vipassana - อานาปานสติ
  หน้าแรก
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  นรก
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  Titel der neuen Seite
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  กรรมให้ผลอย่างไร ?
  เหตุให้กะเทย
  อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  กรรมบท 10
  34 อกุศลกรรม 10
  กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  สวรรค์
  คนเหนือดวง
  บุญ
  บำเพ็ญ วิปัสนา
  ปฏิบัติกรรมฐาน
  ญาณ 16
  อสุภกรรมฐาน
  Home
  กรรมฐานแก้กรรม
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  วิธีเจริญภาวนา
  วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  9.3 ศีล พระธุดงค์
  มงคลสูตร ๑๐
  อานาปานสติ
  มงคล ๓๘ ประการ
  พฺรหฺมจริยญฺจ
  มรรคมีองค์ 8
  สังโยชน์ ๑๐
  สติปัฎฐาน ๔
  ปฏิจจสมุปบาท
  วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  ฟัง หลวงปู่มั่น
  ฟัง พระโชดกญาณ
  ฟัง หลวงพ่อชา
  ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  ฟัง หลวงปู่เณรคำ
  ฟัง พระพรหมคุณา
  ฟัง หลวงปู่พุทธะ
  ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  ฟัง พระมหา วชิรเมธี
  ฟัง ดร.สนอง วรอุไร
  ฟัง แม่ชีทศพร
  เกิดมาทำไม
  ติดต่อโลกวิญญาณ
  หลวงปู่แหวน แผ่เมตตา
  หลวงพ่อปาน
  พุทธสุภาษิต ร้อยผกา
  เปรียบศาสนา
  เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  พระดูหมอผจญมาร
  หนีบาป
  บริจาคเลือด
  ขยะในใจ
  วิวาห์ ทารุณ
  วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  หลวงพ่อวิโมกข์
  การประเคน
  การจุดธูปบูชา
  การแผ่เมตตา
  วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  คุณบิดา-มารดา
  วิธีกราบ
  อธิษฐาน
  แด่เธอผู้มาใหม่
  แขวนพระเพื่ออะไร
  เลือกเกิดได้จริง
  ทำนายฝัน
  พระเจ้าทำนายฝัน
  เสียงธรรมะ
  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  นิทานธรรมะ
  ฟังเสียง หนังสือ
  ฟัง นิทานอีสป
  ละครเสียงอิงธรรม
  เสียง อ่านหนังสือ
  เสียง ทางสายเอก
  หนังสือธรรมะ
  ฟังบทสวดมนต์
  เทศน์มหาชาติ
  เพลงสร้างสรรค์
  สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahnhof
  S 2.2 GPS
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 4 Super foto
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  Clip กรรมลิขิต
  Z 6 Clip หนัง Kino
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  ธรรมะเพื่อชีวิต เสียงอ่าน
  รวมบทความธรรมะ
  ค่าน้ำนม
  ฟังเสียงสวดมนต์
  ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
  Kontakt


                                                      


เห็นธรรมะในธรรมะ
       

            จริงอยู่    กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง    ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ    มีความรู้ตัวเท่านั้น   แม้ก็จริง,   ถึงกระนั้น  กรรมฐานอย่างอื่น     นอกจากอานาปานัสสติกรรมฐานนี้    ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่.     แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เป็นภาระหนัก  เจริญสำเร็จได้ยาก    ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการ  ของมหาบุรุษ ทั้งหลาย   คือ    พระพุทธเจ้า   พระปัจเจกพุทธเจ้า   และพุทธบุตรเท่านั้น,ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย,    ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ,เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด      โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ในใจ ;   เพราะฉะนั้นในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญาอันมีกำลัง.  เหมือนอย่างว่า    ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง    แม้เข็มก็จำต้อง ปรารถนาอย่างเล็ก,  แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม    ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียดกว่านั้น   ฉันใด,    ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้   ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยงก็ฉันนั้นเหมือนกัน     สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี    ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้นมีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี   จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง. ก็แล     ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว    ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น  นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ.เปรียบเหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก  ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน   แล้วพึงนั่งพักที่ร่มไม้,          คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไปโดยเร็ว.ชาวนาผู้ฉลาด  ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก    จะไม่เดินตามรอยท้าโคถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง,   โดยที่แท้    เขาจะถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไปยังท่าน้ำ   ซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว    นั่งหรือนอนคอยอยู่.    เวลานั้นเขาได้เห็นโคเหล่านั้น     ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน     แล้วลงไปสู่ท่านํ้าดื่มอาบและกินน้ำแล้ว   ขึ้นมายืนอยู่   จึงเอาเชือกผูก  แล้วเอาประตักทิ่มแทง   นำไปเทียม(ไถ)  ทำการเอกัคคตาเจตสิกเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง   เมื่อจิตฝักใฝ่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ   ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิก ก็ปรากฏเป็นสมาธิคือ    ตั้งมั่นแน่วแน่   อยู่ที่อารมณ์ใด   อารมณ์หนึ่ง  เพียงอารมณ์เดียว เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเป็นมิจฉาสมาธิ     เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตเป็นสัมมาสมาธิ

"สมถภาวนา ไม่ใช่การทำสมาธิ  สมาธิเป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์   ซึ่งได้แก่เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เมื่อจิตฝักใฝ่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกก็ปรากฏเป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพียงอารมณ์เดียว
เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเป็น มิจฉาสมาธิ
เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตเป็น สัมมาสมาธิ

การทำสมาธิให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆนั้น   เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ   เพราะขณะนั้นเป็นความพอใจที่จะให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์เดียว เมื่อปราศจากปัญญาก็ไม่สามารถรู้ความต่างกันของโลภมูลจิตและกุศลจิต   เพราะโลภมูลจิตและกามาวจรกุศลจิตมีเวทนาประเภทเดียวกันเกิดร่วมด้วย......"




ก่อนที่จะกล่าวถึงประเภทและการทำงานของ "สัมมาสมาธิ" อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พวกเราควรทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "สมาธิ" เสียก่อน ดังนี้

องค์ธรรมของสมาธิได้แก่เอกัคคตาเจตสิก คือความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว

เอกัคคตาเจตสิก (1) มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (2) มีการรวบรวมสหชาตธรรมเป็นกิจ คือสมาธิเป็นที่รวมของสภาวธรรมที่เกิดร่วมกัน เช่น เป็นที่รวมองค์ทั้ง 7 ของมรรคให้ทำกิจร่วมกันในการรู้รูปนามตามความเป็นจริงจนเกิดอริยมรรคขึ้น เป็นต้น (3) มีความสงบ (อุปสมะ) เป็นผล และ (4) มีสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด

เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิก (หรือสภาวธรรม ที่ประกอบกับจิต) ชนิดที่เรียกว่าสัพพจิตสาธารณ-เจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกชนิดที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง จึงเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่จิตเป็นอกุศล ดังนั้นพวกเราจึงควรระมัดระวังในเรื่องการทำสมาธิกันให้ดี เพราะไม่จำเป็นว่าถ้าทำสมาธิได้แล้วจะเกิดปัญญาเสมอไป ต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นจึงจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ส่วนสมาธิประเภทที่เกิด ร่วมกับอกุศล เช่นเกิดร่วมกับโมหะคือสมาธิประเภทลืมเนื้อลืมตัว หรือจิตเที่ยวฟุ้งซ่านออกไป รู้อะไรๆ ภายนอก และสมาธิที่เกิดร่วมกับโลภะคือ สมาธิประเภทเพลิดเพลินยินดีไปในความสุขความสงบ สมาธิเหล่านี้ไม่สามารถสนับสนุนให้เกิด ปัญญาได้ มีแต่จะกดถ่วงปิดกั้นการเจริญปัญญาเสียด้วยซ้ำไป
                                                         


ประเภทของสมาธิ


สมาธิจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สมาธิธรรมดาโดยทั่วไปหรือมิจฉาสมาธิ กับสมาธิ ในองค์มรรคหรือสัมมาสมาธิ

สมาธิธรรมดาหรือมิจฉาสมาธิไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือ เลวในตัวของมันเอง เพราะสมาธิสามารถเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศล แต่ขาดปัญญาก็ได้ ความหมายของสมาธิประเภทนี้มีตั้งแต่อย่างกว้าง คือ

(1) หมายถึงเอกัคคตาเจตสิกที่ทำให้จิตทุกดวงสามารถรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว คือทำให้ จิตจับหรือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว เช่น จิตที่ทำหน้าที่ฟังก็ฟังได้อย่างเดียว คือรู้เสียง ได้อย่างเดียว จะคิดไม่ได้ เป็นต้น สมาธิในความ-หมายนี้เกิดร่วมกับจิตได้ทุกดวงทุกประเภท เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านจึงมองข้ามความสำคัญของสัมมาสมาธิ เพราะไปคิดว่าเอกัคคตาเจตสิกคือสัมมาสมาธิ จึงเห็นว่าแม้ไม่ต้องอบรมสัมมาสมาธิ ก็มีสัมมาสมาธิอยู่แล้ว ความจริง ถ้าสัมมาสมาธิเกิดได้ง่ายอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องทรงสอน เรื่องจิตสิกขาเอาไว้เลย ในความเป็นจริง สัมมาสมาธิไม่ได้เป็นเพียงเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง หากแต่มีลักษณะเฉพาะบางประการ ซึ่งยากมากที่จะเกิดขึ้นได้

และ (2) ความหมายของสมาธิในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับการ งานอันใดอันหนึ่ง เช่นตั้งมั่นในการอ่านหนังสือ ทำให้อ่านได้รู้เรื่องเป็นอย่างดี และตั้งมั่นในการขับรถ ทำให้ขับได้ดี เป็นต้น สมาธิในลักษณะนี้แหละที่ทำให้พวกเรามักพูดกันว่า วันนี้จิตมีสมาธิ วันนี้จิตไม่มีสมาธิ หรือพูดว่าเด็กคนนี้มีสมาธิสั้น ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งมีสมาธิดี เป็นต้น สมาธิใน ความหมายนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลากับจิตทุกดวง แต่เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ต้องพัฒนาให้มีขึ้น อย่างไรก็ตามสมาธิอย่างนี้ก็ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิอีกเช่นกัน แต่เป็นสมาธิอย่างโลกๆ ธรรมดาๆ และเอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่กับโลกเท่านั้นเอง

ยังมีสมาธิอีกอย่างหนึ่งคือสัมมาสมาธิซึ่งเป็นสมาธิในองค์มรรค สมาธิประเภทนี้แหละที่เราต้องสนใจศึกษาและพัฒนาขึ้นมาให้ได้

 

                                 

 

การที่จะต้องมีศีล – สมาธิ –ปัญญา ในการเจริญสติปัฏฐาน และคุณเซิ่นถามมาว่า สมาธิในที่นี้หมายความอย่างไรนั้น สมาธิจริงๆได้แก่สภาพธรรมชนิดหนึ่ง คือ เอกัคคตาเจตสิกและ "เจตสิก" ก็เป็นสภาพนามธรรมที่เกิดกับจิต แต่ไม่ใช่จิตนะค่ะ

โลภะ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง แต่โลภะไม่ได้เกิดกับจิตตลอดเวลา โทสะ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง แต่โทสะไม่ได้เกิดกับจิตตลอดเวลา สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง คือ ทุกขณะ แต่ขณะที่เกิดกับอกุศลจิตนั้น ไม่มีกำลังเท่ากับขณะเกิดกับกุศลจิต ที่เจริญอบรมให้สงบขึ้นๆ

ฉะนั้น ที่กล่าวว่าการเจริญสติปัฏฐานนั้น ต้องประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิคือ เอกัคคตาเจตสิกนั้น ไม่เคยขาดเลยสักขณะจิตเดียว แต่ปัญญาไม่ได้เกิดทุกขณะอย่างสมาธิ

ดังนั้น จึงมีสมาธิ 2 อย่าง คือ สมาธิที่เกิดกับอกุศลจิตเป็น "มิจฉาสมาธิ" สมาธิที่เกิดกับโสภณหรือกุศลจิตเป็น "สัมมาสมาธิ" ซึ่งนักปฎิบัติธรรมในยุคนี้อาจจะขาดการพิจารณาเรื่องมิจฉาสมาธิ เพราะว่าทุกคนอยากจะทำสมาธิ แต่ลืมพิจารณาว่า..สมาธิที่จะทำโดยขาดปัญญานั้นเป็นมิจฉาสมาธิ... ไม่ใช่สัมมาสมาธิมีมากเลยค่ะ


ขณะใดที่ศึกษาเข้าใจและปัญญาเกิด ขณะนั้นสมาธิจึงจะเป็นสัมมาสมาธิ จึงไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีสมาธิ เพราะสมาธิคือ ..เอกัคคตาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกประเภททุกขณะอยู่แล้ว แต่ควรพิจารณาระวังว่า...จะเจริญมิจฉาสมาธิแทนสัมมาสมาธิ เพราะไม่ศึกษาให้เข้าใจเรื่องของสัมมาสมาธิเสียก่อน

ในขณะที่สติเกิดระลึกสภาพของธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงศีล แต่เป็นอธิศีลสิกขา พร้อมทั้งจิตที่สงบเพราะเป็นกุศลนั้นก็เป็นอธิจิตสิกขา และปัญญาที่กำลังศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก็เป็นอธิปัญญาสิกขาด้วย ขณะนั้นเป็นศีล..ที่ละเอียดกว่าปกติที่รักษาศีล 5 เพราะศีล 5 นั้นเพียงแต่ไม่ล่วงทุจริตกรรม แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ถ้าไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

เพราะฉะนั้น ขณะที่สติสามารถเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของจิต แม้ขณะที่กำลังเป็นโลภะ ซึ่งยังไม่ล่วงเป็นทุจริตกรรม ขณะนั้นสติย่อมประกอบด้วยศีลที่ละเอียด ที่สามารถระลึกรู้แม้ลักษณะ ของความต้องการที่ยังไม่ล่วงเป็นทุจริตกรรม เพราะศีลธรรมดานั้น เพียงแต่เว้นกายทุจริต วจีทุจริต แต่ไม่ได้ระลึกลักษณะสภาพของจิตขณะนั้นว่ามีความต้องการขั้นไหน ซึ่งอาจจะเกือบๆกระทำกายทุจริตก็ได้นะคะ

ฉะนั้นในขณะเจริญ สติปัฏฐาน จึงประกอบพร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา แต่เป็นขั้นละเอียดจึงเป็นขั้น อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

คุณเซิ่นและท่านทั้งหลาย อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่มีคำว่าสมาธิ ไม่ต้องสงสัยหรอกนะคะ ก็เพราะสภาพของจิต ซึ่งประกอบด้วยสัมมาสมาธิ ในขณะที่เกิดกับสติปัฏฐานนั้นเอง เป็นอธิจิตสิกขา ดังนั้น อธิจิตสิกขา ก็เป็นสมาธินั่นเอง แต่เป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับอธิศีล และอธิปัญญา..นี้ซิคะน่าคิดว่า ขณะนี้กำลังมีศีลหรือเปล่า ขณะนี้ไม่ได้กระทำกายทุจริต วจีทุจริตก็จริงแต่ว่าขณะนี้มีเจตนา ที่จะวิรัติทุจริตอะไรหรือไม่ ? ต้องสังเกตุด้วยนะคะ

ความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นความละเอียดของธรรมที่ สมเด็จพระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่า ..ไม่สามารถที่จะพิจารณานามธรรมได้ เพียงจากอาการที่ปรากฏภายนอก เพราะนามธรรมไม่ใช่รูปธรรมค่ะ พี่ดอกแก้วได้ตอบคุณเซิ่นแล้วนะคะ ความรู้ต่างๆที่มีได้ก็เพราะ อาศัยการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้องนั่นเองนะคะถึงจะทราบถึงความเป็นไปของ ความเกี่ยวเนื่องของสติปัฎฐานกับศีล สมาธิ ปัญญาได้คะคุณเซิ่น

Heute waren schon 12 Besucher (39 Hits) hier!
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden