าง ต้องทำงานไม่คั่งค้างเพราะ  ครอบครัวก็ต้องมีค่าใช้จ่าย จะเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงลูก  เลี้ยงภรรยา ก็ต้องใช้สตางค์ทั้งนั้น เราจึงมีหน้าท่ก่อร่างสร้างตัว ด้วยการทำงานไม่คั่งค้าง ต้องทำให้เสร็จ ทำให้สำเร็จ จะได้สร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นแก่ตนเองและครอบครัว
 ใครปฏิบัติได้ครบ ๔ ข้อนี้ ครอบครัวก็จะมั่นคงมีความสุข
มงคลหมู่ที่ ๕ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ
 นอกจากการปรับปรุงครอบครัวของเราให้มีความสุข มีความอบอุ่นมีฐานะมั่นคงแล้ว  เราทุกคนยังมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมช่วยเหลือส่วนรวมด้วย โดย
๑. บำเพ็ยทาน คือ การให้ รู้จักสละทรัพย์สิ่งของที่เหมาะสมของตนแก่นที่ผู้ที่สมควรได้รับ เป็นการกำจัดความตระหนี่ สร้างสมบุญกุศล ทำให้ใจของเราสูงขึ้น และเป็นการสร้างสันติสุขแก่มวลมนุษย์ชาติ
๒.ประพฤติธรรม บางคนอาจนึกสงสัยว่า "เอ๊ะ ทำไมประพฤติธรรม ต้องมาอยู่ตรงหมู่นี้ด้วย ไม่เห็นเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ผิดลำดับหรือเปล่า" คำตอบก็คือ "เปล่า" พระองค์เรียงลำดับไว้ถูกต้องเหมาะสมทุกประการ งามพร้อมจริง ๆ การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมนี้ ถ้าขาดการประพฤติธรรมแล้วละก็จะไม่สมบูรณ์ไปได้เลย รายละเอียดจะยกไว้กล่าวตอนท้าย
๓.สงเคราะห์ญาติ คือช่วยเหลือทั้งญาติสายโลหิตเดียวกัน ทั้งพี่ ป้า น้า อา ลุง หลาน ฯลฯ รวมทั้งผู้รู้จักคุ้นเคยกัน ญาติร่วมจังหวัดญาติร่วมประเทศเดียวกัน  ญาติร่วมโลก  เป็นการสร้างเสริมความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่นของสังคมให้เกิดขึ้น
๔.ทำงานไม่มีโทษ อันนี้ชื่อก็บอกตรงตัวอยู่แล้ว ทำงานไม่มีโทษก็หมายถึงทำงานมีประโยชน์คือ งานสาธารณกุศล งานสาธารณประโยชน์ งานสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ นั่นเอง
  คราวนี้ เรามาดูกันว่า การประพฤติธรรมทำไม่ต้องอยู่ในมงคลหมูนี้
 ประพฤติธรรม ก็คือ การปฏิบัติตามกุศลกรรมบท ๑๐ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด  ฯลฯ
 คนเราทั่วไปปกติเราก็ว่าเราเป็นคนดี รักษาศีลได้เป็นคนใจเย็นคนหนึ่งแต่พอมาทำงานเพื่อสังคมเข้า เนื่องจากเป็นงานของส่วนร่วมเพื่อส่วนรวมดังนั้นก็มักจะมีผู้ร่วมงานมาก พอคนมากก็มักจะมีความเห็นแตกต่างกันบ้างมีผู้ไม่หวังดีมาคอยขัดขวางงานบ้าง จากเดิมว่าเป็นคนใจเย็นล่ะ มันก็ชักจะมีอารมณ์ขึ้นมา ถ้าไม่ได้ประพฤติธรรมล่ะก็ ประเดี๋ยวโกรธหนักเข้า เลยฆ่าทิ้งเสียเลยเราจึงจำเป็นต้องมีกรรมบถ ข้อ ๑ คือ  ไม่ฆ่าสัตว์ จะต้องแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีไม่แก้ปัญหาด้วยการฆ่า
 หรืองานส่วนรวมผลประโยชน์มันก็มีมาก พอเป็นรัฐมนตรีเข้าเขาเอาเช็คให้บอกนเซ็นชื่อแกร็กเดียว เช็คเงินสด  ๑๐ ล้านบาทเอาไปเลยเดิมก็ว่าเป็นคนรักษาศีลล่ะ แต่ถ้าไม่ได้ประพฤติธรรมล่ะก็มันก็ไม่แน่เหมือนกันของมันยวนใจยั่วใจมีอยู่มาก
 หรืออีกอย่าง งานเพื่อส่วนรวม มันก็ต้องทำกันหลายคนทั้งหญิงทั้งชาย ทำงานขลุกกัน ถ้าไม่ได้ประพฤติธรรมเดี๋ยวก็เผลอ ปล่อยใจไปยุ่งเกี่ยวกันเข้า มีเมียน้อยบ้าง มีชู้บ้าง บ้านแตกครอบครัวระส่ำระสาย
 ในการทำงานเพื่อส่วนรวม มีสิ่งยั่วใจให้ทำผิดมากเหลือเกิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสั่งไว้ว่า ต้องประพฤติธรรม เราจะเห็นได้ว่าคำสอนของพระองค์สมบูรณ์จริง ๆ งานพร้อมบริบูรณ์ไม่มีที่ติ ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายจะหาคำสอนใครในโลกได้อย่างพระองค์ไม่มีอีกแล้ว
  และที่เกิดปัญหากันปัจจุบัน เราคงเคยได้ทราบบ้าง ประเดี๋ยวนักสังคมสงเคราะห์ ลูกไปติดเฮโรอีน กลายเป็นวัยรุ่นรถซิ่งบ้าง คนเกเรบ้าง นั่นก็เพราะไม่ทำตามขั้นตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัวได้ไม่ดี ลูกตัวเองยังไม่รู้จักเลี้ยง จะไปช่วยชาวบ้านท่าเดียว  ผลสุดท้ายเลยจอด
 หรือที่มีข่าวเดี๋ยวนักสังคมสงเคราะห์คนนั้นคนนี้ หย่ากับสามีหรือภรรยาเสียแล้ว เพราะไปมีชู้ นี่ก็เพราะไม่ทำตามขั้นตอนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ประพฤติธรรมแล้วจะไปสงเคราะห์สังคมเลยพลาด
 มงคล ๕ หมู่แรกนี้เป็นเรื่องของการดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ ทำให้ตัวของเราเป็นคนดีที่ใคร ๆ หรือสังคมไหน ๆ ก็ต้องการ
 สำหรับมงคล ๕ หมู่หลัง จะเป็นเรื่องของการฝึกใจโดยเฉพาะจนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ทีเดียว ดังนี้
มงคลหมู่ที่ ๖ ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
 ในการปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม เพื่อจะฝึกใจให้มีคุณธรรมมากขึ้นมีกิเลสเบาบางลงตามลำดับนั้น เราต้องทำดังนี้
๑. งดเว้นจากบาป คนที่ยังทำบาปสารพัดอยู่ ไม่ยอมเลิกไม่มีทางที่จะฝึกใจได้เลย เพราะบาปนั้นจะมาหุ้มใจ ทำให้ใจเสียคุณภาพรองรับธรรมะไม่ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ต้องการฝึกใจ อะไรที่เป็นความชั่วที่ทำแล้ว ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง เสียคุณภาพอันดีไป ที่เคยทำอยู่ก็จะต้องงดเสีย ที่ไม่เคยทำก็จะต้องละเว้นไม่ยอมทำ โดยเด็จขาด
๒.สำรวจจากการดื่มน้ำเมา เพราะของมันเมาเสพย์ติดทั้งหลายจะทำให้เราขาดสติ  และใจที่ขาดสตินั้นก็ไม่สามารถฝึกได้ ใครไม่เชื่อจะลองดูก็ได้  ลองไปเทศน์ให้คนเมาเหล้าฟัง ดูซิว่าเขาจะรู้เรื่องไหม
๓.ไม่ประมาทในธรรม ผู้ที่ประมาทมักจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมคิดแต่ว่าไม่เป็นไร "ไม่เป็นไร เรายังอายุน้อยอยู่รอแก่ ๆ ค่อยทำความดี" หรือ "ไม่เป็นไรหรอกน่า เรายังแข็งแรงทำเมื่อไรก็ได้" หรือ "ไม่เป็นไรหรอกน่าเรายังมีชีวิตอีกนานทำเมื่อไรก็ได้" เขาเหล่านี้เมาแล้วในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความคิดว่ายังไม่ตาย จึงไม่ยอมทำความดี
 ส่วนผู้ที่ไม่ประมาทในธรรม จะคิดเสมอว่า  คนเราอาจป่วยขึ้นมาเมื่อใด หรือตายเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้ มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้าไม่มีการบอกก่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่ประมาท  รีบขวนขวายสร้างบุญ สร้างกุศล ตั้งใจฝึกตนเอง ซึ่งใจของคนอย่างนี้จะมีความกระตือรือร้น พร้อมที่จะรับการฝึกกุศลธรรมทั้งหลายสามารถเจริญขึ้นได้โดยง่าย
มงคลหมู่ที่ ๗ การแสวงหาธรรมเบื้องต้นใส่ตัว
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล
 เมื่อเราเตรียมสภาพใจของเราไว้พร้อมแล้วจากมงคลหมู่ที่ ๖ เมื่อถึง มงคลหมู่ที่ ๗ นี้ ก็เริ่มลงมือแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัวทีเดียว คราวนี้ผู้จะแสวงหาธรรมะใส่ตัวได้ ก็จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ต้องมีความเคารพ รู้และตระหนักถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของผู้อื่น ใครมีข้อดีอะไรก็รู้ ทำให้รู้ว่าจะเข้าไปหาคุณธรรมได้จากใคร
 คนไม่มีความเคารพ จะเป็นคนที่มองใครก็ไม่เห็นมีอะไรดี เลวไปหมดก็เลยไม่สามารถหาธรรมะใส่ตัวได้ เพราะเมื่อมองไม่เห็นข้อดีของใครแล้วก็เลยไมรู้จะไปเอาธรรมะจากใคร
๒. ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดื้อถือดี ไม่เบ่ง ไม่ยโสโอหัง รู้จักค่าของตนเอง  ตรงตามความเป็นจริง พร้อมที่จะน้อมตัวลงรับเอาคุณความดีจากผู้อื่นมาใส่ตัวได้
 คนที่มีความเคารพ รู้ว่าคนอื่นมีดีอะไร ถ้าหากขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนแล้ว  ใจเขาจะพองขึ้นแข่งทันทีว่า ถึงเอ็งจะแน่แต่ข่าก็หนึ่งเหมือนกันเขาจะคอยแต่เบ่งคิดว่าตัวเก่งกว่าทุกที ก็เลยรับคุณธรรมของใครไม่ได้เพระาคิดว่าตัวเก่งกว่าเสียแล้ว
 เราดูมหาสุมทรเป็นที่รวมของน้ำได้ ก็เพราะพื้นผิวอยู่ต่ำกว่าแม่น้ำลำธารทั้งหลาย ถ้าเมื่อใดมหาสมทุรยกตัวสูงขึ้น  น้ำก็จะไหลย้อนกลับรับน้ำไม่ได้อีกต่อไป คนเราก็เช่นกันถ้าขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนอวดเบ่ง ยกใจตัวเราสูงขึ้นกว่าแล้ว ก็จะรับเอาคุณธรรมจากใครไม่ได้
๓. ต้องมีความสันโดษ เป็นคนรู้จักพอ รู้จักประมาณ สุขใจพอใจกับของของตน ทำให้จิตใจสงบ สามารถรองรับคุณธรรมจากผู้รับได้เต็มที่
 คนที่ขาดสันโดษ ใจของเขาจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวายกระหายอยากได้ มีสินล้านก็ไม่พอ จะเอาร้อยล้าน มีร้อยล้านก็ไม่พอจะเอาพันล้าน หมื่นล้าน ไม่รู้จักอิ่ม ซึ่งใจของคนชนิดนี้ไม่สามารถจะลองรับคุณธรรมได้ ไปฟังพระเทศน์เท่าไรก็ไม่ซึมเข้าไปอยู่ในใจ ลืมตา หลับตา  เขามองเห็นแต่ตัวเลข คิดแต่ว่าอยากรวย ๆ ธรรมะนึกไม่ออก
๔.ต้องมีความกตัญญู ใครเคยทำคุณอะไรไว้ให้ตัวก็ตระหนักซาบซึ้งถึงบุญคุณ พยายามหาทางตอบแทนทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่านับถือใคร ๆ ก็เมตตาอยากถ่ายทอดวิชาความรู้ คุณความดีต่าง ๆให้
 เพราะแม้เราจะมีความเคารพ  รู้ข้อดีคนอื่นรู้เป้าแล้วว่าจะไปถ่ายทอดเอาคุณธรรมนั้น ๆ ได้จากใคร มีความถ่อมตน ใจเราก็พร้อมจะน้อมไปรับคุณธรรมนั้น  ๆ ได้จากใคร มีความถ่อมตน ใจเราก็พร้อมจะน้อมไปรับคุณธรรมนั้น  และมีความสันโดษ คือใจก็สงบพอที่จะรับเอาธรรมะนั้น ๆ มาใตร่ตรองให้เข้าใจได้ แต่ก็ยังไม่แน่นะว่าเขาจะรับเอาธรรมะนั้น ๆ  มาไตร่ตรองให้เข้าใจได้ แต่ก็ยังไม่แน่นะว่าเขาจะยอมสอนเราหรือเปล่า  เราต้องเป็นคนมีความกตัญญูรู้คุณคนด้วย คนอื่นจึงจะเมตตาสอนให้เรา
๕.ฟังธรรมะตามกาล เมื่อฝึกตัวเองมาครบ ๔ ข้อข้างต้นแล้ว ก็ไปฟังธรรมะจากผู้ทรงคุณธรรมทีเดียวในทุก  ๆ  โอกาสที่อำนวยให้
 และอาศัยธรรมะที่ฟังนั้น ๆ  มาเป็นกระจกส่องใจเราให้เห็นว่าตัวเรามีคุณธรรมมากน้อยเพียงใด มีข้อบกพร่องตรงไหน จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
มงคลหมู่ที่ ๘ การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวให้เต็มที่
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
เมื่อเราฝึกจนได้คุณธรรมเบื้องต้นต่าง ๆ จากการฟังธรรมตามกาลแล้ว  ก็ต้องฝึกหาคุณธรรมเบื้องสูงต่อไป โดย
๑.มีความอดทน ทั้งทนแดด ทนฝน ทนร้อน ทนหนาว ทนความปวดเหมื่อยทางกาย ทนต่อความเจ็บใจ ทนต่ออำนาจของกิเลสทนสารพัดอย่างล่ะ จะเอาธรรมะต้องทนได้
๒.เป็นคนว่าง่าย  คือ ไม่ว่าใครจะสั่งสอนด้วยคำพูดอย่างไร  ไพเราะหรือหยาบคายก็ตาม ต้องทนได้ ไม่โต้เถียงไม่ศอกกลับ น้อมรับฟังด้วยดพูดง่าย ๆ คือ ต้องสามารถอดทนต่อคำสั่งสอนได้นั่นเอง  ท่านจะจ้ำจี้จ้ำไชอย่างไรต้องทนได้
๓.เห็นสมณะ คือ   ไปหาตัวอย่างที่ดีดู   หาพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรม สงบกาย สงบวาจา  สงบใจ
 ธรรมะหลาย ๆ ข้อ ถ้าอธิบายธรรมดา ๆ ล่ะก็เข้าใจยากไม่ค่อยจะยอมเชื่อ  แต่พอเห็นสมณะ เห็นตัวอย่างแล้วมันเชื่อโดยไม่ต้องอธิบาย เช่น การรักษาศีล พระสอนว่าศีลทำให้เกิดสุข อธิบายจนคอจะแตกเขาก็ยังไม่ยอมเชื่อ เถียงคอเป็นเอ็นว่าจะสุขไปได้อย่างไร  มีขอจำกัดสารพัด สู้คนไม่มศีลไม่ได้สุขกว่า จะกินเหล้าก็กิน  จะลักขโมยก็ลัก  จะบี้มดตบยุงตามสบาย  สุขกว่าเยอะ
 แต่พอเห็นสมณะเข้าเท่านั้นแหละได้คิด "เอ! ท่านก็รักษาศีลนะ แล้วดูซี หน้าตาผิวพรรณท่าน ก็ผ่องใส  อิ่มเอิบดูมีความสุขจริง ๆ" เท่านี้แหละ  ไม่ต้องอธิบาย  มันเขาใจมันเชื่อเลยการเห็นสมณะดีอย่างนี้ ทำให้เข้าใจธรรมะมากขึ้น
๔. สนทนาธรรมตามกาล  คือ เมื่อเห็นตัวอย่างจากสมณะแล้ว เข้าใจธรรมะมากขึ้น แต่ถ้าหากยังมีข้อสงสัยอะไร  ก็ให้ไปสนทนาซักถามจากท่านจนเข้าใจกระจ่างแจ้ง หาธรรมะเบื้องสูงทั้งหลายใส่ตัวให้เต็มท่
 เราจะเห็นว่าในมงคลหมู่ที่ ๗ การหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัวจากการฟังธรรมตามกาล เนื่องจากแค่ฟัง  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้เราเตรียมแต่ การมีความเคารพ มีความถ่อมตน มีความสันโดษ และมีกตัญญูเท่านั้น
 พอมาถึงมงคลหมู่ท่ ๘นี้ จะหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวจากการสนทนาธรรมตามกาล พอต้องสนทนาเท่านั้นแหละ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้เราเตรียมตัวเพิ่มขึ้นมาอีก ๒ ข้อ สั่งว่าเจ้าจะต้องมีความอดทนเสียก่อนนะทั้ง  ทนแดด ทนร้อน ทนหนาว ทนต่อความเจ็บใจ รวมทั้งต้องเป็นคนว่าง่าย คือต้องทนต่อคำสั่งสอนให้ได้เสียก่อน จึงค่อยไปหาสมณะ แล้วสนทนาธรรมกับท่านไม่อย่างนั้นละก็ เดี๋ยวท่านสอนธรรมะลึก ๆ อะไรให้ เผอิญมันขัดกับกิเลสในตัวเรา ท่านจ้ำจ้จ้ำไชหนักเข้า เลยพาลโกรธปึงปังไป  แล้วจะพลาดถ้าฝึกความอดทน ความว่าง่ายมาไม่พอ
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางตำแหน่งมงคลต่าง ๆ ได้เหมาะเจาะเหลือเกิน ยิ่งเราศึกษามากเท่าใด ก็จะยิ่งซาบซึ่งในพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์มากขึ้นเพียงนั้น
มงคลหมูที่ ๙ การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจักกิเลสให้สิ้นไป
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
เมื่อจบมงคลหมู่ที่  ๘ คือว่าด้านทฤษฎีต่าง ๆ เราได้เข้าใจเต็มที่แล้ว มงคลหมู่ที่ ๙ นี้จะเป็นการลงมือปฏิบัติฝึกฝนอย่างจริงจังเพื่อกำจักกิเลสให้หมดไป โดย
๑.บำเพ็ญตบะ ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนทนอยู่ไม่ได้ ต้องเผ่นหนีไปจากใจของเรา ธุดงควัตรมีกี่ข้อ ๆ ตั้งใจสมาทานรักษาเต็มที่ทีเดียว
๒.ประพฤติพรหมจรรย์ คือ  เมื่อบำเพ็ญตบะจนกิเลสเบาบางลงไปแล้ว ก็ต้องรีบปลูกฝังคุณธรรมต่าง ๆ ลงในใจก่อนที่กิเลสจะฟูกลับขึ้นมาอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องยกใจออกจากกาม อันเป็นที่มาของความเสื่อม และจะนำความทุกข์ นำกิเลสมาสู่ใจของเราอีก
๓.เห็นอริยสัจ คือ ตั้งใจปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิต่อไปอีกอย่างยิ่งยวดจนเข้าถึงธรรมกายและเห็นอริยสัจ คือ เห็นความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิตด้วยธรรมกาย
๔.ทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ เมื่อเห็นอริยสัจแล้ว ก็ตั้งใจทำสมาธิต่อไป ประคองใจหยุดนิ่งเข้ากลางธรรมกายไปเรื่อย  ๆ ให้ใจละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นจนทำพระนิพพานให้แจ้งได้ กิเลสต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ ร่อนหลุดไปจากใจตามลำดับ ๆ จนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
มงคลหมู่ที่ ๑๐   ผลจากการปฏิบัติจนหมดกิเลส
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ ๓๖  จิตไม่โศก
มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม
 เมื่อเราอาบน้ำชำระล้างร่างกายเรยบร้อยแล้ว ก็จะมีผลตามมาซึ่งเราอาจบรรยายได้หลายลักษณะ เช่น ไม่สกปรก ไม่เลอะเทอะ ไม่เหนียว เหนอะหนะ สะอาดสดชื่นผ่องใส
 ในทำเดียวกัน เมื่อเราปฏิบัติฝึกฝนตนเองจนกิเลสต่าง ๆ ร่อนหลุดไปจากใจแล้ว  เราก็อาจบรรยายสภาพจิตของเราในขณะนั้นได้หลายลักษณะเช่น
๑.จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ มีความหนักแน่นขุนเขาไม่ยินดียินร้ายในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขหรือความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์อีกต่อไป
๒.จิตไม่โศก  คือ หลุดพ้นจากยางเหนียวแห่งบ่วงสิเนหา ไม่ลุ่มหลงในความรักอีกต่อไป มีใจที่อิ่มเอิบ  ไม่แห้งผาก ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง
๓.จิตปราศจากธุลี คือ กิเลสต่าง ๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียดร่อนหลุดไปจากใจหมด เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัวอย่างนั้น
๔.จิตเกษม คือ มีความสุข ปลอดภัยจากภัยอันตราย ทั้งหลายอันเนื่องจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสารสามารถตัดโยคะ เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพทั้งสาม ได้ขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง  จึงมีอิสระเสรีเต็มที่มีใจที่สะอาดผ่องใส บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง เข้าพระนิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย


Heute waren schon 7 Besucher (23 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden