vipassana - พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt
                                        พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย

   อัตตวรรค - หมวดตน

• ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง
• จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น

   อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

• ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด
• ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
• ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
• คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้า   ฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

   กัมมวรรค - หมวดกรรม

• กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
• ความดี อันคนดีทำง่าย
• ความดี อันคนชั่วทำยาก
• ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
• ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
• สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
• ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
• ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
• บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
• ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า
• เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
• ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ)หักไม้กุ่ม ฉะนั้น
• ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น
• สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

   กิเลสวรรค - หมวดกิเลส

• บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
• ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
• พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
• โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
• บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
• โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
• ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
• โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
• ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
• ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้

  โกธวรรค - หมวดโกรธ

• ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
• ความโกรธก่อความพินาศ
• ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
• ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
• ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข

ความ โกรธ คือ ความกราดเกรี้ยว ขุ่นมัว ฉุนเฉียว ที่เกิดขึ้นแก่จิต เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วหน้าตาทมึงตึง ย่อมจะเป็นคนดุร้าย ทำความพินาศให้แก่ตนเอง และผู้อื่น ทำให้เสื่อมลาภ ยศ และทรัพย์สิน ดังนั้น จงตัดมันเสียด้วยการเจริญขันติธรรม และเมตตาธรรม จึงจะอยู่เป็นสุข หน้าตาผ่องใส เป็นที่รักและเคารพของผู้อื่น เจริญยศ เจริญลาภ และทรัพย์สมบัติ ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

• ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
• คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
• ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
• ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
• ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
• พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ

   ขันติวรรค - หมวดอดทน

• ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
• ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะ เลาะกันได้
• ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
• ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น
• ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้
• ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)
• เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ

   จิตตวรรค - หมวดจิต

• จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
• จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
• ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
• พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน
• ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
• โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น
• มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น
• ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
• โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
• ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา

  ชยวรรค - หมวดชนะ

• ผู้ชนะย่อมก่อเวร
• การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
• รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
• ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
• ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
• ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
• พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ

   ทานวรรค - หมวดทาน

• เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี
• การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
• คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
• ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
• ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
• ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
• ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
• เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และ กำลังอันเลิศ ก็เจริญ
• ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด
• ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
• ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
• ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
• ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ แต่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อประสบปัญหา ย่อมได้พบผู้ช่วยเหลือ

   ทุกขวรรค - หมวดทุกข์

• สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
• ความจน เป็นทุกข์ในโลก
• การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก
• คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
• ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
• ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
• การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
• การพบเห็นสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
• ธัมมวรรค - หมวดธรรม
• ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
• ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
• ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
• ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
• ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
• พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
• เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
• ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
• ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง
• จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง)พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
• ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
• เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง

   ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา

• ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
• ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐ สุด
• คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
• คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น

   ปาปวรรค - หมวดบาป

• ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
• แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด
คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น
• ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
• ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น

   ปุญญวรรค - หมวดบุญ

• บุญอันโจรนำไปไม่ได้
• บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
• ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
• บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
• ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้
ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น
• ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
• ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น

   ปุคคลวรรค - หมวดบุคคล

• ชื่อว่าบัณฑิต ย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
• บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง
• บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
• ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
• คนฉลาดย่อมละบาป
• คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ
• ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
• สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
• สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
• กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอมทวนลมได้
• คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
• อสัตบุรุษย่อมไปนรก
• ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
• ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ
• ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ
• ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข
• คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
• คนแข็งกระด้างก็มีเวร
• มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
• มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์(ของบุตร)
• สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี
• บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ
• บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
• ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้
• เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้
• ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
• ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
• ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
• ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี
ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ
• บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาต้นไม้ใด
ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม
• ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

   มัจจุวรรค - หมวดมฤตยู

• ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
• ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
• ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า
• ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
• ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโค ไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น
• ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
• กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้

   มิตตวรรค - หมวดมิตร

• มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
• สหายเป็นมิตรของผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ
• ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
• ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
• ภรรยาเป็นเพื่อนสนิท
• ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
• ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา

   วาจาวรรค - หมวดวาจา

• เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
• วาจาเช่นเดียวกับใจ
• คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
• คนโกรธมีวาจาหยาบ
• ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
• ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
• ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น

   วิริยวรรค - หมวดความเพียร

• คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
• คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
• ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
• คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม
• ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า
• ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
• ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก

   สีลวรรค - หมวดศีล

• ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
• ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
• ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
• ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
• ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น)ขจรไปทั่วทุกทิศ

   สุขวรรค - หมวดสุข

• ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
• ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
• ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
• นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
• จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
• ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
• ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้

  เสวนาวรรค - หมวดคบหา

• เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
• เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย
• คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น
• อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
• ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง
• สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้
• สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้
• ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
• ควรระแวงในศัตรู
• แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
• ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
• ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
• คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
• คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น
• บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
• บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น

   ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด

• ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
• ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
• กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
• โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
• ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
• ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
• ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
• เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น
• การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


เงิน ไม่สำคัญเสมอไป

เงิน ซื้อเตียงนอนได้ แต่ซื้อการหลับเป็นสุขไม่ได้

เงิน ซื้อกระดาษปากกาได้ แต่ซื้อความเป็นกวีไม่ได้

เงิน ซื้ออาหารดีๆ ได้ แต่ซื้อความอยากรับประทานไม่ได้

เงิน ซื้อความประจบสอพลอได้ แต่ซื้อความจริงใจไม่ได้

เงิน ซื้อการตามใจได้ แต่ซื้อความจงรักภักดีไม่ได้

เงิน ซื้อเพชรนิลจินดาได้ แต่ซื้อความงามไม่ได้

เงิน ซื้อความสนุกชั่วคราวได้ แต่ซื้อความสุขไม่ได้

เงิน ซื้อเพื่อนร่วมเดินทางได้ แต่ซื้อเพื่อนแท้ไม่ได้

เงิน ซื้ออำนาจราชศักดิ์ได้ แต่ซื้อปัญญาไม่ได้

เงิน ซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์ได้ แต่ซื้อสันติสุขไม่ได้

เงิน ซื้อเมียที่สวยได้ แต่ซื้อแม่ที่ดีให้ลูกไม่ได้

เงิน จะสำคัญเมื่อจำเป็นต้องใช้เท่านั้น



อัตตะนา โจทะยัตตานัง
จงเตือนตนด้วยตนเอง

" สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา "
 

* พุทโธ อัปปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้านี่หาประมาณมิได้ *

* อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง *

* จิตเต ปาริสุทเธ สุคติ ปาฏิกังขา ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วอย่างน้อยเราก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ *



อยู่คนเดียว เปลี่ยวกาย แสนสบายแต่ไม่สนุก อยู่สองครองสุข แสนสนุกแต่ไม่สบาย
 
" บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน
แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควรไว้วางใจ
ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของ
ราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อ ฉะนั้น "



 มงคลชีวิต

  1. ไม่มีอะไรยาก สำหรับคนที่มีความเพียร
    ไม่มีอะไรง่าย สำหรับคนที่เกียจคร้าน
    For the industrious Nothing is difficult,
    For the lazy-bones Nothing is easy.
     
  2. พิทักษ์คนพาล ระรานคนดี เป็นวิถีทางที่ผิด
    กำจัดคนพาล บริหารคนดี เป็นวิธีที่ถูก
    It is wrong to protect the rogue
    And to harass the good;
    It is right to get rid of the rogue
    And to attend the good.
     
  3. โลกนี้เป็นสวรรค์ ถ้าแบ่งปันน้ำใจ
    โลกนี้เป็นไฟ ถ้าหวังได้แต่เงิน
    The world will become a paradise
    Should the worldlings be charitable;
    The world will be aflame
    Should the worldlings be money-grubbers.
     
  4. เป็นอยู่อย่างผู้ใหญ่ ต้องใฝ่คุณธรรม
    เป็นอยู่อย่างผู้นำ ต้องทำเป็นแบบอย่าง
    To live as a mature person means to
    Have righteousness cultivated;
    To live as a leader means.
    To be an exemplar.
     
  5. เป็นอยู่อย่างคนไทย อย่าหลงใหลต่างชาติ
    เป็นอยู่อย่างฉลาด ต้องสะอาดกายใจ
    To live as a Thai means not to
    Be deluded by foreigners;
    To live wisely means to be clean
    In the body and the mind.
     
  6. อาชีพทำได้ตามกาล การศึกษาทำได้ทุกโอกาส
    Occupation is executed at certain times,
    Education is executed all the time.
     
  7. ควายโง่ยังใช้ทำงานได้ คนโง่ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
    A stupid buffalo is still good for work,
    A stupid fellow is good for nothing.




Intellectuals solve problems, geniuses prevent them.

คนฉลาดหาทางแก้ปัญหา แต่อัจฉริยะหาทางป้องกันปัญหา

It' s not your salary that makes you rich, it' s your spending habits.

คุณไม่ได้ร่ำรวยเพราะเงินเดือนที่ได้รับ แต่เพราะนิสัยการใช้เงินของคุณตะหาก

Love the giver more than the gift.

จงรักผู้ที่ให้มากกว่าของที่ได้รับ

Intellectuals solve problems, geniuses prevent them.

คนฉลาดหาทางแก้ปัญหา แต่อัจฉริยะหาทางป้องกันปัญหา

A fool is wise in his eyes.

คนโง่มักมองว่าตัวเองฉลาด


ทำจิตตัวเดียวไม่มีหลงผิด      ทำให้ถึง      จิตไม่มีหลงทาง

ตาฟ้าเห็นธรรม      ตาดำเห็นผิด

ปู่ชีปขาวแห่งเขาสอยดาว

                                                       

                                                            

จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

 
                  
     "อนิจจัง ไม่เที่ยง
                                        ทุกขัง เป็นความทุกข์
                                                  อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา
                                                             สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม
                                                                       จึงมิใช่ของเราและของเขา"


               ศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ โกรธ หลง ต้องแก้ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

 

                         
                                         

อยู่เพื่อทำความดีนี้เพื่อแม่   อยู่เพื่อแผ่อายุพระพุทธศาสนา
อยู่เพื่อสร้างบารมีที่ทำมา   อยู่เพื่อพาสรรพสัตว์ขัดจิตใจ

                                   
                                      

           คนจะงาม งามน้ำใจ              ใช่ใบหน้า
           คนจะสวย สวยจรรยา           ใช่ตาหวาน
              คนจะแก่ แก่ความรู้                ใช่อยู่นาน
          
คนจะรวย รวยศีล รวยทาน   ใช่บ้านโต


                                       

อย่าคิดว่าตัวท่านนั้นอ่อนแอ

หรือคิดแต่ท้อแท้ และแพ้พ่าย

จงคิดว่า จะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยไป

แกร่งทั้งกายและจิตใจ ไม่พรั่นพรึง



              ารนึกถึงความตายสบายนัก

 

 


มันหักรักหักหลงในสงสาร


        บรรเทามืดโมหันอันธการ


                      ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ



ยามมีกิจ หวังให้เจ้า เฝ้ารับใช้

                 ยามป่วยไข้ หวังให้เจ้า เฝ้ารักษา


                    ครั้นเมื่อยาม ล่วงลับ ดับชีวา

                                   
                                            หวังให้เจ้า ปิดตา เวลาตาย
                                                       



เลิกฝันกันซะจะได้พบพระคือความจริง
เลิกหลอกตัวเองจะพบเพลงพระนิพพาน

หลวงปู่โต



เตือนตนตลอดเวลา      ไม่ต้องมัวลีลา      นั่นคือการบำเพ็ญ      ไม่ต้องไปคิดให้วุ่นวายกับโลก      

 แต่ให้ตรึกตรองในธรรม      ชีวิตและเวลาไม่รอใคร       จะมัวช้าอยู่ใย      เร่งไปนิพพาน       

 

เวลาไม่มี      จะทำความดีได้อย่างไร      ขอให้เห็น      ทำให้เร็ววัน       เราจะพบกันในทันที


         

กรงในกองขันธ์

กรงขังในกองขันธ์ช่างกว้างใหญ่      เหมือนท่องไปไม่สิ้นสุดในเวหา

เดินผิดทิศคิดผิดทางเพิ่มอัตตา       กรงขันธายิ่งขยายยิ่งกว้างไกล

อนึ่งเล่าในความจริงใครจะคิด         มัวยึดติดทั้งตัวกูของกูเป็นไฉน

ฟังพระเทศน์ความจริงยิ่งห่างไกล       จะยืนเดินนั่งนอนไหนก็วังวน

ทั้งโลกนี้และโลกหน้าขันธ์เป็นเหตุ        เพราะติดเหตุจึงเกิดผลน่าสับสน

นี่และหนาพระท่านเรียกว่าวังวน       ต้องเวียนว่ายวกวนดูวุ่นวาย

มาวันนี้เรากลับมีโอกาส       อย่าให้พลาดก่อนเวลานี้จะสาย

วันเวลาในชีวิตไม่มากมาย      เวลาตายเวลาเกิดอยู่คู่กัน

เกิดมาพบพระพุทธมีบุญมาก       จะได้ขาดสิ้นกิเลสจากกรงขันธ์

พระธรรมสอนเป็นอุบายให้เท่าทัน       ทั้งเหตุขันธ์เหตุทุกข์เหตุอะบาย

จงสลัดความคิดจากข้ออ้าง       จงองอาจบำเพ็ญเพียรก่อนจะสาย

จงสำริดสำเร็จก่อนจะตาย       จิตสุดท้ายคือพ้นกรงขันธมาร





ศรัทธาที่มั่นคง ศรัทธามหาศาลกำลังใจที่มั่นคง

ยึดมั่นและดำรงต่อองค์พระศาสดา

ร้อยแรงรวมเป็นหนึ่งเพื่อมุ่งมั่นในเจตนา

ตอกย้ำพระศาสนาจะสถิตย์ ณ แดนไทย

 

ขอบารมีองค์พระศรี สถิตย์มั่นในดวงใจ

ปวงข้า ขอรับใช้เบื้องบาทาพระทรงธรรม

จงพ้นพันปัญหา พันมายา ฝ่ายอธรรม




คนทำงานฟ้าฟ้าคัดเลือก
คนทำงานฟ้าฟ้าจัดสรร
คนทำงานฟ้าฟ้าแบ่งปัน
คนทำงานฟ้าได้นั้นต้องคนดี



เรื่องหลากหลายเกิดมีที่ความคิด      ใจหงุดหงิดใจฟุ้งซ่านไร้เหตุผล
ความรู้สึกมากมายในตัวตน     พาสับสนวกวนในโลกา
เห็นทางตาฟังทางหูรู้ทางจิต     กลิ่นนาสิก รสรับได้ ทางชิวหา
ส่วนสัมผัส กระทบได้ ทางกายา     เรื่องนานา พาชวนคิด หกทิศทาง
เรื่องทางตา เรื่องทางหู เรื่องทางจิต     นอนยังคิดวุ่นวายจนฟ้าสาง
ถึงตอนเช้ายังคิดต่อไม่มีวาง     ตกหลุมพรางแห่งความคิดสนิทใจ
พระจอมตรัย ทรงแสดง เรื่องความคิด     ถึงชนิดแห่งเวรเป็นไฉน
เหตุแห่งเวรเกิดขึ้นอยู่ร่ำไป     เพราะปล่อยจิตคิดไปไม่มีวาง
ตรงกันข้ามกับหนทางสมณะ     คิดแบบพระต้องลดละและสะสาง
ไม่ส่งจิตตามเรื่องราวทั้งหกทาง     จิตเป็นกลางกำหนดรู้อยู่ภายใน
กำหนดใจกายวาจาไว้ในจิต     เพ่งพินิจอยู่ภายในให้สดใส
ความรู้สึกให้เรารู้อยู่ภายใน     ไม่ส่งจิตออกไปไกลจากตัว
ความรู้สึกความรู้ตัวคือสต     สัมมาทิฏฐิน้อมใส่ใจไกลทางชั่ว
พาชีวิตไม่วุ่นวายหลงเมามัว     มีรู้ตัวคือสติติดตามตน
ความเป็นคนจึงมีค่าหามิได     ้ จงเลือกใช้วันเวลาอย่าสับสน
เราได้พบพระพุทธศาสนาไม่อับจน     บุญส่งผลถึงท่าน...ขอโมทนา
                                            
                                                                                                                                                                                                                                                                                 


หลวงปู่พระอุดมญานโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

นรกโลกนี้
ยังไม่เผ็ดร้อน
เท่ากับนรกในภพหลัง
สวรรค์ในภพนี้ ไม่สุขสงบร่มเย็น
ไม่อุดมสมบูรณ์ไพบูลย์
เท่ากับสวรรค์ในภพภูมิอื่น
นี่คือความจริง"
คติธรรมพระอุดมญานโมลี
๑. "คนดีพวกน้อย แพ้คนชั่วพวกมาก"
๒."ทำดีไม่ได้ดี เพราะยังทำไม่ถึงดี หรือทำเกินพอดี"
๓."ที่คนทำดีแล้วมักบ่นว่าไม่ได้ดี เพราะดีนั้น มีโทษ"
๔."บุญจะให้คุณ ต่อเมื่อผู้ให้ลืมไปแล้ว"
๕."การพูดมาก แก้ปัญหาใดๆไม่ได้เลย แม้กับปัญหาที่พอจะแก้ไขได้"
๖."พายุร้าย ทำอันตรายได้น้อยกว่าวาจาส่อเสียด ยุแหย่ ใส่ร้าย นินทากัน"
๗."การคุยสนุกหากเกินหนึ่งชั่วโมง คือการทำลายเวลาอันมีค่าของตนเองและผู้อื่น"
๘."อย่าพูดอะไรเพียงเพราะเห็นว่าสนุกปาก เรื่องร้ายสงบได้ เมื่อหยุดพูดถึง
๙." ความรักดูเหมือนหอมหวาน ความชั่วดูเหมือนเผ็ดร้อน ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์สุดโต่ง มีอำนาจเหนือเราเมื่อใด จะทำลายเราอย่างเจ็บปวดที่สุด"      



ขอพวกเราทั้งหลายจำไว้เถิด
ว่าการเกิดนี้ลำบากยากนักหนา
ครั้นคนเราได้กำเนิดเกิดขึ้นมา
ก็กลับพากันถึงซึ่งความตาย

( หลวงวิจิตรวาทการ)



ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป
เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายสบายครัน
มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอย

( ท่านพุทธทาสภิกขุ)



กายนี้ท่านเปรียบดั่งท่อนไม้
ครั้นดับไปสมมติว่าเป็นผี
เครื่องเปื่อยเน่าสะสมถมปฐพี
เหมือนกันทั้งผู้ดีและเข็ญใจ

( เจ้าพระยาคลัง หน)


อันรูปรสกลิ่นเสียงนั้นเพียงหลอก
ไม่จริงดอกอวิชชาพาให้หลง
อย่าลืมนะร่างกายไม่เที่ยงตรง
ไม่ยืนยงทรงอยู่คู่ฟ้าเอย

( จากหนังสือเก่าโบราณ)


กลางทะเลอวกาศที่เวิ้งว้าง
สรรพสิ่งได้ถูกสร้างแปลงไว้
จากดินน้ำลมและไฟ
ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่เรื่อยมา

เมื่อถึงคราวแตกดับ
สรรพสิ่งก็หมุนกลับไปหา
ธรรมชาติเดิมแท้นั้นอีกครา
เวียนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น



มีชีวิต              อยู่ไป       ตามวัยขัย
โดยมิได้          ทำดี         เป็นที่อ้าง
ดับตายอย่าง     มีดี           ไว้ชี้ทาง
ทั้งนี้ต่าง          กันมา         ฉันฟ้าดิน

ผู้ตายดี           มีธรรม        เป็นล้ำเลิศ
ดีนำเกิด          ที่อุดม        สมถวิล
มีชีวิต             ชั่วช้า          เป็นราคิน
อยู่เหมือนสิ้น    ชีวา           ไม่ดีเลย


   กลอน6 ดี
ดีที่หนึ่งคือดีปฏิบัติ                        ควรฝึกหัดความเมตตาใฝ่หาศีล
ดีทีสองกตัญญูรู้หากิน                    รักทรัพย์สินรู้จักใช้ใฝ่คุณธรรม
ดีที่สามรักพ่อแม่อย่าแปรผัน            กตัญญูรู้พระคุณการุณล้ำ
ดีที่สีรักครอบครัวไม่มัวกรรม            รู้กระทำหากินรักถิ่นตน
ดีที่ห้ารักประเทศขอบเขตขันธ์          อีกราชันย์ศาสนาพาหลุดพ้น
ดีสุดท้ายรักตัวเองอย่าเกรงคน          หมั่นฝึกฝนภาวนาธรรมสร้างกรรมดี


แต่ละดีนี้ฝึกไม่อึกอัก
ดีเพราะรักในคำที่สั่งสอน
ทั้งพ่อแม่ครูบาที่อาทร
ทุกวันนอนยังนึกระลึกคุณ

ทั้งหกดีทำได้ไม่ต้องฝืน
ไม่กล้ำกลืนฝืนใจได้ไออุ่น
มีพระธรรมนำทางช่างการุณ
อันพระคุณรู้ทำจำขึ้นใจ


สุขและทุกข์  มีอยู่  คู่กับโลก
 
จะย้ายโยก  แห่งหน  ตำบลไหน
 
จะสุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ช่างเป็นไร
 
จะทำใจ  ให้เศร้า  ไม่เข้าการ



สองมือเกาะ เกี่ยวกุม สุมความรัก
สองมือถัก เรียงร้อย คอยห่วงหา
สองมือโอบ อิงอุ่น ละมุนตา
สองมือมา เกี่ยวก้อย คอยดูกัน

เสียงเพลงหวาน สานฝัน ในวันนี้
ว่าไม่มี วันจาก หากเหมือนฝัน
มาวันนี้ ไกลห่าง ร้างไกลกัน
มือที่เคย ผูกพันธ์ ขอสัญญา


ฝากลมพลิ้วริ้วรอห่อความรัก
ฝากสลักใจห่วงไม่ห่างหาย
ฝากสายฝนพรมพร่างเคียงข้างกาย
ฝากรุ้งพรายรายล้อมกล่อมนิทรา

ฝากตะวันยามเช้าสายและบ่ายค่ำ
ฝากเมฆดำทำใจให้ห่วงหา
ฝากแสงดาวพราวพร่างกลางนภา
ฝากจันทราดูแลแม้เพียงเงา

ฝากสายน้ำไหลรินแม้สิ้นฝัน
ฝากความห่วงใยกันในวันเหงา
ฝากดูแลตัวไปไม่มีนเมา
ฝากท้องฟ้าคอยเร้าเฝ้ามองเธอ

ฝากคิดถึงพี่น้องและผองเพื่อน
ฝากดาวเตือนพารักไปใกล้เสมอ
ฝากคิดถึงห่วงใยไปให้เธอ
ฝากใจเพ้อให้ลมพัดคอยมัดใจ



   เวลา

           ...คนที่ไม่ทำงานใด ๆ และปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ ชีวิตจะเต็มไปด้วยความเกียจคร้าน การปล่อยชีวิตให้ล่วงเลยไปโดยเอาแต่นอน จิตใจจะค่อย ๆ ตกต่ำ สติปัญญาและความสามารถจะถดถอยลงเรื่อย ๆ ผู้ที่ดำรงชีวิตแบบนี้เราเรียกว่า “คนหลับ”...


      

         จุดประทีปแห่งดวงจิต

        ...หากจิตยึดถือคุณธรรมเป็นที่ตั้ง ก็จะสามารถศึกษาสัจธรรมได้อย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้จะได้อ่านหนังสือธรรมะเป็นร้อยเล่มพันเล่มก็จะเหมือน ภาพสะท้อนของดวงจันทร์ในน้ำ เหมือนภาพสะท้อนของดอกไม้ในกระจกเงา ซึ่งมิใช่วัตถุที่เป็นของจริง จะไม่บรรลุผลสำเร็จใด ๆ เลย...

 

    

           เมตตาและกรุณา

        ...เมตตาเป็นบ่อเกิดของการช่วยเหลือโลกมนุษย์ แต่หากปราศจากปัญญาก็จะไม่เป็น “ความเมตตาอันยิ่งใหญ่” ผู้มีปัญญาจึงจะเป็นผู้ที่แสดงซึ่งความเมตตาอย่างมุ่งมั่น ทั้งนี้ ตามหลักธรรมที่ว่า “ความเมตตากับปัญญาเป็นของคู่กัน” ...

   

 

           เปล่งแสงแห่งปัญญาและการหว่านพันธุ์พืชดี

           ... เราควรหว่านเมล็ดพันธุ์พืชดีในจิตใจของเรา เมล็ดพืชที่ดีงอกขึ้นหนึ่งเมล็ดจะทำให้วัชพืชน้อยลงหนึ่งต้น นาที่ร้างจากการไถหว่าน วัชพืชจะขึ้นมาแทนที่ ดังนั้น การกระทำความดีจะต้องกระทำทุกวันทุกเวลา และทำอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นเพียงการยกมือหรือการย่างก้าว จิตจะต้องคิดถึงแต่การทำกรรมดีตลอดเวลา...

 

หน้า 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6  ถัดไป  ถัดไป หน้าสุดท้าย
   รายการที่ 1 - 100 จาก 519 รายการ หน้า  1  จาก  6  หน้า   
 
 
หมายเลข ชื่อเรื่อง เปิด บันทึกข้อมูล
00524  สิ่งที่ประเสริฐและไม่ประเสริฐ   548 03-01-2552
00523  ความเจริญด้วยทรัพย์ไม่ประเสริฐ   450 20-11-2551
00522  สตรีก็เป็นบัณฑิตได้   520 16-09-2551
00521  ความเจริญปัญญาประเสริฐที่สุด   666 13-08-2551
00520  อดทนต่อถ้อยคำได้   849 12-08-2551
00519  แม้ตัวเราก็ไม่มี   558 11-08-2551
00518  การกระทำตอบแทนแก่มารดาบิดา   569 09-08-2551
00517  บุคคลที่กตัญญูหาได้ยาก   379 09-08-2551
00516  กำลังจะจากไป   474 09-08-2551
00515  สละเวลาบ้าง   476 09-08-2551
00514  วาจาสุภาษิต   404 05-08-2551
00513  ไม่ละทิ้งสมมุติทางโลก   311 01-08-2551
00512  กรรมย่อมมีกาลเวลาให้ผล   412 01-08-2551
00511  เสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุด   230 01-08-2551
00510  พรมหมจรรย์   299 30-07-2551
00509  ไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าน้อย   369 26-07-2551
00508  สถานที่ควรสังเวช   249 26-07-2551
00507  ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม   282 26-07-2551
00506  ใครจะรู้เวลาตาย   398 25-07-2551
00505  เตือนด้วยพระธรรม   337 11-07-2551
00504  ผู้ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น   355 02-07-2551
00503  ควรบูชาพระบรมสารีริกธาตุ   366 01-07-2551
00502  บริษัทที่สามัคคีกัน   181 28-06-2551
00501  การให้ย่อมเจริญด้วยบุญ   313 28-06-2551
00500  เพื่อสำรวมและเพื่อละกิเลส   192 26-06-2551
00499  ควรนิ่ง แม้รู้อยู่ก็ไม่พูด   558 26-06-2551
00498  ดุจพระจันทร์ซึงพ้นแล้วจากเมฆ   164 26-06-2551
00497  ท่านทั้งหลายอย่าประมาท   173 26-06-2551
00496  เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย   287 26-06-2551
00495  ไม่ว่าเพศใด ปัญญาเกิดได้   180 21-06-2551
00494  เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้น   246 21-06-2551
00493  ผู้มีศีลและผู้ทุศีล   172 21-06-2551
00492  สัตว์ทั้งหลายคบกันโดยธาตุ   337 09-06-2551
00491  งานที่ควรทำก่อน   403 05-06-2551
00490  ควรจะเศร้าโศกถึงตน   370 03-06-2551
00489  ตนแลเป็นที่พึ่งของตน   298 02-06-2551
00488  ละอกุศล ทำกุศล   241 31-05-2551
00487  ที่พึ่งอันสูงสุด   324 23-05-2551
00486  ปัญญาเป็นแสงสว่างอันประเสริฐ   506 10-04-2551
00485  รัตนประเสริฐสูงสุด   257 16-03-2551
00484  บุคคลพึงทำลายมานะเสีย   298 12-03-2551
00483  เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ   351 11-03-2551
00482  ความโกรธ ย่อมย่ำยีคนลามก   296 10-03-2551
00481  อย่าได้กล่าวคำหยาบ   393 09-03-2551
00480  ทุคติมีอวิชชาเป็นเหตุ   124 07-03-2551
00479  จิตขุ่นมัวพาไปสู่ทุคติ   279 05-03-2551
00478  ผู้สันโดษไม่เศร้าโศก   348 04-03-2551
00477  ไกลจากสมถและวิปัสสนา   243 29-02-2551
00476  ท่านมีเสบียงหรือยัง   409 28-02-2551
00475  การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง   308 27-02-2551
00474  ย่อมคืนดีกัน   288 26-02-2551
00473  เมื่อสัตว์ทั้งหลายต่างพากันหลับ   207 25-02-2551
00472  เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา   177 23-02-2551
00471  ไม่คุ้มครองทวาร ย่อมอยู่เป็นทุกข์   232 22-02-2551
00470  ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของชรา   256 21-02-2551
00469  ผู้ไม่สำรวมย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา   586 24-12-2550
00468  เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที   312 24-12-2550
00467  เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที   160 24-12-2550
00466  ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา   253 28-11-2550
00465  การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก   297 28-11-2550
00464  ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย   191 28-11-2550
00463  ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล   178 28-11-2550
00462  ทำไมจึงไม่แสวงหาประทีป   217 21-11-2550
00456  ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา   176 18-11-2550
00455  บุคคลเริ่มตั้งความเพียรในกุศลธรรม   243 18-11-2550
00454  สัมมาปฏิปทาโดยแท้เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ   93 18-11-2550
00453  มิจฉาปฏิปทาเพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ   94 18-11-2550
00452  ช่างทองปัดเป่าสนิมทอง   178 18-11-2550
00451  ฟังอยู่ด้วยดี เป็นผู้ไม่ประมาท   207 18-11-2550
00450  สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ   194 13-11-2550
00449  สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ   115 13-11-2550
00448  สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ   98 13-11-2550
00447  สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ   89 13-11-2550
00446  สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ   72 13-11-2550
00445  สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ   90 13-11-2550
00444  สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ   71 13-11-2550
00443  สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ   80 13-11-2550
00442  สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ   81 13-11-2550
00441  บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี   261 09-11-2550
00440  พึงอนุโมทนาบุญของสัตว์ทั้งปวง   694 07-08-2550
00439  ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตไม่เที่ยง   1738 17-02-2550
00438  ให้พรตัวเองบ้างดีไหม   1779 31-12-2549
00437  สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข   1011 13-09-2549
00436  ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง   1039 08-09-2549
00435  :: ไม่ควรทำบาป   1009 26-08-2549
00434  ผู้ใดไม่ประมาท   744 26-08-2549
00433  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา   737 23-08-2549
00432  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์   645 23-08-2549
00431  สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง   558 23-08-2549
00430  ไม่ใช่มิตรแท้   1180 21-08-2549
00429  พึงกำจัดมลทินของตนได้   629 21-08-2549
00428  ก่อทุกข์ในผู้อื่นย่อมไม่พ้นจากเวร   642 21-08-2549
00427  บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ   448 19-08-2549
00426  เป็นผู้มีอัธยาศัยแน่วแน่มั่นคง   531 14-08-2549
00425  โทษของทุศีลกรรมทั้ง ๕   663 14-08-2549
00424  การใช้โภคทรัพย์โดยทางที่ควร   476 12-08-2549
00423  สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม   550 12-08-2549
00422  เป็นอุบาสกรัตนะ   265 12-08-2549
00421  วิบัติของอุบาสก   431 12-08-2549
00420  เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ำเสมอ   632 12-08-2549
 

หน้า 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6  ถัดไป  ถัดไป หน้าสุดท้าย

     

 










 
Heute waren schon 51 Besucher (54 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden