|
|
|
ผู้ จัดทำเวปไ้ด้นำประวัติและคำสอนของหลวงปุ่แหวน พระอริยสงฆ์องค์หนึ่งของภาคเหนือ ซึ่งท่านได้มรณภาำพไปนานกว่า ๒๐ กว่าปี คนรุ่นหลังอาจจะยังไม่ทราบประวัติครูบาอาจารย์ โดยละเอียด และได้เพิ่มเติมภาพ บางภาพที่น่าสนใจไปด้วย และยังได้ link ไปยัง เวปเพ็จของหลวงปู่แหวนอื่นๆทีพบ เพื่อสามารถค้นคว้าได้อย่างสดวกอีกด้วย
ซึ่ง ผู้ทำเวปได้ นำประวัติหลวงปู่แหวนมาจากหนังสือเรื่อง " หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็น โครงการ หนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓ เีรียบเรียง โดย ร.ศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์
ซึง วัตถุประสงค์จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรรณาการ สำหรับผู้ร่วมบริจาค ทำ พระมหาธาตุมณฑปอนุสรณ์บูรพาจารย์ ที่วัดป่าอาจารย์มั่น(ภูริทัตโต) บ้านแม่กอย ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ และโครงการหนังสือบูรพาจารย์
|
|
|
๑. พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโร แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง จากพุทธศาสนิกชนทุกเทศทุกวัย ทั้งในและ ต่างประเทศ
แม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แต่ความทรงจำในกระแส เมตตา ปฎิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม พร้อมกับธัมโมวาทอันล้ำค่า ของหลวงปู่ ก็ยังส่อง สว่างอยุ่กลางใจของพวกเราชาวพุทธทุกผู้ทุกนาม
เมื่อ น้อมระลึกถึงหลวงปู่ที่ไร ความสุข สงบ ความโสมนัส ชื่นบาน ความสมหวัง โชคดี ความเป็นสิริมงคล จะดื่มด่ำอยู่ในจิตใจ อย่างไม่รู้อิ่มรู้คลาย
ผู้ ที่โชคด มีโอกาสกราบไหว้ องค์หลวงปู่ ได้เคยฟังการปรารภธรรม แสดงธรรม จากหลวงปู่ ต่างก็ประจัษ์ความไพเราะ นุ่มนวลละมุนละไม ประดุจเสียงทิพย์ที่ไพบูลย์ด้วยธรรมะ อันเป็นสากลสัจจะ ยังความอิ่มเอิบ เบิกบาน และเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นผู้สืบเนื้อนาบุญอันไพศาล นับเป็นพระอริยสาวก ที่ควรแก่กราบ ไหว้บูชาอย่างแท้จริง
ท่าน เจ้าคุณ พระวิบูลธรรมาภรณ์ แห่งวัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพๆ ศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่ง ได้รจนาถึงปฎิทาของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ดังนี้ :-
" หลวงปู่แหวนท่านมีศีลที่สมบูรณ์ คือเป็นพระสงฆ์ที่มีความปกติครบถ้วนไม่เกินหรือขาด สภาพของท่านเปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่มีต้นไม้ใหญ่เล็กนานาชนิด ทังยืนต้น และล้มลุก มี ดอก ใบ ผล สมบูรณ์ ตามสภาพของพันธ์นั้นๆ จะมีต่างอยู่ก็คือกลิ่นของดอกไม้ ในป่า หอมตามลม แต่กลิ่นศีลของหลวงปู่หวลตามลมและทวนลม และ ไม่นิยมกาลเวลา หอมอยู่เสมอ
หลวงปู่มีจริยาวัตร คือความประพฤติที่เรียบร้อย งดงาม เต็มพร้อมด้วยสิกขา วินัย กฎระเบียบ การปฎิบัติของท่านเรียบง่าย ถูกต้องทั้งในสมาคมสาธารณะ และในที่รโหฐาน จะเป็นที่ชุมชนใหญ่ เล็ก ท่านทำตนเป็นกลางเสมอเหมือน ความประพฤติของท่าน เสมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีร่มเงามาก มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างให้คนเดินทางได้อาศัยร่มเงาพัก นกกาอาศัยเกาะกิ่ง มีกาฝากก็ขึ้นแซม บ้างบางครั้งบางคราว
หลวงปู่ท่านมีปฎิทา คือทางดำเนินสายกลางพอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร ชีวิตของท่านอยู่กับป่ามาโดยตลอด แม้ในวัยชรา หลวงปู่จะปรารภเสมอว่า ขณะนี้ป่าธรรมชาติจะหายไป แต่มีป่ามนุษย์เข้ามาเทนที่ โดยท่านให้คติว่า ต้นไม้ในป่าต่างต้นต่างเจริญเติบโต แสวงหาอาหารเลี้ยงต้น ใบ ดอก ผลของมัน เอง ไม่แก่งแย่งเบียดเบียนกัน แต่มนุษย์ก็มีทางดำเนินเลี้ยงชีวิตตรงกันข้ามกับต้นไม้ในป่า
หลวงปู่ท่านมีเมตตาธรรมเป็นเลิศ มีสมาธิดี มีพลังจิตสูงเปี่ยมด้วยเมตตา ถ้าได้สนทนาธรรม กับท่าน สิ่งที่เป็นคำสอนอันสำคัญสำหรับชาวเราทั่วไป ก็คือ ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ความปราถนาดี แก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร จะสอนให้แผ่ให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มากจะทำให้จิตใจ สบาย รักชีวิต ทรัพทย์สินของคนอื่นเหมือนกับของตนเอง หลวงปู่ท่านสอนให้แผ่ความปราถนาดี ความสุขแก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะได้รับมากน้อยสุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น
สรุปได้ว่า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฎิปทา คุณธรรม แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ ทั้งตามลมและทวนลม เกียรติคุณ บริสุทธิคุณ ปรากฎในชุมชน ทั่วไป
คุณแห่งศีล และเมตตาของท่าน เป็นเสมือนมนต์ขลัง ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ มีคนจำนวน มากเดินทางไปกราบขอศีลขอพร ขอบารมีธรรม และบางรายขอทุกอย่างที่ตนมีทุกข์ เพื่อจะให้ พ้นทุกข์
ทำให้เกิดศรัทธาสองทาง คือ คุณธรรม และวัตถุธรรม ผู้ใดต้องการธรรมะ ก็สดับตรับฟัง ศึกษาเอา ผู้ใดต้องการของขลัง รูปเหรียญวัตถุมงคลที่ระลึก ก็แสวงหาเอา ใครผู้ใีดปราถนาหรือ ศรัทธาอย่างใดก็ปฎิบัติอย่างนั้น ซึ่งก็คงสำเร็จประโยชน์ไม่มากก็น้อย "
ใน สมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนจากใกล้ไกล ต่างแห่แหนไปกราบ หลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ ได้ปรารภถามว่า " พากันลำบากลำบนมากันทำไม"
คำตอบจากประชาชนเหล่านั้นก็คือ " ต้องการมากราบบารมีของหลวงปู่ "
หลวง ปู่ได้แนะนำว่า " บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตนมีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา ไม่ใช่แห่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้างต้อง ทำเอาเอง "
๒. แผ่เมตตาไม่มีประมาณ
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสอนให้ศิษย์ทุกคนได้หัดแผ่เมตตา คือส่งความปราถนาดีแก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร โดยแผ่ไปให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มาก ก็ยิ่งทำให้ในสบาย รักชีวิตและทรัพย์สิน คนอื่นเหมือนกับของตนเอง สังคมก็จะมีความสุขสงบอย่างถ้วนทั่ว
หลวง ปู่แนะวิธีแผ่เมตตาให้บังเกิดผล โดยให้ทำตนและจิตใจเหมือนมารดาที่เลี้ยงลูก ให้ความรัก ความเอ็นดูสงสาร มุ่งหวังจะให้ลูกสุขกายสบายใจ มีอาชีพการงาน มีวิชาเลี้ยงตนเอง ได้ ความรักที่แม่ให้กับลูกเป็นความรักที่บริสุทธิ์ไม่มีพิษภัย และไม่ต้องการผลตอบแทนจากลูก มีแต่ให้อย่างเดียว
ถ้าเราแผ่เมตตาเหมือนกับพระอาทิตย์ส่องแสง เมตตานั้นจะมีพลังสูงยิ่ง เพราะธรรมชาติของ พระอาทิตย์ขณะที่ส่องแสงไม่ได้เลือกชุมชน สรรพสัตว์ยากดีมีจน อยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ จะใกล้หรือไกล ก็ได้รับความร้อนเท่ากัน
เมตตาธรรมก็เ่ช่นกัน ขอให้แผ่ไปให้แก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะรับได้มากน้อย สุดแต่ วาสนาบารมีของผู้นั้น
ผู้ เขียน(รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์) เพิ่งประจักษ์ในความวิเศษ ของพระพุทธศาสนาเมื่อปี ๒๕๒๖ นี้เอง ก่อนหน้านั้นมัวไปลุ่มหลวศึกษาวิทยายุทธจากฝรั่งชาติตะวันตกอยู่นาน และเพิ่งมารับสัมผัสบารมีธรรมของหลวงปู่แหวน ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เมื่อครั้งติดตามหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ไปกราบหลวงพ่อเปลี่่ยน ปญฺญาปทีโป ทีวัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
หลวง ปู่แหวน ท่่านเคยอยู่ที่วัดป่าบ้านปง(วัดอรัญญวิเวก ในปัจจุบัน) นานถึง ๑๑ ปี ก่อนจะ ย้ายไปพำนักที่ดอยแม่ปั๋ง และหลวงพ่อเปลี่ยน ก็ได้ตามไปอุปัฎฐากหลวงปู่ เสมอมา จนกระทั่ง วาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน
หลวง พ่อเปลี่ยน เล่าให้ฟังว่า " ทุกคืน หลวงปู่แหวน ท่านจะแผ่เมคตาไปทั่วจักรวาล แต่แปลก ที่ประเทศรัสเซีย กับประเทศบริวารรับกระแสเมตตาของท่านได้บ้างเล็กน้อย ส่วนเวียตนามไม่ ยอมรับเลย สะท้อนกลับคืนหมด ประเทศเขาจึงวุ่นวายตลอด มาภายหลังก็เริ่มรัรบได้มากขึ้น และหลวงปู่ บอกให้หลวงพ่อเปลี่ยน ช่วยแผ่เมตตาให้ประเทศเวียตนามมากๆ ให้ทำทุกคืน
หลวงพ่อเปลี่ยน ท่านว่า " พลังจิตของหลวงปู่เปรียบได้กับแสงพระอาทิตย์ ของอาตมา เป็นแค่แสงหิ่งห้อย เปรียบกันไม่ได้ แต่อาตมาก็ทำตามที่หลวงปู่บอกทุกคืน ตอนนี้เขาิเริ่มดีขึ้น และจะดีขึ้นเรื่อยๆ ..."
หลวงพ่อปรารภว่า ท่านอยากเอาหนังสือธรรมะไปแจก โดยเฉพาะแจกให้ " พวกตัวใหญๆ" ซึ่งท่านรู้ว่าควรจะแจกให้ใคร และที่ใด เป็นการช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง
จาก เหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้เขียนจึงได้มีส่วนร่วม ด้วยการไปหาผู้แปลและจัดพิมพ์หนังสือ "เมตตาธรรมค้ำจุนโลก" ซึ่งเป็นคำเทศน์ของหลวงพ่อ ออกมาเป็นภาษาเวียตนาม ตามความ ประสงค์ของท่าน
ณ จุดนั้นเป็นต้นมา ผู้เขียนและครอบครัว จึงได้เริ่มสัมผัสกระแสเมตตา และได้รับรู้เรื่องราว เกี่ยวกับบารมีธรรม ของหลวงปู่แหวนมาโดยลำดับ นับเป็นบุญและเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต ตลอดมา
|
|
๓. ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นพระป่าธรรมดาๆ ไม่มียศศักดิ์ หรือตำแหน่งใดๆ แต่คุณธรรม ความดีของท่านก็ยังคงอยู่ในความทรงจำ ของมหาชน อย่างกว้าวขวางตลอดมา
หลังจากพิธีพระราชทานเพลิง ศพของท่านแล้ว อัฐิของท่านได้แปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุ ใสดังแก้วผลึกทีงดงามมาก ประจักษ์แก่ตาแก่ใจของผู้ได้ได้เห็น จึงไม่มีความสงสัยเคลือบแคลง ในความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส ในจิตของท่าน
เมื่อ ครั้งยังดำรงขันธ์อยู่ หลวงปู่ มีจิตคงที่ ไม่แสดงอาการขึ้นลงตามกระแสรใดๆ ไม่ว่าอะไร จะเกิดขึ้นกับท่่าน ท่านไม่รู้สึกหวั่นไหว ไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไร ใครอยากขอ อยากทำอะไรกับ ท่านก็ทำไป ถ้าไม่เป็นการล่วงละเมิดวินัยสงฆ์ ท่านจะเมตตาสงเคราะห์ให้เสมอ
การ เทศน์การสอนของหลวงปู่ ท่านมักสอนให้ละอดีต ให้ละอนาคต โดยท่่านบอกว่า "นั่นมัน ธรรมเมา ถ้าจะให้เป็นธรรมา ต้องให้จิตแน่วนิ่งลงในอารมณ์ปัจจุบัน"
ใคร ถามประวัติหนหลังของหลวงปู่ ท่านจะบอกว่า " ฮาบ่มีอดีต ฮาบ่มีอนาคต" ซึ่งแสดงว่า จิตของท่านตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันเสมอ
ผู้ รู้ในแนวทางพระพุทธศาสนา อธิบายว่า " ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์ปัจจุบันได้เสมอ กิเลสเครื่องเศร้าหมองย่อมจะครองใจไม่ได้ แล้วกิเลสอะไรจะครองใจของหลวงปู่อยู่อีกละ ?"
ใครไม่เชื่อว่า หลวงปู่แหวน เป็นพระอรหันต์ ก็ตามใจ !
|
|
|
|
๔ ชาติภูมิ
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ มีภุมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านโป่ง ตำบลหนองใน ปัจจุบันคือ ตำบลนาใน อำเภอ เมือง จังหวัดเลย
เมื่อ ตอนเด็ก หลวงปุ่มีชื่อว่า ยาน เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๐ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน บิดาชื่อ นายใส รามสิริ ปู่และย่าไม่ปรากฎชื่อ มารดาชื่อ นางแ้ก้ว รามสิริ ยายชื่อ ยายขุนแก้ว ตาชื่อ ตาขุนแก้ว
อาชีพของบิดามารดาคือทำนา สืบเชื้อสายมาจากชาวหลวงพระบาง อพยพมานานแล้วหลาย ชั่วคน อาชีพพิเศษอย่างหนึ่งของนายใส ผู้บิดา คือ เป็นช่างตีเหล็ก มีความชำนาญในการหลอม เหล็ก ตีเหล็กมาก เป็นที่เลื่องลือของคนในถิ่นนั้น
หลวงปู่มีพี่น้อง ร่วมบิดา มารดาเดียวกันอยู่ ๒ คนคือ หลวงปู่กับพี่สาวชื่อ นางเบ็ง ราชอักษร
มารดาถึงแก่กรรมตั้งแต่หลวงปู่ยังเล็ก บิดาได้มีภรรยาใหม่อีก ๓ คน ตามลำดับดังนี้
ภรรยาคนที่สอง มีบุตร ๑ คน คือนายคำ
เมื่อภรรยาคนที่สอง ถึงแก่กรรมอีก บิดาก็ได้ภรรยาคนที่สาม มีบุตรสาว ๑ คนชื่อ นางนำ
หลังจากคลอดลูกสาวไม่นาน ภรรยาคนที่สาม ก็ถึงแก่กรรมอีก บิดาจึงมีภรรยาคนที่สี่ มีบุตร ธิดา ๔ คน บุตรชายชื่อ นายฝ้าย และบุตรสาวชื่อ นางกองคาย นางตาบ และนางพวง ตามลำดับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๕. มารดาขอให้บวชตลอดชีวิต
เมื่อหลวงปู่แหวนอายุได้ประมาณ ๕ ขวบ โยมมารดาเริ่มป่วยกระเสาะแระแสะ รักษาเยียวยาหมอพื้นบ้าน ตามที่มีในสมัยนั้น อาการก็ไม่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุด ลงเรื่อยๆ
แม้โยมมารดามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง แต่ท่านก็เป็นคนใจบุญสุนทาน ไหว้พระ ทำบุญเป็น ประจำ
โยมมารดารู้ตัวว่า นางคงอยู่ได้ไม่นาน จึงเรียกลูกชายเช้าไปหา จับมือลูกรัก ไว้แน่น แล้วพูด เป็นการสั่งเสียว่า
" ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใดๆในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่ำโกฎก็ตาม แม่ไม่ยินดี แม่ยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้ว ก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึก ออกมามีลูกมีเมียนะ "
คำสั่งเสียของมารดาในครั้งนั้น เป็นเสมือนประกาศิตสวรรค์ ที่กำหนดแนวทางดำเนินชีวิต ของหลวงปู่ ท่่านจดจำคำสั่งเสียของมารดาตรึงแน่นอยู่ในหัวใจไม่เีีคยลืม และคำสั่งนี้เป็นพลังใจ ให้หลวงปู่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆได้อย่างไม่เคยท้อถอย ส่งผลให้ท่านบรรลุถึงธงชัย ในพระ พุทธศาสนา ได้อย่างน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นที่ยิ่ง
|
|
|
๖. ความฝันของคุณยาย
หลัง จากสั่งเสียบุตรชายได้ไม่นาน โยมมารดาของหลวงปู่ก็ถึงแก่กรรม เด็กชายยาน และ พี่สาว จึงอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของคุณตา คุณยายต่อมา
คืนหนึ่ง คุณยาย (ชาวอิสานเรียกว่า แม่ใหญ่ ) ของท่านได้ฝันไปว่า เห็นหลานชายตัวน้อย นอนอยู่ในดงขมิ้น ผิวกายแลดูเหลืองอร่ามไปหมด
คุณยายเชื่อว่าเป็นฝันดี ถือเป็นบุพนิมิตแสดงให้เห็นว่า หลานชายของท่านคงจะได้มีวาสนา อยุ่ในสมณเพศตามที่มารดาต้องการ
ตื่่นเช้า คุณยายได้เล่าความฝันให้หลานชายว่า
" ยาายฝันประหลาดมาก ฝันว่าเห็นเจ้าไปนั่งอยุ่ในดงขมิ้น เนื้อตัวของเจ้าดูเหลืองอร่ามไป หมด เห็นแล้วน่ารักน่าเอ็นดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้ามีอุปนิสัยวาสนาในทางบวชเรียน ยายจึงอยาก ให้เจ้าบวชตลอดชีวิต ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมีย ตามที่แม่เจ้าบอกไว้ เจ้าจะทำไ้ด้บ่ "
นับเป็นประกาศิตครั้งที่สอง เด็กชายยานได้รับปากตามคำขอของยาย ทำให้ยายปลาบปลื้ม ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
|
|
|
๗. ขอให้บวชพร้อมน้าชาย
เด็กชายยานมีเพื่อนเล่นอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่มีศักดิ์เป็นน้าชาย ทั้งน้าและหลานมี ความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก
วันหนึ่ง คุณยายได้เรียกเด็กชายทั่งคู่เข้าไปหา แล้วพูดอย่างเป็นการเป็นงานว่า
" ยายอยากให้เจ้าทั้งสองบวชเป็นเณร เจ้าจะบวชให้ยายได้บ่ ครั้นบวชแล้วก็ไม่ต้องสึก เจ้า จะรับปากยายได้บ่ "
ฝ่ายน้าชายตอบรับตามที่ยายต้องการ แล้วยายจึงถามหลานชายอีกว่า
" แล้วเจ้าล่ะจะว่าอย่างไร จะบวชให้ยายได้ไหม บวชแล้วไม่ต้องสึก "
เด็กชายยานตอบยืนยันตามที่เคยสัญญาไว้ว่า จะขอบวชจนตลอดชีวิต ตามที่แม่และยายต้อง การ
|
|
|
๘. สามเณรแหวน
คุณยายแสนปลาบปลื้มยินดี เมื่อหลานทั้งสองรับคำว่า จะบวชตลอดชีวิต จึงได้จัดหาบริขาร สำหรับบวชเณรจนได้ครบ
คุณยายนำหลานชายทั้งสองไปถวายตัวต่อ พระอาจารย์คำมา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของหลวงปู่ และเป็นเจ้าอาวาส วัดโพธิ์ชัย วัดประจำหมู่บ้านนาโป่งนั้นเอง เพื่อให้หลานทั้งสองได้ฝึกขานนาค และเรียนรู้ธรรมเนียมการอยู่วัด เตรียมตัวบรรพชาเป็นสามเณรต่อไป
ทั้งน้าชายและเด็กชายยาน จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ชัย แห่งนั้น
ขณะนั้นอยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ หลวงปู่มีอายุได้ ๙ ปี
หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว เด็กชายยานได้รับการเปลี่่ยนชื่อใหม่เป็น สามเณรแหวน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
|
|
|
๙. เหตุสะเทือนใจครั้งที่สอง
หลังจากเข้าพรรษาแรกได้ประมาณสองเดือน สามเณรที่มีศักดิ์เป็นน้าชายเกิดอาพาธ สุดที่จะ เยียวยาได้ จึงมรณภาพในที่สุด
การสูญเสียในครั้งนั้นทำให้ สามเณรแหวน สะเทือนใจอีกครั้งหนึ่ง เพราะสามเณรนั้นเป็น ทั้งญาติ เพื่อนเล่น และเป็นคู่นาคตอนบรรพชาด้วย เรียกว่าใกล้ชิดสนิทสนมกันมาตั้งแต่เกิด และ ไม่เคยแยกห่างจากกันเลย
เป็นการสะเทือนใจครั้งที่สอง หลังจากสูญเสียโยมมารดามาเป็นครั้งแรก
คุณยายพยายามพูดปลอบใจสามเณร รวมทั้งพูดเตือนย้ำคำขอร้องแต่เดิมว่า " หลานจะบวช อยู่ในผ้าเหลืองไปจนตาย ตามที่เคยรับปากกับยายได้ไหม? "
สามเณรแหวนยังคงรับคำหนักแน่นเช่นเดิม
|
|
|
๑๐. เดินทางไปเรียนที่อุบลราชธานี
การ บรรพชาเป็นสามเณรอยุ่ที่วัดบ้านเกิดนั้น สามเณรแหวน ไม่ได้ศึกษาอะไรมาก เพราะ ไม่มีผุ้สอน เพียงแต่หัดไหว้พระ สวดมนต์รับใช้พระ รวมทั้งวิ่งเล่นบ้างตามประสาเด็ก
ในบันทึก ไม่มีหลักฐานว่า หลวงปู่ ได้ศึกษาเล่าเรียนอะไรมาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ศึกษาสายสามัญ ซึ่งยังไม่มีแพร่หลายเหมือนสมัยปัจจุบัน
กิตติศัพท์ในสมัยก่อน คือ " อุบล ....เมืองนักปราชญ์ โคราช ... เมืองนักมวย
ด้วย เหตุนั้น ทั่วแคว้นแดนอิสานทั้งหมด ถ้าใครต้องการศึกษา เล่าเรียนทางบาลี ทางธรรมะ จะต้องไปศึกษาเล่าเรียนตามสำนักเรียนต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีสำนักที่มีชื่อเสียงอยู่ หลายแห่งด้วยกัน
ผู้ใหญ่ ต้องการให้สามเณรแหวน ได้รับการศึกษา พระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา จึงได้พา สามเณรแหวนหลานชาย เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปศึกษา มูลกัจจาย์ ซึ่งเป็น หลักสุตร สำหรับพระเณร ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น
ใน ประวัติ ไม่ได้บอกว่า หลวงปู่ เดินทางไปอย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านต้องรอนแรมเดินทาง ไปด้วยเท้า บุกป่าฝ่าดงไป ชนิดที่ว่าค่ำไหนนอนนั่น
ถ้า ดูตามแผนที่ในปัจจุบัน สามเณรแหวน น่าจะเดินทางจากจังหวัดเลย ตัดตรงมาทาง อุดรธานี เข้าสกลนคร มุกดาหาร (เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น) แล้วเข้าจังหวัด อุบลราชธานี ในส่วนที่เป็นเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ในปัจจุบัน
|
|
|
๑๑. สำนักเรียนมูลกัจจายน์
ใน สมัยนั้นอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีการศึกษามูลกัจจายน์ กันอย่างแพร่หลาย มีสำนัก เรียนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ถือเป็นแหล่งผลิตครูอาจารย์ทางพระพุทธศาสนา อย่างเป็นหลัก เป็นฐาน
สำนัก เรียนที่มีชื่อเสียงมาก และมีนักเรียนจำนวนมาก ได้แก่สำนักเรียนเวฬุวัน สำนักเรียน บ้านไผ่ใหญ่ สำนักเรียนบ้านเค็งใหญ่ สำนักเรียนบ้านหนองหลั และสำนักเรียนบ้านสร้าง ถ่อ พระเณรทั่วภาคอิสาน ที่ไฝ่ต่อการศึกษา ต่างเดินทางมายังสำนักเรียนเหล่านี้
การเรียนมูลกัจจายน์ เป็นการเรียนที่ยุ่งยากมาก ผุ้เรียนต้องมีสมองดี และมีความพยายามสูง
ผู้ที่สามารถเรียนได้จบหลักสูตร จะได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปว่า เป็นนักปราชญ์ มีความ แตกฉานในธรรมะ และในภาษาบาลี สามารถแปลได้ทุกประเภท
ต่อ มาภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าการเรียน มูลกัจจายน์ นั้นยากเกินไป มีผุ้เรียนจบหลักสูตรน้อย และต้องเสียเวลาเรียนนานเกินความจำเป็น
จึงทรงปรับปรุงเปลี่่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนเสียใหม่ จนได้กลายมาเป็นหลักสูตรของการ ศึกษาฝ่ายคณะสงฆ์มาจนปัจจุบัน
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเรียนมูลกัจจายน์ จึงได้ถูกลืมไปจากวงการศึกษาของคณะสงฆ์ ตราบ จนทุกวันนี้
|
|
|
๑๒. ฝากตัวกับพระอาจารย์สิงห์
เหตุการณ์ อยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พระอาจารย์อ้วน ผู้เป็นหลวงอา ได้พาสามเณรแหวน เดิน ทางรอนแรมไปยังจังหวัดอุบลราชธานี โดยนำไปฝากกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺยาคโม ศิษย์เอก สำคัญสูงสุดองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
ในสมัยนั้น ท่า่นพระอาจารย์สิงห์ ยังไม่ได้เข้ามาเป็นศิษย์ของหลวงปุ่มั่น ท่่านยังเป็นอาจารย์ สอนปริยัติ อยุ่ที่สำนักเรียน วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา( ภายหลังเปลี่ยนเป็น อำเภอม่วง สามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี)
พระ อาจารย์อ้วน นำสามเณรขึ้นมากราบ พระอาจารย์สิงห์ แนะนำตนเองว่า มาจากเมืองเลย อันไกลโพ้น และเป็นอาของสามเณร เดิมสามเณรชื่อ ยาน พอบวชเป็นเณรแล้วเปลี่ยนชื่อ เป็นแหวน
" อ้อ! ชื่อสามเณรแหวนรึ " พระอาจารย์สิงห์ กล่าวด้วยความชื่นชม " ชื่อแหวนนี้ดี แหวนเป็น เครื่องประดับกายของมนุษย์ จึงเป็นของสำคัญ เปรียบได้กับสติปัญญาของเราที่จะมาเสริมแต่งตัว เราให้รุ่งเรืองเปรื่องปราด ต่อไปในอนาคต"
ต่อ จากนั้น พระอาจารย์สิงห์ ก็ได้ซักถามเรื่องราว ของสามเณร แล้ว พระอาจารย์อ้วน ได้แจ้ง ความประสงค์ว่า ต้องการนำสามเณรมาฝาก เพื่อขอศึกษาบาลีธรรม ด้วยว่าสำนักแห่งนี้มีชื่อเสียง โด่งดังมีพระเณร จากหัวเมืองต่างๆ ในอิสาน เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ลุกหามากมาย
พระ อาจารย์สิงห์ ทราบความประสงค์ แล้วก็มีความยินดี มองพินิจพิจารณาสามเณรน้อย รูป ร่างผิวพรรณเกลี้ยงเกลาสะอาด นัยน์ตาสุกใส บริสุทธิ์ ท่า่ทางสำรวม มีสง่าราศรีอย่างประหลาด
" นี่แหละช้างเผือกแก้ว เกิดในป่าแน่แล้ว "
จากนั้นจึงพาสามเณรไปที่กุฏิพระอาจารย์หลี เจ้าอาวาส แนะนำให้รู้จักไว้ตามธรรมเนียม พระอาจารย์หลี ยินดีอนุญาต ให้พระอาจารย์สิงห์ รับสามเณรไว้ศึกษา ในสำนักได้ตามปราถนา
ขณะ นั้น มีพระเณรเรียนอยู่ในสำนัก วัดสร้างถ่อหัวตะพาน ซึ่งมี พระอาจาร์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระอาจารย์ใหญ่ สอนอยู่ประมาณ ๗๐ รูป
ตอนนั้นพระอาจารย์สิงห์ ยังเป็นพระมหานิกาย ยังไม่ได้ปาวรณาเป็นศิษย์กรรมฐานของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต
|
|
พระญาณวิศิษฐ์สมิทธิวีราจารย์
(หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)
|
๑๓. หลวงปุ่สิงห์ ขนฺตยาคโม
ขอ อนุญาติท่านผู้อ่าน เขียนถึงประวัติ ของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม สักเล็กน้อย เพื่อความ เข้าใจของผู้ที่ใหม่ต่อพระป่า สายหลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโร
หลวงปุ่สิงห์ นับเป็นพระอาจารย์องค์แรกที่สอนพื้นฐานการภาวนาให้กับ หลวงปุ่แหวน อันเป็นเหตุให้หลวงปุ่ มอบกายถวายชีวิตให้กับการปฎิบัติวิปัสสานากรรมฐาน จนถึงที่สุดได้
หลวงปุ่สิงห์ ท่่านเป็นชาวอุบลๆ บวชที่วัดสุทัศนาราม ในเมืองอุบลๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ โดย มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสฺโส) ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่พระศาสนดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวง ปุ่สิงห์ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมมาก่อน ได้เข้าศึกษาด้านวิปัสสานากรรมฐาน กับ หลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงเลิกเป็นครูสอน แล้วออกปฏิบัติธรรมแสวงหาความ วิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร ติดตาม หลวงปู่มั่น และ หลวงปุ่เสาร์ กนตฺสีโล
สหธรรมมิกที่เป็นสหายคู่ใจของหลวงปุ่สิงห์ คือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม อำเภอ เมือง จังหวัดสุรินทร์
หลวงปุ่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นศิษย์ที่หลวงปู่มั่น ไว้วางใจมาก เมื่อหลวงปู่มั่น ปลีกตัวออก แสวงวิเวก ที่เชียงใหม่ นานถึง ๑๒ ปี ได้มอบหมายการปกครองคณะสงฆ์ สายวิปัสสนากรรมฐาน ให้กับหลวงปุ่สิงห์ และท่านได้ทำการเผยแผ่วงค์ธรรมยุต ออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งภาคอิสาน และในกรุงเทพๆ
หลวงปุ่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ชื่อว่า เป้นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายหลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่สิงห์ ผู้เป็นศิษย์เอก จึงเป็นองค์แรกแทนหลวงปู่มั่น นำขบวนพระเณร ลูกศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ในสมัยนั้นออกเผยแพร่พระธรรม เมื่อคณะของหลวงปู่สิงห์ ไปเผยแพร่ถึงที่ใด ก็จะ เกิดวัดป่า ขึ้นที่นั่น นับจำนวนพันวัดทีเดียว
หลวง ปู่สิงห์ เมื่อรับหน้าที่ หัวหน้ากองทัพธรรม แทนหลวงปู่มั่น จึงจำต้องสำแดงบุญฤทธิ์ ให้ประชาชนได้ชื่นชม และเชื่อมั่นในธรรม ถือเป็นกุศโลบาย ในการโน้มน้าว ชาวบ้าน ให้บัง เกิดศรัทธาความเลื่อมใส
" ดังนั้น นามของพระอาจารย์สิงห์ จึงเป็นที่เลื่องลือ ระบือยิ่งใหญ่ ในยุคนั้น หาผู้เสมอเหมือน ได้ยาก ถ้าพูดกันตรงๆ ก็ต้องบอกว่า ในสมัยนั้น คนรู้จักพระอาจารย์สิงห์ มากกว่า ที่จะรู้จัก พระอาจารย์ใหญ่มั่น
ใน ช่วงสุดท้ายของชีวิต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้มาพำนักประจำที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนกระทั่่งมรณภาพ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริรวมอายุได้ ๗๒ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน
สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายของท่าน เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระญาณวิศิษฐ์สมิทธิวีราจารย์
พระ ธาตุของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ประดิษฐานอยู่บนบุษบกเดีววกับพระธาตุของ อาจารย์ ของท่านคือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าสาลวัน ในเมืองนครราชสีมา
|
|
|
๑๔. การเรียนมูลกัจจายน์ในสมัยก่อน
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้เล่าถึงการเรียนมูลกัจจายน์ว่า การเรียนในสมัยนั้น ไม่มีห้องเรียน เหมือนสมัยปัจจุบัน ครูที่สอนก็ไม่ได้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน แต่จะแยกอยู่คนละที่
เมื่อถึงเวลาเรียน นักเรียนต้องแบกหนังสือ ไปเรียนถึงที่อยู่ของครูแต่ละท่าน
วันนี้เรียยวิชานี้ ก็แบกหนังสือไปเรียนกับครูท่า่นนี้ วันพรุ่งนี้เรียนวิชานั้น ก็จะต้องแบกหนัง สือไปเรียนกับครูท่้่านนั้น แบกไปแบกมา จนกว่าจะเรียนจบ
ที่ว่าแบกหนังสือนั้น แบกกันจริงๆ
เพราะว่าในสมัยก่อน หนังสือพิมพ์เป็นเล่ม ไม่มีเหมือนสมัยปัจจุบัน หนังสือที่ใช้ในการเรียน การสอน ก็ใช้คัมภีร์ใบลานเป็นพื้น
นักเรียนต้องเคารพหนังสือ เพราะถือว่าหนังสือคือพระธรรม จะดูถูกไม่ได้ ถือเป็นบาป
เวลาว่างจาการเรียน นักเรียน จะต้องเข้าป่าหาใบลานมาไว้ สำหรับทำคัมภีร์ เพื่อฝึกหัด จารหนังสือ ( ใช้เหล็กแหลมเขียนลงไป ให้เป็นรอย)
วิธี ทำคัมถีร์ ก็คือ ไปหาใบลาน เลือกเอาเฉพาะใบที่อายุได้หนึ่งปีแล้ว ถ้าเอาใบอ่อนมา มักใช้ ได้ไม่ค่อยดี แต่ถ้าเอาใบแก่ไป ใบมักเปราะแตกง่าย
เมื่อ ได้ใบลานมาแล้ว ก็เอามากรีด รีดใบเลาะก้านใบออก ตากน้ำค้างไว้ สามคืนพอหมาด แล้วใช้ด้าย หรือเชือกร้อยทำเป็นผูกๆ มากน้อยตามต้องการ
เวลาไปเรียนกับครู ก็ใช้คัมภีร์ที่เตรียมไปนี้ สำหรับคัดลอกตำรา และหัดจาร หนังสือพร้อมกัน ไปด้วย ดังนั้น ผู้เรียน จึงต้องจารหนังสือขึ้นเอง เอาไว้่ท่องบ่น ทบทวนต่อไป
|
|
|
๑๕. เพื่อนร่วมเรียนและครูผู้สอน
เพื่อนพระ-เณร ที่เรียนมูลกัจจายน์ ด้วยกันกับหลวงปู่ ตามที่ท่านเล่า ก็มี พระเฮียง กับ พระเหลา ภายหลังเพื่อนทั้งสอง ได้พากันลาสิกขาไปหมด
สำหรับครูผู้สอน ที่หลวงปู่ เคยพูดไว้ มีดังนี้
พระอาจารย์เอี่่ยม วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ สอนวิชามูลกัจจายน์
พระอาจารย์ชม เป็นพระที่ใจเย็น เวลาสอนหนังสือ ก็ใจเย็น ลูกศิษย์ชอบท่านมาก
พระอาจารย์ชาลี เวลาสอนหนังสือจะดุมาก แต่แปลหนังสือได้พิศดาร เพราะเคยลงศึกษา อยู่ กรุงเทพๆ นานถึง ๑๐ ปี
พระอาจารย์อ้วน สอนไวยากรณ์ สอนแปล โดยยึดพระปาฎิโมกข์เป็นพื้น หัดแปลกันจนคล่อง แคล่วขึ้นใจ
หลวงปู่เล่าว่า ท่านเอง ไม่เคยท่องปาฎิโมกข์ แต่ทานสามารถยกสิกขาบทขึ้นมาแปลได้อย่าง คล่องแคล่ว โดยไม่ติดขัดเลย
สำหรับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ในขณะนั้น ท่านเป็นครูสอนปริยัติธรรม ในฝ่ายมหานิกายอยู่ ท่านมีภาระยุ่งอยู่กับการค้นคว้าตำรับตำรา คัมภีร์ต่างๆ เพื่อเตรียมไว้สอนลูกศิษย์ จึงหาเวลาว่าง ที่จะอบรมกรรมฐานให้ไม่ได้
หลวงปู่สิงห์ ได้แต่เพียงแนะนำหลักกว้างๆ อันเป็นพื้นฐาน ในการทำสมาธิภาวนาเท่านั้น ซึ่งหลวงปู่แหวน ท่า่นให้ความสนใจมาก แต่ยังไม่มีโอกาส ที่จะปฎิบัติอย่างจริงจัง
|
|
|
๑๖. ความเห็นพระอาจารย์สิงห์
พระ อาจารย์สิงห์ ท่านมีความคิดเห็นว่า ธรรมะของพระพุทธองค์ที่ทรงค้นพบ สั่งสอนให้คน เราหลุดพ้นจาก วัฎสังสารทุกข์ คือความเวียนว่ายตายเกิด เพื่อไปสู่พระนิพพาน คือความดับสนิท
พระสงฆ์ผู้สือบศาน โนวาทของพระพุทธเจ้า พึงปฏิบัติด้วย กาย วาจา ใจ ให้บรรลุตามเป้า หมายของพระพุทธองค์ ที่ทรงวางหลักบัญญัติไว้นี้
ในขณะ เดียวกัน ก็จะต้องไม่ลืมความจริงในข้อที่ว่า มนุษย์โดยมาก คือคนเราทุกวันนี้ ยังไม่ สามารถจะไปนิพพานกันได้ง่ายๆ ต่างก็ดำเนินชีวิตอยู่เป็นหมู่คณะ มีชุมชนเป็นหมู่บ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ ต้องทำมาหาเลี้ยงปากเลี้้ยงท้อง ด้วยความเหนื่อยยาก มีโลภ มีโกรธ มีหลง
ดังนั้นชาวบ้านทั้งหลาย จึงเป็นพระสงฆ์องคเจ้า คือผู้ที่ปลดเปลื้อง ทุกข์ให้พวกเขา ไปเสียแทบ ทุกอย่าง เห้นพระเป็นครูบาอาจารย์ เป็นหมอยา เป็นตุลาการตัดสินปัญหาของชาวบ้าน และเป็น อะไรต่อมิอะไร ที่จะต้องช่วยชาวบ้าน แก้ปัญหาร้อยแปด ซึ่งพระก็ต้องจำใจอนุโลม ตาม เพื่อช่วย เหลือญาติโยม ชาวบ้าน ไปตามมีตามเกิด
เพราะถ้าไม่ช่วยแล้ว ชาวบ้านก็จะกล่าวหาได้ว่า พระสงฆ์องคเจ้า ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร ช่วยเหลือชาวบ้านไม่ได้
สิ่ง ใด มีประโยชน์ บางอย่าง ทางไสยเวทวิทยาคม เราต้องยอมรับ เอาไว้ใช้ในพระพุทธศาสนา บ้าง ไม่ควรจะเหยียดหยามสิ่งที่มีคุณค่าของลัทธิอื่นๆ โดยไม่อยากจะเอาความรู้สึกดีๆ ของคนอื่น มาใช้อำนวยประโยชน์ด้วย
ด้วย เหตุนี้พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง ทางธรรมบาลีอักขรสมัย และไสยเวทวิทยาคมในสมัยนั้น จึงได้ถ่ายทอดวิชาไสยเวท อำนาจจิตให้พระเณรลูกศิษย์ ที่สนใจ ในทางนี้ ควบคู่ไปกับบาลีธรรมด้วย เพื่อที่พระเณร จะได้นำไปสงเคราะห์ชาวบ้านป่า เมืองดง ชนบท ที่ห่างไกลความเจริญ ที่ได้รับทุกขภัย เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคร้ายนานา
บ้าง ก็ถูกคุณไสยต้องอาถรรพ์ บ้างก็ถูกสัตว์ร้ายขบกัด บ้างก็ต้องอุบัติเหตุกระดูกหักรักษา ไม่หาย พระก็ต้องใช้เวทมนต์คาถาประสานกระดูกให้ บ้างก็ปัดรังควาน และสะเดาะกุมารตาย ในครรภ์ ๆลๆ ซึ่งแพทย์สมัยใหม่ ไม่สามารถจะเดินทางเข้าไปเยียวยารักษาให้ได้ เพราะอยู่ห่าง ไกล
" เป็นวิชาพิเศษ ที่พระเณร จะต้องเรียนรู้ไว้นะ เพราะพระเณร และวัดเป็นที่พึ่งทางกาย ทางใจของชาวบ้าน ถ้าชาวบ้านเขามาขอความช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยแลัว เราช่วยเหลือเขาไม่ได้ ชาวบ้านก็จะกล่าวหาเอาได้ว่า พระเณรบวชเรียนแล้ว ไม่เห็นทำประโยชน์อะไรให้ชาวบ้านได้ บวชเปลืองผ้าเหลือง เปลืองข้าวสุกชาวบ้านไปเปล่าๆ เอาสบายแต่ตัวเอง "
พระอาจารย์สิงห์ กล่าวทำนองนี้กับ สามเณรแหวน ผู้เป็นศิษย์ ด้วยความเมตตาเอ็นดู
|
|
|
๑๗. อย่าหลงไหลไสยศาสตร์
สามเณร แหวน มีความสนใจใคร่รู้ในศาสตร์ลึกลับมหัศจรรย์ ในพระศาสนา ตามที่ พระอาจารย์สิงห์แนะนำ พระอาจารย์สิงห์ ก็เล็งเห็นนิสัยใจคออันบริสุทธิ์ ของสามเณรอยุ่แล้วว่า มีความเหมาะสมที่ควรจะได้ัรับวิชาพิเศษนี้ จึงได้ถ่ายทอดประสิทธิประสาท ให้จบสิ้นตำราเลย ทีเดียว
แต่ได้กำชับว่า
" วิชาไสยเวทวิทยาคมนี้เป็นเพียงโลกียวิชา เท่านั้น ไม่ใช่วิชาประเสริญ ให้เรียนรู้ไว้ด้วยใจ มั่น เพียงเพื่อเอาไว้สงเคราะห์ชาวบ้านเท่านั้นนะ แต่เมื่อสามเณรออกธุดงค์กรรมฐานเมื่อไร ขอให้ปล่อยวางวิชาไสยเวทนี้เสีย อย่ายึดมั่นถือมั่น อย่าติดใจหลงใหลว่าเป็นวิชาประเสริฐ เพราะเป็นเพียงโลกียวิชาเท่านั้น เป็นวิชาที่ขัดขวางโลกุตรธรรม ขัดขวาง มรรค ผล นิพพาน
สามเณรแหวน รับคำสอนของพระอาจารย์สิงห์ ทุกประการ
พระอาจารย์สิงห์ กล่าวต่อไปว่า " ธรรมดา พระเณรที่บำเพ็ญเพียรด้านกรรมฐาน จนบรรลุ ธรรมแก่กล้า ได้ฌาณสมาบัติ ได้วิโมกข็ ได้อภิญญาจิต ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ถ้าคิดจะสงเคราะห์ ชาวช้านเมื่อไร ไม่จำเป็นต้องใช้เวทมนตร์คาถาเลย เพียงแต่นึกอธิษฐานจิตขอบารมี พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ให้ช่วยขจัดปัดเป่าปัญหานั้นๆ ก็จะสำเร็จประโยชน์ในพริบตา เป็นที่ น่าอัศจรรรย์
ด้วย เหตุนี้เอง สามเณรแหวน จึงเป็นผู้รอบรู้ทางไสยเวทวิทยาคม อีกแขนงหนึ่ง ควบคู่ไปกับ การเรียนบาลีธรรมตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อมีญาติโยมมาขอรดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ จากพระอาจาร์ สิงห์ ที่วัด พระอาจารย์มักจะให้สามเณรแหวน ทำหน้าที่รดน้ำมนต์แทนท่าน อยู่เสมอ เป็นการ ทดสอบวิชาความสามารถของลูกศิษย์ไปด้วย
|
|
|
๑๘. อุปนิสัยของสามเณรแหวน
ปฏิ ทาจริยาวัตรของสามเณรแหวน จัดเป็นผู้ถือเคร่งในพระธรรมวินัย พูดน้อย ชอบใ่ช้ ความคิด เงียบขรึม รักสงบ ชอบอยู่ในที่สงัดวิเวก ไม่ชอบร่วมคลุกคลีกับหมู่คณะ มักจะหาโอกาส แบกตนออกไปนั่ง ในที่สงัดนอกวัดเสมอเป็นต้นว่า ตามใต้ร่มไม้ในทุ่ง ตามป่าช้า โคนต้นไม้
บาง วัน ภายหลัง จากเรียนบาลีธรรมกับพระอาจารย์แล้ว สามเณรแหวน จะออกจากวัดเ้ข้าไป นั่งสงบอยู่ในป่าช้า แต่ลำพัง โดดเดี่ยว ตลอดทั้งคืน จนพระอาจารยสิงห์ ออกปากกับพระอาจารย์ หลี เจ้าอาวาส ว่า
" สามเณรน้อยนี้กล้าหาญมาก มีจิตใจองอาจไม่กลัวอะไรเลย เป็นมหานิกาย ที่ถือเคร่งเหมือน ธรรมยุต อาหารก็ฉันมือเดียว ไม่สนใจอาหารประเภทเนื้อเลย
สามเณร แหวน ตื่นนอน ประมาณตีสาม ตีสี่ เป็นประจำ ถ้าคืนไหนไม่ได้ออกไป นั่งสมาธิ ในป่าช้า จะลงจากกุฏิไปเดินจงกรมประมาณ ๑ ชั่วโมง แล้วกลับขึ้นกุฏินั่งสมาธิให้จิตใจสงบ ตามหลักสมถกรรมฐาน จนสว่าง แล้วจึงออกจากสมาธิ ไปทำกิจวัตรประจำวันต่อไป
ปฏิทา จริยาวัตร ของสามเณรแหวน นี้น่้ารัก น่าเลื่อมใสเป็นที่ชื่นชมเมตตา ของพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์หลี ผู้เป็นครูบาอาจารย์ยิ่งนัก
|
|
|
๑๙. เห็นแจ้งโดยธรรมชาติ
หลังจากฉันอาหารเช้าวันหนึ่ง พระอาจารย์สิงห์ ได้ถามสามเณรแหวนว่า " ชอบกรรมฐาน มากหรือ จัวน้อย" (จัว เป็นคำอิสาน ใช้เรียกสามเณร)
สามเณร แหวน พนมมือตอบนอบน้อมว่า " กระผมชอบความเงียบสงัด ชอบพิจารณา ต้นไม้ ใบหญ้า แล้วคิดเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ และสัตว์ แล้วเห็นว่า ธรรมชาติกบใบไม้ใบหญ้า นี้ คล้ายชีวิตคนเรา มีเกิดมีดับ หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย ยิ่งคิดยิ่งพิจารณา ก็มีความ เพลิดเพลินเจริญใจ เกิดสติปัญญาแปลกๆ ผุดขึ้นมาให้คิดให้ขบ เหมือนน้ำไหลรินไม่ขาดสาย"
พระอาจารย์สิงห์ ฟังแล้วเห็นอัศจรรย์ อุทานในใจว่า เณรน้อยรูปนี้มีอารมณ์วิปัสสนา ทั้งๆที่ เรายังไม่ทันได้สอนเลย เป็นปัญญาเห็นแจ้ง ซึ่งสภาวธรรมโดยธรรมชาติคือ เห็นชาติ ชรา มรณะ ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ เรียกว่า เิริ่มมองเห็นมรรค ผล นิพพาน ได้รำไรแล้ว
พระอาจารย์สิงห์ รู้สึกยินดี กล่าวกับสามเณรแหวนว่า " จัวน้อย ปฎิบัติชอบแล้ว ถูกทางแล้ว การปฏิบัติธรรม ถ้าเราำได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาิติ ย่อมจะเปลี่่ยนจิตใจเราให้ไปอยู่ในลักษณะที่จะ เข้าถึงธรรมชาติ รู้จักความจริงตามธรรมชาติ การเข้าถึงธรรมะก็ง่้ายเช้า
เปรียบเหมือนต้นไม้ในภาพเขียน ย่อมจะไม่เหมือนกับต้นไม้จริงๆ ในป่าฉันใด ปริยัติกับการ ปฏิบัติก็ฉันนั้น
ปริยัติ เปรียบได้กับต้นไม้ในภาพเขียน ส่วนการปฎิบัติเปรียบเหมือนต้นไม้ในป่าจริงๆ
พระ พุทธเจ้าท่านประสูติท่ามกลางธรรมชาิติ กลางดิน โคนต้นไม้ ท่านตรัสรู้ ที่พื้นดิน ที่โคน ต้นไม้แห่งหนึ่ง ท่า่นปรินิพพานที่ใต้ต้นไม้ กลางพื้นดินระหว่างโคนต้นไม้สองต้น ในสวนป่า อุทยานแห่งหนึ่ง
ธรรมชาตินี้แหละช่วยให้คนเรามีจิตใจสงบ เมื่อมีจิตใจสงบแล้ว การศึกษาไม่ว่าจะเป็นทาง ธรรมชาติ หรือทางใดก็บรรลุได้ดียิ่งขึ้น
สามเณร แหวน ได้สดับอรรถธรรม ที่พระอาจารย์สิงห์ เทศน์ โปรดแล้ว ก็ให้มีความอิ่มเอิบ ชื่นบานใจ มั่นใจในหนทางที่ตนดำเนินยิ่งขึ้น เห็นว่าการที่ได้บวชเรียน สละความสุขทางโลกนี้ เป็นการดำเนินที่ถูกทางแล้ว มองเห็นทางวิมุติสสุข หรือความหลุดพ้น สำหรับผู้เดินตามรอย พระพุทธองค์ ได้รำไรอยู่ไกลโพ้น หากวาสนาบารมีค้ำชูเราคงจะได้พบกับวิมุติสุข ในวันข้างหน้า อย่างแม่นมั่น
นี่แสดงว่า ให้เห็นว่า หลวงปู่แหวน ท่านเกิดมาเพื่อที่จะป็นสมณะ นักบวชผู้แสวงหาบุญ ตามรอยบาทพระพุทธเจ้าโดยแท้ มีมโนปณิธาน แน่วแน่ ต่อการปฏิบัติธรรมน่าสรรเสริญ
|
|
|
๒๐. เข้าพิธีอุปสมบท
ขณะ ที่หลวงปู่แหวนกำลังเรียนหนังสืออยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น อายุท่านครบบวช คือมี อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบทในพัทธสีมา วัดบ้านสร้างถ่อ ที่ท่านพำนักอยุ่นั้นเอง
หลวงปู่ บวชในคณะมหานิกาย มีพระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจา จารย์ และพระอนุสาวนาจารย์นั้นไม่ทราบชื้อ
ตอน หลังหลวงปู่ ได้ออกธุดงค์ ไปคู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม อยู่หลายปี เที่ยวไปตามป่าเขา ลำเนาไพร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้แปรญัตติ เป็นพระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัด เจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
|
|
|
๒๑. แนะนำให้ครูสึกไปครองเรือน
เมื่อหลวงปู่แหวน บวชเป็นพระแล้ว ท่านก็ยังเรียนหนังสือต่อ ดัวยความขมักเขม้นอยู่
ในระหว่างที่ท่านเรียนหนังสืออยู๋นั้นเอง ครูสอนสองท่าน คือ พระอาจารย์อ้วน กับพระอาจารย์เอี่ยม ได้อาพาธด้วยโรคนอนไม่หลับ หมอทั้งหลายช่วยกันรักษาอย่างไรก้ไม่หาย สุขภาพของท่านมีแต่ทรุดโทรมยิ่งขึ้น
หลวง ปู่แหวนได้เฝ้าพยาบาลครูของท่านอยู๋ ได้พิจารณาถึงเหตุผล แล้ว จึุงแนะนำให้ทั้งสอง ท่านสึกออกไปเป็นฆราวาสเสีย บางทีอาจหายจากการป่วยไข้ หากยังมีความอาลัยนสมณเพศอยู่ ค่อยกลับมาบวชใหม่ก็ได้
พระอาจารย์ทั้งสองท่านทำตาม ได้สึกออกไปมีครอบครัว ปราำกฎว่าโรคภัยไข้เจ็บก็หายในที่ สุด
คงจะได้หมอดี และยาดี ถูกกับโรคของท่านอย่างแน่นอน
|
|
|
๒๒. ครูที่เหลือป่วยเป็นโรคเดียวกัน
หลังจากพระอาจารย์อ้วยกับพระอาจารย์เอี่ยม ลาสิกขาไปแล้วไม่นาน บรรดาครูอาจารย์ ที่เหลือก็ป่วยด้วยโรคอย่างเดียวกัน
พระอาจารย์ชม พระอาจารย์ชาลี และพระอาจารย์องค์อื่นๆ ต่างก็พากันลาสิกขาไปหมด
เมื่อ ครูอาจารย์ที่สอนหนังสือลาสิกขาออกไปหมดแล้ว การเรียนมูลกัจจายน์ของหลวงปู่ จึง ต้องหยุดชะงักลง ตอนนั้นท่านรู้สึกว่า จิตใจว้าวุ่น รวนเร และขาดที่พึ่ง
ส่วนพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เปลี่ยนญิตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต และออกธุดงค์ติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ออกไปแสวงวิเวกตามป่าเขาห่างไกลจากผู้คน จึง ทำให้หลวงปู่ ว้าเหว่ามากยิ่งขึ้น
หลวงปู่ค่อนข้างสับสน คิดถามตนเองว่า " เราจะอยู่ที่อุบลๆ ต่อไป หรือควรจะย้ายไปอยู่ที่อื่น"
เรื่องจะลาสิกขาคงไม่ต้องพูดถึง เพราะได้รับปากกับแม่และยายอย่างมั่นเหมาะแล้ว ในใจของ ท่านเองก็ไม่อยากสึก
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรดี ?
|
|
|
๒๓. วิเคราะห์สาเหตุที่ครูอาจารย์ต้องสึก
หลวงปู่แหวนได้พิจารณาถึงสาเหตุที่ครูอาจารย์และเพื่อนพระของท่าน ต้องลาสิกขาออกไป ว่าเป็นเพราะเหตุใดหนอ
เมื่อได้พิจารณาทบทวนไปมา ก็ได้คำตอบที่ชัดเจนว่า
" บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้น ที่สึกออกไป ล้วนแต่เพราะกามทั้งสิ้น เป็นไปตามอำนาจของ กาม กามนี้เป็นอุปสรรคเครื่องขัดขวางบุคคลผู้มุ่งมั่นต่อความดี ในแนวทางของพระพุทธศาสนา
บรรดา สัตว์ทั้งหลายยอมตาย ก็เพราะกามนี้มามากต่อมาก เพราะความสำคัญผิด ไม่รู้จักโทษ ของกามที่แท้จริง ปล่อยใจปล่อยกาย ให้ตกไปสู่อำนาจของกามเข้า
เมื่อถูกกามครอบงำจิตแล้ว ก็ยังไม่รู้สึก สำคัญผิดคิดว่าดี จึงยอมตัวลงลำรุงบำเรอ ท้ายที่สุด ก็ ถอนตัวไม่ออก
|
|
|
๒๔. ทำอย่างไร
จึงจะบวชได้ตลอด
หลวงปู่ ได้ย้อนระลึกไปถึงความตั้งใจ ที่ได้รับปากไว้กับแม่และยายว่า จะบวชไปจนตาย กับผ้าเหลือง
ท่านใคร่ครวญในใจว่า " มีทางใดบ้างที่จะทำให้เราบวชแล้วอยุ่ได้ตลอดไป จนตายกับผ้าหลือง ตามที่รับคำไว้กับแม่และยาย"
จากการที่หลวงปู่ได้รับรู้ถึงแนวทางปฎิบัติกรรมฐานมาบ้าง จากหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่าน จึงตัดสินใจได้ว่า
" การออกปฏิบัติ น่าจะเป็นทางเดียว ที่ทำให้เราบวชอยู่ได้นานตลอดชีวิต เหมือนครูบา อาจารย์ สายกรรมฐาน ที่ำได้ปฎิบัติกันมา
ท่านเหล่านั้นได้ออกปฏิบัติกันอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ไม่ได้อาลัยอาวรณ์ อยู่กับหมู่คณะ
เราน่าจะเลือกทางนี้ "
|
|
พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
พระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น
|
๒๕. พระอาจารย์สิงห์
ติดตามหลวงปู่มั่น
ย้อน กลับไปกล่าวถึงพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านได้เลิกสอนบาลีธรรม ที่วัดสร้างถ่อ เพราะทางหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล( พระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น) ได้นิมนต์ให้พระอาจารย์สิงห์ เข้า ไปอยู่วัดเลียบ ในเมืองอุบลๆ เพื่อให้ช่วยสอนบาลีธรรมพระเณร ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน จน ครูไม่พอสอน
ที่ วัดเลียบนี้เอง พระอาจารย์สิงห์ ได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นครั้งแรก ซึ่งหลวงปู่มั่น ได้กลับจากธุดงค์ฝั่งลาว มาเยี่ยมพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
พระอาจารย์สิงห์ ได้ยิน ได้ฟังกิตติศัพท์ของหลวงปู่มั่นมานานแล้วว่า ท่านเป็นพระมักน้อย ถือ เคร่งในธรรมวินัยอย่างยิ่งยวด มุ่งบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้น อย่างเด็ดเดี่่ยวกล้าหาญ ดุจราชสีห์ ท่องเที่ยวไปในป่ากว้าง ไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆ
พระอาจารย์สิงห์ เมื่อพบกับหลวงปู่มั่น ได้เสพเสวนาธรรมกัน เป็นที่สบสัธยาศัยกันอย่างลึกซึ้ง เพราะทางฝ่ายหลวงปู่มั่น เก่งทางภาคปฎิบัติ ส่วนพระอาจารย์สิงห์ เก่งทางปริยัติแตกฉานในทาง ตำรา เรียนรู้พระสูต พระวินัย พระอภิธรรม อย่างเจนจบ
ถ้า เปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับพระอาจารย์สิงห์ เก่งทางตำราเหมือนเราเรียนตำราอาหาร ตำรา แผนที่ ตำรายา เป็นต้น ฝ่ายหลวงปู่มั่น นั้นได้ลงมือทำตามตำราอย่างจริงจัง เปรียบได้กับการ เดินทางตามแผนที่ หรือเหมือนการลงมือปรุงยาตามตำรา แล้วรับประทานได้เลย จึงเลื่อมใส
ความจริงนั้น ก่อนหน้านี้ พระอาจารย์สิงห์ เคยปฎิบัติกรรมฐาน ได้ฌานสมาธิมาแล้ว แต่ยัง ไม่แก่กล้าชำนะอินทรีย์สมใจหวัง เพราะยังขาดพระอาจารย์ผู้ชำนาญช่วยแนะนำชี้แนวทาง
ดัง นั้น เมื่อได้พบหลวงปู่มั่น ผู้ชำนาญเปรื่องปราดในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ได้ฟัง ท่านเล่าถึงชีวิตการจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขา ลำเนาไพร ถิ่นลึกลับอาถรรพ์ต่างๆ จึงเกิดความตื่น เต้นจรัสจรุุงใจเลื่อมใสศรัทธา จนขนลุกขนชันทีเดียว ได้ปวารณาฝากตัวขอเป็นศิษย์ติดตาม จาริกธดงค์ และหลวงปู่มั่นก็รับพระอาจารย์สิงห์ เป็นศิษย์หรือสหธรรมมิกด้วยความเต็มใจ
พระอาจารย์สิงห์ จึงละการเป็นครูสอนบาลีธรรม ออกปฏิบัติในป่าเขาลำเนาไพร ติดตาม หลวงปุ่มั่น ตั้งแต่บัดนั้น
|
|
|
๒๖. จะหาครูกรรมฐาน
ได้ที่ไหน
ฝ่าย หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เมื่อตัดสินใจจะออกปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จึงมาคิดทบทวนดู ครูอาจาย์ทั่้งหลายที่มีชื่อเสียงในด้านกรรมฐานในสมัยนั้น ว่ามีอยู่ ณ ที่ใดบ้าง
เท่าที่เคยได้ยินกิตติศัพท์ ก็มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นมีอยุ่ ๓ แห่ง มีอยู่ทาง เวียงจันทน์ อยู่ทางอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และอีกแห่งอยู่แถบจังหวัดสกลนคร
หลวงปู่แหวน มีโอกาส ได้พบปะกับพระธุดงค์อยุ่บ่อยๆ บ้างก็มาจากถิ่นไกลๆ เช่น ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สระบุรี นครพนม และที่ข้ามโขงมาจากฝั่งลาวก็มี ท่านได้พบปะสนทนาธรรมแลกเปลี่ยน ความรู้กัน
พระธุดงคืท ี่หลวงปู่แหวน ได้พบปะพูดคุย ปรากฏว่า อยู่ในสาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มากที่สุด ทำให้ได้ยินกิตติศัพท์ความเปรื่องปราดเพ่งเพียร อันยิ่งใหญ่ของ " พระอาจารย์ใหญ่มั่น" อยู่เสมอ
นอกจากนี้ยังทราบว่า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้้ให้ความรู้ด้านกรรมฐานองค์แรกแก่ ท่าน ก็อำลาจากการเป็นครูสอนปริยัตธรรม และกำลังติดสอยห้อยตาม พระอาจารย์ใหญ่มั่น ในฐานะศิษย์เอกผู้ใกล้ชิดด้วย
" แสดงว่า พระอาจารย์ใหญ่มั่น ท่านต้องเก่งจริง ไม่เช่นนั้น พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์ของเรา คงไม่ยอมฝากตัวเป็นศิษย์แน่"
ก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาและกระหายจะได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ใหญ่มั่น ให้เร็ววัน เมื่อ พิจาณาทบทวนแล้ว จึงได้ตัดสินใจไปหาครูบาอาจารย์ทางจังหวัดสกลนคร คือ พระอาจารย์ใหญ่ มั่น ภูริทตฺโต
|
|
|
๒๗. อธิษฐาน
ให้ได้พบกับครูอาจารย์
เย็น วันนั้น หลวงปู่แหวน รีบสรงน้ำแต่วัน ค่ำลงก็เข้าที่สวดมนต์ตามปกติ เสร็จแล้วได้ตั้ง สัจจาธิษฐาน ตั้งจิตตรงต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
" ข้าพเจ้าขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า ถวายแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยอำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และด้วยอำนาจบุญบารมี ของข้าพเจ้า ที่เคยได้อบรม สั่งสมมา ขอให้ข้าพเจ้าได้พบ หรือได้ข่าวครูอาจารย์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ผู้สามารถแนะนำ สั่งสอนช้าพเจ้าได้ แม้ท่า่นจะอยู่ ณ ที่ใดๆ ก็ตาม ขอให้ข้าพเจ้าได้พบ หรือได้ยิน ข่าวของท่านใน เร็ววันนี้ และเมื่อข้าพเจ้าออกปฎิบัติกรรมฐามแล้ว ขออย่าได้มีอุปสรรคขัดขวางใดๆ แก่ข้าพเจ้าเลย "
หลังจากตั้งสัจจะอธิษฐานแล้ว ท่านบอกว่า เกิดอาการขนลุกซู่เย็นซาบซ่านไปทั้งตัว เบาใจ จิตใจปลอดโปร่งทั้งคืน
|
|
|
๒๘. ได้ข่าว
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
รุ่ึ้ง ขึ้นเช้า หลวงปุ่แหวน ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามปกติ ได้เล่าถึงความตั้งใน และการ อธิษฐานจิตของท่าน ให้แก่แม่กาสี โยมอุปัฎฐากฟัง
โยมแม่กาสีรู้สึกเห็นชอบ และอนุโมทนา ในความตั้งใจออกปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่ พร้อมกับรับปากว่า จะช่วยสอบถามข่าวคราวเกี่ยวกับพระอาจารย์สิงห์ หากได้ยินข่าว หรือรู้ว่า พระอาจารย์ใหญ่มั่ต ภูริทตฺโต อยุ่ที่ใด จะรีบบอกให้ทราบทันที
หลัง จากนั้นอีกเพียง ๒-๓ วัน โยมแม่กาสี ก็เล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์จวง วัดธาติเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบหลวงปุ่มั่น เพิ่งจะกลับมาได้ไม่กี่วันนี้เอง
ให้ไปสอบถามพระอาจารย์จวงดู คงจะทราบข่างของหลวงปู่มั่นอย่างแน่นอน
นับเป็นข่าวที่น่ายินดีมาก สำหรับหลวงปู่ ความหวังที่จะได้พบพระอาจารย์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ และสามารถสั่งสอนท่านได้ เริ่มได้เค้าความเป็นจริงขึ้นมาตามคำอธิษฐานแล้ว
|
|
|
๒๙. ไปสอบถาม
พระอาจารย์จวง
เมื่อ กลับจากบิณฑบาต ฉันเสร็จ หลวงปู่ก็จัดบริขารสำหรับเดินทาง กราบลาท่านเจ้าสำนัก บอกลาผู้คุ้นเคย แล้วเดินทางเพื่อไปพบ พระอาจารย์จวงที่อำเภอเขื่องในทันที
พระอาจารย์จวง ได้เล่าเรื่องที่ท่านไปกราบและฟังธรรมกับหลวงปู่มั่นว่า
" บรรดาครูอาจารย์ที่ออกปฏิบัติเวลานี้ คงไม่มีใครเกินญาคูมั่น ไปได้ ครั้งแรกผมก็ได้ยิน แต่กิตติศัพท์ มีผุ้เล่าให้ฟังว่า ท่านเทศน์เก่ง รู้ใจคนฟัง มีผุ้ไปฟังธรรมจากท่านมากมาย ตอนแรก ผมเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง
ต่อมา เมื่อผมมีโอกาสเดินทางไปอุดร ผมจังไปกราบนมัสการฟังธรรมจากท่าน
พอผมไปถึง ยังไม่ได้พูดอะไรเลย ท่านก็พูดวาอย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่ผมคิดไว้ จนผมไม่กล้า พูดอะไร ผมกลัวท่านมาก ท่านรู้ใจเราจริงๆ
เมื่อผมกราบนมัสการและฟังธรรมท่านแล้ว ผมก็ลากลบ มาถึงวัดไม่กี่วันมานี้เอง "
พระอาจารย์จวง แนะต่อไปว่า :-
" ผมไม่กล้าอยู่กับท่านญาคูมั่น นานวัน เพราะท่าทาง คำพูด ของท่านน่ากลัว
หากท่านจะไปศึกษา กับท่านญาคูมั่น ก็ไปเถิด ผมยังมองไม่เห็น ใครเวลานี้ ที่ปฏิบัติได้ดี ไปกว่าท่าน
ท่านญาคูมั่น ท่านปฏิบัติได้เด็ดเดี่ยวจริงๆ ท่านชอบไปองค์เดียว ไม่ชอบไปเป็นหมู่คณะ มีนิสัยหลีกเร้น ปราำรภความเพียร ไม่ท้อถอย
มีพระิภิกษุ สามเณร และประชาชน จำนวนมาก ไปกราบนมัสการ และฟังธรรม จากท่าน เสมอไม่ได้ขาด"
|
|
|
๓๐. ออกเสาะหา
หลวงปุ่มั่น
จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์จวง ทำให้หลวงปู่ ยิ่งศรัทธา หลวงปู่มั่น มากยิ่งขึ้น กระหาย อยากไปฝากตัวเป็นศิษย์ให้เร็วที่สุด
หลวง ปู่แหวน พักอยู่ที่วัดบ้านธาตุเทิง แค่พอให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง แล้วกราบลา พระอาจารย์จวง ไปเสาะหา หลวงปู่มั่นต่อไป ท่านออกเดินทางบุกป่า ฝ่าหนามไปโดยลำพังองค์ เดียว ด้วยหัวใจแน่วแน่ ว่าจะต้องไปหาครูบาอาจารย์ให้พบ
เป็นการเดินทางที่ยาว ไกล ไปองค์เดียวเป็นครั้งแรก โดยออกจากอำเภอเขื่องใน รอนแรม ผ่านอำเภอม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เข้าเขตจังหวัดนครพนม ทางอำเภอเลิงนกทา อำเภอ มุกดาหาร คำชะอี นาแก แล้วเข้าสกลนคร ติดตามเสาะหา หลวงปู่มั่น ด้วยความหวัง
นับเป็นการเดินทางที่มุ่งมั่นและทรหดอดทนอย่างยิ่ง
|
|
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
(พ.ศ.๒๔๓๑-๒๕๑๗)
วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง
จ.เชียงใหม่
วัดอรัญญวิเวก อ.ศรีสงคราม
จ.นครพนม
|
๓๑. พบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ครูบาอาจารย์บางองค์เล่าว่า หลวงปู่แหวน ได้พบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ก่อนที่จะได้ไป กราบ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต
หลวง ปู่แหวน ออกธุดงค์ เสาะหาหลวงปู่มั่น กับหลวงปุ่สิงห์ แต่ไม่พบสักที เพราะพระอาจารย์ ใหญ่ และลูกศิษย์ ได้จาริก ธุดงค์ไปยังที่ต่างๆอยุ่ตลอดเวลา ไม่ได้พำนักปักหลักอยู่กับที่ ประกอบ กับการไปมาหาสู่กัน ในป่าดง ถิ่นห่างไกลทุรกันดาร เป็นไปไม่สะดวก ทำให้ต้องคลาดกันบ่อยๆ
ระหว่างออกเดินทางค้นหา พระอาจารย์ใหญ่นี้ ท่านก็ได้พบกับพระธดงค์หนุ่มรุปหนึ่ง มาจาก วัดบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
หลวง ปู่แหวน กับพระธุดงค์รูปนั้น มีความประสง๕ และปฏิปทาคล้ายกัน และถูกอัธยาศัยกัน ซึ่งต่อมาก็เป็นพระุธุดงค์สหธรรมมิกองค์สำคัญในอนาคต ซึ่งก็คือ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นั่นเอง
หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ พบกันครั้งแรกที่ป่าภูพาน ขณะนั้น หลวงปู่ตื้อ จาริกธุดงค์มาจาก พระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี ได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กัน เป็นที่ชอบอัธยาศัยถูกใจ กันเป็นอันดี
หลวง ปู่ตื้อเอง ก็ใฝ่ใจปราถนาอยากจะพบ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ให้ได้เหมือนกัน เพราะได้ยิน ได้ฟังกิตติศัพท์ เกี่ยวกับพระอาจารย์ใหญ่ มามาก แต่ก็ยังไม่ได้พบ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ตามที่ หวังไว้
|
|
|
ู๓๒. ธุดงค์คู่กับหลวงปู่ตื้อ
หลวง ปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ซั่งยังเป็นพระหนุ่มทั้งสององค์ได้ปรึกษาหารือกันว่า หากวาสนา ยีังมี คงจะได้พบกับ พระอาจารย์ใหญ่มั่น สมใจหวัง เราอย่างเร่งรัดตัวเองให้มากเลย จะธุดงค์ ไป เรื่อยๆ ถ้าไม่ตายเสียก่อน จะต้องได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่อย่างแน่นอน
ใน ระหว่างนี้ เราควรจะจาริกธุดงค์ไปตามทางของเราก่อน บำเพ็ญเพียรสร้างบารมี กันไปตาม แนวทางที่พระธุดงค์วางไว้ หาความรู้ด้านกรรมฐานจากป่าดงพงพี ธรรมชาิตรอบกายเรานี้แหละ เมื่อมีปัญหาธรรม อันใด ที่เกินวิสีัยสติปัญญา ก็เก็บเอาไว้คอยถาม พระอาจารย์ใหญ่มั่น เมื่อ มีโอกาส
เมื่อ ปรึกษาตกลงกันได้เช่นนี้แล้ว หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ก็พากันจาริกธุดงค์ แสวงหา วิเวกบำเพ็ญสมณธรรมมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำโขงไปทางสุวรรณเขต ฝั่งประเทศลาว
คืน แรกที่ข้ามไปฝั่งลาว หลวงปู่ทั้งสอง ได้เลือกเอาชายป่าแห่งหนึ่งเป็นที่กางกลด พักบำเพ็ญ ภาวนา วันรุ่งขึ้นก็ออกเดินทางต่อไป จิตมุ่งในธรรมะอย่างเดียว จิตร่าเริงสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ไม่กลัวความลำบาก ไม่กลัวตาย
ธรรมชาติในป่า ล้วนให้ความเพลิดเพลิน มองไปทางไหนมีแต่ป่าเขา เขียวชอุ่ม ป่าไม้แน่นขนัด ล้วยเย็นตาเย็นใจ
ฝากกายฝากใจไว้กับพระธรรม พร้อมที่จะพลีชีวิตเพื่อธรรม อย่างตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่กล้วตาย
หลวง ปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ มีจริตนิสัยคล้ายกัน คือยิ่งอดอาหารขบฉัน จิตก็ยิ่งสงบ เข้าสมาธิ เร็วขึ้น มั่นคงขึ้น แม้จะเป็นการทรมานตน แต่ก็ไม่รู้สึกหิวโหย หรือกังวลใดๆ
จิตมีแต่ความเพลิดเพลิน ก้าวหน้าอาจหาญในธรรมภาวนา จะพิจารณาสิ่งใดก็แยบคาย ปัญญาก็ว่่องไวกว้างขวาง
บางครั้งไม่ได้ฉันอาหารติดต่อกัน ๗-๘ วันก็มี
หรือแม้แต่ประสบอันตราย เ่ช่นไปในที่มีเสือ ด้วยความกลัวก็เร่งภาวน เร่งบริกรรมพูทโธ ให้มากขึ้นจนลืมเรื่องเสือ จิตเข้าสู่สมาธิ พอจิตคลายตัวจากสมาธิก็ไม่พบเสือ ไม่ได้ยินเสียงร้อง ของมัน ทำให้เกิดความมั่นใจว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ช่วยให้พ้นจากเสือได้
เลย เกิดความรู้ ความเชื่อมั่นว่า พระพูทโธคุ้มอันตรายได้จริงๆ ก็บังเกิดความกล้าหาญ หาย หวาดกลัวภัยอันตรายต่างๆ ได้ปัญญาว่า " ตัวเรานี้มีจริตนิสัยชอบทางให้ความกลัวบังคับแท้ๆ จิตจึงจะได้สงบนิ่ง เกิดความรอบรู้ จะพิจารณาอะไรต่อไป ก็แยบคายรู้เหตุรู้ผล และเห็นโทษของ ความกลัว เป็นเรื่องน่าละอาย และเห็นคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างซาบซั้งใจ
|
|
|
๓๓. ผจญสัคว์ประหลาด
มีเหตุการณ์น่าขนพองสยองเกล้าครั้งหนึ่ง เขียนในนิตยสารโลกทิพย์ดังนี้
ในเช้าวันหนึ่ง หลวงปู่้แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้อาศัยบิณฑบาตที่หมู่บ้านชาวป่า มี ๔-๕ หลังคาเรือน ชาวบ้านพากันมาใส่บาตรด้วยความดีใจ เพราะนานๆ จะมีพระธุดงค์มาโปรดสักที
ชาว บ้านถามว่า พระคุณเจ้าทั้งสองจะไปไหน หลวงปู่บอกว่า จะมุ่งไปทางเทือกเขาที่มองเห็น แล้วจะลองไปทางสุวรรณเขต( อยู่ตรงข้ามกับมุกดาหาร)
ชาวบ้านแสดงอาการตกใจ พร้อมทั้งทัดทานว่าอย่าไปทางโน้นเลย เพราะกำลังมียักษ์ปีศาจ ดุร้ายสิงอยู่ คอยทำร้ายคนและสัตว์ที่ผ่่านไปทางนั้น
หลวง ปู่กล่าวขอบใจในความหวังดี และบอกว่า ท่่านทั้งสองได้มอบกายถวายชีวิตให้ พระศาสนาแล้ว ขออย่าได้ห่วงตัวท่านเลย แล้วท่านก็ออกเดินทางไปในทิศทางดังกล่าว
หลวงปู่ออกเดิน ทางโดยข้ามลำน้ำสองแห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ป่าแถบนั้นเงียบกริบ ไม่ได้ ยินเสียงสัตว์ต่างๆเลย แม้แต่นกก้ไม่มี ผิดประหลาดมาก
พอ ใกล้ค่ำ หลวงปู่ทั้งสอง ก็มาถึงยอดเขาสูง ที่มีลักษณะประหลาดมาก คือยอดเป็นสีดำ คล้าย ถูกไฟเผา รูปลักษณะดูตะปุ่มตะป่ำ คล้ายตัวคนบ้าง หัวตะโหนกช้างบ้าง แปลกไปจากเขาลูกอื่นๆ
หลวงปู่ทั้งสอง เลือกปักกลดค้างคืนข้างลำะารที่มีน้ำใสไหลผ่าน อยู่ที่เชิงเขาลูกนั้น ปักกลดห่าง กันประมาณ ๑๐ เมตร เมื่อสรงน้ำพอสดชื่นแล้ว ต่างองค์ก็นั่งสงบภายในกลดของตน ทั้งสององค์ ตระหนักในความประหลาดของสถานที่นั้น ไม่ได้พูดอะไรกันเพียงแต่นั่งสงบอยู่ภายในกลด
ประมาณ ๕ ทุ่ม หลวงปู่แหวน ก็ออกจากกลดเตรียมจะเดินจงกรม หลวงปู่ตื้อออกมาตามและ พูดว่า " ผมรู้สึกว่าที่นี่วิเวกผิดสังเกตนะ"
หลวงปู่แหวนตอบ " ผมก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน"
พูดกันแค่นี้ต่างองค์ต่างก็เดินจงกรมในทางของตน
ต่อจากนั้น ไม่นาน ก็มีเสียงกรีดแหลมเยือกเย็น ดังลงมาจากยอดเขารุปประหลาดนั้น เสียง นั้นแหลมลึกบีบเค้นประสาท จนรู้สึกเสียวลงไปถึงรากฟันทีเดียว
หลวงปู่ตื้อถามพอได้ยินว่า " ท่านแหวนได้ยินแล้วใช่ไหม"
หลวงปู่แหวน ตอบด้วยเสียงเรียบๆว่า " ผมกำลังฟังอยู่"
เสียงกรีดร้องนั้นใกล้เข้ามาทุกที ฟังแล้วน่าขนพองสยองเกล้า ทั้งสององค์คงเดินจงกรม อยู่เงียบๆ ตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ป่า นั้นเงียบสงัดจริงๆ เสียงนกเสียงแมลงไม่มี ครั้นแล้วเกิดพายุปั่นป่วนมาอย่างกระทันหัน ชนิดไม่มีเค้ามาก่อนเลย ต้นไม้โยกไหวรุนแรง ราวกับจะถอนรากออกมา อากาศพลันหนาวเย็น วิปริตขึ้นมาทันที
พลันปรากฎร่างประหลาดขึ้นร่างหนึ่ง ตัวดำมะเมื่อม สูงราว ๗ ศอก มีขนยาวรุงรังคล้ายลิง ยักษ์ แต่หน้าคล้ายวัวควาย ตาโปน มือสองข้างยาวลากพื้นดิน มันก้าวเข้ามาอยู่ห่างจากหลวงปู่ ทั้งสองประมาณ ๑๐ เมตรเห็นจะได้
สัตว์ประหลาดนั้นส่งเสียงร้องโหยหวนขึ้น พลันพายุนั้นก็สงบลง แสดงว่า มันมีอำนาจเหนือ ธรรมชาติ
สัตว์นั้นส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงร้ายกาจเหมือนกลิ่นศพที่กำลังขึ้นอืด มันกระทืบเท้าสนั่น จนแผ่น ดินสะเทือน
หลวง ปู่แหวนเล่าในภายหลังว่า ท่านไม่รู้สึกกลัว แต่ขนลุกซู่ซ่าไปหมด เพราะไม่เีคยเห็น สัตว์ประหลาดอย่างนั้นมาก่อน ยังไม่รู้ว่า เป็นปีศาจ หรือสัตว์อะไรแน่ ท่านได้กำหนดสติไม่ให้ ใจคอวอกแวก ทอดสายตา ไปยังสัตว์ประหลาดนั้น กำหนดจิตแผ่เมตตาไปยังร่างนั้น
สัตว์ ร่างยักษ์นั้นหยุดร้อง หยุดส่งกลิ่นเหม็น แสดงว่ารับกระเแสเมตตาได้ มันค่อยๆทรุดร่าง ลงนั่งยองๆเอามือยันพื้นไว้ ทำท่าแสดงความน้อบน้อมต่อท่าน
หลวง ปู่ตื้อ พูดพอได้ยินว่า " ท่านแหวนทำดีมาก" พร้อมทั้งเดินมาสมทบ แล้วพูดว่า " เขา แบกหามบาปหาบทุกข์อันมหันต์ เขามาหาเรา เพื่อให้ช่วยปลดทุกข์ให้เขานะ เขาสร้างกรรมไว้ มาก เมื่อตายจากมนุษย์ แล้วต้องมาเป็นปีศาจอสุรกาย ทนทุกข์ทรมานอยู่ที่นี่
หลวง ปู่แหวนได้กำหนดจิตถามดู ก็ได้ความว่า สมัยเป็นมนุษย์ เขามีการกระทำที่มากล้น ด้วยตัณหา และความโลภ คือละเมิดศีลข้อ ๒ และข้อ ๓ อยู่เสมอ จึงต้องมาเป็นปีศาจอสุรกาย รับ ทุกข์อยุ่ที่นี่มากว่า ร้อยปีแล้ว
ปีศาจ อสุรกายนั้นดูท่่าทางอ่อนลงมาก มันร้องไห้คร่ำครวญน่าสงสาร ขอความเมตตา จาก พระคุณเจ้าทั้งสอง ให้เขาได้พ้นทุกข์ทรมานนั้นด้วยเถิด
หลวง ปู่แหวน ได้พิจารณาเห็นว่า เขาสร้างกรรมซับซ้อนเหลือเกิน ใครจะช่วยเขาได้ พลัน หลวงปู่ตื้อ ตอบมาในสมาธิว่า " กรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อนลึกซึ้งอยู่ก็จริง บางทีพระผู้มีศีลบริสุทธิ์ และมีบารมีเช่นท่านแหวน ก็อาจจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้ ลองอ่านพระคาถา หรือเทศนาธรรม ให้เขาฟังดูสิ "
หลวงปู่แหวนได้กำหนดจิตว่าพระคาถา แล้วเทศนาให้เขาสำนึกบาปบุญคุณโทษ เขาค่อยๆ คลายความกังวลลง ก้มลงกราบด้วยความซาบซึ้ง
" พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าได้กำหนดจิตพิจารณาตามกระแสธรรม ของท่านแล้ว เกิดแสงสว่าง กับข้าพเจ้าอย่างมหัศจรรย์ และข้าพเจ้าได้เห็นสภาวธรรม คือ ชาติ ชรา มรณะ อันเป็นทุกข์ เป็น ธรรมดาของสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว พระคุณเ้จ้า "
สีหน้าเขาดูสดชื่น ก้มลงกราบหลวงปู่ทั้งสององค์ แล้วร่างนั้นก็หายไป
|
|
|
๓๔. ผจญผีกองกอย
ชาวบ้านข่าระแด
มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญอีกครั้งหนึ่ง ได้เขียนไว้ในหนังสือ พระธาตุปาฎิหารย์ ของ นิตยสารโลกทิพย์ ซึ่งขอนำมากล่าวโดยสรุปดังนี้ :-
เมื่อหลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ จารึกมาถึงเทือกเขาใหญ่โตทิศใต้ แขวงเมืองคำม่วน เป็นป่า ดงเย็นอึมครึม เชื่อมโยงลงไปถึงสุวรรณเขต
ในตอนเย็น พบสถานที่เหมาะ จึงปักกลดพักภาวนา ที่หุบเขาใต้เงื่อมผาแห่งหนึ่ง ทั้งสององค์ ปักกลดห่างกันพอสมควร คืนนั้นต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรอยู่ในกลดเป็นปกติ
ประมาณ ๓ ทุ่ม ในป่าดงเช่นนั้น ดูเงียบสงัดวังเวง ก็ได้ยินเสียงประหลาดคล้ายเสียงนกกลาง คืนร้อง " ก๋อย ก๋อย ก๋อย "
เสียงนั้นดังใกล้เข้ามา แล้วดังรับกันล้อมรอบไปทั่วทิศ เสียงบีบเข้ามา " ก๋อย ก๋อย ก๋อย และมี แสงคบไฟนับสิบๆดวงมาจากเสียงนั้น ทำให้มองเห็นตัวผู้ถือได้ถนัด
ร่าง นั้นเป็นมนุษย์ร่างประหลาด ขนาดเด็กอายุ ๑๓-๑๔ ปี ผอม พุงโร ผิวคล้ำ ผมเผ้ารุงรัง จมูกแบน บ่งบอกว่าเป็นคนป่า ทุกคนมีอาวุธประจำตัว "หน้าทึ่น" คล้ายธนูแต่เล็กกว่า ใช้คล้องตัว ในบ่า พวกเขาสะพายกระบอกไม่ไผ่ใส่ลูกดอกอาบยาพิษ
คนร่างเล็กนั้นส่งเสียงรับกันเป็นทอดๆ โอบล้อมกลดธุดงค์เข้ามา พอได้ระยะก็พากันยก หน้าทึ่น เล็งเข้ามายังกลดทั้งสอง
หลวง ปู่ตื้อร้องบอกพอได้ยินว่า " ท่านแหวนระวัง " แล้วทั้งสององค์ก็กำหนดจิตหลับตา เข้าฌานทันที เป็นไปโดยอัติโนมัติ ปรากฎว่าลูกดอกอาบยาพิษ ที่ระดมยิงมานั้น ตกร่วงพรูห่าง จากกลดทั้งสองเป็นวา เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง
พวกชาวป่าต่าง แปลกใจ ร้อง ก๋อย ก๋่อย ก๋อย ดังกระหึ่ม แล้วระดมยิงลูกดอกอีก ๒-๓ รอบ ก็ปรากฎผลเช่นเดิม คือลูกดอกตกลงดินก่อนจะไปถึงกลด ทำเอาพวกเขาตกใจกลัว ร้อง " ก๋อย ก๋ย กุ๋ย " แล้วต่างก็วิ่งหนีหายไป ในความมืด
เมื่อ คนป่าหนีกลับไปหมดแล้ว หลวงปู่ทั้งสอง จึงได้ออกมานอกกลด หลวงปู่ตือ ถามว่า " เป็น ไงท่านแหวน ตับไตไส้พุงของท่าน ยังดีอยู่หรือ ? "
หลวงปู่แหวน ตอบไปว่า " ผมนั่งรออยู่ในกลด ให้พวกเขาเอาตับไตไส้พุงผมไปกิน ทำไมมัน ไม่เอาก็ไม่รู้ "
ทั้งสององคืได้เดินจงกรม ไปจนดึก แล้วเข้าทำสมาธิต่อภายในกลดไปจนสว่าง
ตอน เช้าพวกคนป่ากลุ่มนั้นเข้ามาด่อมๆ มองๆ ด้วยความเกรงกลัวหลวงปู่ แสดงท่าให้พวกเขา เข้ามา ต่างค่อยๆเข้ามาด้วยเนื้อตัวสั่นเทา มาหมอบนิ่งเอาหัวซุกดิน คล้านสำนึกผิด และขอขมา
พวกเขาเป็นพวกข่าระแด เป็นคนป่ากลุ่มหนึ่ง ชอบล่ามนุษย์เผ่าอื่นที่ล่วงล้ำเข้ามา แล้วเอาเนื้อ แบ่งกันกิน
พวกย่าระแด ได้นิมนต์หลวงปู่ทั้งสอง ไปยังที่พักของพวกเขา จัดอาหารนำมาถวาย ก็มีเนื้อ ย่าง ๒ ก้อน ได้ความว่า เป็นเนื้อของคนแก่ ซึ่งยอมสละชีวิตของตนเอง ให้เป็นอาหารของ ลูกหลาน
หลวง ปู่ อยู่โปรดพวกชาวป่าหลายวัน ทรมานและสอนพวกเขา ให้เลิกการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เมื่อเห็นว่า พวกเขาเชื่ออย่างจริงใจแล้ว ท่านทั้งสองก็ออกเดินทางต่อไป ด้วยความอาลัยอาวรณ์ ของพวกเขายิ่งนัก
( อ่านเรื่องโดยละเอียดใน พระธาตุปาฎิหารย์ ของนิตยสารโลกทิพย์)
|
|
|
๓๕. ธุดงค์ในป่าดงพงไพร
หลวง ปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้อำลาจากพวกชาวป่าีข่าระแด ในเวลาต่อมา ท่ามกลางเสียง ร่ำไห้อาลัยจากพวกเขา ท่านได้ธุดงค์มาทางสุวรรณเขต แสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร
ป่าดงพงไพรเป็นสถาน ที่กำจัดความเกียจคร้านและความกลัวต่างๆได้ดี การอยู่ป่าชัฎเต็มไป ด้วยสัตว์ร้าย และภัยอันตรายต่างๆ พระธุดงค์จึงต้องตื่นตัวอยุ่ตลอดเวลา มีสติควบคุมกายและใจ ไม่ให้ประมาท
สัตว์ป่าที่เป็นอันตราย เป็นเครื่องเตือนสติไม่ให้พระธุดงค์เกียจคร้าน ต่อการเพ่งเพียรภาวนา ไม่เช่นนั้น อาจถูกสัตว์ป่าเหล่านั้น คุกคามทำอันตรายได้ ด้วยเหตุนี้ พระธุดงค์ที่เข้าป่าใหม่ๆ จึงได้สภาพแวดล้อม ในป่าช่วยในด้านสมาูธิภาวนา เป็นอย่างมาก เพราะกลัวตาย จึงต้องเีร่งภาวนา
ส่วน พระธุดงค์ ที่แก่กล้าในการบำเพ็ญเพียร ท่านย่อมอยู่เหนืออำนาจความกลัวใดๆ แม้แต่ ความตายท่านก็ไม่กลัว ท่านจึงสามารถไปไหนๆ ตามลำพังองค์เดียวได้ เพราะจิตใจท่านมั่นคง ผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามาก ย่อมพิจารณาคุณและโทษไปในทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เล็งแลเห็น สัตว์ป่าทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมด ทั้งสิ้น ท่านจึงแผ่เมตตา ให้สัตว์ ทั้งหลายไม่มีประมาณ
การพิจารณาต้นไม้ใบหญ้า ธรรมชาติแวดล้อม รอบกายอันมี ความสงัดวิเวก ช่วยชุจิตให้สงบ ย่อมจะทำให้เกิดปัญญารุ้แจ้งในธรรม เห็นมรรค ผล นิพพาน ได้ง่ายกว่าอยู่ในบ้าน ในเมือง ที่มี ความพลุกพล่าน วุ่นวาย ด้วยประการทั้งปวง
การ เข้าป่า บำเพ็ญ ภาวนา อดๆอยากๆ อดหลับอดนอน พาร่างกายเดินบุกป่า ฝ่าดง ขึ้นเขา ลงห้วย ให้ยุงกัดบ้าง ให้เสือร้องขมขู่คุกคามบ้าง เหล่านี้จัดเป็นอุบายแยบคาย ที่จะทรมานร่างกาย และจิตใจ ให้หายพยศ ไปตามลำดับขั้นตอน
หลวงปู่ทั้งสอง ได้ธุดงค์ลงไปใต้ ไปถึงแขวงจำปาศักดิ์ ชนิดที่วันเวลาที่ผ่านไป ไม่ได้นำมา จดจำเอาใจใส่ เพราะมีแต่ความร่าเริงใจในธรรมชาติ เพ่งเพียรอย่างไม่อ่อนกำลังท้อถอย ไม่แสดง อาการอ่อนแอ ยอมแพ้ต่อกิเลสมาร มีตัวตัณหาวัฎสงสาร เป็นคู่ต่อสู้อยู่ในหัวใจ จำเป็นต้องใช้กำ ลังใจที่แก่กล้า ยอมตายถวายชีวิต จึงจะสามารถขูดกิเลสออกจากใจ และสามารถบรรลุถึงภูมิจิต ภูมิธรรมแต่ละขั้นแต่ละตอน ตามวิถทางแห่งอริยมรรคได้
ทางฝั่งลาว เป็นป่าทึบและมีภูเขามาก ฝนตกชุกแทบทุกวัน บางครั้งฝนตกติดต่อกันถึงสิบวัน สิบคืนก็มี หลวงปู่ทั้งสอง ต้องผจญภัยความยากลำบาก ไหนจะต้องเปียกฝนทนทุกข์ ต้องต่อสู้กับ ความหนาว ยิ่งถ้าเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยก็ไม่มียาจะรักษา
ความขาดแคลนปัจจัยสี่ มีอาหารบิณฑบาต นับเป็นความลำบากอย่างยิ่ง สำหรับที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งหุ่มนั้น แทบไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน แต่ท่่านทั้งสองก็ฟันฝ่ามาได้
หลวง ปู่แหวน เล่าให้พระเณรรุ่นหลังฟังว่า " ขณะธุดงค์อยุ่ในป่า ฝนฟ้า ตกหนัก จนเปียก โชก ทนหนาวเหน็บและอดอาหารอยู่หลายวัน หลายคืนอย่างนั้น สิ่งที่จะต้องระวังที่สุดก็คือ อารมณ์กล้วตาย ที่อาจจะฟุ้งซ่านขึ้นมาได้ง่ายๆ"
ท่านเล่าว่าเคยมีพระธุดงค์หนุ่มบางรูป ทนความลำบากขาอแคลนกันดาร ในปัจจัยสี่ไม่ไหว และไหนจะลำบากในการการประกอบความเพียร คือ ฝึกสมาธิทรมานจิตที่แสนคะนองโลดโผน ประจำนิสัยมาแต่เดิม ไม่สามารถจะบังคับจิตอันมีพยศให้อยู่ในขอบเขต ร่องรอยที่ต้องการได้
ความ ลำบากเพราะเดินจงกรมนาน นั่งภาวนานาน เกิดทุกขเวทนา ทรมานร่างกายจิตใจ และ หิวโหยโรยแรงเพราะอดอาหาร เป็นต้น ทำให้พระธุดงค์ท้อแท้ใจ หมดสิ้นความมานะพยายาม ต้องหนีกลับบ้าน กลับเมืองในที่สุด
ดังนั้น พระธุดงค์กรรมฐาน จะต้องเด็ดเดี่ยว ไม่กลัวตาย จะต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกว่า พระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหลายในอดีต ท่านเคยผ่านความลำบากยากแค้น ขาดแคลนกันดารกว่านี้มาก่อน ท่านยังทนได้สู้ได้
เรา จะต้องปฎิบัติตามท่านให้ได้ จะต้องกล้าหาญ อดทน คือทนค่อสภาพอากาศ ทนต่อความ เจ็บไข้ได้ป่วย และทุกข์ทรมานต่างๆ คนต่อความหิวโหย ทนต่อความเปลี่ยวกายเปลี่่ยวใจ ไร้เพื่อนฝูง และครูบาอาจารย์ผู้เคยอบรมสั่งสอน
ที่สำคัญอีกอย่างคือ พระธุดงค์จะต้องฝึกใจห้กล้าแข็งต่อแรงพายุอารมณ์กิเลสมาร ความฟุ้ง ซ่านต่างๆ ที่จะเกิดจากใจตัวเอง พายุอารมณ์หลอกลวงเหลวงไหล เป็นมายาจิต ตัวกิเลสนี้แหละ เป็นตัวการ สำคัญร้ายกาจ คอยทำลายความเพียรภาวนาของพระธุดงค์ เป็นตัวการใหญ่ คอยกีด ขวางทางดำเนิน เพื่อ มรรค ผล นิพพาน ต่อไปได้
|
|
|
๓๖. ธุดงค์แยกทางกัน
จากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ บอกว่า หลวงปู่แหวน กับ หลวงปู่ตื้อ ร่วมธุดงค์มาจนถึง เมืองสุวรรณเขต ก็ตกลงกันว่า
ต่อไปนี้จะำพลีชีพด้วยตัวเอง เพื่อแลกธรรมให้เห็นดำเห็นแดง คือต่างองค์ ก็จะเดินธุดงค์ โดดเดี่ยวแต่ลำพัง ไม่ต้องคอยหวังพึ่งซึ่งกันและกัน เป็นการทดสอบกำลังจิตใจครั้งสำคัญว่า จะแกร่งกล้าแสวงหาธรรมไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่
จาก นั้นหลวงปู่ทั้งสอง ก็แยกทางกัน โดยหลวงปู่ต้อ ธุดงค์เลียบฝั่งขึ้นไปทางเวียงจันทน์แต่ ลำพัง ส่่วนหลวงปู่แหวน ได้ย้อนกลับข้ามโขงมาฝั่งไทย เพื่อมุ่งแสวงหา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์ ใหญ่ ตามที่ตั้งใจไว้เดิม
|
|
|
๓๗. ถวายตัวกับหลวงปู่มั่น
หลวง ปู่แหวนได้พยายามสืบเสาะถามหาที่พำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในที่สุดได้ทราบว่า พระอาจารย์ใหญ่ ท่านพักอยู่ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จึงรีบเร่งเดินทางไปหาโดยมิรอช้า
เมือ่ ไปถึงอำเภอบ้านผือ ก็สอบถามชาวบ้าน ทราบว่า หลวงปู่มั่น พักอยู่ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จึงได้เข้าไปกราบและถวายตัวเป็นศิษย์ เมื่อสบโอกาส
( เสนาสนะป่าดงมะไฟ บ้านค้อ ในปัจจุบันคือ วัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีพระอาจารย์ทูล ขปฺปปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส)
ประโยคแรกที่หลวงปู่มั่นทักถาม คือ " มาจากไหน " เมื่อเรียนท่านว่า " มาจากอุบลครับ"
หลวงปู่มั่น กล่าวเป็นประโยคที่สอง ซึ่งหมายถึง ท่านลงมือให้การสอนทันที่ว่า :-
" เออ ! ต่อไปนี้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน"
คำ พูดของพระอาจารย์ใหญ่เพียงสั้นๆ แค่นี้ ช่างมีความหมายต่อหลวงปู่แหวนมากมายเหลือ เกิน เพราะเป็นความต้องการของท่านจริงๆ ท่านสุดแสนจะดีใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้ยินว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนา" เท่ากับความตังใจของหลวงปู่ ได้บรรลุตามความประสงค์ โดยไม่ต้องเอ่ยปาก ขอแต่ประการใด
|
|
|
๓๘. จำใจเดินทาง
กลับมาตุภูมิ
ครั้ง ที่หลวงปู่แหวน เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ในครั้งแรก ที่ดง มะไฟ บ้านค้อ นั้นอยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลวงปู่แหวนอายุ ๓๑ ปี มีอายุพรรษาในมหานิกาย ๑๑ พรรษา
หลวงปู่แหวน เริ่มต้นฝึกภาวนา จิตใจเริ่มสงบเย็น เริ่มพบกับความหวัง และเิริ่มมั่นใจว่า นี่เป็นหนทางที่จะทำให้ท่านสามารถอยู่ในสมณเพศ ไปได้ ตลอดรอดฝั่ง ตามที่ได้ให้สัญญากับ โยมแม่และโยมยายเอาไว้
ใน ขณะที่กำลีังดีใจกับการได้พบพระอาจารยืตามความตั้งใจ และอยู่อบรมด้านภาวนากับท่าน ได้แค่ ๔ วัน พึ่งเิริ่มสัมผัสกับความสงบเย็น จิตใจเพียงเริ่มต้นจัดระเบียบเพือก้าวไปสู่ความสงบ เท่านั้นเอง
พอวันที่ ๕ ก็มีน้าเขย และพี่เขย เดินทางมาจากจังหวัดเลย มานิมนต์ให้ท่านเดินทางกลับ จังหวัดเลย
ตอน แรกน้าเขย กับพี่เขย จะไปตามที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไต่ถามดูทราบว่า หลวงปู่มาอยู่ กับหลวงปู่มั่นที่อำเภอบ้านผือ อุดรธานี จึงได้รีบตามมา
หลวงปู่แหวนถามว่า " กลับไปทำไม ?"
น้าเขยกับพี่เขยตอบว่า " พ่อแม่ พี่น้อง และญาติๆ ต้องการเห็นหน้า เพราะจากบ้านมานาน แล้ว ยังไม่เคยกลับไปเยี่ยมบ้านเลย"
หลวง ปู่ได้ทบทวนดูแล้ว ก็เห็นด้วย เพราะจากบ้านมากว่า ๑๕ ปีแล้ว โยมบิดา คงจะชราไป มาก ถ้ากลับไปเยี่ยมบ้างก็คงจะดี จึงตกลงใจกลับไปเยี่ยมบ้านพร้อมกับญาติที่เดินทางมารับ
|
|
|
๓๙. พระอาจารย์ใหญ่
เตือนให้รีบกลับ
เวลาเย็นหลังเสร็จกิจธุระแล้ว หลวงปู่แหวน ได้เข้าไปกราบเรียนพระอาจารย์ใหญ่ ว่า มีญาติมารับให้กลับไปเยี่ยมบ้าน
หลวงปุ่มีั่นถามว่า " กลับไปทำไมบ้าน ? "
กราบเรียนท่านว่า " กระผมจะกลับไปให้โยมบิดา พี่น้อง และญาติๆ ได้เห็นหน้าเท่านั้นเอง"
หลวงปู่มั่นท่านอนุญาติ และเตือนว่า
" เออ ! ไปแล้วให้รีบกลับมา อย่าอยุ่นาน อยู่นานไม่ได้ ประเดี๋ยวเสียท่าเขานะ เสียท่าเขา ถูก เขามัดไว้เดี๋ยวจะดิ้นไม่หลุด"
เมื่อพระอาจารย์ใหญ่อนุญาติแล้ว รุ่งขึ้นอีกวัน หลวงปุ่ก็ออกเดินทางกลับจังหวัดเลย ไปตั้งแต่ เช้าตรู่เลยทีเดียว
|
|
|
๔๐. กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด
เมื่อหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ กลับถึงบ้านเกิดที่จังหวัดเลยแล้ว ท่านได้ไปพักอยุ่ทีวัดโพธิ์ชัย วัดที่ท่่านบวชเณรในครั้งแรกนั่นเอง
ข่าวการกลับมาเยี่ยมบ้านของ หลวงปู่แหวน เป็นข่าวใหญ่ของบ้านนาโป่ง และหมุ่บ้านใกล้ เคียง ข่าวนี้แพี่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อชาวบ้านทราบข่าวว่า " พระแหวน ที่ไปศึกษาที่เมืองอุบล ได้กลับมาบ้านแล้ว " บรรดา ญาติพี่น้อง และผู้คุ้นเคย ต่างก็พากันมาเยี่ยมเยียนมิได้ขาด รวมทั้งจากหมู่บ้านอื่นๆ ก็มากันมาก เพื่อจะได้ไต่ถามถึงการไปศึกษาเล่าเรียน และเรื่องราวต่างๆ ที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน
ใน เวลานั้น กล่าวได้ว่า ญาติโยมต่างหลั่งไหลมากราบ มาเยี่ยม หลวงปู่ ตลอดเวลา เพราะเป็น เหตุการณ์ครั้งแรกในท้องถิ่น ที่พระในหมู่บ้านไปศึกษาเล่าเรียนในถิ่นห่างไกลนานกว่า ๑๕ ปี จึงได้หวนกลับมาบ้าน ใครๆก็อยากพบอยากเห็นทั้งนั้น
นับว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะพระเณรส่วนใหญ่ ในละแวกนั้น บวชแค่ระยะสั้นๆ และสึก ออกมาใช้ชีวิตฆราวาสเสียเป็นส่วนใหญ่
ญาติโยมส่วนหนึ่ง นิมนต์ให้หลวงปู่อยุ่จำพรรษา แต่ท่านไม่รับคำ เพียงแต่บอกว่า
" ... การนิมนต์อาตมาให้อยู่ก็อยู่ได้ แต่จะเป็นกี่เดือน กี่วัน กี่ปีนั้น ไม่ต้องนับ ถ้าเห็นอาตามา ยังอยู่ก็ให้รู้ว่าอยู่ แต่ถ้าไม่เห็นก็ให้รู้ว่าไปแล้ว จะให้กำหนดว่านานเท่านั้น เท่านี้ กำหนดไม่ได้"
|
|
|
๔๑. ชาวบ้านมาขอต่อศีล
ช่วง ที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พักอยู่ทีวัดโพธิ์ชัย วัดบ้านเกิดของท่าน พอถึงวันพระ บรรดา พระภิกษุสามเณรและญาติโยม ต่างก็เอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย และขอต่อศีลด้วย
พวกเขา ต่างยอมรับว่า หลวงปู่แหวน ท่านเคร่งครัดต่อวินัย ศีลของท่านจึงบริสุทธิ์ ทั้งพระเณร และชาวบ้าน จึงมาขอต่อศีลกับท่าน เพื่อพวกเขาเองจะได้มีความบริสุทธิ์ด้วย
หลวงปู่ เล่าว่าการต่อศีลของบรรดาอุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้นดูแปลกประหลาดมาก คือเวลา เอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย เพื่อสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ ตามความสมัครใจ ของแต่ละคน นั้น พวกเขาต่างก็นุ่งขาว ห่มขาวมากันทุกคน ดูท่าทางสำรวมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก
เมื่อสมาทานศีลเสร็จแล้ว ต่างคนต่างกลับไปบ้าน แล้วก็ถือเอา สุ่ม เอาแห เอายอ สวิง ออกจาก บ้านไปจับปลากันเป็นกลุ่มๆ
หลวงปู่ท่่านว่า เมื่อพิจารณาดูแล้ว เหมือนนกยางถือศีล คือศีลก็จะรักษา ปลาก็จะกิน
พวก เขาปฏิบัติกันเช่นนั้นจนเคยชินจ ถึงท่า่นจะห้ามพวกเขาก็คงไม่ฟัง แม้ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ยังไม่สามารถจะทรมานบุคคลบางจำพวกได้
เมื่อหลวงปู่พิจารณาแล้ว ก็ต้องปล่อยพวกเขาไปตามยถากรรม เพราะการสอนในตอนนั้น คง ไม่เกิดประโยชน์
|
|
|
๔๒. หลวงปู่อาพาธที่วัดบ้านเกิด
บรรดาผู้คนที่มาเียี่ยม หลวงปู่ ในครั้งนั้นมีมาก มากันทั้งวัน เหมือนกับที่วัดมีงาน
ชาวบ้านต่างก็ร่ำืลือกันว่า ไม่เคยเห็นพระเณรที่ไหนที่บวชแล้ว ไม่อยู่บ้าน จากไปเล่าเรียน ไปศึกษายังต่างถิ่นเป็นเวลาถึง ๑๕ ปีเศษ โดยไม่เคยกลับมาเยี่ยมบ้านเลย
เมื่อเล่าเรียนเสร็จแล้ว ก็ปลีกไปอยู่องค์เดียวตามป่าตามเชา อยู่กับเสือ กับช้าง ก็ไม่เป็น อันตราย ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
เมื่อชาวบ้านต่างคนต่างพูดไป ข่าวก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านในตำบล ใกล้ เคียง ต่างพากันมากราบ มาเยี่ยม มาขอพรจากหลวงปู่ตลอดเวลา
หลวง ปู่จำต้องต้อนรับญาติโยม คอยพูดคุยธรรมะและตอบคำถามที่ญาติโยมอยากรู้ จนท่าน ไม่มีเวลาพักผ่อน ร่างกายท่านอ่อนเพลีย ในที่สุดท่านก็อาพาธลง
เมื่อ หลวงปุ่อาพาธ บรรดาญาติพี่น้อง และผู้คุ้นเคยรวมทั้งผู้ที่นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษา ต่าง ก็พากันหนีหน้าไป ไม่ได้เอาใจใส่ พยาบาลรักษาท่าน ตามที่ควรจะเป็น
เหตุการณ์ ครั้งนี้ หลวงปู่ ได้ยกขึ้นมาเตือนสติของท่านว่า " เรามาที่นี่ก็มา ตามคำนิมนต์ให้ ้เรามา ผู้คนหล่านี้ต่างก็เป็นญาติ เป็นผู้คุ้นเคยกับเราเป้นส่วนใหญ่ แต่พอเราป่วยเขา กลับละทิ้งเรา ทำ เหมือนกับเรานี้ เป้นคนอื่นที่ไม่รู้จักกัน"
หลวงปู่ได้ตระหนักถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าจะต้องพึ่งตัวเอง และพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้นจึงจะเป็นที่พึ่งอันอุดม
จาก การดำริถึงการเจ็บป่วยของหลวงปู่ในครั้งนี้ ทำให้ท่านมีแรงจูงใจที่จะปลีกจากหมู่คณะ ออกค้นหาสัจธรรม อย่างมอบกาย ถวายชีวิตต่อไป
|
|
|
๔๓. เหตุเตือนตน ข้อทีสอง
การอาพาธของหลวงปุ่ในครั้งนั้น เป็นเหตุเตือนตนข้อที่หนึ่ง ที่ทำให้ท่าน ต้องเร่งบำเพ็ญเพียร ให้หนัก
เหตุเตือนตนข้อที่สอง ท่านพิจารณาเห็นว่า ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง บ้านเกิดของท่านนั้น บรรดาพระภิกษุสามเณรที่เคยบวชอยู่ร่วมกันก็ดี ผู้ที่อาวุโสบวชก่อนก็ดี ในสมัยที่ท่านบรรพชา เป็นสามเณรอยู่นั้นมีอยู่มาก แต่มาบัดนี้ต่างลาสิกขาไปกันหมด คงเหลือพระอยู่ประจำวัดเพียง ๒ รูปเท่านั้น
หลวง ปู่ รำพึงกับองค์ท่านเองว่า " ถ้าเราจะอยู่ที่นี่ต่อไป จิตใจของเราอาจไม่มั่นคง อาจจะต้อง สึกออกไปก็ได้ ก่อนที่เราจะมา ท่านอาจารย์ ท่านก็กำชับแล้วว่า อย่าอยู่นาน ให้รีบกลับไปภาวนา"
ใน ขณะที่จิตใจกำลังคิดสับสนอยู่นั้น คำสั่งของแม่และยายที่บอกท่านว่า " ถ้าบวชแล้วก็ให้ตาย กับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียนะ" ยังชัดเจนอยู่ในความนึกคิดของท่าน
หลวงปุ่ จึงตัดสินใจอย่างแน่วแน่ ว่าจะต้องออกจากหมู่บ้าน ทันที ที่ร่างกายแข็งแรง หายป่วยไข
้
|
|
|
๔๔ หวนคิดถึงเมืองอุบล
ขณะ ี่หลวงปู่พักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ท่านได้สดับรับฟังข่าวจากเมืองอุบลอยู่เสมอ ได้ัรับ ข่าวว่า ท่านพระอุปัชฌาย์ ก็ดี พระอาจารย์คู่สวดก็ดี ต่างก็ลาสิกขาไปหมดแล้ว แม้เพื่อนสหธรรม มิกทั้งสอง คือพระเหลาและพระเฮียง ก็ได้ลาสิกขา ไปหมดแล้วเช่นกัน
หลวงปู่ได้หวนระลึกถึงทางเมืองอุบลว่า " บรรดาหนังสือที่เราจารไว้ก็มีมากมายหลายผูก เมื่อเราจากมาก็ไม่ได้มอบหมายให้อาจารย์ ให้เป็นหลักเป็นฐาน เราควรจะกลับขึ้นไปเมืองอุบล เพื่อจัดการเรื่องหนังสือก่อนเห็นจะดี "
ขณะ เดียวกันอีก ความคิดหนึ่งก็แย้งขึ้นมาว่า " ทางเมืองอุบล บรรดาอุปัชฌาย์ อาจารย์ และ เพื่อนก็สึกไปหมดแล้ว พระอาจารย์สิงห์ ก็ไม่อยู่ที่นั่นแล้ว เราจะกลับไปเพื่อประโยชน์อะไร"
|
|
|
๔๕. ตัดสินใจ
หลังได้ัรับจดหมาย
นับ แต่หลวงปู่แหวน ได้จากพระอาจารย์ใหญ่ กลับมาเยี่ยมบ้านได้ประมาณ ๑ เืดือน อาการ ป่วยท่านเริ่มทุเลา ร่างกายมีกำลังพอที่จะออกเดินทางแล้ว
ในขณะที่ความคิดของท่านกำลังสับสนอยู่ว่าจะกลับไปเมืองอุบลก่อนจะดี หรือไม่ ท่านก็ได้รับ จดหมายจากอาจารย์เอี่ยม ครูที่เคยสอนที่อุบล บอกท่านให้กลับไปอุบล เพื่อเรียนต่อให้จบ จะได้ กลับมาสอนหนังสือที่บ้านเกิด
ช่วงนั้นญาติโยม ที่มาเยี่ยมเยียนท่าน เริ่มห่างๆไปแล้ว ท่านจึงมีเวลาพอที่จะทบทวนเพื่อการ ตัดสินใจ
เมื่อพิจารณาทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา คิดกลับไปกลับมาหลายตลบ ในที่สุด หลวงปู่ จึงตัดสินใจได้ว่า
" การที่จะกลับไปเมืองอุบล เพื่อที่เรียนต่อนั้น คงจะไม่เกิดประโยชน์อันใด แต่การจะอยู่ต่อไป ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่งนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อันใดอีกเช่นกัน "
เมื่อหลวงปุ่พิจารณา เหตุการณ์ โดยถ้วนถี่แล้ว จึงตัดสินใจว่า
" ต่อแต่นี้ไป เราะจะไม่ข้องเกี่ยวกับหมู่คณะอีกต่อไป จะกลับไปหาอาจารย์ใหญ่มั่น เพื่อ ฝึกหัดภาวนา ตามความตั้งใจเดิมของเรา ที่ให้ตั้งสัจจอธิษฐาน ไว้ก่อนออกจากวัดสร้างถ่อ เมือง อุุบล "
|
|
|
๔๖. ตัดใจขาดจากญาติโยม
ช่วง ที่หลวงปู่แหวน พักอยู่วัดบ้านเกิด ตลอด ๑ เดือนนั้น ท่านค่อนข้างรู้สึกรำคาญใจ ที่ญาติ พี่น้องชาวบ้าน ไปมาหาสู่รบกวนจนไม่ค่อยจะมีเวลาทำสมาธิสงบใจได้สะดวก ทำให้มีห่วงพะวัง พะวง
หลวงปุ่รำพึงว่า อันตัวเรานี้ำก้ได้เลือกทางดำเนินเพศสมณะเจริญตามรอยบาทพระพุทธเจ้า กระทำตนเป็นอนาคาริก คือไม่มีบ้านเรือนอยู่อาศัย ชอบวิเวกอยู่ตามป่าตามเขา อยู่โคนต้นไม้
ถึงเวลาแล้วที่จะตัดขาดจากญาติโยมชาวบ้านให้เด็ดขาด เพื่อออกแสวงหาวิมุตติสุข ทางหลุด พ้นจากความทุกข์
เมื่อ คิดดังนี้แล้ว ท่านก็่บอกลาญาติโยมชาวบ้าน เพื่อจะออกกรรมฐานไปตามทางของตน แต่ ญาติโยมทั้งหลายต่างทัดทานเอาไว้ ด้วยเห็นว่า เป็นพระธุดงค์มีแต่ความยากลำบาก ต้องอดๆ อยากๆ อยู่แต่ในป่า นอนตามโคนต้นไม้ และในป่าเต็มไปด้วยสัตว์ร้าย อาจทำอันตรายเอาได้ ขอให้อยุ่กับวัดต่อไปเถิด
แต่หลวงปู่ ท่านไม่ยอม ได้เทศนาธรรมสั่งสอนชี้แจงแสดงเหตุผล จนญาติโยมใจอ่อน ไม่อาจ ทัดทานได้ ได้แต่อนุโมทนาสาธุด้วย
หลวง ปู่แหวน จึงเริ่มออกธุดง์อย่างแท้จริง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นการจากบ้านเกิดไปยาวนาน ไม่มี ใครได้ข่าวคราวตลอดระยะเวลา ๕๐ กว่าปี และเพิ่งจะมาได้ยินข่าว หลวงปู่แหวน อีกทีก็ประมาณ ปลายปี ๒๕๑๔ เมื่อหนังสือพิมพ์นำประวัติและอภินิหาร หลวงปู่แหวน พระวิปัสสนาจารย์ผู้เฒ่า แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ ออกเผยแพร่
|
|
|
๔๗. กลับไปหา
พระอาจาย์ใหญ่
เมื่อ หลวงปู่ตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว วันรุ่งขึ้นหลังจากกลับจากบิณฑบาต และฉันเสร็จแล้ว ก็รีบ จัดบริขารจำเป็นใส่ลงในบาตร สะพายบาตร แบกกลด สะพายย่าม มือข้างหนึ่งถือกาน้ำ แล้วออก เดินทางจากวัดโพธิ์ชัย บ้านนาโปร่ง มุ่งกลับไปหา พระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุดรธานี อีกครั้งหนึ่ง
เมื่อกลับไปถึงสำนักของพระอาจารย์แล้ว ท่านได้พบเพื่อนสหธรรมมิก ที่เข้ามาขออบรมอยู่ กับพระอาจารย์อีกหลายท่านด้วยกัน
ในการเข้ามาอบรมกับหลวงปู่มั่น ในช่วงแรกนี้ท่านไม่ได้เข้าอุปัฎฐากใกล้ชิด เพราะเป็นผู้มา ใหม่ ยังไม่รู้จักธรรมเนียมข้อวัตร
อีกประการหนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านไม่ให้ใครเข้าไปอยู่ใกล้ท่านง่ายๆ
ใน การที่เข้่ามาอยู่รับการอบรมจากหลวงปู่มั่น นั้น เมื่อท่านแนะนำในข้อปฏิบัติแล้ว บรรดา สิษย์ก็ต้องแยกย้ายกันไปหาที่วิเวก เพื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนาตามสถานที่ที่เหมาะสม แก่จริตนิสัย ของตน ต่างองค์ ต่างไปฝึกบำเพ็ญเพียรเอาเอง
เมื่อถึงวันอุโบสถ จึงเข้ามารวมกันทำอุโบสถ ฟังสวดพระปาฎิโมกข์ และัรับการอบรมจาก พระอาจารย์ใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง
ใน เวลาเ่ช่นนี้ ศิษย์รูปใด มีปัญหาติดขัดในการภาวนาอย่างไร ก็กราบเรียนถามท่านได้ ซึ่ง ท่านเองก็ตอบอธิบายให้ฟังจนเช้าใจขั้นตอน และวิธีปฏิบัติจนชัดเจน
จึงเป็นโอกาสที่วิเศษสุด ที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะได้ฟังธรรมอบรม แยกแยะตั้งแต่สมาธิขั้นต่ำ ไปหาปัญญาขั้นสูง ทำให้เพลิดเพลินไปกับกระแสรธรรมที่ท่านแสดงออก
ลูกศิษย์ลูกหาคนใด มีภูมิปฎิบัติอยุ่ในขั้นใด ก็ได้ปัญญาก้าวไป
|
|
|
๔๘. ให้ตั้งใจภาวนา
อย่าได้ประมาท
หลังจากที่หลวงปู่มั่น แสดงธรรมแล้ว บรรดาศิษย์ก็จะกลับไปที่อยู่ของตน โดยไม่โอ้เอ้ชักช้า
นอกจาก หลวงปู่มั่นแล้ว พระผู้มาใหม่ ยังได้อาจารย์ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ คอยช่วยแนะนำ ชี้ทาง ตักเตือนสั่งสอนและแนะนำกันไป
ใน บางครั้ง หลวงปู่มั่น จะบอกให้ศิษย์รูปนั้น ไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น รูปนี้ไปอยู่ในสถานที่ เช่นนี้ ซึ่งแต่ละแห่งที่ท่านบอกให้ไปอยู่ ล้วนแต่เป็นที่มีอันตรายอยุ่รอบด้าน เช่นอาจเป็นที่เสือมัน อยู่ เสือมันผ่านไปมา เป็นต้น
หลวงปู่มั่น จะย้ำต่อศิษย์ผู้ไปอยู่ในที่เช่นนั้นว่า " ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติ อยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มากนัก"
หลวงปู่แหวน เล่าให้ศิษย์ฟังว่า การไปภาวนาอยู่ในที่อันตรายเช่นนั้น ทำให้จิตรวมตัวได้เร็ว สติก็ัมั่นคงประจำอิริยาบถ มีสติเป็นเพื่อนในการเคลื่อนไหวไปมา เพราะในที่อันตรายอยู่เฉพาะ หน้า เ่ช่นนั้น สติสัมปชัญญะจะต้องเป็นเพื่อนด้วยเสมอ
การทำความเพียรก็เอาจริงเอาจัง การพักผ่อนหลับนอนก็น้อย จะมีบ้างก็เพียงเพื่อบำบัดความ อ่อนเพลีย ของธาตุขันธ์
การ ปราถนาความเพียร เป็นไปติดต่อทั้งกลางวันกลางคืน ไม่กำหนดเวลาเป็นนาที เป็นชั่วโมง ถ้าวันไหนธาตุขันธ์ไม่แปรปรวน จิตสงบดี ก็จะนั่งหรือเดินจงกรมไปตลอดคืน ความอ่อนเพลีย ก็ไม่ปรากฎ
|
|
|
๔๙. เวลาเจ็บไข้
ต้องเร่งภาวนา
หลวง ปู๋แหวน สุจิณฺโณ เล่าให้บรรดาศิษย์ฟังว่า ในการอยู่ภาวนา กับพระอาจารย์ใหญ่ ในช่วงนั้น รู้สึกว่า จิตเป็นสมาธิ และก้าวหน้าเป็นอย่างดี ทำให้ท่่านเกิดความมั่นใจ ว่าเริ่มปฎิบัติ ไปในแนวทางที่ท่่านปราถนาแล้ว
อุปสรรคของการภาวนาที่ สำคัญในตอนนั้น คือเวลาบำเพ็ญภาวนา อยุ่ในป่าในเขาเช่นนั้น พระเณรมักจะเป็นไข้ป่า เป็นแต่ละครั้งก็หลายวัน เพราะไม่มียารักษา เมื่อจับไข้เข้าต้องอาศัย กำลังจิตเป็นเครื่องบรรเทา
กล่าว คือ เวลาเจ็บไข้ ก็ต้องเร่งภาวนาขึ้นตามกัน พิจารณาจนกว่าไข้จะสร่างหรือหายไป แต่ส่วนมากการเจ็บไข้ จะไม่หายขาด เป็นแต่เว้นระยะการจับไข้ออกไป เช่น สามวันบ้าง ห้าวัน บ้าง แล้วกลับจับไข้อีก เป็นอาการของไข้ป่าชนิดเรื้อรัง
สำหรับ พระธุดงค์ ผู้มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรม อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะไม่ท้อแท้ จะยอมตายถวาย ชีวิต ถ้าไข้ไม่หาย ก็ตาย ชาตินี้ไม่สำเร็จ ก็ไปภาวนาต่อในชาติต่อไป
|
|
|
๕๐. การเ็ป็นพระคนละนิกาย
ปํญ หาประกานหนึ่ง ที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกใจนัก ได้แก่การเป็น พระในสังกัดคนละนิกาย เพราะในสมัยนั้น ท่านยังเป็นพระในคณะมหานิกาย ยังไม่ได้เปลี่ยน ญัตติเป็นคณะธรรมยุตติกนิกาย
เมื่อ ถึงวันอุโบสถ หลวงปุ่แหวน และพระมหานิกายองค์อื่นๆ ไม่สามารถร่วมทำสังฆกรรมฟัง สวดปาฎิโมกข์ได้ ต้องออกไปให้พ้นเขตที่ำกำหนด ต่อเมื่อพิธีเสร็จแล้ว บรรดาศิษย์ที่เป็นพระ มหานิกาย จึงได้รับอนุญาติ ให้เข้ามา บอกปาริสุทธิ์
ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น จึงแสดงธรรม อบรมอุบายการแก้จิตที่ขัดข้องเวลาภาวนา แนะนำวิธี พิจารณาหรือคำบริกรรมสำหรับผู้เข้ามาปฏิบัติใหม่ แล้วแต่เหตุการณ์
บรรดา ศิษย์ มหานิกายที่ไปอบรมภาวนาอยู่กับหลวงปู่มั่นในสมัยนั้น มีอยู่หลายรูปด้วยกัน เมื่ออยู่ไปนานพอสมควร และเห็นความไม่สะดวกดังกล่าวมาแล้ว จึงไปกราบเรียนขออนุญาติ ญัตติเป็นพระธรรมยุต บางรูป หลวงปู่มั่น ท่านก็อนุญาติ และบางรูปท่านก็ไม่อนุญาต
สำหรับพระที่หลวงปุ่มั่น ไม่อนุญาติ ให้เปลี่ยนนิกายนั้น ท่านให้เหตุผลว่า " ถ้าพากันมาญัตติ เป็นพระธรรมยุติเสียหมดแล้ว ในฝ่ายมหานิกาย จะมีใครแนะนำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้น อยู่กับนิกาย แต่มรรคผล ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฎิบัติชอบ ตามธรรมวินัยทรี่พระพุทธเจ้าได้ทรง แนะนำสั่งสอนไว้แล้ว
พระองค์สอนให้ละเว้นในสิ่งที่ควรละเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญนี่แหละคือทางดำเนินไปสู่ มรรคผล นิพพาน
บรรดาศิษย์ฝ่ายมหานิกาย ที่หลวงปู่มั่น ท่านไม่อนุญาติให้ญัตตินนั้นต่อมาภายหลัง ศิษย์เหล่า นั้น ก็ได้ไปแนะนำสั่งสอนลูกศิษย์ลุกหาในสายของท่าน จนสามารถขยายวงการปฎิบัติออกไปได้ อย่างกว้างขวาง มีลูกศิษย์ลุูกหาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ศิษย์มหานิ กายรุ่นแรกได้แก่ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๙ สิริรวม อายุได้ ๖๘ ปี พรรษา ๔๒ หลวงปู่ชา สุำภทฺโท ได้กล่าวว่า " พระอาจารย์ทองรัตน์ เป็นผู้อยู่อย่าง ผ่องแผ้ว จนกระทั่งวาระสุดท้าย เมื่อท่านมรณภาพ ท่านมีสมบัติในย่าม คือ มีดโกนเพียงเล่มเดียวเท่า่นั้น"
หลวงปุ่ชา สภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็นศิษย์ มหานิกาย ที่มีชื่อเสียงอีกองค์ในรุ่นรองลงมา
และต่อมาภายหลัง เมื่อหลวงปู่มั่น ไปพำนักในภาคเหนือ ศิษย์มหานิกาย ของท่านที่มีชื่อเสียง ก็ได้แก่ หลวงปุ่คำแสน คณาลงฺกโร วัดดอนมูล (สันโค้งใหม่) อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และ หลวงปู่คำปัน สภทฺโท วัดสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
|
|
|
๕๑. คำแนะนำและอุบาย
แก้ไขจิตจากครูอาจารย์
หลวง ปุ่แหวน สุจิณฺโร เล่าถึงว่า การออกปฏิบัติในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่รู้จักภาวนานั้น เวลาอยุ่ ในป่า โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มสักจะเกิดความระแวงไปในเรื่องทีไร้สาระต่างๆ ตามแต่จิตมัน จะปรุงขึ้นมา
ส่วน มากมันจะเป็นเรื่องหลอกตัวเองทั้งสิ้น ตามความเคยชินของจิตที่เคยเป็นอิสระมาตลอด โดยไม่มีขอบเขต ไม่ม่เครื่องกั้น ไม่มีสิ่งควบคุม
หลวงปู่ เล่าต่อไปว่า " ครั้นมาปฏิบัติเข้าในระยะแรก ก็รู้สึกดื่มด่ำดี แต่พอเอาเข้าจริงๆ จิต กลับฟุ้ง ปรุงไปเป็นอดีตอนาคต ไม่ได้คิดพิจารณา ในเรื่องปัจจุบันนัก"
หลวง ปู่บอกว่า การอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ จึงให้ประโยชน์อย่างมากที่สุด เพราะครูอาจารย์ คอยให้คำแนะนำแก้ไขพร้อมทั้งอุบายในการแก้จิตในเวลาฟุ้งซ่าน อุบายการข่มจิต ในเวลาเกิด ความทะนงตน
ประกอบกับการได้ รับคำสั่งให้ไปอยู่ในที่ต่างๆ ที่แวดล้อมไปด้วยอันตราย ทำให้ได้อาศัย อาจารย์เสือบ้าง อาจารย์ช้างบ้างเป็นผู้ข่มขู่จิต
นอกจากนี้การเีร่งประกอบความเพียร ให้เป็นไปอย่างติดต่อไม่ขาดวรรคตอน ทั้งกลางวันและ กลางคืน
จิตก็ค่อยรวมตัวอยู่ในความควบคุมของสติ รวมตัวเช้าสู่สมาธิ ความเยือกเย็นในด้านจิตใจ เริ่มปรากฎผลให้ประจักษ์
ทำให้เกิดความมั่นใจในข้อปฎิบัติของตน ที่ได้ดำเนินมาว่าไม่ผิดทาง
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เล่าถึงความรู้สึกในจิตจากการปฏิบัติภาวนาในช่วงแรกนี้ว่า
เมื่อเกิดความสงบ ตัวของจิตเริ่มปรากฎเป็นผลของการปฎิบัติความเพียร ที่เีคยฝักทำมาโดย ตลอด
พอจิตสงบลง ความเพียรก็เร่งขึ้นตามส่วน เป็นเครื่องบำรุงส่งเสริมสมาธิปัญญา ไปในขณะ เดียวกัน
เมื่อ ศรัทธามีกำลัง วิริยะมีกำลัง สติมีกำลัง สมาธิมีกำลัง ปัญญามีกำลัง ต่างก็ส่งเสริมซึ่งกันและ กัน ตั้งแต่สมาธิขั้นต่ำ ไปถึงปัญญาขั้นสูง
ความสุขทางด้านจิตใจ เริ่มปรากฎเป็นผลให้ชื่นชม ไม่เสียแรง ที่ได้พยายาม ตั้งใจปฎิบัติมา
|
|
|
๕๒. สติสัมปชัญญะ
ต้องตื่นอยู่เสมอ
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เล่าถึงการปฎิบัติทางจิตว่า เป็นของที่ละเอียดอ่อนมาก สติสัมปชัญญะ ต้องตื่นอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นจะตามไม่ทันจิต
จิตเป็นธรรมชาติชอบคิด ชอบปรุง ชอบแส่ส่ายไปหาอารมณ์จากที่ไกล้ที่ไกล ไม่มีขอบเขต
ถ้าอยู่ในที่ชุมชน อารมณ์ที่เช้ามานั้น ส่วนมากจะเช้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง
การต้อนรับอารมณ์ของจิต มักจะนำมาแบกมาหาม มาทับ มาถมดัวยตัวเอง
การที่จะสลัดตัดวางนั้นไม่ค่อยปรากฎ
เพราะเหตุนั้น จึงทำให้เราเป็นทุกข์ไปกับอารมณ์นั้นๆ เป็นสุขไปกับอารมณ์นั้นๆ เป็นความ เพลิดเพลินไปกับอารมณ์นั้นๆ
ทั้งนี้เพราะขาดการพิจารณาของจิตนั่นเอง
จิต ที่ไม่มีสติเป็นพี่เลี้ยงคอยควบคุมคอยแนะนำ มักจะไปแบกไปหาบ ไปหาม เอาทุกสิ่ง ทุกอย่างมาทับถมตนเอง ให้เกิดทุกข์ ถึงกับบางคนตีอก ชกตน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่น่ารื่นรมย์ กลายเป็นพิษเป็นภัยไปก็มาก
ส่วน อารมณ์ของนักปฏิบัติผู้อยู่ในป่านั้น มักเกิดขึ้นกับจิตที่ชอบปรุงแต่งเป็นอดีต เป็นอนาคต ซึ่งอารมณ์ประเภทนี้ ทำลายนักปฏิบัติมามากต่อมากแล้ว เพราะไม่รู้ ู่้เท่าทันกลมายาของจิต เหตุ เพราะขาดสติปัญญานั่นเอง
ดังนั้น การปฏิบตจิตภาวนา จำเป็นต้องตื่นอยุ่เสมอ อารมณ์ต่างๆ ที่ผ่่านเข้าออกตามทวารต่างๆ นั้น ต้องได้รับการใคร่ควรญพิจารณา จากสติ สัมปชัญญะ เสียก่อนทุกครั้ง
|
|
|
๕๓. การพิจารณาปัจจัย ๔
ก่อนบริโภคใช้สอย
นอก จาการเป็นผู้มีสติประจำอิริยาบถ ตามที่กล่าวมาแล้ว หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้บอกว่า การบริโภคปัจจัย ๔ ก็ต้องพิจารณาโอยอุุบายทุกครั้ง
หลวงปู่ให้คำอธิบายเรื่องนี้ว่า :-
การพิจารณาปัจจัย ๔ ก่อนการบริโภคใช้สอยนั้นเป็นอุบายข่มความทะเยอทะยาน อยากของ จิตได้ดี บางครั้งก็เกิดความแยบคาย เป็นอุบายของปัญญาได้
ดัง นั้น การภาวนาก็คือการสติสัมปชัญญะ คอยตักเตือนตนเองอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความ ประมาท ความมัวเมา มีอินทรีย์สังวร ละเว้นบาปอกุศล แม้เพียงเล็กน้อย
จำต้องอาศัยความหมั่น ความพยายามทางกาย ทางวาจา ทางใจของตน
จึงจะรักษาตนให้อยู่รอดปลอดภัย ในธรรมของพระพุทธเจ้าได้
ต้องกระทำให้มาก เจริญให้มาก ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกัน ไม่ขาด วรรคขาดตอน
|
|
|
๕๔. การแยกย้ายกัน
ไปบำเพ็ญภาวนา
เมื่อลูกศิษย์ลูกหาได้รับอุบายธรรมจากหลวงปู่มั่น แล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกไปบำเพ็ญ เพียรดูจิตใจของตนเอง
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้เล่าถึงเรื่องนี้ว่า :-
เมื่อได้รับอุบายจากครูอาจารย์แนะนำแล้ว ก็แยกย้ายกันไปทำความเพียร เลือกหาที่เหมาะ แก่จริตนิสัยของตน
บางท่านที่เด็ดเดี่ยวก็มักจะไปเพียงองค์เดียว ที่ยังไม่มีความกล้าพอก็มักไปกัน ๒ องค์บ้าง ๓ องค์บ้าง
สถานที่ไป ส่วนมกมักเป็นป่าช้า ป่าชัฎ ซึ่งมีถ้ำมีหน้าผาพอเป็นที่อยู่อาศัยหลบฝนหลบแดด หลบลม ในคราวจำเป็น
ในระยะแรก จะไปอยู่ไม่ไกลจากครูอาจารย์นัก ประมาณว่าพอเดินมาฟังธรรม มาทำอุโบสถ ในวันอุโบสถ
เว้น เสียแต่มีอาจารย์ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นพี่ควบคุมไปนั่นแหละจึงไปได้ไกล เวลาติดขัดด้านการ ภาวนา ก็ต้องอาศัยอาจารย์ผู้ควบคุมนั่นแหละเป็นผู้แนะนำ
แต่ถึงอย่างนั้น นานๆครั้ง ถ้าเป็นไปได้ตส้องพยายามหาโอกาส ไปฟังธรรมจาก หลวงปู่มั่น อยู่เสมอ
การจำพรรษาร่วมกันกับหลวงปู่มั่น ก็นานๆจึงจะได้จำร่วมกับท่านครั้งหนึ่ง
ส่วนมาก บรรดาพระที่เป็นลูกศิษย์ลูกหา มักจะแยกกันอยู่เพราะการอยู่ร่วมกันมากๆ มักจะ เป็นภาระเคร่องกังวล หรือไม่ ก็ความวุ่นวาย
|
|
|
๕๕. จาริกไปฝั่งซ้าย
แม่น้ำโขง
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโร กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ร่วมกันจาริกธุดงค์ไปฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทางฝั่งของประเทศลาว
หลวงปู่ทั้งสองเริ่มเดินทางไปทางอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แล้วข้ามแม่น้ำโขงขึ้นไปฝั่งลาว แล้วเดินข้ามป่าข้ามเขาไปเรื่อยๆ เมื่อถึงตอนเย็นก็ปักกลด ค้างคืนตามที่ ที่เห็นว่าเหมาะสม
ทาง ฝั่งลาวในสมัยนั้น ป่าส่วนมากเป็นป่าดงดิบ ต้นไม้ใหญ่ลำต้นสูง แต่ข้างล่้างโปร่ง เดินได้ สะดวก ถ้าหมดป่าสูง บางแห่งก็เป็นป่ารกชัฎ ซึ่งต้องเดินมุดไปตามเส้นทางช้าง เพราะช้างป่าจะมี ทางเดินประจำของพวกมัน ช้างป่าแต่ละโขลง มีจำนวนหลายสิบเชือก ทางเดินของมันจึงเตียน ราบพอที่จะให้พระธุดงค์ ได้อาศัยเดินทางไปได้
หลวงปู่ แหวน กับหลวงปู่ตื้อ เดินไปได้สามวัน จึงข้ามแม่น้ำกง แม่น้ำนี้ บางแห่งไหลผ่านที่ ราบ ชาวบ้านใช้เป็นที่เพาะปลูก และทำไร่ทำนา
เมื่อถึงเวลาค่ำ หลวงปู่ก็ปักกลด พักในป่าที่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนัก พออาศัยบิณฑบาตใน ตอนเช้าได้
วันหนึ่ง หลวงปู่ทั้งสององค์ เดินไปพบหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตอนตะวันจวนจะหมดแสงอยู่แล้ว จึงจัดการหาที่พัก ปักกลดเพื่อค้างคืน
พอกางกลดเสร็จ นั่งพักไม่ทันหายเหนื่อย ก็เห้นพวกชาวบ้านเป็นหญิงล้วน เดินมาเป็นแถว สิบกว่าคน แต่ละคนมีขันข้าว กระติ๊บข้าว แสดงท่าทางจะเอามาถวายพระ
เมื่อมาถึงก็วางขัน วางกระติ๊บข้าวลงตรงหน้าพระ แล้วต่างก็พูดว่า " งอจ้าวเหนียว งอจ้าวเหนียว "
พอจะเข้าใจเจตนาของพวกเขา ว่าเอาข้าวมาถวาย แต่นอกจากนั้นไม่ทราบว่า พวกเธอพูดว่า อะไร
หลวงปู่แสดงท่าทางให้รู้ว่า ไม่รู้คำกัน ให้ไปบอกพวกผู้ชายมาพูดกัน
พวกหล่อนเช้าใจ จึงพากันกลับ
สัก ครู่ก็มีพวกผู้ชาย มากันหลายคน พวกเขาพูดว่า " นิมนต์เจ้าบุ๊น ฉันข้าวก่อน ท่านเดินทาง มาไกล คงหิว นิมนต์ฉันให้อิ่มเสียก่อน"
หลวงปู่บอกพวกเขาว่า " ไม่เป็นไรหรอก เอาข้าวกลับไปก่อน ขอเฉพาะน้ำร้อนก็พอ พรุ่งนี้ เช้าค่อยเอาข้าวมาใหม่"
หลวงปู่บอกว่า พวกเขาเช้าใจ และทำตามคำที่เราบอก ชาวบ้านเหล่้านี้ ไม่รู้ว่าเป็นเผ่าไหน เวลาพูดกันเราฟังภาษาเขาไม่รู้เรื่อง
ที่พวกผู้ชายพูดกับพวกเราพอเข้าใจ เพราะพวกผู้ชายเป็นพวกที่มีการสังคม ติดต่อกับคน ภายนอกหลายเผ่า หลายภาษา ส่วนพวกผู้หญิงจะอยู่เฉพาะในหมู่บ้าน จึงพูดได้เฉพาะภาษาของ ตนเอง"
|
|
|
๕๖.ทำการบิณฑบาต
แบบโบราณ
พอรุ่งเช้า หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ก็เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
หลวงปู่เล่าว่า การไปบิณฑบาตกับพวกชาวบ้านป่าเช่นนั้น ต้องทำการบิณฑบาตแบบโบราณ คือ ไปยืนอยู่หน้าบ้าน ทำเป็นไอ กระแอม เพื่อให้เจ้าของบ้านได้ยินเสียง แล้วจะโผล่หน้าออกมาดู ถ้าเขารู้ก็จะพากันเอาข้าวมาใส่บาตร ก็ต้องทำท่่าทางบอกให้พวกเขารู้
เมื่อ หลวงปู่ทั้งสองฉันเสร็จ ก็ออกเดินทางต่อไป ถึงตอนเย็นก็ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งพอดี ที่นี่มีวัดประจำหมู่บ้าน แต่ไม่มีพระ มีเณรอยู่เพียงรูปเดียว
เณรแสดงความดีใจ ให้การต้อนรับอย่างกระตือรือล้น จัดน้ำใช้ น้ำฉันมาถวาย เตรียมที่นอน ให้ และนิมนต์ให้พักอยู่ด้วย
เห็นเณรมีอัธยาศัยดี ทั้งสององค์จึงตกลงพักที่วัดนั้นตามคำนินมนต์ของเณร
เมื่อ จัดการต้อนรับเรียบร้อยแล้ว เณรหายไปทางหลังกุฏิ แ้ล้วได้ยินเสียงไก่ร้อง ตีปีกดังพับๆ แล้วเงียบหายไป อีกสักพักก็ได้กลิ่นไก่ย่างโชยมา
หลวง ปู่ บอกว่า ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร เณรหายไปร่วมชั่วโมง ก็กลับมาพร้อมกับถาดมีข้าว เหนียวควันกรุ่นๆ กับไก่ย่างร้อนๆ ดูยั่วน้ำลายน่ากิน มาวางลงตรงหน้า
เณรยกถาดอาหารเข้า ประเคน พร้อมกับพูดว่า " นิมนต์ครูบา ฉันข้าวก่อน เดินทางมาเหนื่อย วันนี้ผมย่างไก่มาอย่างดี นิมนต์ฉันให้อิ่ม"
หลวงปู่ จึงบอกเณรว่า " ไม่ต้องห่วงหรอกเณร เอากลับไปเถอะ วันนี้หมดเวลาฉันแล้ว ตอน เย็นฉันน้ำร้อนก็พอแล้ว"
เณรก็มายกถาดอาหารกลับไป หลวงปุ่เล่าอย่างยิ้มๆว่า " เณรแก จะเอาไปบังสุกุลหรืออย่างไร กัไม่ได้สนใจ"
รุ่งขึ้นเช้า เมื่อฉันแล้ว ก็ลาเณร ออกเดินทางกันต่อไป
|
|
|
๕๗. มุ่งตรงไป
เมืองหลวงพระบาง
หลวง ปู่บอกว่า ภูมิประเทศทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแขตของประเทศลาวนั้น เป็นที่ ร่มรื่น มีป่าและภูเขามาก สัตว์ป่ามีชุกชุม พวกมันไม่กลัวคน เวลาหลวงปู่เดินทางผ่านไป พวกมันต่างก็ หากินตามปกติ เหมือนไม่มีใครแปลกปลอมผ่านมา พวกมันไม่เห็นตกอกตกใจ หรือแสดงท่า ระแวดระวังภัยแต่อย่างใด
เวลาเช้า จะได้ยินเสียงพวกลิง ค่าง ชะนี ร้องเสียงระงมอยู่ทั่วไป
หลวง ปุ่เิดินทางขึ้นไปทางเหนือของประเทศ เมืองต่างๆบนเส้นทางนั้น ล้วนแต่เป็นเมืองเล็ก เมืองน้อยทั้งสิ้น มีเมืองหลวงพระบาง เท่านั้น ที่เป็นเมืองใหญ่
หลวงปู่ทั้งสอง ตกลงใจจะเข้าไปเมืองหลวงพระบางเสียก่อน เพราะเป็นเมืองที่มีชื่อเสียง ต่อ จากนั้น จึงค่อยเดินทางต่อไป สิบสองปันนา สิบสองจุไท
เมื่อถึงหลวงพระบาง หลวงปุ่ไปพักที่วัดใต้ หนึ่งในสามวัดในเมือง
ในเมืองหลวงพระบางมีวัด ๓ วัด คือวัดเหนือ วัดพระบาง และวัดใต้
วัดพระบางเป็นวัดสำคัญ และเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่ประดิษฐานของพระบาง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำเมือง
ในเมืองมีผู้คนไม่มากนัก เมืองอยู่ในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบพอได้อาศัยปลูกข้าวและ ทำการเกษตร พอเลี้ยงพลเมืองได้
ประชาชน ทั่วไปมีอัธยาศัยดี ไม่มีโจรผู้ร้าย ประชาชนมีใจบุญสุนทาน และดูเคร่งครัดต่อ ศาสนาพอสมควร ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำนาและหาของป่า การค้าขายก็พอมีบ้างไม่มากนัก
การเพาะปลูกพืชผลอย่างอื่น พอมีบ้าง แต่ไม่มาก เพราะมีพื้นที่ราบจำกัด ภูมิประเทศถูกล้อม รอบด้วยภูเขา
|
|
หลวงปู่เมธาวัฒน์, หลวงปู่ขาวและพระ
ธรรมบัณฑิต
|
๕๘. เดินทางต่อไม่ได้
ต้องกลับประเทศไทย
หลวง ปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ พักอยู่ในเมืองหลวงพระบาง พอสมควรแล้ว ก็ออกเดินธุดงค์ ต่อไปทางสิบสองปันนา สิบสองจุไท แต่ไปพบด่านทหารฝรั่งเศส
พวกทหารฝรั่งเศส ถามหลวงปู่ทั้งสอง ว่า จะไปไหนและมาจากไหน
หลวงปู่ บอกเขาว่า จะไปสิบสองปันนา สิบสองจุไท และเดินทางมจาประเทศสยาม
พอรู้ว่ามาจากประเทศสยาม จึงไม่ให้ท่านเดินทางต่อไป ท่านจึงต้องเดินทางกลับลงมาที่เมือง หลวงพระบาง อีกครั้ง
พัก อยู่หลวงพระบาง สองสามวัน ท่านจึงตกลงกันเดินทางกลับเืมืองไทย โดยเดินทางลัดป่า เขามาตามทางเดิม ผ่านเมืองต่างๆ ได้แก่ เมืองเลน เมืองโป เมืองแมด เมืองกาสี
ในระหว่างนั้น มีข่่าวว่า เจ้ามหาชีวิตของลาวจะเสด็จๆ ไปยังเมืองเวียงจันทน์ ทางการจึงได้ เกณฑ์ราษฎรมาแผ้วถางทางผ่านเมืองต่างๆดังกล่าว การเดินทางกลับของหลวงปู่ จึงได้อาศัยเส้น ทางนี้เดินทางไปยังเวียงจันทน์
เมื่อถึงเวียงจันทน์ หลวงปู่เดินเลียบฝั่งโขงล่องลงมา และขึ้นฝั่งไทยตรงอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
การจาริกไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ของหลวงปู่ทั้งสององค์ในคราวนั้น ใช้เวลาเดินทางทั้งไป และกลับ เป้นเวลาทั้งสิน ๑๔ วัน
|
|
|
๕๙. ภาวนาแถวอำเภอท่าลี่
จังหวัดเลย
เมื่อ หลวงปุ่แหวนกับหลวงปู่ตื้อ กลับเข้าประเทศไทยทางอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย แล้ว ท่าน ไม่ได้กลับไปวัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง วัดบ้านเกิดของหลวงปู่แหวน แต่ได้พักภาวนาอยู่ตามป่าเขา แถวอำเภอท่าลี่นั่นเอง
นอกจากการบำเพ็ญภาวนาแล้ว ยังเป็นการพักผ่อนร่างกายที่เหนื่อยเพลีย จากการเดินทาง จาริกไปทางฝั่งลาว
เขตอำเภอท่าลี่ มีป่าและภูเขามาก นับเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีภูมิประเทศเหมาะแก่การบำเพ๊ญ ภาวนา
แม้แต่ในปัจจุบัน ผู้เขียน ( ปฐม นิคมานนท์) เคยตระเวณไปในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเลย ภูิมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาที่สลับซับซ้อน ป่าไม้ยังมีมาก แม่น้ำลำธารมีหลายสาย แถมยังมีความ วิเวกห่างไกลผู้คน นอกจากเหมาะสำหรับไปท่่องเที่ยวพักผ่อนแล้ว ยังน่าไปบำเพ็ญภาวนาเป็น อย่างยิ่ง
เมื่อ หลวงปุ่แหวน กับหลวงปุ่ตื้อ แสวงวิเวกบริเวณป่าเขาอำเภอท่าลี่พอสมควร ร่างกายหาย จากการอ่อนเพลียแล้ว ท่านก็ตกลงกันว่า จะแสวงความวิเวก ไปทางภาคเหนือต่อไป
ทางภาคเหนือ เป็นสถานที่ที่ทั้งสององค์ยังไม่เคยไปมาก่อน จึงตกลงเดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ ทันที
|
|
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
|
๖๐. จาริกไปภาคเหนือ
ในบันทึกการเดินทางของหลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ในการจาริกจากอำเภอท่าลี่ จังหวัด เลย ไปยังภาคเหนือมีดังต่อไปนี้ :-
สมัยก่อน จะไปไหน พาหนะที่ดีที่สุดคือขาสองขา ของเรานี้เอง เดินไปค่ำไหนนอนที่นั่น ไม่ ต้องเป็นห่วงเด็กเล็กที่เป็นลูกศิษย์ เพราะไม่จำเป็นต้องมี ที่ไหนไม่เหมาะก็พักคืนเดียว
ใน ครั้งนั้น เดินออกจากอำเภอท่าลี่ มาอำเภอด่านซ้าย (จังหวัดเลย) จากด่านซ้าย ก็เดินเข้าป่า ข้ามเขาไปอำเภอน้ำปาด (จังหวัดอุตรดิษถ์) โดยผ่านเขตอำเภอนครไทย(จังหวัดพิษณุโลก) ซึ่ง มีภูมิประเทศเป็นป่า เขาเกือบทั้งสิ้น
การเดินทางก็เดินได้เฉพาะกลางวันเท่า นั้น เย็นลงต้องหาที่พักเพราะสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ ชุกชุม ประชาชนกลัวกันมาก ไม่กล้าเดินคนเดียว แม้สองสามคนก็ไม่กล้าเดิน เพราะกลัวพวก สัตว์ร้ายเหล่านั้น
บางแห่งเขาจะสร้างที่พักไว้กลางทาง สำหรับผู้เดินทางจะได้พักอาศัย หลับนอนในเวลา กลางคือน
หลังจากนั้น เดินทางไปอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วตัดไปอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
พื้นที่ ดังกล่าวแล้วนี้ เป็นป่าเป็นเขาเป็นส่วนมาก มีหมู่บ้านเป็นแห่งๆ ตามที่ราบเชิงเขา บางแห่งก็มีหมู่บ้านชาวเขาตั้้งอุยู่พอได้อาศัยบิณฑบาต
จากจังหวัดน่าน เดินทางวกลงมาทางอำเภอสอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
|
|
|
๖๑. ขอบิณฑบาตข้าว
จากชาวเขาเผ่าเย้า
บัันทักการเดินทางของหลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อมีต่อไปว่า ๆ :-
วันหนึ่ง ขณเดินทางมาด้วยความอ่อนเพลีย กลางป่าเขา เพราะยังไม่ได้ฉันข้าว ขณะเดิน ทางมานั้นเผอิญไปพบหมู่บ้านชาวเย้า เข้าแ่ห่งหนึ่ง จึงเข้าไปบิณฑบาต
เดินไปไม่พบใครเลย เนื่องจากออกไปทำไร่หมด จวนจะเป็นบ้านสุดท้ายอยู่แล้ว
พอดีมีชายคนหนึ่ง โผล่ออกมาจากบ้าน จึงพูดกับเขาว่า
" สหาย เรายังไม่ได้กินข้าว ขอข้าวเรากินบ้าง "
เย้าคนนั้นตอบว่า :-
" ข้าวเฮามีน้อย เฮบ่หื้อ เฮาเอาไว้กิ๋น เอาไว้ขาย ข้าวสุกเฮาก็มี เฮาบ่หื้อ เฮาเอาไว้กิ๋น ข้าว สารเฮาก็มี เฮาเอาไว้ขาย เฮาบ่หื้อ "
เขาพูดออกมาจากใจจริงของเขา ตรงๆ ตามภาษาซื่อๆของเขา พวกเหล่านี้ไม่มีมายาสาไถย อะไร พวกเขามีความในใจอย่างไรก็พูดออกมาอย่างนั้น เขาไม่คิดว่า มันจะไปกระทบใจใคร หรือ จะไปทำความไม่พอใจให้ใคร แม้จะไปทำความผิดหวังให้ใครเขาก็ไม่คิด เพราะความซื่อของเขา
เย้าคนนั้น นอกจากแกจะพูดว่า " เฮาบ่หื้อ " แล้ว ตาของแกยังจ้องมองไปที่บาตรของพระ ที่ยังว่างเปล่านั้นอีก แล้วแกก็พูดขึ้นว่า
" หม้อนั้น ขายฮื้อเฮา เฮาเอาไว้ต้มข้าว"
เมื่อถูกชายชาวเย้า พูดขอซื้อบาตรเช่นนั้น ทำให้เกือบกลั้นหัวเราะไว้ไม่อยู่ ทำเอาลืมหิวข้าว ไปชัวขณะหนึ่ง จึงบอกกับแกว่า
" ไม่ได้ เราขายให้ไม่ได้ เมื่อไปถึงบ้านถึงเมืองเรา ใช้บาตรใบนี้แหละไส่ข้าว"
|
|
|
๖๒. พบหญิงเย้าใจอารี
เมื่อ หลวงปู่ เห็นว่าการบิณฑบาตครั้งนั้นไม่มีหวังแล้ว จึงเดินทางต่อไป ระหว่างทางได้พบ หญิงชาวเย้าผู้หนึ่ง จึงออกปากขอบิณฑบาตข้าวอีก คราวนี้ไม่ต้องบิณฑบาต แต่พูดขอเอาที่เดียว ว่า " สหาย เต็มที่แล้ว เรายังไม่กินข้าว เอาข้าวให้เรากินบ้าง"
หญิงชาวเย้า ตอบว่า " คอยเฮากำเน้อ" แล้วรีบเดินทางเข้าไปในบ้านครู่หนึ่ง เดินถือขันข้าว ออกมา พร้อมกับพูดว่า " ข้าวมีม๊อกอี๋ " แล้วก็เทข้าวใส่ในบาตะจนหมดขัน
เมื่อได้ข้าวจากหญิงที่มีใจอารีแล้ว จึงหาที่เหมาะเพื่อฉันข้าวต่อไป การฉันข้าววันนั้น ก็ไม่มี พิธีรีตองอะไร เพียงเอาน้ำเทใส่ข้าว แล้วก็ฉันเท่านั้น เพราะไม่มีกับอย่างอื่น
ข้าว สารชาวเขานั้นเป็นข้าวไร่ เขามีวิธีหุงพิเศษ เมื่อหุงสุกแล้วมีกลิ่นหอม รสหวาน นิ่มดี แม้พวกขาวเขาเอง เวลากินข้าว ก็ไม่มีอะไรมาก มีพริกมีเกลือ ก็กินกับพริก กับเกลือไป ถ้าไม่มี ก็กินกับน้ำ
ถ้าวันไหนได้เนื้อมา ก็เอามาย่างไฟแล้วกินกับข้าวอย่างเอร็ดอร่อย จะต้มจะแกงเหมือนพวก เรานั้นทำไม่เป็น
พวกนี้อยู่ง่าย กินง่าย ตามเผ่าของพวกเขา เผ่าไหนสูบฝิ่นหลังอาหารก็มีการสูบฝิ่น แถมนอน สูบกันอย่างสบายอารมณ์
|
|
|
๖๓. พบพระชาวเหนือ
ผู้มีเมตตาจิต
หลังจากฉันข้าวที่หญิงชาวเ้ย้าถวายแล้่ว หลวงปุ่แหวน กับหลวงปุ่ตื้อ ก็ออกเดินทางต่อไป บันทึกกล่าวต่อไปว่า
เมื่อ ฉันเสร็จแล้ว จึงออกเดินทาง จากหมู่บ้านชาวเย้า มาถึงพื้นที่ราบ เป็นหมู่บ้านของคนเมือง เดินไปพบกับพระองค์หนึ่ง ถามถึงทางที่จะไปข้างหน้า ว่ายังอีกไกลเท่าไร
ท่านตอบว่า " ผากข้าวตอน"
ก็ไม่เข้าใจภาษาของท่าน แต่เพราะความมีเมตตาจิตของท่าน ท่า่นจึงชวนพักอยุ่กับท่า่นก่อน เมื่อหายเหนื่อยแล้ว ค่อยออกเดินทางต่อไป
พระ ท่านพูดว่า " นิมนต์พักอยู่กับผมก่อน ผมจะไม่ให้เดือดร้อนอันใด ข้าวน้ำโภชนาหารก็ดี เสนาสนะที่นั่งอันใดก็ดี ผมจะจัดการทั้งหมด เป็นธุระของผมเอง"
พระท่านยังบอกอีกว่า " ผมเคยไปเที่ยวทางใต้มา เขาต้อนรับผมอย่างดี ตอนนั้นผมยังไม่รู้จัก ธรรมเนียม แต่เดี๋ยวนี้ผมรู้แล้ว นิมนต์พักให้สบายก่อน มีกำลังแล้วค่อยเดินทางต่อไป"
หลวงปู่ทั้งสองจึงตกลงพักฉลองศรัทธา ความปราถนาดีของพระองค์นั้น ๓ วัน
|
|
|
๖๔. แยกทางกับหลวงปุ่ตื้อ
บัึนทึกการเดินทางของหลวงปู่ทั้งสององค์ มีต่อไป ดังนี้
เมื่อพักมีกำลังแล้ว อำลาท่านผู้มีใจอารีเดินทางต่อไป
รุ่งเช้า พอฉันเสร็จ จึงออกเดินทาง เวลาประมาณ เพล จึงถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ที่ต้องการ ไป จึงรู้เอาคำว่า "ผากข้าวตอน" ก็คือระยะทางเดิน ไปกินข้าวกลางวันข้างหน้าทัน"
เพราะระยะทางจากวัดที่พัก ถึงหมู่บ้านนี้ เดินไปกินข้าวข้างหน้าได้
เดิน ทางมาถึงแพร่ พักอยู่ ๒ วัน จึงเดินทางต่อไปอำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย บ้านปิ่น แล้ว เดินทางตามทางรถไฟไปอีก ๔ วัน หลังจากนั้น ต้องเดินทางข้ามเขาไปอีก
ขณะเดินทางข้ามเขาไปนั้น ระหว่างทางพบกับพวกจีนฮ่อ และได้เดินทางต่อไปจนถึงลำปาง จึงแยกกันกับหลวงปุ่ตื้อ
หลังจากนั้น หลวงปู่แหวน จึงเดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่เพียงองค์เดียว
ทางด้านหลวงปู่ตื้อ ท่านแยกไปทางอำเภอเถิน หลังจากนั้น จึุงไปพบกัน เพื่อกราบหลวงปู่มั่น ที่วัดเจดีย์หลวง ในเมืองเชียงใหม่
หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้แปรญิตติ เป็นพระธรรมยุต ณ ว้ดเจดีย์ หลวง นั้นในเวลา ต่อมา
|
|
|
๖๕. บำเพ็ญภาวนา
ที่ภูเขาควาย ฝั่งประเทศลาว
ใน บันทึกการท่องธุดงค์ของหลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ไม่ได้ระบุวันเดือนปี ของการเดินทาง รวมทั้งไม่ได้บอกด้วยว่าหลวงปู่ท่านไปองค์เดียว หรือมีพระองค์อื่นไปด้วย
จากคำบอกเล่้าของครูบาอาจารย์ บอกว่า ส่วนใหญ่ หลวงปุ่แหวน กับหลวงปุ่ตื้อ ท่านจะไป ด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเกาะติดไปด้วยกันตลอด บางช่วงท่านก็แยกกัน บางช่วงก้พัก ด้วยกัน หรือหลายๆ วันจึงจะพบกันทีหนึ่ง แต่จะไปในแถบถิ่นเดียวกัน นัดพบกันเป็นที่ทีไป
ในบันทึกส่วนการเดินทางของ หลวงปุ่แหวน มีดังนี้
หลังจากเลิกเรียนด้านปริยัติที่อุบลๆ แล้วออกปฏิบัติกรรมฐาน จาริก ไปฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ครั้งที่ ๒
ไปคราวนี้ ออกจากประเทศไทยข้ามโขงไป ผ่านเมืองเวียงจันทน์ ตัดเข้าดงอีกแห่งหนึ่ง เรียก ว่าดงเมือง
พ้นจากดงเมือง ข้ามแม่น้ำงึมไป ไปสู่ดงดิบของภูเขาควาย
ป่าบริเวณนั้นเป็นป่าดงดิบ มีถ้ำมีเหวอยุ่ทั่วไป บนหลังเขามีลานหินกว้าง ซึ่งถือกันในหมุ่นัก ปฎิบัติว่า ภูเขาควายเป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับนักปฏิบัติธรรม ที่ต้องการสถานที่ สงบสงัดปราศ จากการพลุกพล่าน วิเวกวังเวง ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด
ดังนั้น การบำเพ็ญภาวนาอยู่แถวภูเขาควาย เวลาทำความเพียร จิตจึงสงบง่าย
เมื่อภาวนาอยู่ไปหลายวัน จิตคุ้นกับสถานที่แล้ว ก็ย้ายไปแห่งใหม่ต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ปลุกจิต ปลุกประสาท ปลุกสติ ให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นมักเกิดความประมาท
เมื่อ คุ้นเคยกับสถานที่แล้ววทำความเพียรไม่ดีเท่าเที่ควร การเปลี่ยนสถานที่แต่ละแห่ง สิ่ง แวดล้อมไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดความระมัดระวัง เป็นการสร้างสติสัมปชัญญะ เร่งความเพียร ไปในตัว
ดังนั้นผู้ปฎิบัติต้องรู้จักสังเกตุความเปลี่่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อม เลือกหาสถานที่ ที่มีเครื่อง เตือนสติอยู่เป็นประจำ
ด้วย เหตุนี้เอง หลวงปู่มั่น ท่่านจึงบอกศิษย์ให้อยู่ในที่ที่มีมันตราย เพื่อจะได้ไม่ประมาท ในการ ทำความเพียร ต้องมีสติอยุ่เสมอ การไปอยู่ในที่ที่อันตราย ความเป็นความตาย จึงฝากไว้กับสติ
|
|
|
๖๖. ชาวบ้านชอบใส่บาตร
ข้าวกับน้ำำตาล
พอออกจากภูเขาควายแล้ว วันหนึ่ง หลวงปู่แหวน ได้ไปพักที่ หมู่บ้านนาสอง เป็นหมู่บ้าน ที่ใหญ่พอควร
หลวงปู่ เล่าว่า พวกชาวบ้านถิ่นนั้นมีแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือ เวลาเห็นพระไปบิณฑบาต พวก เขาจะป่าวร้องกันมาใส่บาตรว่า " มาเน้อ มาใส่บาตร ญาธรรมมาแล้ว หาน้ำอ้อยน้ำตาลมาใส่บาตร ญาธรรมท่านชอบของหวาน"
เมื่อได้ยินคนป่าวร้องประกาศเช่นนั้น ต่างก็เอาของมาใส่บาตรจนเต็ม
หลวงปู่ว่า " พวกนี้เหมือนกับพวกไทยใหญ่ ถ้าเห็นพระไปบิณฑบาต เขาก็จะใส่บาตรด้วย น้ำอ้อย น้ำตาล กั่บข้าวเช่นกัน พวกเขาถือว่า เจ้าปุ้น ไม่กินเนื้อสัตว์ กินแต่ของหวาน
แต่อย่างไรก็ตาม การฉันข้าวกับน้ำอ้อยน้ำตาลนั้น วันสองวันแรกก็ฉันได้ดี แต่วันที่สสาม ที่สี่รู้สึกเบื่อ
|
|
|
๖๗. พบเนื้อคู่
ตามคำทำนายของหมอดู
ใน สมัยที่ หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ เรียนมูลกัจจายน์อยู่ที่จังหวัดอุบลๆ นั้น เคยมีหมอดูทำนาย เกี่่ยวกับเนื้อคู่ของท่าน ว่าจะอยู่ทางทิศนั้นๆรูปร่างสันทัด ผิวเนื้อขาวเหลือง ใบหน้ารูปใบโพธิ์
ก็ไม่ทราบว่า หลวงปู่ จะใส่ใจกับคำทำนาายนั้นหรือไม่ เพียงใด หรือว่าเพียงแต่ดูหมอไป แบบสนุกๆก็ตาม แต่คำทำนายนั้นก็ปรากฎขึ้นจริง
วันหนึ่ง ตอนใกล้ค่ำ หลวงปุ่ ไปสรงน้ำที่ฝั่งแม่น้ำงึม ก็พบหญิงสองคนแม่ลูกกำลังถ่อเรือ มาตามลำน้ำ มาถึงบริเวณที่พระกำลังอาบน้ำอยู่ หญิงสาวชำเลืองตามองทางพระหนุ่ม สายตาเกิด ประสานกันเข้าพอดี
ในบันทึกเล่าไว้ว่า
" เมื่อสายตาของทั้งสองฝ่ายประสานกันเข้า ก็มีอานุภาพลึกลับและรุนแรง พอที่จะตรึงคน ทั้งสองฝ่ายให้ตะลึงไปได้ ระหว่างเดินกลับมาที่พัก ในใจยังคิดถึงหญิงงามนั้นอยู่"
เมื่อหลวงปุ่กลับถึงที่พัก ก็หวนระลึกถึงคำทำนายของหมอดู พิจารณาดูแล้วก็น่าจะเป็นจริง
" หญิงที่เราพบเห็นเมื่อตอนเย็น ก็มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับคำทำนายของหมอ เห็นจะเป็น แม่หญิงคนนี้แน่"
|
|
|
๖๘. ต้องตัดสินใจ
คืนนั้น หลวงปุ่ ยังครุ่นคิดถึงแม่สาวงามที่สายตาประสานกันเมื่อตอนเย็น
" เห็นจะเป็นแม่หญิงคนนี้แน่ เพราะเมื่อเราเห็นเป็นครั้งแรก ก็ทำให้เรา มีจิตปรวน แปรแล้ว"
ในคืนนั้น หลวงปุ่คิดสับสบว้าวุ่นพอสมควร คิดถึงคำทำนายของหมอดู คิดถึงแม่สาวงาม นัตย์ตาคมผู้นั้น คิดถึงความตั้งใจในการออกป่าบำเพ็ญภาวนา ที่สำคัญคือคำสัญญาที่ให้ไว้กับ โยมแม่และโยมยาย ที่บอกว่า " บวชแล้ว จะต้องตายในผ้าเหลือง"
จิตหวนคิดถึง หลวงปู่มั่น ที่เคยอบรมสั่งสอนเมื่อตอนฝึกหัดภาวนาที่ฝั่งไทย คิดถึงคำเตือน และอุบายธรรมที่ท่่านเคยสอน
พลัน .... " เราต้องรีบกลับเมืองไทย"
วัน รุ่งขึ้น สองแม่ลูกได้นำข้าว หมากพลู บุหรี่ มาถวายแต่เช้าตรู่ ก่อนใครอื่นทั้งหมด ทั้งสอง คนช่วยกันมวนบุหรี่ จีบพลู สายตาของหญิงสาวคอยชำเลืองมองไปทางพระ
ถึงเวลาบิณฑบาต หลวงปู่ก็ออกบิณฑบาต ตามปกติ ไม่ได้แสดงอาการอะไรให้ผิดสังเกตุ
พอฉันเสร็จ พวกญาติโยมที่นำอาหารมาถวายต่างลากลับ หลวงปู่ ก็เก็บบริขาร บอกลาเพื่อน พระ และเจ้าสำนัก แล้วข้ามโขงกลับฝั่งไทย
|
|
|
๖๙. มาพบหลวงปู่มั่น
โดยไม่คาดคิด
ท่าน ผู้อ่านจะสังเกตุเห็นว่า พระธุดงค์ท่านไปไหนมาไหนได้รวดเร็ว " ประดุจดังนกบิน" เพราะท่านไม่มีสมบัติที่จะต้องหอบหิ้วและห่วงใย มีแต่บริขารที่จำเป็นและใส่ลงในบาตร มีกลด ธุดงค์ กาน้ำและเครื่องกรองน้ำ เท่านั้น ท่า่นจึงอยุ่ง่าย มาง่าย ไปง่าย แม้ชีวิตท่านก็สละแล้ว
หลวงปู่ ได้อาศัยเรือข้ามจากท่าเดื่อ มาขึ้นที่หนองคายฝั่งไทย เดินขึ้นเหนือไปตามลำน้ำโขง ไปถึงอำเภอศรีเชียงใหม่(จังหวัดหนองคาย) ไปพีกอบรมตนอยู่ที่ พระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง
ที่พระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง นั้นเอง หลวงปแหวน ก็ได้พบกับ หลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ อย่างไม่ีคิดไม่ฝัน ทำให้ท่านดีใจมาก ความมั่นใจว่าจะสามารถครองผ้าเหลือง ไปจนตาย ดูมีความเป็นจริงขึ้นมา
ในช่วงนั้น หลวงปุ่มั่น ท่านได้ปลีกตัว ออกจากหมู่คณะ มาภาวนา อยู่บริเวณนั้นอยู่ตามลำพัง องค์เดียว
จากบันทึกในส่วนของหลวงปุ่แหวน บอกไว้ว่า
" เมื่อได้พบกับอาจารย์อีก จึงดีใจมาก การพักอบรมตนอยู่กับหลวงปุ่มั่น ก่อนเ้ข้าพรรษา ทำให้จิตใจค่อยสงบตัวลง ไม่ฟุ้งซ่าน เหมือนก่อน แต่ภาพผู้หญิงงานนั้น ยังปรากฎขึ้นเป็นครั้ง คราว แต่เมื่อเร่งภาวนเข้า ภาพนั้นก็สงบลง "
|
|
|
๗๐. เรื่องคูบารมีในอดีตชาติ
ต้องกราบ ขออภัยท่านผู้อ่าน เนื้อหาที่นำมาแทรกในตอนนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเอง (ปฐม นิคมานนท์) ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใด วอนท่านผู้รู้กรุณาช่วยชี้แนะด้วยครับ
เรื่องเนื้อคู่ของคนเรา ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องเจ้ากรรมนายเวรของเรา นั่นเอง บรรดาบุตร ภรรยา สามี ญาคิพี่น้อง ล้วนแต่เป็นเจ้ากรรมนายเวร ที่ใกล้ชิดที่สุด ซึ่งผูกพันกันมาแต่อดีตชาติ บางกรณี ก็หลายภพหลายชาติ
ที่ว่า เจ้ากรรมนายเวร ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเรื่องไม่ดีเท่านั้น มีทั้งเรื่องดีและไม่ดี ถ้าเราเคย ทำดีต่อกันมา เจ้ากรรมนายเวร นั้นก็คอยอุปถัมภ์เกื้อกูลกัน ตรงกันข้าม ถ้าเคยก่อเรื่องไม่ดีต่อกัน เจ้ากรรมนายเวร ก็ตามคิดบัญชีกรรมกับเรา
เจ้า กรรมนายเวร ก็คือ คู่กรณี และกรรม ก็คือ การกระทำ ไม่ว่่าทำดี หรือไม่ดี ก็ย่อมต้องมีผู้ ได้รับผลกระทบ ทั้งโดยตรงและทางอ้อม ก็คือมี คู่กรณี หรือ มีเจ้ากรรมนายเวร นั่นเอง
ระบบกรรม จึงเป็นระบบที่ส่งผลต่อเนื่องกัน ไม่รู้จักจบสิ้น เว้นไว้แต่อโหสิกรรม ใช้หนี้เวร กรรมหมด หรือไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด คือ บรรลุพระอรหันต์ เวรกรรมนั้นจึงจะจบสิ้นลง
อันนี้ อธิบายให้เข้าใจยาก ต้องพิจารณาดูเองจึงจะแจ่มชัด
จาก การศึกษาประวัติครูบาอาจารย์ ล้วนแต่มีประสพการณ์เีคยพบ " เนื้อคู่ " ในอคีตทั้งนั้น ถ้าใจไม่แข็งพอ หรือไม่มีอุบาย ก็ต้องสึกหาลาเพศ ออกไปครองเรือน และก่อเวรต่อเนื่องกันไปอีก
ตัวอย่างเ่ช่น หลวงปุ่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมภรณ์ จังหวัดสกลนคร ท่านต้องภาวนา อย่าง เอาจริงเอาจังติดต่อกันถึง ๗ วัน จึงตัดขาดได้
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ท่านก็เจอคู่บารมีในอดีต เมื่อครั้งอยู่วัด ปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพๆ ต้องพิจารณาจนเห็นปัญหา ที่จะต้องเผชิญในอนาคตอย่าง ชัดเจน จึงตัดใจได้
หลวง พ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา เมื่อครั้งท่านเป็นเณรใหญ่ อยู่ที่วัดปทุมวนา ราม กรุงเทพๆ เวลานั่งสมาธิ ก็เห็นแต่ใบหน้าของหญิงสาว เวลาบริกรรม ว่า พูทโธ ก็กลายเป็น ว่าชื่อผู้หญิงแทน ท่านจึงตัดสินใจ ใช้ชื่อผู้หญิงเป็นคำบริกรรมแทนคำว่า พุทโธ ก็ทำให้จิตสงบ เกิดสมาธิ ได้เหมือนกัน หลวงพ่อ จึงได้หลักว่า การภาวนา จะใช้คำบริกรรมอะไรก็ได้ เป็นอุบาย หาสิ่งให้ใจมันยึดเกาะ พอจิตสงบ คำบริกรรมนั้นไ ก็หายไป
ตัวอย่าง จาก หลวงปุ่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี เวลาภาวนา จิตท่านวิตกเกี่ยวกับ เรื่องกาม ท่านก็แก้ได้โดยยกอวัยวะเพศ ของผู้หญิงขึ้นมาพิจารณา ในสมาธิ พิจารณาให้เห็น ธรรมชาติอย่าง่ชัดเจน จึงสามารถ ตัดขาดได้ คือตัดได้ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทัน
มีตัวอย่างจากครูบาอาจารย์ องค์อื่นๆ ให้เห็นอีกมากมาย เราสามารถยกขึ้นมาพิจารณา เป็นอุทธาหรณ์สอนใจได้เป็นอย่างดี
ครูบาอาจารย์ บางท่าน จะมีสุภาพสตรี มายุ่งเกี่ยว มาจัดการต่างๆในวัด ดูไม่เป็นที่สบอัธยาศัย ของพระเณร และญาติโยมคนอื่นๆ แต่ครูอาจารย์ท่าน ก็ทนได้ ตราบที่ไม่เป็นการล่วงวินัย เช่นนี้ ก็มี
ครูบาอาจารย์บางองค์ บางท่าน ต้องพังไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเอาเรื่องอดีตชาติมาพัวพัน ตัดไม่ขาด เช่น มีมเหสีเอก มเหสีรองๆ ตามมา คอยรับใช้ปรนนิบัติ และตามกีดกันหึงหวง อย่าง นี้ก็มี
ตัวอย่าง ต่างๆ เหล่านี้ ถ้านำมาพิจารณา ก็สามารถใช้เป็นอุปกรณ์เตือนใจตนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพระเณรผู้มุ่งหวัง ผลในทางธรรม อย่างจริงจัง ต้องสังวรณ์ เรื่องดังกล่าว ให้มากเป็น พิเศษ
ส่วนฆราวาสครองเรือน เช่นตัวผมเอง ก็ต้องพิจารณาไปตามสภาพการณ์ ก็เป็นเรื่องของกรรม เวร แต่ละท่าน
ก็กราบขออภัยท่านผู้อ่านอีกครั้ง
และขอเชิญติดตามต่อไปว่า หลวงปู่แหวน ท่านมีอุบายในการตัดเรื่องนี้ออกไปได้อย่างไร
|
|
|
๗๑. ยิ่งเร่งความเพียร
กิเลสก็ยิ่งเอาจริง
หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ได้ใช้ความพยายามตัดความคิดนึกเรื่องผู้หญิง ออกจากใจ ดังต่อไปนี้
หลัง จากเข้าพรรษาแล้ว ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างเต็มที่ การเร่งความเพียร ในระยะแรก จิตก็ยังไม่มีอะไรวุ่นวาย คงสงบตัวได้ง่ายมีอุบายทางปัญญา พอสมควร
เมื่อเราเร่งความเพียรหนักเข้่า เอาจริงเอาจังเข้า กิเลสมันก็เอาจริง เอาจังกับเราเหมือนกัน คือแทนที่จิตจะดำเนินไปตามที่เราต้องการ กลับพลิกกลับไปหานางงามที่บ้านนาสอง ฝั่งแม่น้ำงึม นั้นอีก
ที แรกเราได้พยายามปราบด้วยอุบายต่างๆ แต่ไม่สำเร็จ ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไผ ไปใส่ ยิ่งกำเริบหนักเข้าไปอีก เผลอไม่ได้ เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที
บางครั้งมันก็หนีออกไปซึ่งๆหน้า คือขณะคิดอุบายการพิจารณา อยู่นั่นเอง มันก็วิ่งออกไปหา ผู้หญิงนั้นเอาซึ่งๆหน้ากันทีเดียว
|
|
|
๗๒.ใช้อุบายทรมานตน
ก็ยังไม่เป็นผล
หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ต้องเปลี่ยนมาใช้อุบายการทรมานตนดังนี้ :-
อุบายการปฏิบัติวิธีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการทรมานจิตใจครั้งนั้นเช่น เว้นการนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง ยืน เดิน
ทำอยู่เช่นนั้น อยู่หลายวันหลายคืน คอยจับดูจิตว่ามันคลายความรักในหญิงนั้นแล้วหรือยัง
ปรากฎว่า ไม่ได้ผล จิตยังคงวิ่งออกไปหาหญิงงามอยู่เช่นเคย เผลอสติไม่ได้
ต่อมาเพิ่ม ไม่นั่งไม่นอน มีแต่ยืนกับเดิน ทำความเพียรอยู่อย่างนี้จิตมันก็ไม่ยอม มันคงไป ตามเรื่องตามราวของมันเช่นเคย
สรุป ว่า หลวงปู่ทรมานตัวด้วย งดเว้นการนั่ง กับนอน ไม่ยอมให้ส่วนกัน และส่วนหลังแตะ พื้น ยังคงเหลือแค่อิริยาบถสอง คือ ยืนดับเดิน แต่ก็ยังไม่สามารถทรมานจิตให้เชื่องลงได้
แล้วหลวงปู่ ก็ทดลองหาอุบายใหม่
|
|
|
๗๓. งดเ้ว้นอาหาร
และพิจารณากาย
หลวงปุ่ได้เปลี่ยนวิธีใหม่ดังนี้
คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่ เปลี่ยนเป็นอดอาหาร ไม่ฉันอาหารเลย เว้นไว้แต่น้ำ
อุบายการพิจารณา ก็เปลี่ยนใหม่
คราว นี้เพ่งเอากายของหญิงนั้นเป็นเป้าหมาย ในการพิจารณา กายคตาสติ โดยแยกยกขึ้น พิจารณาทีละอย่างๆ ในอาการ ๓๒ ขึ้น โดยอนุโลม ปฏิโลม ( พิจารณาทบทวน กลับไปกลับมา)
พิจารณา เทียบเข้ามาหากายของตน พิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า อวัยวะอย่างนั้นๆ ของตนก็มี ทำไมจะต้องไปรัก ไปหลง ไปคิดถึง
เพ่งพิจารณาทีละส่วนๆ พิจารณาอยู่อย่างนั้นทั้งกลางวันกลางคืน ทุกอิรยาบถ ( ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน)
การพิจารณาจนละเอียด อย่างไร ขึ้นอยู่กับอุบายความแยบคายของปัญญา ที่เกิดขึ้นแตละ ช่วงขณะ
ตอนหนึ่ง การพิจารณามาถึง หนัง
ได้ความว่า คนเราหลงกันอยู่ที่ หนัง หนังเป็นเครื่องปกปิดสิ่งที่ไม่น่าดูเอาไว้ ถ้าถลกหนังออก อวัยวะทุกส่วนก็หาวส่วนที่น่าดุไม่ได้เลย
เพ่งพินิจอยู่ จนเห็นถึงความเน่าเปื่อย ผุพัง สลายไปไม่มีส่วนไหนที่จะถือได้ว่า เป็นของมั่นคง
เมื่อ พิจารณามาถึง มูตร ( ปัสสาวะ) และกรีสะ(อุจจาระ หรือคูถ) ของหญิงนั้น ตั้งคำถามขึ้น ว่า หญิงนั้นงามน่ารัก มูตรและกรีสะ ของหญิงนี้กินได้ไหม
จิตตอบว่า ไม่ได้
จึงถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้ อันไหนที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี
เมื่อพิจารณามาถึงอาการทั้งสอง ยกเป็นอุบายขึ้นถามจิตเช่นนั้น จิตเมื่อถูกปัญญาฟอกหนัก เข้าเช่นนั้น ก็จนด้วยเหตุผบของปัญญา ยอมอ่อนตัวลง จนด้วยความจริงและอุบายของปัญญา
ใน ขณะนั้น จิตซึ่งเคยโลดโผน โลดแล่นไปอย่างไม่มีจุดหมายมาก่อน พลันก็กลับยอมรับ ตามความเป็นจริง ยอมตัวอย่างนักโทษผุ้สำนึกผิด ยอมสารภาพ ถึงการกระทำ ของตนแต่โดยดี
|
|
|
๗๔. การทดสอบ
เืพื่อความแน่ใจ
หลวงปู่ เล่าถึงผลการแก้ไขจิตในตอนนั้น ต่อไปว่า :-
นับแต่วินาทีที่การพิจารณาได้ยุติลง จิตยอมตามเหตุผลของปัญญาแล้ว
เพื่อเป็นการทดสอบว่า จิตยอมแล้ว ได้ส่งจิตออกไปหาหญิงนั้น อีกหลายครั้ง จิตยังคงสงบ ตัว ไม่ยอมออกไป
ความกำเริบ ความทรนงตัว ความโลดโผนของจิต จึงถึงความสงบลง ตั้งแต่บัดนั้นมา ไม่กำ เริบอีกต่อไป
จิตยีังคงทรงอยู่ เห็นตามสภาพความเป็นจริงของะรรมอยู่ทุกเมื่อ
การอดอาหาร และอุบายทำความเพียรของหลวงปู่ ในครั้งนั้นจึงได้ผลตามความมุ่งหมาย สามารถปราบปรามทรมานจิต ให้หายพยศได้
ความมั่นใจต่อธรรม และความมั่นใจที่จะบวชตลอดชีวิต มีความมั่นคง ไม่โยกเยกคลอน แคลนอีกต่อไป
|
|
|
๗๕. จำพรรษา
ที่พระบาทบัวบก
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เคยไปจำพรรษาอยู่ที่พระบาทบัวบก อยุ่ในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัด อุดรธานี
ในสมัยที่ หลวงปู่แหวน ไปจำพรรษาอยู่นั้น ยังเป็นป่าไม่มีวัด
ได้เคยมีพระจากวัดบ้าน พยายามไปอยู่หลายครั้ง แต่อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีความกล้าหาญพอ
การอยู่จำพรรษา ที่พระบาทบัวบกปีนั้น มีพระอยู่ ๓ รูป กับตาผ้าขาว ๑ คน พระก็มี พระอาจารย์บุญ พระอาจารย์คำ และหลวงปุ่แหวน ท่านพระอาจารย์บุญเป็นหัวหน้าคณะ
เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์บุญ ได้พาไปพักอยุ่อีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า พระบาทหอนาง หรืออีกชื่อเรียกว่า พระบาทนางอุษา อยู่คนละฟากเขากันกับพระบาทบัวบก เป็นป่าดงดิบ เหมือนกัน บรรยากาศ เงียบสงัดวังเวง
|
|
|
๗๖. จำพรรษากับหลวงปู่มั่น
ที่นาหมีนายูง
หลวงปู่แหวน เคยจำพรรษาอยู่กับหลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต ในป่าที่เรียกว่า นาหมีนายูง ในเขต อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
บริเวณนาหมีนายูงนี้ เป็นป่ารกชัฎ ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่า ไข้ป่า พื้นที่เป็นที่ราบอยุ่ติดภูเขา เลียบเลาะไปตามลำน้ำโขง
ความ จริงแล้วพื้นที่นี้เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปจบจอง เพราะหวาด กลัวความเจ็บไข้ และกลัวอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันตรายจากสิ่งลึกลับที่ไม่เห็นตัว
ตามความเชื่อถือของ ชาวบ้าน ซึ่งเชื่อถือสืบต่อกันมานานว่า ถ้าใครขืนเข้าไปตัดไม้ในป่า บริเวณนั้น จะต้องถูกผีป่าทำอันตรายเอา ทำให้เป็นไปต่างๆ บางรายถึงกับตายก็มี ดังนั้น ชาวบ้าน จึงไม่กล้าเข้าไปในบริเวณนั้น
ในพรรษานั้น หลวงปุ่แหวน ได้ร่วมจำพรรษา อยุ่กับ หลวงปู่มั่น โดยมีตาผ้าขาวคอยอุปัฎฐาก อยู่ด้วย ๑ คน
การปรารภความเพียรในพรรษนั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ เพราะมีครูอาจารย์ คือ หลวงปุ่มั่น คอย ควบคุมแนะนำ และให้อุบายจิตภาวนา โดยใกล้ชิด
|
|
|
๗๗. เปรตที่นาหมีนายูง
ระหว่าง อยู่ที่นาหมีนายูง วันหนึ่ง พระอาจารย์ใหญ่ พูดว่า ที่ถ้ำใกล้ฝั่งโขง นั้นมีเจ้าของเขา อยู่ จึงบอกหลวงปู่แหวน ให้ไปลองพูดกับเขาดู เผื่อจะเป็นบุญ เคยช่วยหลือกันมา
หลวงปุ่แหวน จึงได้พักบริเวณใกล้ถ้ำนั้น สองคืนผ่านไป ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากเสียง สัตว์ป่าที่ออกหาหินเวลากลางคืน
พอ คืนที่สาม ขณะนีั่งภาวนาอยู่ ก็มีร่างกำยำใหญ่โตมายืนนอกถ้ำ ท่านเพ่งแผ่เมตตาไปให้ ร่างนั้นก็ยืนเฉยไม่แสดงกิริยาอาการรับรู้อะไรเลย อยุ่สักพักก็หายไป
วันต่อมาก็มาอีก เข้ามายืนสงบอยู่อย่างนั้น หลวงปู่ก็แผ่ิเมตตาเจาะจงให้เขาอย่างที่เคยทำ คราวนี้เขาแสดงความยินดี จึงกำหนดจิตถามเขาว่า เคยทำกรรมอะไรมา
ได้คำตอบว่า ตอนเป็นมนุษย์ เขาเป็นนักเลงไก่ชน เที่ยวตีไก่อย่างโชกโชน ตายแล้วจึงมาเป็น เปตรอยุ่บริเวณถ้ำนี้
หลวง ปู่ได้กำหนดจิตถามไปว่า ทำไมไม่สละถ้ำไปที่อื่น ได้ความว่า เขาหวงสถานที่ เพราะป่า บริเวณนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไปตัดต้นไม้ เพราะเขาสำแดงเดช ให้คนกลัวบ่อยๆ คนจึงเอาไก่ เอาหัวหมู เอาเหล้า มาเซ๋นไหว้ อยู่เนืองๆ เขามีอาหารจากการเซ่นไหว้นั้น จึงไม่ยอมไปจากที่นั้น
หลวง ปู่พยายามแผ่เมตตาชี้แนะ แต่เขาไม่ยอมหนี เป็นอันว่าหลวงปุ่แหวนไปทรมานเปตต เจ้าของถ้ำไม่สำเร็จ จึงได้กราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบ
ภายหลังหลวงปู่มั่น ท่านได้มาแผ่เมตตาให้เขา แล้วบอกให้เขาย้ายไปหาที่อยู่ใหม่ ปรากฎว่า คืนทีเขาเคลื่อนย้ายที่อยุ่นั้น เวลาดึกสงัด ขณะที่หลวงปู่มั่นนีั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้ เขาได้ย้าย ออกไป เกิดเสียงสะเทือนไปทั้งป่า
พอ รุ่งเช้า ชาวบ้านมาถามว่า เมื่อคืนได้ยินเสียงอะไรดังมาก หลวงปุ่มั่น ไม่ตอบ เพียงแต่ หัวเราะ แล้วพูดกับชาวบ้านว่า " ใครจะเอาไร่ เอานาก็เอาเสีย เจ้าของเขาย้ายที่ไปอยู่ที่อื่นแล้ว"
ต่อ มาไม่นาน พื้นที่บริเวณนั้น จึงกลายเป็นไร่นา ตั้งแต่นั้นมา ที่ใดประชาชน เข้าไปจับจอง ไม่ได้ เขาก็นิมนต์พระกรรมฐาน เข้าไปอยู่ก่อน แล้วพวกชาวบ้าน จึงตามเข้าไปบุกเบิกจับจอง เอาทีหลัง
เพราะที่ใดที่เจ้าของที่ดุร้าย เมื่อมีพระกรรมฐานเข้าไปแผ่เมตตา ให้แล้ว ประชาชน เข้าไป ทำไร่ทำนา ก็ไม่มีอันตรายต่อไป
|
|
|
๗๘. การเริ่มต้นพิจารณากาย
การ แนะนำให้ศิษย์ปฎิบัติภาวนานั้น หลวงปุ่มัี่น ท่านย้ำเสมอว่า " จะใช้บทพุทโธ เป็นบท บริกรรม สำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว ให้วางบท นริกรรมเสีย แล้วพิจารณา กาย ต่อไป ...."
ในการพิจารณากายนั้น หลวงปู่มั่น ท่านสอนดังนี้
ในการที่พิจารณากาย เริ่มแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถที่จะเพ่ง พิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ ๓๒
เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไปกลับมา หรือที่เรีัยกว่า โดยอนุโลม ปฏิโลม จนหาย สงสัยในจุดที่พิจารณาแล้ว จึงค่อยเปลี่่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป
อย่่าพิจารณา เป็นวงกว้าง ทั้งร่างกาย เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า
ถ้าพิจารณาพร้อมกันทีเดียวทั้งร่างกาย ความขัดเจนจะไม่ปรากฎ ต้องค่อยเป็นค่อยไป
เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว ถ้าเราเพ่งปีัญญาลงไป จุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจาก จุดอื่นๆ ก็จะปรากฎเป็นนัยเดียวกัน
เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ เมื่อพักอยู่ในความสงบพอ สมควรแล้ว ให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก
ให้เจริญอยู่่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฎิบัติ
เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว คำบริกรรม พุทโธ ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิต ก็จะสงบ เข้าสู่สมาธิได้ทันที
|
|
|
๗๙. อย่าส่งจิต
ออกนอกกาย
อุบายธรรมของหลวงปู่มั่น ในการปฏิบัติภาวนา มีต่อไป ดังนี้
ผู้ปฎิบัติจิตภาวนา ถ้าส่งจิตออกไปตามภายนอกจากร่างกายแล้ว เป็นอันผิดมรรคภาวนา
เพราะ บรรดาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองคืได้ทรงสั่งสอนประกาศพระ ศาสนาอยู่ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น แนวการปฎิบัติไม่พ้นจากกาย
ดัง นั้นกายจึงเป็นสนามรบ กายจึงเป็นยุทธภูมิที่ปัญญาจะต้องค้น เพื่อทำลายกิเลสและกองทุกข์ ซึ่งจิตจของเราทำเป็นธนาคารเ็ก็บสะสมไว้ภายใน หอบไว้ หาบไว้ หวงไว้ จนนับภพนับชาติไม่ได้
สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าชนิดใดในสังสารวัฎนี้ ล้วนแต่ติดอยุ่กับกายนี้ทั้งสิ้น
ทำ บุญทำบาปก็เพราะกายอันนี้ มีความรัก มีความชัง มีความหวง มีความแหน ก็เพราะกาย อันนี้ เราสร้างทรัพย์สมบัติขึ้นมาก็เพราะกายอันนี้ เราประพฤติผิดศีล ประพฤติผิดธรรม ก็เพราะ กายอันนี้
ใน การบวชพระ พระอุปัชฌาย์ ที่จะให้ผ้ากาสายะแก่กุลบุตร ผู้เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบท ก็ สอนให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งที่เห็นได้โดยง่าย
|
|
|
๘๐. กายเป็นทั้งเหตุ
เป็นทั้งผล
เหตุที่ต้องพิจารณากายในการปฎิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านสอนต่อไปว่า :-
กายนี้จึงเป็นทั้งเหตุและเป็นผลทั้งหมด มรรคผลจะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้จากกายนี้แหละ กายนี้ เป็นเหตุ กายนี้เ็ป็นผล เอากายนี้แหละเป็นมรรค เครื่องดำเนินของจิต
เหมือน กบแพทย์ทั้งหลาย จะรักษาเยียวยาคนป่วยได้ ต้องเรียนร่างกายนี้ให้เข้าใจถึงกลไก ทุกส่วน จึงจะสามารถรักษาคนไข้ได้ ไม่ว่าทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน วงการแพทย์จะทิ้งร่าง กายไม่ได้ ถ้าวิชาแพทย์ทิ้งการศึกษาระบบกลไกของร่างกายเสียแล้ว ก็เป็นอันศึกษาผิดวิชาการ แพทย์ ทางสรีรวิทยา
นักปฎิบัติธรรม ถ้าจะทิ้งการพิจารณาร่างกายเสียแล้ว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องดำเนินมรรค ปัญญา
ร่าง กายที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เป็นรูป และส่วนที่เป็นนาม ถ้าผู้ปฎิบัติไม่พิจารณาให้เห็นแจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบแล้ว คำว่า นิพพิทา วิราคะ นั้น จะเป็น เบื่อหน่าย คลายกำหนัด อะไร
นิโรธ ซึ่งเป็นตัวปัญญา จะไปดับทุกข์ที่ไหน เพราะเราไม่เห็นทุกข์ที่ดับของทุกข์ก็ไม่รู้ ไม่เห็น
พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ พระองค์ต้องพิจารณากายนี้เป็นเครื่องดำเนินมรรค ปัญญา เพราะในอุทานธรรม บทว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นนั้น พระองค์ได้ประจักษ์อย่างแน่นอน ว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป
พระองค์ หักกงกรรม คืออวิชชา เสีย ความเกิดของพระองค์จึงไม่มีต่อไป กงกรรมคืออวิชชา มันอยู่ที่ไหน ถ้ามันอยู่ในจิตของเรา จิตของเรามันอยู่ที่ไหน
จิตมันก็คือหนึ่งในห้าของปัญจขันธ์ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของนามนั่นเอง
ผู้ปฏิบัติต้องใคร่ครวญพิจารณาอย่างนี้ จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินตามมรรคภาวนา ไม่มีอารมณ์ อย่างอื่นนอกจากกายนี้ ที่จะดำเนินมรรคภาวนา ให้เกิดปัญญาขึ้นได้
|
|
|
หลวงปุ่มั่นไ่ม่ค่อยอธิบาย
ธรรมะให้พิสดาร
หลวงปู่แหวน เล่าถึงการสอนธรรมะของหลวงปู่มั่น ดังนี้ :-
หลวงปู่มั่น นั้นเวลาแนะนำสั่งสอนศิษย์ ท่่านไม่ค่อยอธิบายธรรมะให้พิสดารนัก
หลวงปู่มั่น ท่านให้เหตุผลว่า ถ้าอธิบายไปมาก ผู้ปฎิบัติัมักไปติดคำพูด กลายเป็นสัญญา
ต้องปฎิบัติให้รู้ ให้เกิดแก่จิตใจของตนเอง จึงจะรู้ได้ว่า คำว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร คำว่าสุข นั้นเป็นอย่างไร คำว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะ นั้นมีความหมายเป็นอย่างไร
สมาธิอย่างหยาบเป็นอย่างไร สมาธิอย่างละเอียดเป็นอย่างไร ปัญญาที่เกิดจากสัญญาเป็น อย่างไร ปัญญาที่เกิดจากการภาวนาเป็นอย่างไร
เหล่านี้ผู้ปฎิบัติต้องทำให้เกิด ให้มีขึ้นในตน จึงจะรู้
ถ้ามัวถือเอาแต่คำอธิบายของครูอาจารย์แล้ว จิตก็จะคิดอยู่ในสัญญา ไม่ก้าวหน้า ในการภาวนา
เพราะ เหตุนั้น หลวงปุ่มั่น จึงไม่อธิบายให้พิสดารมากมาย ท่านเพียงแนะให้รู้ทาง แล้วต้อง ทำเอง เมื่อเำิกิดความขัดข้องจึงมารับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง
การปฎิบัติเช่นนี้ เป็นผลดี แก่ศิษย์ผู้มุ่งปฎิบัติเพื่ออรรถ เพื่อธรรมอย่างแท้จริง
|
|
|
๘๒. หลวงปู่มั่น
ท่านทำตนให้เป็นตัวอย่าง
ใน การบำเพ็ญสมาธิภาวนา ของหลวงปู่แหวน เพื่อครั้งจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่นาหมี นายูงในปีนั้น ท่านจึงได้เร่งควมเพียรอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับความเยือกเย็นทางด้านจิตใจมาก เป็นพิเศษ
ทั้ง นี้เพราะ ความเพียร เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลวงปู่มั่น เป็นตัวอย่างในการเร่งทำความ เพียร ไม่ว่่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถใดๆ ต้องอยู่ด้วยภาวนาทั้งสิ้น
เกี่ยวกับเรื่องภาวนานี้ หลวงปู่มั่น ท่านย้ำเตือนเสมอไม่ให้ศิษย์ประมาท โดยละความเพียร
หลวง ปู่แหวน ย้ำว่า " เราอยู่ร่วมกับท่าน ต้องเอาองค์ท่านเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะทำไม่ได้อย่าง ท่าน แต่ก็เป็นศิษย์ที่มีครู มีแบบแผน มีแบบอย่าง มีตัวอย่างในทางดำเนิน"
|
|
|
๘๓. ต้องการเข้ากราบ
ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ
ท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทน์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาสวิหาร กรุงเทพ มหานคร เป็นพระมหาเถระที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ให้ความเคารพเป็นอย่างมาก และถือเป็นครู บาอาจารย์ที่ให้ความรู้ทางด้านปริยัติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปฎิบัติภาวนา เป็นอย่างดี
ท่า่นเจ้าคุณ พระอุบาลีๆ ได้พูดถึงหลวงปุ่มั่น คราวเดินทางไปภาคเหนือ และพำนักด้วยกัน ที่วัดเจดีย์หลวง ในเมืองเชียงใหม่ว่า
" พระอย่างท่านมั่น เป็นพระที่หาได้ยากยิ่ง ท่านเป็นพระที่ปฎิบัติจริง และรู้ธรรมตามที่พระ พุทธเจ้าสอนไว้จริงๆ อาตมา แม้จะเป็นผู้ใหญ่กว่าท่่าน แต่ก็เคารพเลื่อมใสธรรมของท่าน อยู่ภายใน
ท่่านมั่นเอง มีความอ่อนน้อม ถ่อมตนต่ออาตมามาก จนละอายท่านในบางครั้ง ท่านไม่เคย แสดงอากัปกิริยากระด้าง วางตัวเย่อหยิ่งแต่อย่างใดให้เห็นเลย นอกจากวางตัวแบบผ้าขี้ริ้ว ซึ่งเห็นแล้ว อดเลื่อมใสอย่างจับใจไม่ได้ทุกๆครั้งๆไปเท่านั้น"
ที่ กล่าวมาเป็นความสัมพันธ์ และเคารพในคุณธรรมซึ่งกันและกัน ระหว่างท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ที นี้มาว่า ถึงเหตุที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ต้องการเข้าพบท่านเจ้าคุณพระุุอุบาลีๆ นั้น ก็เนื่องด้วยกิตติศัทพ์ทางด้านการเทศน์และการปฏิบัติธรรม ของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ได้ขจรขจายไปทั่วในมณฑลภาคอิสาน ในสมัยนั้น ทั้งพระภิกษุสามเณร อละคฤหัสถ์ผู้ใคร่ต่อ ธรรมปฎิบัติ ต่างก็กระหายที่จะได้ฟังธรรมอบรมจากท่าน
ด้วยเหตุั้ นั้น หลวงปู่แหวน จึงได้ตัดสินใจเดินทางจากอุดรธานี เข้ากรุงเทพๆ เพื่อกราบมนัส การท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ซึ่งพักนักที่วัดบรมนิวาส
|
|
|
๘๔. เดินทางเข้ากรุงเทพๆครั้งแรก
ครั้งนั้นอยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพๆ นับเป็น คร้ืิงแรกในชีวิตของท่าน
หลวงปู่ เดินทางจากจังหวัดอุดรธานี มายังจังหวัดนครราชสีมาด้วยเท้า ผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่ มาโดยลำดับ
ในสมัยนั้นประชาชน ส่วนมาก ยังสับสนระหว่างการนับถือผี กับกานนับถือ พระไตรสรณาคมน ์
ทุก หมู่บ้าน หลวงปู่ไปพบ จะมีศาลเทพารักษ์ ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า ศาลปู่ตา ประจำอยู่เป็นส่วนมาก ในปีหนึ่งๆ จะต้องมีการเซ่นไหว้ ประจำปีกันครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำเป็น งานใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีการกราบไหว้ เฉพาะรายอีก เป็นต้นว่า ถ้ามีใครเจ็บป่วย หรือวัวควายหาย หรือล้มตาย ชาวบ้านก็จะไปบวงสรวงเซ่นไหว้ ศาลปุ่ตากัน
ศาลปู่ตา มักตั้งอยู่ชายป่า ใกล้หมู่บ้าน ชาวบ้านต่างก็กลัวเกรง ไม่กล้าเข้าไปในป่าแถวนั้น กล้ัวผีปู่ตา เล่นงาน
หลวงปุ่แหวน เช่นเดียวกับพระธุดงค์ทั้งหลาย ชอบไปอาศัยพักปักกลดตามดงปู่ตา นั่นเอง หลวงปู่บอกว่า เป็นการดีอย่างหนึ่ง เวลาเข้าไปพักอยู่ในดงเช่นนั้น ผู้คนก็ไม่มารบกวน จิงสบายใจ ในอิริยาบถ เวลาภาวนาก็สงบดี
ข้อดีอีกอย่างก็คือ เมื่อพวกชาวบ้านเห้น่า พระเข้าไปอยู่ในดงปุ่ตาโดยไม่มีอันตรายใดๆ พวก เขาก็อัศจรรย์และเลื่อมใส จึังเป็นโอกาสที่พระจะได้แนะนำ ให้เขารู้จักไตรสรณคมน์ และรู้จัก รักษาศีลต่อไป
แต่ บางแห่ง เมื่อหลวงปุ่ เข้าไปพักในดงปุ่ตา พวกชาวบ้านไม่พอใจที่จะให้พัก ก็มีพวกชาว บ้านเขากลัวว่า เมื่อพระเจ้าไปพัก พวกผีจะออกมาทำอันตรายแก่ชาวบ้านได้
ในที่เช่นนั้น หลวงปู่ จะต้องชี้แจงให้ชาวบ้านเช้าใจเหตุผล รวมทั้งหาทางพิสูจน์ ให้เห็นว่า ภูติผีปีศาจ ไม่อาจทำอะไรได้ ถ้าเรายึดมั่น ในพระรัตนตรัย
หลวง ปู่ บอกว่า ในหมู่บ้านต่างๆ ส่วนมาก มีวัดตั้งอยู่ แต่พระคงไม่ได้สอนให้ชาวบ้าน มี ความเข้าใจที่ถูกต้อง มิหนำซ้ำพระสงฆ์บางที่ยังทำการนับถือเซ่นสรวงภูิตผีปีศาจ ก็มี พระในท้อง ถิ่น จัึงไม่สามารถเป็นที่พึ่งในทางจิตวิญญาณ ให้แก่ชาวบ้านได้
เมื่อพระในท้องถิ่น ไม่ได้สอนชาวบ้าน พวกเขาจึงนับถือผีอย่างเอาจริงเอาจังไปด้วย
|
|
|
๘๕. ถึงนครราชสีมา
บิณฑบาตไม่พอฉัน
เมื่อ หลวงปุ่แหวน เดินทางเข้าเขตจังหวัดนครราชสีมา ก็ประสบกับปัญหาการบิณฑบาต กล่าวคือ บางแห่งเวลาไปบิณฑบาต ได้เพียงข้าวเปล่าก็มี ได้ข้าวกับพริกก็มี ได้ข้าวกับมะเขือก็มี
หลวงปู่ เล่าว่า " เมื่อได้มาอย่างไร ก็ฉันไปอย่างนั้น ฉันไปตามมีตามได้"
เพราะการเลี้ยงชีวติของพระเราเนื่องด้วยผู้อื่น จึงต้องทำตัวให้เป็นผุ้เลี้้ยงง่าย ไม่ควรทำตัว ให้มัวเมามักมาก ในอาหารจนเกินเลย จะทำให้เกิดความลำบากแก่ตนเอง
ส่วนมากชาวบ้านเขามี เขาบริโภคกันอย่างไร เขาก็จะใส่บาต มาอย่างนั้น
พระ ผู้้เป็น ทักขิไณยบุคคล จึงไม่ควรเป็น ปฎิสังขาโย ในเวลาบริโภคอาหาร หรือปัจจัยสี่ที่ ทายกเขาถวายมาด้วยศรัทธา ไม่เช่นนั้น อาจจะทำศรัทธาให้เสื่อม ตนเองก็จะประสบกับความ ยุ่งยาก เดือดร้อน เพราะปัจจัยสี่หาไม่ได้ ตามต้องการ หรือถูกอัธยาศัย
ซึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ตามความประสงค์ของนักบวชเรา ผู้ดำรงชีวิตด้วยความเป็นอยู่อย่าง ง่าย ที่พระสัมมาสัมพูทธเจ้าก็ดี พระอริยสาวกทั้งหลายก็ดี ท่านได้ดำเนินมาเป็นตัวอย่าง แล้วใน อดีตกาล "
|
|
|
๘๖. เข้ากราบท่านเจ้าคุณพระอุบาลี
เมื่อ หลวงปู่ เดินทางเข้าไปถึงตัวจังหวัดนครราชสีมาแล้ว ท่านได้โดยสารรถไฟ เข้ากรุงเทพๆ (สมัยนั้นทางรถไฟ สายอิสานเพิ่งมีไปถึงจังหวัดนครราชสีมา เท่านั้น)
เมื่อหลวงปู่ เข้าไปกราบท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และท่านเจ้าคุณๆ ทราบว่า หลวงปู่เ็ป็นศิษย์ ของหลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเจ้าคุณๆ ก็ยินดี ให้การต้อนรับด้วยความเตตายิ่ง
ท่านเจ้าคุณพระอุบาลี ถามถึง หลวงปู่มั่นว่า ปัจจุบันนี้อยู่ที่ไหน และเป็นอย่างไร เพราะท่าน ไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน
หลวงปุ่แหวน กราบเรียนให้ท่านเจ้าคุณๆทราบ เรื่องทุกอย่าง
เมื่อท่่านเจ้าคุณพระุอุบาลีๆ กล่าวปฏิสันถารพอสมควรแล้ว ท่านได้ให้หลวงปุ่ไปพักที่กุฎิ หลังหนึ่ง และหลวงปู่หาโอกาสเข้าไปกราบสนทนา กับท่า่นเจ้าคุณๆทุกวัน
เมื่อ ท่านเจ้าคุณๆว่างจากแขก หรือว่างจากธุระการงานของท่าน ท่านจะเล่าถึงความสัมพันธ์ เกี่่ยวข้องกับหลวงปู่มั่น ให้ฟัง พร้อมกับสรรเสริญความเด็ดเดี่ยว ในธรรมปฎิบัคิของหลวงปุ่มั่น
หลวง ปุ่แหวน ได้พักอยู่วัดบรมนิวาส หลายวัน จึงมีโอกาสได้ฟังธรรม จากท่านเจ้าคุณพระ อุบาลีๆ มีโอกาสได้กราบเรียนถามปัญหาาข้อสงสัย ในด้านธรรมปฎิบัติบ้าง ในทางด้านพระวินัย บ้าง
ท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีๆ ได้อธิบายข้อสงสัยของหลวงปู่ได้อย่างชัดเจนต ดูท่านมีความปราด เปรื่องสมกับกิตติศัพท์ ที่เล่าลือกันจริงๆ
บาง วัน โอกาสดี ท่า่นเจ้าคุณๆ จะเล่าถึงสภาพพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย บ้าง ในประเทศพม่าบ้าง ในเชียงตุงบ้าง ทำให้หลวงปู่ ได้รับรู้เรื่องแปลกๆ จากต่างแดน ที่ไม่เคยได้รู้ มาก่อนในชีวิต หลวงปู่ให้ความสนใจมาก
หลวง ปู่แหวน ได้กราบเรียนถาม ท่านเจ้าคุณๆ ถึงเส้นทางที่จะไปยังประเทศพม่าและเชียงตุง ซึ่งท่านเจ้าคุณ ได้เล่าอธิบายโดยละเอียด
จากเหตุการณ์ ที่ได้ยินได้ฟัง เรื่องราว ในต่างแดน ครั้งนี้เอง ที่ดลใจให้หลวงปุ่แหวน ได้จาริกไปประเทศอินเดีย พม่า เชียงตุง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ นั้นเอง รวมทั้งในปีต่อๆมาด้วย
จากที่ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง ว่า หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านธุดงค์คู่ไปต่าง แดนด้วยกันโดยตลอด ท่านไปหลายประเทศ จนกล่าวได้ว่า หลวงปุ่ทั้งสอง องค์ได้จาริกธุดงค์ทั้ง ในและนอกประเทศ ไปมากกว่า พระธุดงค์องค์ใดๆ เท่่าที่ทราบกัน
จาก การที่ลงมากรุงเทพๆ ของหลวงปู่ ในครั้งนั้นทำให้ท่านมีความสัมพันธ์กับท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นอย่างดีจนตลอดอาขุขัยของท่าน และหลวงปู่แหวน ให้ความเคารพ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ในฐานะเป็นพระอาจารย์อีกท่า่นหนึ่ง
|
|
|
๘๗. จาริกเข้าไปใน
ประเทศพม่า
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ นั้นเอง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ได้จาริกไปใน ประเทศพม่า เลยเข้าไปถึงประเทศอินเดีย
หลวงปู่แหวน ได้เล่าถึงการเดินทางว่า:-
หลวงปู่ทั้งสอง เดินทางออกจากประเทศไทยไปทางด่่านแม่สอด จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ไปขึ้นทางฝั่งพม่าทีด่านศุุลกากรพม่า
หลวงปู่ เช้าไปถามเจ้าหน้าที่พม่า ถึงการเดินทางเข้าประเทศ แต่พูดกันไม่เข้าใจ
เจ้าหน้าที่บอกว่า " เก๊กซะมะซิบู" ซึ่งหมายถึงว่า ไม่เป็นไร คือ เขายอมให้หลวงปู่ทั้งสอง เดินเข้าประเทศเขาได้
หลวง ปู่เดินทางผ่านป่าเขาไปถึงเมืองชื่อ ขลุกขลิก พักอยู่ ๑ คืน พอรุ่งเช้าออกบิณฑบาต ฉันเสร็จ ไปที่ท่าเรือ ได้โดยสารเรือไป มะละแหม่ง
เรือไปถึง มะละแหม่ง ประมาณ ๗,๐๐ น วันรุ่งขึ้น แล้ว หลวงปู่โดยสารเรือช้ามฟากไปขึ้น ทางเมาะตะมะ
ที่เมาะตะมะ มีดอยอยู่ลูกหนึ่ง เรียกว่า ดอยศรีกุตระ มีเจดีย์อยู่บนยอดดอย ประชาชนขึ้นไป นมัสการกันมากไม่ได้ขาด
เมื่อขึ้นไปบนยอดดอบ จะมองเห็นทิวทัศน์ เมืองเมาะตะมะ เกือบทั้งหมด
สำหรับเมือง มะละแหม่งนั้น เป็นเมืองท่าเรือ เช่นเดียวกับสมุทรปราการของเรา
หลวงปู่ ว่าอย่างนั้น
|
|
|
๘๘. การบิณฑบาตในพม่า
หลวงปู่เล่าถึงการบิณฑบาตในพม่าดาังต่อไปนี้
เมืองพม่า มีพระมาก แต่บิณฑบาตได้ไม่พอฉัน
การใส่บาตรในเมืองพม่านั้น ผู้ที่จะใส่บาตรไม่ได้ออกมาจากบ้าน มาใส่ตามถนนเหมือน บ้านเรา
ผู้ที่จะใส่บาตร เขาเตรียมอาหารใส่บาตร ไว้บนบ้าน พระต้องขึ้นไปรับบาตรกันบนบ้าน
ทีแรก หลวงปู่ไม่รู้ธรรมเนียม จึงบิณฑบาตไม่ได้ฉัน
วันต่อมา มีพระไทยใหญ่รูปหนึ่งสังเกตุเห็น จึงเข้ามาถามหลวงปู่ว่า " เจ้าปุ๊นได้สะปิซอม ไหม " หลวงปู่ตอบว่า ไม่ได้เลย
พระรูปนั้น จึงบอกว่า " ตามผมมา ผมจะพาไป"
หลวงปู่ จึงเดินตามพระไทยใหญ่รูปนั้นไป พอถึงบ้านที่จะใส่บาตร พระท่านก็พาขึ้นไปบน บ้าน จึงรู้ว่าเขาใส่บาตรกันอยู่บนบ้าน อาหารที่ใส่บาตร ก็ไม่มีอะไรมาก มีข้าว ๑ ช้อน กับแกงถั่ว ๑ ช้อน
เดินไปบิณฑบาต ๑๐ หลีังคาเรือน ก็ได้ข้าวยังไม่พอฉัน ต้องเดินไปไกล
บางวันเดินไปไกลมาก เมื่อหิวขึ้นมา และเห็นปลอดคน ก็หยุดฉันเสียก่อน แล้วจิงบิณฑบาต ต่ออีก
ส่วนน้ำดื่มนั้น ของเขามีมาก เขาทำก๊อกน้ำสาธรณะไว้ทั่วไปตามถนน ท่านก็ได้อาศัยน้ำจาก ก๊อกเหล่านั้น
หลวงปู่บอกว่า " การปฎิบัติธรรมอยู่เมืองพม่า ถ้าจะอยู่เอามรรคเอาผลกันแล้ว อยู่ไม่ได้ เพราะอาหารไม่พอ "
ที่ เมาะตะมะ หลวงปู่ได้พบพระเขมร รูปหนึ่ง ซึ่งมาอยู่พม่าหลายปี ท่านบอกกับหลวงปู่ว่า " บิณฑบาตที่นี่เต็มที เดินบิณฑบาตจนอ่อนใจ บางวันได้ข้าวไม่พอฉัน สู้เมืองไทยไม่ได้ บิณฑบาต มาฉั้นแล้วยังมีเหลือ ให้สัตว์เลี้ยงได้กินอิ่มอีกหลายตัว แต่ที่นี่จะทำอย่างนั้นไม่ได้ แม้จะเลี้ยงตนเอง ก็เกือบเอาตัวเองไม่รอด"
|
|
|
๘๙. พูดถึงพระพม่า
หลวงปู่พูดถึงพระพม่า ที่ท่่านพบเห็น่า :-
พระพม่า เวลาสนทนากัน มักพูดกันด้วย โลกุตรจิต โลกุตรมรรค โลกุตรผล ซึ่งจำเอาแผนที่ จากพระอภิธรรมนั่นเอง เอามาพูดจาสนทนากัน
เพราะ ในเมืองเขาจะสอนแผนที่กัน สอนอภิธรรมกัน ( คือสอนแต่เนื้อหา ซึ่งเป็นภาคปริยัติ)
ฉะนั้น เวลาพระเขาสนทนากัน จึงมักพูดแต่ธรรมะชั้นโลกุตระ ซึ่งก็เพี่ยงแต่จำตำรามาพูด เท่านั้น ส่วนจิตนั้นจะเป็นโลกุตระ หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หลวงปุ่บอกว่า " พระเหล่้านั้น เขาเรียนรู้แต่แผนที่ ไม่ได้สอนให้ไปศึกษาดูภูมิประเทศ เหมือนกับพระกรรมฐานเรา"
( อันนี้ผู้เขียนพูดเองว่า การพูดการสอนนั้น สามารถพูดถึงพระนิพพานได้อย่างไม่ติดขัด แต่การปฏิบัติจะำทำได้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
การศึกษาทางพระพุทธศาสนาจึงต้อง รู้ ทำ แล้ว เข้าถึง ด้วย ดังที่พระท่านว่า มีปริยัติ ปฎิบัติ และปฎิเวธ นั่นเอง )
|
|
|
๙๐. เดินทางเข้า
ประเทศอินเดีย
หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ พักอยู่ที่ดอยศรีกุตระ เมืองเมาะตะมะ พอสมควรแล้ว ก็ลงเรือ ข้ามฟาก กลับมาเมืองมะละแหม่ง
พักที่มะละแหม่ง ๓ วัน แล้วโดยสารเรือ ไป กัลกัตตา ประเทศอินเดีย ขึ้นรถไฟไปเมือง พาราณสี แล้วนมัสการสังเวชนียสถาน และปูชนียสถาน ที่สำคัญต่างๆ
จาก การบอกเล่าของ หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป บอกว่า หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ท่านเดินทางไป เนปาล อยู่ทางเหนือของอินเดีย และทางใต้นั้นท่านได้ลงเรือสำเภาข้ามไปที่เกาะ ศรีลังกาด้วย
หลวง ปู่บอกว่า การท่องเที่ยว อยู่อินเดีย นานไม่ได้ เพราะมีปัญหาาเนื่องด้วยอาหาร และการ บิณฑบาต จึงต้องเดินทางกลับมาจำพรรษาในเมืองไทย
|
|
|
๙๑. เดินทางกลับเมืองไทย
ใน การเดินทางกลับเมืองไทย หลวงปู่กลับมาตาทางเดิมคือ จากอินเดีย ท่านโดยสารเรือ จากัลกัตตา มาขึ้นที่มะละแหม่ง ของพม่า แล้วก็โดยสารเรืออีกต่อ มาขึ้นที่ ชลิกขลิก
ต่อจากนั้น ท่่านเดินเท้า กล้บประเทศไทย มาตามเส้นทางเดิม เมื่อถึงด่าน แล้วข้าม แม่น้ำเมย เข้ามายังฝั่งไทย ตรงด่านแม่สอด จังหวัดตาก
หลวงปู่ พักอยู่ที่แม่สอดพอมีกำลังแล้ว ก็เดินธุดงค์ภาวนาอยู่ในเขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก แต่ไม่ได้จำพรรษา
หลวงปู่เล่่าว่าชาวบ้านแถวนั้นเลี้ยงสุนักไว้ ดุมาก เมื่อท่านไปบิณฑบาต บางวันถูกสุนัข กัดเอา
เจ้าของเขาก็ไม่ไล่สุนัข เขาถือว่า สุนัขดุนั้นดี จะได้เฝ้าบ้านได้
ที่ จังหวัดตากนี้เอง หลวงปู่่ ถูกสุนัขกัดที่ขาทำให้แผบอักเสบเรื้อรัง หลวงปู่ต้องทรมานกับ แผลนี้อยู่นาน และเป็นแผลเป็นมาตลอดชีวิตท่าน
|
|
|
๙๒. จาริกไป
เชียงตุง เชียงรุ้ง
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ กับพระสหจรของท่าน คือ หลวงปุ่ตื้อ อจลธมฺโม เมื่อสมัยที่ยังเป็น พระหนุ่ม ท่่านชอบเที่ยวธุดงค์แสวงวิเวกไปตามที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เท่าที่ท่่าน มีโอกาสและสามารถจะไปได้ถึง
จึงกล่าวกันว่า หลวงปู่แหวน กับหลวงปุ่ตื้อ ท่องธุดงค์ไปมากที่สุด ในบรรดา พระธุดงค์ ทั้งหมด
ถ้ารวมเวลาที่หลวงปู่ทั้งสององค์ เดินธุดงค์ทั้งหมดก็ร่วม ๕๐ ปี ค่อนชีวิตบรรพชิตของท่าน
หลวงปุ่บอกว่า การเดินทางไกลสมัยก่อน ไม่ได้เป็นกังวลห่วงเรื่องรถเรื่องเรือ เพราะการ คมนาคมด้้วยยานพาหนะสมัยใหม่นั้นไม่มี
การไปมาได้สะดวกสบายมืออยู่ทางเดียวเท่านั้น คือเดินไปและวลากลับก็เดินกลับ
ครู บาอาจารย์บางท่านได้พูดในเชิงขบขันว่า การเดินทางของพระธุดงค์ในสมัยก่อน ใช้รถ อยู่ ๒ อย่าง คือ รถ " มอเตอร์ขา" กับรถยี่ห้อ " ออสตีน" เท่านั้น
หลังจากออกพรรษาแล้ว(ผู้เขียนประมาณว่าน่าจะเป็นปี พ.ศ.๒๔๖๕ ในปลายเดือนตุลาคม หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้จาริกธุดงค์ไป เชียงตุง เชียงรุ้ง
ท่านออกจากเขตไทย ทางด่าน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ข้ามเขตพม่า
ทางฝั่งพม่าสมัยนั้น มีประชาชนอาศัยอยุ่ไม่มากนัก
หลวงปู่ เดินไปตามทางล้อเกวียน ในบางแห่งก็ลัดไปตามป่าตามเขา
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ ที่หลวงปุ่ผ่านไป ล้วนแต่เป็นป่าเขา มีต้นไม้ลำต้นสูงใหญ่ปกคลุมอยุ่ ทั่วไป
หลวงปุ่ทั้งสอง พำนักปักกลดไปเรื่อยตามรายทาง จนไปถึงเมืองเชียงตุง
หลวงปุ่บอกว่า เมืองเชียงตุงตั้งอยู่ในหุบเขา มีภูเขาเป็นกำแพงธรรมชาติล้อมรอบ พลเมือง ส่วนมากเป็นชาวไทยใหญ่ มีพม่าอยู่บ้าง นอกนั้นเป็นชนพื้นเมืองเผ่าอื่นๆ
เชื้อสายเจ้านครเชียงตุง เลื่อมใสท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์มาก เชื้อพระวงค์ผู้ใหญ่ ยังปฎิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด
ด้าน การศาสนา พระภิกษุสามเณรช ก็มีการประพฤติปฎิบัติตามพระวินัยดี เพราะได้ท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีๆ ไปแนะนำสั่งสอนไว้ เมื่อสมัยที่ท่่านไปจำพรรษาอยู่เชียงตุง
พลเมืองเชียงตุงพูดได้สองภาษา คือภาษาไทยใหญ่กับภาษาพม่า
ประชาชนส่วนใหญ่ มีอัธยาศัยไมตรีดี ขอบการบุญกุศล ดูแลอุปถัมภ์พระภิกษุสามเณรดี
อากาศในฤดูหนาวค่อนข้างหนาวเย็น เพราะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในที่มีภูเขาล้อมรอบ
การไปเชียงตุงในครั้งนั้น หลวงปุ่ไม่ได้จำพรรษา
|
|
|
๙๓. จาริกไปแสนหวี
ฝีฝ่อ หนองแล
จาก เชียงตุง หลวงปุ่ได้จาริกขึ้นไปทางหนืออีกต่อไป ภูิมิประเทศเป็นป่าทึบ มีป่าโปร่งสลับ อยู่บ้าง มีธานน้ำและสัตว์ป่านานาชนิด ในเวลากลางคืน อากาศหนาวเย็นมาก
เมื่อพ้นจากเขตเชียงตุงขึ้นไปทางเหนือแล้ว ผู้คนจะเป็นพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ เผ่าที่มีความ เจริญมากกว่าเผ่าอื่นๆ ได้แก่ พวกจีนฮ่อ
หลวงปู่ ได้จาริกขึ้นไปถึงเมืองแสนหวี ฝีฝ่อ และ หนองแส เมืองเหล่านี้ เป็นที่อยู่ของพวก จีนฮ่อ
บางแถบที่หลวงปู่ผ่านไปไม่มีแม่น้ำโขง ไหลผ่าน พื้นที่เป็นที่ราบในหุบเขา
พอจวนจะเข้าพรรษา คือช่วงเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน จะมีฝนตกชุกมาก ไม่สะดวกที่ จะพำนักในแถบนั้น หลวงปุ่ทั้งสอง จึงได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย
|
|
|
๙๔. พูดถึงท่านเจ้าคุณ
พระอุบาลี
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ ไห้ความเคารพและมีความคุ้นเคยกับท่านเจ้าคุณ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาสวรวิหาร มานาน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๔ เมื่อหลวง ปู่ มีโอกาสไปกราบรับฟังการอบรมธรรมครั้งแรก
และ นับแต่นั้นมา เวลาที่ท่านเจ้าคุณๆ ขึ้นไปทางภาคอิสาร หลวงปุ่แหวน จะหาโอกาสไป กราบและฟังธรรมจากท่านเสมอ เพราะท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ เป็นพระมหาเถระที่มี ความสามารถ ทั้งทางปริยัติและทางปฎิบัติ
ถ้า มีความขัดข้ัองทางธรรมวินัย เมื่อไปกราบเรียนถาม ท่านจะชี้แจงให้ฟังจนหายสงสัย โดยท่านจะตอบข้อซักถามนั้นๆ ตามที่พระวินัยบัญญัติไว้อย่างชัดเจน
ตัวอย่าง ครั้งหนึ่งทางสำนักพระราชวัง ได้นิมนต์พระมหาเถระ ไปฉันในพระราชวัง โดย มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นประธานสงฆ์
เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงประทับ สนทนาธรรมกับพระมหาเถระอยู่ได้ทรงปราำภในเชิงถามตอนหนึ่งว่า ..
" ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารในเวลาวิการ คือตั้งแต่ตะวันเที่่ยงไปแล้ว จนถึงอรุณวันใหม่ ถือเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๗ แห่งโภชนวรรคนั้น ถ้าเป็นภิกษุผู้ไป อยู่ในต่างประเทศ จะพึงกำหนดเอาเวลาเที่ยงนั้นอย่างไร ?"
พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามพระมหาเถระไปทีละองค์ ยกเว้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าๆ
พระมหาเถระ ถวายพระพรไปคนละอย่าง หรือไม่ก็อ้อมค้อมชนิดไม่กล้าตัดสินชี้ชัดลงไป
เมื่อถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า " ท่านเจ้าคุณว่าอย่างไร ?"
ท่า่นเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ถวายพระพรว่า " ให้ถือเอาเวลาท้องถิ่น ที่ตนเข้าไปอาศัยอยู่"
พระเจ้าอยู่หัว ทรงผินพระพักตร์ไปทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้าๆ แล้วตรัสว่า " เป็นอย่างไร"
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าๆ ถวายพระพรสั้นๆว่า " ชอบแ่ก่เหต"
พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ตรัสถามประเด็นนี้อีกต่อไป จึงยุติลงเพียงนั้น
|
|
|
๙๕. ปฎิโมกข์ห้า
หลวง ปุ่แหวน เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ภายหลังได้เป็น พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ เมื่อญัตติเป็นธรรมยุติ) เคยบอกให้หลวงปู่ท่อง ปาฎิโมกข์ โดยถามว่า " ท่านแหวนท่องปฎิโมกข์ได้หรือยัง ?"
กราบเรียนท่่านว่า ยังท่องไม่ได้ ท่่านเจ้าคุณๆ บอกว่า " ต้องท่องปาฎิโมกข์ให้ได้นะ"
กราบเรียนท่านต่อไปว่า " กระผมอายุปานนี้แล้ว ความจำอะไรไม่ค่อยดี กระผมจะรักษา ปาฎิโมกข์ทั้งห้าก็พอ"
ท่านเจ้าคุณถามว่า ปาฎิโมกข์ทั้งห้าคืออะไร
กราบเรียนท่านว่า " ตา ก็เป็นปาฎิโมกข์อันหนึ่ง หู ก็เป็นปาฎิโมกข์อันหนึ่ง จมูก ก็เป็น ปาฎิโมกข์อันหนึ่ง ลิ้นก็เป็นปาฎิโมกข์อันหนึ่ง และกาย ก็เป็นปาฎิโมกข์อันหนึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้งห้านี่แหละเป็นปาฎิโมกข์ "
ท่านเจ้าคุณๆ พูดว่า " เออ ถูกละนักบวชเราถ้าปฎิบัติอินทรีย์ทั้ง ห้าให้เป็นปาฎิโมกข์ได้ ผู้นั้น ก็จะเจริญในพรธธรรมวินัยของพระพุุทธเจ้า ถ้ารักษาปาฎิโมกข์ทั้งห้าได้แล้ว ไม่ต้องท่อง ปาฎิโมกข ์ ก็ได้ "
ดัง นั้นหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ไม่ได้ท่องปาฎิโมกข์ ก็เพราะเหตุนี้ แต่หลวงปู่เคยเรียนรู้ มูลกัจจายน์มาก่อน เมื่อยกวินัยข้อใดมา ท่านจึงว่า ได้อย่างแม่นยำทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย
|
|
|
๙๖. เล่าเรื่องไม้สีฟัน
หลวงปู่แหวน เล่าเรื่องไม้สีฟันพระ ให้ลูกศิษย์ฟังดังนี้
ในสมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำลังนิพนธ์ (เขียนหนังสือ) วินัยมุข อยู่ พระองค์อธิบายถึงสิกขาบทที่ว่าด้วยไม้สีฟัน จึงเกิดสงสัยว่า จะเป็นไม้ชนิดใด มีลักษณะเป็นอย่างไร
ทรงรับสั่ง ถามพระเณรทั้งหลาย ต่างก็กราบทูลไปคนละอย่าง ไม่ตรงกัน จะเอาเป็นข้อยุติ ไม่ได้ ยังไม่ได้คำอธิบายเป็นที่พอพระทัย
จึงให้ไปนิมนต์ท่่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จากวัดบรมนิวาส มาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า
" ทนฺตโปนา ไม้สีฟันนั้น ท่่านเจ้าคุณๆ เคยได้ยินไหมเป็นอย่างไร ? "
ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ กราบทูลว่า " เคยเห็นเคยใช้อยุ่ทางภาคอิสาน พระเถระในสาย พระอาจารย์มั่นใช้กันอยู่ทั่วไป ทำจากไม้สองอย่าง คือ ทำจากไม้โกทา หรือกนทา กับชนิดดี ทำ จากไม้จันทน์หอม ด้านหนึ่งทุบให้เป็นฝอยละเอียดใช้สีฟัน อีกด้านหนึ่งเหลาให้แหลม ใ้ช้จิ้มฟัน ถ้าต้องการขูดลิ้น ก็ฉีกออกเป็นชิ้นบางๆ ใช้ขูดลิ้นได้ ถ้าเป็นไม้โกทา เวลาเคี้ยวจะมีรสขม นิดหน่อย ป้องกันกลิ่นปากได้ดี ขับเสมหะได้้ด้วย
สมเด็จๆ รับสั่งให้ท่านเจ้าคุณๆ หามาให้ทอดพระเนตร ท่านเจ้าคุณๆ จึงสั่งขึ้นไปทางจังหวัด อุบลราชธานี ให้ทำไม้สีฟัน จากไม้จันทน์หอม และไม้โกทา ส่งลงไปให้ท่า่นที่วัดบรมนิวาส กรุง เพพๆ แล้วท่านก็ำนำไปทูลถวายสมเด็จๆ ต่อไป
เมื่อสมเด็จๆ ได้ทองพระเนตรและทรงทดลองใช้ดูแล้ว จึงตรัสชมกับท่่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ว่า " พระทางอิสานช่างเข้าใจพระวิน้ัยดีแท้ "
|
|
|
๙๗. นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ
มาอยู่เชียงใหม่
ท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เคยไปจำพรรษาที่เชียงตุง ได้ไปแสดงธรรมโปรดเจ้า ผู้ครองนครเชียงตุงจนเลื่อมใส ถวายตนเป็นศิษย์อุปัฎฐาก เป็นเหตุให้ทางสำนักนครเชียงตุง ประพฤติธรรมกันโดยทั่วหน้า
แม้ปัจจุบัน เชื้อวงค์นครเชียงตุง เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ก็ยังคงปฎิบัติธรรมกันอยู่
ในครั้งนั้น นอกนอกท่า่นเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จะได้โปรดเจ้านาย วงค์นครเชียงตุงแล้ว ท่านยังได้ปรับปรุงการปฎิบัติพระวินัย ของพระสงฆ์ในเชียงตุง ให้ดีขึ้น หลายอย่าง ตามคำขอร้องของเจ้าผุ้ครองนครเชียงตุง
เืืมื่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ กลับจากเชียงตุงแล้ว ท่านได้ขึ้นไปพักภาวนาอยู่ที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
ประจวบกับสมัยนั้น วัดเจดีย์หลวง ในตัวเมืองเชียงใหม่ กำลังทรุดโทรม หาพระผุ้เป็นหลัก ไม่ได้ ประชาชนก็เหินห่างจากวัด เพราะพระภิกษุสามเณร ประพฤติตนไม่เหมาะสม
ทางฝ่ายบ้านเมืองมี เจ้าแก้วนวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วย เจ้าพระยามุขมนตรี ( อาบ เปาโรหิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ จังได้ปรึกาากันว่า จะหาพระ เถระผู้ใหญ่ที่ไหน เืพื่อจะได้นิมนต์มาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เพื่อจะได้ขอให้ท่า่นช่วยปรับปรุงวัด และ พระภิกษุสามเณร ให้เข้ารูปเข้ารอบขึ้น
ทางฝ่ายบ้านเมืองเห็นพ้องกันว่า สมควรจะอาราธนานิมนต์ท่านเจ้าคุณพระุอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทน์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพๆ มาอยู่ จึงได้เตรียมมอบหมายให้ผู้เดินทางไปนิมนต์
ประจวบกับ ขณะนั้น ได้ทราบย่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ พักวิเวกอยุ่ที่ดอยสุเทพ จึงได้พา กันไปกราบ และเรียนให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งนิมนต์ให้ท่านมาำจำพรรษา ที่วัดเจดีย์หลวง เื่พื่อจะได้ปรับปรุงวัดให้เรียบร้อย และเรียกศรัทธาของประชาชน ให้กลับคืนมา
แต่การนิมนต์ครั้งนั้นเป็นการนิมนต์ท่านแบบไม่เป็นทางการ ทำนองเกริ่นให้ท่านรับทราบ และท่านเจ้าคุณๆ ก็ยังไม่ได้ตอบรับ แต่ประการใด เพียงบอกว่า ท่านจะขอรับไว้พิจารณา ต่อเมื่อ กลังถึงกรุงเทพๆ แล้วจะพิจารณาอีกครั้ง
|
|
|
๙๘. ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ
รับนิมนต์
เมื่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พักภาวนาอยู่ดอยสุเทพ พอสมควรแล้ว ก็เดินทาง กลับกรุงเทพๆ
ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๐ ทางเชียงใหม่โดยเจ้าแก้วนวรัตน์ ได้เดินทาง ไปนิมนต์ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ อย่างเป็นทางการด้วยตนเอง การติดต่อนิมนต์จึงสำเร็จด้วยดี
ในการเดินทางไปถึงเชียงใหม่ ท่่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ได้เลือกผู้ที่จะติดตามไปกับท่าน อย่างพิถีพิถัน เพราะค่าใช้จ่ายในการเดินทางนั้นสูงมาก
ในช่วงนั้น หลวงปู่มั่น ภุริทตฺโต ได้เดินทางเข้ากรุงเทพๆ มีความประสงค์จะปลีกวิเวก แสงหาโมกธรรม ไปตามลำพังองค์เดียว และได้มอบหมายให้ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ปกครอง ดูแลคณะสงฆ์ภาคอิสานแทนท่าน
ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จึงได้ขอให้หลวงปู่มั่น ไปพำนัจจำพรรษาที่เชียงใหม่ ด้วย และร่วมเดินทางในครั้งนี้
ศิษย์ อีกท่านหนึ่ง ที่ด้รับคัดเลือกให้ร่วมเดินทาง ได้แก่ หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ซึ่งท่านมี ความยินดีอย่างยิ่ง โดยไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้ รับความไว้วางใจจากครูบาอาจารย์มากถึง ขนาดนั้น
หลวงปู่แหวน บอกว่า การนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ในสมัยนั้นไม่ได้สะดวกสบายเหมือน สมัยนี้ต้องใช้เวลานาน แต่ก็ไม่มียาพาหนะหรือวิธีเดินทาง อย่างอื่น ที่จะสะดวกสบาย ไปกว่านี้แล้ว
|
|
|
๙๙. จัดการปรับปรุง
วัดเจดีย์หลวง
การ ไปจำพรรษาอยู่วัดเจดีย์หลวง ของท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ครั้งนั้น ท่่านได้ เทศนาสสั่งสอนอบรมพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา รวมทั้งนำพระิภิกษุสามเณร ทำความ สะอาดและปรับปรุงบริเวณวัตถุ จนดูสะอาดเรียบร้อย ดูเจริญหูเจริญตา
นอกจากนี้ เวลากลางคืน ท่านก็ได้ให้การอบรมธรรมทุกคืน ทำให้ได้ผลดีขึ้นมาอย่างรวด เร็ว คือพระภิกษุสามเณรประพฤติอยู่กับร่องกับรอย วัดดูสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย อุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ก็มาทำบุญฟังธรรมกันมากชึ้น สามารถเรียกศรัทธากลับมาได้ตาม ความประสงค์
เื่มื่อออกพรรษาแล้ว ท่่านเจ้าคุณๆ กับพาพระเณรวิเวกตามเขตอำเภอใกล้เคียง
บางครั้ง ในฤดูแล้งนอกพรรษา ท่า่นก็ลงไปทำธุระที่กรุงเทพๆ พอจวนจะถึงวันปวารณา เข้าพรรษา ท่านก็กลับ ขึ้นมาจำพรรษาที่เชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวง ในสมัยของท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จึงได้รับการสนับสนุน จากประชาชน ที่เคยเป็นมาแล้วในอดีต
หลวง ปุ่แหวน ก็อยู่ดูแลช่วยสนองงาน ท่่านเจ้าคุณๆ ตามกำลัง บางครั้ง ท่านก็ตาม หลวงปู่มั่น ออกแสวงหาวิเวก ตามอำเภอนอกๆ ตามโอกาส
|
|
|
๑๐๐. ญัตติเป็นธรรมยุต
ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ นี้เอง ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้พิจารณาเห็นว่า หลวงปู่ แหวน มีความตั้งใจในการประพฤติปฎิบัติ มีความวิริยะอุตสาหะ ปรารภความเพียรสม่ำเสมอ ไม่ย่อท้อ มีข้อวัตรปฎิบัตรดี เหมาะสมตามสมณสารูป มีอุปัชฌายวัตรและอาจาริยวัตร ดีสม่ำเสมอ ปลาย มีอัธายศัยไม่ขึ้นไม่ลง และมีความคุ้นเคยกันมานาน
วันหนึ่ง ท่่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ได้พูดกับหลวงปุ่แหวนว่า
" อยู่ด้วยกันก็นานมาแล้ว ควรจะได้ญิตติเสีย เพื่อจะได้เข้าร่วมสังฆกรรมกันได้ ไม่ต้องคอย บอกปาริสุทธิ์ ในวันอุโบสถ เหมือนเช่นทุกวันนี้
ครั้งแรกหลวงปู่ กราบเรียน ท่่า่นเจ้าคุณๆว่า ขอเวลาปรึกษาเพื่อน คือหลวงปู่ตื้อ ดูก่อน
ในช่วงนั้น หลวงปู่ตื้อ ยังท่่องธุดงค์อยู่ตามลำพัง ยังไม่ได้ขึ้นไปเชียงใหม่
แต่ ด้วยเหตุผลของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ที่อธิบายให้ฟังในขณะนั้น ท่่านจึงตัดสินใจ ญิตติเป็นพระธรรมยุติที่พัทธสีมาวัดเจดีย์หลวง นั่นเอง โดยมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูศรีพิศาลสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพีสีพิศาลคุณ( ทอง โฆสิโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
|
|
|
๑๐๑. เหตุที่หลวงปู่แหวน
ยังไม่ญัตติในครั้งแรก
การ ที่หลวงปู่แหวน ยังไม่ยอมญัตติเป็นพระธรรมยุต ในครั้งแรก โดยจะรอปรึกษากับ หลวงปุ่ตื้อ อจลธมฺโม ก่อนนั้น เพราะถ้าท่่านตัดสินใจไปคนเดียว ภายหลังอาจถูกเพื่อนต่อว่า เอาได้ ว่าทำอะไร ไปแล้วไม่ปรึกษากัน
เพราะหลวงปู่ตื้อ ท่่านเป็นสหธรรมิก ที่ร่วมท่องธุดงค์ทั้งในและนอกประเทศ ด้วยกันเกือบ จะ ทุกแห่ง เมื่อมีเรื่องสำคัญที่ต้องตัสินใจ จึงต้องปรึกษากันให้ดีเสียก่อน
อีก อย่างหนึ่ง ขณะนั้น หลวงปู่แหวนเอง ก็อยู่ในขั้นพระเถระผู้ใหญ่ พอสมควรแล้ว เพราะท่านมีพรรษา ๒๐ พระที่มีพรรษามากขนาดนั้น จะตัดสินใจทำอะไรต้องมีความรอบคอบ
แต่ด้วยความเคารพในท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ รวมทั้งด้วยเหตุด้วยผล เมื่อท่่านเ้จ้าคุณๆ เอ่ยปากให้โอกาส หลวงปู่ จึงตกลงญัตติเป็นพระธรรมยุติ โดยไม่รอหลวงปูตื้อ
ภายหลังเมื่อหลวงปู่ตื้อ มาถึงเชียงใหม่แล้ว ท่านก็ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต ที่วัดเจดีย์หลวง เช่นเดียวกัน
ใน สมัยนั้น พระฝ่ายมหานิกาย ที่มีอายุพรรษามาก ที่ยอมตนเป็นศิษย์ปฎิบัติธรรม กับหลวง ปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต ก็มาก และที่หลวงปุ่มั่น ท่่านบอกว่าไม่ต้องญัตติก็มี หลายองค์
หลวงปู่มั่น ท่านให้เหตุผล ที่ไม่ต้องญัตติว่า
" มรรค ผล นิพพาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคณะนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับกับการประพฤติปฎิบัติของ บุคคลนั้"
หลวง ปุ่มั่น ท่านบอกลูกศิษย์ที่ไม่ต้องญัตติว่า สำหรับผู้ที่ตั้งใจจริงแล้ว ให้ไปช่วยสั่งสอนหมู่ คณะในฝ่ายมหานิกายในด้านการปฎิบัติภาวนาต่อไป
สำหรับ ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ที่เป็นชาวเหนือ ที่เ็ป็นฝ่ายมหานิกาย ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ หลวงปู่คำแสน คุณาลงฺกาโร วัดดอนมูล(สันโค้งใหม่) อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และพระครูสุภัทรคุณ(หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท) วัดสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
|
|
|
๑๐๒. การเที่ยวธุดงค์
ในภาคเหนือ
หลวงปุ่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ท่่านถูกกับอากาศทางภาคเหนือ เหมือนกัน ซึ่งกล่่าวได้ว่า อากาศทางภาคเหนือ เป็นสัปปายะ สำหรับท่่าน
ในการบำเพ็ญภาวนา ช่วงที่อยุ่ทางภาคเหนือนั้น หลวงปู่ได้จาริกไปตามป่าตามเขา แถว จังหวัด เชียงราย พะเยา ลำปาง เชียงใหม่ เป็นส่วนมาก
หลวงปุ่สามารถเล่าถึงภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ในภาคเหนือ ตอนบนได้อย่างละเอียด
ส่วนทางภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน นั้น หลวงปู่ เคย เที่ยวธุดงค์บ้างเป็นครั้งเป็นคราว ไม่เหมือน ๔ จังหวัดที่กล่าวมา ซึ่งท่่านจาริกไปหลายๆครั้ง
บาง แห่ง หลวงปุ่ ก็อยู่จำพรรษา บางแห่งก็พักบำเพ็ญเพียรภาวนา เฉพาะในฤดูแล้ง แห่งละ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง หรือ ๑ เดือนบ้าง
การ จาริกธุดงค์ของหลวงปู่ นั้นต้องพบกับอุปสรรคนานาประการ ซึ่งหลวงปู่ ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ ด้วยพลังจิตที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น และด้วยปัญญาบารมีของท่าน ซึ่งศิษย์รุ่น หลังได้ถือเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติ จนบังเกิดผลสำเร็จในทางธรรมเป็นจำนวนมาก
เรื่องการ เดินธุดงค์ของหลวงปู่แหวน นั้น ผู้เขียนได้บรรยายในเรื่องของหลวงปู่ตื้อ หลาย เหตุการณ์ด้วยกัน จึงของดเว้นการกล่าวซ้ำ ขอให้ท่า่นที่สนใจไปหาอ่านเอาเอง
|
|
|
๑๐๓. ธุดงค์จากเชียงราย
ไปลำปาง
ครั้งหนึ่งหลวงปู่แหวน ออกธุดงค์องค์เดียว เดินทางจากเชียงรายไปลำปาง
หลวงปู่เดินทางมาถึงพะเยา ( สมัยนั้นเป็นอำเภอ ขึ้นอยุ่กับจังหวัดเชียงราย) พักที่วัดพระ เจ้าตนหลวง ๓-๔ วัน เพื่อพักผ่อนให้มีกำลัง
ช่วง ที่หลวงปู่ออกจากพะเยา จะไปลำปาง ก็มีรถลากไม้จะไปเส้นทางนั้นพอดี พวกรถได้ นิมนต์หลวงปู่ขึ้นรถไปด้วย ขณะนั้นเป็นช่วงเดือน ๗(มิถุนายน) เข้าหน้าฝน มีฝนตกชุก รถออก ไปถึงแถวอำเภองาว ก็เกิดติดหล่มขึ้นไม่ได้
พวกคนรถนิมนต์ให้หลวงปู่พักอยู่กับพวกเขาก่อน ให้แก้ไขเอารถขึ้นจากหล่มได้ค่อยเดิน ทางต่อไป
หลวงปู่ กล่าวขอบใจพวกเขา แล้วบอกว่า จะค่อยๆเดินล่วงหน้าไปก่อน จะไปพักหมู่บ้าน ข้างหน้า
ขณะที่หลวงปู่เดินทางนั้น มีฝนตกพรำๆ ตลอดเวลา พอตกเย็น ก็ถึงหมู่บ้านแ่ห่งหนึ่ง เข้า ไปอาศัยพักที่ศาลาใกล้หมู่บ้าน วันรุ่งขึ้น ก็ออกบิณฑบาต ฉันเสร็จก็ออกเดินทางต่อไป
สมัย นั้น ถนนระหว่างพะเยา -ลำปาง เป็นทางลากไม้ ในฤดูฝนรถจะหยดลากไม้ั เพราะติด หล่ม ลากไม้ไม่้ได้ ดังนั้น เส้นทางจึงเดินลำบากมาก ต้องผ่านลำธาร ผ่านซอกเขา และป่าดงดิบ มีทากดูดเลือดอยู่ทั่วไป
|
|
|
๑๐๔. พักค้างคืนที่
ศาลเจ้าพ่อประตุผา
หลวงปู่เดินทางมาถึง ศาลเจ้าพ่อประตุผา เมื่อเวลาใกล้ค่ำพอดี จึงอาศัยนอนที่ศาลเจ้าพ่อ นั้นเอง
ศาลเจ้าพ่อประตุผา ในสมัยนั้น เขาสร้างเป็นตัวเรือนไม้ขนาดใหญ่ พอที่คนจะขึ้น ไปนอนได้
หลวง ปู่ ใช้ผ้าอาบปัดฝุ่นและใบไม้ที่พื้นออก แล้วเอาผ้าอาบปูบนพื้นกระดาน กางกลด และจัดบริชารเรียบร้อยแล้ว ก็ออกไปสรงน้ำที่ลำธารใกล้ๆนั้น ซึ่งมีอยุ่ทั่วไปในฤดูฝน
เวลากลางคืน หลวงปู่บอกว่า เงียบสงบดี ท่า่นใช้ผ้าสังฆาฎิ หนุนศีรษะ ต่างหมอนเวลานอน
เมื่อหยุดพักพอหายเหนื่อยแล้ว หลวงปู่ก็ไหว้พระสวดมนต์ แผ่เมตตาให้เจ้าที่เจ้าทาง และ สรรพสัตว์ แล้วเดินจงกรมบ้าง นั่งภาวนาบ้าง สลับกันไป
หลวง ปู่เล่าว่า เวลากลางคืน พวกเสือมาร้องแถวใกล้ๆ ที่ท่านพัก เสียงเป๊บๆ ขานรับกัน ฟังเสียงแต่ละตัวไม่ใช่เล็กๆ สามารถกินวัวได้อย่างสบาย
เสียงร้องรับกันเป็นทอดๆ ประเดี๋ยวตัวนั้นร้อง ประเดี๋ยวตัวนี้ร้อง เหมือนคนกุ่หากัน อยู่ไม่ ไกลจากที่ท่านพัก
พอตกค่ำ อากาศหนาวเย็นมาก ท่านต้องเดินจงกรม และนั่งภาวนาทั้งคืน
|
|
|
๑๐๕. จับไข้ระหว่างเดินทาง
พอรุ่งสว่างได้อรุณ หลวงปู่ เก็บบริขาร แล้วออกเดินทางต่อไป บันทึกการเดินธุดงค์ช่วงนี้ มีดังนี้:-
ตก บ่ายรู้สึกอ่อนเพลียมาก หนักศีรษะคล้ายจะเป็นไข้ รวมบรวมกำลังเดินทางต่อไป จะพักก็ ไม่ได้เพราะอยู่กลางป่าเขา ไม่มีหมู่บ้านเลย
เดินไปได้ประมาณ ๒ ชั่วโมง รู้สึกอ่อนเพลียมาก อาการไข้เริ่มปรากฎชัด ขารู้สึกว่าจะก้าว ต่อไปไม่ไหว อ่อนไปหมด
จึงแวะเข้่าไปใต้ร่มไม้ข้างทาง วางกลด วางบาตร แล้วล้มต้ัวนอน หล้บโดยไม่รู้สึกตัว เพราะ พิษไข้
ช่วง เวลาที่หลับไปนั้นนานเท่าไรก็ไม่รู้ มารู้สึกตัวเอาก็ต่อเมื่อได้ยินเสียงดังอู้ๆ ของลมพัดยอด ใบไม้ เสียงฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ แปลบปลาบอยุ่ทั่วไป
มองไปบนท้อง ฟ้า มีเมฆดำทะมึนเต็มท้องฟ้า ลมก็พัดกระโชกแรงขึ้น เสียงคำรามของฟ้าก็ ร้องถี่ขึ้น ดูทุกสิ่งทุกอย่าง มีแต่บีบรัดเข้ามาทุกที
อาการ ไข้ก็ยังไม่สร่าง ฝนก็เริ่มลงเม็ดห่างๆ จะกางกลดก็สู้ลมพัดไม่ไหว ไม่รู้ว่าจะไปหลบฝน อยู่ที่ไหนได้ ดูเหมือนจะหมดหนทางแก้ไขเอาทีเดียว
|
|
|
๑๐๖. ขอให้ฝนเลี่ยงห่าง
เมื่อ หลวงปู่เห็นว่า ไม่มีทางหลบฝนได้แน่แล้ว จึงได้รวบรวมกำลังกายลุกขึ้นนั่งสมาธิ ตั้ง สัจจาธิษฐานอ้างเอาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อ้างถึงบุญบารมีที่ได้บำเพ็ญตนด้วยดีมา ตั้งแต่บวชว่า
" ข้าพเจ้าบวชอุท็ศตนต่อพระพุทธ ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์ วันนี้ ข้าพเจ้าเดินทางมาเพื่อ จะไปลำปาง เกิดอาการไข้ หมดกำลังที่จะไปข้างหน้า ถ้าบุญบารมีของข้าพเจ้ามีอยู่ พอที่จะได้ บำเพ็ญพรหมจรรย์เืพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว ขอฝนอย่าได้ตกลงมาตรงที่ข้าพเจ้าอยู่นี้เลย"
แล้วหลวงปู่ก็แผ่เมตตาต่อเทพารักษ์ สิ่งที่เจ้าที่ทางอธิษฐาน บอกกล่าวแก่เขาว่า
" ข้าแต่เทพารักษ์ ผู้ศักสิทธิ์ เจ้าที่เ้จ้าทาง ตลอดจนนาค ครูฑ ผู้มีอำนาจทั้งหลายก็ดี วันนี้ ข้าพเจ้าเดินทางมาจะไปลำปาง มาป่วยอยุ่กลางป่า หมดกำลังที่จะไปข้างหน้า ขอให้ท่านทั้งหลาย อาศัยความเอ็นดูข้าพเจ้า ขอได้โปรดบันดาลด้วยอำนาจฤทธิ์ของตนๆ ให้ฝนซึ่งกำลังตกมานี้ ได้เว้นตรงที่ข้าพเจ้าอยู่ตรงนี้ ขอไห้เปลี่ยนทเศทางไปทางอื่น
การที่จะห้ามฝนไม่ให้ตกนั้นมิใช่ฐานะ แต่ขออย่าได้ตกลงมาตรงที่ข้าพเจ้าอยู่ ขอให้ผ่าน ไปทางอื่น "
|
|
|
๑๐๗. เป็นที่น่าอัศจรรย์
เมื่อหลวงปู่อธิษฐานเสร็จ แล้วทำจิตให้แน่วแน่ แผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั่วจักวาลไม่มี ประมาณ แล้่วท่านก็นั่งหลับตา ทำสมาธิสงบนิ่ง
เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่ฝนกำลังลงเม็ดถี่โดยลำดับนั้น ได้เกิดมีลมพัดมาอย่างแรง ต้นไม้ ลุ่เอนไปตามทิศทางลม ด้วยความแรงของลมที่พัดมานั้น สามารถทำให้ฝนเปลี่ยนทิศทางไปโดย ฉับพลัน
ฝนตกห่างจากจุดที่หลวงปู่นั่งอยู่ออกไปในรัศมี ๑ เส้น เว้นเฉพาะที่ๆ หลวงปู่อยู่เท่านั้น
วันนั้นฝนตกอยู่นานพอสมควร พอฝนหายแล้ว อาการไข้ก็ยังไม่สร่าง หลวงปู่จึงล้มตัวนอน ต่อไปโดยไม่ได้กางกลด
ท่านมารู้สึกตัวอีกที ก็เป็นเวลากลางคืนแล้ว รู้สึกว่าเนื้อตัวเปียกชุ่มหมด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ยุงป่ารุมกัด และอีกส่่วนหนึ่ง เพราะเหงื่อออก
หลวง ปู่ไม่ได้สนใจเกี่่ยวกับเรื่องเนื้อตัว รู้แต่ว่าสร้างไข้แล้ว รู้สึกว่าตัวเบา คอแห้งกระาหยน้ำ จึงลุกขึ้นเอากาไปตักน้ำในลำธารใกล้ๆ ใช้ธรรมกรก(กระบอกกรองน้ำ) กรองน้ำใส่กาเต็มแล้ว ก็กลบมาที่เดิม นั่งภาวนาทำสมาธิจนรุ่งเช้า
ก่อนออกเดินทาง หลวงปู่ได้ทำใจให้สงบ แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย การเดินทาง ในวันนั้น มีความสะดวก ปลอดภัย ไม่มีอุปสรรคอันตรายใดๆ
|
|
|
๑๐๘. ข้อดีของการเดิน
ธุดงด์องค์เดียว
ที่ บอกว่า หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ท่่านจะออกท่องธุดงค์ไปไหนๆ ด้วยกันนั้น ไม่ได้ หมายความว่า ท่านจะเดินด้วยกัน พักด้วยกันตลอด หากแต่ไปด้วยกันบ้าง แยกกันบ้าง ๓ วัน ๕ วัน ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน มาพบกันทีหนึ่ง หรือบางครั้งก็พักปักกลดอยุ่ใกล้ๆกัน แล้วก็ต่างองค์ ต่างแยกกันไป แต่ท่านก็ติดต่อถึงกันอยู่เสมอ
ในช่วงที่ ธุดงค์มาลำปางน้ หลวงปู่ทั้งสององค์แยกทางกัน แต่มาพบกันที่ลำปาง แล้ว หลวงปู่ แหวน ธุดงค์ขึ้นไปเชียงใหม่ และ หลวงปู่ตื้อ แยกไปแสวงวิเวกแถบอำเภอเถิน หวังจะไปพบกัน ที่เชียงใหม่
หลวงปู่แหวน ท่า่นเล่าถึงข้อดีในการเดินทางองค์เดียว่า
การเดินทางคนเดียวนั้นรู้สึกสะดวกสบายหายกังวล ไม่เหมือนไปกันเป็นหมู่เป็นคณะ มีแต่ เรื่องกังวล ในที่บางแห่งเพื่อนๆจะไป เราอยากอยู่ เราจะไปเพื่อนนๆจะอยู่ ไม่่ค่อยจะพร้อมเพรียง กัน
สู้ไปคนเดียวไม่ได้ อยากไปก็ไป อยากอยู่ก็อยู่ ไม่มีเครื่องวิตกกังวล ไม่ต้องพูดจากับใครๆ
เดินทางคนเดียว เวลาคับขัน จิตก็เป็นสมาธิได้ดี สติสัมปชัญญะเป็นเพื่อนสองเสมอในกาล เ่ช่นนั้น
เดินไปภาวนาไปเช่นนี้ บางครั้งจิตสงบอยู่ได้นาน ความวอกแวก แส่ไปรับอารมณ์ภายนอก ตามนิสัยของจิตไม่ค่อยมี
เพราะเหตุที่อันตรายมีอยู่รอบด้าน ชีวิตจึงฝากเป็นฝากตายอยู่กับสติ
การเดินทางในที่ๆมีอันตรายเช่นกัน เปรียบเหมือนการเข้าสูสงครามของทหาร ถ้าไม่ค่อย ระมัดระวัง สติสัมปชัญญะไม่มี ไม่ช้า ทหารผู้นั้นจะต้องถูกข้าศึกทำร้ายเอาอย่างแน่นอน
|
|
|
๑๐๙. การบำเพ็ญภาวนา
อยู่ในที่มีอันตราย
หลวง ปู่เล่าถึงการบำเพ็ญภาวนาอยู่ในสถานที่มีอันตรายเช่นมีสัตว์ มีเสือ มีช้าง มีหมี หรืองู อยู่ใกล้ๆ ว่า ในสถานที่เช่นนั้นแหละ สติมันตื่นอยู่ทุกเมื่อ
ที่ว่าสติมันตื่น เพราะมันกลัวอาจารย์เสือ อาจารย์ช้าง อาจารย์งู อาจารย์หมี จะมาทำอันตราย มันจึงตื่นตัวอยู่เสมอ
หลวงปู่บอกว่า คำว่า ตื่น ในที่นี้ มิได้หมายความว่าตื่นกลัวแบบกลัวสัตว์ กลัวเสือ มันจะมาทำ อันตรายเอา แต่ความหมายวา ตื่นอยู่ด้วยธรรม
เช่นเราเจริญธรรมะข้อ มรณานุสสติ จิตมันจะค้นคิดหาอุบายทางปัญญา อยู่เฉพาะเรื่องนั้นๆ ไม่ส่งออกไปรับอารมณ์ภายนอกอย่างอยู่ในที่ะรรมดาทั่วไป
เวลาจิตสงบ เมื่ออยุ่ในสถานที่มีอันตราย ความสงบจะตั้งอยู่ได้นาน อุบายการพิจารณาก็ แยบคาย
แม้ขณะเดินจงกรม เวลาจิตรวมก็สามารถยืนอยู่ได้โดยไม่ล้มหรือซวนเซ อยู่ได้นาน เท่าที่ จิตจะถอนออกจากสมาธิ
เพราะเหตุนั้น จิตในสภาพเช่นนี้ จัึงองอาจกล้าหาญ มีกำลัง มีอำนาจคุ้มครองตัวเองได้
แม้เวลาน้อมจิตแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย จึงมีอำนาจ โน้มน้าวจิตของสัตว์ให้เกิด มีความเตมตา ต่อกันและกันได้
|
|
|
๑๑๐. เรื่องอาหาร
และการบิณฑบาต
หลวงปุ่แหวน ได้พูดถึงเรื่องการบิณฑบาต ในช่วงออกธูดงค์ว่า
ในการเดินทางของพระธุดงค์นั้นจะเอาอะไรแน่นอนกับการขบฉันนักไม่ได้ ไปในที่บาง แห่งก็ได้พอฉัน ในที่บางแห่งก็ไม่พอ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความเป็นอยู่ของประชาชนใน ท้องถิ่นนั้นๆ
ไป บิณฑบาตในบางที่บางแห่งอาจจะได้เฉพาะข้าวเปล่า บางแห่งอาจจะได้ข้าวกับเกลือ บางแห่งอาจจะได้ข้าวกับพริก บางแห่งอาจจะได้ข้าวกับน้ำอ้อย
ได้มาอย่างไรก็ฉันอย่างนั้น เพื่อผ่อนบรรเทาความหิวของธาตุขันธ์จะฉันเืพื่อความอิ่มหนำ สำราญนั้นไม่มี นอกจากจะผ่านเข้าไปในบ้านเมือง ซึ่งนานแสนนาน
โดยสรุป การบิณฑบาตนั้น พระธุดงค์ท่านก็อดบ้างอิ่มบ้าง พอได้พยุงธาตุขันธ์ให้ทรงตัวอยุ่ ต่อไป
หลวง ปู่เล่าต่อไปว่า การเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ได้พบเห็นของแปลกๆ ดี เช่น บางหมู่บ้าน เวลาไปบิณฑบาตได้ข้าวกับเกลือก็มี ได้ข้าวกับผักก็มี ถามพวกชาวบ้านเขาว่า ไม่มีพริกกินหรือ จึงใส่บาตรเอาข้าวเอาเกลือ เอาผักมาใส่ ไม่เห็นมีพริกเลย
เขาบอกว่าไม่มี ถามเขาว่าเมื่อไม่มีทำไมไม่ปลูกบ้างละ เขาตอบว่า มันเป็นการลำบาก
หลวงปู่ ว่า พวกประชาชนในหมู่บ้านป่าเช่นนี้ เขากินอยู่กันง่ายๆตามธรรมชาติ ไม่มีการ ดัดแปลง พวกที่มีข้าว มีเกลือ ก็กินกันไป พวกที่มีข้าวมีผัก ก็กินกันไป จะต้มจะแกงแบบพวกเรา นั้นเขาทำไม่เป็น
พวกพริก มะเขือ หรือผักต่างๆ ถ้าเขาปลูกแบบพวกเราก็คงกินไม่หมด เพราะดินเขาดี
แต่นี่เขาไม่ทำกัน เขากล่าวว่าลำบาก ยุ่งยากต้องถากต้องถาง
|
|
|
๑๑๑. พักนอนในดงเสือ
อีก ครั้งหนึ่ง หลวงปู่แหวน เดินธุดงค์จากพะเยาจะไปลำปางเ่ช่นกัน ท่านเดินเลียบกว๊าน พะเยาไป ตัดข้ามดอยหมูไป เส้นทางนั้นไม่มีถนน เป็นทางเดินเท้า ภูมิประเทศแถบนั้นเป็นป่าเขา มีเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก
หลวงปู่เดินทางมาองค์ เดียว จวนเวลาเย็นก็ถึงศาลาที่พักกลางป่า ซึ่งมีผู้สร้างเอาไว้สำหรับ คนเดินทางจะได้เข้าพักอาศัยต้างคืนได้ เพราะในแถบนั้นไม่มีหมู่บ้านใกล้เคียง
ถ้าถึงเวลาบ่ายใกล้เย็น ผู้ที่จะเดินทางจะไม่เดินทางต่อไปอีก เพราะกลัวอันตรายจากสัตว์ป่า โอยเฉพาะพวกเสือ กับหมี ที่มีชุกชุมในแถบนั้น
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้สร้างศาลาไว้ สำหรับคนเดินทางเพื่อจะได้อาศัยหลับนอน เมื่อเิดินทาง มาถึง
หลวงปู่เดินทางมถึงศาลาที่พักเมื่อใกล้ค่ำแล้ว จึงเข้าไปพักที่ศาลานั้น
รอบนอกศาลามีรั้วล้อมรอบกันสัตว์ร้าย ภายในมีเตาไฟพร้อมหินไว้ให้ด้วย ต้องก่อไฟผิง พอบรรเทาความหนาวเย็นได้บ้าง
หลวงปู่รีบอานน้ำเมื่อไปถึง ค่ำลงก็ไหว้พระสวดมนต์แผ่เมตตา แล้วนั่งภาวนาจนดึกจึกพัก จำวัด
เวลากลางคืน ได้ยินเสียงเสือร้องอยู่รอบๆ ศาลาที่พัก
หลวงปุ่บอกว่า พวกเสือนั้นชำนาญในการร้องทำเสียงเลียนแบบพวกสัตว์ป่าต่างๆ เช่น พวกกวาง พวกเก้ง ซึ่งเสือสามารถทำเสียงเลียนแบบได้เหมือนมาก
ดังนั้น บางครั้งพวกเก้ง เมื่อได้ยินเสียงเสือร้องเลียนแบบ นึกว่าเป็นพวกของตัว หลงเดินเข้า ไปหา แล้วถูกเสือจับกินไ้ด้ง่ายๆ
คืน นั้น พอตกดึกอากาศหนาวเย็นมาก จึงก่อไฟที่เตาผิง ต้องลุกขึ้นใส่ไฟถึงสามครั้ง หลวงปู่ มาเคลิ้มหลับเอาก็ตอนเกือบสว่างแล้ว ประมาณว่าหลับไปได้สองชั่วโมง เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็ สว่างแล้ว
|
|
|
๑๑๒. พบหญิงใจบุญ
พอรุ่งเช้า ได้ยินเสียงคนพูดคุยกัน หลวงปุ่ มองลงไปข้างล่าง เห็นพวกชาวบ้านหาบของมา ๒-๓ คน กำลังนั่งพักคุยกันอยู่
หลวงปุ่เดินลงไปถาม ได้ความว่า พวกเขาจะไปพะเยา แล้วถามเส้นทางที่หลวงปู่จะไปข้าง หน้าว่ามีหมู่บ้านไหม ได้ัรับคำตอบว่ามีหมู่บ้านหนึ่ง ห่างจากตรงนั้นไปราวสามชั่วโมง อยู่ทาง ซ้ายมือ
เมื่อได้รับคำบอกเล่าเช่นนั้น หลวงปู่จึงเก็บบริขารแล้วออกเดินทางหมายจะไปบิณฑบาต ฉันที่หมุ่บ้านข้างหน้า
หลวงปู่เดินไปจนเหนื่อยอ่อน ก็ไม่พบหมู่บ้านดังกล่าว เวลาก็สายมาแล้ว รู้สึกหิวและเหนื่อย เพลีย
ท่านเดินไปจนเหนื่อยอ่อน ก็พบหญิงสามคนหาบของสวนทางมา จึงถามว่า จากนี้ไปถึงหมู่ บ้านข้างหน้า จะต้องเดินไปอีกไกลเท่าไร ได้รับคำตอบว่า จะต้องเดินถึงเย็นจึงจะถึง
หลวง ปู่บอกว่า เมื่อเช้า พบพวกหาบ เขาบอกว่าหมู่บ้านข้างหน้าเดินสามชั่วโมงถึง นี่เดินมา จนสายขนาดนี้แล้ว ก็ยังไม่พบหมู่บ้านดังกล่าว
ได้รับคำบอกว่า หมู่บ้านดังกล่าวนั้น หลวงปู่ผ่านมาแล้ว
หญิง ทั้งสามถามว่า พระคุณเจ้าฉันจังหันแล้วหรือยัง หลวงปู่ จึงบอกว่า ยังไม่ได้ฉัน ครั้งแรก กะว่าจะไปบิณฑบาตฉันที่หมู่บ้านดังกล่าว แต่กว่าจะไปถึงหมู่บ้านต่อไปก็คงจะเย็น วันนี้เห็น จะไมได้ฉันแน่
หญิง ทั้งสามจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกดิฉันขอนิมนต์พระคุณเ้าฉันจังหันก่อน พวกดิฉันมี ข้าวมาด้วย วันนี้เป็นบุญของพวกดิฉัน นิมนต์ท่านฉันให้เต็มที่ ไม่ต้องห่วงพวกดิฉัน เพราะพวกเรา จะกลับบ้านอยู่ ไม่เป็นไร
ว่าแล้วพวกเธอรีบจัดอาหารมาใส่บาตร มีข้าวเหนียวกับน้ำอ้อยงบ
หลวงปุ่รับอาหารแล้วก็ลงมือฉัน ท่านฉันได้เยอะ เพราะว่ารู้สึกหิวมาก
ฉันเสร็จก็อนุโมทนา ให้พร พวกเธอทั้งสามคนดูมีสีหน้าร่าเริงดีใจ ที่ได้ทำบุญระหว่าง เดินทาง
เมื่อให้พรเสร็จ หลวงปู่จึงกล่าวอำลาหญิงผู้ใจบุญทั้งสาม แล้วเดินทางต่อไป
|
|
|
๑๑๓. อาศัยพักวัด
ประจำหมุ่บ้าน
หลวงปู่เดินทางไปเรื่อยๆ พอตกเย็นก็ถึงหมู่บ้านตามคำบอกเล่าของหญิงใจบุญทั้งสามนั้น
ในหมุ่บ้านนั้นมีวัดอยู่ หลวงปุ่จึงเข้าไปขอพักค้างคืน ปรากฎว่า ท่านเจ้าอาวาสนั้น มีอัธยาศัย ให้การต้อนรับอย่างดี
ท่านเจ้าอาวาสถามว่า " เมื่อคืนนี้นอนที่ไหน"
หลวงปู่เรียนท่านไปว่า นอนพักอยู่ที่ศาลากลางป่า
ท่านเจ้าอาวาสแสดงท่าทางตื่นเต้น กล่าวว่า " ศาลากลางป่านั้น อย่าว่าแต่พักคนเดียวเลย ให้ผมไปพักสักร้อยคนก็ไม่กล้าพัก"
แล้วถามท่่านต่อไปว่า " เมื่อคืนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง แมวป่ามันไม่มาเยี่่ยมบ้างหรือ"
หลวงปุ่ตอบท่านว่า " ได้ยินเสียงมันร้องอยู่เหมือนกัน แต่ไม่เห็นมันเข้ามาใกล้ มันคงหากิน ของมันตามประสาสัตว์ป่า"
หลวงปุ่พักอยู่ที่วัดนั้นสองวัน พอมีกำลังดีแ้ล้ว จึงบอกลาท่า่นเจ้าอาวาส แล้วออกเดินทาง ต่อไป
|
|
|
๑๑๔. จำพรรษา
ที่แม่ฮ่องสอน
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เคยจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเหนือธารน้ำไหล ที่แม่ฮ่องสอน อยู่ ๑ พรรษา แต่ในปีบันทึกไม่ได้ระบุสถานที่ และปี พ.ศ.
ในบันทึกระบุว่า " ถ้าำนี้อยุ่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นถ้ำไม่ ใหญ่นัก อยู่ใกล้ธารน้ำที่ไหลมาจากภูเขา ธารน้ำสายนี้ปัจจุบันทางจังหวัดกั้นเป็นเขื่อนทำเป็น คลองส่งน้ำเข้ามายังตัวเมือง เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตน้ำประปาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน"
ใน ประวัติของหลวงปู่ตื้อ จจลธมฺโม ท่านก็เคยมาพำนักที่แม่ฮ่องสอนเหมือนกัน ไม่ทราบว่า อยู่จำพรรษาหรือไม่ ถ้าดูจากสภาพสถานที่แล้ว ผู้เขียนมั่นใจว่าเป็นคนละที่กัน แต่จะเดินทางมา ในระยะเวลาเดียกันหรือไม่นั้น ยังไม่พบการยืนยัน
บันทึกในส่วนของหลวงปุ่แหวน บอกว่า " การจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำดังกล่าวท่านอยู่องค์เดียว ตอนแรกที่ท่านไปอยู่มีชาวไร่ทำไร่อยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้น ๓-๔ หลังคาเรือน พอได้อาศัยบิณฑบาต
แต่ อยู่ไปหลายวันเข้า เมื่อมีคนรู้ว่ามีพระธุดงค์มาอยู่จำพรรษาในถ้ำ ก็มีประชาชนนำอาหาร มาถวายกันมากมายทุกวัน ส่วนมากประชาชนถิ่นนั้นเป็นคนเชื้อสายไทยใหญ่ มีคนไทยที่เป็นคน เมืองบ้างไม่มากนัก"
ในสมัยก่อน แม่ฮ่องสอน เป็นเมืองปิด ไปได้อย่างเดียวคือเดินเท้า ไม่มีทางรภ ไม่มีสนามบิน เช่นปัจจุบัน สมัยก่อนเป็นเมืองที่ทุรกันดารมาก ไม่มีใครอยากไป บรรดาข้าราชการที่ทำผิด มัก ถูกสั่งย้ายให้ไปอยู่แม่ฮ่องสอน เ็ป็นการลงโทษที่ถือว่าหนักทีเดียว
การเดินทางจาก แม่ฮ่องสอน สู่โลกภายนอก คือมาเชียงใหม่ เส้นทางเดินที่ใกล้ที่สุด ลัดที่สุด นั้น ต้องเดินทางผ่านป่าผ่านเขาที่สลับซับซ้อน มาทางอำเภอปาย เข้าอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แล้วผ่านป่าผ่านเขา เข้าตัวเมืองเชียงใหม่ ถือเป็นทางที่เสี่ยงอันตรายด้วยไข้ป่า และสัตว์ร้าย เช่น ช้าง เสือ หมี และงูพิษ มีอยู่ชุกชุม
|
|
|
๑๑๕. ขอปันพรจากพระ
หลวงปุ่แหวน ท่านเล่าถึงการมาถวายอาหารของประชาชนชาวแม่ฮ่องสอนดังนี้
การมาถวายมหารของชาวไทยแม่ฮ่องสอนนั้น เขาจะมากันแต่เช้าตรู่ พอสว่างเขาจะมานั่ง กันเต็มหน้าอยุ่หน้าถ้ำ สิ่งที่เขานำมาถวาย นอกจากอาหารแล้ว ก็มีเทียนไข
เมื่อเขามาพร้อมกันแล้ว เขาก็ถวายอาหาร ถวายเทียนไข พระก็ให้พร คือ ยะถา สัพพี ให้เขาเสร็จแล้ว พวกเขาก็ลากลับไป
แต่ถ้ายังไม่ปันพร พวกเขาก็จะัยังไม่กลับ จนกว่าพระปันพรเสร็จ พวกเขาจึงจะกลับ
หลวง ปุ่บอกว่า เรื่องปันพร หรือให้พรนี่ พวกเขาถือกันมาก ถ้าเขาถวายของพระแล้ว แม้ เพียงเล็กน้อย เขาต้องขอพรทันที ไม่เช่นนั้นเขาไม่ไป เขาถือว่ายังไม่ได้บุญ
หลวงปู่เห็นว่า ชาวบ้านมากันมากเป็นเรื่องวุ่นวาย จึงบอกพวกเขาว่า วันต่อไปไม่ต้องมา ท่านจะเดินไปบิณฑบาตที่บ้านเขาเอง แต่พวกเขาไม่ยอม เขาเคยมาอย่างไร เคยทำอย่างไร ก็ทำ อย่างนั้น มากันอย่างนั้น ตามศรัทธาของเขา
หลวง ปู่จำต้องอนูโลมตาม เพราะเขามีศรัทธาเชื่อถือกันมาอย่างนั้น พวกเขาทำไปก็ไม่ได้ ผิดข้อธรรมอะไร เป็นการทำบุญทำกุศลด้วยศรัทธา จึงอนุโลมตามเขา
|
|
|
๑๑๖. ขุ้น ตัวเล็ก
แต่อันตราย
ตอนที่หลวงปู่แหวน ท่า่นไปอยู่ในถ้ำที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนใหม่ๆ มีแมลงชนิดหนึ่งตัวเล็กๆ ปีกลาย ตัวสีเหลือง มารบกวนกัดท่านอยู่เสมอ
แมลงชนิดนี้ กัดตรงไหน ก็เป็นช้ำ เลือดและกลายเป็นแผล กว่าแผลจะหายบางทีตั้งสาม สะเก็ด
หมายความว่า พอแผลแห้งก็มีสะเก็ดเป็นแผ่นแข็งปิดแผลอยู่ เมื่อสะเก็ดหลุดออกไป ก็เห้น แผลเป็นเนื้อแดงอยู่อีก แล้วก็ค่อยๆแห้ง กลายเป็นสะเก็ดปิดแผลอยู่อีก เป็นเช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง แผล จึงจะหาย
วันหนึ่ง เมื่อชาวน้านขึ้นมาถวายอาหาร พวกเขาถามหลวงปู่ว่า " ท่านอยู่ที่นี่ขุ้นไม่กัดหรือ"
หลวงปุ่บอกเขาว่า " มีตัวอะไรก็ไม่รู้ ตัวเล็กๆ กัดแล้วเป็นแผล ตัวอย่างนั้นเขาเรียกว่าอะไร"
ชาวบ้านบอกว่า ตัวนั้นแหละที่เขาเรียกว่า ขุ้น หลวงปู่ ถามเขาว่า จะป้องกันไม่ให้มันกัด ได้อย่างไร
เขาก็บอกว่า วิธีป้องกัน ให้ก่อไฟสุมไฟ ให้มีควันอยู่เสมอ เมื่อมันได้กล่ินควันไฟแล้วมันจะ หนีี ไม่มาอีก
หลวงปู่ ทำตามคำแนำนำของชาวบ้าน ก็ได้ผล กันตรายจากตัวขุ้นก็ไม่มีอีกเลย การบำเพ็ญ ภาวนาจึงทำได้ดี ไม่มีแมลงอันตรายมารบกวน
หลวง ปู่พูดถึงขุ้นว่า " ตัวขุ้นนี้ร้ายมาก คนที่แพ้พิษมัน เมื่อถูกกัด แล้วจะเกิดเป็นแผลพุพอง ถึงแม้จะหายแล้ว ก็ยังมีแผลเป็นอยู่ ถ้าถูกกัดมากๆ จะเห็นแผลเป็นลายอยู่ตามตัว ตามแขน
กล่าวกันว่า พวกชาวเขาที่ใช้ผ้าพันขาลงไปถึงหลังเท้านั้น ก็เพื่อป้องกันตัวขุ้นกัดนี้เอง"
(นอกจากนี้ยังป้องกันงูกัดด้วย -- ผู้เขียน)
|
|
|
๑๑๗. กลับไปเีชียงใหม่
กับท่านพระครู
เมื่อ ออกพรรษานั้นแล้ว พระผู้ใหญ่ในแม่ฮ่องสอน คือ ท่านพระครูอริยมงคล ซึ่งมีเชื้อสาย เป็นไทยใหญ่ ได้มาชวนหลวงปู่แหวนไปเชียงใหม่ด้วย
ท่านพระ ครูๆ กับหลวงปู่แหวน มีความสนิทสนมกันพอสมควร ท่านเรียก หลวงปู่แหวน ว่า ครูน้อย ส่วนหลวงปู่แหวนเรียกท่านพระครูว่า ส่าหลง
ท่านพระ ครูอริยมงคล ได้รับใบบอกจากเชียงใหม่ว่าให้ไปเชียงใหม่เืพื่อต้อนรับเสด็จๆ พระเจ้าอยู่หัว ที่จะเสด็จขึ้นไปประพาสเชียงใหม่
หลวง ปู่เล่าว่า ท่านยังไม่อยากจะลงไปเชียงใหม่ในตอนนั้น ครั้งแรกได้ตอบบ่ายเบี่ยงไป บอกว่าท่านกำลังเป็นไข้หวัด เดินทางไปด้วยไม่ได้ แต่ท่านพระครูๆ ไม่ยอม รบเร้าให้ไปด้วย ให้ได้ หลวงปู่ๆจึงจำยอมร่วมเดินทางไปด้วย
ท่านพระครูๆ หลวงปู่ และคณะ ออกเดินทางจากแม่ฮ่องสอน เดินลัป่าข้ามเขามายังอำเภอปาย หยุดพักเอากำลังที่ปาย ๓ วัน แล้วออกเดินทางต่อไปอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเดินทาง เข้าตัวจัวหวัดเชียงใหม่
จากอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาถึงตัวจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินเท้า ๔ วัน
เมื่อท่านพระครูอริยมงคล ทำกิจธุระในเชียงใหม่เสร็จก็มาชวนให้หลวงปู่แหวน ร่วมเดินทาง กลับไปแม่ฮ่องสอนด้วยกันอีก
หลวง ปู่ยังไม่อยากจะกลับไป ขณะที่คิดหาหนทางบ่ายเบี่ยงอยุ่นั้น บังเอิญไข้หวัดที่ท่่านเป็น มาจากแม่ฮ่องสอนยังไม่หาย กลับมีอาการมากขึ้น และไอมากขึ้น
เมื่อท่า่นพระครูๆ มาชวน ท่านจึงตอบปฎิเสธ ขออยุ่พักรักษาอาการไข้ที่เชียงใหม่ก่อน
ท่านพระครูๆ หรือท่านส่่าหลง จึงต้องกลับไปพร้อมคณะของท่านโดยไม่มีหลวงปู่แหวน ไปด้วย
ส่วนหลวงปู่แหวน ท่านก็ยังพำนักอยุ่ที่เชียงใหม่ต่อไปและตั้งแต่นั้นมา ท่านไม่ได้กลับไปที่ แม่ฮ่องสอนอีกเลย
|
|
บรรดาญาติโยมจากทุกสารทิศรอเข้า
กราบหลวงปู่
|
๑๑๘. พระเชียงใหม่กินข้าวเย็น
พระแม่ฮ่องสอนกินข้าวดึก
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้เล่าเรื่องที่พระในแม่ฮ่องสอนกับพระเชียงใหม่ในสมัยนั้น ต่าง โจมตีกล่าวหา ซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับการปฎิบัติตามพระธรรมวินัย ดังนี้ :-
สมัยนั้น พระแม่ฮ่องสอน มักจะกล่าวโทษพระทางเชียงใหม่ว่า พระเชียงใหม่กินข้าวเย็น
หลวงปู่ท่านว่า " พระไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน สมัยนั้นไม่ได้กินข้าวเย็น แต่กินข้าวร้อน กลางดึก กล่าวคือ พระไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน สมัยนั้น พอได้เวลาตีหนึ่ง คือ ๐๑.๐๐ น .พวกพระ จะตามเทียนทำอาหารกินกัน อ้างว่าเป็นวันเหม่อแล้ว"
หลวง ปู่แหวน เคยโต้เถียงกับพระแม่ฮ่องสอน มาครั้งหนึ่ง ในเรื่องนี้ โดยหลวงปู่ ยกประเด็น ว่า " ตุ๊เจ้าเชียงใหม่กินข้าวเวลาเย็น เจ้าปุ๊นแม่ฮ่องสอนกินข้าวเหม่อ เวลา ๐๑.๐๐ น. มันแปลก กันที่ตรงไหน
วัน เหม่อไม่ใช่วันใหม่ ถ้าเป็นวันใหม่ตามพระวินัยก็ต้องสว่างแล้ว จึงนับได้ว่าเป็นวันใหม่ แต่นี่กินข้าววันเหม่อ ๐๑.๐๐ น กับกินข้าวเย็น เวลา ๑๗-๑๘-๑๙ น. ทั้งสองไม่แตกต่างอะไรกัน เลย ในทางพระวินัย "
หลวงปู่บอกว่า ท่านเพียงเสียงเดียว เถียงสู้เขาไม่ได้ เห็นว่าพูดไปก็ไม่เป็นผล ก็เลยต้องปล่อย เลยตามเลยไป
|
|
|
๑๑๙. ข้อสังเกตุเกี่ยวกับ
พระไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน
หลวงปุ่แหวน ท่านพูดถึงพระไทยใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนที่ท่านพบเห็นในสมัยนั้น ว่า :-
อีก เรื่องหนึ่ง พระไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน สมัยนั้น เมื่อถึงวันอุโบสถ เขาไม่ทำอุโบสถ สวดปาฎิโมกเหมือนพระไทยทั่วไป แต่เขาจะประชุมกันในอุโบสถ แล้วต่างก็บอกปาริสุทธิเท่านั้น
มีข้อแปลกอยู่อีกอย่าง คือ เวลาสนทนาธรรมกัน มักพูดธรรมะชั้นโลกุตรจิตร โลกุตรมรรค โลกุตรผล เช่นเดียวกับพระพม่า
ธรรมะเหล่านี้ต่างก็จำเอามาจาก " แผนที่" นั่นเอง
เวลาสนทนาธรรม มักเกิดการถกเถียงกันจนหน้าดำหน้าแดง เพราะความเห็นในข้อธรรม ไม่เหมือนกัน
หลวงปู่ไห้อรรถธิบายว่า :-
ปัญญาที่เกิดจากการจำแผนที่ กับปัญญาที่เกิดจากการเรียนตามภูมิประเทศนั้นไม่เหมือนกัน
ปัญญาที่ได้จากการเรียนตามแผนที่ คือ การศึกษาเล่าเรียนจากตำรับตำราอย่างเดียว ความจำ ความเข้าใจ การตีความอาจไม่ตรงต่อความเป็นจริงของธรรมะ
ส่วน ปัญญาที่เกิดจากการเรียนตามภูิมิประทศ คือจากการปฎิบัตภาวนานั้น เมื่อทุกคนทำให้ เกิด ให้มีขึ้นในจิตใจของตนแล้ว ต่างก็หมดความสงสัยในธรรมะนั้นๆ ไม่มีข้อโต้แย้ง ไม่มีการ ถกเถียงกันอีกต่อไป
หลวงปุ่ ให้คำอธิบายต่อไปอีกว่า :-
การที่จะปฎิบัติให้ถึงโลกุตรธรรมนั้นไม่ใช่ของง่าย ไม่เหมือนจำเอาตามแบบจากตำรา แล้วเอามาพูดคุยกันอวดกัน
ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น ต้องปฎิบัติทางด้านจิตใจ ให้เป็นผู้รู้เองเห็นเอง ด้้วยตนของตนเอง เริ่มแต่มีอินทรีย์สังวร ขึ้นไป
เพราะบรรดากิเลสน้อยใหญ่ เกิดทางอินทรีย์ เรานี้ คือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ความชั่วก็ดี ความดีก็ดี เกิดจากทวารเหล่านี้
เมื่อ ความชั่วเกิด ต้องมีสติรู้เท่าทัน และปัองกันไม่ให้เกิด ละออกจากจิตใจของเรานี้ เอาจิต เอาใจของเรานี้ละ เอาจิตใจของเรานี้ปล่อย เอาจิตเอาใจของเรานี้วาง จากความชั่วทั้งสิ้น
เมื่อปล่อยวางได้ ความชั่วทั้งที่เป็นส่วนหยาบ ที่เกิดจากกายและวาจา ทั้งที่เป็นส่วนละเอียดที เกิดจากใจ ก็ไม่มี
ส่วน ที่มันละเอียด เป็นอนุสัย นอนเนื่องอยู่นั่นแหละสำคัญละ มันปล่อยวางมันไม่ได้ง่ายๆ มันมักไม่แสดงตัว มันเก็บตัวของมัน ในส่วนลึกของจิตใจ
ถ้าปฎิบัติตนให้เป็นผุ้มีศีล มีสมาธิ เป็นมรรคเครื่องดำเนินไปสู่ ปัญญา ทำศีล ทำสมาธิ ทำ ปัญญา ของตนให้เป็นเอกมรรค เครื่องดำเนินเป็นอันเดียวกันนั่นแหละ จึงจะสามารถมองเห็น ส่วนละเอียดที่เป็นอนุสัยของกิเลสได้
เมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเอกมรรคแล้วเช่นนี้ จิตที่เป็นส่วนละเอียดที่ทรงตัวอยู่ จะเรียกว่า จิตมีอิทธิบาท หรือมีโพชฌงค์ หรือมีพละ หรือจิตมีมรรค ก็เรียกได้ทั้งนั้น เพราะธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นมาส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในขณะที่จิตที่เป็นไปกับธรรม
เมื่อจิตตกสู่กระแสแห่ง ธรรมแล้ว โลกุตรธรรม อันเป็นส่วนมรรคก็ดี อันเป็นส่วนผลก็ดี ต้องปฎิบัติจิตใจของตนให้เกิด ให้เข้าถึงธรรมเสียก่อน จึงจะพูดได้ด้วยความอาจหาญ แน่ใจ อธิบายก็อธิบายด้วยความอาจหาญแน่ใจ
|
|
|
๑๒๐. โยมบิดามาขอลา
หลวง ปุ่แหวนเล่าว่า ในปีที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่แม่ฮ่องสอนนั้น วันหนึ่ง ขณะที่กำลังทำความ เพียรอยู่นั้น นิมิตไปว่า ได้เห็นโยมบิดา สวมเืสื้อผ้าใหม่ทั้งชุด เ้ข้ามาหาท่าน
หลวงปู่ จึงถอยจิตออกมาพิจารณาดูว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น ก็เกิดความรุู้ว่า ถ้าเห็นคนใส่เสื้อผ้า ใหม่ ก็็หมายความว่า เขาน่าจะตาย และโยมบิดาของท่านก็น่าจะสิ้นอายุขัย แล้วมาให้หลวงปู่เห็น ในนิมิต เพื่อเป็นการบอกลา
หลวงปู่ได้สำรวมจิต ตั้งสัจจาธิษฐาน รวบรวมบุญกุศลที่ท่านบำเพ็ยมาทั้งหมด อุทิศตรงให้ กับโยมบิดา
ทัน ใดนั้น ปรากฎมีแสงพุ่งตรงมาทางที่ท่านนั่งอยู่ แล้วลอยมาอยู่เสมอยอดไม้ แล้วลอยต่ำ ลงมาที่พื้นเบื้องหน้าของท่าน กลายเป็นภาีพของโยมบิดา นั่งประณมืออยู่ พร้อมกับกล่าวว่า " โยมพ่อ จะมาลา "
หลวงปู่กำหนดจิตถามไปว่า " โยมพ่อตายแล้วหรือ" แล้วโยมพ่อจะไปไหน"
ภาพโยมพ่อชี้ืมือไปทางประเทศพม่า
เมื่อหลวงปู่ แน่ใจว่าโยมบิดาของท่านสิ้นแล้ว ท่านก็กำหนดจิต อุทิศบุญกุศลให้อีกครั้งหนึ่ง ภาพนั้นก็หายไป
อยู่ ต่อมาอีกวันหนึ่ง เมื่อหลวงปู่เข้าที่ภาวนาแล้ว ท่านได้อธิษฐานส่งจิตไปถึงโยมมารดา ก็ ปรากฎเป็นภาพโยมมารดามาในนิมิตและกล่าวว่า " ลูกไม่ต้องห่วงแม่หรอก แม่อยู่สุขสบายดี"
โยมมารดาชี้ที่ให้ดูที่อยู่ ปรากฎว่าเป็นที่อยู่อันน่ารื่นรมย์
ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่ไม่เคยคิดเป็นห่วงโยมทั้งสองเลย เพราะท่านทั้งสองมีคติที่เป็นสุขแล้ว
|
|
|
๑๒๑. ไปเฝ้าพยาบาลพระอุบาลีๆ
ใน ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ขณะที่หลวงปุ่แหวน จาริกภาวนาอยุ่ในป่าเขตจังหวัดเชียงใหม่ ได้ข่าวการอาพาธของท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์( จันทร์ สิริจนฺโท) ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพๆ
จาก การบอกเล่าของครูบาอาจารย์ บอกว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ท่านประสพอุบัติเหตุ เมื่อขึ้นธรรมมาสน์เทศน์ ขาของท่านไปขัดกับพนักของธรรมมาสน์ กระดูกขาของท่านเลยหัก แต่ท่านไม่แสดงอาการเจ็บปววดให้เห็น ยังคงแสดงธรรมไปตามปกติจนจบ แล้วท่านก็ลุกขึ้นไม่ ได้ ทุกคนจึงรู้ว่าท่านขาหัก แต่สามารถข่มเวทนาโดยไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้ใครรู้เลย
เมื่อ หลวงปุ่แหวนทราบเรื่อง ในฐานะที่เป็นศิษย์ ท่านจึงประสงค์จะเดินทางลงมากรุงเทพๆ เืพื่อเยี่ยมอาการ และถวายการอุปัฎฐากรับใช้
ตามบันทึกในประวัติหลวงปู่แหวน บอกว่า ช่วงนั้น หลวงปุ่มั่น อยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จึงลงมา กราบเรียนให้หลวงปุ่มั่นทราบเรื่อง แล้ว ท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพๆ ต่อไป
|
|
|
๑๒๒. กรรมฐานแมว
กรรมฐานอึ่ง
หลวง ปุ่แหวนได้พักอยู่ในกรุงเทพๆ เพื่อพยาบาลท่านเ้จ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมจารย์ นาน ๑ เดือน เห็นอาการท่านดีขึ้นมากแล้ว จึงกราบลาพระอาจารย์กลับเชียงใหม่
หลวง ปู่แหวน พบว่าการอยุ่ในกรุงเทพๆ ไม่สะดวก สำหรับท่านด้วยมีเหตุขัดข้องในเรื่อง อาหารการบิณฑบาต เนื่องจากหลวงปู่ เป็นพระค่างถิ่น บิณฑบาตได้ไม่พอฉัน เพราะญาติโยม ส่วนมากจะตักบารตเฉพาะพระที่เป็นเจ้าประจำ พระจรจึงประสบปัญหามาก
หลวงปุ่บอกว่า กระกรรมฐาน อย่างท่าน พอมาอยู่กรุงเทพๆ ต้องกลายเป็นกรรมฐานแมวบ้าง เป็นกรรมฐานอึ่งบ้าง
คือวันไหนได้อาหารน้อยไม่พอฉัน ก็เป็นกรรมฐานแมว คือค่อยๆเลีย ค่อยๆดม กลัวอาหาร จะเปื้อนริมฝีปาก เหมือนกับแมว
ถ้าวันไหนบิณฑบาตไม่ได้อาหารก็ต้องอด กลายเป็นกรรมฐานอั่งไป
หลวงปู่เล่าแบบติตตลกว่า " ที่กล่้าวนี้เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบไม่ได้หมายความว่า แมวหรือ อึ่งอ่างปฎิบัติกรรมฐาน เพราะสัตว์ทั้งหลายเว้นจากมนุษย์แล้ว เป็นอันไม่มีโอกาสได้ปฎิบัติธรรม เพราะวิบากของสัตว์เหล่านั้นไม่อำนวย ให้ปฎิบัติธรรมกรรมฐานได้
หลวงปุ่บอกว่า ตามปกติพระกรรมฐาน ท่านไม่ถือเรื่องการอดอาหาร ว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ นัก ท่านบอกว่า :-
นักปฎิบัติกรรมฐาน เมื่อถึงคราวจำเป็น ต้องฝึกทรมานตน จำต้องอด ต้องงดอาหารเสียบ้าง เป็นบางครั้งบางคราว เพื่อกำราบปราบปราม นิวรณ์ธรรม ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแ่ก่จิตที่คอยเสาะแสวง หาอารมณ์ มาใส่ตน มาทับถมตน ทำให้เกิดความหนักหน่วงถ่วงจิต มืดมิดปิดปัญญา จนไม่เห็น อรรถเห็นธรรม
ผู้ ปฎิบัติเพื่ออรรถเพื่อธรรม จำต้องเป็นกรรมฐานแมว กรรมฐานอึ่ง อย่างนี้ในบางกาล บางสมัย ไม่ใช่แมว ไม่ใช่อึ่งมาปฎิบัติกรรมฐาน อย่างที่เข้าใจ
ในภพสาม กำเกิดสี่ นี้ จะมีการปฎิบัติธรรมกรรมฐาน ไ้ด้เฉพาะมนุษย์เท่านั้น นอกจากมนุษย์ แล้ว นอกนั้นเป็นหมดโอกาส เพราะวิบากกรรมของตน
|
|
|
๑๒๓. ร่วมกับหลวงปู่ขาว
ไปกราบหลวงปู่มั่น
หลัง จากหลวงปู่แหวน ลงไปพยาบาลท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดบรมนิวาส วรวิหาร กรุงเทพๆ ในครั้งนั้น พอใกล้จะเข้าพรรษา จึงได้กราบลา ท่่านเจ้าคุณๆ กลับเชียงใหม่ เพื่อหาที่พักจำพรรษา
เมื่อ หลวงปู่เดินทางมาถึงถ้ำแก่งหลวง (ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า หมายถึงถ้ำแก่งหลวง ตรงรอยต่อ ของจังหวัดลำปางกับแพร่ ที่หลวงปู่แว่น ธนปาโล เคยไปพักบำเพ็ญเพียร หรือเปล่า จะขอตรวจสอบต่อไปอีก) ก็ได้พบ หลวงปู่ขาว อนาลโย ศิษย์อาวุโสอีกองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น
หลวงปู่แหวน กับหลวงปุ่ขาว จึงได้ร่วมเดินทางไปกราบหลวงปู่มั่น ที่ป่าเมี่ยงห้วยทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ที่ป่าเมี่ยงห้วยทราย นี้เอง พระอาจารย์ใหญ่ คือหลวงปุ่มั่น ได้เมตตาแสดงธรรมสั่งสอน ย้ำ อุบายแนวปฎิบัติแก่ลูกศิษย์ทุกวัน
หลวง ปุ่แหวน บอกว่า " การแสดงธรรมของพระอาจารย์แต่ละครั้ง ใช้เวลาไม่นาน แต่ธรรม ที่ท่่านแสดงออกนั้น เป็นธรรมปฎิบัติล้วนๆ ละเอียดไปตามขั้นตอนของสารธรรม ทำให้ผู้ได้ฟัง หายสงสัยในข้อปฎิบัติของตนๆ ที่กำลังดำเนินอยู่
ทำให้เกิดความมุ่งมั่น มานะพยายาม ประกอบความเพียรกันอย่างเต็มความสาารถ
การได้ฟังธรรมจากครูอาจารย์แต่ละครั้ง เหมือนกับได้เพิ่มกำลังธรรมะเข้าไปอีก
ดังนั้น ในด้านภาวนา ต่างองค์ต่างก็เร่งความเพียรกันอย่างไม่ท้อถอย เต็มความสามารถของ ตน อย่างไม่ขาดวรรคตอน ทั้งกลางวันและกลางคืน เว้นเฉพาะเวลาหลับเท่านั้น
บันทึกช่วงนี้ กล่าวต่อไปว่า :-
ด้วยเหตุนี้ สติสัมปชัญญะ จึงมีกำลังอยู่เสมอ
เป็นการประกอบชาคริยานุโยค( ความเพียร) โดยแท้
การอยู่ร่วมกับพระอาจารย์ใหญ่ ในคราวนั้น จึงเป็นสัปปายะ หลายอย่าง คือ :-
บุคคลสัปปายะ เพราะสหธรรมิกล้วนแต่เป็นผู้ปฎิบัติธรรมด้วยกัน
สถานที่สัปปายะ เพราะเป็นป่าเขาลำเนาไพร บรรยากาศสงบ วิเวกวังเวง อากาศเย็น ชาวบ้าน ก็ไม่มารบกวน
อาหารสัปปายะ เพราะมีพอฉันเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ไม่บริบูรณ์ แต่ไม่ถึงขั้นขาดแคลน
ธรรมสัปปายะ เพราะพระอาจารย์ผู้แสดงธรรมท่านก็ย้ำลงในธรรมปฎิบัติ ในสารธรรมอัน เป็นวิมุตติธรรม วิโมกขธรรม ชี้จุดอันควรละและบอกจุดอันควรเจริญ ยิ่งใกล้วันเข้าพรรษา ท่าน ได้แสดงทางปฎิบัติย้ำลงเป็นจุดๆ เป็นขั้นตอนตามการเจริญมรรคปัญญา โดยเฉพาะ
|
|
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน
อ.เมือง จ.หนองบังลำภู
|
๑๒๔. ไปหาที่พักจำพรรษา
กับหลวงปุ่ขาว
พอ ใกล้จะเข้าพรรษา พระอาจารย์ใหญ่ คือหลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต บอกให้ลูกศิษย์ลูกหา แยกย้ายกันไปหาที่จำพรรษากันเอง จะมาจำพรรษษรวมอยู่ด้วยกันที่ ป่าเมี่ยงห้วยทราย ทั้งหมด ไม่ได้ เพราะจะเป็นภาระหนักแก่ชาวบ้านเขา
ในสมัยนั้น ป่าเมี่ยงห้วยทราบ มีบ้านอยู่ ๕-๖ หลังคาเรือน ชาวบ้านอาศัยการทำสวนเมี่ยง และหาของป่ามาขายเป็นหลักในการทำมาหาเลี้ยงชีพ การเข้าออกหมู่บ้านแต่ละครั้ง ก็ลำบาก เพราะทางเป็นห้วย เป็นป่าเขา ลำบากทั้งคนทั้งสัตว์ ที่ใช้ในการต่างของ(ลำเลียบนของ)
เมื่อพระอาจารย์ใหญ่ บอกเช่นนั้น หลวงปุ่แหวน กับหลวงปุ่ขาว ได้ปรึกษากันว่าจะไปจำ พรรษาที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง เพราะสถานที่นั้น เหมาะสมในการบำเพ็ญภาวนา เนื่องจากภูิมิประเทศเป็น ป่าเขา มีหมุ่บ้านพออาศัยโคนรบิณฑบาตได้ บรรยากาศเงียบสงบเยือกเย็น ไกลจากเสียงและผู้คน ไปรบกวน
การ ไปมาก็ไม่ลำบากนัก ถ้าจะมาหาอาจารย์ใหญ่่ตอนออกพรรษาแล้ว ก็เดินทางลัดเลาะ ตามป่าเขามา ใช้เวลาประมาณ ๔-๕ ชั่วโมง เ่ท่านั้น ก็จะมาถึงที่อยู่ของพระอาจารย์ใหญ่ได้
เมื่อหลวงปู่ แหวน กับหลวงปู่ขาว ปรึกษากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงจัดบริขาร เข้าไปกราบ ลาพระอาจารย์ใหญ่ แล้วออกเดินทางผ่านมาทางแม่ปั๋ง ไปทุ่งบวกข้าว เดินเข้าป่าลัดไปตามทาง ที่ไปยังป่าเมี่่ยงขุนปั๋ง ทางบางแห่งต้องข้ามห้วยหลายสาย บางแห่งก็ขึ้นเขาไป กว่าจะถึง ป่าเมี่่ยงขุนปั๋ง ก็ใช้เวลาเดินทาง ๔-๕ ชั่วโมง
|
|
|
๑๒๕. จำพรรษาที่
ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง
เมื่อ หลวงปู่แหวน กับ หลวงปุ่ขาว ไปถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง สถานที่ที่กำหนดจะจำพรรษาแล้ว ต่างองค์ต่างก็เลือกหาที่อยุ่ตามความพอใจ แล้วพวกเชาวบ้านก็ช่วยกันปลูกสร้างกุฎิที่พักเป็นการ ชั่วคราวให้ พออาศัยกันแดดกันฝนได้
อากาศบริเวณนั้นมีความชื้นสูง เพราะพื้นที่อยู่ในซอกเขามีภูเขาล้อมรอบทุกด้าน เหมือนอยู่ ในก้นกระทะ เวลาฝนตก น้ำจะไหลมาจากภูเขาทุกทิศทาง สบง จีวร และบริขารต่างๆ เวลาเปียก มักแห้งช้า เนื่องจากแสงแดด ส่องเข้าไม่ถึง ป่าไม้โดยรอบเ็ป็นป่าดงดิบ มีไม้ใหญ่น้อย นานาพรรณ และมีสัตว์ป่านานาชนิด ส่งเสียงร้องไม่ขาดระยะทั้งกลางวันกลางคืน เป็นการเตือน สติของผู้บำเพ็ญธรรมให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
ในช่วงพรรษานั้น หลวงปู่ทั้งสององค์ต่างก็ตั้งใจเร่งความเพียรกันอย่างเต็มที่ โดยไม่ยอมปล่อย เวลาให้เปล่าประโยชน์ ความก้าวหน้าทางด้านจิตภาวนาก็เป็นไปโดยราบรื่น การพิจารณาธรรม ได้อุบายแปลกๆดี มีความละเอียดสุขุมไปตามขั้นตอนของสมาธิและปัญญาที่ขุดค้นขึ้นมา ถ้ามีการ ขัดข้องบ้างทั้งสององค์ ต่างก็ช่วยกันแก้ไข ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
หลวง ปู่แหวน ท่านว่า " ถึงอย่างนั้นก็ตาม บรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ที่มันนอนอยู่ในขันธ สันดานมานาน ในสังสารวัฎมีความเป็นเอนกนั้น เมื่อมันเห็นว่าเราเอาจริงเอาจังต่อมัน มันก็เอา จริงกับเราเช่นเดียวกัน
เนื่อง จากสภาพของจิตใจของคนเรานั้น เคยถูกอาสวกิเลสครอบครองอยุ่นานหลายภพ หลายชาติ เมื่อมาถูกความเพียรเร่งเร้าเข้า จึงดูเหมือนจะก้าวหน้าไปด้วยดั แต่ถ้าความเพียรลด หย่อนอ่อนกำลังลงเมื่อใด เมื่อนั้นจิตใจเป็นโอนอ่อนผ่อนเข้าหากิเลส กิเลสาสวะทันที ตามวิสัยของ จิตที่มีหน้าที่รับอารมณ์ ซึ่้งยังขาดสติปัญญา เป็นเพื่อนสอง "
หลวง ปุ่แหวน เล่าต่อไปว่า " การที่จะผูกให้มันอยู่ในปัจจุบันด้วยการภาวนานั้นแสนยาก ถ้าเรารุกหน้าด้วยความเพียร มันก็ทำเป็นอ่อนกำลัง ถอยเข้าไปสู่ภายในเป็นที่กำบังยึดเป็นฐาน สงบนิ่งอยู่ ดูเหมือนไม่มีอะไรจะเป็นอันตราย เหมือนท้องทะเลอันราบเรียบ ในเวลาปราศจากลม และคลื่นฉะนั้น
จึงกล่้าวได้ว่า ต้องมีชั้นเชิงในการรุก การรับ การถอยตามกระบวนศึกของศัตรูผู้เชี่ยวชาญ ในเชิงการรบ"
|
|
พระอาจารย์พร สุมโน
วัดประชานิยม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลๆ
|
๑๒๖. อย่าทิ่มแทงกัน
ด้วยหอกด้วยดาบ
เมื่อ ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่น พระอาจารย์ใหญ่ พร้อมด้วยพระอาจารย์ พร สุมโน ได้ตาม มาสมทบ หลวงปู่แหวน หลวงปุ่ขาว ที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ที่หลวงปู่ทั้งสององค์พักจำพรรษาอยู่
ต่อมา หลวงปุ่เทสก์ เทสรํสี กับพระอาจารย์อ่อนสี สุเมโธ ก็ตามขึ้นไปสมทบอีก
เมื่อเห็นว่า มีพระไปอยู่ด้วยกันหลายรูป เกรงว่าจะเป็นภาระหนักแก่ชาวบ้าน หลวงปู่มั่น จึงให้หาทางแยกย้ายกันออกไปวิเวกบริเวณที่ไม่ไกลกันนัก
จะ มารวมกันเฉพาะวันอุโบสถ เพื่อฟังสวดปาฎิโมกข์แล้วรับการอบรมจากพระอาจารย์ใหญ่ เสร้จแล้วก็แยกย้ายกันกลับไปที่อยู่ของแต่ละองค์
เมื่อ จะใกล้จะเข้าพรรษาต่อไป หลวงปุ่แหวน กับ หลวงปู่ขาว ได้กราบเรียน พระอาจารย์ใหญ่ ขอกลับออกมาจำพรรษาที่ดอยน้ำมัว หรือดอยนะโม หรือ ฮ่องนะโม (ชื่อสถานที่เดียวกัน) และเมื่อ พระอาจารย์พร สุมโน ทราบเรื่องก็ขอตามไปจำพรรษาด้วย รวมเป็น ๓ องค์
เมื่อเข้าไปกราบลา หลวงปุ่มั่น ได้พูดเพือนสติศิษย์ทั้งสามว่า" เออ ไปแล้วอย่าไปทิ่มแทงกัน ด้วยหอกด้วยดาบนะ"
หลวงปู่ทั้งสามไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำเตือนนั้น และได้กราบลาเดินทางมา ดอยน้ำมัว บ้านทุ่งบวกข้าว ซึ่งเ็ป็นเทือกเขาเดียวกันกับ ดอยแม่ปั๋ง อยู่ไม่ห่างกันนัก อยู่ทางตะวัน ออก ไปมาหากันได้สบาย ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒๐ นาฑี เท่านั้น
ส่วน พระอาจารย์ใหญ่มั่น กับลูกศิษย์องค์อื่นๆ คงอยู่จำพรรษาที่ป่าเมี่่ยงขุนปั๋ง นั้น โดยมี พระอาจารย์ใหญ่พักอยู่ใกล้ถ้ำฤาษี ซึ่งชาวบ้านได้สร้างกุฎิชั่วคราวถวาย
|
|
|
๑๒๗. เกิดเหตุขัดเคืองใจกัน
การอ ยู่ำจำพรรษาที่ดอยนะโม(น้ำมัว) ของหลวงปุ่แหวน หลวงปุ่ขาว และหลวงปู่พร สุมโน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การภาวนาไม่มีอุปสรรค จิตก้าวหน้าดี เกิดอุบายธรรมแปลกๆ หลาย อย่าง
มีเหตุการณ์อยู่วันหนึ่ง ขณะที่หลวงปุ่แหวน กำลังเดินจงกรมอยู่ หลวงปุ่ขาว เดินถือไม้กวาด ตรงเข้าไปหา เมื่อถึงทางเดินจงกรม หลวงปุ่ขาว ก็ลงมือกวาดเรื่อยไปตามทางจงกรม กวาดไปจนถึงที่หลวงปุ่แหวนเดินอยู่ ก็ยังกวาดไปกวาดมา อยู่ทีเท้าของหลวงปู่แหวน นั่นเอง เสร็จแล้ว หลวงปู่ขาว ก็เดินออกไปโดยไม่พูดไม่จา
ครั้ง แรก หลวงปุ่แหวน นึกขัดเคืองใจอยู่เหมือนกัน ที่ถูกรบกวน ท่านได้คิดทบทวนดูว่่า หลวงปุ่ขาว ทำเช่นนั้นเพราะเหตุใด จึงนึกได้ว่า เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ขณะที่หลวงปุ่ขาว นั่งสมาธิอยุ่ ท่านใช้ไม่กวาด กวาดบริเวณ คงส่งเสียงดังรบกวนการนั่งสมาธิของหลวงปู่ขาว ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่ขาว จึงได้มาเตือน ความขัดเคืองใจก็หายไป ทำให้ท่านระมัดระวังยิ่งขึ้น
เหตุการณ์ครั้งที่สอง เมื่อออกพรรษาแล้ว มีโยมนำผ้ามาถวายเพื่อให้ตัดเย็บเป็นจีวร เมื่อลงมือ เท่้่านั้น หลวงปุ่ทั้งสามองค์ เกิดความเห็นไม่ตรงกัน องค์หนึ่งเห็นว่าควรตัดขนาดเท่านั้น อีกองค์ว่าเท่านี้ จึงจะพอดี ก็เกิดการโต้แย้งกันขึ้น กลายเป็นการโต้เถียง เพื่อเอาแพ้ชนะกัน
แม้ไม่มีเหตุรุนแรง แต่ก็หงุดหงิดใจต่อกันพอสมควร
|
|
|
๑๒๘. โดนหลวงปุ่มั่น
เทศน์อย่างหนัก
หลังออกพรรษานั้นเอง แคว่น(กำนัน) มี ขึ้นมาหาที่ดอยนะโม กราบเรียนว่าเขาจะไป ทำธุระที่บ้าน ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง
หลวงปุ่แหวน กับหลวงปุ่ขาว จึงบอกว่า ขากลับให้นิมนต์และรับ " ครูบาใหญ่ของเรา" ลงมาด้วย
เมื่อแคว่่นมี ขึ้นไปนิมนต์ พระอาจารย์ใหญ่ ท่านไม่ขัดข้อง ท่านเก็บบริขารเสร็จ แคว่นมี ก็สะพายบาตรรับท่านเดินทางมาพร้อมกัน
เมื่อพระอาจารย์ใหญ่ มาถึงดอยนะโมแล้ว ลูกศิษย์ต่างเข้าไปกราบนมัสการ ตอนนั้นยังไม่มี อะไรเกิดขึ้น
ตกเย็น หล้ังจากทำกิจวัตรเสร็จแล้ว หลวงปุ่มั่น ก็แสดงธรรม ให้การอบรมศิษย์ตามปกติ
การ แสดงธรรมในช่วงแรก ก็ไม่มีอะไรผิดแปลก พอแสดงไปได้สักพัก เสียงของท่าน เริ่มหนักแน่นจริงจังมากขึ้น เนื้อธรรมเต็มไปด้วยไม้ค้อนที่ประเคนตอกย้ำลงไปที่หัวใจของศิษย์
ท่านกล่้าวถึงหมุ่คณะที่ขัดแย้งกันว่า รังแต่จะถึงกาลวิบัติ ไม่้ยังหมู่คณะให้เจริญ ไม่ยังหมู่คณะให้มั่นคงถาวร ไม่ยังหมู่คณะให้ตั้งอยู่ได้นาน
แล้วท่านก็แสดงอานิสงส์ของความสามัคคี ในหมู่คณะเพราะมีทิฎฐิสามัญญตา ร่าวกัน
จบลงด้วยการชี้จุด ที่ำทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่คณะ คือการถือเอาความคิดของตัวเอง เป็นใหญ่ ไม่เคารพความรู้ความเห็นของผู้อื่น
หลวง ปุ่แหวน ท่าน่า " เป็นอันว่า เทศน์ของท่านอาจารย์กัณฑ์นั้น ท่านตั้งภาษิตเอาไว้ตั้งแต่ สามเดือนที่แล้วมา ก่อนเข้าพรรษาว่า ให้ระวังอย่าไปทิ่มแทงกันด้วยหอกด้วยดาบ คำเทศน์ จึงมา อธิบายเอาตอนออกพรรษาแล้วนี้เอง"
เืมื่อหลวงปุ่มั่น ท่านแสดงธรรมจบลง ท่านก็พูดคุยกับศิษย์เป็นธรรมดา เหมือนกับไม่มีอะไร เกิดขึ้น พูดคุยถามโน่นถามนี่
เมื่อหลวงปุ่แหวน หลวงปุ่ขาว หลวงปู่พร หายจากอาการสลบเพราะถูกตีด้วยธรรมาวุะแล้ว ก็เข้าไปกราบสารภาพผิด ซึ่งหลวงปุ่มั่น ก็ไม่ได้แสดงอาการผิดสังเกตุใดๆออกมา
" อุบายการแสดงธรรมก็ดี การวางตัวก็ดี การพูดจาปราศรรัยก็ดี เป็นกุสโลบาย เฉพาะองค์ ของหลวงปุ่มั่น ยากที่ศิษย์ทั้งหลายจะสังเกต ติดตามได้ทัน ซึ่งจะหาผู้ปฎิบัติได้อย่างองค์ท่านนั้น ยากแท้"
|
|
ทางเข้าถ้ำเชียงดาว
|
๑๒๙. จำพรรษา
ที่ถ้ำเชียงดาว
เหตุการณ์ ในต้อนนั้น น่าจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ตามหลักฐาน ที่ผุ้เขียนมี คืือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปพักบำเพ็ญอยุ่ที่เสนะสนะป่าบ้านปง (ต่อมาคือ วัดอรัญญวิเวก ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๗๐ ท่านพักอยู่ระยะหนึ่ง ไม่ได้จำพรรษา พอออกจากบ้านปง หลวงปุ่มั่น และสานุศิษย์ ได้ไปจำพรรษาที่ถ้ำเชียงดาว ก็คือในปี พ.ศ.๒๔๗๑ นั่นเอง ส่วนชื่อวัดอรํญญวิเวก นี้หลวงปู่มั่น ก็เป็นผู้ตั้งชื่อ รวมทั้งหลวงปุ่มั่น เป็นเจ้าสำนักองค์แรก ของวัดนี้ด้วย (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ หลวงพ่อเปลี่ยน ปญญาปทีโป)
พูด ถึงป่าเทือกเขาเชียงดาวนั้น ถือเป็นรมณียสถานสำหรับนักปฎิบัติธรรม ดังที่หลวงปุ่มั่น ได้บอกกับบรรดาศิษย์ว่า สถานที่ในแถบนี้เป็นมงคลสำหรับผุ้ปฎิบัติ
ทางสภาพภูมิประเทศ ที่เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีภูเขาสลับซับซ้อน มีถ้ำหลายแห่ง มีความสงบ ป่าไม้หนาทึบ และในประสบการณ์ของพระธุดงค์บอกว่า มีเทวดามาก จึงเหมาะต่อการ บำเพ็ญภาวนายิ่ง
การไปอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว ในครั้ังแรก มีด้วยกัน ๓ รูปคือ
หลวงปุ่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ และหลวงปุ่ตื้อ อจลธมฺโม มีตาผ้าขาวคำอ้าย (ต่อมาคือหลวงปุ่คำอ้าย) ติดตามมาคอยอุปัฎฐาก
ทั้ง สามองค์ไม่ได้พักอยู่ในที่เดียวกัน พระอาจารย์ใหญ่อยู่ภายในถ้ำหลวง หลวงปู่ตื้ออยู่ถ้ำ ปากเปียง และหลวงปู่แหวนขึ้นไป จำพรรษาที่ต้นธารน้ำไหล
ใน วันปกติ พระจะมาฉันรวมกันที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งอยู่ด้านล่างคนละถ้ำกับที่หลวงปุ่มั่นพัก เมื่อเสร็จกิจแล้ว แต่ละองค์ก็แยกย้ายกลับไปบำเพ็ญเพียรยังที่ของตน
สำหรับวันพระ ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ พระทั้งหมดจะมาประชุมฟังธรรม ทำอุโบสถ บอกปาริสุทธิ เสร็จแล้วก็แยกย้ายกันไป ไม่ได้อยู่คลุกคลีรวมกัน ต่างองค์ต่างเร่งบำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่
|
|
|
๑๓๐. วิบากกรรม
ของคนเชียงดาว
ใน ปีที่คณะของหลวงปู่มั่น ไปจำพรรษาที่ถ้ำเชียงดาว คือ ปี ๒๔๗๑ นั้น ได้เกิดโรคระบาด แก่ชาวบ้านอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกัน ก็มีพวกที่ปรกอบมิจฉาชีพกันอย่างไม่เกรงกลัวบาป กรรม และไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง
มีการลักขโมย ปล้น ฆ่า แทบไท่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะการลักโคกระบือของชาวบ้าน เอามาฆ่า จะมีเป็นประจำ
ทางด้านโรคระบาดก็มีผู้ต้องล้มตายทุกวัน วันละ ๒-๓ ศพ ชาวบ้านต้องเดือดร้อนและระทม ทุกข์กันมาก
เมื่อ ชาวบ้านขาดที่พึ่ง ก็พากันมาพึ่งพระ ท่านพรอาจารย์ใหญ่บอกให้พระช่วยกันแผ่เมตตา ช่วยชาวบ้านให้มากๆ ซึ่งต่างองค์ต่างก็ส่งกระแสจิตแผ่เมตตาจากทีพักของตน เพื่อให้เหตุการณ์ ต่างๆ ได้คลี่คลายไปในทางที่ดี
แต่เป็นที่น่าประหลาด คือ ยิ่งแผ่เมตตาช่วยมากเท่าไร ความวิบัติของชาวบ้านกลับิยิ่งมากขึ้น เป็นทวีคูณ
หลวง ปู่มั่น ได้นั่งพิจารณาทราบว่า กรรมที่พวกเขาเคยก่อไว้หนักเหลือเกิน แผ่เมตตาเท่าไร ก็ช่วยไม่ได้ เป็นกรรมของของเอง หลวงปู่มั่น ก็บอกพระให้ทำต่อไป อย่าได้ลดละ
โรคระบาดครั้งนั้นเกิดอยู่เป็นเดือน จึงค่อยสงบลง คร่าชีวิตชาวบ้านไปหลายสิบคน
สำหรับเรื่องการปล้น การลักขโมยนั้น พระอาจารย์ใหญ่ ท่านพยายามเทศน์แนะนำสั่งสอน ประชาชนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้ประกอบอาชีพสุจริต เพื่อจะได้อยู่กันอย่างสงบสุข
แต่ เหตุการณ์ก็ไม่ดีขึ้น คือ " ถึงท่านจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร ก็เท่ากับเอาน้ำไปรดตอไม้ พวกเขา หาเชื่อฟังไม่ ยังคงประกอบมิจฉาชีพ กันอยู่อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ต่อไป"
ต่อมา ทางการได้ทำการปราบปรามอย่างหนัก บรรดามิจฉาชีพจึงหมดไป แล้วความสงบสุข จึงกลับมาสู่เชียงดาวอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์ที่เชียงดาว ในช่วงที่คุณะพระธุดงค์ไปพำนักอยู่ในระยะแรก
|
|
|
๑๓๑. พญานาค
ในถ้ำเชียงดาว
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เล่าถึงพญานาคในถ้ำเชียงดาว ดังนี้:-
ภายในถ้ำหลวง ที่ถ้ำเชียงดาว มีพญานาคอยู่ถ้ำดังกล่าวนี้ สต้องแยกขึ้นไปทางซ้ายมือ อยุ่ เหนือถ้ำหลวงเล็กน้อย พื้นถ้ำมีก้อนหินเป็นรูปกงจักรดับดอกบัว มีพญานาคเฝ้าอยู่ภายใต้แผ่นหิน นี้
เวลามีพระเข้าไปภาวนาอยู่ภายในถ้ำนั้น ท่านแทบกระดุกกระดิกตัวไม่ได้เลย เป็นต้องถูก พญานาคกล่าวโทษทันที่ว่า สมณะอะไร ช่างไม่สำรวม คะนองกายเหมือนเด็กๆ
ถ้าเดินไปสะดุดเอาก้อนหินดังกรอกแกรก เขาก็จะกล่าวโทษว่า สมณะอะไร จะเดินจะเหิน ไม่สำรวมระวัง รีบไปรีบมา เหมือนม้าแข่ง
ไม่ว่าพระจะทำอะไร ต้องสำรวมทุอิริยาบถ ถึงอย่างนั้นก็ไม่วายจะถูกตำหนิติเตียน
พญา นาคนี้มีอัธยาศัยชอบพอกับ พระมหาบุญ ถ้าพระมหาบุญเข้าไปอยู่ในถ้ำนั้น ไม่ว่าท่าน จะทำอะไร เช่น ทำเสียงกระแอมกระไอ เดินเสียงดัง ทำก้อนหินหล่น เธอก็เฉย ไม่แสดงกิริยา อะไร ต่อต้าน เพราะมีจริตเหมือนกัน
อย่าง ไรก็ตาม ไม่มีพระองค์ใด เข้าไปอยุ่ในถ้ำนั้นได้นาน เพราะในถ้ำมีช่องให้อากาศเช้าไป ทางเดียว คือทางปากถ้ำ เมื่อพระเข้าไปอยู่ข้างในแล้วปิดประตู อาากศภายนอกแทบเข้าไปไม่ได้ เลย ทำให้อึดอัด หายใจไม่สะดวก
ยกเว้น หลวงปุ่มั่น องค์เดียว ที่ท่านเข้าไปอยู่ในถ้ำนั้นได้นานเป็นวันๆ
หลวงปุ่มั่น เคยเทศน์แนะนำพญานาค แต่เธอไม่ยอมรับคำแนะนำ เพราะยังอาลัยอัตภาพ ปัจจุบันของตนอยู่ ในที่สุดท่านเห็นว่า เข้าไปทำความรำคาญให้แก่เธอ จึงไม่เข้าไปในถ้ำนั้น อีกเลย
ที่ ถ้ำพญานาคนี้ หลวงปุ่แหวน เข้าไปอยู่ ๑ วัน หลวงปู่ตื้อเข้าไปอยู่ ๓ วัน แต่ละองค์ที่เข้าไป อยู่ ต่างถูกพญานาค ตำหนิกล่าวโทษเอาทั้งสิ้น พระท่านอยู่ไม่ได้เพราะส่งจิตออกไปดูทีไรเห็น พญานาคคอยจ้องหาเรื่องตำหนิพระอยู่ตลอดเวลา
เมื่อพระ ต่างองค์ต่างเห็นว่า ถ้าเข้าไปแล้วจะทำให้พญานาคสร้างบาป หนักเข้าไปอีก จึงได้ ช่วยเหลือเธอโดยการไม่เข้าไปรบกวน ในที่อยู่ของเธออีกต่อไป
|
|
|
๑๓๒. พบเปรตสมัยใหม่
ประสพการณ์ส่วนหนึ่งของ หลวงปุ่แหวน ขณะอยที่ถ้ำเชียงดาว มีดังนี้ :-
ในระหว่างพรรษา วันหนึ่งประมาณ ๕ โมงเย็น หลวงปู่แหวน กำลังเดินจงกรมอยู่ ก็มีเสียง ดังโครมครามเหมือนกิ่งไม้ใหญ่หักลงมา จึงเหลียวไปดู กลายเป็นสัตว์ร่างใหญ่ร่างหนึ่ง เอาเท้า เกาะอยู่บนกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา มีผมยาวรุงรัง เสียงร้องโหยหวน
หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่ได้นึกกลัว และไม่ได้ให้ความสนใจ ยังคงเดินจงกรมต่อไป
เมื่อร่างนั้นเห็นว่า หลวงปุ่ไม่สนใจ ก็หนีหายไป
สอง สามวันต่อมา ก็มาปรากฎอีก แต่หลวงปู่ ก็เดินจงกรมโดยไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงมา ปรากฎตัวให้เห็นทุกเย็น แต่ไม่ได้เข้ามาใกล้หลวงปุ่ คงแสดงอาการเหมือนเดิมทุกครั้ง
วันหนึ่ง หลวงปู่ ได้กำหนดจิตถามไปว่า ที่มานั้นเขาต้องการอะไร ทีแรกเขาทำเฉยเหมือน ไม่เข้าใจ หลวงปู่ จึงกำหนดจิตถามอีก เขาจึงบอกว่า ต้องการมาขอส่วนบุญ
หลวงปู่ จึงกำหนดจิตถามต่อไปว่า เขาเคยทำกรรมอะไรมา จึงต้องมาทุกข์ทรมานอยู่ ในสภาพเช่นนี้
ร่างนั้นได้เล่าถึงบุพกรรมของเขาว่า เขาเคยเป็นคนอยู่ที่เชียงดาวนี้ มีอาชีพลักขโมยและ ปล้นเขากิน ก่อนไปปล้น เขาจะเอาดอกไม้ธูปเทียน ไปขอพรและขอคุ้มครองกับพระพุทธรูปองค์ หนึ่งในถ้ำ
เขาทำอย่างนี้ทุกครั้ง และก็แคล้วคลาดตลอดมา
อยู่ มาวันหนึ่ง เขาไปขอพรพระพุทธรูป แล้วออกไปปล้นเช่นเคย บังเอิญเจ้าของบ้านรู้ตัวก่อน จึงเตรียมต่อสู้ เขาถูกเจ้าของบ้านฟันบาดเจ็บสาหัส จึงหนีตายเอาตัวรอดมาได้
ด้วย ความโมโหว่า พระไม่คุ้มครอง เขาจึงกลับไปที่ถ้ำแล้วเอาขวานทุบเศียรพระพุทธรูป จนคอหัก ขณะเดียวกัน ก็ยังคุมแค้นอยู่ ตั้งใจว่า บาดแผลหายแล้ว จะกลับไปแก้แค้นเจ้าของบ้าน ให้ได้
เผอิญบาดแผลที่ถูกฟันนั้นสาหัสมาก เขาจึงต้องตายในเวลาต่อมา วิญญาณเขาจึงต้องมาเป็น เปรตทนทุกข์ทรมานอยู่ที่เชียงดาว แห่งนี้ จึงได้พยายามมาขอส่วนบุญ เพื่อให้พระท่านช่วยแผ่ให้ จะได้คลายความทุกข์ทรมานลงไปได้บ้าง
หลวง ปู่แหวน ท่านเล่าว่า บุพกรรมของเปรตตนนั้น หนักมากเหลือเกิน ท่านได้รวบรวมจิต อุทิศบุญกุศลไปให้ ตั้งแต่นั้นมา ร่างนั้นก็ไม่ปรากฎให้เห็นอีก แต่จะได้รับบุญกุศลเพียงใดขึ้น อยู่กับตัวเขาเอง
หลวงปุ่ บอกว่า เปตรตนนั้นเป็นเปรตสมัยใหม่ เพราะใช้คำแทนตัวเขาเองว่า "ผม" แต่เปรต ตนอื่นๆ ที่หลวงปู่เคยพบมา จะใช้คำแทนตนว่า "เรา" หรือ " ข้าพเจ้า" จึงนับว่าเปรตตนนี้ เป็นเปรตสมัยใหม่
|
|
|
๑๓๓. ธรรมะีที่สืบเนื่อง
จากเปรตตนนั้น
หลวงปู่แหวน ท่านพูดถึงธรรมะหลังจากเล่าเรื่องเปรตตนนั้นดังต่อไปนี้ :-
บรรดา สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อไม่มีทุกข์มาถึงตัว มักจะไม่เห็นคุณของพระศาสนา มัวเมา ประ มาท ปล่อยกายปล่อยใจให้ประพฤติทุจริต ผิดศีลผิดธรรม อยู่เป็นประจำนิสัย เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ต่อเมื่อได้รับทุกข์แล้ว ที่พึ่งอื่นไม่มี นั่นแหละจึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา
แต่เป็นเวลาที่สายไปแล้ว
เรื่อง ความดีนั้นเราต้องทำอยุ่เสมอ ให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค คือทางดำเินินไปของจิต จึงจะเห็ผลของความดี
ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้ว ญาติจึงเคาะ โลงบอกให้รับศีล เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดหมด
เหตุ เพราะว่า คนเจ็บนั้น จิตมัวติดอยู่กับเวทนา ไฉนจะมาสนใจใยดีกับศีลได้ เว้นไว้แต่ผู้ที่ รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะสามารถระลึกถึงศีลของตัวได้ เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็น อารมณ์ของจิตแล้วเท่านั้น
แต่ส่วนมาก พอใกล้จะตายแล้ว จึงมีผู้เตือนให้รับศีล ยิ่งคนตายแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะคนตายนั้น ร่างกายกับจิตใจ ไม่รับรู้ใดๆแล้ว
แต่ที่ทำมา ก็ยังถือว่าเป็นของดี
ตัวอย่าง พระเทวทัต ทำกรรมจนสุดท้ายถูกแผ่นดินสูบ เมื่อร่างกายลงไปถึงคาง จึงระลึกถึง ความดีของพระพุทธเจ้าได้ แล้วขอถวายคางเป็นพุทธบูชา
พระเทวทัต ยังมีสติระลึกได้ จึงพอมีผลดีอยุ่บ้างในอนาคต
แม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้ว จึงสำนึกได้มาขอส่วนบุญ เมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่ เคยทำลายแม้กระทั่งพระพุทธรูปที่ตนเคารพนับถือ
การ ที่พระแผ่เมตตาให้ เขาจะได้รับหรือเปล่าไม่รู้ สู้เราทำเอาเองไม่ได้ เราทำให้ตัวเราเอง จะได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปิติ เอิมอิ่มใจมากเท่านั้น
|
|
|
๑๓๔. ทาุงบุญ...ทางบาป
ท่าู้นผู้อ่านคงจะเคยทราบคำสอนของหลวงปู่แหวน เกี่ยวกับ ธรรมา - ธรรเมา บ้างแล้ว ใช่ไหมครับ ?
หลวงปุ่ ได้เทศน์ให้ฟังต่อไปดังนี้ :-
ธรรมทั้งหลายไหลมาจาเหตุ กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ใจก็เป็นเหตุ อันหนึ่ง
กายทุจริตเป็นเหตุแห่งบาปอย่างหนึ่ง วจีทุจริตก็เป็นเหตุแห่งบาปอย่างหนึ่ง มโนทุจริตก็เป็น เหตุแห่งบาปอย่างหนึ่ง
การ ละกายทุจริตก็เป็นเหตุแห่งบุญอย่างหนึ่ง การละวจีทุจริตก็เป็นเหตุแห่งบุญอย่างหนึ่ง การละมโนทุจริต ก็เป็นเหตุแห่งบุญอย่างหนึ่ง
ทางของบุญของบาปเหล่านี้มีอยุ่ในตัวของเรานี้เอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน เราก็ทำเอา สร้างสมเอา
อย่ามัวเมาเป็นอดีตเป็นอนาคต อดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา มีแต่ปัจจุบัน เท่านั้นที่เป็นธรรมา
สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถจะไปตัดไปแปลงมันได้อีกแล้ว สิ่งที่เราทำไป นั้น ถ้ามันดี มันก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว ถ้ามันชั่ว มันก็ชั่วไปแล้ว พ้นไปแล้วเช่นกัน
อนาคต ก็ยังไม่มาถึง สิ่งที่ยังไม่มาถง เราก็ยังไม่รู้ ไม่เห็นว่า มันจะเป็นอย่างไร อย่างมากก็ เป็นแต่เพียงการเดา การคาดคะเนเอาว่า ควรเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งมันอาจจะไม่เป็นอย่างที่เรา คาดคะเนก็ได้
ปัจจุบันคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริงไ้้ด้สัมผัสจริง
เพราะฉะนั้น ความดีต้องทำในปัจจุบัน
ทาน ก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ต้องทำเสียในปัจจุบัน ที่เรายังมีชีวิตอยุ่นี้ เราต้องการความดี ก็ต้อง ทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้ ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ ก็ต้องทำให้เป็นในปัจจุบันนี้
ธรรม ทั้งหลายไหลมาจากเหตุ อย่างนี้ ถ้าเหตุเราทำไว้ดีแล้ว ผลมันก็ก็ดีตามเหตุ ถ้าเหตุเรา ทำไว้ไม่ดีแล้ว ผลไม่ดีตามเหตุ เหตุและผลต้องสัมพันธ์กันเสมอ เป้นแต่ว่าคนเราจะยอมรับ หรือไม่ยอมรับเท่านั้น
เราไม่ควรปล่อยเวลาให้เสียไปกับอดีต กับอนาคต เพราะทั้งอดีตและอนาคตต่างก็เป็นธรรม เมาด้วยกันทั้งนั้น
สิ่งที่ผ่่านไปแล้ว ก็ให้เขาผ่านไป สิ่งใดที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่เกิด
ถ้า ปัจจุบันดี อดีตมันก็ดี อนาคตมันก็ดี เพราะปัจจุบันเมื่อผ่านไป มันก็กลายเป็นอดีต ถ้ามัน ยังไม่ผ่านไป มันก้เป็นทางดำเนินไปสู่อนาคต เป็นเข็มชี้บอกอนาคต
ดังนั้น เราต้องทำเหตุให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เราจึงจะได้สิ่งที่เราปราถนา
|
|
(ซ้าย)-สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ
(หันหลัง) -พระราชสังวราภิมณฑ์
(หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)
|
๑๓๕. หลวงปู่มั่นไม่ออกจาำถ้ำ
๙ วัน ๙ คืน
หลวงปู่แหวน ได้เล่าถึงหลวงปุ่มั่นว่า :-
เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านอาจารย์ใหญ่ ให้โยมนำไม้เข้าไปทำแคร่ให้ท่านอีกแห่งที่ถ้ำเจดีย์ อยู่ลึกเข้าไปข้างในถ้ำถ้ำหลวง แล้วท่านก็เข้าไปอยู่ภายในถ้ำนั้น ๙ วัน ๙ คืน โดยไม่ออกมาเลย
ในวันที่ ๑๐ หลวงปุ่มั่น จึงออกมา หลังจากกลับจากบิณฑบาตและฉันเสร็จแล้ว ท่านจึงเล่า ให้คณะศิษย์ฟังว่า ท่านเช้าไปช่วยเจ้าของผู้สร้างเจดีย์ เขาห่วงเจดีย์ของเขา เขาไปไหนไม่ได้ ท่านจึงไปช่วยแนะนำเขา เวลานี้เขาไปแล้ว
หลวงปู่แหวน บอกว่า ที่พระอาจารย์ใหญ่พูดว่า เขาไปแล้ว นั้นท่านเองก็ไม่รู้ว่าใครไปไหน ได้กราบเรียนถาม แต่ท่านก็ไม่ได้อธิบาย หยุดไว้แค่นั้น
จาก คำบอกเล่าของครูบาอาจารย์องค์อื่น ความว่า ได้มีวิญญาณหญิงสาวกับสามเณร ที่เป้น น้องชาย มาวนเวียนอยู่บริเวณที่หลวงปู่มั่น พักนั้นหลายคืน ท่า่นจึงถามว่า มาเดินอยู่ทำไม วิญญาณก็เล่าให้ฟังว่า พวกเราสร้างเจดีย์ไว้ยังไม่เสร็จ ก็ต้องมาตายเสียก่อน เขาจึงกังวลกับเรื่องนี้ ยังไปไหนไม่ได้
หลวงปุ่มั่น จึงเทศน์ให้สติวิญญาณสองพี่น้อง ใจความว่า :-
สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรทำความผูกพัน เพราะไม่สามารถเอากลับมาให้เป็นปัจจุบันได้ มีแต่ จะทำให้กังวลและเป็นทุกข์ ส่วนอนาคตก็ไม่ควรไปห่วง ไปเกี่ยวข้อง อดีต ควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้น จึงจะทำให้สำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ใน ฐานะที่เขาสามารถทำได้
การ สร้างพระเจดีย์ เราสร้างด้้วยหวังบุญ หวังกุศล ไม่ได้สร้างเพื่อหวังเอาก้อนอิฐ ก้อนหิน ปูนทราย ในองค์พระเจดีย์ ติดตัวไปด้วย สิ่งที่เป็นสมบัติของเราในการสร้างพระเจดีย์ ก็คือบุญ ที่ เราจะเอาติดตัวไปได้ เราไม่ได้เอาสิ่งก่อสร้าง วัตถุทานต่างๆ ที่สละแล้วนั้น เอาติดตัวไปด้วย เราเอาไปได้ เฉพาะส่วนนามธรรม ที่เกิดจากการสละวัตถุทานเหล่านั้น นั่นคือตัวบุญกุศล
เจ้า ของผู้คิดเป็นกุศลเจตนาขึ้นมา ให้สำเร็จเป็นวัตถุไทยทานต่างๆนั้นคือ ใจ ใจนี่แหละเป็น ผู้ทรงบุญ ทรงกุศล ทรงมรรค ทรงผล ทรงสวรรค์ นิพพาน และใจนี่แล เป็นผู้ไปสู่สวรรค์นิพพาน นอกจากใจไม่มีอะไรไป
" ถ้าคุณทั้งสองยินดีเฉพาะกุศลผลบุญที่ทำได้จาการสร้างพระเจดีย์ไปเท่านั้น ไม่มุ่งจะแบก หามพระเจดีย์ไปสวรรค์ นิพพาน ด้วย คุณทั้งสองก็ไปอย่างสคโต หายห่วงไปนานแล้ว เพราะบุญ เป็นเครื่องสนับสนุน บุญจึงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นบาปตลอดกาล
คุณทั้งสองสร้าง บุญญาภิสมภารมา เพื่อยังตนไปสู่สคิ แต่กลับมาติดกังวลในอิฐ ในปูนเพียงเท่า นั้น จนเป็นอุปสรรคต่อทางเดินของตน ซึ่งทำให้เสียเวลาไปนาน
ถ้า คุณทั้งสอง พยายามตัดความขัดข้องห่วงใยที่กำลังเป็นอยู่ ออกจากใจ ชั่วเวลาไม่นาน จะเป็นผู้หมดภาระผูกพัน คุณมีจิตมุ่งมั่นในภพใด จะสมหวังในภพนั้น เพราะแรงกุศลที่ได้พากัน สร้างมาพร้อมอยู่แล้ว "
หลัง จากนั้น หลวงปุ่มั่น ก็สอนดวงวิญญาณ ให้รักษาศีลห้า สอนอานิสงฆ์ของทาน ศีล ภาวนา และหลักธรรมอื่นๆ จนดวงวิญญาณคลายการติดยึด แล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ภิภพ ในลำดับต่อมา
|
|
|
๑๓๖. สำรวจถ้ำ
พระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้เขียน เคยนำเสนอเรื่องนี้แล้ว ในประวัติ ของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ในโครงการ หนังสือ บูรพาจารย์ เล่ม ๒
ที่นำเสนอในที่นี้เป็นคำบอกเล่าของ หลวงปู่แหวน ถ้าเอาข้อมูลมาประกอบกัน ก็จะทำให้ เรื่องราวสมบูรณ์มากขึ้น
เรื่องราวมีดังนี้ :-
วัน หนึ่ง ขณะที่เตรียมบาตรจะออกไปบิณฑบาต ท่านอาจารย์ใหญ่ พูดขึ้นมาว่า " เมื่อคืนนี้ขณะที่ ภาวนาอยุ่ได้นิมิตไปว่า บนยอดเขาเชียงดาวนี้มีถ้ำ อยู่แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ในสมัยโบราณ ถ้ำนั้นกว้างขวางน่าอยู่ แต่พวกเราไปอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีอาหาร นอกจากไม่มี อาหารแล้ว ขึ้นไปก็ขึ้นไม่ได้ เพราะไม่มีทางขึ้น"
หลวงปู่มั่น พูดแล้วก็นิ่งอยู่ หลวงปู่ตื้อ จึงพูดขึ้นว่า วันนี้ฉันเสร็จแล้ว กระผมจะขึ้นไปดู ได้ไหม? "
ท่านอาจารย์ใหญ่กล่าวว่า " จะขึ้นไปได้อย่างไร มันไม่มีทางขึ้น"
หลวงปู่ตื้อว่า " ไม่มีทางขึ้นก็จะลองดู คงจะพอมีทางบ้าง"
หลวง ปู่แหวนเล่าว่า " ท่านอาจารย์ใหญ่นิ่้วอยู่ไม่ได้พูดว่าอะไร เพราะทราบนิสัยกันดีว่า หลวงปู่ตื้อมักจะทำอะไรแผลงๆ อยู๋เสมอ แม้แต่เคยเถียงท่านอาจารย์ใหญ่ก็เคยเถียง ซึ่งท่านก็ไม่ ได้ว่าอะไร แต่สำหรับองค์อื่นแล้ว อย่าว่าแต่เถียงเลย ทำอะไรไม่ถูกแม่แต่เพียงเล็กน้อย ท่านก็ถือ เป็นเรื่องใหญ่ ต้องเทศน์กันเป็นเรื่องเป็นราวไปทีเดียว"
หลวงปู่แหวน เล่าต่อไปว่า " วันนั้น เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ลองขึ้นไปดู เดินค้นหากันอยู่ นาน มองเห็นยอดหนึ่งสูงชะลูดขึ้นไป เห็นว่าเป็นที่แปลกกว่าที่อื่นๆ จึงปีนขึ้นไปดู เมื่อขึ้นไปใกล้ มองเห็นปากถ้ำอยู่ แต่เมื่อสำรวจลู่ทางที่จะขึ้นไปหาถ้ำนั้น ไม่มีทางขึ้น
หลวงปู่ตื้อ ได้พยายามจนสุดความสามารถจะชึ้นไปให้ได้ โหนเถาวัลย์ขึ้นไป เมื่อขึ้นไปสุด เถาวัลย์แล้ว เดินต่อไปอีกไม่ได้ จึงต้องลงถอยกันลงมา ซึ่งก็ตรงกับคำบอกเล่าของท่านอาจารย์ ใหญ่จริงๆ "
เรื่องของถ้ำเชียงดาว มีเรื่องที่ลึกลับน่าสนใจอีกมาก เอาไว้ค่อยทะยอยเขียนตามโอกาสเหมาะ ต่อไป
ท่านพระอาจารย์นาค อตฺถวโร วัดสัมพันธวงค์ กรุงเทพๆ ผู้บันทึกเรื่องราวของ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้กล่าวถึงเชียงดาว ดังนี้ :-
" เชียงดาว เคยเป็นรมณียสถานของผู้บำเพ็ญสมณธรรม ในสมัยก่อน แต่กาลเวลาได้ผ่านไป จนถึงสมัยปัจจุบัน เชียงดาวกลายไปเป็นสถานที่ท่องเที่่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ของคนทุกเทศทุกวัย
เชียงดาวจึงเปลี่ยนสถานภาพจากรมณียสถานของนักปฎิบัติธรรมในสมัยก่อน กลายมาเป็น รมณียสถานสำหรับนักทัศนาจร
เชียงดาว จึงกลายเป็นอโคจรสถานสำหรับสมณะผู้รักสงบ คำว่า เชียงดาวเป็นสถานที่อันเป็น มงคลที่หนึ่งในประเทศไทย จึงเป็นเพียงอดีตอันไกลโพ้น "
|
|
|
๑๓๗. จำพรรษาที่
นาหนานปวนแม่มา
ใน พรรษาต่อไป หลวงปู่แหวน ไปพักจำพรรษาในบริเวณที่นา ของสองสามีภรรยา ชื่อ หนานปวน กับแม่มา สถานที่นี้ ก็ยังคงอยู่ใน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ในบันทึกประวัติ ของหลวงปุ่แหวน เขียนไว้ดังต่อไปนี้ :-
ห่าง จากบ้านแม่ปั๋ง ไปประมาณ ๓ กม. ข้ามดอยแม่ปั๋งไปมี่ทุ่งนา ระหว่างเขาอยู่แห่งหนึ่ง ทุ่งนานี้ยาวไปตามภูเขา มีธารน้ำไหลตลอดปี
ข้างธารน้ำไหลนั้น มีถ้ำอยู่แห่งหนึ่ง ลักษณะของถ้ำเกิดจากการไหลเซาะของน้ำกัดริมตลิ่ง นานๆไปทำให้ข้างริมตลิ่งตรงบริเวณนั้น เกิดเป็นถ้ำขึ้น
ลักษณะ ของถ้ำแห่งนี้ จึงค่อนข้างลึกลับ คือถ้ามองดูด้านบน จะไม่รู้ว่ามีถ้ำอยู่บริเวณนั้น ถ้าลงไปเดินที่ลำธาร จึงจะมองเห็นถ้ำซึ่งมีขนาดกว้าง ยาว ๕-๖ เมตร นับเป็นถ้ำใหญ่พอพัก อาศัยได้ น้ำได้พัดเอาทรายและก้อนหินเล็กๆ เข้าไปอุดในถ้ำ เหลือความลึกจากปากถ้ำเข้าไป ๑๐ เมตรเศษ
ในฤดูแล้ง สามารถอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ได้สบาย แต่ในฤดูฝน เมื่อน้ำจากภูเขาไหลมามาก ทำให้ธารน้ำไหล เข้าไปในถ้ำพักอยู่ไม่ได้
เจ้าของที่นาแห่งนี้ ชื่อหนานปวน กับ แม่มา ตามที่กล่าวมาแล้ว สามีภรรยาคู่นี้เป็นช่างตี เหล็ก นอกเหนือจากการทำนา
ใน ฤดูแล้ง หลวงปุ่ได้เข้าไปแสวงวิเวกตามป่าเขา ไ้ด้พบถ้ำแห่งนี้เข้า จึงเข้าไปพักภาวนา เห็นว่าบริเวณแห่งนั้น มีความสงบดี จึงแจ้งให้เจ้าของที่นา ทราบว่า ท่านประสงค์จะอยู่จำพรรษา ณ สถานที่นั้น
เจ้าของที่นา สุดแสนจะยินดี ได้ัจัดแจงทำที่พักบนหลังถ้ำให้เป็นกุฎิชั่วคราวของหลวงปู่ ได้ยกพื้นสูงจากพื้นดิน
หลวง ปู่บอกให้ทำพื้นที่สูงพอพ้นดินก็พอ เพราะสะดวกในการขึ้นลง แต่เจ้าของที่ไม่ยอม เพราะกลัวเสือจะมารบกวนทำอันตรายท่าน ซึ่งสมัยนั้น แถบนันมีเสืออยู่มาก เพราะพื้นที่ยัง เป็นป่า ดงดิบอยู่
หลวงปู่ ต้องอนุโลมตาม ยอมให้ปลุกกุฎิยกพื้นสูง ตามความปราถนาดีของเขา
หลวง ปู่จึงได้จำพรรษาอยู่ในสถานที่นั้น และนับตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา ทั้งหนานปวน และ แม่มาต่างก็รักษาอูโบสถศีล ตออดพรรษา และคงยังรักษาทุกพรรษา ต่อมาจนตลอดชีวิต
ู่
|
|
|
|
|
ป่าเมี่ยงแม่สาย
อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่
|
๑๓๘. รับนิมนต์ไป
ป่าเมี่ยงแม่สาย
ช่วง ที่พำนักที่นาหนานปวน- แม่มา ในพรรษานั้น ในเวลากลางคืน หลวงปู่แหวน ได้เดิน เที่ยวไปมา ตามป่าเขาแถวนั้นบ่อยๆ โดยเฉพาะในคืนที่อากาศโปร่งไม่มีเมฆ แสงจันทร์เจิดจ้า เดินท่องป่าให้ความเพลินใจดี และไม่ปรากฎว่า มีสัตว์ร้ายอะไรมาเผ้วพานเลย( ความจริงท่านไป ภาวนา ไม่ได้ไปเดินเที่ยวครับ)
เวลา กลางวัน บางวันก็ขึ้นไปภาวนาอยู่ตามเนินหินสูงๆ บนภูเขา มีพวกเด็กๆที่มาเลี้ยงควาย แถวนั้น ขึ้นเอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่ไปถวายทุกวัน
ใน กลางพรรษา มีคณะศรัทธาจากป่าเมี่ยงแม่สาย นำโดยแม่โสม มานิมนต์ว่า ออกพรรษา แล้ว ขอนิมนต์พระคุณท่านไปโปรดทางป่าเมี่ยงแม่สายบ้าง
หลังจากออกพรรษาไม่นานนัก คณะศรัทธาป่าเมี่่ยงแม่สาาย ก็มาัรับหลวงปู่ขึ้นไปตามที่เคย นิมนต์ไว้ ท่านจึงลาหนานปวนกับแม่มา เจ้าของสถานที่ เดินทางขึ้นป่าเมี่ยงแม่สาย พร้อมกับคณะ ศรัทธาที่มารับ
หลวง ปู่เล่าว่า การไปป่าเมี่ยงแม่สายนั้น ต้องเดินทางขึ้นเขาลงห้วยไปหลายแห่งกว่าจะถึง ใช้ เวลาเดินทางขาขึ้น ๖ ชั่วโมง และขาลงอีก ๔ ชั่วโมง ถ้าเดินไม่แข็งต้องใช้เวลานานกว่านี้
(หมายความว่า ต้องเดินทางหนึ่งวันเต็มๆกันเลย)
หมายเหตุ : ป่าเมี่ยงแม่สาย อยู่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ใช่อยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัด เชียงราย )
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๑๓๙. เรื่องของแม่โสม
อดีตหมอผีแห่งป่าเมี่ยงแม่สาย
ป่า เมี่ยงแม่สาย เป็นหมุ่บ้านตั้งอยุ่กลางหุบเขา มีลำธารน้ำไหลผ่านตลอดปี ชาวบ้าน มีอาชีพ ทำสวนเมี่ยงเป็นอาชีพหลัก (ต้นเมี่ยงเป็นชาชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเก็บเอาใบมาหมัก เป็นเมี่ยงของ ชาวเหนือ)
เดิมชาวบ้านนับถือผี ถึงปีต้องทำพิธีเลี้ยงผี ไม่เช่นนั้น จะมีการเจ็บป่วยล้มตายกัน
หัว หน้าหมู่บ้านคือแม่โสม ที่นำคณะไปนิมนต์หลวงปู่นั่นเอง นอกจากเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน เล้ว แม่โสม แกเป็นหมอผีประจำหมู่บ้านด้วย
เคยมีพระธดงค์กรรมฐาน ไปพักอาศัยใกล้หมู่บ้าน ได้เทศน์สั่งสอนให้ ชาวบ้าน เลิกกานับถือ ผี ให้นับถือพระรัตนตรัยแทน ซึ่งก็มีพวกเลิกถือผีตามพระไม่กี่คน แม่โสม เป็นคนหนึ่งที่เชื่อพระ ตัวแกเองได้ปฎิญญาณกับพระ เลิกถือผีโดยเด็ดขาด
พอ ถึงเวลาเลี้ยงผีครบรอบปี ในหมู่บ้านไม่ได้ทำพิธีเซ่นทรวงผี เหมือนอย่างเคย ผีก็แสดง เดชออกมาท้ันที โดยเข้าสิงผู้คนในหมู่บ้าน วุ่นวายไปหมด
ที่สำคัญมาเข้าสิงลูกของแม่โสมเอง พร้อมขู่ว่า ถ้าแม่โสมไม่ออกจากพระรัตนตรัย แล้วกลับ มาเซ่นสรวงผีอย่างเดิม จะหักคอลูกของแกให้ตายเสีย
เมื่อ หัวหน้าหมุ่บ้าน และอดีตหมอผี เจอดีเช่นนี้ ก็ทำให้ครอบครัวของแกเดือดร้อนวุ่นวาย ไปหมด บางวันตัวแม่โสมเองยังถูกผีเข้าสิงลงดิ้นพราดๆ ไปเหมือนกัน
แม่โสมแกเป็นคนถือสัจจะ จึงไม่ยอมเลิกนับถือพระรัตนตรัย
ในที่สุดลูกคนหนึ่ง ของแกก็ตายลง คนที่สองก็เริ่มป่วย ผีมาเข้าสิงอีก พร้อมทั้งขู่ว่า จะเอาให้ ตายหมดทั้งหมู่บ้าน รวมทั้งตัวแม่โสมเองด้วย
ทำให้พวกชาวบ้านเดือดร้อน และหวาดกลัวมาก ได้พากันขอร้องให้แ่ม่โสม เลิกนับถือพระ รัตนตรัย แต่แม่โสม ใจเด็ดยืนยันขอยอมตาย
พวกลูกหลานและชาวบ้านมาขอร้องอ้อนวอนทุกวัน แกทนการรบเร้าไม่ได้ จึงไป ปรึกษาพระ
พระ ได้แนะนำให้เรียกชาวบ้านมาพร้อมกัน ให้ทุกคนรับพระไตรสรณาคมน์ และรับศีล แล้วพระก็สอนให้เข้าใจเรื่องพระรัตนตรัย พร้อมทั้งอานิสงฆ์ของศีล นอกจากนี้ให้ชาวบ้าน สวดมนต์ และฝึกภาวนาทุกเย็น
ในที่สุดการเจ็บป่วยในหมู่บ้านเนื่องจากการกระทำของผีก็หมดไป ไม่เีคยปรากฎอีกเลย
โดยเฉพาะ ตัวของแม่โสมเองนั้น ถ้าเกิดว่าผีเข้าใคร เพียงแต่มีคนพูดว่า " แม่โสมมา" ผีจะ รีบลนลานออกทันที
ผีเคยเข้าสิงชาวบ้านและบอกว่า ที่บ้านแม่โสมนั้น เข้าไปใกล้ไม่ได้ มีแสงแพรวพราวอยู่ ตลอดเวลา แม้ชื่อของแม่โสม ถ้าได้ยินแล้วไม่รีบออก หัวก็จะแตก
นับแต่นั้นมา ชาวป่าเมี่ยงแม่สาย ก็เลิกนับถือผี หันเข้าหาพระ ตัวแม่โสมเอง ก็ชักชวน ชาวบ้านสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้น เป็นวัดฝ่ายกรรมฐาน แกเป็นผู้บำรุงวัดอย่างเข้มแข็ง วัดนั้น ก็เป็นวัดกรรมฐาน มาจนทุกวันนี้
|
|
|
๑๔๐. การจำพรรษา
ที่ป่าเมี่ยงแม่สาย
ใน พรรษานั้น หลวงปุ่แหวน ได้จำพรรษาที่ป่าเมี่ยงแม่สาย ภายใต้การอุปัฎฐากของแม่โสม หัวหน้าหมุ่บ้าน และชาวบ้านที่นั่น ซึ่งให้ความดูแลหลวงปู่เป็นอย่างดี
หลวงปู่ เล่าถึงบ้านป่าเมี่ยงแม่สายว่า ที่นั่นอากาศหนาวมากในฤดูหนาว ฝนตกชุกในฤดูฝน สำหรับองค์หลวงปู่นั้นอากาศถูกกับธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก แต่ไม่มีอาการอึดอัดง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว
ทางด้านจิตภาวนา หลวงปู่บอกว่า การภาวนาที่นี่ได้ผลดีมาก นับว่าเป็นสัปปายะอีกที่หนึ่ง
หลวงปุ่มั่น ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่นี่ ๑ พรรษา นอกจากนี้ ครุบาอาจารย์สายกรรมฐานองค์ อื่นๆ ก็เคยพำนักอยู่ที่ป่าเมี่ยงแม่สายนี้ อยุ่หลายองค์เหมือนกัน
|
|
|
๑๔๑. เรื่องของพระกรรมฐาน
ผู้กลัวเสือ
เมื่อ หลวงปู่แหวน ไปพักภาวนาที่ป่าเมี่ยงแม่สาย ได้ราว ๑ เดือน ท่านพระมหาบุญ จากวัด เจดีย์หลวงได้ตามขึ้นไปหาด้วยลักษณะอาการของผู้ที่พบเห็นความน่ากลัวมา
จากการสอบถามได้ความว่า ท่านพระมหาบุญ ได้พักภาวนาที่ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว ตอนแรกภาวนาอยู่นอกถ้ำ ตกกลางคืนได้ยินเสือร้องอยู่ใกล้ๆ จึงเกิดความกลัว นึกว่า ถ้ากำลังนั่งหลับตาอยู่ ถ้าเสือมาคาบไปกิน ท่านจะทำอย่างไร
วันรุ่งขึ้น จึงย้ายที่ภาวนาไปอยุ่ในถ้ำ ส่วนที่ลึกที่สุด คิดว่าอยู่ในถ้ำคงจะปลอดภัยมากกว่า
เผอิญท่านโชคไ่ม่ดี ตอนกลางคืน ขณะนั่งภาวนา ได้ยินเสียงประหลาดที่ปากถ้ำ คิดว่าเสือมา จึงลืมตาขึ้นดู ปรากฎว่า ยิ่งทำให้ท่่านเกิดความกลัวอย่างสุดขีด
ที ปากถ้ำ ปรากฎมีบุรุษร่างยักษ์ยืนขวางอยู่ ท่านกลัวจนตัวสั่น จะหนีไปไหนก็ไม่ได้ จะบริกรรมพุทโธก็ว่าผิดว่าถูกบ้าง เห็นร่างประหลาดนั้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา
ร่างนั้นยืนขวางปากถ้ำอยู่จนรุ่งเช้า จึงได้หายไป รุ่งขึ้นเช้า ท่านพระมหาบุญ รีบออกจากถ้ำ แล้วเที่ยวตามหาหลวงปู่แหวน ตอนแรกไปตามหาที่บ้านแม่พวก เพราะหลวงปู่ เคยจำพรรษา ที่นั่น ๓ ครั้ง พอทราบว่าหลวงปุ่พำนักอยู่ที่ป่าเมี่ยงแม่สาย จึงได้ไปหา
พระมหาบุญท่านอยู่ในอาการขวัญผวา นอนไม่หลับทั้งคืน ภาวนาก็ไม่อยู่ ยังเห็นร่างที่น่า กลัว นั้นติดตาติดใจอยู่
หลวง ปุ่แหวนบอกว่า ร่างที่ท่า่นพระมหาบุญเห็นนั้นเป็นเปรตเจ้าของที่ คอยเฝ้ารักษาถ้ำนั้น เมื่อเห็นพระมาอยู่ กลัวจะไปแย่งที่ เขาจึงมาหลอกหลอน ให้พระกลัว จะได้หนีไป
ความกลัวของท่านพระมหาบุญ ไม่สามารถลบไห้หายไปได้ หลวงปู่จะสอนจะแนะอย่างไร ก็ไม่ยอมรับฟัง เฝ้ารบเร้าให้หลวงปุ่ไส่งที่บ้านแม่หอพระ
เมื่อไปถึงบ้านแม่หอพระ ท่านบอกว่าอยู่ไม่ได้ ขอให้หลวงปู่ไหส่งที่บ้างปง(วัดอรัญญวิเวก ในปัจจุบัน) อำเภอแม่แตง
เมื่อ ไปถึงบ้านปง พบหลวงปุ่ขาว อนาลโย กับหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พักอยู่ที่นั่น หลวงปุ่ พรหม ท่านรู้เรื่องท่านมหาบุญดี จึงแกล้งขับไล่ไม่ต้อนรับ เจตนา ต้องการให้ท่านมหาเดินให้ เหนื่อย จะได้นอนหลับได้บ้าง แต่ท่านมหาโกรธจัด รีบเดินทางออกจากวัดบ้านปง หลวงปุ่แหวน ตามไปส่งถึงอำเภอแม่ริม แล้วปล่อยให้ท่านพระมหาบุญเดินไปเชียงใหม่ตามลำพักงองค์เดียว
ส่วนหลวงปุ่แหวน ท่านกลับมาพักที่วัดป่าห้วยน้ำริน วัดที่หลวงปู่ชอบ ฐาสฺโม เคยจำพรรษา อยู่
|
|
วัดอรัญญวิเวก(บ้านปง) อ.แม่แตง
จ.เชียงใหม่
|
๑๔๒. จำพรรษาที่
วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง
หลวง ปุ่แหวน สุจิณฺโณ ได้ท่องธุดงค์และจำพรรษาอยุ่ทางภาคเหนือหลายแห่ง ต่อเนื่องกัน เป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้ไปที่ภาคอื่นอีกเลย เพราะอากาศในภาคเหนือ ถูกกับอัธยาศัย และถูกกับ ธาตุขันธ์ ของท่าน ที่เรียกว่า เป็นสัปปายะสำหรับท่าน
ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปุ่แหวน พักจำพรรษาอยู่องค์เดียวที่วัดป่าบ้านปง(ปัจจุบันคือ วัดอรัญญวิเวก) ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง เชียงใหม่
ใน พรรษานั้น หลวงปู่ เกิดอาพาธเนื่องจากแผลที่ขาอักเสบ ได้รับความทรมานมาก ไปบิณฑบาตไม่ได้ ภิกษุสามเณรเอื่นก็ไม่มี ช่วงนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองใหม่ๆ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านก็ไม่ได้มาดูแลเอาใจใส่หลวงปู่
ช่วงนั้น หลวงปุ่หนู สุจิตฺโต (ชาวจังหวัดยโสธร) พักจำพรรษาอยุ่ที่ดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว อยู่ห่างจากที่ หลวงปุ่แหวน อยุ่มากกว่า ๕๐ กม ได้เกิดนิมิตในขณะนั่งภาวนาในเวลากลางคืน เห็นหลวงปู่แหวนนอนอยู่บนพื้นดิน
เมื่อ ออกจากสมาธิ หลวงปุ่หนู จึงนำนิมิตมาใคร่ครวญดู แน่ใจว่าคงมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น กับหลวงปู่แหวนอย่างแน่นอน เมื่อฉันเช้าเสร็จ หลวงปุ่หนู ก็รีบเดินทางไปวัดป่าบ้านปงทันที
หลวงปุ่หนูพบว่า หลวงปุ่แหวน กำลังอาพาธหนักด้วยแผลอักเสบ จึงให้ชาวบ้านไป ตามหมอ มาชื่อ หมอจี้ อดีตเคยเป็นทหารเสนาัรักษ์
หมอมาถึงประมาณ ๕ โมงเย็น (๑๗.๐๐ น.) ก็บอกว่าต้องผ่าตัดแผลหลวงปู่อย่างไม่รอช้า โดยตัดเอาเนื้อตายออกให้หมด
การผ่าไม่มีการฉีดยาชา หรือใช้ยาระงับความปวดแต่อย่างใด
ก่อนลงมือผ่าแผล หลวงปู่หนู ได้ขอโอกาสท่านว่า " ตอนนี้หมอเขาจะผ่าเอาความเจ็บปวด ออก ผ่าเอาโรคร้ายออก เขาไม่ได้ผ่าท่านอาจารย์นะ เขาผ่าดิน น้ำ ลม ไฟ ต่างหาา"
หลวงปู่พุดคำเดียวว่า "เออ" แล้วท่านก็กำหนดจิตเข้าสู่สมาธิทันที
หมอลงมมือตัดเนื้อบริเวณปากแผลออกจนหมด ใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมง หลวงปู่ คงนอนสงบ นิ่งเหมือนคนนอนหลับ ไม่มีอาการเคลื่อนไหวใดๆ
เมื่อหมอทำการผ่าตัด เย็บบาดแผล และพันผ้าเสร็จแล้ว หลังจากนั้นอีกสัก ๕ นาฑี หลวงปู่ จึงออกจากสมาธิ ลืมตาขึ้น
หลวงปุ่หนู ถามว่า " พระอาจารย์เจ็บไหม "
หลวงปุ่พูดว่า " พอสมควร"
ไม่มียาแก้ปวดใดๆถวายหลวงปู่เลย เพราะช่วงหลังสงคราม ในถิ่นห่างไกลเช่นนั้น ไม่ต้อง พูดถึงหยูกยากัน
รุ่ง ขึ้นอีกวัน หมอจี้ ก็มาล้างแผลให้ หลวงปุ่พูดว่า " วันนี้เบาๆหน่อยนะ เมื่อวานนี้มือหนัก ไปหน่อย" แล้วท่านก็ไม่ได้พูดอะไรอีก ท่านยังคงอยู่สงบเย็นตามปกติ เว้นไว้แต่ยังลุกเดินไม่ได้ เท่านั้น
หลวง ปู่หนู อยู่เฝ้าพยาบาล ๗ วัน ท่านต้องกลับดอยแม่ปั๋ง ตามพระวินัย เพราะอยู่ในช่วง เข้าพรรษา ก่อนกลับได้กำชับชาวบ้าน ให้ดูแลอย่าทอดทิ้งหลวงปุ่เหมือนที่ผ่านมา
หลวงปู่ อาพาธอยู่นาน จนถึงเดือนเมษายน ปีต่อมา ( ร่วม ๑๐ เืืดือน) อาการเจ็บปวด บาดแผล จึงทุเลาลงมาก แต่แผลยังไม่หายสนิท ยังเดินไปไหนไกลๆไม่ได้
|
|
พระครูวิจิตตวิโสธนาจารย์
(หลวงปู่หนู สุจิตฺโต)
เจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว
จ.เชียงใหม่
|
๑๔๓. ดำริของหลวงปู่หนู
คน ที่รู้จัก หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ จะต้องรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อ หลวงปู่หนู สุจิตฺโต แน่นอน เพราะหลวงปู่หนู เป็นเจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง เป็นลูกศิษย์ทีอุปัฎฐากและดูแล หลวงปุ่แหวน ใน ทุกเรื่อง จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่
ถ้าพูดให้ชัดลงไแก็ต้องว่า " ถ้าไม่มีหลวงปุ่หนู พวกเราก็คงไม่ได้รู้จักหลวงปู่แหวน อย่าง แน่นอน "
หลวง ปู่หนู ท่านเป็นพระจากจังหวัดยโสธร เป็นพระธุดงค์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านมี ความเคารพศรัทธา หลวงปู่แหวน ในฐานะเป็นครูอาจารย์กรรมฐานของท่าน
นับตั้งแต่หลวงปู่หนู ไปรักษาพยาบาล หลวงปู่แหวน ที่วัดป่าบ้านปงครั้งแรกแล้ว หล้งจาก นั้น ท่านก็แวะเวียนไปเยี่ยมหลวงปู่อยู่บ่อยๆ
หลวงปู่หนู ท่่านคิดจะนิมนต์หลวงปู่แหวนไปอยู่ทีวัดดอยแม่ปั๋งด้วย เพราะหลวงปุ่อายุมาก แล้ว ต้องอยู่องค์เดียว พระเณรที่จะอุปัฎฐากก็ไม่มี อาศัยศรัทธาชาวบ้านคอยดูแลก็ไม่สม่ำเสมอ ถ้าหลวงปู่มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งด้วย ก็จะได้ดูแลอุปัฎฐาก ได้ง่ายขึ้น ท่านเองก็ไม่ต้องเที่ยวไปๆมาๆ เพราะเดินด้วยเท้าไปกลับเที่ยวละ ๕๐ กม. ไม่ใช่เรื่องที่สนุกแน่
แต่สมัยนั้น ที่วัดดอยแม่ปั๋ง ยังไม่มีอะไร กุฎิสักหลังก็ไม่มี ศรัทธาญาติโยมก็มีไม่กี่คนที่รู้จัก หลวงปู่แหวน
ดังนั้น หลวงปุ่หนู จึงต้องคิดและเตรียมการให้รอบคอบ ต้องปรึกษาคณะศรัทธาญาติโยม ที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย
เมื่อยังไม่ต้ดสินใจ หลวงปู่แหวน ก็ยังคงพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านปง เพียงองค์เดียวเรื่อยมา
ด้านหลวงปู่หนู ก็เทียวไปเีีทียวมา เยี่ยมเยียน ท่านอย่างสม่ำเสมอ
|
|
|
๑๔๔. นิมนต์หลวงปุ่
มาอยู่วัดดอยแม่ปั๋ง
หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ยังคงพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านปง อำเภอแม่แตง จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕ ขระนั้น ท่านอายุได้ ๗๕ ปี
คืนหนึ่ง หลวงปู่หนู กำลังนั่งภาวนา ก็ได้นิมิตเป็นเสียง หลวงปู่แหวนว่า " จะมาอยู่ด้วยนะ"
หลวงปุ่หนูยังไม่ได้คิดอะไร คิดว่าอาจเป็นเพราะท่านคิดถึงหลวงปู่ จึงจึงสร้างเป็นเสียงพูด ของหลวงปู่ขึ้นมาก็ได้
ต่อจากนั้นอีก ๓ วัน ก็มีศรัทธาจากวัดป่าบ้านปง ขึ้นมานิมนต์หลวงปู่หนู ให้ไปรับไทยทาน ที่วัดบ้านปง
หลวงปู่หนู จึงนำความคิดที่จะนิมนต์ หลวงปุ่แหวน ปรึกษากับคณะศรัทธาว่าจะเห็นเป็น อย่างไร คณะศรัทธา บ้านแม่ปั๋งไม่ขัดข้อง และยินดีถ้าหลวงปู่หนู สามารถนิมนต์หลวงปุ่มาได้
พอ ถึงวันนิมนต์ ให้ไปรับไทยทานที่วัดป่าบ้านปง หลวงปุ่หนู ได้พาศรัทธาจากบ้านแม่ปั๋ง ไปด้วย พอไปถึง หลวงปุ่แหวนถามว่า " มีศรัทธามาด้วยกี่คน"
หลวงปุ่หนูตอบว่า " มีมา ๒ คนครับ"
หลวงปู่ได้พูดว่า " ดีแล้ว วันนี้รับไทยทานเสร็จแล้ว ให้เอาบริขารของอาตมาไปด้วย จะไปอยู่แม่ปั๋งด้วย "
หลวงปู่หนู และโยม ๒ คนที่ไปด้วย สุดแสนดีใจที่หลวงปุ่แหวน ท่านออกปากเอง โดยไม่ต้อง นิมนต์
|
|
หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญปทีโป
วัดอรัญญวิเวก (บ้านป)
ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
|
๑๔๕. หลวงปุ่ออกเดินทาง
เมื่อเสร็จพิธีรับไทยทานที่วัดป่าบ้านปงแล้ว หลวงปู่แหวน หลวงปู่หนู และศรั่ทธาจากบ้าน แม่ปั๋งสองคน ก็ออกเดินทางทันที
คณะของหลวงปู่ มาหยุดพักที่ วัดป่าบ้านช่อแล อำเภอแม่แตง หนึ่งคืน
วันรุ่งขึ้น เมื่อรับไทยทาน และฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น ก็ออกเดิน ทางจากบ้านช่อแล ผ่านมาตามเส้นทางบ้านใหม่ บ้านแม่วะ เดินลัดเข้าป่า ข้ามเขา ข้ามลำห้วย มาบ้านแม่ตอง เดินขึ้นเขา ลงห้วย บุกป่า ลัดเลาะมาตามไหล่เขา
แม้ หลวงปู่แหวน จะอายุ ๗๕ ปี อยู่ในวัยชรา และสุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ การเดินทางมา ตามเส้นทางดังกล่าว จึงนับว่า หลวงปู่ท่านมีความอดทนเป็นอย่างมาก
คณะของหลวงปู่ เดินทางมาถึงดอยแม่ปั๋ง ในวันนั้นเอง คือ ถึงวัดดอยแม่ปั๋ง ประมาณ ๑๙.๐๐ น ใช้เวลา เดินทางจากบ้านช่อแลมา ๙ ชั่วโมง ถ้าวัดระยะทางเส้นทางถนนในปัจจุบัน จากช่อแลถึงแม่ปั๋งก็ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
หลวง ปู่แหวน ในวัย ๘๕ ปี เดินทางไกลเช่นนั้นมาถึงภายในวันเดียว โดยไม่ต้องพักค้างคืน ระหว่างทาง จึงนับว่า ท่านมีความทรหดอดทน อย่างมากทีเดียว
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พำนักที่วัดป่าบ้านปง ๒ ช่วง รวมระยะเวลาทั้งหมด ๑๑ ปี กุฎิของท่าน นั้นทาง หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญปทีโป เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ยังคงเก็บรักษาไว้เป็น อยุสรณ์ ให้รำลึกถึงหลวงปู่ มาจนทุกวันนี้
เมื่อ หลวงปู่มาถึง วัดดอยแม่ปั๋ง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ท่านได้พำนักที่ กุฎิไม้หลังน้อย พื้นอยู่ติดพื้นดิน มีความกว้าง ๓.๒๔ เมตร และยาว ๕.๒๓ เมตรเท่านั้น อยู่ท่ามกลางดงไม้สัก อันเป็นที่สถานสงบตามธรรมชาิต เหมาะแก่การปฎิบัติภาวนา สำหรับผู้แสวงหาความวิเวกยิ่งนัก
|
|
|
๑๔๖. ได้หลวงพ่อเปลี่ยนมาแทน
พูด ถึงเหตุการณ์ในวันที่ หลวงปู่แหวน เดินทางออกจากวัดป่าบ้านปง(วัดอรัญญวิเวก) นั้น เมื่อคณะศรัทธาถวายไทยทานเสร็จ และกลับไปหมดแล้ว หลวงปุ่แหวน หลวงปู่หนู กับศรัทธา ชาวแม่ปั๋งอีกสองคน ก็ออกเดินทางจากวัดบ้านปงไปโดยไม่ได้บอกลาญาติโยมเลย
เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวว่า หลวงปู่แหวน ไปดอยแม่ปั๋งกับหลวงปู่หนูแล้ว จึงพากันโจษขานว่า "ท่านพระอาจารย์หนูไปรับไทยทานแล้ว ขากลับได้ขโมยเอาหลวงปู่แหวนไปด้วย"
หลัง จากที่หลวงปู่แหวน ไปอยู่ดอยแม่ปั๋งแล้ว คณะศรัทธาชาวบ้านปง ได้พร้อมใจ ไปอารธนา หลวงปุ่ให้กลับไปประจำที่ว่าป่าบ้านปง อยู่หลายครั้ง แต่ทุกครั้ง หลวงปู่ท่านนิ่งเสีย ไม่พูด อะไรเลย จึงทำให้คณะศรัทธาได้รับความผิดหวัง กลับไปทุกครั้ง
แต่คณะศรัทธาบ้านปง ก็ยังเดินทางไปกราบ หลวงปู่ ไปถวายไทยทาน ถวายเครื่องสักการะ หลวงปู่ที่ดอยแม่ปั๋งเป็นประจำ
แม้ ชาวบ้านปงไม่ได้หลวงปู่แหวน กลับไปแต่ก็ยังโชคดี ที่ต่อมาไม่นานนัก มีพระธุดงค์หนุ่ม คือหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญปทีโป จากสกลนคร มาอยู่ฉลองศรัทธาที่วัดป่าบ้านปง มาจนถึงปัจจุบัน และมีพระกรรมฐานองค์อื่นๆ มาพำนักอยุ่เสมอไม่ขาด
พระ กรรมฐาน ที่เป็นบูรพาจารย์องค์สำคัญๆ ที่เคยมาพำนักที่วัดป่าบ้านปง หรือวัด อรัญญวิเวก ในปัจจุบัน ตามที่วัดได้บันทึกไว้ ได้แก่
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต(๑ พรรษา)
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (๑๑ พรรษษ)
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม(๓ พรรษา)
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ (๒ พรรษา)
หลวงปุ่คำแสน คุณาลงฺกาโร(๓ พรรษา)
หลวงปู่สม(๒ พรรษา)
หลวงพ่อคำอ้าย จิตธมฺโม(๑๔ พรรษา)
หลวงปุ่สาม อภิญฺจโน(๒ พรรษา)
หลวงพ่อชม(๒ พรรษา)
พระอาจารย์ทิวา อาภากโร(๒ พรรษา)
ที จำพรรษาอยู่ ๑ พรรษามี หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ถิร จิตธมฺโม, หลวงปุ่บุญ ชินวํโส, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่พร, หลวงปู่ภัสร, พระครูอ่อนสี, หลวงปู่วิรัช, หลวงปู่โค้ง, พระอาจารย์สาร, พระอาจารย์์สมัย ทีฆายุโก, พระอาจารย์หนูบาล,พระอาจารย์รังษี,
ส่วน ครูบาอาจารย์ที่มาำพำนักบำเพ็ญเพียร แต่ไม่ได้จำพรรษามี ท่านเจ้าคุณพระอุบาลี คุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจนฺโท), พระอาจารย์จวน กุลเชฎฺโฐ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺวโร, พระอาจารย์เพียร วิริโย, หลวงพ่อไท ฐานุตฺตโม, พระอาจารย์สุภาพ ธมฺมปญฺโญ, หลวงปู่สิม พุทธจาโร, พระอาจารย์มหาปราโมทย์ ปาโมชฺโช, พระอาจารย์จันดี เขมปญฺโญ, พระอาจารย์ศรีจันทร์, พระอาจารย์เครื่อง,พระอาจารย์สุธรรม, หลวงพ่อคพ, หลวงปุ่ฝั้น อาจาโร,
|
|
|
๑๔๗. ข้อตกลง
และสัจจะอธิษฐาน
เมื่อ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งและเข้าพักที่กุฎิไม้หลังน้อย เป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว หลวงปู่จึงได้มีข้อตกลงกับหลวงปู่หนู ดังนี้ :-
" หน้าที่ต่างๆ เช่น การดูแลรักษาเสนาสนะก็ดี การปกครองพระภิกษุสามเณรก็ดี การต้อน รับแขกก็ดี การเศนาสั่งสอนอบรมประชาชนก็ดี และกิจอื่นๆ บรรดามีที่จะเกิดขึ้นภายในวัดและ นอกวัด ให้ตกเป็นภาระของพรอาจารย์หนูแต่ผู้เดียว"
สำหรับ ตัวของหลวงปู่แหวนเอง ท่า่นขออยู่ในฐานะพระผู้เฒ่า ผู้ปฎิบัติธรรม จะไม่รับภาระ ใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการปฎิบัติธรรมอย่างเดียว
นอกจาการปล่อยวางภาระทุกอย่างแล้ว หลวงปู่ ยังได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
" ต่อไปนี้ จะไม่รับนิมนต์ไปที่ไหนๆ ไม่ว่าใครจะนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ลงเรือ แม้ที่สุดถึงจะเกิด อาพาธป่วยไข้หนักเพียงใด ก็ตาม จะไม่ยอมเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรง ตัวอยุ่ตลอดไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่า อันเป็นที่อยู่ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่าน เคยปฎิบัติแล้วในกาลก่อน"
|
|
พระเจดีย์
กุฎิย่างไฟ หรือกุฎิย่างกิเลสหลวงปู่
|
๑๔๘. กุฎิย่างกิเลส
หลัง จากที่หลวงปู่แหวน มาพำนักที่วัดอยแม่ปั๋ง ไม่นานนัก ท่านก็เริ่มอาพาธอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เกิดเป็นตุ่มคันไปทั้งตัว นับวันแต่จะเป็นมากขึ้น
ปกติร่างกายของหลวงปู่ นั้นผ่ายผอมอยุ่แล้ว พอเกิดตุ่มคันทั้งตัวเช่นนั้น ก็ทำให้ท่านฉันไม่ ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายท่านก็ยิ้งทรุดโทรมจนแทบจะว่ามีแต่หนังหุ้มกระดูก
หลวง ปู่หนู ต้องเป็นผู้ขวนขวาย ในการรักษาพยาบาล ท่านอย่างสุดความสามารถ ซึ่งเป็น เรื่องที่ลำบากมากในสมัยนั้น เพราะทางวัดขาดแคลนไปเสียทุกอย่าง
เมื่ออาารของโรคกำเริบมากขึ้น การรักษาด้วยการฉีดยา ฉันยาก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่เป็น เพียงทุเลาลงบ้างเล็กน้อย
เื่มื่อเห็นว่า การรักษาด้วยยาไม่มีทางหาย หลวงปู่ จึงบอกให้ หลวงปู่หนู ช่วยสร้างเตาผิง ไว้ในกุฎิสำหรับอบตัวท่าน
หลวงปุ่หนูจึงบอกให้ชาวบ้านมาช่วยกันสร้างเป็นกุฎิโรงไฟขึ้น ซึ่งมีที่ก่อไฟอยู่กับพื้นดิน แล้วยกพื้นอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นสำหรับเป็นที่นอนของหลวงปุ่
กุฎิโรงไฟหลังนี้ ไม่ว่าไม้พิ้น ฝา และประตู ล้วนทำจากไม้โลงผี ที่ชาวบ้านเผาศพ แล้วเอา โลงมาไว้ที่วัด
กุฎิหลังนี้ อยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ เก็บไว้ให้เห็นเป็นอนุสรณ์มาจนปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหา เรียกว่า กุฎิโรงไฟ แต่หลวงปู่ท่านเรียกว่า กุฎิย่างกิเลส
ภาย ในกุฎิ จะมีไพก่อด้วยฟืนลุกโชนอยุ่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หลวงปู่ก็จะอยู่ภายในกุฎินี้ ตลอดเวลา จะออกมานอกกุฎิบ้างเฉพาะเวลาฉันอาหาร เวลาสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรม เปลียนอิริยาบถบ้างเท่านั้น
เวลานอกจากนั้น ท่านจะอยู่ในกุฎินี้ตลอด ติดต่อกันหลายปี ไม่ว่าหน้าแล้ง หน้าฝน หรือ หน้าหนาว
|
|
กุฎิหลังใหม่ของหลวงปู่แหวน
บรรยากาศภายในวัด
|
๑๔๙. รักษาโรคตุ่มคัน
หายขาด
การ อาพาธ ด้วยโรคตุ่มคันของหลวงปู่ ต้องรักษากันอยู่หลายปี ใช้ทั้งวิธีย่่างไฟ การฉีดยา การฉันยา แต่ก็ยังไม่หาย ภาระนี้ตกอยู่กับหลวงปู่หนูทั้งหมด
ต่อมาได้มีโยม ชื่อ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้มีจิตศรัทธาให้ความอุปถัมภ์วัด ให้ความ อุปถัมภ์หลวงปู่ ได้มารับภาระในการจัดหายา และปัจจัยจำเป็นอื่นๆ มาถวาย ทำให้ภาระ หนักของ หลวงปู่หนู ผ่อนคลายลงไปได้บ้าง
ขณะ ที่การอาพาธ จากตุ่มคันตามร่างกายของหลวงปู่ ไม่ดีขึ้น วันหนึ่ง มีเจ้าหน้าที กองปราบโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่วัด หลวงปู่หนูได้เล่าอาการ อาพาธของ หลวงปุ่ให้เจ้าหน้าที่กลุ่มนั้นฟัง
ก่อนลากลับ เ้จ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว ได้ถวายยาไว้ให้หลวงปู่ฉันจำนวหนึ่ง หลวงปุ่ฉันยานี้ แล้ว ปราำกฎว่า อาการคันทุเลาลง ตามลำดับ เมื่อยาใกล้หมด หลวงปุ่หนูได้ไปจัดหามาเพิ่ม
ปรากฎว่า หลวงปู่ ฉันยาไม่นาน โรคตุ่มคันก็หายสนิท ผิวหนังของท่านดูดำไปทั้งตัว ต่อมา หนังก็ลอกออกเป็นแผ่นๆ เหมือนงูลอกคราบ
หลัง จากนั้น ผิวหนังของหลวงปู่ก็ดูสดในเป็นปกติ จึงกล่าวได้ว่า อาพาธเกือบเอาชีวิตไม่รอด ของหลวงปู่ในครั้งนั้น รักษาหายด้วยยาของ เจ้าหน้าที่ชุดปราบโรคเรื้อน ของกระทรวง สาธรณสุข ชุดนั้นโดยแท้
บรรดาสาธุชนที่เดินทางมากราบหลวงปู่แหวน
|
|
บรรยากาศภายในวัดดอยแม่ปั๋ง
ในปี พ.ศ.๒๕๔๕
|
๑๕๐. ย้ายไปอยู่
กุฏิหลังใหม่
แม้ ว่าหลวงปู่จะหายจากโรคร้ายนั้นแล้วก็ตาม ท่านก็ยังคงพักในกุฎิโรงไฟ หรือกุฎิย่าง กิเลส ของท่านเหมือนที่เคยอยู่้มา คือ ก่อไฟตลอด ๒๔ ชั่วโมง และออกจากกุฎิเฉพาะตอนฉัน ตอนสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรมเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น
ท่านอยู่อย่างนั้นทุกฤดูกาล ทุกวันไม่เปลี่ยนแปลง
หลวงปู่หนูเห็นว่า เมื่อโรคร้ายของหลวงปู่หายแล้ว ก็ควรจะหยุดก่อไฟได้แล้ว จึงไปกราบเรียน หลวงปู่ ซึ่งท่านก็อนุญาติให้เลิกกองไฟนั้นได้
ต่อ มามีผู้มีจิตศรัทธาสร้างกุฎิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง ตอนแรกๆ หลวงปู่ก็ไปพักฉลองศรัทธา ให้เฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืน ท่านก็ลงมาพักจำที่กุฎิโรงไฟของท่านอย่างเดิม
เมื่อ ท่านหายจากอาพาธ จนมีกำลังแข็งแรงเป็นปกติแล้ว ในฤดูแล้ง เวลากลางวัน บางวัน ท่านก็จะขึ้นไปพักภาวนาอยู่ในกุฎิหอเย็นตลอดวัน จะลงมาเมื่อถึงเวลาสรงน้ำ
เป็นอันว่า หลวงปู่มีกุฎิพักอยู่ ๓ หลัง กลางคืนพักที่กุฎิโรงไฟ กลางวันไปพักภาวนาที่กุฎิ หลังใหม่บ้าง ที่กุฎิหอเย็นบ้าง
ต่อ มาภายหลัง โยมอุปัฎฐากคือ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้สร้างกุฎิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง หลวงปู่ก็ได้มาพำนักฉลองศรัทธาตราบจนมรณภาพ
|
|
(ซ้าย) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
อดีตนายกรัฐมนตรี
(ขวา) พระอาจารย์หนู สุจิตฺโต
เจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง
|
๑๕๑. รุกขเทพ
บนต้นไทรใหญ่
หลวงปู่แหวนเล่าว่าในสมัยที่ท่านอาพาธอยู่ที่กุฎิโรงไฟนั้น บนต้นไทรใหญ่เหนือกุฎิ เป็นวิมานที่อยู่อาศัยของบรรดารุขเทพ
เืมื่อหลวงปู่่เข้าไปอยู่ในกุฎิหลังนั้น พวกรุกขเทพทั้งหลายต้องลงมาอยู่บนพื้นดิน ทำให้พวก เขาได้รับความลำบากกัน
เมื่อหลวงปู่เห็นเช่นนั้น จึงได้บอกให้พวกเขาย้ายไปหาที่อยู่ใหม่ ในป่าลึกเข้าไปอีก พวกเขา ก็ปฎิบัติตามโดยความเคารพ
หลวงปู่ เล่าว่า พวเทพนั้นไม่ว่าจะเป้นเทพชั้นต่ำหรือชั้นสูง ความเคารพที่เขามีต่อพระนั้น เสมอกัน เขาจะไม่ยอมล่วงคารวธรรมเป็นอันขาด
การเข้าการออกเวลามาเขาไป ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วงามตาชื่นใจ
ไม่เหมือนมนุษย์เรา ซึ่งแล้วแต่ความพอใจ อยากจะแสดงอย่่างไรก็ทำไป ไม่คำนึงถึงความ เหมาะสม ความควรไม่ควร
การ แสดงออกของมนุษย์ไม่คำนึงว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายอย่างไรหรือไม่ ขอให้ได้แสดง ออกตามความเห็น ตามความพอใจของตนนั้นแหละเป็นการดี
บางครั้งการแสดงออกเช่นนั้นไม่ถูกกาลถูกเวลา แต่ก็แสดงออกมาจนได้ โดยไม่มีความ ละอายแก่ใจบ้างเลย
|
|
|
๑๕๒. หลวงปู่
เริ่มเป็นที่รู้จัก
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ มาอยู่ที่วัด ดอยแม่ปั๋ง ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ และท่านเริ่มเป็นที่รู้จัก ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๔
กล่าว กันว่า หลวงปู่แหวน ได้เป็นที่รู้จักภายหลังที่ท่านเจ้าคุณ นรรัตน์ราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโก) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพ สิ้นชีพิสตักษัย เมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๔
ในช่วงที่ประชาชนกำลังพูดถึงเรื่องท่านเจ้าคุณนรๆ อยู่นั้นก็มีข่าวแพร่ออกมาว่า" ท่านเจ้าคุณ นรๆ กล่าวว่ามีพระอริยะอีกองค์หนึ่ง อยู่ทางภาคเหนือ"
ไม่ ทราบข่าวนี้มาจากไหน และใครได้ยิ้นท่านเจ้าคุณนรๆ พูด ทำให้หลายคนพากันเสาะหา พระอริยะองค์นั้น ต่อมาก็มีข่าวว่า " พระอริยะองค์ที่ท่านเจ้าคุณนรๆ กล่าวถึงคือ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งดอยแม่ปั๋ง นั้นเอง"
และในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ปีเดียวกันนั้นเอง ก็มีคณะทหารอากาศชุดของนาวาเอก เกษม งามเอก ได้มาขออนุญาติสร้างเหรียญหลวงปู่ขึ้น บางเสียงก็บอกว่าเป็นเหรียญรุ่นแรก และบางเสียงก็ว่า เป็นเหรียญรุ่นที่สองของหลวงปู่ เอาไว้ให้พวกนิยมเหรียญเขาถกเถียงกันก็แล้วกัน
ต่อจากนั้นก็มีข่าวอีกว่า " หลวงปู่แหวนลอยอยู่บนเมฆ เครื่องบินจะชน"
เรื่องเกรียวกราวกันพักใหญ่ ทำให้ชื่อเสียงหลวงปุ่โด่งดังขึ้นมา จนใครต่อใคร ก็พากันแห่ไป ชมบารมีหลวงปุ่อย่างเนืองแน่นทุกวัน
คณะ ทัวร์ทุกคณะที่ไปเชียงใหม่ จะต้องมีรายการชมดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และก็มีวัดดอยแม่ปั๋ง อยู่ด้วยเสมอ นับเป็นสถานที่ยอดนิยมในสมัยนั้น
|
|
|
๑๕๓. หลวงปู่
เป็นพระดังแห่งยุค
หลวง ปู่แหวน ท่านท่องเที่่ยวธุดงค์อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่นานกว่า ๕๐ ปี ประชาชนทั่ว ไปจึงไม่รู้จักท่าน เพิ่งจะมาได้ข่าวคราวและรู้จักหลวงปู่ ก็ประมาณปลายปี ๒๕๑๖ เมื่อหนังสือ พิมพ์นำประวัติและเรื่องราวอภินิหารต่างๆ ของหลวงปุ่มาเผยแพร่
ในหนังสือ พระธาตุปาฎิหารย์ ของนิตยสารโลกทิพย์ ได้นำลงเรื่องคำบอกเล่าของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เกี่่ยวกับเรื่องราวของหลวงปู่แหวน ตอนที่ท่านเริ่มดัง ผู้เขียน ขอคัดลอกนำมาเสนอ ดังต่อไปนี้ :-
" หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เล่าว่า มีทหารอากาศ ขับเครื่องบินเหาะข้ามวัดดอยแม่ปั๋งไป นักบิน คนนั้นตกใจจนหูตาเหลือก เพราะพบหลวงปู่ผู้เฒ่านั่งอยู่บนก้อนเมฆขวางทางบินอยู่ ต้องรีบบังคับ เครื่องหลบ ตาลีตาเหลือก ขาบินกลับก็พบหลวงปู่องค์เดิมอยู่บนก้อนเมฆอีก
เมื่อนำเครื่องบินร่อนลงสนามแล้ว นักบินนายนั้นได้ไปกราบนมัสการ เจ้าคณะเชียงใหม่ เรียนถามว่า ที่เชียงใหม่มีพระ องค์ไหนดีบ้าง ที่มีปาฎิหารย์พิเศษ
เจ้า คณะจังหวัดบอกว่า เห็นมีอยู่องค์หนึ่ง คือหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หรือดอยสีม่วง (ปั๋ง ภาษาเหนือแปลว่า สีม่วง) แม่ปั๋ง เพื่อที่จะพิสูจน์ดูให้เห็นกับตา เมื่อไปถึงวัดก็พบว่า มีผุ้คนมากมาย จากสารทิศต่างๆ มารอพบหลวงปุ่แหวน เต็มวัดไปหมด
ปกติ หลวงปุ่แหวน ไม่ยอมออกมาพบปะผู้ใดง่ายๆ แม้แต่งานฉลองอายุครบรอบของท่าน ที่คณะศิษย์ยานุศิษย์ตลอดจนผู้ที่เคารพเลื่อมใส จากทั่วทุกสารทิศ หลั่งไหลไปจัดงานขึ้น ผู้คน แน่นวัด มืดฟ้ามัวดิน รถราจอดเต็มดอยไปหมด หลวงปู่แหวนก็ไม่ยอมออกมาจากห้่องให้สรงน้ำ หรือให้กราบสักการะ แจกของชำร่วย อย่างงานวันเกิดของพระเถระอื่นๆ
หลวงปู่แหวนยังคงเก็บต้ัวอยุ่แต่ในห้องและหนีคนอย่างอุปนิสัยแต่เดิมของท่าน ท่านจะออก มาจากห้องเป็นปกติ ก็เฉพาะเวลาฉันจังหันเช้า และเจริญพระพุทธมนต์ค่ำเท่านั้น
ทหาร อากาศนายคนนี้ไปตอนเช้า พอได้เวลาหลวงปู่แหวน อออกจากห้องมาฉันอาหารเช้า ก็จ้องมองด้วยความตะลง จำำได้ทันทีว่า พระผู้เฒ่าองค์นี้จริงๆ ที่เขาพบบนก้อนเมฆขณะขับ เครื่องบินผ่านดอยแ่ม่ปั๋งไป
เขา จึงแหวกผู้คนเช้าไปกราบนมัสการแทบเท้าหลวงปู่แหวน ด้วยความเคารพเลื่อมใส อย่างสูงสุด น้ำตาไหล ปลาบปลื้มใจ ตื้นตันใจ ที่ตนได้มีบุญได้พบเห็นตัวจริงของหลวงปุ่แหวน"
นี่แหละ ครับ เป็นเหตุการณ์หนึ่ง ที่ทำให้ผู้คนทั่วทุกสารทิศ หลั่งไหลมากราบหลวงปุ่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง ทำให้ท่านเป็นพระดังแห่งยุค
|
|
|
๑๕๔. พระมหากรุณาธิคุณ
นับ แต่โบราณกาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ยังไม่มีพระคณาจารย์รุปใดที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ เท่าหลวงปุ่แหวน ในระหว่างที่ท่า่นยังมีชีวิตอยู่
นอกเหนือจากการเสด็จพระราชดำเนินถึงวัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อนมัสการและสนทนาธรรม กับหลวงปุ่หลายครั้งหลายครา แล้วยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จัดสร้างสิ่งมงคล โดยใข้รูปของ หลวงปุ่ นาำมาแจกในพระราชพิธีสำคัญ
หลวงปู่แหวน จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกในประเทศไทย ที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง ส่ง และนอกจากล้นเกล้าๆทั้งสองพระองค์แล้ว สมเด็จพระบรมโอสาธิราชๆ สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดา สยามบราราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ๆ ได้ทรงพระกรุณา เสด็จเยี่ยมหลวงปู่่อยู่เนืองๆ
ข้า ราชบริำพารผู้หนึ่ง ได้เปิดเผยถึงหลวงปู่กับล้นเกล้าๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ภายหลังจากที่ข่าวพระองค์ทรงประชวรและประทับที่เชียงใหม่แล้ว หลังจากนั้น ก็เสด็จดอยแม่ปั๋ง หลวงปุ่แหวนได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งง่า
" พระองค์นั้นมัวแต่ห่วงคนอื่น ไม่ห่วงพระองค์เองเลย"
เมื่อได้ฟังหลวงปุ่กล่าวเช่นั้น ล้นเกล้าๆ ทรงพระสรวลด้วยความพอพระทัย
มีข่าวอีกครั้งหนึ่งว่า สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรและประทับรักษา พระองค์ที่เชียงใหม่นั้น ข้าราชบริพาร ได้นำเฮลิคอบเตอร์มานิมนต์ หลวงปุ่ให้ไปที่พระตำหนัก เืพื่อแผ่พลังจิต ช่วยรักษาอาการประชวรของพระองค์ท่าน
หลวงปุ่ท่านปฎิเสธการนิมนต์ และได้บอกว่า " อยู่ที่ไหน ฮาก็ส่งใจไปถึงพระองค์ได้ ก็ส่งไป ทุกวันอยู่แล้ว "
หลวง ปุ่แหวน ท่านตั้งสัจจธิษฐานว่า แม้ท่านจะเจ็บป่วยก็ไม่ยอมไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ใน ช่วงท้ายของชีวติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอาราธนา ท่ี่านจึงยอมทำตาม และบอกว่า ในฐานะประชาชน หลวงปู่ จึงไม่กล้าขัดพระราชปรสงค์ไ้ด้
|
|
|
๑๕๕. ความศรัทธา
ของประชาชน
หลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านเป็นตัวอย่างสมาณะที่เจริญตามรอยแห่งเบื้องพระยุคลบาท ขององค์พระศาสดาอย่างมุ่งมั่น มอบชีวิตถวายจิตใจเพื่อรับใช้พระสัทธธรรม ท่านบำเพ็ญเพียร ทางวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ เพื่อความหลุดพ้นจากโลกียภูมิ เข้าสู่โลกุตรภูมิ เป็นแดนพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
หลวงปู่แหวน ท่านสละสิ้นทุกอย่าง มุ่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเดียว ท่านหลีกเร้นตนเองออกสู่ ทางสันโดษตลอดระยะยาวนานกว่า ๕๐ ปี ต้องฝ่าฟันอุปสรรคและความทารุณนานาประการ ไม่ว่าความทุรกันดาร โรคภัยไข้เจ็บ และความอดอยากหิวโหย แม้ร่างกายจะหนีจากธรรมชาติ เหล่านี้ไม่พ้น แต่จิตท่านไม่ติดอยู่ในสภาพทุกข์เหล่านั้น ท่านละวางทุกอย่าง ได้อย่างแท้จริง ดีก็ ไม่ติด ไม่ดีก็ไม่ติด
หลวง ปู่ขณะดำรงชีวิตอยู่ ท่า่นอยู่ด้วยความเมตตา เพื่อการสงเคราะห์สัตว์โลกอย่างแท้จริง ใครจะเอาประโยชน์อะไรจากท่านได้ ท่านไม่เคยขัดข้อง ตราบใดที่ไม่ผิดวินัยท่่านอนุโลมตาม เสมอ
ด้วย เหตุนี้ สาธุชนที่ศรัทธาในหลวงปู่ จึงได้หลั่งไหลไปที่วัดดอยแม่ปั๋ง จุดประสงค์อย่างอื่นที่ นอกเหนือจากการได้กราบได้เห็น ได้ทำบุญกับองค์ท่านแล้ว ส่วนใหญ่ต้องการให้หลวงปู่เป่าหัว ให้บ้าง ต้องากรได้น้ำมนต์บ้าง ต้องการใด้ของดีเพื่อความมีโชคลาภ ความเป็นศิริมงคล รวมทั้ง ต้องการให้หลวงปู๋แผ่พลังจิตเพื่อปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อความขลัง ความศักศิทธิ์ ท่่านก็ อนุโลมทำให้ด้วยความเมตตา ใครจะรับอะไร ได้เพียงไร ขึ้นอยู่กับผู้นั้นเอง
สิ่งของ ที่มีผู้ขอกันมาก ได้แก่ ก้นยาขี้โย จีวร ไม้เท้า แม้แต่เส้นเกศา เล็บ ตลอดจนขี้ไคลในตัว ท่าน และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวท่าน ก็ถือเป็นศิริมงคลทั้งนั้น
หลวงปู่ท่านถึงกับออกปากว่า " ฮาโกนหัวแล้ว เปิ้นก็ยังฮื้อโกน แถมจะเอาฮาไปสร้างพระ ฮธหยัง ฮาเจ็บหัว"
หลวงปู่ท่านพูดสำเนียงเหนือปนอิสาน หมายความว่า เราโกนหัวแล้ว เขาก็ยังมาให้โกนอีก บอกว่าจะเอาไปสร้างพระ อะไรนั่น เราเจ็บหัว
แม้ แต่น้ำที่ท่านอาบ ก็มีผู้ต้องการขอไปเพื่อเป็นศิริมงคลแม้ท่านสรงน้ำเสร็จแล้ว ยังมาขอให้ ท่านสรงซ้ำอีก ท่านถึงกับพูดว่า " ฮาหนาวจะต๋าย เปิ้นก็จะฮื้อฮาอาบน้ำอีก"
นอกจากนี้ยังมีคนไปรุมขัดถูขี้ไคลตามเนื้อตามตัวท่าน ขัดแล้วขัดอีก หรือตัดเล็บท่าน ตัดแล้วตัดเล่า เพื่อจะเอาไปทำพระเครื่อง ทำวัตถุมงคลต่างๆ จนหลวงปู่บอกว่า ท่านแสบไปทั้ง เนื้อทั้งตัว ดังนี้เป็นต้น
เอาเป็นว่าใครมีโอกาสหยิบฉวยแย่งอะไรจาก ท่าน เอาประโยชน์อะไรได้จากท่าน ต่างก็เอา กันไป หลวงปู่ท่า่นปล่อยวางเฉย ใครจะทำอะไรก็ตามใจ
ดังนั้น ภาระหนักในการดูแลหลวงปู่ ถนอมหลวงปู่ ให้อยู่กบพวกเราให้นานที่สุด จึงตกอยู่ที่ หลวงปุ่หนู สุจิจฺโต เจ้าอาวาส
|
|
รูปเหมือนหลวงปู่แหวน นอนอยู่ใน
โลงแก้ว ข้างกุฎิย่างกิเลสของท่าน
|
๑๕๖. ของดีที่
หลวงปู่มอบให้
เมื่อมีผู้ของของดีจาก หลวงปู่แหวน ท่่านจะถามกลับและให้ธรรมะ เพื่อเป็นข้อคิดเตือนสติ เตือนใจ ดังนี้ :-
" ของดีอะไร อะไรคือของดี ของดีก็มีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว"
การที่ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้พยาธินั้น ก็มีของดีแล้ว การมีร่างกายแข็งแรง มีอวัยวะ ครบถ้วน ไม่บกพร่องวิกลวิการ อันนี้ก็เป็นของดีแล้ว
ของ ดีมีอยู่ในตน ไม่รู้จะไปเอาของดีที่ไหนอีก สมบัติของดีจากเจ้าพ่อ เจ้าเแม่ให้มา ก็เป็น ของดีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วทุกคน จะไปเอาอองดีที่ไหนอีก
ของดีก็ต้องทำให้มันเกิดมันมีขึ้นในจิตใจของตน ความดีอันใด ที่ยังไม่มี ก็ต้องเพียรพยายาม ทำให้เกิดให้มีขึ้นนี่แหละของดี
ของ ดีอยู่แล้ว ในตัวของเราทุกๆคน มองให้มันเห็น หาให้มันเห็น ภายในตนของตนนี่แหละ จึงใช้ได้ ถ้าไปมองหาแสวงหาของดี ภายนอกแล้วใช้ไม่ได้
ศีล ธรรม นี่แหละคือของดี
ศีล คือการนำความผิดความชั่วออกจากกาย ออกจาวาจา
ธรรม ก็คือความดีที่ป้องกันไม่ให้ความผิดหวังความชั่วเกิดขึ้นใน กาย วาจา ใจ
ทั้งศีล ทั้งธรรม ก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่เราไปแยกสมมติ เรียกไปต่างหาก
กาย วาจา ใจ ของเรานี้เป็นที่ตั้งของธรรม เป็นที่เกิดของธรรม เป็นที่ดับของธรรม ความดีก็ เกิดจากที่นี่ ความชั่วก็เิกิดจากที่นี่ สวรรค์ก็เกิดจากที่นี่ นรกก็เกิดจากที่นี่
เราจะรักษา ศีล ภาวนา ให้ทาน ก็ต้องอาศัย กาย วาจา ใจ นี้เป็นเหตุ เราจะทำความผิด ความชั่ว ไปนรกอเวจีก็ต้องอาศัยกาย วาจา ใจ นี้เป็นเหตุ
เราจะรักษาศีล ทำสมาธิ ภาวนา ให้เกิดปัญญา ทำมรรค ผล นิพพาน ให้แจ้ง ให้เกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยกาย วาจา ใจ นี้แหละ "
นี่แหละครับของดีที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ มอบไว้ให้แก่พวกเรา ได้นำไปพิจารณาไตร่ ตรองดู
|
|
|
๑๕๗. เรื่อง
เครื่องรางของขลัง
เรื่องเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคล ที่พวกเราเสาะแสวงหา มาไว้ครอบครองนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณฺโร ท่านให้ความเห็นดังนี้ :-
หลวง ปู่พูดอยุ่เสมอว่า คนเรานี้แปลก เอาของจริงคือธรรมะให้ไม่ชอบ ไปชอบเอาวัตถุภาย นอกกันเสียหมด ที่พึ่งที่ประเสริญ คือพระรัตนตรัย นั้นประเสริญอยู่แล้ว แต่กลับไม่สนใจ พากันไป สนใจแต่วัตถุภายนอก
จึง อาจกล่าวได้ว่า เมื่อคนเราไม่สามารถจะเอาคุณพระรัตนตรรัยมาเป็นที่พึ่งของตนได้ เพราะอินทรีย์ยังอ่อนอบรมมา ยังไม่เข้าถึงเหตุผล จะถือเอาวัตถุภายนอก เช่นพระเหรียญ ซึ่งเป็น รูปเหรียญรูปแทนของพระพุทธเจ้า นั้นก็ดีเหมือนกัน ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายของวัตถุนั้นๆ
หลวงปู่ท่านให้ ข้อคิดในทางธรรมะว่า วัตถุมงคลเหล่านั้นหากจะนำไปป้องกันตัว ถ้ากรรมมา ตัดตอนแล้ว ป้องกันไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งไหนจะไปต้านทานอำนาจกรรมนั้นไม่มี
แต่ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายในวัตถุนั้นๆ ว่า เขาสร้างขึ้นมาส่วนมาก เขาใช้สัญลักษณ์ของผู้ที่ ทำแต่ความดี
การมีวัตถุมงคลไว้ติดตัว ก็มีไว้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญาของตนเองไม่ให้ประมาทในการ กระทำของตน ต้องทำแต่ความดีเสมอ เพราะโลกเขาบูชานับถือแต่คนดี
เรามีของดีอยู่กับตัว ก็ต้องทำแต่ความดีอย่างนี้แล้ว ก็นับว่าผู้นั้นได้ประโยชน์จากวัตถุมงคล นั้นๆ
|
|
|
๑๕๘. คาถาปลุกเสก
เมื่อ ลูกศิษย์มีความสงสัย และถามหลวงปู่ว่า พระก็ดี เหรียญก็ดี ที่หลวงปู่ทำพิธี แผ่เมตตาไว้ มีคนนิยมกันว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ หลวงปู่ปลุกเสกด้วยคาถาอะไร ?
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ จะตอบข้อสงสัยเช่นนี้ว่า ที่กล่าวว่า แผ่เมตตาวตถุมงคลนั้น ท่านไม่ เคยปลุกเสกพระอะไรเลย เคยแต่สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยเท่านั้น แล้วตั้งสัจจะอธิษฐาน ให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้ที่นับถือกราบไหว้บูชา
จะอธิษฐานเพียงเท่านั้น ไม่มีคาถาสำหรับเสกให้ขลังอย่างนั้นอย่างนี้แต่อย่างใด
สำหรับ บทสวดที่หลวงปุ่แหวน ท่านใช้ในพิธีแผ่เมตตา ท่านจะใช้บท ติรตนนมการคาถา อ่านว่า ติระตะนะนะมะการะคาถา หรือ บททำวัตรพระ เพื่อสะดวกต่อท่านผู้อ่าน ผมขออัญเชิญมาไว้ เต็มๆ เลย ดังนี้
|
|
|
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ( ๓ จบ)
โย สันนิสินโน วะระโพธิมูเล มารัง สะเสนัง สุขิตัง วิชเชยยะ สัมโพธิมาคัจฉิ อะนันตะญาโณ
โลกุตตะโม ตัง ปะณะมามิ พุทธัง เย จะ พุทธา อะตีตา เย จะ พุทธา อะนาคะตา ปัจจุปันนา จะ เย
พุทธา อะหัง วันทามิ สัพพะทาๆ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณสัมปันโน สุคะโค โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
พุทธัง ชิวิตัง ยะวะนิพพานัง สะระณัง คัฉามิ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวิชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง อุตตะมัง เคนะ วันเทหัง ปาทะปังสุง วะรุตตะมัง พุทเธ โย ชะลีโต โทโส พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมัง
อัฎฐังคิโก อะริยะปะโถ ชะนานัง โมกขัปปะเวสายะ อุชู จะ มัคโค ธัมโม อะยัง สันติกะโร ปะณีโต นิยยานิโก ตัง ปะณะมามิ ธัมมัง เย จะ ธัมมา อะตีตา จะ เย จะ ธัมมา อะนาคะตา ปัจจุปันนา จะ เย ธัมเม อะหัง วันทามิ สัพพะทา
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิสตัพโพ วิญญูหีติ
ธัม มัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ นัตถิ เม สะรณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง อุตตะมังเคนะ วันเทหัง ธัมมัญจะ ทุวิธัง วะรัง ธัมเม โย ชะลิโต โทโส ธัมโม ขะมะตุ ตัง มะมัง
สังโฆ วิสุทโธ วะระทักขิเณยโย สันตินทริโย สัพพะมะลัปปะหิโน คุเณหิ เนเกหิ สะมิทธิปัตโต อะนาสะโว ตัง ปะณะมามิ สังฆัง เย จะ สังฆา อะตีตา จะ เย จะ สังฆา อะนาคะคา ปัจจุปันนา จะ เย สังฆา อะหัง วันทามิ สัพพะทา
สุ ปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญังเขตตัง โลกัสสาติ
สังฆัง ชีวิตัง ยะวะนิพพานัง สะระํณัง คัจฉามิ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะ มังคะลัง อุตตะมังเคนะ วันเทหัง สังฆัญจะ ทุวิธุตตะมัง สังเฆ โย ชะลิโต โทโส สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง
อิจเจวะมัจจันะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุเภนะ หะตันตะราโย
|
|
เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นแรก
|
๑๕๙. คาถาปลุกเสก
อีกบทหนึ่ง
ใน พิธีแผ่เมตตา หรือปลุกเสกวัตถุมงคล นอกจากจะใช้บท ทำวัตรพระ ดังกล่าวข้างต้น บางครั้ง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านก็ใช้บทสวดนมัสการคุณพระรัตนตรัย อีกบทหนึ่ง ดังนี้ :-
พุ ทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
อิ ติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ,
สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม, สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
สุ ปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะ ปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นแรก
|
|
|
๑๖๐. ความเห็นเกี่ยวกับ
พิธีพุทธาภิเษก
เกี่ยวกับการจัดพิธีปลุกเสกพระ ที่เรียกว่า พุทธาภิเษก ที่จัดกันอยุ่ทั่วไป ทั้งเป็นการราษฎร์ ทั้งเป็นการหลวงนั้น
หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ ให้ความเห็นในพิธีการนี้ว่า ถ้าเราเข้าใจว่าพิธีพุทธาภิเษก เป็นการ ปลุกเสกวัตถุที่เราสร้างขึ้นให้เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระพุทธเ้จ้านั้น ถือว่าเป็นการเข้าใจที่ไม่ ถูกต้อง ไม่ตรงตามความเป็นจริง
หลวง ปุ่ให้เหตุผลว่า พระพุทธเจ้าท่านเป็นพระตั้งแต่เรายังไม่เกิดพระองค์เป็นพระพุทธะ มาก่อนเราเป็นพันๆปี ถ้าใครไปปลุกเสกวัตถุให้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนับว่าผิด
เรา เองเป็นเพียงสาวก จะไปทำวัตถุที่เขาสร้างเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า ให้เป็น พระพุทธเจ้าได้อย่างไร วัตถุที่เขาสร้างขึ้นนั้น สำเร็จเป็นพระแล้วโดยสมบูรณ์ สำเร็จตั้งแต่เขา สร้างแล้ว เพราะเป็นที่รับรู้กันดีแล้วว่า เป็นรูปเปรียบรูปแทนของพระพุทธเจ้า
ดังนั้น วัตถุนั้นๆ จึงเป็นพระโดยสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่เขาสร้างเสร็จ จะไปปลุกเสกให้เป็นพระ อีกไม่ได้
หลวงปู่ ท่านเรียกพระพุทธรูปว่า พระบรมรูป
ท่านกล่าวว่า พระบรมรูปของพระพุทธเจ้านั้น แม้จะทำสำเร็จขึ้นจากวัตถุใดๆ ท่านก็สำเร็จ เป็นพระพทธะในความหมายแล้วอย่างสมบูรณ์ เพราะวัตุถุนั้นเขาสมมุติ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ ของพระพุทธเจ้า
แม้ จะเป็นเพียงวัตถุ เราก็กราบไหว้บูชา ได้ด้วยความสนิทใจ ไม่มีวิขาคาถาอาคมใดๆ ที่จะมาปลุกเสกพระพุทธเจ้าได้ เพราะวัตถุนั้น สำเร็จเป็นพุทธะตามความหมายที่เราได้สร้างขั้น แล้ว
หลวง ปุ่ให้ความเห็นว่า ที่เรียกกันว่าพุทธาภิเษกนั้น ควรจะเรียกว่า พิธีสมโภชพระ หรือพิธี นมัสการพระ จึงจะถูกต้อง ตามความเป็นจริง
ขอ สรุปเพื่อความเข้าใจอีกทีว่า หลวงปุ่แหวนท่านไม่ได้ค้านในพิธีการ แต่ท่านเสนอแนะคำ พูดที่เราใช้เรียก เพื่อจะได้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง
|
|
|
๑๖๑. การปลุกเสกวัตถุมงคล
ต่อ ไปนี้เป็นคำเล่าของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เ่ล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟัง แล้วนำมาถ่ายทอด ลงในหนังสือโลกทิพย์ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๒๕ โดยสิทธา เชตวัน ดังนี้ :-
หลวงปู่แหวน ไม่เคยสนใจเรื่องการสร้างพระเครื่องแปลกๆพิสดาร ตลอดจนเครื่องราง ของขลังเลย มีแต่พระและฆราวาสลูกศิษย์ลูกหาจัดสร้างขึ้น แล้วขนไปให้ท่านปลุกเสกบ้าง ซึ่งท่าน ก็มีเมตตาไม่ขัดข้อง
หลวง ปุ่แหวน กล่าวว่า ชาวบ้านทั้งหลายยังติดข้องอยุ่ในโลกธรรม โลกียสมบัติ ยึดถือตัวตน บุคคลเราเขา ยังเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีโอกาสจะเป็นนักบวชกระทำจิตตัดกิเลส หาทางหลุดพ้น ได้สะดวก จำเป็นอยู่เอง ที่ชาวบ้านจะต้องยึดถือพระเครื่องเป็นที่พึ่ง อย่างน้อยพระเครื่องก็เป็นจุด ให้ชาวบ้านเข้าถึงความดี ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย ที่ชาวบ้านจะมี พระเครื่องไว้ติดตัว
" ปู่ก็เสกให้ ใครเอามาให้ ก็ต้องเสกให้ไป ด้วยความเมตตานั่นแหละ หลานเอ๊ย"
หลวงปุ่แหวน กล่าวไว้อย่างนี้ เมื่อคณะศรัทธาจากที่ต่างๆทั่วสารทิศ หอบหิ้วขนเอาพระ เครื่องรางของขลัง ไปให้ท่านปลุกเสกถึงวัด
ตอน นั้นหลวงปุ่แก่มากแล้ว ชราภาพไปด้วยวิสัยสังขาร หูตึง เดินเหินไม่สะดวก ทางวัดจึง ต้องจำกัดเวลาให้ชาวบ้านเข้านมัสการ ไม่ีค่อยจะให้ท่านเดินทางไกลไปร่วมปลุกเสกพระเครื่อง ในพธีพุทธาภิเษกใดๆ ง่ายๆ นอกจากว่า หลวงปุ่จะยินดีเต็มใจไปเองจริงๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะถนอม ชีวิตของหลวงปุ่แหวน ไว้ให้ยืนนานเป็นมิ่งขวัญของวัดและประชาชน ผุ้เคารพศรัทธาทั้งหลาย ต่อไปให้นานเท่านาน นั่นเอง
มี สิ่งที่น่าสังเกตุอยู่อย่างคือ พระเครื่องรางของขลังใดๆ ที่พระและฆราวาส นำไปขอเมตตาจิต จากหลวงปุ่แหวน เืพื่อให้ท่านปลุกเสกให้นั้น หลวงปู่แหวน จะปลุกเสกให้อย่างมากไม่เกิน ๙ นาที บางครั้งก็เสกให้ ๓ นาที ๕ นาทีบ้าง เป็นอันว่าใช้ได้
การปลุกเสกนี้ไม่มีพิธีรีตรองใดๆทั้ง สิ้น ต้องไปนอนอยู่ที่วัดรอให้หลวงปู่แหวนออกมาจาก ห้อง พอท่านออกมาก็ขนสิ่งที่จะปลุกเสกเข้าไปกราบนมัสการท่านทันที แล้วท่านก็จะทำให้ ในเดี๋ยวนั้น ทำปุ๊ปเสร็จปั๊ป ก็เป็นอันว่าแ่้ล้วกันไป เสร็จสิ้นเรื่องเปิดโอกาสให้ผู้คนอื่นๆ เข้าไปนมัสการท่าน ตามคิว ซึ่งแน่นขนัดอยู่ทุกวัน ไม่มีขาด
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ไ้ด้เล่าถึงการปลุกเสกพระ ที่ลูกศิษย์ ลุกหาต่งถอดสร้อย และรวมพระ เครื่องต่งๆ รอให้หลวงปุ่แหวน ปลุกเสกให้ดังนี้ :-
" พอใครขนเอาเครื่องรางไปวางเสร็จ หลวงปู่แหวนก็ัตั้งท่าสงบใจสงเคราะห์ อาตมาก็จับดู จิตของหลวงปุ่แหวน อูอารมณ์จิตของท่านว่า จะทำยังไง
ครั้นแล้ว ก็เห็นอารมณ์จิตของหลวงปู่แหวนผ่องใสเป็นดาวประกายพฤษ์เต็มดวง ลอยอยู่ใน อกท่าน เวลานั้นกำลังจิตของหลวงปุ่แหวน ก็คิดว่า ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ให้มาโปรดช่วยทำของเหล่านี้ ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญมงคล ของบรรดาท่า่นพุทธบริษัท ให้เข้าถึงพระธรรม
โดยความจริง หลวงปุ่แหวน ไม่คิดว่าเสกให้เอาไปตีกับชาวบ้าน เอาไปปล้นชาวบ้าน ท่านเสก ให้คนเข้าถึงธรรม
ท่านนึกในใจต่อไป หลวงปุ่แหวนก็อาราธนาบารมีของพระอรหันต์ทั้งหมด บารมีของพรหม ของเทวดาทั้งหมด ตออดจนกระทั่งครูบาอาจารย์
พอ ถึงพะอรหันต์ อาตมาก็เห็นหลวงปู่ตื้อ ปรี๊ดมาถึงข้างหลัง เอากำปั้นลง หลังอาตมาปั๊ปเข้าให้ แล้วถามว่า เฮ้ย ... มึงมานั่งอยู่ทำไมวะ อาตมาก็เลยบอกไปว่านี่ ... พระผี ไม่ต้องพูด หลวงปู่ แหวน เชิญพระผีนะ ไม่ได้เชิญพระมีเนื้อหนังมังสา มีหน้าที่อะไรก็ำทำไป
แล้ว ก็ได้เห็นกระแสจิตหลวงปุ่แหวน เป็นประกายพฤกษ์ พุ่งออมาจากอก สว่างเจิดจ้า ใหญ่เหลือเกิน คลุมเครื่องรางของขลังทั้งหมด แสงสว่างประกายพฤกษ์ของจิตพระอรหันตเจ้า แทรกลงไปในเครื่องรางของขลัง อยู่ผิวด้านหน้ายันข้างล่างสุด เรียกว่าคลุมหมดอาบลงไปหมด เลย โพลงสว่างสุกปลั่งไปหมด คล้ายตกอยู่ในเบ้าหลอม เป็นกระแสสว่างของจิตที่เยือกเย็น เต็มไป ด้วยอำนาจพุทธบารมี เห็นแล้วรู้สึกเยือกเย็นสบายอย่างประหลาด บอกไม่ถูก
นี่ เป็นการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลีังของ หลวงปุ่แหวน ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง ๓ นาที แต่ทว่า อานุภาพยิ่งใหญ่ ทรงความขลงศักดิ์สิทธิ์ เลิศล้ำน่ามหัศจรรย์
|
|
|
๑๖๒. เกี่ยวกับการ
ทำน้ำมนต์
ความ จริงแล้ว หลวงปู่แหวน เช่นเดียวกับพระในสาย หลวงปู่มั่น ถูริทตฺโต ไม่ได้สนใจ เรื่องการปลุกเสกวัตถุสิ่งของ การทำน้ำมนต์รวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ แต่ท่านก็อนุโลมเพื่อเป็นการ สงเคราะห์ญาติโยม ที่เชายังต้องการอยู่เท่านั้น ท่านสนใจเรื่องการปฎิบัสติภาวนาเพื่อหาทาง พ้นทุกข์มากกว่า
ถ้าว่าถึงคาถาที่หลวงปู่ท่่านใช้ในการทำน้ำมนต์นั้น ท่านมักใช้บท มงคลจักรวาฬน้อย ที่อัญ เชิญมาเสนอท้ายตอนนี้
สมัยที่หลวงปู่แหวน ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เวลาที่ชาวบ้านเอาน้ำมาถวาย ขอให้ท่านเสกให้ เช่นเขาจะบอกว่าคนนั้น คนนี้ จะคลอดหรือคนนั้นคนนี้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้หลวงปู่เสก น้ำมนต์ให้ด้วย
บางครั้งหลวงปู่ก็พูดในทำนองขบขันว่า " เออเวลาอย่างหนึ่งเขาก็ไม่บอกเรา เวลาจะคลอด จึงมาบอกเรา ทำให้ลำบากพระเจ้าพระสงฆ์ แทนที่จะไปหาหมอที่โรงพยาบาล"
เวลาหลวงปู่เสกน้ำมนต์ ท่่านใช้บทมงคลจักรวาฬน้อย ตามที่กล่าวข้างต้น โดยจะว่าดังๆ ให้ได้ยิน ดังนี้ :-
|
|
|
สัพ พะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง ติณนัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภา เวนะ ปิฎะกัตตะยานุภาเวนะ ชินะสาวะกานุภาเวนะ สัพเพ เต โรคา สัพเพ เต ภะยา สัพเพ เต อันตะรายา สัพเพ เต อุปัททะวา สัพเพ เต ทุนนิมิตตา สัพเพ เต อะวะมังคะลา วินัสสันตุ, อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิระวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก สุขะวัฑฒะโก โหตุ สัพพะทา.
ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา, อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ จุปัททะวา, ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิ ภาคยัง สุขัง พะลัง, สิริ อายุ จะวัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิ จะ ยะสะวา, สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธิ ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุ เต.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะธัมนุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต,
ภาวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
เ้อ้า หายโรคหายภัย อายุมั่นขวัญยืน.
|
|
|
๑๖๓. หลวงปู่ผู้ไม่มีอดีต
และเรื่องหูทิพย์ตาทิพย์
มีคำถามว่า เมื่อหลวงปุ่แหวน ท่านมาอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว ไม่มีใครมานิมนต์ท่านกลับไป จังหวัดเลย บ้านเกิดของท่านบ้างหรือ
มีเขียนอยุ่ในหนังสือลานโพธิ์ว่า :-
... คณะญาติโยมทางจังหวัดเลย ก็ต้องการนิมนต์ให้หลวงปู่กลับไปพำนักที่จังหวัดเลย คณะที่ ไปนิมนต์ มีพระอาจารย์ซามา หลวงปูตื้อ หลวงปุ่สิม แต่หลวงปู่แหวน ตอบปฎิเสธ โดยท่านขอยึด เอาจัีงหวัดเชียงใหม่เป็นที่ปฎิบัติธรรมจวบจนวาระสุดท้าขของชีวิต
และอีกตอนหนึ่งว่า :-
... แต่หลวงปุ่ เป็นผู้ซึ่งได้สละแล้วทุกอย่าง ไม่อาลัยอาวรณ์ในสิ่งใดๆทั้งสิ้น แม้อดีตที่ผ่านมา
หลวงปู่ เคยบอกกับผู้ที่เีคยไปอ้อนวอนนิมนต์กลับจังหวัดเลยว่า
ท่านเป็นผู้ไม่มีบ้าน ไม่มีญาติ ท่านมีแต่วัด ชีวิตของท่านได้ถวายเพื่อพระพุทธศาสนา โดยหมดสิ้นแล้ว
ท่านไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต นอกจาปัจจุบัน
หลวงปู่มักจะสอนให้คนรู้จักคิดว่า ไม่ควรจะอาวรณ์แต่ในอดีต ควรจะนึกถึงแต่ปัจจุบัน และวางแผนงานในอนาคต ชีวิตจะได้ก้าวหน้า และรุ่งเรือง
อีกคำถามหนึ่ง มีว่า ถ้าเช่นนั้น หมายความว่า หลวงปู่แหวน ตัดขาดจากญาติพี่น้อง โดยสิ้นเชิง ใช่ไหม ?
ขอ ให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาเอาเองจากบทความต่อไปนี้ ซึ่งเป็นจดหมายของ คุณมนตรี ราม ศิริ ลูกหลานหลวงปุ่แหวน เขียนในขณะมีตำแหน่งเ็ป็นเกษตรอำเภอเชียงคาร ได้นำลงใน นิตยสารโพธิญาณ ฉบับที่ ๒๓
... ในจดหมายบอกว่า มีลูกหลานของหลวงปู่ ที่จังหวัดเลยได้พากันไปกราบหลวงปู่ ที่วัดดอย แม่ปั๋ง เป็นการเดินทางมาเชียงใหม่คร้งแรก ต้องถามเส้นทางคนเชียงใหม่ไปเรื่อย จึงด้นดั้นไปถูก
คณะลูกหลานท่านนับว่าโชคดี เป็นโอกาสเหมาะจึงได้เข้ากราบหลวงปู่พอดี สมดัง ใจปราถนา
เมื่อหลวงปู่รู้ว่าเป็นลุกหลานมาจากจังหวัดเลย ท่านก็เอ่ยปากถามว่า " แม่แกถูกตะขาบกัด เจ็บมากหรือ ?"
ทำ เอาเหลนๆ ทั้งสามคนงุนงงยิ่ง เพราะก่อนเดินทางมากราบหลวงปุ่ แม่ของพวกเขาถูก ตะขาบกัดเอาเจ็บปวดมากถึงกับร้องครวญครางทั้งคืน ไม่ได้หลับได้นอน !
แล้วท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับว่า เรื่องหูทิพย์ตาทิพย์ มีจริง ?
ในจดหมายของคุณมนตรี ลงท้ายว่าอย่างนั้น
มาพิจารณาในแง่ที่หลวงปู่บอกว่า " ฮาบอมีอดีต บ่มีบ้าน บ่มีญาติมิตร" ก็น่จะหมายความว่า ท่านไม่ติดยึดในเรื่องเหล่านี้ แต่ถ้าต้องการรู้เรื่องอะไร ก็สามารถกำหนดจิตรู้ได้ในทันที
เรื่องนี้หลวงปู่ไ่ม่ได้โอ้อวด ท่านคงถามด้วยความจริงใจ ซึ่งก็ทำให้เหลนๆ ของท่านแปลกใจ แล้วเล่าบอกต่อกันไป คงไม่ให้ใครงมงาย
เรื่องราวเกี่ยวกับหูทิพย์ ตาทิพย์ ของหลวงปุ่แหวน มีมากมาย เ่ล่ากันไม่รู้จักหมดสิ้นอย่าง แน่นอน
|
|
หลวงปู่แหวนกับ พระครูวิบูลศีลวงศ์
(สมณศักดิ์ในขณะนั้น
วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพๆ
|
๑๖๔. สสิปัญญาท่านแหลมคมยิ่งนัก
กับเรื่้องของหลวงปู่หนู
เรื่องนี้ ท่านพระครูวิบุลศีลวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพๆ ได้เล่าให้ลูกศิษย์คณะโพธญาณ ฟังดังนี้ :-
เมื่อ ก่อนนี้สมัยที่ท่า่น(พระครูๆ) เดินทางไปหาหลวงปู่แหวน ที่วัดดอยแม่ปั๋งใหม่ๆ ระยะแรกๆ นั้นท่านเองก็มีความรู้สึกที่ตื่นเต้น ในวัตถุมงคลหลวงปุ่แหวนมาก แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับหลวงปุ่บ่อยเข้า ท่านกล่าวว่า สติปัญญาของหลวงปุ่แหวนนั้น แหลมคมยิ่งนัก ถ้าใครไปถามท่านในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ก็อาจจะโดนท่านย้อนจนพูดไม่ออกบอก ไม่ได้ทีเดียว
ท่านพระ ครูๆ เองก็เคยโดนปลวงปู่ ท่านย้อนเอาบ่อยๆ หรือแม้แต่หลวงปู่หนู สุจิตฺโต เอง ก็โดนหลวงปุ่ย้อนเอาบ่อยๆ เหมือนกัน แต่ทั้งหลวงปุ่แหวน และหลวงปุ่หนู นี้ เหมือนดังกับจะรู้ที กันอยู่ในเชิงสติปัญญา ถ้อยทีถ้อยย้อนกันไปย้อนกันมา
ก่อนหน้าที่หลวงปู่หนู จะไปรับหลวงปุ่แหวน จากบ้านปงมาอยุ่ทีวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปุ่แหวน ท่านบอกเอาไว้ว่า ท่านจะขออยู่ภาวนาเงียบๆ องค์เดียว โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครทั้งสิ้น และภาระต่างๆ อย่าเอามาให้ท่าน
เมื่อตกลงกันดังนี้แล้ว หลวงปุ่ผุ้เฒ่า ท่านจึงยินยอมมาอยู่ที่พำนักภาวนาที่วัด ดอยแม่ปั๋งแห่งนี้
เวลา ล่วงผ่านไป ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ผู้เฒ่าโด่งดังออกไป ผู้คนทั้งใกล้และไกล พากันเดินทางไปหาหลวงปุ่ ที่วัดดอยแม่ปั๋งอย่างเนืองแน่น
หลวงปู่ผุ้เฒ่า นั้นแม้ว่าสังขารร่างกายของท่านจะไม่แข็งแรงดีนัก แต่ท่านก็อุตสาห์เดินทาง จากกุฎิออกมาให้สาธุชนได้พบได้นมัสการทุกวัน ทั้งเช้าและกลางวัน
แต่ก็ยังไม่เพียงพอ
หลวง ปุ่แหวนนั้น ท่่านมีข้อตกลงกับหลวงปู่หนูอยู่ว่า ท่านจะขออยู่อย่างพระผู้ปฎิบัติธรรม แต่เมื่อเวลาคณะศรัทธาที่ไปพบท่าน ต่างก็วุ่นวายจะต้องขอไปกราบบนหลังเท้าของท่านบ้าง คนโน้นก็จะจับจีวรของท่านมาเช็ดหน้าบ้าง คนนี้ก็จะดึงมือท่่านมาลูบศีรษะของตัวเองบ้าง ทำให้ เกิดความโกลาหล จนหลวงปู่ท่านเซจะล้มก็หลายครั้งหลายหน เวลาหลวงปุ่ แผ่เมตตาให้แล้ว ไปรับเอาของคืน ก็แย่งชิงกันจนข้าวของหายก็มี
ลักษณะเช่นนี้ เป็นความวุ่นวายที่หลวงปู่ท่า่นปรารภอยู่เสมอ
หลวงปู่จึงจำกัดตัวเอง พอเสร็จกิจที่ต้องทำข้างนอกแล้วก็ปิดประตูใส่กลอน ห้ามใครเข้าไอีก
ชาว คณะที่ต่างก็เดินทางไปหาท่านถึงวัดดอยแม่ปั๋ง เมื่อไม่ได้พบท่าน ก็วุ่นวายทะเลาะกันเอง แล้วก็ต้องไปหา หลวงปุ่หนู ให้กราบนิมนต์หลวงปู ออกมาจากกุฎิ
ระยะแรกๆ หลวงปู่ก็ออกมาทุกครั้ง แ่ต่เมื่อท่านต้องออกมาทั้งวัน เดี๋ยวออก- เดี๋ยวออก โดย ไม่มีเวลาภาวนาทำกิจของท่านเลย หลวงปุ่แหวน จึงทวงคำพูดเอากับหลวงปู่หนูว่า
" ที่สัญญากันไว้นั้น เราจะมาอยู่ภาวนาปฎิบัติธรรมนะ ไม่ได้มาอยู่เพื่อวุ่นวายอย่างนี้"
แล้วหลวงปูผู้เฒ่าก็เข้าห้อง ปิดประตูใส่กลอน ไม่ต้อนรับใครๆ แม้แต่หลวงปุ่หนู เพราะผิด สัญญา
ชาว คณะที่ไปถึงวัดดอยแม่ปั๋ง ติดต่อหลวงปุ่หนูแล้ว แต่หลวงปุ่ท่านไม่ยอมออกมาให้พบ ก็โกรธจัด บริภาษกันทันทีว่า หลวงปู่หนูเป็นทศกัณฐ์ เป็นยักษ์เป็นมาร อย่างนั้นอย่างนี้บ้าง บางรายถึงขนาดพกมีด พกปืน พกอาวุธขึ้นไปบนดอย จะทำร้ายหลวงปู่หนู ท่าน อย่างนี้ก็มี
เป็นอยู่เช่นนี้บ่อยครั้งเข้า ผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้ดี ต่างก็พยายามช่วยอธิบาย ช่วยตักเตือน ช่วยแ้กไขไม่ให้เกิดเป็นบาป เป็นกรรม กับผุ้ที่ปากไว ใจไว ทั้งหลาย แต่ไม่ได้ผล
เพราะคนเรามักจะคิดถึงประโยชน์ของตัวเอง เข้าข้างตัวเอง โดยไม่มองความเดือดร้อนของ คนอื่น
บางคน บางคณะ แม้ว่าจะมีบุญได้พบได้กราบหลวงปู่ แล้วก็ยังอุตส่าห์ทำให้เกิดบาป เกิดกรรม ให้เป็นรอยด่างในดวงจใจของตนเองเสียอีก
โดย สรุป หลวงปุ่หนูท่านโดนเรื่องการถูกด่า ถูกว่า ถูกโจมตี จนชาชิน ท่านโดนมากชนิดที่ ยากที่ใครจะทนทานได้ นับว่า หลวงปุ่หนู ได้บำเพ็ญขันติบารมีมาก เกินกว่าที่จะมีใครสสร้าง ได้อย่างท่านทีเดียว
|
|
|
๑๖๕. ยืนยันว่า
เป็นพระอรหันต์
หลวง พ่อฤาษีลิงดำ เล่าเรื่องราวตอนที่พาคณะศิษย์ไปกราบหลวงปุ่แหวน ที่วัดดอยแม่ปั๋ง ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่แหวน ท่า่นชราภาพ เกินวัย ๙๐ แล้ว และท่านกำลังเป็นไข้หวัดอยุ่
เรื่องราวมีดังนี้
" หลวงปุ่เป็นไข้หวัด ไขัมันกินตัว หรือกินใจ ? "
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ กราบนมัสการถามเบาๆ ขนาดคนห่างออกไปสองเมตรไม่มีทางได้ยิน
แต่ หลวงปุ่แหวน ได้ยินชัดเจน ทั้งๆที่คนทั้งหลายยืนยันว่า หลวงปุ่แหวนหูตึง ประสาทหู ดับมานานแล้ว แต่ใจของท่านไม่ดับ จึงได้ยินด้วยใจ
" กินแต่ตัว มันเป็นกรรม " หลวงปุ่แหวน ตอบเบาๆ เช่นกัน พอได้ยินสองคนเท่านั้น
" หลวงปู่ทำกำไว้มาก หรือครับ ? " หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ถามเป็นนัย
" กำไว้นิดหน่อย " หลวงปู่แหวนตอบเป็นนัยเช่นเดียวกัน ซึ่งมีความหมายว่า หลวงปู่แหวน มีเศษกรรมเหลืออยู่เล็กน้อย
หลวง พ่อฤาษีลิงดำ เปิดเผยกับสานุศิษย์ ทั้งหลายในภายหลังว่า หลวงปุ่แหวน มุ่งเอาพุทธภูมิ คืออธิษฐานจิตปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
แต่ เมื่อครั้นหลวงปุ่ตื้อ นิพพานไปได้ ๑๔ วัน พระวิญญาณหลวงปุ่ตื้อ ก็มาเยี่ยมแล้วว่า " หลวงปุ่แหวนจะไปพุทธภูมิ ทำไม ให้เสียเวลา ไปนิพพานเถอะน่า "หลวงปุ่แหวน ก็เลยลาพุทธภูมิ และสำเร็จกิจพระศาสนา แล้วเป็นพระอรหันต์แล้ว ยังรอแต่จะถึงวาระทิ้งสังขาร จากโลกเข้าสู่ พระนิพพานเ่ท่านั้น
ผู้เขียน (ปฐม นิคมานนท) นำเสนอเรื่องนี้ ไม่ต้องการโน้มน้าวผู้ใด ขอให้ผู้อ่านได้พิจารณา ด้วยสติปัญญาของท่านแต่ละท่านเองครับ
|
|
|
๑๖๖. ความผูกพันระหว่าง
หลวงปู่แหวนกับหลวงปุ่หนู
ข้อความต่อไปนี้ คัดลอกมาจากนิตสารโพธิญาณ ฉบับที่ ๓๓ มีดังนี้ :-
หลวง ปุ่แหวน กับ หลวงปู่หนู ท่่านมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง เกินกว่าที่พวกเราคน ธรรมดาจะเข้าใจได้ เพียงแต่ว่า หลวงพ่อหนูไปรับเอาหลวงปู่แหวน มาปรนนิบัติดูแลที่วัด ดอยแ่ม่ปั๋ง เมื่อขณะที่หลวงปุ่หนุป่วย อยู่นั้น เพียงแค่นั้น ไม่น่าเป็นสาเหตุที่ผูกพันกันลึกซึ้ง มากมายนักเลย
ว่า กันว่า เวลาที่หลวงปู่แหวน ท่านอาพาธ ถ้าหากหลวงพ่อหนูไม่อยู่ หลวงปุ่แหวน จะไม่ ยอมฉันยาเอาเลยทีเีดียว และตั้งแต่หลวปู่ มาอยู่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ท่านตั้งปณิธานว่า จะไม่ไปไหน อีกเลย แม้มีกิจนิมนต์ก็ไม่รับ แม้เจ็บป่วยก็ไม่ยอมไปรักษานอกวัด หมายความว่า ท่านจะอยุ่ และมรณภาพที่วัดดอยแม่ปั๋งที่่เดียว
เหตุการณ์ที่แสดงถึงความผูกพันระหว่างหลวงปู่แหวน กับหลวงพ่อหนูมีมากมาย
เมื่อครั้ง หลวงปุ่แหวนท่านล้มในห้องน้ำ ต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล หลวงพ่อ หนู จะต้องไปนอนค้างเฝ้าหลวงปุ่ มีอยู่วันหนึ่ง หลวงพ่อหนู ต้องไปรับผ้าป่าและไปค้างที่วัดอื่น พอหลวงพ่อหนูกลับมาถึง ปรากฎว่า หลวงปุ่ ท่านเมินหน้าหนี ไม่ยอมพุดกับหลวงพ่อหนู ยาที่จัด ถวายก็ไม่ยอมฉัน หลวงพ่อหนู ต้องอธิบายอยู่นาน
อีก ครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่แหวน กลับจากโรงพยาบาลไปอยู่วัด ร่างกาย หลวงปู่ยังไม่แข็งแรง ดี ยังต้องฉันยาอยู่ เป็นช่วงออกพรรษา วัดบ้านเกิด ที่ยโยธรได้นิมนต์หลวงพ่อหนู ไปรับกฐิน ท่านเห็นว่า ดีเหมือนกัน จะได้ไปเยี่ยมบ้านสัก ๕-๖ วัน
พอหลวงพ่อหนู ไปได้ ๒ วัน หลวงปุ่แหวน ท่านไม่เห็นหลวงพ่อหนู จึงได้ถามหา พอรู้ว่า หลวงพ่อหนู ไปโดยไม่ได้บอกท่าน (ทิ้งท่านไป) หลวงปู่ไม่ยอมพูด ไม่ฉันข้าว ไม่ฉันยา
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ เสด็จมาพระราชดำเนิน ไปยังวัดดอยแม่ปั๋ง ในทันที ทรงเยี่ยมทอดพระเนตรอาการของหลวงปุ่ ทรงป้อนยา และป้อน อาหาร ถวายหลวงู่ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
หลวงปุ่ฉันอาหารได้ ๓ คำ
ภาย หลังหลวงพ่อหนู ท่านเล่าว่า ในวันที่ล้นเกล้าๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว เสด็จ พระราชดำเนินสู่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น หลังจากเสด็จกลับแล้ว ตกกลางคืน พลวงพ่อหนู นั่งสมาธิ ภาวนาอยู่ที่ยโยธรนั้นเอง ท่านได้นิมิต เห็นพญาครุฑ บินเข้ามาในกุฎิ เป็นนิมิตที่แจ่มชัดมาก
วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อหนู รีบจัดแจงหารถเดินทางกลับดอยแม่ปั๋งทันที ทั้งที่คิดว่า จะอยุ่ยโสธร ๕-๖ วัน ท่านเดินทางไปถึงดอยแม่ปั๋ง เกือบ ๒ ยาม แล้วรีบกราบ หลวงปู่แหวน ในกุฎิทันที
หลวงปู่ยังไม่จำวัด ภัตตาหารและยา ก็ไม่ยอมฉัน ทั้งวันนั่งเงียบๆ ไม่พูดกับใคร พอ หลวงพ่อ หนู เข้าไปหาและถามว่า ทำไมพระอาจาย์ไม่ฉันยา ไม่ฉันอาหาร หลวงปุ่ท่านหัวเราะ บอกไปเอา ยามา จะฉันเดี๋ยวนี้และเช้าวันรุ่งขึ้น หลวงปู่ ก็ฉันภัตตาหารตามปกติ
ตั้งแต่หลวงปู่ล้มในห้องน้ำคราว นั้นแล้ว ร่างกายของหลวงปู่ก็อ่อนแอ ออดๆแอดๆ เรื่อยมา จนถึงกับมีผุ้ปล่อยข่าวว่า หลวงปุ่มรณภาพแล้ว แต่ท่านก็ยังอยู่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลาที่ท่านจะละ สังขารนั่นเอง
หลวงพ่อ หนู ท่านเล่าว่า หลวงปู่ ท่านสามารถข่มเวทนาได้ดีเป็นเลิศ ถ้าเป็นคน ธรรมดาทั่วไป อย่าว่าแต่จะหกล้มจนกระดูกต้นขาหักเลย แค่ช้ำบวมก็ร้องลั่นโอดโอย กันแล้ว แต่หลวงปู่ท่่านยัง ทรงสังขารเป็นที่พึ่งทางใจให้กับบรรดาสาธุชนเรื่อยมา จนกระทั่งครั้งสุดท้าย หลวงปุ่แหวน เข้าโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง นายแทพย์ผุ้เชี่ยวชาญต่างก็พยายามกันอย่างเต็มที่
"ใครเล่าจะรดน้ำตอที่ผุกร่อนแล้ว ให้มีดอกมีใบขึ้นมาได้อีก"
พระ อาจาร์ใหญ่มั่น อาจารย์ของหลวงปุ่แหวน ท่านเคยพูดไว้อย่างนี้ เมื่อครั้งที่ท่่านอาพาธ หนักครั้งสุดท้าย ที่บ้านหนองผือ และคำพูดนี้ก็มาถึงหลวงปู่แหวน ทำให้เห็นชัดว่า คำพูดของ หลวงปู่มั่น เป็นสัจจธรรมโดยแท้ ที่ใครๆ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ก่อน หลวงปู่จะละะวางสังขาร หลวงพ่อหนู ท่านให้รื้อศาลาสร้างใหม่ ทั้งๆที่ศาลาหลังเก่า ยังอยู่ในสภาพดี ท่านบอกว่า ถ้าไม่รีบสร้างเดี่๋ยวนี้ หลวงปู่ไปก่อนจะไม่ทันการ
หลวง พ่อหนูบอกว่า หลวงปู่ท่านจะไปเมื่อไรหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ศาลาหลังใหม่ต้อง สร้างเสร็จ และก็สร้างเสร็จก่อนหลวงปู่ละสังขาร
หลวงปู่แหวน บอกกับหลวงพ่อหนู ว่า เมื่อหลวงปู่มรณภาพ ให้รีบเผาท่านตามแบบของพระ กรรมฐาน
หลวง ปู่แหวน มรณภาพที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เวลา ๓ ทุ่ม ๕๗ นาที ของวัน อังคารที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ เมื่อท่านอายุได้ ๙๘ ปีเศษ และบวชพระมา ๗๘ พรรษา
หลวงปู่แหวนละสังขารไปเมื่อทางวัดไ้ด้สร้างมณฑปพิพิธภัณฑ์บริขาร และศาลาหลังใหม่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ในนิตยสารดังกล่าว ได้สรุปในตอนท้ายว่า :-
" ธรรมะของหลวงพ่อหนู คือธรรมะจากหลวงปุ่แหวนนั่นเอง แม้สุ่มเสียงจะไม่เหมือนกัน แต่ความผูกพันอันลึกซึ้งด้วยธรรมชันสูง หลวงพ่อหนู ก็คือส่วนหนึ่งของหลวงปุ่แหวน ทีเดีียวละครับ "
|
|
|
๑๖๗. รูปปั้นขี้ผึ้ง
หลวงปุ่แหวน
รูปปั้นขี้ผึ้งของหลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นแรกของวงการพระสงฆไทย
สืบเนื่องมาจาก นายแทพย์เฉลิม จันทราสุข นายแพทย์นักธุรกิจชื่อดัง ได้ล้มป่วย อาการหนัก มาก
วันหนึ่ง ขณะที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล ได้เคลิ้มหลับฝันเห็นหลวงปุ่แหวน มายืนข้างเตียง แล้วบอกว่าตนจะหาย ไม่ตายหรอก
เมื่อ ดีขึ้น น.พ.เฉลิม ก็ตังจิตอธิษฐานว่า หากเป็นจริงดังที่ฝัน ก็จะสนองในพระเดชพระคุณ แห่งความเมตตาของหลวงปุ่แหวน โดยจะทำในสิ่งทีไม่เคยทำมาก่อน แล้วจะนำสิ่งนั้นถวาย หลวงปู่
แล้ว น.พ.เฉลิม ก็หายป่วยไข้จริงๆ จึงได้ว่าจ้าง สถาบันมาดามทูโซด์ แห่งประเทศอังกฤษ ให้ปั้นรูปหุ่นขี้ผึ้ง ขนาดเท่าองค์จริงของหลวงปู่ ในราคา ๑ ล้านบาท
ทางสถาบันๆ นี้ ไม่เคยปั้นรูปพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามาก่อน เพราะฉะนั้น การปั้นรูป หลวงปู่แหวน จึงเป็นครั้งแรก และองค์แรกของโลกเลยทีเดียว
เดือนธันวาคม ๒๕๒๑ ทางสถาบันๆ ได้่่ส่ง มิสจีน ปาเซอร์ ปฎิมากรรมมาดูองค์จริง และถ่าย รุปหลวงปู่ ๑๐๐ ภาพ แล้วจึงไปเิริ่มปั้น ใช้เวลาร่วม ๑ ปี
เดือน สิงหาคม ๒๕๒๒ ทางสถาบันๆ ได้จัดส่งหุ่นหลวงปุ่มาทางเครื่องบิน ได้นำไปให้ประชา ชนสักการะที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ ร่วมสิบวัน
ตอนเช้าวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๒ ได้อัญเชิญหุ่นหลวงปุ่ไปเชียงใหม่ ทางเครื่องบินของ ารบินไทย จัดในรูปของคนโดยสาร โดยนั่งเก้าอี่้โดยสารธรรมดา ถึงเชียงใหม่ ๙.๐๐ ย
กล่าว กันว่า ท้องฟ้าที่เชียงใหม่ ช่วงนั้นชุ่มฉ่ำด้วยสายฝนติดต่อกัน มา ๓ วัน ๓ คืน ก็ปรากฎ เหตุมหัศจรรย์ อย่างปาฎิหารย์ทันทีที่เครื่องบินร่อนลงสู่ท่่าอากาศยานเชียงใหม่ ท้องฟ้าแจ่มใส ฝนหยุดตก ชาวเชียงใหม่ไปรอต้อนรับมากมาย
ได้ อัญเชิญหุ่นหลวงปุ่ขึ้นรถแห่ไปรอบๆเมืองเชียงใหม่ แล้วนำไปประดิษฐานที่วัด ดอยแม่ปั๋ง ในตอนบ่าย ได้มอบถวายหลวงปุ่แหวน องค์จริง
หลวงปุ่หัวเราะชอบใจว่า" เออ... มันก็เหมือนกันนั่นแหละ .."
หลวงปู่นั่งเคียงข้างรุปหุ่น ให้ประชาชนได้เปรียยเทียบแล้วก็ำนำไปประดิษฐานที่พลับพลา เรือนแก้ว ไว้เป็นที่สักการะบูชาของศรัทรธาสาธุชน
ปัจจุบันรุปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในห้องกระจก ภายในพิพิธภันฑ์บริขาร ของหลวงปุ่ ที่วัดดอยแม่ปั๋ง
|
|
|
๑๖๘. แผล
เนื่องจากรรมเก่า
หลวง ปุ่แหวน สุจิณฺโณ ท่านมีโรคเรื้อรังอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งแพทย์ไม่สามารถชี้สาเหตุของโรค และรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ช่วยให้ทุเลาบ้างเท่านั้น
ไม่มีใครทราบว่า หลวงปู่เป็นแผลนี้มาแต่เมื่อไร และแผลนี้เองที่เป็นวิบากขันธ์ทรมานท่าน ตลอดเวลา
แผลที่ว่านี้ เป็นแผลที่ก้นกบ ปากแผลกว้างยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ถ้ามีการอักเสบขึ้นมา จะมีอาการบวมแดง รอบๆปากแผล จะคันอย่างรุนแรง
หลวง ปุ่เล่าว่า แผลที่ว่านี้เป็นแผลมาจากอดีตกรรมของท่าน คือเมื่อท่่านยังเด็ก ได้นำควาย ออกไปกินหญ้าในทุ่งนา เผอิญควายคัวหนึ่งเกิดดื้อขึ้นมา ต้อนไปทางหนึ่ง กลับไปอีกทา่งหนึ่ง
เมื่อเหนื่อยเข้า หลวงปุ่เกิดโมโห จึงใช้มีดสับเข้าไปที่กกหางของควาย เกิดเป็นแผลเลือดไหล ขึ้นมา ท่านเสียใจและสงสารมัน แต่ไม่ทราบว่า จะหายาอะไรมารักษา บาดแผลมันได้
เผอิญควายถ่ายมูลออกมา หลวงปู่จึงเอามูลมาทาบาดแผลมัน ปรากฎว่าแผลนั้นหายได้ภาย ใน ๗ วัน
หลวง ปู่ ว่าแผลที่ก้นกบของท่านนี้ เป็นแผลที่เนื่องมาจากกรรมเก่า แต่ท่านไม่ได้เรียกตรงที่ เป็นแผลก้นกบ ท่านเรียกว่า หางสุด เพระาเป็นตำแหน่งเดียวกันกับโคนหางของควาย ตรงที่โดน มีดฟัน
นอก จากแผลจากกรรมแล้ว หลวงปุ่ยังเป็นต้อกระจกที่นัยน์ตาซ้าย และเป็นต้อหินที่นัยน์ตา ขวา แต่ท่านไม่ยอมไปรักษาที่โรงพยาบาล เพราะท่านเคยตั้งสัจจะไว้ว่า ไม่ออกจากวัดไปไหน ทั้งสิ้น จึงทำให้การรักษาพยาบาล เป็นไปด้วยความลำบากยิ่ง
เืพื่อ เป็นการสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ส่งคณะแทพย์มาตรวจรักษาหลวงปุ่ที่วัดเป็นประจำ
ถ้า ในกรณีที่หลวงปุ่อาพาธหนัก ทางคณะแทพยศาสตร์ จะำนำวิทยุรับส่ง มาติดตั้ง เพื่อรายงาน ผลการรักษาให้ทางสำนักพระราชวังทราบทุกระยะ เพื่อนำความขึ้นกราบ บังคมทูลฝ่าละอองธุลี พระบาทให้ทรงทราบทุกระยะ จนกว่าจะหายเป็นปกติ
|
|
|
๑๖๙. รายงานการอาพาธ
และมรณภาพของหลวงปุ่
สรุปย่อมาจากรายงานของแทพย์ที่ถวายการรักษาหลวงปู่ มีดังนี้
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เริ่มอาพาธในปี พ.ศ.๒๕๒๐ เมื่อท่านมีอายุ ๙๐ ปร ซึ่งอยู่ในวัย ชราภาพมากแล้ว เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม เวลา ๓ นาฬิกา หลวงปุ่ไหว้พระสวดมนต์ ตามปกติ ตอนลุกขึ้นท่านเสียการทรงตัว เซไปแล้วล้มลง เกิดรอยช้ำที่แขนและไหล่ซ้าย เป็นผลให้ สุขภาพของท่านทรุดลงไปเรื่อย
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ท่านท้องร่วงอย่างแรง มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย
๗ ตุลาคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๖.๔๐ น. หลวงปุ่ล้มขณะที่ลุกขึ้นจะไปห้องน้ำ สีข้างด้านซ้ายไปถูก โคมตะเกียงน้ำมันก๊าดมีรอยแผลถลอก และรอยช้ำของผิวหนังด้านซ้าย แขนซ้ายได้รับบาดเจ็บ มีอาการแทรกซ้อนมามา คือ ปัสสาวะไม่ออก ถ่ายอุจจาระลำบาก
" ขณะหลวงปู่อาพาธอยู่นั้น ท่านมักจะสงบจิตเข้าอยู่ภายในเกือบตลอดวันตลอดคืน ดูอาการ ภายนอกของท่านจึงดูเหมือนว่าจะหมดหวังเอาทีเดียว บางครั้งท่านไม่ยอมพูอ ไม่ยอมฉันเลย เป็นเวลาหลายๆวัน ถึงเวลาฉันอาหาร ฉันยา ฉันน้ำ ปลุกท่านขึ้นมา ท่านลุกขึ้นนั่ง แต่จตท่าน ยังอยู่ในความสงบ เวลาป้อนอาหารใส่ปาก อาหารก็ค้างอยู่ในปาก เช่นนั้นเอง เพราะท่านไม่เคี้ยว เอาน้ำให้ดื่ม เอายาให้ฉัน ก็เหมือนกัน ตาของท่านลืมค้างอยู่ไม่กระพริบ ดูเหมือนไม่มีชีวิตชีวา ทั้งนี้เพราะท่านยังไม่ถอนจิตจากความสงบ ภายใยออกมา รับอารมณ์ภายนอก"
ล้มครั้งที่สอง เมื่อ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดจัดให้มีงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เวลา ๑๐.๐๐ น. ขณะยืนครองผ้า พอเอี้ยวตัวจะเดิน ขาของหลวงปุ่ไปสะดุดชายจีวร สุดวิสัยที่คณะศิษย์ จะรับไ้ว้ทัน ท่่านล้มลง ทำให้เจ็บซี่โครง เจ็บบั้นเอว เจ็บกระดูกสันหลัง ลุกขึ้นไม่ได้ หมอต้องใส่ เฝือกให้ หลวงปุ่ต้องนอนอยู่กับที่ ๑ เดือน จึงหายเป็นปกติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวเสด็จๆ เยี่ยมหลวงปุ่เป็นการส่วนพระองค์
อาพาธหนักในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ อายุ ๙๖
หลวงปู่ล้มครั้งที่สาม เมื่อ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๖ ประสบอุบัติเหตุ ล้มฟาดพื้นห้องน้ำในกุฎิ เป็นเหตให้กระดูก บริเวณตะโพกซ้ายร้าว มีอาการน่าวิตก แทพย์จึงนำท่านเข้ารักษาที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ด้วยการผ่าตัดด่วน ด้วยการเปลี่ยนกระดูกตะโพกขวา ซึ่งแตก ๓-๔ เสี่ยง ต้องใช้หัวกระดูกเหล็กใส่แทน อยู่โรงพยาบาล ๒ สัปดาห์ แล้วกลับวัด
๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ อาการหลวงปุ่ทรุดหนัก มีอาการอ่อนเพลียมาก พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้ัวยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชๆ เสด็จเยี่ยมอาการที่วัด
ใน ปี พ.ศ.๒๕๒๗ หลวงปุ่มีอาพาธโลหิตไปเลี้ยงที่สมอง คณะแพทย์ได้นิมนต์หลวงปุ่เบ้า รักษาอาการที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม โดยหลวงปู่เป็นคนไข้ ประเดิม ตึกสุจิณฺโณ จากการตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ พบเื้นื้อสมองด้านขวา ส่วนหนึ่งไม่ทำงาน เนื่องจากโลหิตไม่ไปหล่อเลี้ยงสมองส่วนนั้น แทพย์ให้การรักษาจนอาการดี ขึ้น และได้กลับวัดวันที่ ๑๑ เมษยน ๒๕๒๗
อาพาธ หนักอีกเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗ วันที่ ๒๗ ธันวาคม หลวงปู่มีอาการไข้ และท้องเดิน แพทย์ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด แต่ต้องเจาะใหม่หลายครั้ง เพราะเส้นเลือดแตก
วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๓๐ น . พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนาง เจ้าๆพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชๆ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตน ราขสุดาๆ สยามกมุฎราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จเยีี่ยม หลวงปู่ที่วัดดอยแม่ปั๋ง
วันที่ ๒๔ กุมภาัพันธ์ ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๒๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าๆพระบรมราชีนีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชๆ สยามมกุำราชกุมาร เสด็จเยี่ยมหลวงปู่ที่วัด
เข้าโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย
วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ หลวงปุ่มีอาการไข้สูง อุจจาระสีดำ เข้าใจว่าเพราะโลหิตออก ในทางเดินอาหาร คณะแทพย์นำหลวงปู่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
วัน ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าๆพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลุกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ ทรงเยีี่ยมอาการอาพาธของหลวงปุ่
วัน ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๒๘ หลวงปุ่มีอาการอาเจียน ขณะฉันอาหาร ไอและหอบ ต้องให้ อ๊อก ซิเจนช่วยหายใจ แพทย์ได้ผ่าตัดท้องใช้สายยางสอดเข้าไปในกระเพาะเืพื่อให้อาหาร ใช้ เวลาผ่าตัด ๒ ชั่วโมง
หลังจากนั้น หลวงปุ่ได้อาพาะ ตลอดมา และถึงมรณภาพในที่สุด เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พศ.๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๕๓ น. ณ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
สิริรวมอายุของหลวงปุ่ได้ ๙๘ ปี ๕ เดือน ๑๖ วัน
สำหรับ พิธีศพ ที่ทางราชการจัดถวายหลวงปุ่นั้น เบื้องต้นในช่วงเข้า ของวันที่ ๓ กรกฎาคม พศ.๒๕๒๘ ได้จัดให้ประชาชนทั่วไป เข้ารดน้ำศพที่ศาลาอ่างแก้ว บริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าๆพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชๆสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระาบดำเนินพระราชทานอาบน้ำศพ
หลังจากนั้น ได้อัญเชิญศพหลวงปู่ไปตั้งเืพื่อบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยแม่ปั่. เพื่อรอพระราชทาน เพลิงศพต่อไป
|
|
|
(จาก หนังสือเรื่อง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม -รศ.ภัทรา นิคมานนท์
มีนาคม ๒๕๔๘ )
|
|
|
|
|
<< HOME หน้าแรก |
|
|
<< พระธรรมเทศนา |
|
|
<< ประัวัติหลวงปุ่หนู สุจิตฺโต |
|
|