vipassana - บำเพ็ญ วิปัสนา
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt



         เสรีชน's Avatar

วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นโดยใช้สิ่งต่าง ๆ

วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นา ๆ เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นา ๆ ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวะธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียดคู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

ฉนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือ เรียกว่า วิเสสลักษณะ,ลักขณาทิจจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

ส่วนการใช้สามัญญลักษณะหรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

  1. อุคคหะ การเรียนพระธรรม
  2. ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
  3. ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
  4. วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
  5. มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
  6. ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆเป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้

พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางที่ พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆะบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

 

วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก

วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีรทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญ กิริยาวัตถุข้อ 10.

รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก

ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้

อารมณ์ของวิปัสสนา

วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมมะ 201 เป็นต้น เช่น

วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉนั้น ในปรมัตถมัญชุสาวิสุทธิมรรคมหาฏีกา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.

ในพระไตรปิฎกอรรถกถา และฏีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระ มีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.

การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน

การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ

  1. ช่วงปริยัตติ
    1. อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะ คิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.
    2. ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.
    3. สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.
    4. ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.
  2. ช่วงปฏิบัติ
    1. สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.
    2. สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.
    3. สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะด้วย การคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจ จัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.

สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.


ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ
  1. ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.
  2. ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
  3. ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
  4. ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
  5. ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง
  6. ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
  7. ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง
  8. ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา
  9. ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
    1. เพื่อละนิวรณ์ 5
    2. เพื่อละกามคุณ 5
    3. เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด
    4. เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5
    5. เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามฉันทะพยาบาท
    6. เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่เกิน 7ชาติเป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้ อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด
    7. เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
    8. เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะอรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา
    9. เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์
    10. เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย
    11. เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
    12. อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามีสกทาคามีโสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ
    13. ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
    14. ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
    15. ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีลสมาธิ ปัญญา
    16. ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง
    17. ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
    18. ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    19. ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
    20. ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีลอธิจิตอธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ     

 

 
      


ทุกข์มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.) ทุกข์ในอริยสัจ 4
2.) ทุกข์ในไตรลักษณ์

ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็ คือทุกขเวทนาหรือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ซึ่งก็คือความทุกข์ในความหมายของคนทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ทุกขเวทนามี 2 ทางคือ ทุกข์ทางกาย กับทุกข์ทางใจ

ทุกข์ทางกาย หมายถึงทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้องคอยประคบประหงม ดูแลบำรุงรักษาทำความสะอาดร่างกาย และความทุกข์อื่น ๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกเป็นจำนวนมาก ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกาย เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ต้องทนกับทุกข์ทางกายนี้เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไป ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่สร้างสมบุญบารมีมาอย่าง มากมาย มากกว่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ยังต้องทนทุกข์ทางกายนี้จนกระทั่งถึงวันปรินิพพาน สมกับคำที่ว่า การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

ทุกข์ทางใจ หมาย ถึงทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของใจ ทุกข์ทางใจนี้ส่วนหนึ่งมีทุกข์ทางกายเป็นสิ่งเร้าให้เกิด เช่น เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้ขึ้นมาทำให้เกิดทุกข์ทางกายขึ้นแล้ว ต่อมาก็เกิดความกังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมาอีกว่าอาจจะรักษาไม่หาย อาจจะต้องสูญเสียอวัยวะไป หรืออาจจะต้องถึงตาย ซึ่งความกังวลความหวาดกลัวเหล่านี้จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมา ทุกข์ทางใจอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีทุกข์ทางกายเป็นต้นเหตุ เช่น ความทุกข์จากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความทุกข์จากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์จากการไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ทุกข์จากความโกรธความขัดเคืองใจ ทุกข์จากความกลัว ทุกข์จากความกังวลใจ ความคับแค้นใจ ทุกข์จากความกลัวว่าความสุขที่มีอยู่จะต้องหมดไป ทุกข์จากความกลัวความทุกข์ยากลำบากที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ทุกข์จากการกลัวความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ และทุกข์ทางใจอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน
กล่าวโดยสรุป ทุกข์ทางใจทั้งหมดล้วนมีต้นเหตุมาจากความโลภ ความโกรธ และความยึดมั่นถือมั่น .

ทุกข์จากความโลภ ตาม หลักอภิธรรมแล้วความโลภจะไม่ประกอบด้วยความทุกข์ เพราะความโลภจะเกิดขึ้นพร้อมกับความดีใจ หรือเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉย ๆ ( อุเบกขา ) เท่านั้น ที่กล่าวว่าความทุกข์ที่มีต้นเหตุมาจากความโลภในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าความทุกข์นั้นเกิดพร้อมกับความโลภ แต่เป็นความทุกข์อันมีความโลภเป็นเบื้องต้น และมีความทุกข์เป็นเบื้องปลาย อันได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวจะไม่ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ ทุกข์จากการที่ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ เป็นต้น

ทุกข์จากความโกรธ ความ โกรธนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็นำทุกข์มาให้เมื่อนั้น เพราะความโกรธจะทำให้จิตใจต้องเร่าร้อนดิ้นรน เกิดความกระทบกระทั่งภายในใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ความโลภนั้นในเบื้องต้นยังพอจะนำความสุขมาให้ได้บ้าง ( ในขณะที่เกิดความเพลิดเพลินยินดี ) แต่ความโกรธนั้นนำมาแต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างของความทุกข์จากความโกรธเช่น ทุกข์จากความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ คับแค้นใจ กังวลใจ ความกลัว ความหวาดระแวง ความมองโลกในแง่ร้าย ความไม่สบายใจ ความอิจฉาริษยา ความพยาบาทอาฆาตแค้น เป็นต้น

ทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น สิ่ง ทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็ตาม ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วก็ล้วนนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึดว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ยึดว่าเป็นเขา เป็นของของเขา ยึดว่าเป็นสิ่งที่เราชอบใจ เป็นสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ยึดว่าเป็นคนที่เคยทำร้ายเรา เคยด่าเรา ยึดว่าเป็นญาติพี่น้อง เป็นศัตรู เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ที่เราเคารพนับถือ ยึดว่าเป็นนาย เป็นบ่าว เป็นเพื่อน เป็นหน้าที่การงาน ฯลฯ ไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะไม่นำทุกข์มาให้ แม้แต่ยึดในบุญกุศล ความดี มรรค ผล นิพพาน ก็ตามที ( อริยบุคคลนั้นไม่ยึดในรูปนามทั้งหลาย ไม่ยินดีในการเกิดก็จริง แต่ก็ไม่ได้ยึดมั่นในมรรค ผล นิพพาน )
เพราะ การยึดในสิ่งที่เราไม่ชอบใจก็ย่อมจะทำให้เกิดความขัดเคืองใจ โกรธ ไม่พอใจ คับแค้นใจ กลัว ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นต้นเหตุของความทุกข์จากความโกรธนั่นเอง ส่วนการยึดในสิ่งที่เราชอบใจก็จะทำให้เกิดทุกข์อันมีต้นเหตุมาจากความโลภ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดทุกข์จากความกลัวการพลัดพรากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป ทุกข์จากการต้องคอยทนุถนอม บำรุงรักษา เก็บรักษาไว้ ต้องคอยปกป้อง ห่วงใย ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ไม่เป็นอิสระ และถ้าต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปก็จะยิ่งเป็นทุกข์ขึ้นไปอีกมากมายนัก ส่วนการยึดในบุญนั้นก็ต้องเป็นทุกข์จากการรอคอยว่าเมื่อไรผลบุญถึงจะตอบสนอง ยึดในบาปก็เป็นทุกข์กลัวกรรมจะตามสนอง
กล่าวโดยสรุปก็คือ ยึดสิ่งไหนก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดเลยความทุกข์ทางใจทั้งหลายก็ไม่อาจจะเกิดขึ้น กับเราได้เลย .

ทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ ก็คือสามัญลักษณะ 3 ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คำว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ก็หมายถึงทุกขัง ในไตรลักษณ์หรือที่เรียกว่าทุกขลักษณะนั่นเอง ซึ่งหมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงยกเว้นนิพพาน ล้วนอยู่ในสภาวะที่ถูกเหตุถูกปัจจัยทั้งหลาย บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป (ดูเรื่องทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ)
ทุกข์ ในไตรลักษณ์นี้เป็นลักษณะอันเป็นสามัญ คือเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลายที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เป็นกฎอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติ เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัยเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดเลยที่มีอำนาจเหนือตน ตราบใดที่ยังไม่เข้าสู่สภาวะแห่งนิพพานแล้ว ก็จะต้องเผชิญกับทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ด้วยกันทั้งสิ้น
ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็อยู่ในสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย นอกจากนี้สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ในไตรลักษณ์ เพราะทั้งสุขและอุเบกขาก็ล้วนถูกเหตุปัจจัยต่าง ๆ บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

ฐานสำหรับเจริญวิปัสสนา

องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งฐานสำหรับเจริญวิปัสสนาไว้ 4 ฐานใหญ่ ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอินทรีย์ของแต่ละคน ที่เรียกว่าสติปัฏฐาน 4 ดังนี้คือ

1.) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การใช้สติจดจ่อต่อความเป็นไปของกาย
2.) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การใช้สติจดจ่อต่อความเป็นไปของเวทนา
3.) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การใช้สติจดจ่อต่อความเป็นไปของจิต
4.) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การใช้สติจดจ่อต่อความเป็นไปของขันธ์ 5 , อายตนะ 12 , ธาตุ18 ฯลฯ
กล่าวโดยสรุปก็คือ ใช้สติตามดูตามศึกษาธรรมชาติของรูปนามนั่นเอง .

ท่านที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎกดังนี้

1.) มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 2
2.) อานาปานสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม 3 ภาค 1


     
       
       
       
       
       
       
     

ฌานสมาบัติ  
                   
ฌาน เแปลว่า การเพ่งอารมณ์
                    สมาบัติ แปลว่า ภาวะสงบปราณีต, ภาวะอันแน่วแน่
                    ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต มี 2 อย่าง คือ รูปฌานกับอรูปฌาน
                        1. รูปฌาน 4 หมายถึง การเพ่งรูปธรรมเป็นอารมณ์
                                - ปฐมฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
                                - ทุติยฌาน มี ปีติ สุข เอกัคคตา
                                -  ตติยาฌาน สุข เอกัคคตา
                                - จตุตถฌาน มี อุเบกขา เอกัคคตา
                        2. อรูปฌาน 4 หมายถึง การเพ่งอรูปธรรมเป็นอารมณ์ จนจิตสงบประณีตยิ่งขึ้น ได้แก่
                                - อากาสนัญจายตะ การเพ่งอันกำหนดอากาศ คือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
                                - วิญญาณัญจายตนะ การเพ่งอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
                                - อากิญจัญญายตนะ การเพ่งอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์
                                - เนวสัญญานาสัญญายตนะ การเพ่งอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
                    เมื่อบุคคล (พระอรหันต์ หรือ พระอานาคามี)ปฏิบัติได้แล้ว จิตเข้าไปอยู่ในภาวะข้อ 8 เรียกว่า เข้าฌานสมาบัติ

4.ผลสมาบัติ
                   
จิตของบุคคลที่เป็นพระอรหันต์และพระอานาคามี ย่อมสงบละเอียดประณีตมากจนเกือบไม่มีความจำได้หมายรู้

5.นิโรธสมาบัติ
                   
นิโรธสมาบัติ (นิโรธ แปลว่า ดับ) สมาบัติ แปลว่า ภาวะสงบประณีต  หมายถึง การดับภาวะอันสงบประณีต
                    การเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ 8 แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ หรือ การเข้าถึงรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 โดยเพิ่มสัญญาเวทยิตนิโรธอีก 1 เรียกว่า  การเข้านิโรธสมาบัติ หรือ อนุปุพพวิหารสมาบัติ
                สรุป
สัญญา เวทยิตนิโรธ คือ การดับสัญญา ความจำได้หมายรู้และเวทนา การเข้านิโรธสมาบัติเปรียบเสมือนได้ลิ้มรสแห่งพระนิพพาน แต่ไม่ใช่พระนิพพาน

สัมมัตตะ (ความเห็นถูก, ภาวะที่ถูก)

    1. สัมมาทิฐิ – เห็นชอบ

    2. สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ

    3. สัมมาวาจา – วาจาชอบ

    4. สัมมากัมมันตะ – กระทำชอบ

    5. สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ

    6. สัมมาวายามะ – ความเพียรชอบ

    7. สัมมาสติ – ระลึกชอบ

    8. สัมมาสมาธิ – ตั้งจิตชอบ

    9. สัมมาญาณ – รู้ชอบ คือผลญาณ + ปัจจเวกขณญาณ ผลญาณ – ญาณในอริยผลเป็นลำดับ 15 ในญาณ 16 ปัจจเวกขณญาณ - ญาณที่พิจารณาทบทวนเป็นลำดับที่ 16 ในญาณ 16

    10. สัมมาวิมุตติ – พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุติ เรียกอย่างหนึ่งว่า อเสขธรรม 10 – ธรรมของพระอเสขะ


    มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด, ภาวะที่ผิด)

      1. มิจฉาทิฐิ – เห็นผิด ตามหลักกุศลกรรม 10

      2. มิจฉาสังกัปปะ – ดำริผิด – ดำริที่เป็นอกุศล

      3. มิจฉาวาจา – วาจาผิด – วจีทุจริต 4

      4. มิจฉากัมมันตะ – กระทำผิด – กายทุจริต 4

      5. มิจฉาอาชีวะ – เลี้ยงชีพผิด

      6. มิจฉาวายามะ – พยายามผิด

      7. มิจฉาสติ – ระลึกผิด – ระลึกถึงการได้ทรัพย์ได้ยศในทางอกุศลถือเป็นสติเทียม ทำให้เกิดกิเลส โลภะ มานะ มัจฉริยะ

      8. มิจฉาสมาธิ – ตั้งจิตผิด – แน่วแน่ในกามราคะพยาบาท เป็นต้น

      9. มิจฉาญาณ – รู้สึกหลงผิดในการทบทวนความชั่วนั้นๆ ว่า ตนได้ทำดีแล้ว

      10. มิจฉาวิมุตติ – พ้นผิด – ยังไม่ถึงวิมุตติก็สำคัญว่าถึงวิมุตติ

     

     

 

เคล็ดปฏิบัติสมถกรรมฐาน โดย สมเด็จโต ฯ

๑.) อาบน้ำ ชำระกายให้หายเหม็นเหงื่อไคลเสียก่อน

๒.) เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวให้สะอาด และหลวม ๆ ไม่จำเป็นว่าสีอะไร

๓.) หาเวลาปลอดจากภาระ หน้าที่ การนัดหมายใด ๆ กับใคร ๆ ทุกอย่าง จนคิดว่าไม่ต้องห่วง ต้องกังวล
ต้องแบกภาระหน้าที่กับใคร ๆ ทั้งปวง

๔.) หาสถานที่ ห้องที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวน จากการพูดคุย, วิทย, โทรทัศน์,วีดีโอ อันจะก่อให้เกิด
ความรำคาญ ในการทำความสงบ

๕.) ผู้ปฏิบัติจะต้องทานอาหารให้พอดี ไม่หิว ไม่อิ่มเกินไป ท้องไม่ว่าง ไม่มีโรคอาหารใด ๆ โรคอื่นรบกวน
ในขณะนั่งทำความสงบ

๖.) เมื่อได้สถานที่สงบแล้วก็จุดธูป เทียนไหว้พระ สวดมนต์ขอขมา นะโม ๓ จบ , อิติปิโส , สวากขาโต และ
สุปฏิปันโน ฯ ขึ้นบทพระกรรมฐานว่า

อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขอถือสัตย์รับศีลแก่พระโพธิญาณ จะขอรับเอาพระสมาธิ
มาเป็นธงชัย จะระลึกถึงพระพายมาเป็นอารมณ์ กายอย่างหนึ่ง วาจาอย่างหนึ่ง
มโนอย่างหนึ่ง จะไม่ให้เป็นกรรมแก่สัตว์ และมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยข้าพเจ้าจะไม่นิยมไปด้วยมูตร
และคูถ สัมผัสถูกต้อง รูปเสียงกลิ่นรส โภชนาอาหาร น้ำดื่มและน้ำใช้
พระให้พิจารณาเป็นของปฏิกูลเปื่อยเน่าไปทั้งสิ้น
เครื่องไม่จีรังเหล่านี้เป็นของพญามัจจุราช ที่ได้หล่อหลอมรูปนี้มา ตั้งแต่เอนกชาติ
เมื่อรูปนี้แตกดับไป จะขอวางซากอสุภะนี้ไว้ เหนือพื้นพระปฐพี ส่วนนามธรรมของข้านี้
ขอให้แม่พระธรณีจงมาช่วยแบกหาม อุดหนุน ค้ำจุน ข้ามส่งองค์พระพาย
เมื่อจะเข้าไปในโลกใหญ่ ขอให้เป็นสุข อยู่ในห้องพระนิพพาน ฯ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ ฯ

แล้วแผ่เมตตาว่า

พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด
อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย , ขอให้ทุกรูป ทุกนาม จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย ขอให้ทุกรูปทุกนามจงมีแต่ความสบายจิต สบายใจ ,
รักษาตนให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวงเทอญ ฯ

ต่อด้วยบทแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา,… อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,

อะเวรา โหนตุ,… ขอจงอย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย,

อัพยาปัชฌา โหนตุ,… ขอจงอย่าได้เบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย,

อะนีฆา โหนตุ,… ขอจงพากันอยู่เป็นสุขอย่ามีทุกข์เลย,

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ,… ขอจงรักษาตนของตนให้เป็นสุขเถิด,

สัพเพ สัตตา,… อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,

กัมมะทุกขา ปะมุญจันตุ,… ขอจงได้มีความพ้นทุกข์เถิด,

ชะราธัมมาหิ,… เราไม่ล่วงพ้นความแก่ชราไปได้,

พยาธิธัมมาหิ,… เราไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้,

มะระณะธัมมาหิ,… เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้,

สัพเพ สัตตา,… อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,

กัมมัสสะกา,… มีกรรมเป็นของตัว,

กัมมะทายาทา,… มีกรรมเป็นมรดก,

กัมมะโยนิ,… มีกรรมเป็นกำเนิด,

กัมมะพันธุ,… มีกรรมเป็นพวกพ้อง,

กัมมะปฏิสะระณา,… มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย,

ยัง กัมมัง กะริสสามิ,… เราทำกรรมอันใดไว้,

กัลยานัง วา,… ดีก็ตาม, ปาปะกัง วา,… ชั่วก็ตาม,

ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสามิ , เขาทั้งหลายเหล่านั้นจะได้รับผลกรรมนั้นแล… สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ฯ

 

๗.) เมื่อแผ่เมตตาเสร็จแล้วก็ให้

นั่งเท้าขวาซ้อนเท้าซ้าย มือขวาซ้อนมือซ้าย

ตั้งกายให้ตรง ไม่เอียงขวา ไม่เอียงซ้าย

ไม่นั่งก้มหน้าหรือเงยหน้าศรีษะตรง สายตามองตรงระหว่างกึ่งคิ้ว ตรงอุณาโลม

เพ่งมองพระพุทธรูป หรือรูปถ่ายพระพุทธปางนั่งสมาธิให้ติดตา

เมื่อแสบตาให้ปิดตาลง ในใจบริกรรมภาวนาว่า…

เมื่อหายใจเข้าให้ลึก ๆ บริกรรมว่า พุท เมื่อหายใจออกช้า ๆ บริกรรมว่า โธ

ตานอกหลับแล้ว แต่ตาในคือใจไม่หลับในตามไปด้วย

มีสติรู้ลมหายใจเข้าออก ตรงริมจมูก ขวาหรือซ้าย ท่านแนะว่าไม่ต้องตามลม ตามหน้าอก หรือถึงท้อง ตั้งจิตรู้สึกเพียง กระทบริมจมูกขวา หรือ ซ้ายอยู่ตลอดเวลา

๘.) ขณะบริกรรมภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออกอยู่นั้น สายตาก็กำหนดเห็นพุทธรูปไปด้วยตรง

กึ่งกลางคิ้ว หากกำหนดแล้วไม่เห็น ก็ให้ลืมตาดูใหม่ได้อีก จนกว่าจะติดตาติดใจ นิ่งสงบ ชัดเจนขึ้น

๙.) ขณะนั่งบริกรรมพุทโธอยู่จะมีกองทัพมารทั้ง ๕ มาผจญทำให้นักปฏิบัติจิตไม่สงบ ไม่นิ่ง ไม่เย็น ไม่สบาย

ไม่เกิดปิติ ไม่เกิดสมาธิ เพราะถูกกระแสมารครอบงำ

วิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ

  1. ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.
  2. ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
  3. ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
  4. ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
  5. ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง
  6. ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
  7. ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง
  8. ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา
  9. ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
    1. เพื่อละนิวรณ์ 5
    2. เพื่อละกามคุณ 5
    3. เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด
    4. เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5
    5. เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามฉันทะพยาบาท
    6. เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่เกิน 7ชาติเป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้ อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด
    7. เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
    8. เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะอรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา
    9. เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์
    10. เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย
    11. เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
    12. อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามีสกทาคามีโสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ
    13. ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
    14. ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
    15. ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีลสมาธิ ปัญญา
    16. ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง
    17. ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
    18. ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    19. ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
    20. ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีลอธิจิตอธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ



 
Heute waren schon 4 Besucher (4 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden