vipassana - วิธีเจริญภาวนา
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt
วิธีเจริญสมาธิภาวนา
โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วิธีเจริญสมาธิภาวนาตามแนวการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มีดังต่อไปนี้
. เริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว หรือรู้ ตัวอย่างเดียว
รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้
รู้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม
เมื่อ รักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ
จาก นั้นค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีกจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป
ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน พฤติแห่งจิตโดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการ เจริญจิตครั้งต่อๆ ไป
ในกรณีที่ไม่สามารทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า พุทโธหรือ คำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต
พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง
ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่ เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว
เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้
ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที
เมื่อ เสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ
เจตจำนงนี้ คือ ตัว ศีล
การบริกรรม พุทโธ เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป
แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้ง ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจนและความไม่ขาดสายของพุทโธจะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ
เจต จำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่ามีลักษณาการประหนึ่งบุรุษผู้หนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่ คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขน พร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย
เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเลย
เมื่อ จิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อยๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบและคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึก และ พฤติแห่งจิตที่ฐานนั้นๆ
บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า
ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ
. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว
ให้ สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงจิต)
ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสามคือ ราคะ โทสะ โมหะ
. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไป ก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิต ให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)
ระวังจิตไม่ให้คิดถึงเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖
. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป
เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อยๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ
คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด
. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต
เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติ สังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติแห่งจิต ได้อย่างละเอียดละออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่าเกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่งหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้
คำว่า
แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง
. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใดๆ ทั้งสิ้น จิตก็จะอยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น
เรียกว่า
สมุจเฉทธรรมทั้งปวง
. ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด
เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึกถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้นก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า พ้นเหตุเกิด
. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร
เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละ มันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

เมื่อจิตว่างจาก
พฤติ ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิต นั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซึมซาบอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน
เมื่อ จิตกับผู้รู้เป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง จิต ก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน

โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้นเป็นแบบ ปริศนาธรรมมิ ใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้นคำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า
พฤติของจิต แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น
คำว่า
ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต เหล่า นี้ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่าย เข้าใจง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่
ท่าน ผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้
พฤติแห่งจิต อยู่ ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการ ปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลังเพราะคำว่า มรรคปฏิปทา นั้น จะต้องอยู่ใน มรรคจิต เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย
การ เจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วยวิสุทธิศีล วิสุทธิมรรค พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้



วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิดใน 3 โลก มีดังนี้


1. เทวโลก พรหมโลก
2. มนุษย์โลก สัตว์เดรัจฉาน
3. นรกโลก สัตว์นรก เปรต อสูรกาย


จิตของคนสัตว์ เทพพรหม ก็อยู่ในความว่าง
ความว่างนั้นก็คือ ว่างจากขันธ์ 5 ของคน ขันธ์ ทิพย์ของเทพพรหม ขันธ์ของสัตว์นรกเป็นขันธ์หยาบกว่าเทพเทวดา เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน


จิตของคน คิดดูให้ดี จิตของคนก็อาศัยอยู่ในความว่าง ความว่างนั้นก็คือ ขันธ์ 5 มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร ความคิด วิญญาณ คือ ระบบประสาททั่วร่างกาย ในไม่ช้าร่างกายก็แก่เฒ่าแตกสลาย เป็นความว่างเปล่า สูญสลายหายไป เหลือแต่จิตที่มาอาศัยขันธ์ 5 ไม่สูญสลาย
ถ้าจิตเราเข้าใจรู้เห็นว่า ทุกสิ่งใด ๆ ในโลก กายสัตว์ กายคน กายผี กายเทวดา กายพรหม มีแต่ความว่างเปล่าในที่สุด เพราะมันเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในทางที่สูญสลายล้มหายตายจากกันหมดเป็นอนัตตา หรือ สูญญัตตาแล้ว จิตที่รู้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงก็เป็นจิตนิพพาน คือ หมดจากความยึดติดในสิ่งใด ๆ ใน 3 โลกนั้น ดังที่องค์พระตถาคตเจ้าตรัสสอนท่านพราหมณ์โมฆราชว่า


ท่านจงเป็นคนมีสติระลึกรู้และพิจารณาโลก โดยให้มองดูโลกทั้งหมดเป็นความว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าเป็นตัวตนของเราเสียทุกเมื่อเถิด จิตของท่านโมฆราชจึงจะพ้นบ่วงเวียนว่ายตายเกิดได้ ด้วยอุบายคิดพิจารณาง่าย ๆ แบบนี้
ท่านโมฆราช ได้บรรลุพระอรหัตตผลทันที เพราะท่านมีสมาธิ ปัญญาดี อยู่แล้ว
เวลา ที่จะทำความดีในโลกมนุษย์มีเหลืออยู่น้อยมาก ทุกวินาทีมีค่าสำหรับทุกคน ถ้าไม่รีบเร่งทำจิตให้สะอาดเบิกบาน ก็จะหมดโอกาส เพราะ อายุขัยใกล้จะหมด ชีวิตคนเป็นของน้อย 100 ปี ในโลกมนุษย์เท่ากับ 1 วัน ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
คน ที่เขาไม่เคารพบูชาพระรัตนตรัยก็เป็นเรื่องของเขา เราไม่ต้องไปสนใจใครทั้งสิ้น ถ้าเขาเห็นว่าเราดี เขาก็เข้ามาหาเอง ส่วนร่างกาย ทรัพย์สมบัติพัศสถานนั้น เอาไปด้วยไม่ได้แม้แต่นิดเดียว เราไปมัวห่วงใยอะไรกันนักหนา อย่าไปห่วงความดี ความเด่นของตนเอง เราทำเพื่อพระบรมศาสดา เรื่องร่างกายสังขารนั้นเราไม่ต้องไปห่วงมัน ร่างกายมันไม่มีอะไรที่จะทำให้เราดีหรอกลูก มีแต่เสื่อมโทรม สภาพจิตที่เราไม่ติดใจในร่างกายนั่นแหละ มันจะติดตามจิตเราถึงแดนทิพย์นิพพาน ทั้งร่างกาย ขันธ์ 5 สมบัติพัศสถาน ที่ลูกคิดว่าเป็นของลูกนั้น เป็นของสมมุติกันขึ้นมาทั้งนั้น ร่างกายที่ลูกรักเคารพนับถือตามใจมันมากเหลือเกิน ก็เป็นของเน่าเหม็น เปื่อย ๆ มันไม่มีอะไรดีขึ้นมาเลย
การทำงานพระพุทธศาสนา ถ้าใครเขาไม่เห็นดีด้วยเจ้าก็เมตตาเขาไว้ ช่างเขา เราเมตตาอย่างเดียวพอ ให้คิดว่าเขายังไม่รู้เท่าถึงการณ์ ยังไม่มีบารมีพอที่จะรับธรรมสิ่งตรงนี้ได้ สิ่งที่ลูกทำอยู่นี้ไม่ใช่ของง่ายนะ มาถึงขนาดนี้แล้ว เจ้าจงทำจิตของเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ใสขาวเป็นเงางามดุจเพชรล้ำค่า ยกจิตออกจากร่างกายไปเฝ้าองค์พระศาสดาที่พระนิพพานตลอดเวลายิ่งดี ลูกทำแบบนี้จิตลูกเหนือกว่าเพชรที่มีค่าอันสูงแล้ว แผ่เมตตาจิต อธิษฐานแผ่ไปกับฉัพพรรณรังสี รัศมี 6 ประการ ของพระพุทธเจ้า ไปยังสรรพสัตว์ทั้ง 3 โลกขอให้ได้รับบุญกุศลจากเรา เราเมตตาสรรพสัตว์ เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เขารับทุกข์ในนรก ฝากท่านพระยายม ท่านไปกับบางจิตวิญญาณของคนที่ยังรับไม่ได้ และองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านได้ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนทั้งหมด เทพยดา อารักษ์ เทพ พรหม ยม ยักษ์ พระอินทร์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา ตลอดจนเทพยดาอารักษ์ปกปักษ์รักษาลูก ขอให้ท่านเสด็จมาเป็นกำลังใจแก่ลูกทุก ๆคนที่ปรารถนาดี ต้องการทำงานเพื่อพระศาสนา ช่วยคนให้เข้าถึงธรรมและมีความประสงค์ที่จะไปสู่ที่ปรารถนาของลูก คือ แดนทิพย์พระนิพพานด้วยกันทุกคน
เวลานี้โลกมนุษย์วุ่นวายมากที่สุด พระสงฆ์ก็ทำไม่ดี ทำให้ประชาชนไม่เลื่อมใส เอาผ้าจีวรสัญลักษณ์ของพระอรหันต์มาไปใส่ แต่จิตใจเลวทรามยิ่งกว่าสัตว์ องค์พระตถาคตท่านทราบสัมผัสจิตทุกคนที่เป็นพระ การที่ลูกมากราบทูลขอพรให้ได้ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนามาก ๆ นั้น ลูกต้องเอาไปปฏิบัติเอาเอง สิ่งใดก็แล้วแต่ลูกต้องทำเอาเอง ทำจิตเยือกเย็นด้วยเมตตา มีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งก็มีอยู่ครบในจิตใจของลูก อารมณ์ไม่ดีตัดออกไป ด้วยการนึกเอาพระพุทธเจ้ามาไว้ในจิต เราไม่ต้องทะเยอทะยานเหนือกว่าใคร เราทำเพื่อประชาชนทั่วไป ทำจิตให้มั่นคง ไม่วอกแวกมั่นคงในจิตพุทธ จิตของพุทธะที่มีอยู่แล้ว แต่ดั้งเดิมก่อนมาวนเวียนว่ายตายเกิด เป็นบารมีเต็มของเรา คือ ความตั้งใจที่จะก้าวไป ข้างหน้าในสภาวะที่ไม่มี เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ อมตะทิพย์นิพพาน สิ่งใดที่องค์พระตถาคตเจ้าทำเอาไว้ให้ ขอให้ลูก ๆ พุทธบุตรทุกคนได้รับสิ่งปรารถนาตามที่พระพุทธองค์ท่านสำเร็จในธรรมะใด ก็ขอให้เป็นความสำเร็จของลูก ๆ ทุกคน


โลกนี้น่าอยู่นักหรือ ?


ถามตัวเองดูทุกวัน ความจริงโลกไม่ได้วุ่นวาย มันเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของธรรมชาติ ถ้าจะให้โลกหยุดวุ่นวายก็ต้องทำจิตของเราให้นิ่ง ๆ ไม่ส่ายไปกับโลกภายนอกจิตตนเอง คือ หยุดจิตไม่ให้วุ่นวายไปตามโลก


พระอริยเจ้า พระอรหันต์เจ้า ท่านต้องพิจารณาไตรลักษณ์อยู่เสมอ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ เปลี่ยนแปลง มีปัญหาให้ซ่อมแซมแก้ไข แล้วก็แตกสลายหมด จะบังคับก็ไม่ได้ ดูที่ตัวเราเองในความตาย มีอยู่ทุกขณะทั้ง กายและอารมณ์ใจ ในที่สุดก็ไม่มีใครหลงเหลือ เกิดมาเท่าไร ก็ตายหมดเท่านั้น จิตจะเลิกยึดติดกับร่างกายที่แตกสลายตลอดเวลา จิตจะแช่มชื่นเบิกบาน เพราะจิตไม่ได้ตายไปด้วย
ก่อนพูด ก่อนทำควรใช้สตไตร่ตรองให้ดี อย่าได้พูดเตือนภิกษุ จะดี จะดีชั่วช่างเขา ดูจิตของเราเองเป็นดีที่สุด พระมีหน้าที่ตักเตือนกันเอง เราเป็นคนก็ให้ดูทุกคนในโลกตามความเป็นจริง คือ เห็น คน สัตว์ สกปรก แปรปรวน สูญสลาย เป็นไตรลักษณ์ ถ้าสมมุติว่าสงฆ์ที่ถูกเราเตือน ท่านโกรธเรา ท่านก็จะบาปหนัก ถ้าเรามัวแต่ดูจิตคนผู้อื่นว่า เขาสูงเขาต่ำกว่าเรา จิตเราจะมีตัวมานะจริง ๆ แล้ว จิตของคน สัตว์ เทพพรหม อยู่ในความว่าง สุริยจักรวาล นรก สวรรค์โลก พรหมก็เป็นจิตที่ว่างจากกิเลสตัณหาอุปาทาน อกุศลกรรมมาก่อน มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองมาแปดเปื้อน ตอนที่มามีกายสังขาร มีทิพย์สังขารของการเป็นเทวดา พรหม ก็ลุ่มหลงกันไป โดยความไม่รู้จริง นึกว่าเป็นอัตตา คือ นึกว่าเป็นตัวตนจริง อย่างนี้ผิด เป็นความหลง
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา


เห็นธรรม หมายความว่ามองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างใด ๆ ในโลกก็ให้รู้ว่า สักแต่ว่าเห็น เป็นแต่สิ่งสมมุติรูปลักษณ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เราเขา ไม่มีในตัวเขาตัวเรา จิตไม่ใช่กาย กายก็ไม่ใช่ของจิต ถึงแม้ว่ามีร่างกายก็เหมือนกับว่าไม่มี เพราะไม่ช้า คน สัตว์ ก็ต้องตายสูญเปล่าสลายไปสิ้น


เห็นเรา คือ เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ในจิตของเรา เห็นจิตเราว่าเป็นจิตว่างจาก โลภ โกรธ หลง จิตไม่มีอุปาทาน ไม่มีตัณหา ความอยาก เห็นจิตเดิมแท้ของเราว่าเป็นจิตสะอาดสดใสชื่นบาน อิสระเสรีจาการยึดติดในกายสกปรก แปรปรวนสูญสลาย จิตมีอิสระภาพ กลายเป็นจิตของพุทธะ เป็นจิตประภัสสร เป็นจิตพระนิพพาน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ตาย


รูป คือ สิ่งที่จับต้องได้ ตามองเห็นได้ คือ ผม ขน เล็บ เนื้อ กระดูก ฟัน หนัง ม้าม ตับ ไต ปอด
นาม คือ สิ่งที่มือจับต้องไม่ได้ นั่นได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ระบบประสาททุกส่วนในร่างกาย เวทนา ก็คือ ความรู้สึกดี ชั่ว ความรู้สึก สุข ๆ ทุกข์ ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉย ๆ
ของเหล่านี้ เที่ยงแท้แน่นอน มีอยู่ตลอดไปหรือไม่ เมื่อมันไม่คงที่แน่นอน เจ้าไม่ควรตามดูมันให้เสียเวลา เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เอาจิตไปสนใจสิ่งเหล่านี้ในตัวเรา ตัวเขา จะเกิดคุณประโยชน์อันใดเล่า ถ้าจะตามดูมัน ก็ให้พิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง แปรปรวน สัญญา ความจำ สังขาร ความคิดปรุงแต่ง วิญญาณ โสตประสาท พร้อมกับร่างกาย รวมกัน เรียกว่า ขันธ์ 5 ให้มองร่างกายเป็นซากเน่าศพเดินได้ พูดได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้สูยสลายในที่สุด


อนัตตา ก็คือ ตาย ตายจากอะไร ? ตายจากกองขันธ์ 5 คือ ขันธ์ 5 มันตายไป เมื่อธาตุลมคือ ลมหายใจหมด ธาตุไฟก็ดับ เมื่อธาตุไฟมันดับ ธาตุน้ำก็ละลาย เมื่อธาตุดินถูกธาตุน้ำละลายก็กลายเป็นดินที่เปื่อยเน่า ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง เหม็นยิ่งกว่าซากศพใด ๆ ในโลกเสียอีก เจ้าคิดหรือว่า ร่างกายเป็นของสะอาด หากเจ้าคิดเช่นนี้ พ่อบอกเจ้าได้ว่าเจ้ามีจิตเป็นมิจฉา จิตคิดผิดเป็นอวิชชา ความไม่รู้ของจริงปิดกั้นจิตลูกไว้
กายนี้ตั้งแต่แรกเกิดไม่เคยมีความ สะอาดเลย แม้แต่เพียงหลังจากที่พวกเจ้าชำระล้างร่างกายด้วยสารเคมีที่คิดค้นประดิษฐ์ กันมาก็หาได้สะอาดแท้จริงไม่ แม้พวกเจ้าออกจากห้องน้ำมาไม่ถึง 1 นาที มันก็สกปรกแล้ว เพราะอะไรเล่า ? เพราะเชื้อรา เชื้อโรค แบคทีเรีย ในอากาศก็มากมี พวกเจ้าออกจากห้องน้ำมามันก็เกาะติดตัวเจ้าเสียแล้ว แต่เจ้ามองไม่เห็นมันเท่านั้นเอง อีกอย่างในกายเจ้ามี น้ำเลือด น้ำหนอง มันข้น อาหารเก่า อาหารใหม่ ตับ ไต ไส้พุง เจ้าล้วนเป็นของเหม็น คิดดู ลมจากท้องจากทวารหนักก็ดี ออกมาแล้วหอมหรือเหม็นล่ะ มันเหม็นใช่ไหม เมื่อมันเหม็นก็พึงพิจารณารู้ได้ว่า ของในร่างกายสกปรกสิ้นดี เมื่อมันสกปรก เจ้ายังจะเอามันอยู่รึ ถ้าหากพวกเจ้ายังอยากเอาร่างกายที่เหม็นสกปรกนี้ ชื่อว่า พวกเจ้าปรารถนาทุกข์ เข้าใจหรือ ไม่
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โปรดสั่งสอนเวไนยและจิตของท่านผู้มีบารมีสูง คือ เทพ พรหม และคนมีบุญมานับหลายพันปี ทางสวรรค์พรหม ที่มีบุญบารมี บ้างก็ฟังแล้วถึงธรรมแล้วก็มี บ้างก็ยังสงสัยคลางแคลงและลังเล บ้างก็ไม่ถึงวาระ บุญเก่า บุญใหม่ ยังไม่บรรจบ องค์พระผู้มีพระภาคหวังว่า เมื่อใดที่พระธรรมคำสอนของพระตถาคตเผยแพร่ออกไป พวกเราชาวพุทธจะปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมชั้นต้นได้ดี คือ เข้าถึงพระโสดาบัน
ขอให้พุทธศาสนิกชนเดินเข้าสู่สายธรรม กอดคอกันช่วยเหลือกันไป
ทุกข์ เกิดจากอะไร ทุกข์เกิดจากตัณหา ความอยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอ่อนนุ่ม เมื่อเจ้ามีความอยาก เจ้ายังต้องการมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในวัฏฏสงสาร น่ากลัวไหม ?
เจ้าเจ็บ เจ้าทุกข์ไหม ? เจ้าแก่ เจ้าไม่สบายใจไหม เมื่อจะตายเจ้าก็ทุกข์แสนสาหัสจากกัน พวกเจ้าอยากเกิด อยากเจ็บ อยากแก่ อยากตายอยู่อีกไหม หากเจ้ายังอยากมีร่างกายแบบนี้อีก องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่มาสอนให้เสียเวลาพระองค์ท่าน หากเจ้ามีจิตคิดจะหลุดพ้นจากเทวฑูต เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้ง 4 องค์ สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสสอนให้พิจารณาดู สังเกตหรือวิจัยตรวจตราดูร่างกายให้เห็นเป็นของเน่า สกปรก แปรปรวน ไม่ทรงตัวอยู่เสมอ ทุกเวลา เป็นการตรวจย้ำจิตตนเองไม่ให้หลงรักร่างกายตนเองอีกต่อไป
แล้วรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 ให้บริสุทธิ์ เอาจิตใจเราจับพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา เคารพพระรัตนตรัยอย่างจริงแท้ เมื่อทำได้ พวกเหล่าพุทธบริษัทคือลูกของพระพุทธองค์ทั้งหมด ก็จะทำให้องค์สมเด็จพระตถาคตหมดภาระและโมทนาสาธุ และพระพุทธองค์ทรงหวังว่าต่อไปวันหน้า พุทธบุตร คือ พวกเราจะเป็นกำลังสำคัญอันดีต่อพระพุทธศาสนาต่อไปจนครบ 5000 ปี ขอให้พุทธบริษัทบำเพ็ญธรรมให้ดี เมื่อสนุกก็ขอให้รีบเร่งรู้ พิจารณา กาย เมื่อทุกข์ยากลำบากใจก็ให้รู้พิจารณาร่างกาย สุข ทุกข์ คือ ธรรมดาในโลก พุทธบริษัทควรปล่อยวางในกายขันธ์ 5 แล้วลูกจะเข้าใจเอง หากเข้าใจแล้วไม่ยาก ก็แค่ตัดร่างกายตัวเดียว
องค์สมเด็จพระชินสีห์ศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรัก เมตตา เป็นห่วงพุทธบริษัททุกท่านเสมือนลูกของพระองค์ท่านเอง องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเตือนไม่ให้ประชาชนเบียดเบียนเลือดเนื้อชีวิตสัตว์ อื่นเอามาเป็นอาหาร ฆ่าสัตว์จะเป็นบาป มีนรกเป็นที่ไป หากพวกพุทธบริษัทกินเจได้ก็เป็นกำลังเมตตาธรรม ทำให้ก้าวหน้าในพระธรรม ซึ่งองค์พระตถาคตกำลังรอคอยพวกพุทธบุตรของพระองค์ท่านอยู่ที่ประตูพระนิพพาน ตลอดเวลา เพียงแต่ขอให้พุทธบริษัททั้ง 4 มีภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา รีบเร่ง บำเพ็ญธรรม เดินทางเข้าสู่อริมรรค อริยผลชั้นต้นไม่ยากเลย เด็กทำได้ ผู้ใหญ่ทำดี ผู้ใหญ่คบกิเลส ขันธ์ 5 มานาน แต่ก็มีกำลังใจดี เข้มแข็งกว่าเด็ก บารมี 10 ให้กระทำบำเพ็ญ ปัญญาบารมีเป็นสิ่งสูง ทานบารมีจะตามมา
ถ้ามีปัญญาเห็นอานิสงส์ของทานบารมี เมื่อมีทาน ปัญญามันก็เกิดเมตตา มันก็มีอีกทั้ง 10 บารมีก็ตามกันมาเอง ถ้ามีบารมีตัวใดตัวหนึ่ง ตัวอื่น ๆ ทั้ง 9 บารมีก็เพิ่มขึ้นมา ก็ตามกันมาเอง ดังนั้นขอให้เร่งบำเพ็ญธรรมพิจารณาร่างกายเป็นของเน่าเหม็น อย่าคิดว่ายังอยู่อีกนาน ทุกคนมีความตายแน่นอน ไม่มีใครกำหนดรู้วันตายว่าจะตายได้เมื่อไร ตราบใดที่จิตของพุทธบริษัทยังไม่เป็นวิมุตติ ยังไม่หลุดพ้นจากขันธ์ 5 ก็ยังต้องเวียนเกิดเวียนตาย ทุกข์มรมานอย่างนี้
บางคนก็ปฏิบัติดี องค์พระบรมสุคต คอยสอดส่องดูพุทธบุตรทุกคนอย่างเป็นห่วงเป็นใย บางคนก็ปฏิบัติไม่ดี บ้างก็ประพฤติไม่ตรงตามพระธรรมคำสอนเพี้ยนไปตีความหมายคำสอนผิดก็มีมาก คิดว่าตนเองเป็นปราชญ์ นักปราชญ์ทางโลก หลงทางไปนรกก็มีมาก ทั้งคน ทั้งสมมุตสงฆ์ บางคนก็มาลองภูมิปัญญาก็มีมาก ทุกคนมีสิทธิสงสัย แต่ในความสงสัยนั้นควรคิดก่อนแล้วจึงสงสัย
คำสอนนี้ไม่จำเป็นต้องกล่อม เกลา เขียนก็เขียนไปเลย เพิ่มเติมได้แต่ต้องถูกต้องตามหลัก ตามทำนองคลองธรรม ถูกตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ได้เจาะจงสอนใครโดยเฉพาะ แต่เป็นพุทธประสงค์จะให้พุทธบริษัทถ้วนทั่วไปได้อ่าน ได้คิดพิจารณา เพื่อให้ประชาชนได้เดินเข้าสู่อริยมรรค อริยผล ไม่ว่าชนชาติไหน ศาสนาไหน พระองค์ท่านทรงรักเป็นห่วงใยเท่ากันหมด
กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ อนุสสติเป็นสิ่งสำคัญ ให้ตามระลึกถึงไว้อย่างสม่ำเสมอ


1. กายคตานุสสติ มองเข้าไปให้มาก ดูร่างกายคนสะอาด น่ารักตรงไหน มีแต่สกปรก เป็นทุกข์เป็นโทษ


2. ควบกับอสุภกรรรมฐานให้ดี กายนี้ยังไม่ตายก็เหม็นเน่าเหมือนซากศพหรือส้วมเคลื่อนที่


3. จับอานาปานุสสติกรรมฐานให้ยิ่งแล้ว เอาจิตจับลมหายใจเข้าออก ระงับความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล


4. เจริญมรณานุสสติกรรมฐานเข้าไป คนเกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น
ตัวนี้แหละพวกลูก ๆ พุทธบริษัท ทำได้จนเป็นฌานก็คือ อารมณ์ชินนั่นเอง มันก็ย่อมถึงความเป็นอริยมรรค อริยผลได้เร็วขึ้นแน่นอน
ขอให้ลูกเหล่าพุทธบริษัท จงเจริญในธรรมที่พระตถาคตเจ้าทรงถึงแล้วยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ.


นวคิดเกี่ยวกับจิต
 

 

                    พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต  ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก  กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ  แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี  ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต

(ประพจน์  อัศววิรุฬหการ และ สุวรรณา  สถาอานันท์, “จิตใจ” ใน คำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย : 2537 หน้า 313)

 
ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา จิตเป็นจุดเริ่มต้น เป็นจุดรวม และเป็นจุดสูงสุด คือ จิตที่หลุดพ้นแล้วของพระอริยะ  ดังปรากฏในพระธรรมบทว่า

 

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา 

มโนเสฏฐา มโนมยา

มนสา จ ปทุฏเฐน

ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ

จกฺกํ ว วหโต ปทํ

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า

มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว

พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมชั่ว)

เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลนั้นไป

ดุจล้อหมุนตามรอยเท้าแห่งโคที่นำแอกไปอยู่ฉะนั้น

 

มนสา จ ปสนฺเนน 

         

ภาสติ วา กโรติ วา   

        

ตโต นํ สุขมเนฺติ     

       

ฉายาว อนุปายินี  

   

ถ้าบุคคลมีใจดีแล้ว

พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมดี)

เพราะความดีนั้น สุขย่อมตามบุคคลนั้นไป

ดุจเงาติดตามตนฉะนั้น
                                   (ขุ. ธรรมบท 25 / 15)

 

          ลักษณะสภาวะการเกิดของจิตมี 4 อย่าง (บุญมี  เมธางกูร และ วรรณสิทธิ์  ไวทยะเสวี 2530 : 28) คือ

 

 

วิชชานนลกฺขณํ           มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคมรสํ                 มีการเกิดก่อนและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง หรือทำให้ดวงหนึ่งต่อดวงหนึ่งเกิดติดต่อกันเป็นกิจ

สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ    มีการเห็น การได้ยิน ฯลฯ สืบต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นความปรากฏของจิต

นามรูปปทฏฺฐานํ         มีนามและรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น

 

                    จิตเป็นปรมัตถธรรมประเภทหนึ่ง มีสามัญลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น  จิตนี้แม้จะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน เพียงแต่แสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง  แต่มีอำนาจพิเศษ หรือเรียกว่า ความวิจิตร ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป 6 อย่าง (พระครูสังวรสมาธิวัตร 2521 : 12-15) คือ

                   

1.    วิจิตรด้วยการกระทำ  หมายความว่า วัตถุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประดิษฐ์กรรมอันวิจิตรตระการตามีภาพลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องยนต์กลไกทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นศิลปวิทยาที่เกิดขึ้นด้วยจิตของนายช่างทั้งสิ้น

                   

2.  วิจิตรด้วยตนเอง  หมายถึง จิตทำจิตเอง ให้เป็นกุศลบ้าง เพราะปราศจากโลภ โกรธ หลง เป็นบาปอกุศลบ้าง เพราะประกอบด้วย โลภ โกรธ หลง หรือเป็นผลของบุญผลของบาป ที่เรียกว่า วิบากบ้าง หรือเป็นจิตของพระอรหันต์ที่เรียกว่ากิริยาจิตบ้าง ยิ่งกว่านั้นยังแบ่งบุคคลให้ต่างด้วยเพศ ต่างด้วยสัญญา และต่างด้วยคติอีกด้วย

                   

3.  สั่งสมกรรมและกิเลส  หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เองหาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่เรียกว่า ขันธสันดาน

                   

4.   รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้  หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส

                   

5.  สั่งสมสันดานของตนเอง  หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับลง เป็นปัจจัยให้จิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย เป็นสันตติสืบเนื่องกันไป ลงสู่ภวังค์แล้วเกิดขึ้นใหม่อีก

                   

6.    มีการวิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ  หมายความว่า จิตนี้ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ จิตขณะที่รู้อารมณ์นี้ จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วิญญาณ เช่น จิตทางตารู้รูปารมณ์ (เห็นสี) ก็จะเรียกว่า จักขุวิญญาณ หรือจิตทางหู รู้สัททารมณ์ (ได้ยินเสียง) จิตทางจมูก รู้คันธารมณ์ 12 (รู้กลิ่น) จิตทางลิ้น รู้รสารมณ์ (รู้รส) จิตทางกาย รู้โผฏฐัพพารมณ์ (เครื่องกระทบ เย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง) จิตทางมโนรู้ธรรมารมณ์ (รู้เรื่องราวต่าง ๆ มีปสาทรูป 5  สุขุมรูป 16  จิต  เจตสิก  นิพพาน  บัญญัติ)

                   

ความวิจิตรของจิตนั้น เป็นธรรมชาติที่เหนืออำนาจการดลบันดาลจากผู้ใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดก็ไม่ได้ บังคับให้ดับก็ไม่ได้ ไม่มีใครสามารถลิขิตความเป็นไปนั้น นอกจากมีเหตุ-ปัจจัยมาประชุมพร้อมกันชั่วขณะหนึ่ง ๆ  เหตุปัจจัยแต่ละส่วนมีความสำคัญเสมอกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การรับรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในการเห็นครั้งหนึ่งต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4  อย่าง ดังต่อไปนี้คือ

                   1.   ต้องมีประสาทตาที่ดี

                   2.   ต้องมีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่สว่างหรือมืดเกินไป

                   3.   ต้องมีคลื่นแสงสะท้อนจากวัตถุ มาตกลงบนจุดโฟกัสในประสาทตา

                   4.   ต้องมีความตั้งใจดู

 ถ้าองค์ประกอบไม่ครบทั้ง  4  ข้อ การเห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ การมีตาอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดการเห็นได้ ในทางตรงข้ามถ้ามีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ข้อ แล้ว จะบังคับมิให้เกิดการเห็นครั้งนั้นก็ไม่ได้เช่นกัน

จากหนังสือสังคหะบาลีแปล 9 ปริจเฉทกล่าวถึงเรื่องจิตไว้ดังนี้

จิตมีลักษณะแตกต่างกันรวม 89 หรือ 121 ลักษณะ จากแผนผังของจิต แบ่งจิตออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม  เช่น ในกลุ่มที่ 1 อกุศลจิต มี 12 ดวง , กลุ่มที่  2  มหากุศลจิต มี 8 ดวง เป็นต้น

 

แผนผังจิต 89/121
 

        

                       

 

                    ตัวเครื่องหมายที่ต่างกัน 5 ลักษณะ เป็นการแบ่งจิตโดยประเภทแห่งเวทนา (ความรู้สึก) ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง  จิตทุกดวงจะต้องเกิดพร้อมด้วยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเวทนาไม่ได้ เวทนาทั้ง 5 ได้แก่

 

 

เครื่องหมาย (È)    หมายถึง  สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสบายทางกายจาก

การกระทบทางร่างกาย มี 1 ดวง

เครื่องหมาย (Ç )    หมายถึง  ทุกข์เวทนา หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายทางกายจากการกระทบกับความเย็น ความร้อน ความแข็ง มี 1 ดวง

ครื่องหมาย (+)      หมายถึง โสมนัสเวทนา หรือความรู้สึกยินดีอย่างมากที่เกิดขึ้นทางใจ มีทั้งหมด 62 ดวง

เครื่องหมาย (<)      หมายถึง โทมนัสเวทนา หรือความรู้สึกทุกข์ใจ เร้าร้อน คับแค้นเกิดขึ้นทางใจ มี 2 ดวง

เครื่องหมาย (-)       หมายถึง  อุเบกขาเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ หรือความยินดีเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นทางใจ มี 55

 

 

 

ส่วนตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องหมาย ก็เป็นตัวบอกถึง ชนิด คุณสมบัติ และพัฒนาการทางจิต ที่แตกต่างกัน เช่น ในกลุ่มอกุศลจิต 12 แยกเป็น โลภะจิต 8 ดวง โทสะจิต 2 ดวง โมหะจิต 2 ดวง

จิตมีเวทนาเหมือนกัน เช่น กลุ่มอกุศลจิต 12 ดวง
โสมนัสเวทนา (+) ที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น
โลภะจิตดวงที่ 1 แถวบน กับโลภะจิตดวงที่ 3 แถวล่าง
คุณภาพของจิตทั้ง 2 ดวงจะต่างกัน คือ
 

ดวงที่ 1 แถวบน เป็นความโลภชนิดที่มีความเห็นผิด กล้าทำทุจริตเช่นลักขโมย ยักยอกทรัพย์ เป็นพยานเท็จ เป็นต้น 


ส่วนดวงที่ 3 แถวล่าง เป็นความโลภที่ ไม่ประกอบ ด้วยความเห็นผิด ไม่ถึงกับทำทุจริต  ถ้าอยากมีทรัพย์สมบัติก็ขยันทำงานหาเงินด้วยตัวเอง แต่ทั้ง 2 ดวง ก็จัดอยู่ในกลุ่มของอกุศลที่มีความโลภเป็นแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง เป็นต้น

 

นอกจากตัวเครื่องหมายและตำแหน่งของเครื่องหมาย จะบอกคุณสมบัติของจิตแล้วยังมีหลักการจัดประเภทของจิตออกเป็นลักษณะที่ตรงข้ามกัน 9 คู่ อาทิ การประกอบ (สัมปโยค) การชักจูง (สังขาร)  ฌาน โสภณะ ชาติ ภูมิ เป็นต้น 

ชาติเภทนัย
ภูมิเภทนัย
เหตุเภทนัย
เวทนาเภทนัย
สัมปยุตเภทนัย
สังขาร
เภทนัย
โสภณเภทนัย
โลกะ
เภทนัย
ฌาน
เภทนัย

 

ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงบางลักษณะ เช่น
การแบ่งประเภทของจิตโดยชาติ ซึ่งบอกถึงชนิดของจิตว่าเป็นฝ่ายดีหรือไม่ดี และการแบ่งประเภทโดยภูมิ ซึ่งบอกถึงระดับพัฒนาการทางจิตไปในทางต่ำหรือสูง (พระมหาแสวง  โชติปาโล 2535 : 9, 13)

 

จิตว่าโดยชาติมี 4 ชาติ คือ (จากแผนผังในแนวนอน)

1.อกุศลชาติ (อกุสลาธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่เกิดมาแล้วเป็นบาป มีโทษให้ผลเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ ได้แก่ อกุศลจิต 12 ดวง

2. กุศลชาติ (กุสลา ธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่เป็นบุญ ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข ความสบายใจ ได้แก่ มหากุศลจิต 8
รูปาวกุศลจิต 5 อรูปาวจรกุศลจิต 4 มัคคกุศล 4/20

3. วิบากชาติ (อพยากตา ธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง เป็นแต่เพียงผลที่เกิดจากกุศลหรืออกุศล ได้แก่ อกุศลวิบากจิต 7 อเหตุกกุศลวิบากจิต 8 มหาวิบากจิต 8 รูปาวจรวิบากจิต 5 อรูปาวจรวิบากจิต 4 ผลจิต 4/20

4. กิริยาชาติ (อพยากตาธมฺมา)  ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง ทั้งไม่ใช่ผลของกุศลและอกุศลด้วย มี 20 ดวง


กลุ่มกิริยาจิต เป็นแต่เพียงกิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นเพื่อรับรู้อารมณ์ แต่ไม่ได้รับรู้ด้วยกิเลส มีอภิชฌาหรือโทมนัส เป็นต้น ยกเว้น 2 ดวงแรกในกลุ่มแล้วกิริยาจิตที่เหลือ ได้แก่ หสนจิต 1 มหากิริยาจิต 8 รูปาวจรกิริยาจิต 5 อรูปาวจรกิริยาจิต 4 รวม 18 ดวง เป็นจิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์เท่านั้น

 

                                                               

 จิตว่าโดยภูมิมี 4 ภูมิ คือ (จากแผนผังในแนวตั้ง)

 

 

1. กามาวจรภูมิ เกิดขึ้นเพื่อรับกามคุณอารมณ์ จัดอยู่ในระดับต่ำรับอารมณ์ได้มากมาย มี 54  ดวง

2. รูปาวจรภูมิพัฒนามาจากกามาวจรภูมิ เป็นสมาธิและฌาน  มีความแนบแน่นในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ รวม 15 ดวง

3. อรูปาวจรภูมิ จิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจร ด้วยการเพ่งนามธรรม หรือความว่าง  เกิดความแนบแน่นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ รวม 12 ดวง

4. โลกกุตตรภูมิ จิตที่พัฒนาขั้นสูงสุด พ้นจากความทุกข์  ความเศร้าโศก  ในระดับต่าง ๆ รวม 8 หรือ 40 ดวง
มีอำนาจพิเศษคือหยุดการเวียนว่ายตายเกิด

 

 

1.  กามาวจรจิต เป็นภูมิของจิตที่  รับรู้กามคุณ 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จัดว่าเป็นจิตที่อยู่ในภูมิระดับต่ำ รับอารมณ์ได้มากมาย กระจัดกระจาย มีทั้งฝ่ายดี
และฝ่ายไม่ดี  จิตในชั้นกามาวจรนี้มี  54  ดวง

 

 

2.  รูปาวจรภูมิ   เป็นภูมิที่รองรับจิตที่อีกทีหนึ่ง เป็นจิตฝ่ายดีฝ่ายเดียว สำหรับบุคคลผู้เบื่อหน่าย เห็นโทษแห่งกามคุณอารมณ์ จึงพัฒนาจิตที่เรียกว่า สมาธิและฌานขึ้น โดยอาศัยภาพลักษณ์หรือสร้างรูปวัตถุบางอย่างมาเป็นอารมณ์ให้จิต (แทนกามคุณอารมณ์) รับรู้แต่เพียงอารมณ์เดียวที่สร้างขึ้น เกิดความแนบแน่นมีพลัง เป็นพลังจิต ที่สงบนิ่งในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ มี 15 ดวง


 

3.  อรูปาวจรภูมิ   เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจร เป็นพลังจิต ฝ่ายดีฝ่ายเดียว เนื่องจากเห็นโทษของรูปวัตถุว่าหยาบกว่า มีความเข้าใจว่าความทุกข์ต่าง ๆ มีขึ้นได้เพราะมีรูป จึงพอใจที่จะพัฒนาจิตที่ละเอียดขึ้น

 
โดยการเพิกรูปวัตถุที่เคยได้มาแล้ว ใช้จิตเพ่งอารมณ์ที่เป็นนามธรรมหรือเพ่งความว่างเปล่าแทน เกิดความแนบแน่นที่ละเอียดขึ้นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ มีอำนาจจิตพิเศษเหนือบุคคลทั่วไป แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น  อรูปาวจรจิตมี 12 ดวง

 

 


 
 

4. โลกุตตรภูมิ  เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาชั้นสูงสุด รับพระนิพพานเป็นอารมณ์   พ้นจากความพินาศทั้งปวง
โลกุตตรจิตมี 8 หรือ 40 ดวง
ได้แก่
มรรคจิต  4  หรือ  20
ผลจิต  4  หรือ   20

 สำหรับโลกุตตรจิตนั้น ความทุกข์ ความเศร้าโศก ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้อีก มีอำนาจจิต พลังจิตพิเศษในการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด (วัฏฏสงสาร) ของตนเองได้ในระดับต่าง ๆ   ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์

จิตถึงแม้จะพัฒนาจนเกิดอำนาจพิเศษใด ๆ ก็แล้วแต่ หากยังไม่พัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตแล้ว  ก็ยังต้องตาย-เกิดในภพภูมิทั้ง 31 ภูมิอยู่นั่นเอง

 

ในจิตทั้ง 4 ชาติ กลุ่มอกุศลชาติ จัดอยู่ในภูมิระดับต่ำ คือ กามาวจรภูมิเท่านั้น  อกุศลเป็นต้นเหตุของวัฏฏะสงสาร จึงเป็นจิตที่ควรละ ไม่ควรเจริญอีกต่อไป  การเจริญกรรมฐานที่ถูกต้องเป็นการละอกุศลกลุ่มนี้โดยตรง ขณะที่ละอกุศลเหล่านี้ได้ ขณะนั้นเป็นการเจริญกุศลไปในตัว 

กลุ่มกุศลชาติ มีทั้งกุศลชั้นต่ำในกามาวจร  จนถึงกุศลชั้นสูง คือ โลกุตตรกุศล ดังนั้น กลุ่มกุศลชาติจึงเป็นกลุ่มที่สามารถเจริญและพัฒนาจากระดับต่ำให้สูงขึ้นได้ 

กลุ่มของวิบากชาติ เปรียบเป็นผลที่สุกงอมแล้ว จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรละหรือควรเจริญ 

ส่วนกลุ่มกิริยาชาติ เป็นจิตที่เจริญสูงสุดของพระอรหันต์ ไม่มีโอกาสตกต่ำแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเจริญอีก จะทรงสภาวอยู่จนพระอรหันต์ท่านนั้นปรินิพพาน ไม่เกิดในภพภูมิใด ๆ อีก

 

พลังทางจิตโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก จิตที่มีเหตุ (มีจำนวน 71 ดวง)  เหตุในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง เหตุ 6 ชนิด แบ่งเป็น

กุศลเหตุ 3 (อโลภะเหตุ  อโทสะเหตุ  อโมหะเหตุ) และอกุศลเหตุ 3 (โลภะเหตุ  โทสะเหตุ  โมหะเหตุ)  ทั้งนี้ขึ้นกับเจตสิก 6 ชนิดที่ประกอบกับจิต ได้แก่ อโลภะเจตสิก  อโทสะเจตสิก  อโมหะเจตสิก (ปัญญาเจตสิก) โลภะเจตสิก  โทสะเจตสิก และโมหะเจตสิก เหตุทั้ง 6 เป็นเงื่อนไขสำคัญพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย  ทำแล้วมีพลังงานที่สามารถส่งผลในอนาคตได้

อกุศลเหตุเป็นที่มาของชีวิตที่ต้องตกไปอยู่ในที่ที่มีแต่ความลำบาก อดอยาก เร่าร้อน  จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 

ส่วนกุศลเหตุเป็นที่มาของชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ได้รับความสะดวกเป็นส่วนมาก 

กุศลเหตุจึงเป็นสิ่งที่ควรเจริญเพราะทุกชีวิตต้องการความสุข

 

มีจิตอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยเหตุทั้ง 6 ข้างต้น แต่อาศัยเหตุปัจจัยบางอย่างที่พร้อมมูล (อุปัติเหตุ) จึงเกิดขึ้นได้ จิตกลุ่มนั้นได้แก่   อเหตุกจิตมี 18 ดวง ว่าโดยชาติหรือการเกิดแล้ว อเหตุกจิตมี 2 ชาติ คือ วิบากชาติ และกิริยาชาติ

 

ในวิบากชาติแบ่งเป็น

อกุศลวิบากมี 7 ดวง (แถวบนแนวนอน 7 ดวง)

อเหตุกกุศลวิบาก 8 ดวง (แนวนอนแถวที่ 2)

 

ส่วนกิริยาชาติมี  3 ดวง คือ อเหตุกกิริยาจิต 3

 

 

 

 

            ดังได้กล่าวแล้วว่า วิบากจิตเป็นเพียงผลมาจากเหตุในอดีต  อกุศลวิบากมาจากอกุศลเหตุ กุศลวิบากมาจากเหตุของกุศล  ในอดีตทุกชีวิตเคยกระทำทั้งเหตุของอกุศลและกุศลมาแล้ว เราไม่อาจเปลี่ยนการกระทำในอดีตได้  ดังนั้น จึงต้องรับผล (วิบาก) ทั้งผลของอกุศล (อกุศลวิบาก) และผลของกุศล (กุศลวิบาก) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ตลอดเวลา

 

และโดยส่วนมากของชีวิตประจำวันจะเป็นอกุศลวิบาก มากกว่ากุศลวิบาก เช่น ในวันหนึ่ง ๆ เราจะรู้สึกสบายใจ ปลอดโปร่งใจน้อยมาก การรับกระทบไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ฯลฯ  ส่วนใหญ่ทำให้จิตใจเร่าร้อน หดหู่ เศร้าหมอง กับปัญหาต่าง ๆ มากมายมากกว่า  จนกระทั่งถึงเวลานอนหลับ ไม่ต้องรับรู้ปัญหาดังกล่าว ความเร่าร้อนจึงลดระดับลงบ้าง

 

อเหตุกจิต 18

 

 

วิบากจิตในกลุ่มอเหตุกจิต 18 ที่สำคัญ คือ
ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง แบ่งเป็น

จักขุวิญญาณจิต 2 (แถวบน 1 ดวง แถวล่าง 1 ดวง) 
โสตวิญญาณจิต 2 
ฆานวิญญาณจิต 2 

ชิวหาวิญญาณจิต 2 
กายวิญญาณจิต 2 

 

 

เหตุที่มีอย่างละ 2 เช่นจักขุวิญญาณจิต ก็เพราะว่าสิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นผลของกุศล เช่น โบสถ์ วิหาร สิ่งของสวยงาม บุคคลที่เรารัก สิ่งเหล่านี้เมื่อเห็นแล้วเกิดความพอใจ   จักขุวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นนั้นจัดเป็นวิบากจิต  ที่เป็นผลจากกุศล

การได้เกิดเป็นมนุษย์
เป็นผลของกุศล 

 

 

ความตายเป็น
ผลของอกุศล
ตัดรอนให้ชีวิตล่วงไป

แต่บางครั้งสิ่งที่เห็นหรือได้ยินไม่ทำให้เกิดความพอใจสบายใจ มีความเศร้าหมอง เร่าร้อน จัดเป็นผลของอกุศล เช่น เห็นสุนัขตายข้างถนน ไฟไหม้ น้ำท่วมทรัพย์สินเสียหาย หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทเป็นต้น  เป็นการเห็นในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ 

จิตที่ทำหน้าที่เห็นหรือได้ยิน ก็จะเป็นจักขุวิญญาณกุศลวิบาก หรือโสตวิญญาณอกุศลวิบาก เมื่ออารมณ์ต่างกันจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์จึงไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน ต้องเป็นจิตคนละดวง

สัมปฏิจฉนะจิต 2 ( สํ )  ที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ  
สันตีรณจิต 3 ( ณ )  
ที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉนะ

 จิตก็ทำนองเดียวกัน คือ เมื่ออารมณ์กุศลมากระทบ ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลจะทำหน้าที่รู้อารมณ์กุศลนั้น สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะรับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้น สันตีรณจิตฝ่ายกุศลก็จะพิจารณาเฉพาะอารมณ์กุศล จิตที่รับและพิจารณาอารมณ์ต้องเป็นฝ่ายเดียวกัน สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะไปรับอารมณ์ฝ่ายอกุศลไม่ได้

ในแต่ละวันไม่มีใครสามารถเลือกรับแต่อารมณ์ที่ดีอย่างเดียว  ปฏิเสธอารมณ์ที่ไม่ดีว่าอย่าเกิดขึ้นกับตนเลย เป็นต้น เมื่อรับกระทบอารมณ์แล้ว จิตแต่ละดวงก็จะทำหน้าที่ของตน ผ่านทาง วิถีจิต

 

 

                    การเรียนรู้กฎเกณฑ์แห่งวิบากจิตนี้ เพื่อการยอมรับข้อจำกัดบางอย่างของจิตและอารมณ์ว่า ไม่สามารถเป็นไปตามความต้องการได้เสมอไป ความต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด   แต่โอกาสเป็นไปได้สมความปรารถนามีไม่ถึง 5% 

 

เมื่อเราเลือกรับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจไม่ได้  ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งสังเกตการกระทบกันของจิตและอารมณ์ทางปัญจวิญญาณ โดยมีสติคอยระวังไม่ให้อภิชฌาหรือโทมนัสเข้ามีส่วนในการตีความ กลไกของจิตและอารมณ์ยังคงทำงานของตนอย่างสม่ำเสมอ แต่ความดิ้นรน เร่าร้อนใจจะได้รับการพิจารณาใหม่ด้วยสติ และเป็นที่มาของความยับยั้งชั่งใจแทน

 

                    จิตทั้ง 89 หรือ 121 ดวง จะมีหน้าที่ ของตนเอง หน้าที่ของจิตมี   14    อย่าง เรียกว่า
กิจ 14 (
บุญมี  เมธรางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี 2530 : 25-28) บางดวงทำหน้าที่ได้อย่างเดียว บางดวงทำหน้าที่ได้หลายอย่าง จิตจึงเกิดขึ้นอย่างมีความหมายเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อหมดหน้าที่จิตนั้นก็ดับลง และส่งอำนาจให้จิตดวงต่อไปทำหน้าที่ต่อจากตน ในวิถีจิต เช่น โสตวิญญาณ เกิดขึ้นทำหน้าที่ได้ยินเสียง หมดหน้าที่แล้วดับลง  การดับลงของโสตวิญญาณเป็นปัจจัยให้จิตอีกดวง คือ สัมปฏิจฉนจิตเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสียงนั้นต่อไป เป็นต้น

 


วิถีทางดำเนินของจิตชนิดต่าง ๆ
ที่ทำหน้าที่ได้ยินเสียง พิจารณาเสียง ตีความ และให้ความหมายต่อเสียงนั้น เป็นจิตคนละดวงที่เกิดขึ้นตามลำดับไม่ก้าวก่ายกัน กล่าวคือ

โสตวิญญาณจะไปทำหน้าที่เห็นเสียง หรือพิจารณา หรือตีความ แทนจิตดวงอื่นก็ไม่ได้ เป็นต้น

 

 

แนวคิดเรื่องจิตที่มากไปด้วยจำนวน มากไปด้วยกิจ และมากไปด้วยอารมณ์นี้    แสดงถึงความไม่เที่ยงของจิตว่า  เมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งต้องรู้อารมณ์ (รูป เสียง ...) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ  เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตที่รู้จำเป็นต้องดับลงด้วย

 

การดับไปนั้นมีผลให้เกิดจิตดวงใหม่ เพื่อรู้อารมณ์ใหม่  อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปไม่หยุดนิ่ง  ผันแปรไปตามทวารต่าง ๆ (ตา หู ...) จึงต้องมีจิตที่มีลักษณะต่าง กัน  เพื่อรับอารมณ์ที่หลากหลายนั้น  ในขณะที่รูปเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐานของ กรรม   จิต    อุตุ    อาหาร     จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ

1.   อดีตกรรม     2.  วัตถุรูป (อายตนะภายในและภายนอก)  3.   อารมณ์ 

 

หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้

 

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผู้ใดลิขิตขึ้น พระพุทธองค์เองก็มิได้เสกสรรขึ้นมาเอง  แต่เป็นผลจากพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ที่ทรงหยั่งรู้เข้าไปถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และนำมาเปิดเผย ถึงเหตุที่ทำให้ธรรมชาติใด ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับตอบคำถามว่า เหตุใดธรรมชาติเหล่านั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้

 

 เท่าที่กล่าวมาในแง่ของเครื่องหมาย  ตำแหน่ง  การแบ่งประเภท และหน้าที่  เป็นเพียงตัวอย่างพอสังเขปในการศึกษาตัวจิตโดยตรง  จิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือก็มีแนวคิดคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว และยังมีแง่มุมที่ลึกละเอียดอีกมากมาย เช่น การแบ่งประเภท โดยการประกอบ (สัมปโยค) โดยสังขาร โดยโสภณ ฯลฯ แต่ของดกล่าวในที่นี้

 

โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน 

  สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า  จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ  ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น  จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต  ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว

ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้   ส่วนความสันทัดในทางชั่ว  เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง   เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว




สีของจิต

สีของจิต นี้ บางแห่งก็เรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ การที่จะรู้อารมณ์จิตนั้นต้องมี เจโตปริยญาณ ก่อนจึงจะรู้อารมณ์ของจิต สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านกล่าวไว้ดังนี้

1. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
2. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
3. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่ง มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
4. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอกระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว
5. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
6. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
สีของจิตโดยย่อ

เพื่อให้เห็นกันง่าย ๆ ยิ่งขึ้น โดยแบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ

1. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
2. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
3. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส


กาย ในกาย สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกายส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนั้น เป็นกายประเภทอทิสมานกาย คือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็นต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกาย หรือกายซ้อนกายนี้ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่น จากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไปและทำอะไรต่ออะไรอยู่ ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริง จำเรื่องราวที่ไปทำได้ กายนั้นแหละที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่มีอยู่ในมหาสติปัฏฐานกายในกายนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ

1. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
2. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา จะต่างกันตรงที่ผิวพรรณ สัดส่วน ขาวดำ งดงามต่างกัน แต่ลักษณะบอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
3. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
4. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
5. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย


ตั้งแต่ข้อ หนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดที่นั้น ๆ หมายถึงว่า ท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกที่ไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่า


การ รู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการรู้อารมณ์จิตของตนเองสำคัญมาก คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตว่า ขณะนี้เราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฎนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการคือสีใสคล้ายแก้ว ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน 4

- ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบาง ๆ เคลือบไว้ภายนอก
- ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง
- ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่า ตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนในสั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย
- ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนแก้วลอยอยู่ในอก


จิตของพระอริยะ


1. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกายออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นเจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
2.พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
3.พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
4.พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
5.ท่านที่บรรลุอรหันต์ กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก กระแสจิตที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจแสวงหาให้ได้ เอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกายก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ


บทที่ 1    อาการจิต 10                                                                         

บทที่  2   เดินตามรอยเท้าโค ตามรู้อาการจิต 10                                              

บทที่ 3     มรรคจิต หนทางสู่วิชาแปด                                                                           

บทที่ 4     อายตนะแดนเกิดจิต                                                                             

บทที่ 5     สุขุมจิต                                                                                                  

บทที่ 6     วิธีสร้างสุขุมจิต                                                                          

บทที่ 7     ตื่นสติ ตื่นรู้                         

บทที่ 8    รู้อารมณ์ภายนอก(วิญญาณ)  กับรู้อารมณ์ภายใน (มโนวิญญาณธาตุ)

บทที่ 9    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับการเจริญองค์คุณแห่งปฐมฌาน       

บทที่ 10  จิตของผู้ทรงฌาน

บทที่ 11 การยกระดับจิตในองค์ฌาน
 
Heute waren schon 6 Besucher (11 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden