กรรมแบ่งออกได้สามอย่าง
1กรรมในอดีต
2กรรมในปัจจุบัน
3กรรมเพราะความประมาท
ก็ลองคิดกันดูครับว่าเป็นกรรมอันใด จะเป็นกรรมเก่าหรือกรรมใหม่
หรือเป็นเพราะกรรมจากการประมาทในการดำรงชิวิต
คือขาดสติในการพิจารนาธรรม
พระพุทธองค์ตรัสว่า
ปมาโทปจุโนปทัง ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย
ควรเชื่อ 4 อย่าง
1. เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
2. เชื่อกรรม
3. เชื่อผลของกรรม
4. เชื่อว่าเราทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับ
"อนันตริยกรรม" หรือ "กรรมหนักในฝ่ายบาป" ว่ามี ๕ อย่าง คือ
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒.ปิตุฆาต ฆ่าบิดา. ๓.อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔.โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕.สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
..............กรรม 6 ประเภท...............
ทำแล้วเศร้าหมอง เรียกว่า บาปกรรม
ทำแล้วผ่องใส เรียกว่า บุญกรรม
ทำแล้วผูกพันธ์-ติดตาม เรียกว่า เวรกรรม
ทำแล้วโง่ เรียกว่า อกุศลกรรม
ทำแล้วฉลาด เรียกว่า กุศลกรรม
ทำแล้วดีแต่มีขั้นตอน เรียกว่า พิธีกรรม
กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด หมายความว่า ผู้ใดทำเข้าแล้ว แม้จะทำดีต่างๆ ก็ไม่อาจลบล้างได้ เมื่อผู้นั้นตายลงก็จะได้รับผลของกรรมนั้นทันที ไม่มีผลของกรรมอื่นมาคั่นระหว่าง
กฎแห่งกรรมเป็นกฎธรรมชาติไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา
มีฐานะเช่นเดียวกับกฎธรรมชาติข้ออื่น เช่น กฎของความเปลี่ยนแปลง
พุทธศาสนาเน้นเรื่องกฎแห่งกรรม เพราะต้องการให้คนทุกคน
มีความสุขทั้งในชาตินี้และชาติต่อไป
ทั้งนี้เพราะความสุขหรือทุกข์เป็นผลมาจากการกระทำของเรา
แต่ละคนเองทั้งนั้น ไม่ได้เป็นรางวัลหรือการลงโทษของอำนาจศักดิ์สิทธิ์
แต่อย่างใด คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมไม่ได้ต้องการให้ชาวพุทธ
เป็นคนขาดความกระตือรือร้นหรือความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ
ด้วยตนเอง กฎแห่งกรรมเพียงแต่เน้นความสำคัญว่าการกระทำทุกอย่าง
มีผลต่อผู้กระทำทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนานมากบ้างน้อยบ้าง
ตามประเภทของการกระทำ
ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังทำแต่สิ่งที่ดีงามทุกครั้ง
และถึงแม้ว่าชีวิตปัจจุบันจะเป็นผลมาจากการกระทำของเราในอดีต
แต่ก็มิได้หมายความว่า เราไม่มีเสรีภาพที่จะสร้างชีวิตใหม่
ชีวิตมีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
อดีตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
อนาคตเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเปิดกว้างไม่มีขอบเขต
อนาคตจะมีลักษณะเช่นใด หรือมีขอบเขตจำกัดเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราในปัจจุบันเป็นสำคัญ
ถึงแม้ว่าชีวิตปัจจุบันจะเป็นผลของการกระทำของเราในอดีต
แต่ชีวิตปัจจุบันก็ยังมีช่องว่างหรือเสรีภาพอยู่
ทำให้เรามีโอกาสรังสรรค์ปั้นแต่งชีวิตของเราในอนาคตได้
ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงเน้นความสำคัญของการกระทำในปัจจุบัน
มากเป็นพิเศษ ศาสนาพุทธไม่ต้องการให้เราไปเศร้าสร้อย
หรือดีใจกับอดีตที่ผ่านมาแล้ว และในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการ
ให้เราเพ้อฝันถึงอนาคต แต่ต้องการให้เราสนใจปัจจุบัน
และทำชีวิตปัจจุบันให้ดีที่สุด จะได้เป็นปัจจัยสำหรับอนาคตที่ดีได้
กฎแห่งกรรมมีอยู่จริง
และตัวหลวงพ่อเองนอกจากมีประจักษ์พยานจากประสบการณ์โดยตรง
เกี่ยวกับผลของกรรมในอดีตที่มีต่อชีวิตของหลวงพ่อในปัจจุบัน
แล้วยังได้ประจักษ์พยานจากประสบการณ์ของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก
ที่หลวงพ่อรับทราบอีกด้วย ด้วยเหตุผลนี้ทำให้หลวงพ่อจึงอุทิศตัวเอง
ให้แก่การสอนอบรมคนทุกวัยให้ทำแต่ความดีงามและละเว้นจากความชั่ว
ทั้งปวงเพื่อจะได้สร้างกรรมดีให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ในอนาตทั้งใกล้และไกล
พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เราเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า
แต่ให้คนทุกคนเชื่อในความสามารถของตนเองว่า
ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาจิตของตนให้เจริญสูงสุด
ได้ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง
พุทธศาสนาเน้นเรื่องกฎแห่งกรรม
เพราะต้องการให้เรามีความรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเองอย่างเต็มที่
ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง
เราจะมีความสุขหรือความทุกข์ เพราะการกระทำของเรา
ซึ่งมีทั้งทางกาย วาจา และใจ
สำหรับในกรณีของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
พุทธศาสนาสอนว่าตราบใดที่เรายังเป็นปุถุชนอยู่
เราก็ย่อมจะทำอะไรผิดพลาดได้ง่าย
ที่สำคัญก็คือ เมื่อทำอะไรผิดพลาดไปแล้ว
เราต้องยอมรับผิดและใช้ความผิดพลาดนั้น
เป็นบทเรียนป้องกันไม่ให้ทำความผิดเช่นนั้นอีกต่อไป
การยอมรับผิดและความตั้งใจที่จะทำความดีเป็นกุศลอย่างหนึ่ง
การเรียนรู้ (สิกขา) และการมีสติจะช่วยให้เราทำความผิดพลาด
น้อยลงทุกทีจนเมื่อจิตเปลี่ยนสภาพเป็นอริยจิต
เช่น ในกรณีของพระอรหันต์ แล้วความผิดพลาดต่างๆ หรือการกระทำ
ที่ไม่ดีก็จะไม่เกิดขึ้นอีกนอกจากนั้นหลวงพ่อยังได้เน้นว่า :
สำหรับผู้ที่ต้องการจะรู้สาเหตุของความทุกข์ของตนในปัจจุบัน
ที่เป็นผลของวิบากกรรมที่ไม่ดีในอดีตนั้น
ก็อาจจะใช้การปฏิบัติกรรมฐานเป็นเครื่องมือได้
การปฏิบัติกรรมฐานเป็นวิธีสำคัญในพุทธศาสนา
ที่จะสร้างกุศลและปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติ
ในขณะเดียวกันก็เป็นวิธีค้นพบสาเหตุและประเภทของวิบากกรรม
ที่ผู้ปฏิบัติกำลังประสบอยู่ได้
ความรู้นี้อาจเป็นประโยชน์ในการคิดหาการกระทำ
ที่จะให้กรรมนั้นสิ้นสุดลง หรือลดความรุนแรงลง
ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า การปฏิบัติกรรมฐานแก้กรรมได้
เมื่อมองดูสังคมมนุษย์เวลานี้รู้สึกเป็นห่วง
เพราะคนในสังคมหลงไหลในวัตถุนิยมมาก
จนปล่อยให้วัตถุมามีอำนาจเหนือชีวิตตน
ปัจจุบันเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า
วัตถุนิยมไม่สามารถให้ความสุขแก่มนุษย์ได้
ปัญหาสังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกสังคมกำลังประสบอยู่
ชี้ให้เห็นอันตรายของวัตถุนิยม
ถ้าหากมนุษย์เรายังคงยึดถือวัตถุนิยมเป็นสรณะ
โลกก็คงจะถึงกาลอวสานในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน
และนั่นหมายถึงจุดจบของมนุษยชาติ
หลวงพ่อไม่เชื่อว่ายุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคของความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์
เราจะอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่แก้ไขปัญหาต่างๆ ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว
เพราะเทคโนโลยีแต่ละอย่าง ต่างก็สร้างปัญหาใหม่แทนที่
หรือเพิ่มจากปัญหาเก่า
เราจำเป็นต้องนำวิชาการทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า "พุทโธโลยี"
มาใช้จัดการกับวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
พุทธศาสนาเป็นระบบความรู้กว้างขวางมาก
หลักธรรมพุทธศาสนาลึกซึ้งและครอบคลุมถึงหมดทุกเรื่อง
ถ้าหากเรานำพุทโธโลยีมาใช้ให้เต็มที่
สถานการณ์ปัจจุบันก็จะเปลี่ยนแปลงไป
ประโยชน์ของพุทโธโลยีมองเห็นได้ง่าย
คือ กรณีที่เกี่ยวกับสภาวะจิตใจของคน
พุทธศาสนาไม่ได้ต่อต้านความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี และเห็นด้วยว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จะต้องเจริญก้าวหน้าต่อไป แต่ในขณะเดียวกันพุทธศาสนา
ก็เตือนให้เราช่วยกันระมัดระวังไม่ให้ความเจริญก้าวหน้านี้
นำอันตรายมาสู่มนุษยชาติและโลกที่อยู่
วิธีการสำคัญในการป้องกันอันตรายดังกล่าว
คือ การนำสิ่งที่อาจเรียกว่า "พุทโธโลยี" มาใช้ควบคู่กับวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้เราใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อย่างระมัดระวังรอบคอบและมีสติอยู่ตลอดเวลา
ไม่อยู่ในอำนาจของกิเลสตัณหาต่างๆ
พุทธศาสนาสอนว่าจิตเป็นบ่อเกิดของปัญหาต่างๆ ทั้งทางกาย
และทางสังคมสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เราควรพิจารณาสภาวะของจิตของตนก่อน
ในเรื่องของความซึมเศร้านั้น
การปฏิบัติกรรมฐานจะทำให้ดวงจิตของผู้ปฏิบัติสงบมีสติ
และมีจุดสนใจอยู่ที่ปัจจุบันเท่านั้น
สิ่งนี้ทำให้จิตใจไม่มีความพัวพันหรือผูกติดกับอดีต
ดังนั้นจึงสามารถมองดูอดีตได้ราวกับว่าไม่ได้เป็นอดีตของตน
สิ่งนี้ทำให้เขามองเห็นและยอมรับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเอง
ในสภาพความเป็นจริงโดยไม่เศร้าโศกเสียใจ
ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจที่เกิดจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์
ความรู้สึกของตนได้ ก็จะสามารถทำได้ถ้าหากปฏิบัติกรรมฐาน
"สวรรค์และนรกมีอยู่จริง เช่นเดียวกับกฎแห่งกรรม
ส่วนสภาพของจิตใจนั้นเป็นเพียงแสดงให้เห็นถึงลักษณะของบาปบุญ
ที่แต่ละคนมีอยู่และเมื่อตายไปแล้ว
ก็จะต้องรับผลของบาปบุญนี้อย่างแน่นอน"
"การนำดอกมะลิไปไหว้ แม่ในวันแม่เป็นสิ่งที่ลูกพึงกระทำ แต่สิ่งที่ลูกพึงกระทำยิ่งกว่า คือ การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ให้การอุดหนุนจุนเจือท่านเมื่อยามแก่เฒ่า ลูกคนใดก็ตามที่ทิ้งแม่และพ่อ ให้อยู่ด้วยความยากลำบากยากเข็ญ ชีวิตไม่มีทางรุ่งเรือง ทั้งครอบครัวและหน้าที่การงาน และกรรมที่จะตามมา คือ เมื่อถึงคราวแก่เฒ่าก็จะถูกทอดทิ้งเช่นกัน" พระครูวิสุทธิสุตคุณ กล่าวพร้อมกับพูดไว้อย่างน่าคิดว่า
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย เคยกล่าวไว้ว่า “กรรม
ที่ตนกระทำไว้แล้ว ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว ผลของกรรมนั้นย่อมเกิดที่ใจของ
ตน เอง คนนั้นเองเป็นเจ้ากรรมนายเวร ไม่ใช่มีคนอื่นมาบังคับให้เขาทำ หรือคนอื่นมายกให้ จิตที่ตั้งเจตนาไว้แล้วว่าจะทำกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าดีหรือชั่ว นั่นแหละเป็นตัวกรรม ผลของกรรมดีและกรรมชั่วก็จิตของผู้นั้นเสวย คนอื่นจะเสวยแทนมิได้”
กรรมของการฆ่างู
คุณแม่ของดิฉันเล่าให้ฟัง ถึงเรื่องกรรมเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงกับคุณลุงของดิฉัน เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน ในสมัยที่คุณลุงของดิฉันมีชีวิตอยู่ ท่านได้เสาะหาจับงูตามป่าหญ้าเพื่อเอาไปขาย ใช้มีดบ้าง ใช้ปืนยิงบ้าง ได้ฆ่างูไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งครั้งหนึ่งคุณลุงกับเพื่อนไปหางูในสวนส้มของผู้มีอิทธิพลในจังหวัด ปทุมธานี คุณลุงและเพื่อนจับงูได้หลายตัวแล้วจะเดินทางกลับบ้าน เดินออกมาจากสวนแล้วแต่คุณลุงนึกขึ้นได้ว่าว่าลืมของไว้จึงจะกลับเข้าไปเอา ของ เพื่อนของคุณลุงก็เตือนว่าอย่ากลับเข้าไปเลย เกรงว่าจะถูกทำร้ายเอาได้หากมีคนมาพบและเข้าใจว่าเป็นขโมย แต่คุณลุงท่านก็ยืนยันว่าจะกลับไปเอาของ เพื่อนของคุณลุงก็รออยู่แต่ภายนอกสวน จนกระทั่งได้ยินเสียงปืนหลายนัด และเห็นเหตุการณ์ว่าคุณลุงถูกยิงเสียชีวิต จึงวิ่งหนี และกลับไปที่บ้านของตน ด้วยความกลัวหรือเหตุใดไม่ทราบ เพื่อนคุณลุงก็ไม่ได้มาบอกครอบครัวของคุณลุงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากในวันที่คุณลุงเสียชีวิต เกิดเหตุการณ์ประหลาดๆ ที่บ้านของคุณลุง คือ มีเสียงเหมือนมีคนมาเคาะข้างฝาบ้านซึ่งเป็นสังกะสี สามครั้งทั้งๆ ที่ไม่มีคน สัตว์ หรือว่าลมพัดอะไรเลย ทำให้คนในบ้านแปลกใจ ประกอบกับคุณลุงไม่กลับบ้านในวันนั้น ทุกคนในบ้านจึงเป็นห่วง คุณยายจึงให้คุณแม่และคุณพ่อของดิฉันไปหาเพื่อนของคุณลุง จึงได้ทราบว่าคุณลุงเสียชีวิตแล้ว ก็ได้พากันไปที่สวนส้มแห่งนั้นเพื่อขอร่างคุณลุงกลับมาทำศพ แต่กว่าจะไปถึงเขาก็ได้เผาทำลายศพคุณลุงไปแล้ว และคนที่ฆ่าคุณลุงก็ไม่ได้ถูกดำเนินการทางกฏหมายแต่อย่างใด ทางบ้านของคุณลุงเสียใจมากกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะภรรยาของคุณลุง ซึ่งในขณะนั้นเพิ่งตั้งครรภ์ได้ไม่กี่เดือน
เรื่องนี้ทำให้ดิฉันเชื่อแน่ว่ากรรมและผลของกรรมนั้นมีจริง จึงนำมาแบ่งปันและใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามลด หรือหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมค่ะ
บุญติดตามตัวทั้งโลกนี้และโลกหน้า
17.หาของซื้อเด็ดๆ หาที่ขายของโดนๆที่ http://www.stock4bid.com - stock [25 ม.ค. 51 10:04]
16.เพื่อนๆเตรียมพร้อมหรือยังกับ กฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ - kopz [15 พ.ย. 50 13:41]
15.ความดีคือชัยชนะทั้งปวง - เทพบุตรหรือซาตาล.. [14 พ.ย. 50 3:41]
14.อย่าอ่านนะ - วลี (1) [25 มิ.ย. 50]
13.หาเงินใช้หนี้กันเถอะ - นะคะ [20 ส.ค. 49 22:59]
12.เชิญร่วมบูชาพระบรมสาริกธาตุ และเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพฯ ในสัปดาห์วิสาขบูชา วันสำคัญสากล โลก 6-12 พ.ค.49 - oonsiri@hotmail.com [3 พ.ค. 49 8:50]
11.อยากมีรายได้เสริม ทำได้ง่าย เพียงมาดูที่เวปเรา เรามีคำตอบ - the_musicman77@hotmail.com [4 พ.ย. 48 22:12]
10.หนังสือเสียง เรื่องเล่า "กฎแห่งกรรม" The Law of Karma and Rebirth - ป (1) [21 ต.ค. 48 1:03]
9.กรรมที่ทำกับพ่อไว้ - ป (2) [12 ต.ค. 48 10:12]
8.กรรมของเพชฌฆาตโรงฆ่าสัตว์ - อุทาหรณ์ (1) [12 ต.ค. 48 9:57]
7.กรรมที่ทำไว้กับเต่า (น่าสงสารเต่ามาก ๆ ๆ ๆ...) - โหดร้ายที่สุด (4) [12 ต.ค. 48 9:46]
6.กรรมที่ทำกับแมว - กรรมแท้ ๆ (2) [12 ต.ค. 48 9:29]
5.ลูกอกตัญญู ใช้เท้าเขี่ยจานข้าวแม่ ผลคือขาหักทั้ง 2 ข้าง - เวรกรรม (4) [12 ต.ค. 48 9:23]
4.จุดประทัดใส่ควาย ทำให้ถูกฟ้าผ่าหูหนวก - ป (3) [12 ต.ค. 48 9:16]
3.สมัยเด็กชอบตกปลา ชักเย่อกับปลาเสียจนปลาฟันบิ่น - วิริยาธิกะ [11 ต.ค. 48 8:05]
2.สมัยเด็ก ผมชอบจับมดดำมาใส่ขวดยาหม่อง... - ป [11 ต.ค. 48 7:55]
1.ใครมีประสบการณ์เรื่องกฎแห่งกรรม ก็มาเขียนเล่าเรื่องได้นะครับ - ป พิฆาต (เจ้าบ้าน ) [11 ต.ค. 48 7:51]
กฎแห่งกรรม
เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้เรื่องเป็นอุทาหรณ์แก่คนทั้งหลาย เพื่อให้หยุดทำกรรม
ท่านก็ต้องกลับไปเกิดเป็นวัวอีก 10 ชีวิต อีก 10 ชาติ ...
กรรมที่ไม่มีลูก การทำร้ายลูกของสัตว์อื่น พรากสัตว์อื่นจากพ่อแม่หรือเคยข่มเหงลูกคนอื่น ...
วัน ที่ 4 มีนาคม 2552 คุณชนัย (ปัจจุบัน) ได้รับเชิญมาออกรายการตีสิบ มอบเป็นวิทยาทานให้กับทุกๆท่านทางรายการ ได้ทำให้เข้าใจกฏแห่งกรรมมากขึ้น ...
มนุษย์ผู้ใด ดำรงชีพด้วยมิจฉาชีพ ตีชิงวิ่งราว ปล้น ฆ่า ข่มขืน วางเพลิง ขัดขวางการฌาปนกิจศพ, ทำลายฮวงซุ้ยเปิดโลงศพเขา ...
วิญญาณที่ทนทุกข์ทรมานมากกว่า ๓๐ ปีได้กลับบ้านเกิด...
รวมเรื่องกฏแห่งกรรม
กรรมดี กรรมชั่ว ย่อมติดตามผู้กระทำไปดุจล้อเกวียนที่หมุนทับรอยเท้าโคฉะนั้น
ถาม – เหตุใดบางคนจึงเหมือนถูกขีดชะตาให้ต้องเป็นได้แค่บริวารหรือผู้รับใช้ ทั้งที่สติปัญญาก็ดี ความสามารถก็มาก แต่ดิ้นรนเท่าไรก็ไม่อาจมีกินมีใช้ เป็นไทแก่ตนเองได้?
กรรมที่เหวี่ยงให้ไปเกิดในตระกูลต่ำ ต้องเป็นข้าทาสบริวารชนิดเลี่ยงไม่ได้ ดิ้นรนไม่รอดนั้น ได้แก่การกดหัวใช้ผู้ทรงศีล กดหัวใช้พ่อแม่ หรือกดหัวใช้ผู้คนจำนวนมาก คำว่า ‘กดหัวใช้’ ในที่นี้ ผมหมายถึงการมีความคิดเหยียด มีใจเย่อหยิ่งจองหอง ถือสิทธิ์หรือถือโอกาสที่อยู่ในฐานะเหนือกว่า วางอำนาจใช้สอยคนด้วยใจคิดข่มขี่ข่มเหง
โทษของการกดหัวใช้ผู้คนเยี่ยงทาสเป็นจำนวนมาก ยังนับว่าเบากว่าการกดหัวใช้พ่อแม่ด้วยน้ำจิตสกปรกเห็นพ่อแม่เป็นคนใช้ และการกดหัวใช้พ่อแม่ไปทั้งชาติ ก็อาจได้น้ำหนักประมาณเดียวกันกับการกดหัวใช้พระอรหันต์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์สักระยะหนึ่ง
บุญด้านอื่นอาจตกแต่งให้รูปร่างหน้าตาดีมีสติปัญญาใช้ได้ แต่บาปอันเกิดจากการกดหัวใช้พ่อแม่และพระอรหันต์ จะกดดันดวงชะตาไว้ ไม่ให้เผยอขึ้นลืมตาอ้าปากเป็นตัวของตัวเองได้ไปทั้งชาติ แม้จะเพียรพยายามอย่างหนักขนาดไหนก็ตาม เนื่องจากพ่อแม่และพระอรหันต์เป็นของใหญ่ ทรงคุณสูงสุด ทำอะไรกับพวกท่านไว้เป็นประจำ จึงให้ผลคงเส้นคงวาไปทั้งชีวิตในชาติถัดมา
แต่ถ้าไหว้วานเล็กๆน้อยๆในฐานะและโอกาสที่เหมาะสม กับทั้งเป็นไปด้วยความเกรงใจถ้อยทีถ้อยอาศัย อันนั้นก็ไม่เป็นไร ดังเช่น สมัยพุทธกาลก็มีชาวบ้านนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกไปรับภัตตาหารถึงบ้าน หรือกระทั่งนิมนต์ให้ไปโปรดถึงที่อยู่ยามเป็นไข้หนัก ซึ่งพวกท่านก็ไม่ขัดแต่อย่างใด และชาวบ้านผู้ทำการนิมนต์ก็ได้บุญขึ้นสวรรค์และใช้เป็นบันไดต่อยอดไปถึงนิพพานกันอย่างครึกโครม
ขอให้เข้าใจด้วยนะครับว่าถ้ายากจนข้นแค้นเพราะกรรมเช่นตระหนี่จัดและไม่รักษาศีล จำต้องบากหน้าไปเป็นบริวารผู้อื่นชั่วคราว อันนั้นจะคนละแบบกับบาปที่บีบคั้นให้ต้องเป็นข้าทาสรับใช้ไปตลอด เพราะถ้าเกิดในตระกูลต่ำ ยากจน แต่ขยันทำมาหากินโดยปราศจากบาปบีบคั้น ก็ยังมีสิทธิ์ลืมตาอ้าปากได้อย่างคนปกติอื่นๆครับ
ถาม – ถ้าใครได้รับความช่วยเหลือจากเรามากๆ เขาจะต้องเป็นคนใช้เราในชาติต่อๆไปหรือเปล่าครับ?
ไม่จำเป็นหรอกครับ คนที่ได้รับความช่วยเหลือจากคุณมากๆโดยที่คุณเต็มใจเอง หยิบยื่นเอง อันนั้นก็ไม่ถือว่าเขาใช้สอยคุณแต่อย่างใด
การช่วยเหลือกระทั่งเขาซาบซึ้งน้ำใจคุณ และอาจยังไม่มีโอกาสตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยในชาตินี้ จะมีผลอย่างไรในชาติถัดไปก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่เขาได้รับความช่วยเหลือด้วย เช่น
๑) หากคุณช่วยเปลี่ยนเขาจากร้ายให้กลายเป็นดี ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และกำลังสมอง ทั้งหว่านล้อมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นกงจักรเป็นกงจักร เห็นดอกบัวเป็นดอกบัว ตลอดจนพาไปกราบครูบาอาจารย์ผู้เป็นแสงสว่าง เป็นที่พึ่ง อย่างนี้เมื่อพบกันอีกในชาติถัดมาเขาจะเชื่อคุณ ยอมคล้อยตามคุณ ยกให้คุณเป็นผู้นำทางความคิด แม้ว่าเขาจะเป็นคนหัวรั้นมาตลอดชีวิต ไม่เคยยอมฟังใครเลยก็ตาม
๒) หากคุณช่วยเขาเปลี่ยนสถานการณ์ลำบากให้กลายเป็นสบายขึ้น เช่น ช่วยปลดหนี้ให้เขา ไม่ทำให้เขาต้องเสียบ้านเสียรถ หรือช่วยให้เขารอดจากคุก เมื่อพบกันอีกในชาติถัดมาเขาจะอยากช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้กับคุณ และมักมารู้จักกับคุณทันสถานการณ์ลำบากบางประการ เพื่อให้เขาแสดงฝีมือหรือน้ำใจช่วยเหลือ แม้ปกติเขาจะไม่ใช่คนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อใครต่อใครเท่าใดนักก็ตาม
ย้ำว่าทั้งสองกรณีหลักๆข้างต้น เป็นไปภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ถูกช่วยเหลือเขาซาบซึ้งและสำนึกบุญคุณ ในความเป็นจริงความสำนึกบุญคุณจดจำฝังใจไม่ใช่ธรรมชาติของสัตว์ทั้งหลาย เนื่องจากสัตว์ทั้งหลายติดอยู่กับธรรมชาติดิบๆ คือเห็นแก่ตัว เอาเข้าตัว กะเกณฑ์ให้คนอื่นทำเพื่อตัว ฉะนั้นผลจากการช่วยเหลือและได้รับความช่วยเหลือ จึงไม่จำเป็นต้องมาในรูปแบบของการตอบแทนกันเสมอไป
มองภาพรวมคุณจะเห็นโลกนี้มีคนอยู่สองกลุ่มใหญ่ กลุ่มที่หนึ่งพร้อมจะแบมือขอความช่วยเหลือ กลุ่มที่สองยินดีจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือ โดยกลุ่มแบมือขอมีขนาดใหญ่มหึมา ส่วนกลุ่มยื่นมือช่วยมีแค่หยิบมือเดียว แถมกลุ่มยื่นมือช่วยมีสิทธิ์ถูกยักย้ายถ่ายเทมาเป็นกลุ่มแบมือขอได้ง่าย แค่เข็ดหรือเจ็บใจหนักๆสักครั้งสองครั้ง ส่วนกลุ่มแบมือขอก็เป็นไปได้น้อยที่จะถูกยักย้ายถ่ายเทมาเป็นกลุ่มยื่นมือช่วย ต้องเกิดแรงบันดาลใจอย่างใหญ่หลวงกันจริงๆ
กลุ่มแบมือขอจะไม่มีโอกาสเป็นใหญ่ เป็นผู้นำ เพราะเสวยภพของนักพึ่งพา ถ้าได้เพื่อนเป็นพวกยื่นมือช่วย ตนเองก็จะมีศักดิ์ศรีด้อยกว่า และมักเป็นฝ่ายต้องอิจฉาตาร้อนสารพัด ยากจะเขยิบขึ้นมามีความรู้สึกทัดเทียมเพื่อนได้
ส่วนกลุ่มยื่นมือช่วยนั้น เมื่อเสวยภพนักช่วยเหลือหลายชาติหลายสมัยเข้า ก็ชักเสพติดรสสุขอันเกิดแต่มหากรุณาที่มีความเยือกเย็นไพศาลล้ำลึก กระทั่งรักการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นชีวิตจิตใจ บารมีเติบกล้ากลายเป็นนิสัยโพธิสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้เต็มไปด้วยความไยดีอาทรต่อสรรพสัตว์ อยากรื้อถอนสัตว์ออกจากห้วงสมุทรแห่งความทุกข์ จึงพลอยมีกำลังใจไม่จำกัดดุจห้วงมหาสมุทรแห่งความกรุณา เขาย่อมมีกำเนิดที่ใหญ่และเป็นผู้นำแทบทุกครั้ง เหมือนเกิดมามีหน้าที่ต้องช่วยคนจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็ได้รับความช่วยเหลือเป็นการตอบแทนจากทั่วทุกสารทิศเช่นกัน
ถาม – ผมสามารถบริจาคเงินให้ผู้ที่เดือดร้อนครั้งละเป็นร้อยเป็นพันบาทได้ โดยไม่เสียดายเลย แต่จะเสียดายมากถ้าต้องจ่ายเงินแค่สิบบาทซื้อขนมมาเลี้ยงเพื่อนร่วมงาน ซึ่งชอบกินขนมจุบจิบ เพราะรู้สึกว่าเป็นการผลาญเงินโดยเปล่าประโยชน์ ช่วยแนะอุบายแก้ไขความตระหนี่ในเรื่องนี้ให้ผมด้วยครับ
กำลังใจในการให้ทานแต่ละครั้ง อย่างไรก็ไม่มีทางเท่ากันหรอกครับ เพราะทุกการให้ทานจะยืนพื้นอยู่บนความคิด และความคิดก็เป็นสิ่งบังคับไม่ได้ ต้องถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยปัจจัยหลายอย่าง
โดยมากถ้าคุณยังไม่มีน้ำจิตตามอุดมคติพุทธ คือเผื่อแผ่ได้แบบปราศจากเงื่อนไข ยังไม่อาจคิดให้เพื่อเอาความสุขทางใจอย่างเดียวจริงๆ ก็ย่อมอดเสียดายของไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าเพื่อนๆเห็นแก่กิน เอาแต่ได้ ชอบของฟรีแต่ไม่ชอบให้อะไรใครฟรีๆ ความเห็นแก่ตัวของพวกเขาย่อมเป็นคลื่นรบกวนใจคุณ ชวนให้นึกอยากหวงของตามพวกเขาได้
หรือแม้เพื่อนๆของคุณไม่ใช่พวกเห็นแก่ได้ แต่ความคิดของคุณก็อาจติดข้องโดยไม่รู้ตัว เช่นนึกทบทวนว่าคนนั้นคนนี้เคยให้อะไรคุณมาบ้าง ตลอดจนรู้สึกอยู่ในส่วนลึกว่า คุณและเพื่อนที่ออฟฟิศต่างก็มีหน้าที่ทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเหมือนๆกัน มีอิสระในการจับจ่ายใช้สอยเหมือนๆกัน ถ้าเราต้องเป็นฝ่ายให้ก็เหมือนโดนคนฐานะเดียวกันเอาเปรียบ เมื่อใจเล็งเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบก็ต้องหวั่นไหวเหมือนกวนน้ำให้ขุ่น ไม่อาจตั้งมั่นเป็นทานที่ใสสะอาดเต็มร้อย
แตกต่างจากตอนที่คุณพบผู้ตกทุกข์ได้ยากหรือเดือดร้อนจวนตัว สิ่งที่ออกมาจากเขาย่อมไม่ใช่กระแสความเห็นแก่ตัว แต่เป็นคลื่นความทรมานกายทรมานใจ ที่อาจปลุกสำนึกแบบมนุษย์ในคุณได้อย่างแรง ความคิดช่วยเหลือจึงเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ความอิ่มบุญจะไม่ทำให้คุณรู้สึกเสียดายแม้แต่นิดเดียว
หากถามถึงอุบายแก้ความตระหนี่ ก็ขอให้ถือเอาความอิ่มใจจากการบริจาคแบบไม่เสียดายเป็น ‘ทุนตั้งต้น’ แล้วกันนะครับ เมื่อใดบริจาคอย่างไม่เสียดาย มีความแช่มชื่นโสมนัส ให้คิดทุกครั้งว่าขอความแช่มชื่นโสมนัสนี้ จงเป็นน้ำล้างยางเหนียว อันได้แก่ความตระหนี่ที่กุมจิตคุณไว้เหนอะหนะ
ครั้งต่อไปไม่ว่าจะให้ทานแก่คนเดือดร้อน หรือคนที่ยังเห็นแก่ตัว ก็ขอให้สังเกตจิตตนเองเป็นหลัก ให้เมื่อใด แช่มชื่นเมื่อนั้น เอาความพอใจกันตรงนั้น หากรู้สึกว่าทำใจไม่ได้ ก็อนุญาตให้ระลึกถึงอาการของจิตที่ให้แล้วแช่มชื่น คุณน่าจะจำได้ชัดว่าการสละให้อย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นอย่างไร แล้วก็สามารถทำได้อีก แม้กับคนเห็นแก่ตัวอันไม่น่าเป็นที่ตั้งของความแช่มชื่น
กล่าวโดยสรุปคือใจคุณเล็งไปที่อะไรเป็นใหญ่ ความรู้สึกนึกคิดก็แปรไปตามนั้น หากใช้ใจเล็งใจ เล็งที่อาการ ‘คิดให้’ หรือเล็งที่ความเบาสบายเบิกบาน ตั้งความพอใจในกุศลจิต พิจารณาว่าจิตอันเป็นทานคือของดีที่ได้กับคุณเอง ตลอดจนหมั่นระลึกว่าการฝึกให้ทานจนติดเป็นนิสัยจะพาสบายทั้งวันนี้วันหน้า เช่นนี้ในที่สุดคุณจะไม่คิดเล็กคิดน้อย ใจเลิกเล็งความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างสิ้นเชิง
คนเราทำกรรมทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาปอยู่บนความไม่รู้ พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าถ้ารู้เหมือนพระองค์ว่าผลแห่งทานที่ทำเป็นนิสัยแล้ว มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่เพียงใด ทุกคนคงให้คนหรือสัตว์อื่นบริโภคก่อนตนเองทุกครั้งเป็นแน่แท้ครับ
ถาม – การทำบุญลับหลังคนอื่น จะได้อานิสงส์เหนือกว่าการทำบุญแบบให้ใครต่อใครรู้ทั่วๆหรือไม่ครับ?
ก็ไม่แน่เสมอไปครับ เพราะการทำบุญลับหลังคนอื่นแค่เป็นประกันว่าคุณไม่ได้จะทำเอาหน้า ทว่าไม่ได้เป็นประกันว่ากำลังใจของคุณจะมากหรือน้อย ทำแล้วเกิดโสมนัสอย่างใหญ่หรืออย่างเล็ก หลายคนปิดทองหลังพระ แอบทำบุญไม่ให้ใครรู้เป็นประจำ แต่ก็ด้วยเจตนาหวงบุญ คิดว่าตนเองจะได้บุญกองโตไว้คนเดียว อย่างนี้ก็นับเป็นการทำบุญด้วยความโลภ มีจิตใจคับแคบแล้ว
ตรงข้ามกับบางคน แม้ทำบุญแบบอยากให้คนอื่นรับรู้ว่านี่ฉันทำนะ ฉันนี่ใจบุญนะ แต่ก็เป็นไปด้วยเจตนาอยากให้ผู้อื่นรื่นเริงในบุญตามตน หรือเกิดแรงบันดาลใจอยากทำบุญให้แช่มชื่นอย่างตนบ้าง
ความคิดของคนเราเป็นไปได้สารพัดครับ ก่อกรรมด้วยความคิดอย่างไรก็รับผลตามนั้น คนและสัตว์จึงมีรูปร่างหน้าตา โชคชะตาราศีต่างกันได้ไม่จำกัดดังที่เห็นไงครับ
ถาม – เวลาเห็นคนอื่นมีเงินทำบุญเยอะๆแล้วอยากทำบ้าง แต่ก็จนใจเพราะยากจน แม้ทราบว่าบุญอยู่ที่ใจ ให้น้อยก็ได้ แต่คิดทุกทีว่าให้น้อยก็ได้น้อย จิตใจห่อเหี่ยวไม่ปลื้มบุญเลย ไม่ทราบจะคิดอย่างไรให้กำลังใจเพิ่มขึ้น
ขอให้มองเป็นภาพรวมไปเลยครับ ลองถามตัวเองเป็นข้อๆอย่างนี้
๑) คุณ ‘ชอบให้’ หรือ ‘ไม่ชอบให้’ ความชอบนั่นแหละคือใจจริง ถ้าคุณมีใจจริงเป็นการให้ อย่างไรจิตก็ต้องเปิดโล่ง ต้องสว่างไสว ไม่มีความตระหนี่อันเป็นเครื่องเศร้าหมองในปัจจุบัน กับทั้งมีหลักประกันให้อยู่ดีมีสุขในอนาคต เพราะภพหรือภาวะแห่งชาติภูมิเกิดจากการสร้างของจิต เมื่อจิตชอบให้ก็ย่อมเคลื่อนเข้าไปอยู่ในภพของผู้มีสมบัติมาก เพื่อจะให้ต่อได้อีกมากๆ
๒) คุณ ‘ให้เป็นประจำ’ หรือ ‘นานๆให้ที’ สมมุติว่ามีแมวจรจัดเข้ามาป้วนเปี้ยนเป็นขาประจำในบ้าน เพียงคุณเจียดเงินวันละ ๕ บาทเป็นค่าขนมแมวไปเรื่อยๆ รวมหนึ่งปีแล้วจะไม่ใช่ ๕ คูณ ๓๖๕ หรอกนะครับ เพราะชีวิตแมวหนึ่งปีซื้อไม่ได้ด้วยเงินเพียงสองพันบาท แต่ต้องกำลังกายกำลังใจเป็นจำนวน ๓๖๕ ครั้งด้วย กำลังกายและกำลังใจทั้ง ๓๖๕ ครั้งนั้น กู้ยืมมาจากธนาคารไหนๆไม่ได้ ต้องผุดขึ้นจากศรัทธาในการทำทานสถานเดียว
ตัวตนใหม่และความสงบของใจในระยะยาวนั่นแหละ คือรางวัลที่ได้รับจากการเสียสละอย่างสม่ำเสมอ ฉะนั้นให้ไปเท่าไรไม่เห็นน่าคำนึง หันมาคำนึงเถอะว่าคุณได้ตัวตนใหม่และความสงบของใจเป็นเครื่องตอบแทนหรือเปล่า ถ้าได้มา ก็ขอจงจำไว้ว่าคุณได้มากกว่าให้ไปเกินจะนับ เพราะสิ่งที่คุณให้นั้นเป็นสมบัติภายนอก แต่สิ่งที่ได้มาเป็นสมบัติภายในซึ่งอยู่ติดตัวตลอด ๒๔ ชั่วโมง และจะเป็นสมบัติชิ้นเดียวที่ติดตามไปแม้กายนี้แตกทำลายลงแล้วครับ
ถาม – ฟังจากที่คุณดังตฤณอธิบายอานิสงส์ของทานและศีลมา ดูเหมือนให้ผลเหมือนเป็นอันเดียวกัน อยากทราบว่าตกลงทานกับศีลคือสิ่งเดียวกันหรือ จึงให้ผลเหมือนกัน?
ทั้งทานและศีลเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้อ่อนโยน มีความสว่างไม่มืดทึบ มีความเปิดกว้างไม่คับแคบ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน เช่น เมื่อทำทานจนชอบเป็นผู้ให้ ย่อมกระดากแม้จะเป็นผู้รับสักครั้ง ไหนเลยจะริอ่านผิดศีลขโมยของใครมาเป็นของตน
คนเรามีสมบัติหลายแบบ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสชี้ความจริงให้แก่เหล่าคนร่ำรวย ท่านก็กล่าวว่าศีลคือสมบัติชนิดหนึ่ง ผู้มีศีลเป็นสมบัติ คือถึงพร้อมด้วยศีลโดยเจตนาเว้นขาดจากความชั่ว ย่อมรับอานิสงส์ ๕ ประการคือ
๑) ได้กองโภคทรัพย์ใหญ่หลวง
๒) ชื่อเสียงอันดีงามของคนที่ถึงพร้อมด้วยศีลย่อมเฟื่องฟุ้งไป
๓) เป็นผู้แกล้วกล้าไม่ขวยเขินในการเข้าที่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพวกไหนเหล่าใด
๔) ไม่หลงเลอะเทอะขณะกำลังจะตาย
๕) เบื้องหน้าหลังจากกายนี้ดับลง ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
สรุปคือถือศีลดีๆได้ทั้งเงิน ได้ทั้งชื่อเสียง ได้ทั้งความเชื่อมั่นในตนเอง ได้ทั้งสติ ได้ทั้งสวรรค์ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการทำทานดีๆแต่อย่างใดเลยครับ (อานิสงส์ของศีลไม่ใช่ว่ามีแค่ ๕ ข้อเท่านี้ ยังมีผลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา ชาติตระกูล สติปัญญา และอื่นๆทั้งหมด ที่พระพุทธองค์ตรัสนี้เพื่อให้เห็นอย่างถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติภายนอกและสมบัติภายในเท่านั้น)
เรื่องของเรื่องคือหาคนที่พร้อมบริบูรณ์ทั้งทานและศีลได้ยาก บางคนชอบทำทานแต่ไม่ชอบรักษาศีล บางคนชอบรักษาศีลแต่ไม่ชอบทำทาน ผลเลยออกมาลักลั่นอย่างที่เห็นโดยทั่วไป เช่น บางคนสุดหล่อสุดสวย แต่ยากจนและมีเครื่องยั่วให้เอาตัวไปขาย บางคนฐานะดีมีปัญญาครบ แต่ขี้ริ้วขี้เหร่จนเป็นปมด้อยไปทั้งชาติ
หากพบเจอคนที่มีพร้อมไปทุกด้าน ทั้งรูปร่างหน้าตา ความภูมิใจในเพศแห่งตน ฐานะการเงิน เกียรติยศชื่อเสียง ตลอดจนสติปัญญาความรู้ความสามารถ ก็ขอให้ทราบเถิดว่าในอดีตพวกเขาบำเพ็ญทั้งทานทั้งศีลไว้ไม่บกพร่องครับ และการทำทานรักษาศีลในปัจจุบันของพวกเขาก็จะเป็นตัวกำหนดต่อไป ว่าข้างหน้าจะยังคงเลิศเลอสมบูรณ์แบบเหมือนที่เห็นอยู่หรือไม่
ถาม – ตามความเข้าใจ คนที่ฆ่าตัวตายนั้นถือว่าบาปมาก เกิดมากี่ชาติก็จะทำให้ตนเองคิดฆ่าตัวตายตลอด แล้วอย่างนี้เขาจะหลุดพ้นจากกรรมนี้ได้อย่างไรคะ?
คนฆ่าตัวตายมีหลายแบบครับ ขอจำแนกตามวิธีคิดแบบคนตั้งใจจะตาย โดยไม่มีโรคหรืออาการประสาทหลอนเข้ามาเกี่ยวข้องดังนี้
๑) คิดดับชีวิตหนีความทุกข์
เป็นการฆ่าตัวตายที่พบเห็นบ่อยสุด น่าจะกล่าวได้ว่าเกิน ๙๐% ของการฆ่าตัวตายเข้าข่ายหนีทุกข์ทั้งสิ้น
ทุกข์มีหลายแบบ ทุกข์เพราะโรคภัยไข้เจ็บ ทุกข์เพราะทนภาวะกดดันทางใจไม่ไหว ทุกข์เพราะความเบื่อกัดกินจนไม่เหลือชีวิตชีวาเลยสักนิด ฯลฯ กล่าวโดยสรุปคือเกลียดทุกข์มาก ผู้ฆ่าตัวตายด้วยความเกลียดทุกข์ ย่อมได้ชื่อว่าจิตมีมูลเป็นโทสะ
การฆ่าตัวตายหนีทุกข์มักมีจิตที่เศร้าหมองเป็นทุน และเมื่อถึงเวลาปลิดชีพตนเองก็ต้องอาศัยโทสะขั้นแรงกล้า เป็นตัวขับดันให้ลงมือกระทำอัตวินิบาตกรรมสำเร็จ ฉะนั้นคงไม่ต้องเดากันเลยว่าจิตจะเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะแน่นอนว่าต้องเป็นอกุศลเต็มๆ เรียกว่ามืดกันแบบเน้นๆนั่นแหละ
มองเผินๆคุณหลายคนอาจคิดว่าคนฆ่าตัวตายเขาปล่อยวางได้ เขาไม่เสียดายชีวิตและกล้าหาญที่จะเผชิญความตายแล้ว แต่หากคุณเห็นอาการของจิตคนจริงๆ ก็จะพบว่าเป็นตรงข้ามเลยครับ คนคิดฆ่าตัวตายหนีทุกข์นั้นขาดความกล้าที่จะเอาชนะทุกข์ และจิตเขาก็ยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่นว่าการตายเร็วเป็นของดี การจบชีวิตเป็นเรื่องต้องเร่งรีบ
ความยึดมั่นถือมั่นอย่างรุนแรงในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักเป็นนิสัยติดตัวข้ามภพข้ามชาติเสมอ นั่นเองคนที่เคยฆ่าตัวตายมาก่อนจึงมีแนวโน้มที่จะต้องฆ่าตัวตายอีก การฆ่าตัวตายซ้ำจึงไม่ใช่เพราะเป็นผลกรรมที่เกิดจากการเคยฆ่าตัวตาย แต่เป็นความยึดมั่นถือมั่นว่าการตัดช่องน้อยแต่พอตัวคือของดีต่างหาก
พวกที่ไม่สู้ชีวิตย่อมได้ชื่อว่าอ่อนแอกับการมีชีวิต ยอมแพ้ชีวิต เพราะฉะนั้นรูปชีวิตต่อๆไปก็มักมีพื้นนิสัยอ่อนไหวไม่อยากทนอะไร โดนเหยียบโดนย่ำนิดๆหน่อยๆก็อยากยอมแพ้ชีวิตอีกและอีก
แล้วมีความจริงอยู่อย่างหนึ่งนะครับ หนี้เงินนั้นหนีได้ แต่หนี้กรรมนั้นไม่มีทางเลย หากยังใช้หนี้กรรมไม่หมดแล้วคิดหนี ก็ต้องไปใช้หนี้ต่อในอบายภูมิ ซึ่งจะแย่กว่าเดิมมาก แถมเมื่อบุญเก่าตามมาช้อนทัน เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ต้องเจอเรื่องน่าท้ออีก อยากฆ่าตัวตายอีก
การเวียนฆ่าตัวตายซ้ำซากประเภทนี้ จะยุติได้ก็ด้วยเหตุปัจจัยอันเป็นตรงข้ามกัน นั่นคือต้องเกิดเป็นมนุษย์สักชาติหนึ่ง พบกัลยาณมิตรหรือครูผู้ชี้ทางถูกทางตรง ทำความเข้าใจเรื่องกรรมวิบาก บ่มเพาะความเข้มแข็งให้กับจิตใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าการปลิดชีพหนีทุกข์เป็นของดี มองเห็นการตายแบบเศร้าหมองโดยความเป็นโทษ เป็นภัย เป็นการหาเรื่องลงอบาย เท่านี้จิตใจก็จะเข้มแข็งขึ้น
เมื่อตัดสินใจไม่ฆ่าตัวตายทั้งที่สถานการณ์บีบคั้นให้คิดอยากฆ่าตัวตายแล้ว ก็จะถอนตัวออกมาจากภพของนักฆ่าตัวตายทีละครั้ง ทีละหน จนกระทั่งเข้มแข็งอดทนได้ในทุกสถานการณ์ ภายในชาติเดียวนั้นเองเขาก็มีสิทธิ์หลุดจากภพของนักฆ่าตัวตายได้อย่างเด็ดขาด แม้เกิดใหม่เผชิญทุกข์ก็จะไม่คิดหาทางออกตื้นๆด้วยการฆ่าตัวตายอีก
๒) คิดหวังภพหน้าตามความเชื่อ
เป็นการฆ่าตัวตายที่ไม่เห็นได้บ่อยนัก แต่ก็มีอยู่เรื่อยๆ และถ้าความเชื่อแบบใดล้าสมัย ก็จะมีความเชื่อใหม่ๆที่ทันยุคทันสมัยมาชวนคนไปฆ่าตัวตายได้ตลอด
ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อแบบไหน ลงถ้าทำให้ตัดสินใจทิ้งชีวิตดีๆได้ ก็แปลว่าต้องมีมูลเหตุล่อใจ ไม่ว่าจะหวังสวรรค์ หวังบูชาซาตาน หรือหวังไปเป็นเพื่อนมนุษย์ต่างดาว กล่าวโดยสรุปคืออยากได้ภาวะหลังความตายตามที่ตนเองเชื่อ ผู้ฆ่าตัวตายด้วยหวังพบสุข ย่อมได้ชื่อว่าจิตมีมูลเป็นโลภะ
เมื่อยังไม่ถึงเวลาตาย แต่รีบอยากตายเอาถ้วย จิตย่อมเหนียวเหนอะหนะด้วยยางคือตัณหา มีโลภะแรงกล้าพอจะตัดชีวิตมนุษย์ทิ้ง ฉะนั้นจึงต้องบอกว่าเขาตายด้วยอกุศลจิตอย่างแน่นอน ขึ้นชื่อว่าอกุศลย่อมต้องมืด ส่วนจะมืดมากหรือมืดน้อยก็ขึ้นอยู่กับแนวคิดความเชื่อของแต่ละเจ้า เช่นฟังเขามาว่าถ้าเซ่นชีวิตบูชาซาตาน ซาตานจะมอบธิดาให้เชยชมอย่างสนุก อันนั้นจะมืดกว่าพวกที่ฆ่าตัวตายหวังไปเป็นสหายแห่งเทวดาหรือมนุษย์ต่างดาว เพราะรู้ทั้งรู้ว่าซาตานเป็นสัญลักษณ์แห่งความไม่ละอายบาป
ความยึดมั่นผิดๆ มีทิฏฐิผิดๆ ย่อมติดตัวนักฆ่าตัวตายไปแม้กายนี้แตกดับแล้ว ฉะนั้นจึงมีโอกาสสูงที่เขาจะพบกับครูผู้สอนผิด สอนให้คิดตัดช่องน้อยแต่พอตัว แล้วก็หัวอ่อนเชื่อง่ายตามไปโดยไม่นึกอยากคัดค้านอีก
เดรัจฉานก็มีความเชื่อในการดำรงชีวิตของพวกมันอย่างหนึ่ง เปรตก็มีความเชื่อในการดำรงชีวิตของพวกมันอย่างหนึ่ง เทวดาก็มีความเชื่อในการดำรงชีวิตของพวกท่านอย่างหนึ่ง ในภพภูมิเหล่านั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้ เนื่องจากวิบากเก่าบันดาลร่าง บันดาลสิ่งแวดล้อม และบันดาลจิตสำนึกให้คงเส้นคงวาตั้งแต่เกิดจนตาย จึงมีความยึดมั่นและความเชื่อที่ยากจะมีอะไรมาปรับเปลี่ยน
แต่สำหรับภพมนุษย์นั้นถือว่าโชคดีกว่าสัตว์เหล่าอื่น เพราะร่างกายปรวนแปรได้เรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมปรวนแปรได้เรื่อยๆ มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ กับทั้งจดจำอดีตกรรมในชาติปางก่อนไม่ได้ เสมือนมีชีวิตอยู่แค่ชาติเดียวครั้งเดียว จิตสำนึกและความคิดอ่านจึงปรวนแปรไปได้เรื่อยๆเช่นกัน ฉะนั้นขอเพียงมีโอกาสเจอครูผู้นำทางถูก ทางตรง ทางสว่างมาล้างมิจฉาทิฏฐิเก่าๆออกจากใจได้ ก็จะหยุดโลภ หยุดฆ่าตัวตายหวังภพภูมิกันในทันทีที่เข้าใจถูก เข้าใจตรง เข้าใจกระจ่างสว่างแจ้งเต็มภูมิ
๓) คิดใช้การตายของตนสงเคราะห์ผู้อื่น
เป็นการฆ่าตัวตายที่มีโอกาสเห็นได้น้อยที่สุด คุณต้องเกิดเป็นมนุษย์หลายๆชาติจึงอาจเจอคนใกล้ตัวจบชีวิตตนเองเพื่อคนอื่นสักครั้ง เรื่องตัวอย่างที่มักยกมาอ้างอิงกันมากเห็นจะได้แก่ฤาษีตนหนึ่ง เห็นจากปากเหวว่าแม่เสือหิวกำลังจะกินลูกของตัวเอง จึงเกิดความเวทนา โดดเหวด้วยความตั้งใจสละร่างของตนเป็นอาหารให้แม่เสือ
ความจริงฤาษีไม่ได้อยากจะตาย ชนวนเริ่มต้นมาจากความเมตตาอยากสงเคราะห์ จึงไม่ใช่การ ‘ฆ่าตัวตายเพื่อตนเอง’ ควรเรียกว่าเป็นการ ‘ยอมตายเพื่อผู้อื่น’ มากกว่า กล่าวโดยสรุปคือถ้าสละเลือดเนื้ออันเป็นที่รักของตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ ไม่มีความคิดหนีทุกข์หรือหวังภพภูมิอื่นแอบแฝง ย่อมได้ชื่อว่าจิตมีมูลเป็นเมตตา
เมตตาจิตที่ยอมสละชีพเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นได้นั้น ต้องมีความห้าวหาญ หนักแน่นมั่นคงยิ่งยวด เมื่อกระแสเมตตาการุณย์บวกเข้ากับความหนักแน่นมั่นคง จึงรวมดวงเด่นเป็นฌาน หลังกายดับจึงเข้าสู่ความเป็นสหายแห่งพรหม ซึ่งอยู่เหนือกามภูมิ สูงส่งประณีตกว่าเทวดานางฟ้ามากมาย
ผู้ที่สละชีพเพื่อคนอื่นได้นั้น เกิดใหม่จะมีใจใหญ่ สามารถทำอะไรเพื่อคนอื่นโดยไม่เห็นแก่ตนเอง ทว่าก็ไม่จำเป็นต้องติดนิสัยสละชีพซ้ำๆทุกชาติ เนื่องจากแต่ละสถานการณ์เลวร้ายมีหนทางช่วยได้หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องทิ้งชีวิตพลีชีพเป็นทานเสมอไป
อย่างเช่นท่านฤาษีในตัวอย่างข้างต้นนั้น ท่านก็เห็นว่าตนเองมีอายุพอสมควร สั่งสอนสานุศิษย์มานานพอ ไม่มีอะไรข้างหลังให้เป็นห่วง ท่านจึงไม่อาลัยไยดีในโครงกระดูกฉาบเนื้อที่รอวันผุพังในเร็ววันนั้น แต่หากท่านยังหนุ่มแน่น ยังไม่บำเพ็ญตบะจนบรรลุฌานตามจุดมุ่งหมายใหญ่ของชีวิต ท่านก็อาจข่มความสงสารไว้ รักษาเลือดเนื้อไว้ทำประโยชน์ให้ถึงที่สุดเสียก่อน
ความจริงยังมีวิธีสละชีพอีกหลายแบบ ขอกล่าวเปรียบเทียบไว้ด้วยว่า การสละชีพเพื่อคนอื่นไม่จำเป็นต้องมีมหากุศลจิตเป็นจิตสุดท้ายเสมอไป อย่างเช่นบางท่านรู้ตัวว่าเป็นคนดัง ถ้าฆ่าตัวตายจะเป็นข่าวใหญ่เรียกร้องความสนใจจากประชาชน สามารถกดดันให้แก้กฎหมายผิดๆได้ ถ้าหากจิตยังเคลือบอยู่ด้วยความเศร้าหมอง มีความท้อใจกับกระบวนการยุติธรรมอยู่ อันนี้ก็ตั้งมั่นเป็นฌานแบบท่านฤาษีไม่ได้นะครับ ให้เป็นกุศลที่สุดก็ได้แค่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ ต่อสู้เรียกร้องความถูกต้องกันใหม่อีก
สรุปโดยรวมแล้ว การฆ่าตัวตายหรือการยอมตายเริ่มมาจากวิธีคิดที่แตกต่าง มีความเป็นไปได้หลากหลาย ไม่ใช่อะไรที่ตายตัว
คุณอาจเคยได้ยินมาว่าถ้าฆ่าตัวตายครั้งหนึ่ง จะต้องฆ่าตัวตายซ้ำอีก ๕๐๐ ชาตินั้น เป็นเพียงความเชื่อที่สืบๆกันมานะครับ ไม่ใช่ความจริงอันเป็นสากล โบราณาจารย์ท่านเพียงระบุไว้คร่าวๆเพื่อให้เห็นความน่ากลัวของการฆ่าตัวตาย ว่ามีผลให้จิตใจอ่อนแอและต้องปลิดชีพตนเองอีกครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้าเป็นกฎตายตัวว่าฆ่าตัวตายหนึ่งครั้งต้องฆ่าตัวตายซ้ำอีก ๕๐๐ หน อย่างนี้มิแปลว่าต้องเอา ๕๐๐ คูณเข้าไปในการฆ่าตัวตายแต่ละครั้งไม่มีที่สิ้นสุดหรอกหรือ?
ชีวิตเป็นของมีค่า ได้มาโดยยาก หากคุณไม่เห็นค่า ชีวิตก็ไม่ง้อและยินยอมให้ทำลายได้ง่ายๆ แค่เอามืออุดปากอุดจมูกเดี๋ยวเดียวก็ม่องเท่งแล้ว แต่การพยายามเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดานี่สิ คุณต้องสั่งสมบุญกุศลกันเหงื่อไหลไคลย้อยแรมปีเลยล่ะกว่าจะได้มา
ถาม – ในคัมภีร์กล่าวว่าพระโพธิสัตว์มักกำหนดจิตเคลื่อนจากสวรรค์ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งก็น่าจะเท่ากับฆ่าตัวตาย อย่างนี้ไม่เป็นบาปหรอกหรือคะ?
ขอให้พิจารณาว่าเทวดาโพธิสัตว์ท่านตั้งใจลงมาทำประโยชน์ ไม่ได้อยากหนีสวรรค์ด้วยความโกรธเกลียดภาวะของตน แล้วก็ไม่ใช่โลภหวังลงมาเสวยสุข หากเปรียบแล้วก็คงประมาณแพทย์ใหญ่ฐานะมั่งคั่ง มีคฤหาสน์ มีเบนซ์ มีชื่อเสียงเกียรติยศ คิดสละสมบัติทั้งหมดไปบำเพ็ญประโยชน์ รักษาคนไข้แถวบ้านนอกที่แร้นแค้นหาความสบายมิได้
การละจากที่สูงลงมาหาที่ต่ำนั้นเป็นเรื่องง่าย อย่างตอนนี้ถ้าคุณเอามีดจิ้มพุงด้วยความคิดอยากไปเกิดเป็นลิง กรรมจะจัดสรรให้คุณได้เข้าท้องลิงทันที เพราะสภาพของลิงต่ำกว่า ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ประกอบกิจอันเป็นกุศลยาก จะฝึกฝนอะไรก็ต้องมีมนุษย์ที่ฉลาดกว่ามาฝึกให้ แล้วจะเรียนรู้พัฒนาจิตใจเพื่อดับทุกข์ทางใจให้สนิทก็หมดสิทธิ์
ฉะนั้นจิตคุณต้องไม่ปกติแน่ๆ ถ้าเป็นมนุษย์ดีๆไม่ชอบ ชอบไปเกิดเป็นลิง จิตที่ไม่ปกตินั้นเองคือจิตที่ประกอบด้วยโมหะหรือความหลงเขลาหนาแน่น ไม่ชอบสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฝักใฝ่สิ่งที่เป็นโทษ เมื่อรนหาที่ รนหาทุกข์ได้อย่างนั้น ธรรมชาติก็ไม่ห้าม และอนุญาตให้เป็นไปตามประสงค์ทันที
แต่การละสวรรค์ลงมาสู่โลกมนุษย์ถือเป็นการเสียสละความสุขสบายอย่างล้นเหลือลงมาหาความทุกข์ โดยมีสติปัญญาพิจารณาเห็นความจริงแล้ว ว่าเสวยสวรรค์ทำให้เพลินเปล่า เสียเวลาเปล่า สู้มาบำเพ็ญบารมีเพิ่มในโลกมนุษย์ไม่ได้ เป็นประโยชน์สุขทางใจสำหรับตน แล้วก็เป็นประโยชน์สุขอย่างใหญ่สำหรับมหาชนได้อีกมาก เหล่าโพธิสัตว์มักรู้ตัวว่าตนเองมีกำลังที่จะสร้างสุขให้กับโลกได้กว้างขวางประมาณไหน เมื่อเล็งเห็นแล้วก็ไม่รีรอที่จะลงมาทำให้เกิดขึ้นจริง สมกับนิสัยเดิมที่ชอบช่วยคนมาหลายภพหลายชาติ
ธรรมชาติกรรมเก่าจะเป็นตัวกำหนดว่ามีสิทธิ์มาเข้าท้องใคร และต้องหลงลืมอดีต ไม่รู้เรื่องกรรมวิบากเหมือนมนุษย์เดินดินทั่วไป มีทุนมากกว่าคนอื่นหน่อยก็แค่ตรงที่โดยพื้นจิตพื้นใจจะผูกไว้กับความดีงาม อยากให้ตนเองมีค่า มีประโยชน์กับโลก เมื่อเห็นต้นเห็นปลายตลอดสายเช่นนี้ คุณคงหายข้องใจนะครับว่าการ ‘ฆ่าตัวตายของเทวดา’ เป็นบุญหรือเป็นบาป
ถาม – เคยได้ยินว่าการเข้านิพพานจัดเป็นการฆ่าตัวตายที่สมบูรณ์แบบ เพราะตายจริงและไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก เหตุใดจึงไม่มีโทษเหมือนอย่างการฆ่าตัวตายปกติครับ?
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจว่าการถึงนิพพานนั้น คือการ ‘ออกไปอยู่นอกสังสารวัฏ’ คือพ้นไปจากความมีความเป็น พ้นไปจากความสูงความต่ำ เป็นภาวะลอยบุญลอยบาปทิ้งทั้งหมด อยู่เหนือกุศลและอกุศลทั้งปวง
เปรียบเทียบคือเมื่อคุณตกอยู่ในห้วงฝัน ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของความฝัน ถ้าเลือกทางสว่างก็ได้ฝันดี ถ้าเลือกทางมืดก็ได้ฝันร้าย แต่หากตื่นจากฝัน ก็จะไม่ตกอยู่ใต้กฎเกณฑ์ดีร้ายใดๆในความฝันอีก
การถึงนิพพานอย่างพระอรหันต์ คือการ ‘ฆ่าอุปาทาน’ ทำลายความเห็นผิดว่ามีตัวตน จิตหมดความยึดมั่นใดๆ เป็นอิสระสมบูรณ์สูงสุด มีปัญญาเป็นมูล คือเห็นตามจริงแล้วว่ากายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ใคร ใจนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ใครเช่นกัน
การฆ่าตัวตายด้วยโลภะและโทสะจัดเป็นกรรมดำ การสละชีพเพื่อผู้อื่นด้วยเมตตาจัดเป็นกรรมขาว ส่วนการกำจัดความเห็นผิดเพื่อความไม่เกิดอีก จัดเป็นกรรมไม่ดำไม่ขาว คืออยู่เหนือความขาวความดำทั้งปวงครับ
ฟังเสียงเทปบันทึกการบรรยายกฎแห่งกรรม "ไปทัวร์นรก"
http://bannpeeploy.exteen.com/20070823/entry