vipassana - อธิษฐาน
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt
อธิษฐาน
1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้นๆ
เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน
ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร,
คำอธิษฐาน เช่น อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ
(ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)
2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

ดังนั้น การตั้งจิตอธิษฐาน คือการตั้งใจมั่นในสิ่งที่เรากระทำครับ เหมือนพระโพธิสัตว์ที่ท่านตั้งใจมั่นในการสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า การอธิษฐานจึงเป็นบารมีสำคัญข้อหนึ่งในบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ อานิสงค์ของบารมีข้อนี้ คือ ทำให้เราตั้งมั่น ไม่ออกนอกลู่นอกทางในการสร้างบารมีครับ การอธิษฐานจึงไม่ใช่การขอนู่นขอนี่ แต่เป็นการตั้งจิตเพื่อให้สิ่งที่เรากระทำลงไป ตรงตามเป้าหมายที่เราต้องการ คือ พระนิพพานและที่สุดแห่งธรรมครับ

การอธิษฐาน ถือเป็นบารมี 1 ใน 10 ทัศที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องสั่งสมให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ได้

การอธิษฐานนั้น ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนหางเสือเรือ ที่จะคัดท้ายนาวาชีวิตให้ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ถ้าปราศจากการอธิษฐานเสียแล้ว ชีวิตก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ได้แต่ลอยตามน้ำ ตามกระแสกิเลส ยากที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

ดังนั้นการอธิษฐานที่เรียกว่าเป็น อธิษฐานบารมีคือ การอธิษฐานเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ให้มีสิ่งดีๆ บังเกิดขึ้นในชีวิตเพื่อเกื้อหนุนในการสร้างบารมี สร้างความดี ได้ยิ่งๆ ขึ้นไป

สำหรับข้อดีของการอธิษฐานบารมีก็เหมือนกับที่ผมบอกข้างบน คือ เป็นหางเสือชีวิต เป็นการตั้งผังชีวิตในภพชาติต่อไป ว่าต้องการให้มีชีวิตเป็นอย่างไร หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ การอธิษฐานก็เหมือนกับการตั้งผังชีวิตที่ชัดเจนว่า การเกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ เราต้องการให้ชีวิตเราเป็นอย่างไร

แต่ สิ่งที่อธิษฐานจะสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งทีเราปรารถนานั้นยิ่งใหญ่เพียงไหน ถ้าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือการบรรลุธรรม ก็ต้องใช้บุญมาก การทำบุญเพียงนิดๆ หน่อยๆ ไม่อาจจะทำให้เราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือบรรลุธรรมได้ เราจำเป็นต้องสั่งสมบุญบ่อยๆ แล้วอธิษฐานตอกย้ำในเรื่องเดิม สิ่งที่เราปรารถนาจึงจะสำเร็จ ถ้าชาตินี้ยังไม่สำเร็จ สิ่งทีเราอธิษฐานเอาไว้ก็จะเป็นเชื้อให้ภพชาติต่อไป เมื่อเรามาเกิดสร้างความดี สิ่งที่เราอธิษฐานเอาไว้ในชาติก่อนจะกระตุ้นเตือนให้เราอยากจะสร้างความดี เพิ่มขึ้น แล้วก็มาอธิษฐานในสิ่งที่ยังไม่สมหวังในชาติที่แล้ว

ถ้าจะ ให้อุปมา บุญเปรียบเสมือนเงิน สิ่งที่เราปรารถนาเปรียบเสมือนสิ่งของที่เราอยากได้ ถ้าสิ่งที่เราอยากได้ราคายิ่งแพง (คำอธิษฐาน) เราก็ต้องยิ่งเก็บเงินมากๆ (มีบุญมากๆ) เพื่อที่จะได้มีเงินไปซื้อของสิ่งนั้น (คำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล)

แต่ ผู้ฉลาดในการลงทุน แทนที่เอาแต่เก็บเงินทีละนิดๆ จนมีเงินพอไปซื้อของ ก็จะเอาเงินไปลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ ให้มีทางมาของเงินมากขึ้น จะได้ซื้อของที่อยากได้แต่ราคาแพงได้เร็วขึ้น ถ้าจะให้อุปมาก็เหมือน พอเราทำบุญแล้วเราอธิษฐานให้เราได้มี รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม คือ เราอธิษฐานให้บุญที่เรามีส่งผลให้เรามีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป (คือ การลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ) แล้วเราก็นำรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป มาสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่าภพชาติก่อน (คือ เรามีทางมาแห่งเงินมากขึ้น เหมือน เปลี่ยนฐานะจากมนุษย์เงินเดือนเป็นเจ้าของกิจการ) แล้วเราก็ตั้งจุดหมายปลายทางให้ชัดเจนว่า ให้มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม (คือ สามารถซื้อสิ่งของราคาแพงทีเราอยากได้)

ดังนั้นคนในยุคปัจจุบัน ที่บอกว่า ทำบุญแล้วอธิษฐานเป็นการโลภนั้น เค้าไม่เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตในวัฏฏสงสาร แต่ถ้าเราทำบุญแล้วอธิษฐานในสิ่งที่ผิด บุญก็จะบันดาลให้สำเร็จเหมือนกัน แต่จะทำให้ชีวิตแย่ลง เพราะเราจะหลงไปสร้างบาปเพิ่มเติมได้ครับ

คำว่า "อธิษฐาน" เป็นคำศัพท์บาลี ท่านหมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า หมายถึง "การตั้งความปรารถนา มุ่งที่จะให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา" โดยกล่าวออกไปเป็นวาจา หรือ นึกอยู่ในใจต่อหน้าพระพุทธรูป พระพรหม เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเชื่อมั่น เคารพ สักการะบูชา ขอให้ช่วยเหลือ ดลบันดาลให้ตน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนได้ในสิ่งที่พึงปรารถนา เช่น ขอให้ลูกสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยได้ ขอให้ตนเองหายเจ็บป่วย พ้นจากความทุกข์ทรมานจากโรคาพยาธิ ขอให้ถูกล็อตเตอรี่ เป็นต้น การอธิษฐานในลักษณะนี้ ผู้อธิษฐานยังได้เสนอให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในลักษณะถวายเครื่องสักการะที่เข้าใจว่า ท่านชอบเป็นพิเศษ ที่เรียกว่า "บนบาน ศาลกล่าว" เช่น การอธิษฐานกับท่านท้าวมหาพรหม ที่หน้าโรงแรมเอราวัณ ผู้อธิษฐานก็จะ(ให้สิน)บนด้วยการถวายช้างจำลองเมื่อสิ่งที่ตนได้อธิษฐานไว้ ประสบความสำเร็จสมความปรารถนาเป็นต้น


แต่คำว่า "อธิษฐาน" ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้เน้นไปในเรื่องการบำเพ็ญคุณธรรม คือ ความดีที่เป็นบุญกุศลเท่านั้น จึงจัดเป็นบารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความตั้งใจจริง มีความเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะมุ่งหน้า ค้นคว้าหาแก่นแท้ที่สุดของความเป็นจริง คือ "ปรมัตถธรรม" ที่เรียกว่า "อธิษฐานบารมี" ซึ่งเป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญมาก่อนที่จะทรงบรรลุ พระสัมโพธิญาณเช่นกัน นอกจาก "อธิษฐานบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กันเสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "สัจจบารมี"
"สัจจบารมี" เป็นอีกบารมีหนึ่งในทศบารมี คำว่า "สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์", "จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง" ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง"
"สัจจบารมี" จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง"

มื่ออธิษฐานและตั้งใจทำตามอธิษฐานให้ได้ ก็จะกลายเป็นสัจจะบารมีต่อมา
สำหรับ บารมีระดับต้น ก็อธิษฐานอะไรก็ได้ที่เป็นกุศลเช่นที่คุณ wit กล่าวแนะนำไว้ค่ะ เช่น อธิษฐานจะตักบาตรทุกเดือน, ถือศีล 8 ทุกวันพระ, ภาวนาทุกวัน ฯลฯ
หรือจะตั้งเงื่อนไขที่ละเอียดขึ้นก็ได้เช่น เวลาภาวนาก็อธิษฐานจะไม่ขยับกายเลยตลอด 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ถ้าเข้าระดับอุปบารมี ก็อธิษฐานตั้งใจมั่นในการการสละอวัยวะเป็นทาน/เพื่อรักษาศีล/เนกขัมมะ ฯลฯ
พอเข้าระดับปรมัตถบารมี ก็อธิษฐานตั้งใจมั่นในการสละชีวิตเป็นทาน/เพื่อรักษาศีล/เนกขัมมะ ฯลฯ

มื่ออธิษฐานและตั้งใจทำตามอธิษฐานให้ได้ ก็จะกลายเป็นสัจจะบารมีต่อมา
สำหรับ บารมีระดับต้น ก็อธิษฐานอะไรก็ได้ที่เป็นกุศลเช่นที่คุณ wit กล่าวแนะนำไว้ค่ะ เช่น อธิษฐานจะตักบาตรทุกเดือน, ถือศีล 8 ทุกวันพระ, ภาวนาทุกวัน ฯลฯ
หรือจะตั้งเงื่อนไขที่ละเอียดขึ้นก็ได้เช่น เวลาภาวนาก็อธิษฐานจะไม่ขยับกายเลยตลอด 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ถ้าเข้าระดับอุปบารมี ก็อธิษฐานตั้งใจมั่นในการการสละอวัยวะเป็นทาน/เพื่อรักษาศีล/เนกขัมมะ ฯลฯ
พอเข้าระดับปรมัตถบารมี ก็อธิษฐานตั้งใจมั่นในการสละชีวิตเป็นทาน/เพื่อรักษาศีล/เนกขัมมะ ฯลฯ
 
Heute waren schon 60 Besucher (63 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden